เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 25 เมษายน 2024, 05:27:45
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ตลาดกลางซื้อขายสินค้าออนไลน์
| |-+  ศูนย์รวมธุรกิจด้านการบริการ (ผู้ดูแล: CR.COM, B.E.)
| | |-+  มิติใหม่การป้องกันก่อนการระบาดของเพลี้ยกระโดด
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน มิติใหม่การป้องกันก่อนการระบาดของเพลี้ยกระโดด  (อ่าน 723 ครั้ง)
aod3177
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 23 กันยายน 2010, 22:40:38 »

       พฤติกรรมการใช้สารเคมีเป็นอาวุธกำจัดแมลงศัตรูข้าว โดยเฉพาะ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ของเกษตรกรชาวนา นับวันยิ่งจะใช้สารเคมีที่มีอนุภาพการทำลายที่รุนแรงและใช้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกที เกษตรกรอาจจะไม่ทราบว่าการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูข้าวไม่ว่าจะโดยวิธีการใดก็ตาม ไม่ค่อยได้ผลคุ้มค่ากับเงินและเวลาที่สูญเสียไป นอกจากนั้น การฉีดพ่นสารเคมียังทำให้แมลงดื้อยา เป็นอันตรายต่อตัวเกษตรผู้ฉีดพ่นสารเคมีเอง และสิ่งแวดล้อม แน่นอนที่สุดสารเคมีบางชนิดอาจตกค้างในผลผลิตและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
            
         มิติใหม่การป้องกันก่อนการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้อาวุธชีวภาพ คือ "หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส" ซึ่งประกอบเชื้อราที่เป็นศัตรูธรรมชาติ 3 ชนิด คือ บิววาเรีย  เมธาไรเซียม และ พาซิโลมัยซิส อยู่ในรูปผงสปอร์พร้อมใช้  ใช้ง่ายและสะดวก ปลอดภัยต่อผู้ใช้
              การใช้สารเคมีทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะไม่สามารถทำลายเพลี้ยได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพศเมีย  1 ตัว  ไข่ครั้งละ 5-7 ฟอง  ไข่วันละ  5  ครั้ง  รวม  25-35  ฟอง ต่อตัว ต่อวัน  ประมาณ   10-15  วัน ก็จะกลายเป็นตัวเต็มวัย  เมื่อพ่นสารเคมีก็จะสามารถกำจัดได้เฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้น  ส่วนไข่จะยังอยู่และกลายเป็นตัวเต็มวัยในเวลาต่อมา  และต้องพ่นยาฆ่าแมลงอยู่ตลอดเวลา  นั่นเป็นหลุมพรางของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ การใช้      
ประโยชน์: บิววาเรีย และ เมธาไรเซี่ยม มีความสามารถเข้าทำลาย แมลงศัตรูพืชทุกชนิด โดยผ่านเข้าทางผิงหนังของแมลง ด้วยการสร้างหลอดออกมาแทงทะลุผิวหนังของแมลงเข้าไปภายใน เชื้อจะสร้างกลุ่มเส้นใยเข้าไปตามท่ออาหารและขยายจำนวนมากขึ้น โดยเส้นใยแตกและหักออกเป็นท่อนสั้นๆเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆในตัวแมลง และเพิ่มจำนวนภายในตัวแมลง ซึ่งจะทำลายเนื้อเยื่อของแมลง และ ปล่อยสารพิษทำลายแมลงด้วย ทำให้แมลงป่วย ร่างกายอ่อนแอ และตายในที่สุดและติดต่อไปยังแมลงข้างเคียงอย่างรวดเร็ว และทำลายแมลงตัวอื่นๆด้วย  ส่วนแมลงไม่สามารถ แสดงอาการดื้อยา เหมือนสารเคมีกำจัดแมลงทั่วๆไป ในขณะที่ พาซิโลมัยซิส  จะกำจัดไข่ของแมลงทุกชนิด เช่น ไข่หนอนเจาะลำต้น ไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไข่หนอนใยผัก ไข่หนอนเจาะสมอฝ้าย ไข่หนอนกระทู้หอม และไข่ของแมลงทุกชนิดทั้งปากกัดและปากดูด รวมทั้งไข่หอยเชอรี่ในนาข้าว   แต่ หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซัสไม่เป็นอันตรายต่อ มนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด จึงปลอดภัยกับคนฉีดกว่าสารเคมี

     วิธีการใช้:

    1. แช่ หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง  เพื่อให้ จุลินทรีย์เพิ่มปริมาณและขยายตัว ก่อนนำไปฉีด

     2. ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส   อัตรา 50 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร ฉีดช่วงเช้าหรือเย็น ช่วงเย็นจะเหมาะที่สุดเพราะผ่านช่วงกลางคืน ทำให้จุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดทำงานได้เต็มที่  และฉีดให้โดนตัวแมลงให้มากที่สุด ถ้ากรณี เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะเกาะ  อยู่ตามโคนต้นและใต้ใบ

      3.   กรณีป้องกัน ใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส  สลับกับสารเคมี หรือผสมกับสารเคมีได้   พร้อมกัน เพื่อป้องกันการดื้อยาของแมลงทุกชนิด โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดน้ำตาลที่ดื้อสารเคมีได้รวดเร็วมาก  

     4.   กรณีแมลงระบาดแล้ว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส   กับ สารเคมีได้เลย ฉีดไปพร้อมกัน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถสร้างภูมิต้านทานสารเคมีได้ แต่ไม่สามารถสร้างความต้านทาน หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัสได้

     5.  สามารถใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส ลดจำนวนแมลงตัวแก่ได้โดยฉีดไปที่ตัวแมลงที่ มาเล่นไฟโดยตรง โดยเฉพาะ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะเป็นตัวเมียส่วนใหญ่ที่มาเล่นไฟ ทำให้ตัวแก่ตัวเมียตายไม่สามารถออกไข่ได้

      6.   หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัสมี “พาซิโลมัยซิส”  เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่เกาะอยู่ตามใบข้าว ไม่ให้ฟักออกมาเป็นตัว ทำให้ช่วยลดจำนวนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้อีกทางหนึ่ง สาเหตุที่สารเคมี ใช้ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่ค่อยได้ผล เป็นเพราะ การดื้อยา และ สารเคมีฆ่าเฉพาะตัวอ่อนกับตัวแก่เท่านั้น แต่ฆ่าไข่ไม่ได้ เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวก็จะทำลายข้าวได้อีก

ดังนั้น “หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเมธาซินัส” จึงมีประสิทธิ์ภาพสูงกว่าและปลอดภัยต่อผู้ใช้มากกว่าสารเคมีในการควบคุมและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


ติดต่อสั่งซื้อที่ คุณอำนวย 0891777260
www.amnuaykaset.com
 


* 32016.gif (32.24 KB, 230x298 - ดู 50 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!