เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 19:21:22
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ปลาหมอแปลงเพศ สนใจต้องการพันธุ์ปลา วัฒนา 0904248297 0929415503
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ... 44 พิมพ์
ผู้เขียน ปลาหมอแปลงเพศ สนใจต้องการพันธุ์ปลา วัฒนา 0904248297 0929415503  (อ่าน 125305 ครั้ง)
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 14:31:14 »

    ปลาหมอเทศ

มี ชื่อสามัญว่า mozambique mouth breeder หรือบางครั้ง เรียกว่า Java tilapia เป็นปลาในครอบครัว Cichlidae ซึ่งมีปลาอยู่ทั้งหมด ๑๖ ชนิด คนไทยรู้จักปลาหมอเทศเป็นอย่างดีเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว โดยเรียกชื่อ ตามสกุลว่าปลาตีลาป แต่เนื่องจากมีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาหมอ (Anabas testudineus) เลยตั้งชื่อเรียกใหม่ว่าปลาหมอเทศ แต่ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันมากนัก ปลาชนิดนี้สามารถอาศัยอยู่ได้ดี ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีขนาดโตที่สุดที่เคยมี รายงานในประเทศไทย ความยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร

ปลา หมอเทศถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยท่านอธิบดีกรมประมงในสมัยนั้น (นายบุญ อินทรัมพรรย์) ได้นำพันธุ์ ปลาหมอเทศ จำนวน ๒๕๘ ตัว จากปีนัง ประเทศมาเลเซียมาทดลองเลี้ยงที่ แผนกทดลองและเพาะเลี้ยง บางเขน (ที่ตั้งสถาบันประมงน้ำจืด แห่งชาติในปัจจุบัน) ซึ่งการเลี้ยงครั้งนั้นให้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง



* ปลาหมอเทศ3.jpg (72.62 KB, 500x421 - ดู 29114 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 20 กรกฎาคม 2022, 17:41:02 โดย lisen » IP : บันทึกการเข้า
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 14:32:07 »


    ลักษณะโดยทั่วไป

ปลา หมอเทศ มีรูปร่างคล้ายปลาหมอ ลำตัวสั้นป้อม แบนข้าง ความยาวจากหัวถึงหางเป็น ๒-๓ เท่าของความสูง เกล็ดเล็กและกลม เส้นข้างลำตัวมีรอยแบ่งเป็น ๒ ตอน ๆ แรกมีเกล็ด ตามแนว ๑๘-๒๑ เกล็ด ตอนที่ ๒ มี ๑๐-๑๕ เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนเทา หรือน้ำตาลอ่อนความ หรือค่อนข้างดำครีบท้องและครีบหูมีสีค่อนข้างดำ ส่วนบนของลำตัวมีแถบสีอ่อนพาดไปตาม ยาวของลำตัว ๙-๑๑ แถบ


* ปลาหมอเทศ.jpg (28 KB, 400x209 - ดู 32440 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 14:33:05 »


    การแพร่พันธุ์

ปลา หมอเทศ สามารถแพร่พันธุ์ วางไข่ได้รวดเร็ว อายุประมาณ ๓ เดือน หรือ จะมีความยาว ประมาณ ๘ เซนติเมตร ก็วางไข่ได้ ปลาเพศผู้ที่เจริญเต็มวัยจะมีปุ่มหรือหนวดอยู่บนหัวแต่ปลา เพศเมียจะไม่มีลักษณะดังกล่าว แม่ปลาแต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ปีละ ๘-๑๑ ครั้ง ในแต่ละครั้ง จะวางไข่ประมาณ ๗๕-๒๕๐ ฟอง ทั้งนี้แม่ปลามีนิสัยชอบวางไข่ในยามเงียบสงัด ตอนเช้ามืด โดยเริ่มจากปลาเพศผู้ขุดหลุมที่ก้นบ่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๕ เซนติเมตรลึก ประมาณ ๖ เซนติเมตร


* ลูกปลาหมอเทศ2.png (143.36 KB, 327x400 - ดู 29354 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 14:33:38 »

หลัง จากปลาเพศเมียวางไข่แล้วจะอมไข่ไว้ในปากเพื่อให้ปลาเพศผู้ ปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่ในช่องปาก ไข่ที่ผสมกับน้ำเชื้อจะฟักออกเป็นตัวภายในปากของ แม่ปลา ใช้เวลาประมาณ ๓-๕ วัน และแม่ปลาจะดูแลป้องกันภัยโดยการอมลูกไว้อีก ๑๐-๑๕ วันจึงจะปล่อยออกมาภายนอกแต่เมื่อมีภัยอันตรายเกิดขึ้นลูกปลาเหล่านี้ก็จะ ว่ายน้ำหลบเข้าปากแม่ ซึ่งดูแลอยู่ใกล้ ๆ นั่นเอง
IP : บันทึกการเข้า
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 14:36:27 »

วันนี้ได้คัดลอกบทความเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาหมอมาให้อ่านเป็นความรู้กันครับ
       เทคนิคการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทยเชิงพาณิชย
 การเลือกสถานที่
 การเลือกสถานที่กอสรางบอเพาะพันธุ อนุบาลและเลี้ยงปลา เปนปจจัยหนึ่งที่สําคัญยิ่งและสงผลตอ
ผลสําเร็จในการประกอบการลงทุนหรือไม ดังนั้น ในการเลือกสถานที่และออกแบบฟารม ควรดําเนินการดวยความ
รอบคอบ โดยคํานึงถึงปจจัยตางๆ ดังนี้
 1. ลักษณะดิน
 ที่ดิน ควรเปนพื้นที่ราบ ดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย น้ําไมรั่วซึมงาย สามารถเก็บกักน้ําได 4 - 6
เดือน ไมควรเลือกพื้นที่ที่เปนดินทราย ดินปนกรวด หรือปาพรุที่ดินเปนกรดจัดหรือพื้นที่ทางน้ําผาน ซึ่งน้ํามักไหล
ทวมหลากอยางรุนแรงในฤดูฝน จักทําใหยุงยากในการจัดการฟารม
 2. ลักษณะน้ํา
 พื้นที่เลี้ยงควรอยูใกลแหลงน้ําธรรมชาติ เชน แมน้ํา ลําคลองหรืออางเก็บน้ํา ที่มีปริมาณน้ําเพียงพอ
ตลอดปหรืออยูในเขตชลประทาน หากเปนพื้นที่ที่อาศัยน้ําฝนเพียงอยางเดียว ตองคํานวณปริมาณน้ําฝนที่ตกใน
รอบปดวย ควรหลีกเลียงหางไกลจากเขตดูดทรายในแมน้ํา น้ํามักขุนมากและเขตโรงงานอุตสาหกรรม บอลี้ยงกุง
กุลาดําที่อยูในเขตพื้นที่น้ําจืด นาขาวทิ้งราง สามารถเลี้ยงปลาหมอไทยไดหากอยูในยานที่รับอิทธิพลจากความเค็ม
ท่ไมี เกิน 7.5 สวนในพัน จะกระตุนใหปลากินอาหารมากขึ้น เนื้อปลาเหนียว นุม รสชาติอรอยและปราศจากกลิ่น
โคลน สงผลใหจําหนายไดราคาสูงกวาปกติ
การเตรียมบอ
 1. สูบน้ําออกจากบอใหแหง
 การสูบบอใหแหง จะชวยกําจัดศัตรูปลาที่หลบซอนอยูในบอ และขจัดของเสียตลอดจนปรับโคลนเลนพื้น
บอใหเหมาะสม หลังจากสูบบอแหงแลว ควรหวานปูนขาวในขณะที่ดินยังเปยก ในอัตรา 100 - 200 กิโลกรัมตอไร
เพื่อปรับสภาพความเปนกรด-ดางของดินและฆาโรคพยาธิ
 2. กําจัดวัชพืชและพันธุไมน้ํา
 วัชพืชและพันธุไมน้ําที่มีอยูในบอ จะเปนแหลงหลบซอนตัวของศัตรูปลาหมอไทย เชน ปลาชอน ปลาดุก
กบและงู เปนตน และทําใหปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ําลดลง เนื่องจากพืชน้ําใชออกซิเจนในการหายใจ
เชนเดียวกับปลา นอกจากนี้ หากมีพืชน้ําอยูในบอมาก จะเปนอุปสรรคตอการใหอาหารปลา และการวิดบอจับปลา
 3. การตากบอ
 การตากบอจะทําใหแกสพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความรอนและแสงแดด ทั้งยังเปนการฆา
เชื้อโรค และศัตรูปลาที่ฝงตัวอยูในดิน ควรใชเวลาในการตากบอ 2 - 3 สัปดาห
 4. สูบน้ําเขาบอ
 สูบน้ําใสบอใหไดระดับ 60 - 80 เซนติเมตร ทิ้งไว 2 - 3 วันกอนปลอยปลาลงอนุบาลหรือเลี้ยง ควรใชอวน
ไนลอนสีฟากั้นรอบคันบอใหสูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อปองกันศัตรูปลาและปลาหลบหนีออกจากบอ
เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปนปายโดยเฉพาะในชวงที่ฝนตก

การเลี้ยงปลาหมอไทยในบอดิน
 การเตรียมบอ
 ขนาดบอที่นิยมใชเลี้ยงปลาหมอไทยกันนั้น สวนใหญขนาดไมใหญนัก พื้นที่ประมาณ 1 - 3 งาน หากเปน
บอเลี้ยงกุงเกา ควรมีขนาด 2 ไร ความลึก ประมาณ 1.5 – 2.0 เมตร บอเกาตองสูบน้ําใหแหง กําจัดศัตรูปลา
โดยเฉพาะปลากินเนื้อ วัชพืชและพันธุไมน้ําออกใหหมด หวานปูนขาว ประมาณ 150 – 200 กิโลกรัม/ไร ตากบอ
ใหแหงเปนระยะเวลา 2 - 3 สัปดาห เพื่อเปนการฆาเชื้อโรคและศัตรูปลา กรณีบอใหม หวานปูนขาวปริมาณ 100
กิโลกรัม/ไร อยางไรก็ตาม ปลาหมอไทยไมชอบน้ําที่เปนดางหรือกระดางสูง หรือมี pH สูงนัก pH ของน้ําควรอยู
ในชวง 6.5 – 8.5 ใชอวนไนลอนสีฟากั้นรอบบอใหสูงประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อปองกันปลาหลบหนี
(19) ทางน้ําเขาบอเลี้ยง (20) กอนปลอยปลา (21) กระชังที่ใชเลี้ยงปลาหมอ
16
 
 สูบน้ําลงบอกอนปลอยลูกปลาประมาณ 60 - 100 เซนติเมตร กรองน้ําดวยอวนมุงตาถี่ หรือ อาจฆาเชื้อใน
น้ําดวยคลอรีนผง 3 สวนในลาน และทําสีน้ําสรางหวงโซอาหารธรรมชาติจึงปลอยลูกปลา หลังจากนั้คอยๆ เติมน้ํา
เขาบอจนมีระดับน้ํา 1.5 เมตร ในเวลา 6 สัปดาห และควบคุมระดับนี้ตลอดไป

โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมลูกปลา ขนาด 2 - 3 เซนติเมตร อัตราปลอย 30 – 50 ตัว/ตารางเมตร หรือ
50,000 - 80,000 ตัว/ไร หากใชวิธีปลอยพอแมพันธุปลาใหผสมพันธุวางไข อนุบาลและเลี้ยงในบอเดียวกัน
ดังกลาวมาแลวขางตน โดยใชอัตราพอแมปลา 40 – 60 คู/ไร จะไดลูกปลาขนาดใบมะขาม ประมาณ 80,000 –
150,000 ตัว/ไร ทั้งนี้ ความหนาแนนในการเลี้ยงนี้ ขึ้นอยูกับสมรรถนะการจัดการฟารม และงบประมาณเงินทุน
หมุนเวียนในบริหารจัดการฟารมของเกษตรกรแตละรายเปนสําคัญ อยางไรก็ตาม หากมีเปาหมายตองการปลา
ขนาดใหญ ตองปลอยลูกปลาในความหนาแนนต่ําลงมา ประมาณ 20 ตัว/ตารางเมตร หรือ 32,000 ตัว/ไร
 ชวงเวลาที่เหมาะสมในการปลอยลูกพันธุปลา คือ ชวงเชาหรือเย็น และควรปรับอุณหภูมิของน้ําในถุงให
ใกลเคียงกับน้ําในบอกอน โดยนําถุงลูกปลาแชน้ําในบอเปนเวลา ประมาณ 10 - 15 นาที เพื่อปองกันลูกปลาช็อค
แลวเปดปากถุงคอยๆ เอาน้ําในบอใสถุงเพื่อใหลูกปลาปรับตัวใหเขากับน้ําใหมได

อาหารและการใหอาหาร
 การเลี้ยงปลาหมอไทย แบบยังชีพหรือแบบหัวไร ปลายนา ไมวาในบอปลาหลังบาน รองสวน คันคูน้ํา มุม
บอในนาขาวหรือบอลอปลา นอกจากอาหารตาม ธรรมชาติแลว เกษตรกรนิยมใหอาหารสมทบ จําพวก
(22-23) บอเลี้ยงปลาหมอ
 
17
 
เศษอาหารจากครัวเรือน รําละเอียด ปลาสดสับ ปลวกและการใชไฟลอแมลงกลางคืนตลอดจนอาหารสําเร็จรูป
บางสวน
 สวนการเลี้ยงปลาหมอไทยแบบธุรกิจเชิงพาณิชยนั้น เนนการปลอยเลี้ยงแบบหนาแนนสูงมาก (supper
intensive system) ใชปจจัยการผลิต ทั้งอาหารปลา ยาปองกันรักษาโรคและการถายเปลี่ยนน้ําเต็มที่ หวังผลผลิต
ที่สูงมาก ปลาหมอไทยนั้น เปนปลากินเนื้อ ในชวงแรก จากลูกปลาขนาดใบมะขามเปนปลารุน (อายุ 1 – 2 เดือน)
ตองการอาหารที่มีโปรตีนสูงมาก ไมต่ํากวา 40 % ประมาณ 10 – 5 % ของน้ําหนักตัว หลังจากนั้น เมื่ออายุ 2 –
3 เดือน ตองการอาหารระดับโปรตีนต่ําลงมา คือ 37 – 35 % โดยใหในอัตรา 5 – 3 % ของน้ําหนักตัว วันละ 3 –
4 มื้อ การใหตองเดินหวานอาหารใหรอบบอ

ปลาหมอ แมเปนปลาที่ทรหด อดทน ทนทาน แตตื่นตกใจจาก
สภาพแวดลอมที่เปลี่ยนแปลงอยางฉับพลันไดงาย เชน ฟาผา กิ่งไมใหญหักโคนลงในบอ เสียงระเบิดหรือประทัด
ตลอดการถายลดระดับน้ําลงอยางฉับพลัน ปจจัยเหลานี้ ทําใหปลาไมกินอาหาร 2 – 3 วัน เกษตรกรจึงควรหาทาง
ปองกัน
 แมวาปลาหมอไทยสามารถอาศัยอยูไดในน้ําที่มีคุณภาพต่ํากวาปกติไดก็ตาม แตก็จําเปนตองมีการเปลี่ยน
ถายน้ํา เพราะน้ําใหม จะกระตุนใหปลากินอาหารดีขึ้น สงผลใหเจริญเติบโตดี แข็งแรงและลดของเสียที่หมักหม
มพื้นบอ ทั้งนี้ กอนเปลี่ยนถายน้ําทุกครั้งตองแนใจวาคุณภาพน้ําที่สูบเขามาใหม ไมแตกตางจากคุณภาพน้ําในบอ
มากนักและสะอาดเพียงพอที่จะไมทําใหปลาเปนโรคได ในชวงเดือนแรกไมจําเปนตองเปลี่ยนถายน้ํา แตจะใชวิธี
เพิ่มระดับน้ําทุกสัปดาห หลังจากเดือนที่ 2 แลวจึงเปลี่ยนถายน้ําเดือนละ 2 ครั้ง โดยเปลี่ยนถายน้ําปริมาณ 1 ใน 3
ของน้ําในบอ หรือขึ้นอยูกับสภาพคุณภาพน้ําในบอ ไมควรถายเปลี่ยนน้ําออกมากอยางรุนแรง ที่ทําใหระดับน้ําใน
บอลดลงอยางฉับพลัน ควรถายน้ําพื้นบอออกและปลอยน้ําใหมเขาบออยางสมดุลกัน ปลาจะไมตื่นตกใจ อยางไรก็
ตาม การถายเปลี่ยนน้ําหลังเลี้ยงปลาไปแลว 3 เดือน จะกระตุนใหปลาสมบูรณเพศ ฟอรมไขหรือถุงน้ําเชื้อพัฒนา
เจริญขึ้น

ระยะเวลาเลี้ยงและวีธีการจับปลาจําหนาย
 ระยะเวลาเลี้ยงขึ้นอยูกับขนาดปลาที่ตลาดตองการ สภาวะสิ่งแวดลอมภายในบอและสุขภาพปลา ทั่วไปใช
เวลาเลี้ยง ประมาณ 90 – 120 วัน การจําหนาย ผูเลี้ยงกับแพปลา (พอคาขายสง) มักตกลงราคาขายเหมาบอ โดย
ทอดแหสุมตัวอยางปลาแลวตีราคา พอคาสงมีทีมจับปลาพรอมคัดขนาดเอง บอดานหนึ่งไปยังอีกดานหนึ่ง แลวจึงยกอวนขึ้น ใชสวิงจับปลาใสกระชังพักปลาหรือตะกราเพื่อคัดขนาด บรรจุปลา
ในลังไม ใชน้ําสะอาดฉีดพนทําความสะอาดตัวปลา ซึ่งมักติดคราบและกลิ่นโคลนดินหลายๆ ครั้ง แลวลําเลียง
ผลผลิตสูตลาดตอไป สวนปลาที่เหลือจํานวนนอยในบอ เจาของบอสูบน้ําออกจากบอจนแหงและจับปลาที่เหลืออยู
ตามพื้นบอไวบริโภคเองและแจกจายเพื่อนบาน หลังจากนั้น จึงลอกโคลนเลน ตากบอใหแหงและเตรียมบอ เพื่อ
เริ่มตนเลี้ยงปลาในรุนตอไป
ผลตอบแทนและตนทุน
 ผลการติดตามเก็บรวบรวมขอมูลการเลี้ยงปลาหมอไทย ของฟารมปลาตัวอยางในตําบลบางกุง อําเภอ
เมือง จังหวัดสุราษฎรธานี และตําบลเสาเภา อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใชบอดิน ขนาด 1,000 และ
1,770 ตารางเมตร ปลอยลูกปลาขนาดใบมะขาม จํานวน 40,000 และ 55,000 ตัว (คิดเปนอัตราปลอย 40 และ 31
ตัว/ตารางเมตร) ระยะเวลาเลี้ยง 102 และ 107 วัน ตามลําดับ มีผลผลิตเฉลี่ย 4,160 และ 5,300 กิโลกรัม/บอ
อัตราแลกเนื้อ 1.48 และ 1.59 อัตรารอด 93.67 และ 96.36 % จําหนายปลามีรายได ประมาณ 228,800 และ
280,900 บาท/บอ มีตนทุนดําเนินการเฉลี่ย 41.15 และ 42.43 บาท/กิโลกรัม คิดเปนกําไรเฉลี่ย 13.85 และ 10.57 บาท/กิโลกรั�]
การจําหนายปลาหมอไทย จะมีการคัดขนาดปลาหนาฟารมกอนลําเลียงขนสงสูพอคาปลีก หรือผูบริโภค
ใชสายตากะประมาณขนาดปลา โดยอาศัยคนงานที่มีทักษะความชํานาญ มักแบงปลาออกเปน 4 ขนาด มีราคา
ขายสง ณ ปากบอปลา ดังนี้
 1. ปลาขนาดใหญมาก ขนาด 3 - 5 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 60 - 70 บาท
 2. ปลาขนาดใหญ ขนาด 6 - 10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55 - 60 บาท
 3. ปลาขนาดกลาง ขนาด 11 - 15 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 40 - 50 บาท
 4. ปลาขนาดเล็ก ขนาด 16 - 40 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 5 - 25 บาท
 อยางไรก็ตาม ปลาขนาดเล็ก (ขนาดที่ 4) แพปลาหรือพอคาขายสง จะไมรับซื้อ แตใหเจาของบอจําหนาย
เอง สวนใหญ จําหนายในชุมชนทองถิ่นหรือใชทําปลาเค็มตากแหงหรือปลารา สวนผลการสํารวจเก็บขอมูลสภาวะ
การเลี้ยงปลาหมอไทยในจังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎรธานี ป 2546 พบวาสวนใหญ เกษตรกรนิยมใชบอ
ขนาด 1 – 4 งาน โดยมีคาเฉลี่ย ดังนี้ ขนาดบอ 1,049 ตารางเมตร ปลอยปลา 36,000 ตัว (อัตราปลอย 34.33 ตัว/
ตารางเมตร) ระยะเวลาเลี้ยง 90 วัน ผลผลิต 2,303.5 กิโลกรัม ขนาดปลาที่จับ 10 – 11 ตัว/กิโลกรัม อัตราแลกเนื้อ
1.53 อัตราเจริญเติบโต 1.13 กรัม/วัน และอัตรารอดตาย 63.53 %
การตลาดและระดับราคา
ตลาดที่เปนแหลงซื้อขายปลาหมอไทยหรือปลาน้ําจืดอื่นๆขนาดใหญ ที่มีการประมูลราคา หรือซื้อขาย
ลวงหนา เชน ตลาดกลางสัตวน้ํา มหาชัย ตลาดกลางหัวเกาะ จังหวัดสมุทรปราการ ตลาดกลางสัตวน้ําอางทอง
นอกจากนี้ยังตลาดไท รังสิต ตลาดบางประกง ตลาดลาดกระบัง และสะพานปลากรุงเทพฯ ในภาคเหนือ เชน
ตลาดแมต๋ํา จังหวัดพะเยา ตลอดจนตลาดสดประจําตําบล อําเภอและจังหวัดตางๆ วางจําหนายในลักษณะปลามี
ชีวิต (แชน้ํา) หรือปลาสดที่ขูดเกล็ด ผาทองทําความสะอาดพรอมนําไปประกอบอาหารไดเลย วิถีการตลาดปลา
หมอไทย เมื่อเกษตรกรเลี้ยงปลาไดขนาดตลาดหรือประสงคจับจําหนาย จะมีนายหนาหรือพอคาคนกลางใน
ทองถิ่นหรือจังหวัดใกลเคียง เขามาติดตอแนะนําพอคาสง (แพปลา) เพื่อสุมตัวอยาง ตอรองตกลงราคาพรอมนัด
หมายวันจับปลา สวนใหญตกลงราคาและซื้อขายกันเปนเงินสด พอคาสงนี้ จะคัดปลาแตละขนาดกระจายผลผลิต
ไปยังพอคาปลีกประจําเขียงปลาในตลาดสดประจําชุมชนตางๆ หรือจัดสงไปยังรานอาหารหรือผูบริโภค ซึ่งเปน
ลูกคาประจําในปริมาณและชวงเวลาที่แนนอน เชน รานขาวแกงตามสถานีบริการน้ํามัน สถานีขนสง หรือยาน
ชุมชน ซึ่งเชื่อถือและติดตอธุรกิจกันมานานแลว จีงมักซื้อขายเงินเชื่อ ชําระเงินกันเปนงวดหรือเช็คสั่งจายลวงหนา

สวนเหลื่อมการตลาด (Margin of Market) จากสาเหตุที่ปลาตองแชน้ํา เพราะการซื้อขายหรือผูบริโภค
นิยมปลามีชีวิต ทําใหสวนเหลื่อมการตลาดสูงมาก เพราะพอคาตองรับความเสี่ยงสูงเชนกัน กลาวคือ ปลาขนาด
ใหญ 6 - 10 ตัว/กิโลกรัม ราคาปากบอ 55 – 60 บาท/กิโลกรัม พอคาขายปลีก 80 บาท (สวนเหลื่อมการตลาด
ประมาณ 20 บาท) หากปลาตาย ราคาขายจะเหลือประมาณ 20 บาท ประเด็นนี้ จึงเปนขอจํากัดที่กระทบโดยตรง
ตอราคาปลาปากบอ หรือรายไดที่เกษตรกรจะไดรับ
ระดับราคาที่เกษตรกรจําหนายไดหนาฟารม ในรอบ 10 ปที่ผานมา เคลื่อนไหวคอนขางคงที่ (สูงต่ํา
ประมาณ 3 - 5 บาท/กิโลกรัม) ขณะที่ราคาขายปลีกหรือราคาที่ผูบริโภคจาย คอนขางผันผวนหรือมีสวนเหลื่อมสูง
มาก (ประมาณ 20 – 35 บาท/กิโลกรัม)
เมื่อพิจารณาดานอุปทาน พบวาปริมาณผลผลิตปลาหมอไทยนั้น ยังต่ํา เมื่อเทียบกับปริมาณปลาน้ําจืด
ชนิดอื่นๆ และความตองการบริโภคปลาของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น แตพบวาการกระจุกตัวของแหลงเลี้ยงปลา ที่
หนาแนนอยูเพียงพื้นที่ไมกี่อําเภอ ปริมาณปลาหมอที่จับไดจากธรรมชาติ (ปริมาณตามฤดูกาลและปลาหมอไทย
จากนาปลาสลิด) ชองทางการกระจายและวางจําหนายผลผลิตสูตลาดหรือผูบริโภค ผานแพปลาหรือพอคาขายสงที่
ผูกขาดอยูเพียงนอยราย จึงเปนขอจํากัดที่มีนัยสําคัญยิ่งตอระดับราคาปลาที่เกษตรกรพึงจําหนายได นอกจากนี้
ปญหาตนทุนการผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาอาหารปลาที่เพิ่มสูงขึ้นมากในรอบปนี้ และปญหาโรคปลาระบาด
เหลานี้เปนปจจัยเสี่ยงตอผลประกอบการของเกษตรกรทั้งสิ้น อยางไรก็ตาม เกษตรกรตองพัฒนาระบบการเลี้ยง
ปลาเชิงคุณภาพมากขึ้น โดยมุงขนาดปลาเปาหมาย มากกวาปริมาณผลผลิตตอพื้นที่ นั่นคือ ปลอยลูกปลา
หนาแนนลดลง เนนโปรแกรมการใหอาหารและเทคนิคการจัดการ เพื่อลดตนทุนการผลิต การควบคุมสิ่งแวดลอม
ในบอ เพื่อปองกันโรคพยาธิ เพิ่มอัตรารอดและคุ้มคาของผลผลิตมากขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 16 มิถุนายน 2014, 20:15:02 โดย lisen » IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 17:39:33 »

จะเลี้ยง จะขายก่ว่ามาคับ
IP : บันทึกการเข้า
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 18:29:53 »

จะเลี้ยง จะขายก่ว่ามาคับ
  หื้อข้อมูลก่อนครับ จะเลี้ยงหรือจะขายก็ยังเป๋นตลาดกลุ่มเล็ก ๆ ไว้ผมลองเลี้ยงดูก่อน ได้ผลอย่างใด ลู่ทางการขายการตลาดจะดีเหมือนปลานิน จนสามารถสร้างกำไรหื้อเกษตรกรอย่างใด ตอนนี้อยู่ในช่วงบุกเบิกครับ
IP : บันทึกการเข้า
Rosemobile
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,019



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 18:44:27 »

ลักษณะตัวเหมือนกับปลานิลเลยนะคะ
IP : บันทึกการเข้า
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 21:17:53 »

ลักษณะตัวเหมือนกับปลานิลเลยนะคะ
ครับใกล้เคียงกันแต่ว่า ปลาสะเด็ดนี้มันอดทนกว่า บ่อน็อคง่าย ๆเลี้ยงง่ายโตไว ขายได้ราคาพอ ๆ กั๋นคร๊าบ
IP : บันทึกการเข้า
ณภัทร ช.เจริญกิจ
ขาย - ซ่อม รับฝากคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อิเล็คฯ ทุกชนิด
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,227



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 21:58:09 »

ผมขอเสริมหน่อยครับ  ตอนที่ผมเรียนสื่อสารอยู่ป้อมพระจุลจอมเกล้า  ในวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ครูจะหื้อไปงมปลาหมอเทศเนี่ยในน้ำก่อยมาทำอาหารกลางวันกินกั๋น  ผมว่าเนื้อและกลิ่นมันเวลาเอาไปทอดจะหวานอร่อยและหอมกว่าปลานิลครับ ผมว่าถ้าจะตีตลาดปลานิลนี้ลอง ส่งหื้อแถวร้านอาหารก่อนก็ดีนะครับ หน้าจะถูกใจคนกิ๋นอยู่ ผมมั่นใจว่าอั้นหนา  (หั่นละคิดเติงหาแต้ปลาหมอเทศนิ)
IP : บันทึกการเข้า
pathom-thom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 319


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 22:17:01 »

เป็นกำลังใจให้ครับ เป็นยังไงบอกกันด้วยเน้อ.... ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

TEL.085-1079538  ฐมครับ
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 00:08:49 »

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 18:34:09 »

    *****
        เกษตรอินทรีย์ แบบพอเพียง

การเลี้ยงปลาหมอ ให้ได้ กำไร บ่อละแสน
« on: September 13, 2011, 03:55:07 PM »
ชีวิตอาจารย์ภาควิชาประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ที่หันมาเอาดีทางด้านเจ้าของกิจการฟาร์มปลา จนประสบความสำเร็จ ที่ชื่อ "บุญถม ทับสมบัติ" เจ้าของ บี.เอ็ม.แอนด์ นัท ฟาร์มปลาหมอไทย ตั้งอยู่เลขที่ 135 หมู่ 7 บ้านต้อน ต.เหนือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ที่ทุกวันนี้นอกจากสอนหนังสือนักศึกษาแล้ว ยังเป็นเจ้าของกิจการฟาร์มปลาที่ทำรายได้ให้ครอบครัวมากกว่าเงินเดือนข้า ราชการเสียอีก
บุญถม วัย 41 ปี พร้อมภริยาคือ พรทิพย์ ทับสมบัติ วัยเท่ากัน ยึดพื้นที่ 25 ไร่ ทำฟาร์มเลี้ยงปลาหมอ โดยแบ่งเป็นบ่ออนุบาล 8 บ่อ ขนาดตั้งแต่ 1 งานถึง 1 ไร่ บ่อเลี้ยงหรือบ่อขุนปลา ขนาด 1 งาน จำนวน 9 บ่อ บ่อพ่อแม่พันธุ์ ขนาด 1 งาน จำนวน 3 บ่อ บ่อพักน้ำ ขนาด 1 ไร่ จำนวน 2 บ่อ สถานที่ตั้งเหมาะสมด้านระบบนิเวศ ทัศนียภาพสวยงาม ริมหนองสาหร่าย เป็นหนองน้ำสาธารณะตำบลเหนือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

หลังจบการศึกษาปริญญาโท ด้านการประมง บุญถมก็เริ่มชีวิตอาจารย์สอนหนังสือที่ภาควิชาประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ และเมื่อ 15 ปีที่แล้วก็ริเริ่มการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เริ่มต้นด้วยการเพาะเลี้ยงกบ เลี้ยงปลาดุก ปลาหมอไทย เป็นการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของตลาดและชุมชน และถือเป็นการทดลองไปด้วย ที่สำคัญที่นี่คือศูนย์การศึกษาของนักศึกษาภาควิชาการประมง ทั้งการเรียนรู้ พักนอน ทำงาน การศึกษา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ครูบุญถม กล่าวอีกว่า องค์ประกอบของความสำเร็จของการเลี้ยงปลาหมอไทยคือ ต้องมีการศึกษาด้านพันธุกรรมปลาหมอ พันธุ์ไทยพื้นบ้าน ตัวเล็กโตช้า 10-15 ตัวต่อกิโลกรัม พันธุ์ใบโพธิ์ ขนาดใหญ่ 5-10 ตัวต่อกิโลกรัม ประการต่อมาคือ อาหาร มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 30% ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ คือให้อาหาร 2 เวลา เช้า-เย็น และด้านการจัดการ การเปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอน้ำสะอาด ปลากินอาหารดี กินเก่ง โตไวกำไรงาม

ส่วนบ่อขุนปลาหมอไทย เริ่มจากปลาขนาดใบมะขาม เริ่มให้อาหาร 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นอาหารไฮเกรดเม็ดเล็ก 7 วัน จากนั้นเปลี่ยนเป็นอาหารปลาดุกเล็ก จนถึงอายุ 1 เดือนครึ่ง เปลี่ยนเป็นอาหารปลาดุก รุ่น จนอายุ 90 วัน สามารถจับขายได้ 5-10 ตัวต่อกิโลกรัม กิโลกรัมละ 70 บาท ในฟาร์มสามารถผลิตได้รุ่นละ 6,000 กิโลกรัมต่อ 3 เดือนเชื่อมต่อกับเกษตรกรบ้านโปโล อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

หากผลิตปลาหมอไทยช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคมของทุกปี ราคาค่อนข้างสูงมาก กำไรงาม บ่อขนาด 1 ไร่ ใช้เวลา 90 วัน กำไรบ่อละ 1 แสนบาท 1 ครอบครัว มี 4 บ่อ แรงงาน 2-3 คน มีเงินปีละล้านบาท อยู่อย่างมีความสุขและพอเพียง ครูบุญถมบอกในตอนท้ายว่า เกษตรกรที่สนใจการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย โทร.08-1975-8083 ยินดีให้การศึกษาเพื่อชุมชน เพราะชุมชนมีความสุข คือความผาสุกของเกษตรกรไทย

"วัชรินทร์ เขจรวงศ์ "

ที่มา : คมชัดลึก


* 5babfif67fa5dfegf9j5h.jpg (27.26 KB, 480x360 - ดู 30703 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
KunYam
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 959



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 22:37:09 »

เหมือนปลานิลเลยครับ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

093 1308154
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 23:10:36 »

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ทางภาคอีสานเขานิยมเลี้ยงกันครับ ปลามัีนอึดตายยาก ปลานินตายง่ายยิ่งใกล้เอาปลาออกตลาด ตกใจก็ช็อคตายซะอย่างน้านนน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
widdoode
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 08:40:22 »

แล้วพันธ์ปลาหมอเทศทีี่เชียงรายมีขายก่อครับ
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 10:57:07 »

สมัยละอ่อนไปจ่อมเบ็ดไม้ไผ่มีอยู่ห้อย หนอง คลองบึง มีเยอะแยะ ต๋อนนี้สงสัยมันหายไปไหนหมด(30ปี๋ที่แล้ว) ยิงฟันยิ้ม ;Dอ้อ ปลาปาน(ภาษากลางฮ้องหยังบ่าหู้) แห๋ม ตี้หายไป ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Hi-tech Farm.
Hi-Tech Farm.
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


สินค้าเกษตร ปลอดภัย


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 11:39:47 »

ตกลงเราจะคุยเรื่องปลาหมอเทศ  หรือว่าปลาสะเด็ด(ปลาหมอไทย)กันแน่
อ่านไปอ่านมางงคนตั้งกระทู้ ยังติดตามอยู่ครับสนใจอยากเลี้ยง

ปลาหมอไทย
 


ปลาหมอเทศ

IP : บันทึกการเข้า

Hi-Tech Farm. tufagkai@gmail.com
ขี้เหล้าอาวุโส
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,062



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 12:52:37 »

ตกลงเราจะคุยเรื่องปลาหมอเทศ  หรือว่าปลาสะเด็ด(ปลาหมอไทย)กันแน่
อ่านไปอ่านมางงคนตั้งกระทู้ ยังติดตามอยู่ครับสนใจอยากเลี้ยง

ปลาหมอไทย
 


ปลาหมอเทศ


ไข่เต๋มต้อง ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
lisen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 22 มีนาคม 2013, 00:50:07 »

ตอนนี้พันธุ์ปลาหมอตอนนี้มีคนขาย แต่ว่าเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ครับ ที่ อ.พาน หากใครสนใจหรือต้องการเด่วผมจะติดต่อคนขายให้ครับ อยากให้มีคนเลี้ยงเยอะ ๆ เพราะว่าเลี้ยงง่าย โตเร็ว ทนทาน และราคาพอ ๆ กับปลานินครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ... 44 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!