เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 22:33:37
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  บริษัทไทยรับเบอร์แลนด์แอนด์แพลนเตชั่นจำกัดส่งเสริมปลูกและรับซื้อเมล็ดอินคา
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 พิมพ์
ผู้เขียน บริษัทไทยรับเบอร์แลนด์แอนด์แพลนเตชั่นจำกัดส่งเสริมปลูกและรับซื้อเมล็ดอินคา  (อ่าน 20982 ครั้ง)
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #40 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 13:32:05 »

ทางเลือกใหม่ของผมครับ  เลี้ยงกระต่ายเอาอึไปทำปุ๋ย
ลองดูแล้ว สามตัวใส่สวนถั่วอินคาได้หนึ่งไร่ (เดือนละหนึ่งครั้ง)
ตอนนี้มีตัวเล็กๆอีก สี่ตัวครับ  ตอนเย็นๆจะเอารูปให้ดูครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:14:06 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
newday
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


« ตอบ #41 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 14:09:41 »

มีแผนที่ไปบริษัทไหมครับ จะได้แวะไปสอบถามข้อมูล
IP : บันทึกการเข้า
newday
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 92


« ตอบ #42 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 09:00:16 »

ทราบมาว่าแถวๆโรงแรมริมกกรีสอร์ทก็มีแปลงสาธิต อยู่แถวไหนครับ
IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #43 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 14:16:18 »

บริษัทตั้งอยู่ที่บ้านนางแลใน  เลยวัดไปประมาณสองร้องเมตรจะเห็นป้าย  สวนม่านฟ้าทางซ้ายมือครับ  ส่วนที่ทางเข้าโรงแรมริมกกเป็นของบริษัท  ไท ซี เอ็ม เอส ครับไม่ใช่ของบริษัทเราครับ
สามารถเข้าดูแปลงสาธิตได้ที่บริษัทเลยครับ  โทรนัดก่อนนะครับจะได้พาเข้าพบผู้บริหารด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:14:33 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
punya
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 174

ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด


« ตอบ #44 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 14:31:57 »

ถั่วอินคาเหมาะกับดินแบบไหนค่ะ  ถ้าเป็นที่นาอาจจะมีน้ำขังประมาณ2-3 วันถ้าน้ำมามาก จะมีปัญหาการปลูกหรือเปล่าค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #45 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 23:15:40 »

ปลูกได้กับดินทุกสภาพครับ   ปุ๋ยทางดินใช้น้อยมากหากเทียบกับพืชอื่นๆ 
แต่เน้นปุ๋ยทางใบมากกว่า  แต่ประหยัดมากเพราะใช้ปริมาณที่น้อย
หากปลูกในนาต้องยกแปลกไม่ให้น้ำท่วมขัง  ถั่วอินคาเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดีแต่ก็ต้องอาศัยน้ำในการให้ผลผลิตครับ










IP : บันทึกการเข้า
kn007
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670



« ตอบ #46 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 12:18:15 »

น่าสนใจครับ แนวโน้มตลาดในระยะยาวเป็นยังไงบ้าง ใครพอมีข้อมูลมาแชร์ด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #47 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 13:41:08 »

เรื่องตลาดนี่ในต่างประเทศตื่นตัวกันมากเช่น สหรัฐอเมริกา
 แคนาดา  ออสเตรเลียรวมทั้งประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนี่ยน
 ส่วนแถบอาเซี่ยนผลตอบรับดีมากครับ เฉพาะตลาดจีน
ประเทศเดียวตอนนี้ผลผลิตเพื่อแปรรูปไม่เพียงพอต่อความต้องการ
 แนวโน้มราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆเพราะเริ่มมีการแข่งขันกันมากขึ้นเรื่อยๆครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:15:14 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #48 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 13:45:57 »

พระเอกตัวน้อย  ตัวช่วยใหม่เรื่องปุ๋ยของผมครับ


* FILE1333.jpg (154.06 KB, 1000x750 - ดู 2067 ครั้ง.)

* FILE1334.jpg (161.77 KB, 1000x750 - ดู 2099 ครั้ง.)

* FILE1336.jpg (171.56 KB, 1000x750 - ดู 2068 ครั้ง.)

* FILE1338.jpg (181.2 KB, 1000x750 - ดู 2128 ครั้ง.)

* FILE1341.jpg (183.37 KB, 1000x750 - ดู 2042 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #49 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 20:59:52 »

แล้งขนาดนี้ยังมีผลผลิตให้ชื่นใจ


* รูปภาพ2.jpg (330.62 KB, 1500x1125 - ดู 5835 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:15:38 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #50 เมื่อ: วันที่ 22 มีนาคม 2013, 07:33:28 »

หากดูแลให้ได้แบบนี้ก็ ok เลยครับ


* รูปภาพ1.jpg (38.78 KB, 364x503 - ดู 13104 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:16:05 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
kn007
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670



« ตอบ #51 เมื่อ: วันที่ 22 มีนาคม 2013, 08:46:20 »

พอจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดูแล รักษา เช่น ใช้ปุ๋ยอะไร ใช้ยาอะไร เดือนละกี่ครั้ง อะไรประมาณนี้ครับพอดีสนใจ จะให้พ่อปลูกที่จ.น่าน แล้วไม่ทราบว่าที่จ.น่านมีตัวแทนบริษัทหรือไม่ครับ
IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #52 เมื่อ: วันที่ 22 มีนาคม 2013, 12:49:32 »

การปลูกต้องไม่ใช้สารพิษทุกชนิด  และปลูกโดยใช้ปุ๋อินทรีย์ชีวภาพ ต่างๆ
 โดยให้ปุ๋ยทางดินเดือนละครั้ง  ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบพร้อมกับน้ำส้มควันไม้
 และหัวเชื้อบีที  สิบวันครั้ง ครับรายละเอียดโทรมาสอบถามฝ่ายส่งเสริมได้ครับ
 084-3632208  ยินดีที่ได้ให้ข้อมูลทุกเวลาครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:16:31 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #53 เมื่อ: วันที่ 26 มีนาคม 2013, 06:42:05 »

ปลูกเมื่อ  27 สิงหาคม 55  เริ่มเก็บผลผลิตแล้วครับ


* FILE1357.jpg (210.04 KB, 1000x750 - ดู 3293 ครั้ง.)

* FILE1358.jpg (197.78 KB, 1000x750 - ดู 2033 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:16:54 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #54 เมื่อ: วันที่ 26 มีนาคม 2013, 06:54:57 »

ถั่วอินคา ที่เตรีมพร้อมเข้าเคื่องรีดน้ำมัน


* FILE1347.jpg (265.31 KB, 1000x750 - ดู 2027 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:17:35 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #55 เมื่อ: วันที่ 26 มีนาคม 2013, 06:59:57 »

กากถั่วอินคามีโปรตีน  วิตตามินและน้ำมันโอเมก้าสูงนำไปผลิตอาหารสัตว์ได้ครับ


* FILE1348.jpg (289.2 KB, 1000x750 - ดู 2032 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:18:24 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #56 เมื่อ: วันที่ 26 มีนาคม 2013, 07:02:59 »

ผลิตภัณฑ์จากถั่วอินคาของบริษัท  มีทั้งม้ำมัน100%  ชาซองพร้อมชง
 สบู่และอีกหลากหลายที่พร้อเปิดตัวเร็วๆนี้


* FILE1355_1.jpg (127.11 KB, 750x1000 - ดู 1929 ครั้ง.)

* FILE1356.jpg (153.1 KB, 1000x750 - ดู 1930 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:18:52 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #57 เมื่อ: วันที่ 26 มีนาคม 2013, 07:05:36 »

พรีเซนต์เตอร์ลูกสาวคนสวยท่านประธานบริษัท
ยินดีต้อนรับทุกท่านได้เข้าไปศึกษา  ดูงานที่บริษัททุกวันครับ


* FILE1342.jpg (193.18 KB, 1000x750 - ดู 1969 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:19:22 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #58 เมื่อ: วันที่ 28 มีนาคม 2013, 09:38:05 »

ขอบคุณทุกๆท่านที่ให้ความสนใจติดต่อสอบถาม
และเดินทางมาดุแปลงปลูกที่บริษัททั้งจากจังหวัดเชียงราย
 พะเยา แม่สรวย สุพรรณ  บรีรัม  และพี่น้องจาก  ประเทศลาว
ผมจะรีบอัพข้อมูลใหม่ๆให้เรื่อยๆนะครับ  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:20:04 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
rukthai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 137


« ตอบ #59 เมื่อ: วันที่ 31 มีนาคม 2013, 01:42:37 »

มีรายละเอียดของการใช้น้ำส้มควันไม้และเชื้อบีที
ที่ใช้กับสวนถั่วอินคาครับ


 
     น้ำส้มควันไม้ ควันที่เกิดจากการเผาถ่านในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่านเมื่อทำให้เย็นลงจนควบแน่น
แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ของเหลวที่ได้นี้เรียกว่า น้ำส้มควันไม้ มีกลิ่นไหม้ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติก
มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน
ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ)
น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป

ประโยชน์และการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์

     น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้
ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น
เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม
กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนี้

    อัตราส่วน 1: 20 (ผสมน้ำ 20 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์และแมลงในดิน
ซึ่งควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน
    อัตราส่วน 1: 50 (ผสมน้ำ 50 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้
รากพืชอาจได้รับอันตรายได้
    อัตราส่วน 1: 100 (ผสมน้ำ 100 เท่า) ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงมาวางไข่
    อัตราส่วน 1: 200 (ผสมน้ำ 200 เท่า) พ่นใบไม้รวมทั้งพื้นดินรอบๆ ต้นพืชทุกๆ 7-15 วัน เพื่อขับไล่แมลงและ
ป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
    อัตราส่วน 1: 500 (ผสมน้ำ 500 เท่า) พ่นผลอ่อน หลังจากติดผลแล้ว 15 วัน ช่วยขยายผลให้โตขึ้นและพ่นอีกครั้ง
ก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้
    อัตราส่วน 1: 1,000 (ผสมน้ำ 1,000 เท่า) เป็นสารจับใบ เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ดีในสารละลาย
ที่เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยเสริมประสิทธิภาพของสารเคมีทำให้สามารถลดการใช้สารเคมีมากกว่าครึ่งด้วย

 
การนำน้ำส้มควันไม้ ไปใช้ด้านอื่นๆ

     นอกจากการนำไปใช้ทางด้านเกษตรและปศุสัตว์แล้ว ยังสามารถนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น
1.ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อน รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง
2.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 20 เท่า ราดทำลายปลวดและมด
3.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 50 เท่า ใช้ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง
4.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ฉีดพ่นถังขยะเพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัวและ
  บริเวณชื้นแฉะ

ข้อควรระวังในการ ใช้น้ำส้มควันไม้

1.ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
2.เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
3.น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพ
  ให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
4.การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน
5.การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้
6.การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้า
  มาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะร่วงง่าย

วิธีการใช้หัวเชื้อบีที
เชื้อบีที” (Bt) คือชื่อสามัญของเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้กำจัดแมลงชนิดหนึ่งซึ่งประกอบ ด้วยสปอร์ที่มีชีวิตและผลึกพิษจากแบคทีเรียในดินมีชื่อว่า Bacillus thuringiensis เชื้อบีที ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ควบคุมตัวอ่อน(หนอน)ของหนอนใยผัก หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนคืบ กะหล่ำ หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะผล มะเขือเทศ        เชื้อบีทีทั้งในรูปแบบที่เป็นของเหลวและ แบบแห้งมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ภายใต้ชื่อการค้าที่ แตกต่างกัน โดยปรกติแล้วเชื้อบีทีซึ่งมีชื่อบน ฉลากว่า Bacillus thuringiensis aizawai ให้ผลดี ที่สุดในการกำจัดหนอนใยผัก และตัวอ่อนขนาด เล็กของหนอนกะทู้ผัก(Spodoptera litura) สิ่งที่ สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การใช้เชื้อบีทีนั้นจะได้ผลดีที่ สุดกับหนอนที่มีขนาดเล็ก และเชื้อบีทีจะใช้ไม่ได้ ผลดีนักในการควบคุมตัวหนอนที่มีขนาด ใหญ่
เชื้อบีทีเป็นเชื้อทีมีความปลอดภัยสูงและไม่เป็นสาเหตุที่ก่ออันตรายต่อมนุษย์ ปลา สัตว์ป่า หรือแมลงที่มีประโยชน์ ประโยชน์อันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของการใช้เชื้อบีทีก็คือเชื้อนี้จะไม่ทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติซึ่งช่วยในการควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ อีกทั้งเชื้อบีทีส่วนใหญ่ยังได้รับการ ยอมรับ ให้ใช้ในการผลิตผักอินทรีย์
       เชื้อบีทีทำงานแตกต่างจากสารเคมีกำจัดแมลงทั่วๆไป คือ หนอนศัตรูพืชจะต้องกินใบพืชที่ถูกพ่นด้วยเชื้อบีทีใน ปริมาณเล็กน้อยก่อนจึงจะตาย ภายหลังจากกินบีทีแมลงจะยังไม่ตายในทันทีแต่จะมีอาการ ป่วยและหยุดกินอาหารแทบในทันทีหลังจากได้รับเชื้อ
        ควรตรวจสอบฉลากของผลิตภัณฑ์ว่าบรรจุเชื้อบีทีสายพันธุ์ Bt aizawai หรือ Bt kurstaki หลายๆประเทศในภูมิภาคเขต ร้อน(รวมทั้งประเทศไทย) หนอนใยผักได้มีการพัฒนาความ ต้านทานต่อผลิตภัณฑ์บีทีที่มีBacillus thuringiensis kurstaki เป็นสารออกฤทธิ์หลัก ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลดีควรเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย Bacillus thuringiensis aizawai
 
 คำแนะนำสำหรับการใช้เชื้อบีที
1. สำรวจแปลงปลูกพืชสัปดาห์ละสองครั้ง และฉีดพ่น เมื่อพบปริมาณแมลงศัตรูพืชถึงระดับควบคุม ระดับ ควบคุมนี้มิได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของแมลงศัตรูพืชเพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงปริมาณของศัตรูธรรมชาติที่พบในแปลงปลูกพืชด้วย ในกรณีที่คุณไม่สามารถลง สำรวจแปลงได้อาจจำเป็นต้องทำการฉีดพ่นเชื้อบีทีทุก3-7 วัน โดยใช้อัตราที่ถูกต้องตามฉลากผลิตภัณฑ์ อาจใช้เชื้อบีทีในอัตราที่สูงขึ้นได้ในกรณีที่ตัวหนอนมีขนาดใหญ่หรือเมื่อพบการระบาดรุนแรง พึงระลึกอยู่ เสมอว่า เชื้อบีทีให้ผลดีที่สุดต่อตัวอ่อนขนาดเล็กและ ตัวอ่อนที่พึ่งฟักออกจากไข่ใหม่ๆ ทำการควบคุมทันที เมื่อเริ่มสังเกตเห็นการเข้าทำลาย
2. ควรฉีดพ่นเชื้อบีทีในตอนบ่ายแก่ๆ เชื้อบีทีจะเสื่อม ประสิทธิภาพเมื่อถูกฉีดพ่นในช่วงเวลาที่มีแสงแดด รุนแรง
3. โปรดระมัดระวังอย่างยิ่งใน การฉีดพ่นให้ครอบคลุม ด้านล่างของใบพืช เช่นเดียวกับด้านบน
เพราะเป็นบริเวณที่หนอนใยผักและหนอนกะหล่ำอื่นๆ เริ่มเข้า กัดกิน
4. ใช้ หัวฉีดคุณภาพดี เพื่อให้ได้ละอองสารที่มีขนาดเล็ก สม่ำเสมอ แรงดันสูงจากเครื่องฉีดพ่นจะทำให้การ ฉีดพ่นทำได้ทั่วถึงครอบคลุมพื้นที่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ควรผสมเชื้อบีทีกับสารจับใบ หรือ สารช่วยแพร่กระจายในการฉีดพ่นทุกครั้ง ในกะหล่ำปลีและพืชตระกูลกะหล่ำอื่นๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากมิฉะนั้นสารฉีด พ่นจะไม่จับติดอยู่บนใบพืชผัก
6. ควรให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด หรือให้น้ำตาม ร่อง การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ หรือการ ตักน้ำรดภายหลังการฉีดพ่น น้ำจะไป ชะล้างเชื้อบีทีออกจาพืช และหากภายใน 48 ชม. หลังฉีดพ่นมีฝนตกหนักให้ฉีดพ่น เชื้อบีทีซ้ำอีกครั้ง
7. ใช้เชื้อบีทีที่ผสมเสร็จใหม่ สำหรับการ ฉีดพ่นแต่ละครั้ง อย่าพยายามประหยัด โดยการเก็บสารผสมที่เหลือใช้ในถัง พ่นเพื่อใช้งานในวันต่อไป เนื่องจาก เชื้อจะเริ่มสูญเสียประสิทธิภาพเมื่อ ผสมทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน เพื่อให้ ได้ผลดีที่สุดเมื่อผสมแล้วควรใช้ฉีด พ่นให้หมดในวันเดียว และห้ามใช้เชื้อ บีทีสูตรน้ำที่เก็บข้ามปี ควรซื้อขวด หรือถุงใหม่ทุกปี พร้อมทั้งสอบถาม อายุของผลิตภัณฑ์นั้น ซื้อเฉพาะยี่ห้อ ที่รู้จักกันดี จากตัวแทนจำหน่ายที่มี ชื่อเสียง แทนที่จะพิจารณาผลิตภัณฑ์ เฉพาะที่ราคาถูกเท่านั้น
8. ในกรณีที่จำเป็นต้องฉีดพ่นทุกสัปดาห์ เป็นเวลาติดต่อกัน 3 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น, ห้ามใช้เชื้อบีทีทุกครั้งที่ทำการฉีดพ่น  แต่ให้ใช้สารสกัดสะเดา หรือ สารกำจัดแมลงชนิดอื่นที่มีพิษต่ำ สลับ กับการใช้เชื้อบีที 2-3 ครั้ง สารสะกัด สะเดาได้รับการอนุญาตให้ใช้ในการ ผลิตพืชอินทรีย์ได้ แต่อาจเป็นอันตราย ต่อแมลงที่มีประโยชน์ได้มากกว่า เชื้อบีที
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 ตุลาคม 2013, 14:20:26 โดย rukthai » IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!