เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 24 เมษายน 2024, 01:38:53
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0
ห้ามประกาศซื้อขาย แลกเปลี่ยน สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองทุกชนิด บนเว็บไซต์แห่งนี้ เจอกระทู้ไหนประกาศ จะดำเนินการลบออก โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ตลาดกลางซื้อขายสินค้าออนไลน์
| |-+  สัตว์เลี้ยง (ผู้ดูแล: ตาต้อม, Active Oper, “๏.๎฿ @ ์ N ' K๎.๏™”)
| | |-+  !!!!!.....ระวัง.......โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน.....!!!!!
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน !!!!!.....ระวัง.......โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน.....!!!!!  (อ่าน 2363 ครั้ง)
++newlook++
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,413


« เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 00:14:39 »

ขออนุญาติเผยแพร่ข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับผู้รักสัตว์ทุกท่าน ไม่ได้มีเจตนาอื่นใดนอกเหนือไปจากหวังว่าจะเป็นประโยชน์ เพื่อให้ตระหนักและระวังอันตรายที่อาจมาสู่ท่านและครอบครัวจากสัตว์เลี้ยงของท่านได้ เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้เคยประสพกับสิ่งนี้มาแล้วแทบเอาชีวิตไม่รอด หากเวลานั้นคุณหมอวินิจฉัยช้าไป ผู้ตั้งกระทู้นี้คงจะไม่มีชีวิตแล้ว ก็หวังว่าคงจะไม่มีท่านใดจะต้องประสพกับมันอีก

ปล...หากท่านป่วยจากโรคที่ไม่ทราบสาเหตุควรให้ข้อมูลกับแพทย์อย่างละเอียด รวมทั้งประวัติการสำผัสหรือการคลุกคลีกับสัตว์ทุกชนิตเท่าที่จะเป็นไปได้ มันอาจช่วยให้การวินิจฉัยโรคที่เกิดกับท่าน ได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่มันจะสายไป

************************************************************************

สธ.แฉโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนพุ่ง 271 โรค

สุนัขมากที่สุด 47 โรค เฝ้าระวังโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ 2012 มีตายแล้ว
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ และที่ปรึกษา
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ “โรคติดต่ออุบัติใหม่ : ความ
ท้าทายใหม่บนโลกเก่า” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่ : ความท้าทายสำหรับ
บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ว่า ปัญหาที่ท้าทายงานด้านสาธารณสุขของประเทศไทย มีจาก
3 กลุ่ม คือ 1.ปัญหาโลกร้อน เนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปจะส่งผลต่อความไวต่อการรับเชื้อทำให้
ภูมิคุ้มกันโรคของมนุษย์อ่อนแอลง ขณะที่โรคใหม่ๆอุบัติขึ้นในลักษณะของการระบาด 2.ปัญหาโรคติด
เชื้ออุบัติใหม่ ซึ่งกว่า 70% เป็นโรคติดจากสัตว์สู่คน เนื่องจากคนและสัตว์มีปฏิสัมพันธ์กัน และ
3.เชื้อจุลชีพก่อโรค ซึ่งเกิดจากการอุบัติใหม่ การดื้อยาและปฏิชีวนะ และเกิดจากการพัฒนาอาวุธ
ชีวภาพ จากข้อมูลของสำนักงานระบาดวิทยาพบว่าสัตว์แพร่เชื้อสู่คนจนทำให้เกิดโรคได้ถึง 271 โรค
และที่น่าตกใจคือพบว่า 3 ลำดับแรกของสัตว์ที่นำโรคมาสู่คน คือ จากสุนัข 47 โรค สัตว์ฟันแทะ 44
โรค และการทำปศุสัตว์ 37 โรค นอกจากนี้ เป็นโรคจากแมว 34 โรค ลิง 27 โรค สัตว์เลื้อย
คลานและปลา 20 โรค กระต่าย 17 โรค และนก 15 โรค

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐกล่าวต่อว่า สำหรับโรคติดจากสัตว์สู่คนที่ควรมีการเฝ้าระวังในปี 2556
คือ โรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ 2012 ที่ระบาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น จอร์แดน
กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย ปัจจุบันมีรายงานพบผู้ป่วยทั่วโลก 9 ราย เสียชีวิต 5 ราย ซึ่งจากการสอบ
สวนได้ตั้งข้อสงสัยว่าติดเชื้อมาจากค้างคาว นอกจากนี้ โรคจากประเทศเพื่อนบ้านก็ยังเป็นสิ่งที่ต้อง
เฝ้าระวัง อาทิ โรคไข้หวัดนก เป็นต้น ยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558
การเดินทางไปมาของประชากรระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอาจทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ อาทิ
โรคคอตีบ หัด โปลิโอ หัดเยอรมัน ไอกรน คางทูมและไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งมีโอกาสกลับมาใหม่ได้ทั้ง
หมด ดังนั้น สธ.ต้องเฝ้าระวังและมีการให้ข้อมูลข่าวสารต่อประชาชนอย่างโปร่งใส เพื่อให้เกิดการ
เตือนภัยของโรคได้อย่างทันท่วงที.

 ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
 http://www.thairath.co.th/content/edu/319378
  * โดย ทีมข่าวการศึกษา
  * 11 มกราคม 2556, 05:45 น.

*******************************************************************
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 00:49:55 โดย ++newlook++ » IP : บันทึกการเข้า

รับทำกรงสุนัขและสัตว์เลี้ยง ตามสั่งทุกแบบทุกขนาด
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=189263.0
ติดต่อได้ที่ : 080-671-4993
ที่ตั้ง : http://goo.gl/maps/daSvO
simplack
พี่คนนี้นั้นมีแต่ให้
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,211



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 00:18:26 »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ได้เกิดมาเป็นคนก็ดีแค่ไหนแล้ว
bubbie
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 122


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 00:21:29 »

เลี้ยงตัวเอง เลี้ยงแฟน เลี้ยงลูก ก้อเป็นโรคคับ โรคไส้แห้งคับบ 
IP : บันทึกการเข้า
++newlook++
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,413


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 00:24:22 »

โรคสัตว์สู่คน (ZOONOSES) มีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์และสัตว์ ตราบใดที่เรายังมีการคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยง  เช่น  สุนัข  แมว  นก 

ปลา  และสัตว์ทดลองต่างๆ หรือพวกสัตว์เศรษฐกิจ เช่น  วัว  ควาย  ม้า  สุกร  เป็ด  ไก่  โอกาสติดโรคระบายกันจะมีอยู่ตลอดเวลา 

บางชนิดจะแพร่กระจายในหมู่สัตว์ด้วยกัน แต่บางชนิดก็แพร่กระจายมาสู่คนได้ไม่ว่าจะเป็นทางผิวหนังบาดแผล, การกิน และการ

หายใจ โรคต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นปัญหาต่อวงการสาธารณสุขของบ้านเรา ที่ชัดเจนคือโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) โรคแอนแทรกซ์

(Anthrax) ซึ่งจัดอยู่ใน 19 โรคติดต่อทางสาธารณสุข ส่วนในสัตว์ก็จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อในพระราชบัญญัติสัตว์ด้วย
   เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา Clin.Microb 401 คณะเทคนิคการแพทย์นี้เรียบเรียงจากข้อมูลโรคสัตว์สู่

คน ซึ่งได้มาจากสถานที่ราชการหลายแห่ง สถานศึกษาที่ต้องอาศัยการค้นคว้าจากเอกสารตำราจากต่างประเทศ หรือเอกสารอ้าง

อิงของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง เป็นข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล  กรมปศุสัตว์  กองระบาด

วิทยา  กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข และหัวข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสารอ้างอิงดังนี้
Refrence
•   D.L.Croghan, Ira M.G.Gourley.G.L. Von Hoosier, Lr.,William R.Snifer.Current

Veterinary Therapy 4, 650,611,663,666
•   Lecture   notes  of  Zoonoses  of  Medical  Importance (SIMI 603) คณะแพทยศาสตร์  ศิริ

ราชพยาบาล, 1982
•   ศ. เชื้อ  ว่องสงสาร  คู่มือบำบัดโรคสัตว์  โรคติดต่อในพระราชบัญญัติ
•   เอกสารจากสำนักโรคติดต่อทั่วไป  กรมควบคุมโรคติดต่อ  กระทรวงสาธารณสุข
•   เอกสารจากสถานเสาวภา  สภากาชาไทย
•   ข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ เกี่ยวกับการควบคุมโรคแอนแทรกซ์
•   Goedon, L.E. Control of Communicable Discases  in  man.


ที่มา : สัตวแพทย์หญิงทัศนีย์  ไหลมา
   สิงหาคม  2531
www.medicine.cmu.ac.th/secret/edserv/animal/ZOONOSES.doc
IP : บันทึกการเข้า

รับทำกรงสุนัขและสัตว์เลี้ยง ตามสั่งทุกแบบทุกขนาด
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=189263.0
ติดต่อได้ที่ : 080-671-4993
ที่ตั้ง : http://goo.gl/maps/daSvO
++newlook++
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,413


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 00:27:51 »

ZOONOSES

เอกสารประกอบการสอน
กระบวนวิชา Clin. Microb. 401
สัตวแพทย์หญิงทัศนีย์  ไหลมา
หน่วยสัตว์ทดลอง  คณะแพทยศาสตร์  มช.

คำนิยาม
   เดิมคำนิยามของ  Zoonoses  หมายถึงโรคติดต่อจากสัตว์เลี้ยงมาสู่คน  ต่อมาภายหลังผู้เชี่ยวชาญขององค์การ

อนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของ ZOONOSES ว่า หมายถึง Those  diseases  and  infection  which  are  

naturally  transmitted  between  vertebrate  animals  and  man. (โรคทั้งหลาย และการติดเชื้อที่มีการ

ติดต่อตามธรรมชาติระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลัง และคน)
   กล่าวโดยสรุป ZOONOSES หมายถึงโรคติดต่อระหว่างคนและสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า  การ

ติดต่ออาจติดต่อจากสัตว์มายังคน  หรือจากคนไปยังสัตว์ก็ได้  แต่การติดต่อนั้นต้องเป็นไปโดยธรรมชาติ
การติดต่อจากสัตว์ไปสู่คน


   
การติดเชื้อโรคจากสัตว์มาสู่คนนั้นเกิดขึ้นได้หลายทาง  พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

1.   โดยการสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยตรง  เช่น  โรค Leptospirosis  ที่เกิดจากเชื้อ  Leptospira  เชื้อนี้จะไชเข้าสู่ร่างกายคน
จากบาดแผลทางผิวหนังได้
2.   โดยการกิน  จะเป็นการกินเนื้อ, อวัยวะบางส่วนซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ที่เป็นโรค  เช่นกินเนื้อสัตว์ที่เป็นโรค
Trichinosis ที่มีตัวอ่อนของพยาธิในกล้ามเนื้อ  หรือกินนื้อสัตว์ที่เป็นโรค Anthrax  หรือดื่มนมจากแม่วัวที่ป่วยเป็นวัณโรค  

เป็นต้น
3.   โดยการหายใจเอาเชื้อหรือ spore  ของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค  เช่น  โรค Anthrax, Cryptococcosis,

Aspergillosis  เป็นต้น
4.   โดยการถูกแมลงที่เป็นพาหะของโรคกัด  เช่น  ยุงที่นำเชื้อ  Japanese  encephalitis  หมัดหนูนำเชื้อกาฬโรค

ไปสู่คน
5.   โดยการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด  เช่น  โรคพิษสุนัขบ้า  เชื้อจะอยู่ในน้ำลายของสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า และเชื้อจะเข้าทาง

บาดแผลที่ถูกกัดนั้น  เป็นต้น



การจำแนกโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน

   การจำแนกกลุ่มของโรคทำได้หลายแบบ  เช่น  การจำแนกตามแบบแผนของวงจรชีวิตของเชื้อโรค  การจำแนกตาม

ธรรมชาติของ  host  ที่เป็น  reservoir  ของโรค  เป็นต้น
   ในที่นี้  จะจำแนกกลุ่มของโรคติดต่อ  ระหว่างสัตว์ และคน  ตามชนิดของเชื้อที่ทำให้เกิดโรค  ซึ่งพอจะแยกได้ดังนี้
ก.   โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  เช่น  Anthrax, Brucellosis, Leptospirosis, Plague, Melliodiosis,

glanders, Clostridial  food  poisoning, Vibrio  parahaemolyticus, food-born  infection,

Salmonellosis, Shigellosis  and  E.coli  infection, Staphy lococcus  food  poisoning,

Tuberculosis, Listeriosis, Erysipelothrix  infection  and  Campy  lobacteriosis  เป็นต้น
ข.   โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส  เช่น  Rabies,  Japanese  encephalitis,  Food  and  Mouth  disease  

เป็นต้น
ค.   โรคที่เกิดจากเชื้อรา  เช่น  Aspergillosis, Cryptococcosis,  Histoplasmosis,  

Dermatophytosis  เป็นต้น
ง.   โรคที่เกิดจากปาราสิต  เช่น  Trichinosis,  Filariasis,  Angiostrongyliasis,  

Gnathostomiasis,  Thelajiasis,  Opisthorchiasis,  Fasciolopsiasis,  Schistosomiasis,  

Paragonimiasis,  Tacniasis  and  Cysticercosis,  Toxoplasmosis  เป็นต้น



การควบคุมโรค  Zoonoses

1.   หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย  หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่วย
2.   กำจัดหรือทำลายซากสัตว์ป่วย  เช่น  การฝังดินลึกๆ  หรือเผาทำลาย
3.   ควบคุมกำจัดพาหะของโรค
4.   ฉีดวัคซีนให้กับสัตว์เพื่อป้องกันการระบาดของโรค  และฉีดวัคซีนให้กับบุคคลที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูง
5.   ทำลายเชื้อที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์  เช่น  นมที่ดื่มต้องผ่านการฆ่าเชื้อ (Pasteurization) หรือถ้าเป็นเนื้อ

สัตว์  เครื่องใน  ก็ควรทำให้สุขก่อน
6.   เมื่อมีการระบาดของโรคต้องรีบรายงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  เช่น  เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์  และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  

เป็นต้น



โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

   โรคติดต่อระหว่างสัตว์กับคนเนื่องจากสาเหตุการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นมีมากมาย  ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรคที่พบบ่อย

ในประเทศไทย  ที่มีผลต่อเศรษฐกิจ  และก่อปัญหาสาธารณสุขในบ้านเราเท่านั้น



1.   โรคแอนแทรกซ์ (ANTHRAX)
โรคแอนแทรกซ์  ชาวบ้านเรียกว่า  โรคกาลี  เป็นโรคระบาดในสัตว์เลี้ยงและคนในประเทศไทย  ปัจจุบันโรคนี้เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้น

อยู่ประปราย  โดยเกิดทั้งในสัตว์และในคน  และจะพบว่าเกิดซ้ำในท้องที่เดิมที่เคยมีรายงานโรคมาก่อนเสมอ
สาเหตุ
   โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  ที่มีชื่อว่า  “บาซิลัส  แอนทราซิส” (Bacillus  anthracis)  มีรูปร่าง slender  

rod  shape  ติดสี  Gram  positive  เชื้อนี้เมื่ออยู่นอกร่างกายสัตว์จะฟอร์มสปอร์  ซึ่งสปอร์นี้จะทนต่อความร้อนความแห้ง

แล้งได้ดี และสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน 10-20 ปี
การติดต่อ
   คนติดต่อโรคจากสัตว์ได้โดย
1.   โดยการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วยหรือสัมผัสกับผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ได้มาจากสัตว์ป่วย  เช่น  บุคคลที่มีอาชีพชำแหละเนื้อ  

สัตวแพทย์  หรือ  ผู้ใกล้ชิดกับสัตว์ป่วย
2.   โดยคนกินเนื้อสัตว์ป่วยที่เป็นโรคเข้าไป
3.   โดยการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าไป
อาการ
   สำหรับอาการของโรคนี้  ในคน  สามารถแบ่งตามลักษณะของการได้รับเชื้อเข้าไปดังนี้
1.         อาการที่เกิดตามผิวหนัง  (Cutaneous  anthrax)
จะพบได้บ่อยที่บริเวณผิวหนังที่ได้รับเชื้อเข้าไป  โดยปกติวิการของโรค (Lesion) จะเกิดขึ้นที่ผิวหนังไม่เกิน  2  วัน  หลังจากได้รับ

เชื้อเข้าไป  อาการเริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดง  คันคล้ายกับถูกแมลงกัด  ต่อมาจะบวมและกลายเป็นตุ่มหนองมีน้ำใสอยู่ภายใน

ตรงกลาง  หลังจากนั้นเกิดลักษณะของเนื้อตาย (necrosis) เป็นสีดำมีอาการเจ็บเล็กน้อย ในระยะนี้ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณ

ใกล้แผลจะมีอาการบวมอย่างเห็นได้ชัด ในรายที่มีอาการมากจะทำให้เกิดมีเชื้อในกระแสเลือด และมีอาการโลหิตเป็นพิษ

(toxaemia) ส่วนมาก มักเกิดกับบุคคลที่ทำการชำแหละเนื้อสัตว์ป่วย  เช่น  โค,  กระบือ,  สุกร  โดยเชื้อจะเข้าทางผิวหนังตรง

บริเวณที่เป็นแผล  รอยขีด  หรือรอยแตกของผิวหนัง  ในรายที่ไม่ได้รับการรักษา  จะมีอัตราการตายประมาณ  20%
2.   อาการระบบหายใจ  (Inhalation  anthrax)  เกิดขึ้นเนื่องจากหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าไป โดยสปอร์จะติด

อยู่ตามฝุ่นละออง  ขนสัตว์  หนังสัตว์  เมื่อสูดดมเข้าไปจะไปอยู่ในถุงลม  ต่อจากนั้นจะเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลอดลม  และ

เข้าสู่ระบบหมุนเวียนของโลหิต  อัตราการตายของผู้ป่วยที่เป็นโรคแบบนี้เกือบ 100%  อาการของโรคที่เห็นพบว่าผู้ป่วยจะมีไข้  ปวด

ตามกล้ามเนื้อ  ไอ  อาการดังกล่าวคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ หรือ ปอดอักเสบอย่างอ่อน ต่อมาจะหายในลำบาก มีน้ำออกมาตามเยื่อ

เมือกและผิวหนังมีสีเขียวคล้ำ แสดงการขาดออกซิเจนในเลือด ผู้ป่วยจะมีชีพจรและหายใจถี่ก่อนตายเสมอ
3.   อาการทางระบบลำไส้  (Intestinal  anthrax) เกิดขึ้นเนื่องจากกินอาหารที่มีเชื้อนี้อยู่เข้าไป  เช่น  อาหารที่ดิบๆ

หรือไม่สุก  ทำให้มีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง  ส่วนใหญ่โรคนี้มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน
อาการในสัตว์
จะเกิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด และจะเป็นชนิดเฉียบพลัน คือสัตว์จะมีไข้ และตาย อาการอื่นมีบวมที่คอ  ไหล่  บริเวณอก  ปาก

 และจมูกแห้ง  หายใจเร็ว  ไข้สูง  ขาสั่น  ชักและเกร็งเป็นระยะๆ  เยื่อหุ้มตาอักเสบ  อาการที่พบในโรคนี้ส่วนมากจะมีอาการบวมตาม

บริเวณคอหอย  หายใจลำบาก  เลือดออกตามช่องเปิดต่างๆ และเป็นเลือดที่ไม่มีการแข็งตัว  สัตว์ที่ตายจะเกิด ferment  เร็วมาก
การวินิจฉัยโรค
โดยการแยกเชื้อที่ผิวหนังนำมาย้อมสี gram  หรือสี  giemsa  หรือนำไปเพาะเลี้ยงต่อ  สำหรับการนำเลือดมาเพาะเชื้อจะทำได้ใน

ระยะปลายของโรค หรือระยะที่สัตว์ใกล้ตาย จะได้ผลดีกว่า เพราะเชื้อนี้จะถูกทำลายเร็วในขบวนการเน่าเปื่อย
ในกรณีที่การเพาะเลี้ยงเชื้อไม่ได้ผลควรใช้การฉีดเข้าหนู mice หรือหนูตะเภา  ถ้าเราอยากให้สัตว์ตายช้าอาจใช้ ตัวอย่าง

(specimen) ที่ได้ นำมาขูดบนผิวหนัง  วิธีนี้จะทำให้การวินิจฉัยโรคแน่นอนกว่าเพราะถ้าเราฉีดในสัตว์ทดลองสัตว์ที่ตายเร็วอาจ

เนื่องมาจากเชื้อ Clostridium ก็ได้
การควบคุมโรค
1.   โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์เป็นประจำทุกปี
2.   สัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้หรือสงสัยว่าตายด้วยโรคนี้ให้ฝังหรือเผา  ห้ามชำแหละอย่างเด็ดขาด  วิธีการนี้จะควบคุมมิให้โรค

แพร่กระจายออกไปได้ดี
อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบก็คือ การให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่สัตว์  ควรใช้วัคซีนที่ไม่ได้เตรียมมาจาก
สปอร์  แต่ควรใช้วัคซีนเชื้อตาย  ซึ่งจะทำให้มีภูมิคุ้มโรคอยู่ได้นานเมื่อเปรียบเทียบกับสปอร์วัคซีน  วิธีการนี้  จะทำให้การควบคุมโรค

แอนแทรกซ์ในสัตว์เลี้ยงได้ผลดี



2.   โรควัณโรค  (TUBERCULOSIS)
เป็นโรคติดต่อที่สำคัญของสัตว์เลือดอุ่น  สามารถติดต่อกันได้ระหว่างคนกับสัตว์  และสัตว์กับคน


สาเหตุ
   วัณโรคมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า  ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโรซีส (M.tuberculosis) รูปร่างเป็น slender

 rod  shape  ย้อมด้วยสี  acid – fast  ติดสีแดง
การติดต่อ
1.   โดยการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างสัตว์เป็นโรคกับคน
2.   โดยการหายใจเอาเชื้อโรคที่อยู่ในอากาศเข้าไป
3.   โดยการกินน้ำนมจากสัตว์ที่เป็นโรคเข้าไป  เช่น  น้ำนมโคที่เป็นวัณโรค
4.   โดยการกินเนื้อสัตว์ที่เป็นโรคเข้าไป
การติดวัณโรคในคนส่วนใหญ่ติดจากโคที่เป็นโรคมากว่าสัตว์ชนิดอื่น  เช่น  สุนัข  แมว  แพะ  แกะ  สุกร  ม้า  กวาง  ลิง  เป็นต้น
อาการ
   ในคน  ส่วนใหญ่พบเป็นวัณโรคที่ปอดมากที่สุด  เมื่อเปรียบเทียบกับที่อื่น  เนื่องจากทำให้เชื้อแพร่และระบาดไปสู่ผู้อื่นง่าย  

อาการส่วนใหญ่เป็นแบบเรื้อรัง  ไม่แสดงอาการของโรคออกมาให้เห็น และบางรายอาจหายเองได้ อาการที่เห็นเด่นชัดมีไอ  อ่อนเพลีย  

หมดแรง  มีไข้  น้ำหนักลด  ตอนกลางคืน  มีเหงื่อออก  เจ็บหน้าอก ต่อมามีเลือดออกทางจมูก  หรือไอออกมามีเลือดปน  อาการดัง

กล่าวอาจไม่พบในระยะแรก แต่ในระยะที่โรคไปไกลอาการจะแสดงออกอย่างรุนแรง  โดยเฉพาะในแหล่งที่มีโรค  ผอมแห้งเรื้อรังที่มี

สาเหตุมาจากโรคอื่น ดังนั้นการวินิจฉัยโรคนี้  จึงควรแยกกับโรคทางเดินระบบหายใจอื่นๆ ออกเช่น  โรคปอดบวม  หลอดลมอักเสบ

เรื้อรัง  เป็นต้น  การวินิจฉัยที่ดีที่สุดก็โดยการแยกเชื้อ  ซึ่งบางครั้งต้องทำหลายๆ ครั้ง  เพราะการแยกเชื้อครั้งแรกอาจไม่พบ  สำหรับ

วัณโรคที่เกิดขึ้นในอวัยวะอื่นๆ ก็มีที่ตับ  ม้าม  ไต  กระดูก  เยื่อหุ้มสมอง  อัณฑะ  ลำไส้  รังไข่ เป็นต้น  วัณโรคจากโคที่ติดมายังคน  

ส่วนใหญ่อาการในคนจะพบเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอ  อวัยวะที่อยู่ในช่องท้อง  และจะพบในเด็กเป็นส่วนใหญ่  ทั้งนี้เนื่องจาก

วัณโรคติดต่อได้  โดยการดื่มน้ำนมโคที่เป็นโรค นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถติดต่อได้  โดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป และจะพบอาการ

เกิดขึ้นที่ปอด
   อาการในสัตว์
   สัตว์มักไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็นเด่นชัด  เพราะสัตว์ที่ป่วยจะไม่ได้เป็นวัณโรคปอดเหมือนในคน  แต่จะเป็นที่ตับ  ม้าม  ไต

 ลำไส้  สัตว์ที่เป็นวัณโรคได้ง่ายคือ  โค  ม้า  สุกร  ลิง  ส่วนสุนัขและแมว  มีความต้านทานต่อวัณโรคสูง
การวินิจฉัยโรค
   โดยการสังเกตจากอาการที่แสดงออก  แต่พบว่าสังเกตยาก  แม้กระทั่งการทดสอบที่ผิวหนัง  หรือการตรวจทางน้ำเหลือง

วิทยาก็แยกลำบากมาก  แต่ในปัจจุบันมีการทดสอบทางชีวเคมีซึ่งช่วยได้มากในการวินิจฉัยโรคนี้
การควบคุมป้องกันโรค
1.   ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนและบุคคลที่คลุกคลีกับสัตว์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้  โดยให้ทราบว่าวัณโรคอาจติดต่อจากคนไป

สู่คนหรือจากสัตว์ไปสู่คน  หรือจากผลิตภัณฑ์สัตว์สู่คน  และอันตรายที่ได้รับจากโรคนี้ ตลอดจนการป้องกันตัวเองจากโรค
2.   ป้องกันตัวเองไม่ให้ติดโรคโดยการปฏิบัติให้ถูกสุขวิทยา  และการสุขาภิบาล  เช่น  การกินน้ำนมที่ต้ม  น้ำนมควรผ่าน

การพาสเจอร์ไรซ์ ผู้ที่ทำงานกับสัตว์ทดลองควรมีเครื่องป้องกันการติดต่อเชื้อ  และควรทำความสะอาดโรงเรือนสัตว์ให้ถูกหลัก  เช่น

ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
3.         การสร้างภูมิคุ้มกันโดยให้วัคซีน (B.C.G.) ป้องกันโรคในคน
4.         รักษาผู้ป่วยให้หาย
5.        ควรทำการควบคุมสัตว์ที่เป็นวัณโรคโดยการแยกและทำลายสัตว์
6.        สัตว์ที่ฆ่าใช้เนื้อเป็นอาหารควรผ่านการตรวจเนื้อจากสัตวแพทย์
7.        ผลิตภัณฑ์สัตว์  อาการสัตว์  ควรผ่านวิธีการฆ่าเชื้อมาก่อนแล้ว



ที่มา : สัตวแพทย์หญิงทัศนีย์  ไหลมา
   สิงหาคม  2531
www.medicine.cmu.ac.th/secret/edserv/animal/ZOONOSES.doc
IP : บันทึกการเข้า

รับทำกรงสุนัขและสัตว์เลี้ยง ตามสั่งทุกแบบทุกขนาด
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=189263.0
ติดต่อได้ที่ : 080-671-4993
ที่ตั้ง : http://goo.gl/maps/daSvO
++newlook++
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,413


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 00:28:22 »

3.   โรคแท้งติดต่อ  (BRUCELLOSIS)

สาเหตุ
   เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า  บูลเซลล่า  ซึ่งมี  3  ชนิดด้วยกัน  คือบูลเซลล่าอะบอตัส (Brucella  aboryus),

บูลเซลล่าซุยส์ (Brucella  suis),  บูลเซลล่าเมลลิเทนซีส (Brucella  melitensis)
การติดต่อ
1.   โดยการกินเอาเชื้อเข้าไป  ส่วนใหญ่พบว่า  โดยการกินน้ำนมจากโคที่เป็นโรคนี้เข้าไปและน้ำนมไม่ได้ผ่านการพาส

เจอร์ไรซ์เสียก่อน  หรือการกินเนื้อสัตว์ที่เป็นโรคนี้เข้าไป
2.   โดยการสัมผัส พบว่าเชื้อนี้สามารถผ่านเข้าทางผิวหนังได้  โดยเฉพาะผิวหนังที่มีรอยขีดข่วน  ดังนั้นเชื้อนี้อาจสู่ผิวหนัง

คนได้โดยการสัมผัสกับสิ่งขับถ่าย, มูลสัตว์, รก, ปัสสาวะ, ซากสัตว์ที่เป็นโรค หรืออาจติดโรคจากการทำคลอดสัตว์, ล้วงรกหรือช่วย

สัตว์ขณะแท้ง
3.   ติดต่อได้โดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป  ส่วนใหญ่พบในคนที่ทำงานในโรงงานฆ่าสัตว์ ซึ่งมีระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดี
อาการ
   อาการของโรคแท้งติดต่อ ในคน  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด
1.    อาการแบบเฉียบพลัน
อาการแบบนี้มีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1-9 สัปดาห์ หรืออาจเกิดนานเป็นเดือนหรือปีก็ได้  เริ่มด้วยมีอาการไข้หนาวสั่น  เหงื่อ

ออกโดยเฉพาะตอนกลางคืน  เบื่ออาหาร  น้ำหนักลด  ปวดหัว  ปวดตามข้อ  ปวดกล้ามเนื้อ  สำหรับอาการไข้นั้น  จะมีอาการไข้ขึ้นๆ

ลงๆ  เช่น อาจมีไข้สูง 4-5 วัน แล้วลดลงสู่ปกติ 3-4 วันก็เป็นอีก  ซึ่งอาการดังกล่าวนี้จะเป็นลักษณะเฉพาะโรคนี้  นอกจากนี้พบว่า 

ตับโต, ม้ามโต, ต่อมน้ำเหลืองโต ถ้าไม่ได้รับการรักษา โรคอาจหายได้เองภายใน 1-3 เดือน แต่ถ้าได้รับการรักษา  โดยการใช้ยา

ปฏิชีวนะทันที จะหายเร็วกว่าปกติ
2.   อาการแบบเรื้อรัง
อาการเกิดขึ้นเอง หรือเกิดตามหลังแบบเฉียดพลัน อาการที่พบบ่อยคือ  ปวดหัว  ปวดกล้ามเนื้อ  ปวดหลัง  ปวดตามข้อ  แต่ไม่มี

อาการอักเสบ  อาจมีอาการทางประสาทร่วมด้วย
อาการในสัตว์
มีการอักเสบของอวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อหุ้มตัวลูกสัตว์ มีอาการแท้งลูก หรือเป็นหมัน  น้ำนมลดลงอย่างมาก  จะเกิดการสูญเสียโดย

เฉพาะธุรกิจโคนม
การวินิจฉัย
   การวินิจฉัยโรคนี้  ที่แน่นอนอาจทำได้โดยการแยกเชื้อจากผู้ป่วย  ซึ่งทำยาก  เพราะเชื้ออยู่ในกระแสโลหิตมักไม่แน่นอน 

และไม่สม่ำเสมอ  นอกจากนี้ยังสามารถทดสอบได้ โดยการใช้ซีรั่ม Serum agglutination  ในรายที่ให้  titer  1:320 

อาจสงสัยว่าเป็นโรคนี้  อย่างไรก็ตามการตรวจ Agglutinins นั้นไม่จำเป็นเสมอไปว่าบุคคลนั้นจะต้องเป็นโรคนี้ เพราะในบางราย

ตรวจพบว่ามี titer ต่ำซึ่งจะเป็นในผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ก็ได้  แต่เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเรื้อรัง การทดสอบทางผิวหนัง (skin  test)

จะให้ผลไม่แน่นอนสำหรับการวินิจฉัยโรคนี้
การป้องกันและควบคุม
   ปกติโรคนี้  เป็นโรคระบาดระหว่างสัตว์ด้วยกัน  คนเป็นโรคได้โดยได้รับเชื้อจากสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ ดังนั้น คนจึงเป็น

คนสุดท้ายที่ไม่แพร่เชื้อกระจายระหว่างคนด้วยกัน  การป้องกันควบคุมจึงเน้นเฉพาะสัตว์คือ
1.   ทำการตรวจสอบโรคนี้ทุกปี และระมัดระวังเรื่องการเคลื่อนย้ายสัตว์
2.   สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับสัตว์ โดยการทำวัคซีนในลูกสัตว์เพศเมีย อายุ 3-8 เดือน
3.   จัดการด้านสุขาภิบาลให้ถูกต้อง  โดยเฉพาะการกำจัดเชื้อในบริเวณสัตว์ที่เป็นโรค
4.   ให้ความรู้แก่บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องถึงอันตรายของโรคนี้ และการติดต่อ รวมทั้งการใช้ยาฆ่าเชื้อโรคด้วย
5.   ทำการเฝ้าระวังโรค และรายงานโรคโดยเร็วที่สุดถ้าพบว่ามีโรคนี้อยู่



4.   โรคบาดทะยัก  (TETANUS)

สาเหตุ
   เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า  คลอสติเดี่ยม  เตทตาไน (Clostridium  tetani)  เชื้อนี้มีลักษณะเหมือนไม้ตี

กลอง และเป็นแบคทีเรียที่ไม่ต้องการออกซิเจน
การติดต่อ
   การติดต่อของโรค  เกิดจากสปอร์ของเชื้อเข้าทางบาดแผลที่ผิวหนัง  เช่น  แผลที่ถูกตาปูตำหรือไม้ตำ  ในบริเวณที่เลี้ยง

ม้า  หรือในอุจจาระม้าพบว่ามีเชื้อนี้อยู่ ดังนั้นคนที่ดูแลม้า หรือคลุกคลีกับสัตว์พวกนี้จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้อื่น  นอก

จากนี้เชื้ออาจเข้าทางช่องคลอด เนื่องจากมีบาดแผลจากการขูดมดลูกหรือทำแท้งสปอร์ของเชื้อซึ่งคงทนต่อน้ำยาฆ่าเชื้อ เมื่อเข้าไป

ในบาดแผลแล้วจะเปลี่ยนมาเป็นรูปตัวเชื้อ (Vegetative form) จะปล่อย tetanolysin และ tetanospasmin ซึ่งมี

คุณสมบัติทำลายเม็ดเลือดและทำลายประสาทจึงทำให้เกิดอาการของโรคขึ้น
อาการ
   คนระยะฟักตัวของโรคเฉลี่ย 2-3 วัน  อาจนานหลายสัปดาห์ก็ได้ อาการที่เห็นทั่วๆ ไป คือมีกล้ามเนื้อกระตุก และ

ลักษณะของกรามแข็ง หรืออ้าปากไม่ได้ หลังจากนั้นจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อคอ  แขน  ลำตัว  และขา  การกระตุกครั้งแรกๆ

อาจมีเป็นระยะๆ และต่อไปจะกระตุกตลอดเวลา  อาการกระตุกจะมากขึ้นถ้ามีเสียงดังหรือแสงสว่างมากกระตุ้น  ในที่สุด ผู้ป่วยจะตาย

เนื่องจากหายใจไม่ได้ทำให้ขาดออกซิเจน โรคนี้มีรายงานเป็นในทารกคลอดใหม่ที่ตัดสายสะดือไม่สะอาด  และใช้ยากลางบ้านใส่แผล
   อาการในสัตว์
   มีอาการเหมือนในคน  คือมีกล้ามเนื้อกระตุก  ขาทั้งสี่เหยียดตรง  แข็ง  กรามแข็ง  อ้าปากไม่ได้  จะลงนอนเหยียดแข็งลุก

ขึ้นไม่ได้  อาการกระตุกจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ และจะตายเนื่องจากหายใจไม่ได้ทำให้ขาดออกซิเจน
การควบคุมและป้องกัน
   การป้องกันที่ดีคือให้ท๊อกซอยด์ (Toxoid) นอกจากนั้นควรให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วๆ ไป  เกี่ยวกับเรื่องการติดต่อ

ของโรคนี้ และการรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันการติดโรค
การรักษา
   ในระยะที่พบว่าเป็นโรคนี้มากขึ้น  การรักษาทำได้โดยการให้แอนตี้ท๊อกซิน (Anti-toxin) ซึ่งเตรียมมาจากคน ซึ่งจะ

ให้ผลดีกว่าการเตรียมจากม้า เพราะภาวะแทรกซ้อนและอาการแม้ไม่ค่อยมี



5.  โรคเลปโตสไปโรซีส  (LEPTOSPIROSIS)

สาเหตุ
   โรคนี้เกิดจากเชื้อแลปโตสไปรา (Leptospira) ซึ่งมีหลาย species โรคนี้เป็นทั้งในคนและสัตว์ชนิดต่างๆ ได้มีผู้

พบว่าในหนูบ้านที่จับได้  พบมีเชื้ออยู่ที่ไต และพบว่าเป็น Host ที่สำคัญของโรคนี้ ซึ่งพบทั่วโลก ในปัจจุบันเชื้อ Leptospira 

แบ่งออกเป็น  2  complex  คือ
1.   Interrogans  complex  ทำให้เกิดโรคทั้งในคนและในสัตว์
2.   Biflexa  complex  ไม่ทำให้เกิดโรค
นอกจากนี้พบว่าเชื้อนี้มีหลาย  Serotype  ด้วยกันซึ่งมี  Antigen  ซ้ำกัน จัดรวมเป็น group  ซึ่งมีทั้งหมด  18  serotypes

 ด้วยกัน
การติดต่อ
1.   โดยการไชเข้าทางผิวหนังที่มีรอยแตกหรือขีดข่วน หรือเข้าตามเยื่อชุ่ม (mucous  membrane)
2.   โดยการกินเชื้อเข้าไป
3.   โดยการสัมผัสกันโดยตรง  จากปัสสาวะของสัตว์ป่วย
โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนไปสู่คนโดยตรง  เคยมีรายงานพบเชื้อนี้อยู่ในน้ำนมของแม่โค  แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่าคนติดโรคนี้จากการดื่ม

น้ำนม
อาการ
   ระยะฟักตัวของเชื้อโรคประมาณ  10-12  วัน โดยทั่วๆ ไปอยู่ระหว่าง  2-30  วัน  อาการที่พบในคนมีตั้งแต่ไม่แสดง

อาการออกมาให้เห็น  จนกระทั่งถึงขั้นรุนแรงอย่างเฉียบพลันและตายได้  อย่างไรก็ตามอาการที่พบเสมอ คือ  มีไข้  ปวดหัว, ปวด

ตามกล้ามเนื้อ, คลื่นไส้, อาเจียน, อ่อนเพลีย, บางครั้งมีตาอักเสบ, ดีซ่าน, โลหิตจาง  เนื่องจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย, สมองอักเสบ 

และไตทำงานไม่ปกติ  อย่างไรก็ตามอาการที่แสดงออกมาของโรคนี้แตกต่างกันมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ
   อาการในสัตว์
   มีไข้  อาเจียน  อ่อนเพลีย  ปัสสาวะเป็นเลือด  มีเลือดปนออกมากับน้ำนม  ตัวเหลืองมีอาการดีซ่าน  ในสุนัขจะมีการ

อักเสบที่เยื่อชุ่มในปาก  ตาเหลือง  โลหิตจาง  สัตว์ที่ตั้งท้องอยู่จะแท้งลูก
การวินิจฉัย
   โดยการตรวจทางซีรั่มและการเพาะเชื้อในรายที่สงสัยอาจทำได้โดย
1.   ตรวจหาเชื้อในเลือด, ปัสสาวะ, ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ด้วยกล้องจุลทรรศน์  Darkfield  หรือโดยวิธี  Fluorescent 

antibody  technique
2.   โดยการเพาะเชื้อจากเลือด, ปัสสาวะ, น้ำไขสันหลัง หรือจากเนื้อเยื่อต่างๆ นอกจากนี้ อาจทำได้โดยการฉีดเข้าสัตว์

ทดลอง
3.   ตรวจหา  Antibody  ในซีรั่ม  โดยวิธี  Agglutination  test  โดยเก็บซีรั่มซ้ำๆ กัน โดยเก็บครั้งแรก และควร

เก็บห่างจากนั้นอีก 7-9 วัน การทดสอบแบบนี้บอกได้ว่าเป็น Subgroup ใด
การควบคุมและป้องกัน
   การควบคุมจะให้โรคนี้หมดไปทำได้ยาก  ทั้งนี้เพราะมีสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงต่างๆ ที่เป็นตัวกักตุนโรคอยู่  การที่จะป้องกัน

ไม่ให้คนได้รับเชื้อจากโรคนี้  ควรคำนึงถึงการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับแหล่งที่ติดเชื้อมา โดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการ

เป็นโรค



6.   โรคลิสเตอริโอซีส  (LISTERIOSIS)

สาเหตุ
   เกิดจากเชื้อ  Listeria  monocytogenes
การติดต่อ
   การติดต่อของโรคมีได้หลายทางคือ
1.   ติดต่อจากแม่ไปยังลูก (ทารก) ได้
2.   โดยการสัมผัสกันโดยตรงกับน้ำคร่ำ, รก และทารก  โดยเฉพาะผู้ทำคลอด แพทย์ หรือพยาบาล
3.   มีรายงานการติดเชื้อโดยเข้าทางลูกตาทำให้เกิดตาอักเสบ
มีรายงานพบว่าสัตวแพทย์ที่ช่วยทำคลอด หรือการแท้งของสัตว์  ได้รับเชื้อโดยมีอาการเป็นตุ่มหนองที่ผิวหนังตามมือ
อาการ
   ระยะฟักตัวของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่นอน อาจแบ่งออกเป็น
1.   เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ  ผู้ป่วยจะมีอาการอย่างเฉียบพลันโดยมีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง, วิงเวียน, ง่อนนอน, ตัว

สั่น, คอหลังแข็ง, อาเจียน, หมดแรง, หนังตาเต้น
2.   อาการที่แสดงออกในขณะตั้งครรภ์  ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด  มีไข้หนาวสั่น  เจ็บคอ  ปวดศรีษะ  ปวดหลังส่วนล่าง 

มีอาการวิงเวียนเล็กน้อย  ปัสสาวะสีดำ  ท้องเดิน  อาการดังกล่าวอาจเกิดอยู่หลายวันแล้วหายไป หลังจากนั้นไม่นานมารดาจะรู้สึกว่า

ทารกไม่ค่อยดิ้น หรือเคลื่อนไหว  ในที่สุดจะเกิดอาการแท้ง  หรือคลอดก่อนกำหนด  ทารกที่คลอดตาย น้ำคร่ำมีสีผิดปกติ  ในบาง

รายทารกออกมาจะมีอาการเฉียบพลันและตายด้วย  Septicemia  บางรายทารกคลอดออกมาผิดปกติ หลังคลอดประมาณ  3 

อาทิตย์  จะแสดงอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างเฉียบพลันและตาย
อาการในสัตว์
มีอาการคอบิด  น้ำมูกไหล  หนังตาเต้น  เดินวนเวียนไม่มีจุดหมาย  เป็นอาการทางประสาทร่วมด้วย
การวินิจฉัย
โดยการแยกเชื้อจากน้ำไขสันหลัง ในรายที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ  แยกเชื้อจากเลือดได้ ในขณะที่ผู้ป่วยแสดงอาการ 

septicemia



7.   โรคไฟลามทุ่ง  (ERYSIPELAS)

สาเหตุ
   เกิดจากเชื้อ  Erysipelothrix  rhusiopathiae  หรือ  E.insidiosa  พบครั้งแรกที่ประเทศเยอรมัน
การติดต่อ
   โรคนี้ติดต่อได้โดยเชื้อเข้าทางบาดแผล หรือรอยขีดข่วนที่ผิวหนัง
อาการ
อาการที่พบมักเกิดตามผิวหนังของคนซึ่งเรียกว่า  Erysipeloid  อาการที่เป็นแบบ  generalize  อาจมี  endocarditis 

และ  Septicemia  ทำให้ตายได้  ลักษณะที่ผิวหนังจะมีอาการอักเสบ  บวมมีสีแดงคล้ำและม่วง  และอาจมีน้ำเหลืองปนเลือดอยู่

บริเวณที่เป็นแผลคล้ายกับแผลถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก  บางครั้งมีอาการคันปกติพบเป็นตามมือ  ในรายที่เป็นอย่างเฉียบพลัน 

พบว่ามีไข้ปวดศรีษะมาก  ปวดกล้ามเนื้อและข้อ
อาการในสัตว์
มีอาการรุนแรงมากในสุกร  ทำให้เกิดข้ออักเสบ  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  ผิวหนังมีการอักเสบ  บวมมีสีแดงคล้ำคล้ายๆ ไฟไหม้หรือน้ำ

ร้อนลวก  บางที่จะคัน
การวินิจฉัย
   ต้องแยกออกจากโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายโรคนี้  เช่น  ไข้ดำแดง (Scarlet  Fever)  โรคแอนแทรกซ์

(Anthrax), แผลหรือฝีที่เกิดจากเชื้อ  Staphylococcus  aureus และ Streptococcus  เป็นต้น  การวินิจฉัยที่ดีที่สุด

คือการแยกเชื้อ ออกจากผิวหนังที่เป็นโรค
การควบคุมป้องกัน
   โรคนี้มักพบกับคนที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ  เช่น  สัตวแพทย์  คนตรวจเนื้อสัตว์  ผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตภัณฑ์

สัตว์  ดังนั้น การควบคุมควรป้องกันไม่ให้บุคคลเหล่านี้ได้รับเชื้อเข้าทางบาดแผล  โดยการสวมถุงมือ  หรือถ้ามีแผลควรทำความ

สะอาดโดยเร็ว

********************************************


ที่มา : สัตวแพทย์หญิงทัศนีย์  ไหลมา
   สิงหาคม  2531
www.medicine.cmu.ac.th/secret/edserv/animal/ZOONOSES.doc
IP : บันทึกการเข้า

รับทำกรงสุนัขและสัตว์เลี้ยง ตามสั่งทุกแบบทุกขนาด
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=189263.0
ติดต่อได้ที่ : 080-671-4993
ที่ตั้ง : http://goo.gl/maps/daSvO
++newlook++
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,413


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 01:00:15 »

โรคสครับไทฟัส Scrub typhus

วินัย  อินทรักษ์
บุญรวม  จิตต์สามารถ
ประวัติความเป็นมาของโรคสครับไทฟัส (Scrub typhus)
   โรคสครับไทฟัส (Scrub Typhus) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อริกแกตเซีย (Rickettsia) ตามธรรมชาติเป็นโรคติดต่อของสัตว์ป่าโดยเฉพาะสัตว์ตระกูลฟันแทะ เช่น กระแต กระจ้อน หนู โดยเชื่อกันว่าเชื้อริกแกตเซียที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะจะไม่ทำให้สัตว์นั้นมีอาการของโรค แต่อย่างไร หรือที่เรียกว่า Inapparent infection โรคนี้ติดต่อจากสัตว์ตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่งได้โดยถูกไรอ่อน(Chigger) ที่มีเชื้อกัด โรคสครับไทฟัส มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ ได้แก่ Tsutsugamushi disease, Japanese river fever, Flood fever, Tropical Typhus, Rural typhus, Mite-born Typhus เป็นต้น
   คำว่า Typhus มาจากภาษากรีก คือ Typhos แปลว่า Stupor หมายถึง หมอก มัว เนื่องจากลักษณะอาการของโรคจะทำให้มึนงง ไข้ ซึม ไม่ได้สติ ส่วนคำว่า Scrub หมายถึง พุ่มไม้เตี้ยๆ หรือ ป่าละเมาะ เมื่อนำมารวมกัน Scrub Typhus จึงหมายความถึง อาการไข้ ซึม ที่เกิดจากพุ่มไม้ หรือ
ป่าละเมาะ
   โรคสครับไทฟัส พบครั้งแรกเมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น เป็น
กลุ่มแรกที่รายงานเชื้อที่เป็นสาเหตุและการติดต่อของโรคโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นของภูมิภาคแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียใต้เป็นโรคที่สร้างปัญหาให้กองทัพฝ่ายสัมพันธ์มิตรที่มาปฏิบัติการรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีรายงานการป่วยของทหารที่มารบถึง 18,000 ราย และอัตราตายอยู่ระหว่างร้อยละ 0.6 ถึงร้อยละ 35.3 ซึ่งอัตราตายจะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ นอกจากนี้ในช่วงสงครามเวียดนาม โรคนี้ยังสร้างปัญหาให้แก่กองทัพสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยและเวียตนาม จึงเป็นสาเหตุให้สถาบันวิทยาศาสตร์ทหารฝ่ายอเมริกันได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคสครับไทฟัสอย่างจริงจังเพื่อลดการเจ็บป่วยของทหารอเมริกันในกองทัพ
   โรคสครับไทฟัส มีอาณาเขตการติดโรคกระจายเป็นวงกว้างในแถบเอเชียตะวันออก
เอเชียใต้ รวมไปถึงหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก โดย
ทิศเหนือ    ตอนเหนือเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น และ Primorye region ของประเทศ รัสเซีย ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในทวีปเอเชีย
   ทิศใต้      ตอนเหนือสุดของประเทศออสเตรเลีย
   ทิศตะวันออก   นิวกินี อินโดนีเซีย หมู่เกาะแปซิฟิกตอนใต้และฝั่งตะวันตก
   ทิศตะวันตก   ปากีสถาน  และ Tadzhikistan
ดังได้กล่าวแล้วว่าโรคสครับไทฟัสเป็นโรคติดต่อในสัตว์ฟันแทะ สำหรับคนเป็นเพียงโฮสต์
โดยบังเอิญ คือ คนบังเอิญเข้าไปใน enzootic cycle หรือเข้าไปในแหล่งที่อาศัยของไรและถูกไรอ่อนกัดในแหล่งเกิดโรคตามธรรมชาติ (Endemic foci) จะต้องมีปัจจัยประกอบกัน 4 ประการ ได้แก่
1.   ต้องมีหนูป่า (Wild rat) โดยเฉพาะหนูใน Subgenus Rattus
2.   ต้องมีไรอ่อน (Chigger) ในกลุ่ม Leptotrombidium deliense
3.   พื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยของไร (Transitional vegetation) เช่น ป่าโปร่ง Fringe  vegetation พื้นที่เพาะปลูกหรือพื้นที่เกษตรกรรม
4.   มีเชื้อ Orientia  tsutsugamushi ในพื้นที่ แหล่งที่มีเชื้อนี้แพร่กระจายอยู่ได้แก่ เขตร้อน (Tropical zones) จนถึงเขตอบอุ่น (Temperate zones) ซึ่งจะครอบคลุมถึงป่าร้อนชื้น (rain forest) ป่าสน พื้นที่กึ่งทะเลทราย และพื้นที่ชายทะเลใน Temperate zones จะมีไรอ่อนชุกชุมในช่วงเดือนที่มีอากาศอุ่นถึงร้อน ส่วนประเทศญี่ปุ่นจะมีไรชนิด L. scutellare ชุกชุมในช่วงฤดูหนาว สำหรับประเทศในเขต Tropical และ Subtropical ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยสูงเพียงช่วงเดือนของปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณฝนที่ตก น้ำท่วม และปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบให้เกิดการระบาดของโรค

โรคสครับไทฟัสในประเทศไทย
   ประเทศไทยมีการรายงานโรคนี้ครั้งแรกโดยชาวญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2489 ซึ่งการระบาดของโรคครั้งนั้นเกิดขึ้นในกองทัพญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีผู้ป่วยทั้งหมดเป็นทหารที่เข้ามาปฏิบัติการรบในประเทศไทย  และหลังจากนั้นก็ได้มีการรายงานการเกิดโรคสครับไทฟัสในผู้ป่วยที่เป็นคนไทย  ดังนี้
-   พ.ศ. 2495 นายแพทย์มะลิ ไทยเหนือ ได้รายงานผู้ป่วยสครับไทฟัสที่เป็นคนไทยรายแรกที่จังหวัดนครปฐม  จำนวน 1 ราย
-   พ.ศ. 2495 คณะแพทย์จากองค์การ SEATO ได้รายงานผู้ป่วยสครับไทฟัสซึ่งเป็นคนไทยเช่นกัน ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
-   พ.ศ. 2497 Robert Traub จากโรงพยาบาลวอเตอร์รีด ได้รายงานการแยกเชื้อ Rickettsia tsutsugamushi  จากตัวอย่างหนูที่จับได้จากจังหวัดนครปฐม
-   พ.ศ. 2500 นายแพทย์จรัล อุทโยภาศ ได้รายงานผู้ป่วยสครับไทฟัสจำนวน 2 รายที่จังหวัดอุทัยธานี
-   พ.ศ. 2501 นายแพทย์มะลิ ไทยเหนือ และนายแพทย์สำเนียง บุษปะวนิช ได้รายงาน
ผู้ป่วยไข้ไม่ทราบสาเหตุและพบว่าเป็นโรคสครับไทฟัส จำนวน 11 ราย ซึ่งเป็นทหารที่ไปซ้อมรบอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี
-   พ.ศ. 2502  นายแพทย์พนัส และนายแพทย์จรัส อุทโยภาศ  รายงานผู้ป่วยจำนวน 1 ราย ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี
-   พ.ศ. 2506  รายงานผู้ป่วยจากอำเภอพนัสนิคม  จังหวัดชลบุรี  จำนวน 1 ราย
-   พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2516 คณะแพทย์จากองค์การ SEATO ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยที่
มารักษาด้วยอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และ
โรงพยาบาลอุบลราชธานีและพบว่าป่วยเป็นโรคสครับไทฟัสร้อยละ 9.7 และร้อย
ละ 14.2 ตามลำดับ
-   พ.ศ. 2516 คณะแพทย์กลุ่มนี้ได้ทำการแยกเชื้อ R. tsutsugamushi ได้จากผู้ป่วยกลุ่ม
ไข้ไม่ทราบสาเหตุที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสุมทรสาคร อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดนครราชสีมา และกรุงเทพฯ
-   พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2530 พบผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุที่มารับการรักษาที่ โรงพยาบาลหาดใหญ่และพบว่าเป็นโรคสครับไทฟัสร้อยละ 5.6
-   พ.ศ. 2532 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร ได้รายงานผู้ป่วยโรคสครับไทฟัส จำนวน 3 ราย  มาจากอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพ และอำเภอบางกรวย  จังหวัดนนทบุรี
-   พ.ศ. 2535  มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 29 ราย ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นตำรวจตระเวนชายแดนที่เข้าปฏิบัติการลาดตะเวนตามแนวชายแดนไทย-พม่า บริเวณตำบลหนองหญ้าปล้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
สำหรับการดำเนินการศึกษาทางระบาดวิทยาของโรคสครับไทฟัส ได้เริ่มต้นเมื่อปี  พ.ศ .2506     
โดยกลุ่มแพทย์จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มแพทย์จากองค์การ SEATO  และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทหาร (AFRIMS) จนได้พบว่า
1.   เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคสครับไทฟัสในประเทศไทย คือ R. tsutsugamushi ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น O. tsutsugamushi  เนื่องจากสายทางพันธุกรรมบางตัวแตกต่างจากเชื้อสายพันธุ์ Rickettsia
2.   สัตว์รังโรค ได้แก่ Rattus rattus(Thai),  Bandicota indica, B. bengalensis, กระรอกข้างลายหรือกระจ้อน (Menetes berdmorei) กระแตธรรมดา (Tupaia glis)
3.   ไรอ่อนที่เป็นแมลงนำโรคได้แก่ L. deliense, L. akamushi. Blankaartia acuscutellaris, Ascoschoengastia sp.
4.   พื้นที่เกิดโรคก็ยังคงเป็นพื้นที่เดิมที่เคยมีการระบาดของโรคสครับไทฟัส เนื่องจากไรเป็นแมลงพาหะนำโรคมีความสามารถถ่ายทอดเชื้อสครับไทฟัสให้กับไรรุ่นลูก หลาน ผ่านทางไข่

แนวโน้มสถานการณ์โรค สครับไทฟัส ในประเทศไทย
   ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังโรคของกองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2543 ในช่วงระยะเวลา 28 ปี จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคสครับไทฟัส
ในแต่ละปีเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จากปี พ.ศ. 2516 มีผู้ป่วยเพียง 9 ราย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2543 จำนวน
ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นถึง 3,914 ราย อัตราการเกิดโรคจาก 0.02 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ. 2516 เมื่อถึงปี พ.ศ. 2543 อัตราการเกิดโรคเพิ่มเป็น 6.34 ต่อประชากรแสนคน  โรคสครับไทฟัสจึงจัดเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่ที่จะต้องจับตาและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และควรมีการศึกษาทางด้านระบาดวิทยาให้ละเอียดมากขึ้นโดยเฉพาะข้อมูลที่ได้จากการสอบสวนโรคที่จะชี้ให้เห็นว่าพื้นที่เกิดโรคและแหล่งรังโรคที่แท้จริงอยู่ที่ไหน หมู่บ้านหรือตำบลใดที่เป็นพื้นที่อาศัยของแมลงพาหะนำโรค(Chiggers) และนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาใช้ในการดำเนินการวางแผนป้องกันและควบคุมโรคพร้อมทั้งกำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อลดโรคสครับไทฟัสให้น้อยลง ถ้าสามารถกำจัดแหล่ง
รังโรคและแมลงพาหะนำโรคในพื้นที่ซึ่งก่อให้เกิดโรคอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง อัตราการเกิดโรคสครับไทฟัส  ก็จะลดลงตามลำดับ แต่หากกรมควบคุมโรคยังคงไม่มีการดำเนินการและกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคแล้วคาดว่าโรคสครับไทฟัสก็คงจะเกิดขึ้นต่อไป  จำนวนผู้ป่วยและอัตราการเกิดโรคก็จะเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคตสำหรับการตายด้วยโรคสคับไทฟัสมีจำนวนน้อย จึงทำให้อัตราป่วยตายต่ำ ประกอบกับวิทยาการด้านการแพทย์ในประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้ป่วยที่ตายด้วยโรคสครับไทฟัสมักจะเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมไปมาลำบาก ผู้ป่วยจะมีอาการหนักมากจนสุดความสามารถที่จะรักษาเยียวยาได้ทันเมื่อมาถึง โรงพยาบาล ดังนั้นผู้ป่วยส่วนนี้จึงยังคงทำให้เกิดการตายด้วยโรคสครับไทฟัส

เชื้อที่เป็นสาเหตุ
   โรคสครับไทฟัส เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อ  Rickettsia tsutsugamushi ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Orientia tsutsugamushi เนื่องจากมีสายพันธุกรรมบางตัวที่แตกต่างไปจาก Genus Rickettsia ในกลุ่มโรค Typhus และ Spotted fever อื่นๆ เชื้อนี้มีลักษณะเป็น Obligately intracellular Gram-negative bacilli ต้องอาศัยเซลส์ของสิ่งมีชีวิตในการเจริญเติบโต เพิ่มจำนวนขยายพันธุ์โดย
วิธี Binary fission คือ เชื้อจะแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน ผนังเซลล์ประกอบด้วยโปรตีนที่เชื่อมต่อกันด้วย disulfide bond ไม่มีการสร้าง spore หรือ capsule เชื้อนี้จัดอยู่ใน Order Rickettsiales Family Rickettsiaceae เชื้อในกลุ่มนี้แบ่งเป็น 4 Genera ได้แก่
-   Genus Rickettsia เป็นสาเหตุของโรค Rocky mountain, Spotted fever, Rickettsial pox, Epidemic Typhus, Murine Typhus ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแมลงเป็นพาหะนำโรค
-   Genus Ehrlichia เป็นสาเหตุของโรค Ehrlichioes ซึ่งเกิดจากเชื้อ Ehelichia chaffeensis  โดยมีเห็บเป็นแมลงพาหะ
-   Genus Coxiella เป็นสาเหตุของโรค Q fever เกิดจากเชื้อ Coxiella burnetii ติดต่อโดยการหายใจ
-   Genus Bartonella (Rochalimaea) เป็นสาเหตุของโรค Trench fever เกิดจากเชื้อ Bartonella quintana โดยมี Sand fly เป็นแมลงพาหะ

Orientia (Rickettsia) tsutsugamushi
   Orientia tsutsugashi (Formerly Rickettsia tsutsugamushi, R. orientalis) genus Orientia
ซึ่งเป็น genus ที่จัดใหม่โดย Tamura et al, 1995 มีความแตกต่างจาก genus Rickettsia ที่โครงสร้าง outer envelope โดย outer leaflet ของ cell wall O. tsutsugamushi จะหนากว่า inner leaflet และโครงสร้างเคมีของ O.tsutsugamushi ขาด peptidoglycan และ lipopolysaccharide เช่น muramic acid, glucosamin, hydroxy fatty acid และ 2- keto-3-deoxyoctonic acid ทำให้มีภูมิต้านทานต่อ pennicillin มากกว่า Rickettsia ซึ่งมี Morphoolgy และ Biochemical เหมือน gram negative, short rods ขนาด 0.5-1.5 m (micron) (1.2 ถึง 3.0 m) ซึ่งสามารถย้อมสี giemsa ได้ เจริญเติบโตใน yolk sacs ของไข่ไก่ Cell lines L929 mouss fibroblast cell, Vero cell เชื้อจะเจริญเติบโตในPerinuclear cytoplasm ของ host cell และแบ่งตัวเหมือน budding process และดันตัวออกนอก cytoplasmic membrane เหมือน virus การแบ่งตัวใช้เวลาประมาณ 9-18 ชั่วโมง การแบ่งตัวส่วนใหญ่เป็นแบบ Transverse Binary fission


พยาธิวิทยา (Pathology)
   เชื้อ O. tsutsugamushi เข้าสู่ Plasma membreane ของ Mammalian cell โดยขบวนการ Attachment และ Phagocytosis และจะหลุดจาก Phagosme อยู่อย่างอิสระและแบ่งตัวใน Cytoplasm ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด cell injury มีเชื้อบางตัวเข้าสู่ Mestothelial cell ในเส้นเลือดขนาดเล็กและเกิด Vasculitis ได้ทั่วร่างกาย ความรุนแรงของเชื้อขึ้นอยู่กับตัวเชื้อและภูมิต้านทานของ Host Humoral antibody ในคนสามารถป้องกันไปประมาณ 2 ปี ในสายพันธุ์เดียวกัน ถ้าต่างสายพันธุ์จะป้องกันไม่กี่เดือน

ลักษณะอาการของโรค
   คนเป็นโฮสต์โดยบังเอิญได้รับเชื้อโดยถูกไรอ่อน(Chigger)กัด  ลักษณะอาการเฉพาะของโรค คือ   ผิวหนังที่ถูกตัวไรกัด มักเป็นแผลบุ๋มสีดำ  ลักษณะคล้ายแผลถูกบุหรี่จี้(Eschar) ซึ่งพบอยู่นานประมาณ 6-18 วัน พบได้ประมาณร้อยละ 30-40 ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศรีษะมากโดยเฉพาะบริเวณขมับและหน้าผาก คลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ เหงื่อออก หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว
ตาแดง (Conjunctival injection) มีอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenopathy) โดยเฉพาะต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้บริเวณ eschar ตับโต ม้ามโต หลังมีไข้ 4-5 วัน   บางรายปรากฏผื่นนูนแดง
(maculopupular rash) ตามลำตัวและกระจายไปยังแขน ขา ผื่นเหล่านี้จะหายไปในเวลา 2-3 วัน อาการที่พบบ่อยอีกอาการหนึ่ง คือ ไอ เมื่อเอกซ์เรย์ปอดพบการอักเสบของเนื้อปอดส่วนใหญ่
เป็นแบบ Interstitial infiltration แต่มีบางรายเป็นแบบ Alveolar infiltration  คอแข็ง (Stiff neck)
ดีซ่าน(Jaundice) สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรงจะเกิด
-   ภาวะติดเชื้อและมีภาวะไหลเวียนเลือดล้มเหลว (septic shock)
-   ไตวาย (Acute renal failure)
-   ตับวาย (Acute hepatic failure)
-   เยื่อหุ้มสมองหรือสมองอักเสบ (Meningoencephalitis)
-   ปอดอักเสบ (Pneumonitis)
-   ภาวะหายใจล้มเหลว (Acute respiratory failure)
-   ARDS (Acute respiratory distress syndrome)
-   DIC (Disseminated intravascular coagulopathy)
-   กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
-   โคม่า (Coma)

IP : บันทึกการเข้า

รับทำกรงสุนัขและสัตว์เลี้ยง ตามสั่งทุกแบบทุกขนาด
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=189263.0
ติดต่อได้ที่ : 080-671-4993
ที่ตั้ง : http://goo.gl/maps/daSvO
++newlook++
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,413


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 01:00:50 »

ผู้ป่วยโรคสครับไทฟัสส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการไข้เฉียบพลันที่ไม่ทราบสาเหตุ(Acute FUO) นายแพทย์สุนทร ชินประสาทศักดิ์ ได้ศึกษาผู้ป่วยที่มีไข้เฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุในโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา พบว่าเป็นการติดเชื้อ Rickettsia ร้อยละ 34 ป่วยเป็น Tropical disease อื่นๆ ร้อยละ 36 และร้อยละ 30 ไม่ทราบสาเหตุการป่วย นายแพทย์ขจรศักดิ์ ศิลปโภชากุล ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไข้เฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน  พอสรุปว่า สาเหตุสำคัญได้แก่
-   Airbovirus (Dengue, Chikungunya, Japanese encephalitis virus)
-   Rickettsia (Scrub typhus, Murine typhus)
-   Leptospirosis
-   Enteric fever
-   Malaria
ผู้ป่วยถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง  หรือแพทย์วินิจฉัยโรคสครับไทฟัสไม่ได้อาจทำให้
ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มีการศึกษาความรุนแรงของโรคสครับไทฟัสในผู้ป่วยโรคเอดส์ พบว่าอาการของโรคเอดส์ไม่ได้ รุนแรงขึ้น หากผู้ป่วยไม่ได้กินยาปฏิชีวนะ (Doxycyclin หรือ Chloramphenical) ก็จะมีไข้อยู่นานประมาณ 14 วัน อัตราป่วยตายใน    ผู้ที่ไม่ได้รักษาอยู่ระหว่างร้อยละ 0-30 ขึ้นอยู่กับท้องที่สายพันธุ์ของ Rickettsia และประวัติการสัมผัสโรคของผู้ป่วย ซึ่งอัตราการป่วยและตาย มักสูงขึ้นในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากขึ้น
การวินิจฉัยโรคด้วยการแยกเชื้อโรค O.tsutsugamushi โดยการฉีดเลือดผู้ป่วยเข้าไปในช่องท้องของหนูและนำมาทดสอบปฏิกิริยาทางน้ำเหลืองซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้นการวินิจฉัยโรคสครับไทฟัส จึงนิยมใช้วิธี IFA (indirect Immunofluorescent antibody) และ IIP (Indirect Immunoperoxidase test ) ซึ่งจะให้ผลการตรวจที่มี sensitivity และ specificity สูงประมาณร้อยละ 80-90 สำหรับวิธีตรวจแบบใหม่ซึ่งไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น ELISA (Enzyme Linked Immunosorbent assay), dot – blot ELISA หรือ Dipstick test for O. tsutsugamushi ที่ให้ผลการตรวจวินิจฉัยโรคได้แม่นยำเทียบเท่าการตรวจโดย วิธี IFA และ IIP สำหรับการตรวจ Weil felix test โดยใช้สายพันธุ์ Proteus OXK ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการที่โรงพยาบาลทั่วไปให้ผลการตรวจที่มี sensitivity (ร้อยละ 12-30) และ specificity (ร้อยละ 40-50) ต่ำสำหรับ PCR(Polymerase Chain Reaction) ใช้ Primers 56 kDa antigen ให้ผลการตรวจดีแต่อยู่ในห้องวิจัยเป็นส่วนใหญ่
 
Gold standard diagnosis โรค สครับไทฟัส (WHO 1999)
1.   ตรวจพบ eschar
2.   Single serum ตรวจ IFA for Scrub typhus
-      IgM   >  1:400   IgG  >  1:1600
-   Serology – IFA titre  > 1:400 (Sensitivity 48% Specificity 96%)
-   Serology – IFA titre  > 1:200 (Sensitivity 70% Specificity 92%)
-   Serology – IFA titre  > 1:100 (Sensitivity 84% Specificity 78%)
3.   A four fold increase to a titer of  >  1:200 is 98% specific and 54% sensitivity (Bernard and Didier, 1997; Brown et al 1983)

วีธีการแพร่เชื้อ ถูกไรอ่อน (Chigger) ที่มีเชื้อ O. tsutsugamushi กัด ตัวอ่อนจะอาศัยกัดกินน้ำเลี้ยงเซลส์(Tissue Fluid) ในรูหูของสัตว์รังโรค โดยคนบังเอิญเข้าไปในแหล่งที่อาศัยของไรอ่อน ส่วนตัวดักแด้(Nymph) และตัวเต็มวัยจะหากินอิสระโดยกินไข่แมลงตัวเล็กตามพื้นดินที่ชื้น

ระยะฟักตัวของโรค ปกติ 10-12 วัน อาจแตกต่างกันได้ตั้งแต่ 6-21 วัน

ระยะติดต่อของโรค ไม่มีการติดต่อจากคนสู่คน คนเป็น accidental host เพราะถูกตัวไรอ่อนกัด

ความไวและความต้านทานต่อการรับเชื้อ
   คนจะมีความไวต่อการติดเชื้อ O. tsutsugamushi หลังจากการติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเป็นเวลานานต่อเชื้อ O. tsutsugamushi สายพันธุ์เดียวกัน แต่จะมีภูมิคุ้มกันชั่วคราวต่อเชื้อริคเกตเซียที่ต่างสายพันธุ์ และการติดเชื้อต่างสายพันธุ์ซ้ำภายในระยะเวลา 2-3 เดือนเป็นผลให้มีอาการของโรคอย่างอ่อน แต่หลังจากนั้นปีหนึ่งถ้าติดเชื้อใหม่อาการป่วยอาจเหมือนการติดเชื้อทั่วไป ตามปกติผู้ที่อยู่ในเขตที่โรคสครับไทฟัสเป็นโรคประจำถิ่นหากมีการติดเชื้อซ้ำๆ มักไม่ปรากฏอาการ ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคสครับไทฟัสอย่างมีประสิทธิผล

การรักษา
   การให้ยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อ O. tsutsugamushi  เป็นวิธีเดียวที่ช่วยลดอาการของโรคและลดอัตราป่วย อัตราตายรวมทั้งการระบาดของโรค ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยยา
-   Tetracyclin 500 mg วันละ 2 ครั้ง
-   Doxycycline 100 mg bid รับประทานเป็นเวลา 7 วัน หรือใช้
-   Chloramphenicol (50-75 mg/kg/d) ก็ได้ผลการรักษาดีพอกัน
หรืออาจจะใช้ยาแบบฉีดถ้าผู้ป่วยคลื่นไส้อาเจียนมากหรือในรายที่รุนแรง  ส่วนใหญ่ไข้จะลดลงในช่วงเวลา 24-36 ชั่วโมงหลังจากได้รับการรักษา ในการศึกษาที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา พบว่าไข้จะลดลงเฉลี่ย 3.8 + 1.1 วัน และถ้าจะให้การรักษาแบบโรคไข้เฉียบพลันที่ไม่ทราบสาเหตุ  เพื่อให้ครอบคลุมโรค Scrub typhus, Typhoid, Meningococcocemia โดยใช้ Cholramphenicol 2 gm/d การให้ยา Tetracyclin 500 mg qid หรือ Cholramphenicol นาน 7 วัน ช่วยลดการติดซ้ำของโรค ซึ่งเหมือนกับการให้ Doxycycline 200 mg สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์หรือเด็กไม่สามารถใช้ยากลุ่ม Tetracyclinหรือ Cholramphenicol ได้ แต่อาจใช้ยา azithromycin แทนได้ในประเทศไทยมีรายงานการดื้อยาของโรคสครับไทฟัสต่อการรักษาด้วย Chloramphimical และ Tehacyclin ที่เชียงราย จึงแนะนำให้ใช้ Rifampicin รักษาเชื้อที่ดื้อยาทางภาคเหนือของประเทศไทยในประเทศญี่ปุ่นมีการใช้ยา Macrolide ตัวใหม่ เช่น Clarithromycin และ Azithromycin ใช้รักษาเชื้อที่ดื้อยาได้ผล
สัตว์รังโรค  (Reservoirs Host)
โรคสครับไทฟัส เป็นโรคติดต่อที่เกิดในสัตว์ฟันแทะและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก
ที่หากินอยู่ตามพงหญ้า หรือตามพื้นดินบางชนิด ได้แก่ กระแต หนูผีบ้าน เป็นต้น โดยเชื้อจะวนเวียนอยู่ในไรที่เป็นแมลงพาหะและสัตว์ฟันแทะหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  โดยเชื้อที่อยู่ในร่างกายของสัตว์จะไม่ทำอันตรายเหล่านั้น ส่วนคนเป็นโฮสด์โดยบังเอิญและเมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรค ดังนั้น สัตว์ฟันแทะจึงมีความสำคัญตรงที่เป็นแหล่งให้เชื้อสครับไทฟัสคงอยู่ในวงจรการเกิดโรคในธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

สัตว์ฟันแทะ  จัดอยู่ใน Order Rodentia คำว่า Rodent มาจากภาษาลาติน คือ Rodere = to gnaw
(กัด แทะ) ลักษณะที่สำคัญของสัตว์ในตระกูลนี้คือ มีฟันแทะบนและล่าง 1 คู่ โค้งเข้าหากันและ
งอ ยาว ออกได้ตลอดชีวิต ผิวหน้าของฟันแทะทั้ง 2 คู่ เคลือบด้วยสาร enamel ที่มีความแข็งมากในขณะที่ด้านในเป็นผิวธรรมดา  ดังนั้นการสึกกร่อนของฟันเนื่องจากการกัดแทะจะเกิดกับฟันด้านในมากกว่าลิ้นสั้นที่กระพุงแก้มมีช่องว่างสำหรับเก็บอาหาร ขาคู่หน้าสั้นกว่าขาคู่หลัง คู่หน้าใช้สำหรับถืออาหาร ขาคู่หลังช่วยในการกระโดด สัตว์ฟันแทะมีอวัยวะที่ใช้ดมกลิ่นดีมาก ตาเจริญดี หูเจริญดี บางชนิดใช้หูในการดักจับคลื่นเสียง
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเสาะหาอาหาร ในเขตอบอุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงของอาหารตามฤดูจึงทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดมีการสะสมอาหารสำหรับใช้ในฤดูที่ขาดแคลน ซึ่งจะพบมากในพวก กระรอก หนู นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ และสภาพขาดแคลนอาหาร  เป็นสาเหตุให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดซึ่ง
ก็รวมถึงสัตว์ฟันแทะมีการอพยพย้ายถิ่นจากที่อยู่เดิมเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ที่อุดมสมบูรณ์
หาสภาพอากาศที่เหมาะต่อการดำรงชีวิต หรือแม้กระทั่งหาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ของตัวเอง นอกจากการอพยพถิ่นที่อยู่แล้ว ยังมีการจำศีลหรือ Hibernation เป็นวิธีการแก้ปัญหาในช่วงที่สภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนซึ่งจะพบมากในช่วงฤดูแล้งหรือช่วงฤดูหนาวจัด ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่อาหารขาดแคลนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีการจำศีลซึ่งมักจะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนูต้นไม้ กระรอกดิน กระถิก กระจ้อน พวกนี้จะซ่อนอยู่นิ่งๆ ในที่ปลอดภัยโดยการขุดรู หรืออยู่ในโพรงไม้ หรืออยู่ในถ้ำ เพื่อลดอัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกาย (ลดอัตรา Metabolism) การเต้นของหัวใจจะช้าลงมาก เช่น กระรอกปกติหัวใจจะเต้น 200-400 ครั้ง/นาที ในช่วงจำศีลจะลดลงเหลือ 4-5 ครั้ง/นาที เป็นต้น
สัตว์ฟันแทะพบแพร่กระจายอยู่เกือบทั่วโลกตั้งแต่บริเวณอาร์กติกในเขตทุนดราไปจนถึงเขตร้อนชื้น  เขตทะเลทราย  สัตว์ฟันแทะแบ่งออกเป็น 4 อันดับย่อย ตามลักษณะและหน้าที่ที่แตกต่างของกล้ามเนื้อที่ยึดอยู่ระหว่างกระโหลกกับกระดูกขากรรไกรล่าง คือ
1. Suborder Sciuromopha    ได้แก่ กระรอก Beavers Kangaroo rat
2. Suborder Myomorpha   ได้แก่ หนูโลกเก่า หนูโลกใหม่ และสัตว์ฟันแทะที่มีลักษณะคล้ายหนู
3. Suborder Hystricemorpha    ได้แก่ เม่น
4. Suborder Bathyergomorpha  ได้แก่  African mole rat
แมลงนำโรค (Chigger mite)
ไร  (Mite) เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ไม่มีปีก จัดอยู่ใน  Class Arachnida Subciass Acari Order
Acariformes ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 suborder ได้แก่
-   Suborder Prostigmata(Actinedida) มี stigma ที่ฐาน Chelicerae และระหว่าง
Chelicerae  กับบน Gnathosoma มีวงศ์ที่สำคัญทางการแพทย์คือ เป็นแมลงนำโรคสครับไทฟัส
ได้แก่ Family Trombiculidae
-   Suborder Cryptostigmata (Oribatidae) ไม่มีรูเปิดแต่มีท่อลมติดอยู่บริเวณซอกขวา และ
มี  Pseudostigmata organ
-   Suborder Astigmata (Acaridida) ไม่มีรูเปิด ได้แก่ Family Sarcoptidae ในทางระบาด
วิทยา   
 
ไร มี 3 พวก ได้แก่
1. Host dwelling    ไรกลุ่มนี้จะอยู่กับสัตว์หรือคน เช่น หิด (Scabies mite)
2. Nest dwelling    ไรกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในรังของสัตว์  ได้แก่ Family Laelapidae
3. Field dwelling    ไรกลุ่มนี้จะอยู่กระจัดกระจายตามพื้นดิน ได้แก่ Family
Troombiculidae

ลักษณะทั่วไป
   ลำตัวมีส่วนหัวกับอกรวมกันเรียกว่า Cehalothorax และส่วนท้อง(abdomen) โดยไม่มีการแบ่งเป็นปล้องให้เห็นชัดเจน ส่วนหัวเรียกว่า Capitulum ยื่นไปข้างหน้าไม่มีฟัน ปากมี Chelicerae 1 คู่ ลักษณะคล้ายใบมีดเรียกว่า Chelicerae ใช้ในการตัด บางชนิดมีลักษณะแบบกรรไกร บางชนิดมีฟันยื่นออกมาบางชนิดเป็นเข็ม Palpa เป็นปล้องมี 5 ปล้อง ในการกินไรใช้ Cheliceral digit มีลักษณะเป็นขอ (hook) หรือเหล็กแหลม(stylets) สั้นๆ แทงเข้าเนื้อ ดังนั้นไรกลุ่มนี้จึงกินน้ำเหลืองหรือน้ำในเนื้อเยื่อของโฮสด์มากกว่ากินเลือด Stigmata หรือ Spiracle มีความสัมพันธ์กับขาใช้แยกชนิดไร มี Plate ล้อมรอบหรือเป็นร่องยาวไปข้างหน้าเรียกว่า Peritreme เพื่อกันการอุดตันทางเดินหายใจ ส่วนพวกที่ไม่มี Stigma จะหายใจทางผิวหนัง

   Family Trombiculidae ไรในวงศ์นี้มีความสำคัญมากโดยเฉพาะตัวอ่อนที่เรียกว่า Chigger mite มี 6 ขา กินน้ำเหลืองหรือน้ำในเนื้อเยื่อของคนและสัตว์ ในคนจะพบไรอ่อนอยู่ตามตัวบริเวณที่มีเสื้อผ้ารัด เช่น เอว ใต้รักแร้  ขาหนีบ  เป็นต้น  ไรอ่อน มีลักษณะตัวกลมหรือค่อนข้างกลม ไรพวกที่มีความสำคัญทางการแพทย์จะมี Dorasl plate หรือ Scutum รวมกันเป็นแผ่นเดียวมี Sensiliae 1 คู่และSetae 4-6 เส้น ขาส่วน Tibia มีขน 3 เส้น ปลายขามี Claw Tarsus มีขน 4-7 เส้นเหมือนหัวแม่มืออยู่ตรงข้าม Tibia เห็นได้ชัด ขนที่ส่วนหลังของลำตัวโดยเฉพาะตอนท้ายใกล้ Scutum จะเป็นแบบ Plumose ขนแบบนี้พบได้ด้านหลัง Coxa และระหว่าง Coxa ส่วนของ Coxa และ Trochanter จะมี Plumose seta 1 เส้น ลักษณะตัวเต็มวัย ลำตัวยาวประมาณ 1 ม.ม. รูปร่างค่อนข้างรี หรือเป็นรูปไข่ หรือคล้ายเลข 8 ตัวสีแดงจัด มีขนเป็น Filiform ปกคลุมหนาเหมือนกำมะหยี่ ใน Family นี้จะมี Genus Trombicula และ Genus Leptotrombidium ที่เป็นแมลงพาหะนำโรคสครับไปฟัส
   Sasa (1961)  ได้ศึกษาวงชีวิตของไร Family นี้พบว่า ไข่ของไรมีลักษณะกลมเมื่อฟักออกเป็นตัวอ่อนเรียกว่า Deutovum มี 6 ขา จากนั้นจะลอกคราบเป็น Chigger มี 6 ขา ซึ่งตัวอ่อนระยะนี้จะดำรงชีวิตเป็น Parasite ในคนหรือสัตว์ โดยกัดกินน้ำเหลืองหรือสารน้ำในเนื้อเยื่อ จากนั้นจะลอกคราบเป็นตัวดักแด้ระยะที่ 1 เรียกว่า Nymphochrysalis หรือ Pernymph จากนั้นจะลอกคราบเป็น nymph ระยะที่ 2 และ Peradult(Imagochrysalis) และตัวเต็มวัยมี 8 ขา มีชีวิตอิสระกินไข่ยุงหรือ
ไข่ของแมลงพวก Chllembola เป็นอาหาร ตัวเมียจะผสมพันธุ์โดยการเก็บ Stalked spermatophores ของตัวผู้ที่วางทิ้งไว้บนพื้นดินมาเก็บไว้เพื่อผสมกับไข่ไรจะไม่มีการผสมพันธุ์แบบ Parthenogenesis ระยะเวลาจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 75 วัน เช่น Leptotrombidium akamushi (Brumpt) และไรชนิด Euschoengastia indica ใช้เวลาเจริญเติบโตจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยประมาณ 60 วัน ส่วนไรชนิด L. deliense (Waish) ใช้เวลาประมาณ 40 วัน ดังนั้นช่วงเวลา 1 ปี ไรจะออกลูกหรือวางไข่ได้ประมาณ 1-2 รุ่น นอกจากนี้ไรยังมีความสามารถถ่ายทอดเชื้อริกเกตเซียที่มีอยู่ในตัวให้กับไรรุ่นลูกรุ่นหลานได้โดยผ่านทางไข่ที่เรียกว่า Transovarian Transmission ไรในกลุ่มนี้แบ่งเป็น 2 พวก คือ
1.   พวกที่ทำให้เกิดอาการผื่นคัน (Dematitis)
-   Trombicula(Neotrombicula) autumnalis Shaw (Harvest mite)
-   T. (Eutrombicula) alfredugasti Oudeman
-   T. (E.) splendens Ewing
-   T. (E.) batatas Linnaeus ในไก่งวง และคน
-   Chigger พบในสัตว์อื่นๆ นอกเหนือจากคน เช่น Neoschoengastia americana (Turkey chigger)
-   Euschoengastia latchmani คล้ายโรคเรื้อนในม้า กระต่าย (Lepus californicus) นกกระจอกเทศ (Zonotrichia caronata)
2. Chigger ทำให้เกิดโรค
-   Scrub Typhus mite กัดคนทั่วไป เช่น L. akamushi (Brumpt) และ L. deliense (Walsh)
-   กัดคนพบเฉพาะที่ เช่น T. pallida
-   ไม่กัดคนแต่ Susceptible ต่อเชื้อริกเกตเซีย เช่น T. tosa
-   ไม่กัดแต่ระบาดในสัตว์
ไรใน Genus Leptotrombidium ชอบความชื้นสูงในเขตแห้งแล้งที่อยู่ของไรในวงศ์นี้
จึงจำกัด อยู่ในบริเวณลำคลองหรือแม่น้ำ ส่วนในเขตหนาวพบได้ตามริมลำคลองหรือที่ชื้นแฉะ ตัวไรอ่อนจะคอยอยู่เงียบๆ รอเหยื่ออยู่เป็นกลุ่มตามกิ่งไม้หรือใบไม้ในที่ร่ม  หรืออยู่ใกล้ผิวดินที่มีความชื้นสูงรับรู้ได้ด้วยกลิ่น CO2 และ active เมื่อมีสัตว์หรือคนผ่านมาไรอ่อนจะกระโดดเกาะตามผิวหนังหรือฐานขน มักพบเกาะกันแน่นในรูหูของสัตว์ที่เป็น  รังโรค ไรอ่อนจะกัดทะลุผิวหนังแล้วปล่อยน้ำลายละลายเซลส์ เพื่อเป็นอาหาร ดังนั้น ผิวตรงที่ถูกกัดจะแข็งมีในชั้น Stratum geminatium และทะลุถึงชั้น Dermis และ Subcutaneous tissue ภายในมีเนื้อตาย เนื่องจากถูกน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหารย่อยสะสมอยู่ภายในบริเวณนั้น ดังนั้นอาการคันจึงไม่ปรากฏทันทีแต่จะเกิดหลังถูกกัดประมาณ 2-3 ชั่วโมง

L. akamushi ไรชนิดนี้พบในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์  นิวกินี ญี่ปุ่นไต้หวัน จีนตอนใต้  ไรชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นที่ที่มีการเพาะปลูก (Partially cultivated land) ที่น้ำท่วมได้พบมากที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม สำหรับในประเทศไทยจากการสำรวจของพนิดา ลักษณา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505- พ.ศ. 2512 พบที่จังหวัดเชียงใหม่  จังหวัดนครราชสีมา  และจังหวัดอุบลราชธานี โดยพบในหนูท้องขาว (R. rattus) และกระแต(T. glis)

L. deliense ไรชนิดนี้พบในปากีสถาน อินเดีย อินโดนีเซีย นิวกินี ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ไทย มาเลเซีย ไรชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าจะเห็นว่าโรคสครับไทฟัสที่พบในแถบ Eastern Asia East India และ Northern Australia เนื่องจากพื้นที่แถบนี้มีการทำลายป่าเป็นเหตุให้หนู Rattus ซึ่งเป็นสัตว์รังโรคที่ไม่มีที่อาศัย และไร Leptotrombidium ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น สำหรับประเทศไทยพบไรชนิดนี้กระจายอยู่ทั่วทุกภาค เช่น ภาคเหนือพบที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดหนองคาย ภาคกลางพบที่จังหวัดจันทบุรี จังหวัดปทุมธานี ภาคใต้พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา   จังหวัดยะลา โดยมีหนูผี (Suncus murinus) กระแต (T. glis) หนูพุกใหญ่ (B. indica) และหนูท้องขาว(R. rattus) 
เป็นสัตว์รังโรค

แหล่งที่อยู่อาศัยของไร
   ตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ตามพื้นดินที่ชื้นแฉะ หรือบริเวณที่มีความชื้นสูง ใต้ใบไม้เน่า บริเวณใต้ต้นไม้ที่มีใบไม้หล่นทับถมและแสงแดดส่องไม่ถึง
   ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ตามยอดหญ้า หรือใบหญ้าในดงต้นสะแกที่มีเถาว์มันนกขึ้นพันอยู่ ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้าคา หรือ Lalang ต้นหญ้าที่ขึ้นปกคลุมคันนา หรือริมลำคลอง ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่โคนต้นมีต้นหญ้าเล็กๆ ขึ้นและแสงแดดส่องไม่ถึง ไร่อ้อย ต้นหญ้าที่ขึ้นอยู่ในสวนยาง สวนผลไม้ สวนดอกไม้ เป็นต้น

การกำจัดหรือควบคุมจำนวนไรอ่อน
   เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยของไรและ Mite Island หายากเพราะพื้นที่กว้าง ไม่ทราบแหล่งที่แน่ชัด ดังนั้น  การที่จะลงทุนพ่นสารเคมีในพื้นที่ที่เป็นทุ่งนาหรือป่าเขาทั้งหมดเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองใช้งบในการลงทุนสูงมากและผลในการฆ่าตัวไรให้ได้ผลมากน้อยเพียงไรยังไม่มีผู้ใดดำเนินการพ่นหรือประเมินผลการพ่นสารเคมี แต่ถ้าจะทำการควบคุมจำนวนหรือกำจัดไรอ่อนโดยการพ่นสารเคมี ควรสำรวจพื้นที่บริเวณที่จะทำการพ่นเสียก่อนว่ามีไรอ่อนชนิดใดที่เป็นพาหะนำโรคหรือไม่โดยการดักจับสัตว์รังโรคที่หากินอยู่ในบริเวณนั้น หรือการวางแผ่นพลาสติกสีดำบริเวณที่สงสัยว่าจะเป็นแหล่งอาศัยของไร หรือบริเวณปากรูของสัตว์รังโรค เมื่อทราบชนิดและแหล่งที่อาศัยของไรอ่อนที่ชัดเจนแล้วจึงทำการพ่นสารเคมี หรือจะใช้วิธีพ่นสารเคมีตามพุ่มไม้เตี้ยๆ รอบที่พักอาศัยหรือหรือรอบๆ ที่พักในบริเวณทุ่งนาก็ได้เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ช่วงเวลาที่ทำการพ่นสารเคมีควรเป็นช่วงเช้าหรือก่อน พระอาทิตย์ตกจะเหมาะที่สุด
   ส่วนวิธีการทางกายภาพ คือ การถางหญ้าที่ปกคลุมคันนา หรือถางหญ้าเพื่อจัดทำแปลงเกษตรกรรมและเผาทิ้ง หรือการจุดไฟเผาหญ้าเป็นวิธีควบคุมจำนวนไรอ่อนที่ได้ผลวิธีหนึ่ง แต่วิธีนี้จะกำจัดได้เฉพาะ ไรอ่อนเท่านั้น  ส่วนตัวเต็มวัยของไรซึ่งอาศัยอยู่ใต้ใบไม้ หรือตามพื้นดินจะไม่ตายไปด้วย เพราะตัวเต็มวัยจะหลบลงไปอยู่ใต้พื้นดินเมื่อผิวดินมีความชื้นก็จะกลับขึ้นมาใหม่
   ดังนั้น วิธีการที่ดีที่จะไม่ป่วยเป็นโรคสครับไทฟัส คือ การป้องกันตนเอง หลีกเลี่ยงไม่เข้าไปในแหล่งที่อาศัยของโรค หากมีความจำเป็นควรใช้ยาทากันแมลงกัดหรือใช้เสื้อผ้าที่ชุบสารเคมี ดังได้กล่าวไว้ในหัวข้อการควบคุมป้องกันโรค


ที่มา : เอกสารอ้างอิง
สีวิกา  แสงธาราทิพย์. 3 คู่มือโรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด 2541 ;149.
มงคล  เจนจิตติกุล. 2 คู่มือการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :  บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด 2546 ; 247-248.
กรมควบคุมโรคติดต่อ, กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการสำสำรวจพาหะนำโรคสครับไทฟัสและการจำแนกชนิดของไรอ่อนที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด 2544.1,15.
http://dpc10.ddc.moph.go.th/knowledge/scrubtyfus.doc
 
IP : บันทึกการเข้า

รับทำกรงสุนัขและสัตว์เลี้ยง ตามสั่งทุกแบบทุกขนาด
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=189263.0
ติดต่อได้ที่ : 080-671-4993
ที่ตั้ง : http://goo.gl/maps/daSvO
++newlook++
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,413


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 01:03:46 »

โรคร้ายจากหนู


เปิดศักราชกันด้วยเรื่องของหนู ในปีใหม่ปีหนูนี้หนูที่เป็นสัตว์เลี้ยงนั้นน่ารักน่าเอ็นดู แต่หนูที่มาอาศัยบ้านเราโดยที่เราไม่ได้เลี้ยงนั้น นอกจากไม่น่ารักน่าเอ็นดูแล้ว ยังมีเชื้อโรคและพาหะนำโรคอยู่ในตัวมันหนูสกปรกเหล่านี้เป็น “รังโรค” นำโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิดมาสู่คน


กาฬโรค (Plaque)
กาฬโรคเป็นโรคอันดับต้นที่เรามักจะนึกถึงเมื่อนึกถึงโรคที่เกิดจากหนู เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคเก่าแก่ ในประวัติศาสตร์ มีประวัติการแพร่ระบาดของกาฬโรคหลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็คร่าชีวิตผู้คนในระดับเรือนแสนเรือนล้าน กาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดในหนู และในสัตว์ฟันแทะอื่นๆ สามารถติดต่อมาถึงคนได้ โรคนี้มีหมัดหนูที่อาศัยบนตัวหนูเป็นพาหะ แต่ตัวการที่ทำให้เกิดโรคนี้จริงๆ ก็คือแบคทีเรียที่ชื่อ Yersinia pestis กาฬโรคติดต่อมายังคนได้หลายช่องทาง เช่น ถูกหมัดหนูกัด สัมผัสสัตว์ที่ป่วยหรือตายด้วยโรคนี้ สัมผัสกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยโรคนี้เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการโลหิตเป็นพิษ มีไข้ มีอาการทางประสาท ต่อมน้ำเหลืองบวมและอาจมีอาการอักเสบแบบมีเลือดออก และมีเนื้อตายร่วมกับการขยายใหญ่ของต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่ถูกหมัดหนูกัด หากไม่ได้รักษาก็อาจเสียชีวิตได้


เลปโทสไปโรซิส
บางคนเรียกโรคเลปโทสไปโรซิสว่า “โรคไข้ฉี่หนู” เพราะเข้าใจว่าสัตว์ที่นำโรคนี้มาคือหนูเท่านั้นแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ โรคนี้เป็นโรคที่แพร่ระบาดในฤดูฝนในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง เกิดจากแบคทีเรียเชื้อเลปโทสไปรา (Lepto spira interrogans) ซึ่งอาศัยอยู่ในสัตว์หลาย ชนิด เช่น โค กระบือ แมว สุนัขไม่ได้มีแต่เฉพาะในหนู เท่านั้น แต่การติดต่อโรคนั้นจะเกิดจากการสัมผัสฉี่ ของสัตว์ต่างๆ และไม่ปรากฏว่าติดต่อจากคนสู่คน อาการของโรคเลปโทสไปโรซิสจะมีอาการไข้คล้ายไข้ หวัดใหญ่ ปวดเมื่อยตามตัว และที่สำคัญคือ จะมีอาการ ปวดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ขา น่อง และจะมีอาการ ปวดศีรษะ วิธีหลีกเลี่ยงโรคนี้คือหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำท่วมขัง ถ้าจำเป็นต้องย่ำก็ต้องสวมรองเท้ากันน้ำ และ ล้างมือเท้าให้สะอาดทันที


โรคฮันทาไวรัส
ฮันทาไวรัส มีสัตว์ฟันแทะหลายชนิดเป็นพาหะจากการสำรวจนั้นพบว่ามีเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่ในหนูชนิดต่างๆ แม้การเป็นโรคนี้ในประเทศไทยยังไม่มากนักแต่ก็เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังเนื่องจากปัจจุบันการระบาดของโรคอาจมากับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เช่น จากประเทศจีน เกาหลี ศรีลังกา จีนรัสเซีย เป็นต้น องค์การอนามัยโลกระบุว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 60,000-150,000 ราย โรคนี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มอาการได้แก่ โรคไข้เลือดออกที่มีอาการทางไต(Hemorrhagic fever with renal syndrome, HFRS)และ โรคติดเชื้อไวรัสฮันทาที่ระบบหัวใจและทางเดินหายใจ (Hantavirus cardiopulmonary syndrome,HCPS) อาการของผู้ป่วยเป็นโรคนี้ จะมีไข้สูงเฉียบพลันปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือปวดเอวมาก ตาแดง มีจุดเลือดออก ปัสสาวะน้อย ตัวเย็น ความดันเลือดต่ำ ช็อก โอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูงหนูตามท้องนาและหนูบ้านจัดเป็นรังโรคของไวรัสชนิดนี้ โดยเชื้อไวรัสจะปะปนอยู่ในปัสสาวะ อุจจาระและน้ำลายของหนู คนติดเชื้อโดยสัมผัสโดยตรงหรือสูดเอาละอองจากสิ่งขับถ่ายของหนูเข้าไป


ซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis)
โรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารก็จริงแต่เกี่ยวข้องกับหนูในฐานะที่หนูเป็นรังโรค โรคนี้เกิดจากแบคทีเรียซัลโมเนลลาหลายสายพันธ์ เช่น Salmonellatyphimurium, S. enteritidis เป็นต้น เป็นการติดเชื้อเฉียบพลันในลำไส้ แหล่งรังโรคอันสำคัญอื่นๆ นอกเหนือจากหนู คือ เป็ด ไก่ และสัตว์เลี้ยง
ไข้หนูกัด (Rat bite fevers)
ถ้าเราถูกหนูกัด เราอาจจะแค่เป็นแผลธรรมดาแต่ถ้าโชคร้ายกว่านั้น หนูที่เรากัดมีเชื้อโรคอยู่ในร่างกายเราก็อาจจะได้รับเชื้อโรคจากหนูก็ได้ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า (ซึ่งเกิดได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด ไม่เว้นแม้กระทั่งหนู) หรืออาจจะเป็นโรคไข้หนูกัด ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียที่อยู่ในตัวหนูที่ชื่อ Spirillum minus อาการของโรคนี้จะเริ่มต้นจากเป็นไข้หนาวสั่นทันทีทันใดปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง บางคนมีจุดเลือดออกหรือตุ่มหนอง ข้อบวมแดงและปวด ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต


โรคสครับไทฟัส
สครับไทฟัส (Scrub typhus หรือ mite-bornetyphus) เป็น โรคที่เกิดจากแบคทีเรียจำพวก ริกเกตต์เซีย Orientia tsutsugamushi หรือ R. tsutsugamushiมีไรเป็นพาหนะ นำโรคไรเหล่านี้อาศัยบน ตัวสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระต่าย กระแต เป็นต้น เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งอาจจะเกิดโดยบังเอิญ โดยถูกพาหะนำโรคที่มีเชื้อ กัด อาการที่สำคัญของโรคนี้ ได้แก่ปวดศีรษะอย่าง รุนแรงบริเวณขมับและหน้าผากมีไข้สูงหนาวสั่น เพลีย ปวดเมื่อยตัว อาเจียน ปวดท้องท้องร่วง ปวดกระบอก ตา ไต ตับ ม้ามโต และอาจพบแผลบริเวณที่ถูกไรกัด


โรคมิวรีนไทฟัส
มิวรีนไทฟัส (Murine typhus หรือ Flea-bornetyphus) เกิดจากเชื้อริกเกตต์เซียที่ชื่อ Rickettsiaetyphi โดยที่เชื้อชนิดนี้อยู่ในตัวหมัด เมื่อหมัดหนูกัดคนที่ถูกกัด ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อย โรคสครับไทฟัส โรคมิวรีนไทฟัสและมีผื่น อาการของโรคจะรุนแรงน้อยกว่าสครับไทฟัส


โรคพยาธิตัวตืด
พยาธิตัวตืดในหนูทำให้เกิดโรคในคนหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น พยาธิตืดแคระ (Hymenolepisnana) ทำให้เกิดโรค Hymenolepiasis nana พยาธิตืดหนู (Hymenolepis diminuta) ทำให้เกิดโรค Hymenolepiasisdiminuta (หรือโรค Rat tapeworm infectionเป็นต้นพยาธิตัวตืดเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในลำไส้ของหนูไข่พยาธิจะปะปนออกมากับอุจจาระ เมื่อหมัดหนูหรือแมลงปีกแข็งกินไข่พยาธิเข้าไป ตัวอ่อนจะเจริญอยู่ในตัวหมัด เมื่อหนูหรือคนกินหมัดเข้าไป (หมัดหนูร่วงลงในอาหาร คนกินอาหารนั้นเข้าไป) ตัวอ่อนก็จะเจริญเป็นตัวเต็มวัยอยู่ในลำไส้ของหนูและคน หากมีพยาธิในร่างกายเราไม่มากก็จะไม่มีอาการอะไร แต่ถ้ามีพยาธิมาก ก็จะมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน น้ำหนักตัวลด ไม่มีกำลัง มีอาการทางประสาทคล้ายลมบ้าหมู นอนไม่หลับ ไม่มีชีวิตชีวา ไม่รู้สึกหิว คันบริเวณจมูกและทวารหนัก นอกจากนี้อาจพบอาการอุจจาระร่วงและมีเลือดปนร่วม ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้รายที่ความต้านทางต่ำจะเกิดอาการแพ้ได้นอกจากหนูที่เราไม่ได้เลี้ยงจะพาโรคมาให้เราแล้ว หนูเลี้ยงแสนรักของเราก็ยังสามารถพาโรคภัยมาให้เราได้เช่นกัน เช่น โรคเชื้อราที่ผิวหนังของหนูแกสบี้ก็สามารถติดต่อมายังคน และทำให้เราเป็นโรคผิวหนังได้ ดังนั้น เราต้องระวังไว้เสมอ และคาถาสำคัญที่จะทำให้เราห่างไกลโรคภัยจากหนูทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจเลี้ยงก็คือ ความสะอาดและความเป็นระเบียบของบ้านอย่าให้หนูที่ไม่ได้รับเชิญเข้ามาอยู่ร่วมบ้านเราได้เป็นอันขาด


 
เพ็ญธิรัตน์ อัครผลสุวรรณ รวบรวมจาก :
นิสากร ปานประสงค์, “โรคร้ายจากหนู,”
อัพเดท ฉบับที่ 244 มกราคม 2551
ที่มา : www.western-university.net/vet/contentimage/article004.doc
IP : บันทึกการเข้า

รับทำกรงสุนัขและสัตว์เลี้ยง ตามสั่งทุกแบบทุกขนาด
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=189263.0
ติดต่อได้ที่ : 080-671-4993
ที่ตั้ง : http://goo.gl/maps/daSvO
++newlook++
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,413


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 08 กุมภาพันธ์ 2013, 01:10:44 »

แนวทางป้องกันโรคภูมิแพ้

                                                                                          น.พ. กิตติ  โตเต็มโชคชัยการ

 โรคภูมิแพ้คืออะไร

            โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งเป็นระบบกลไกที่มีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก  เช่น เชื้อโรคต่าง ๆ สารเคมี  ฝุ่น  พืช  ละอองเกสร  ขนสัตว์ เป็นต้น  มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้มากกว่าปกติหรือไวเกินกว่าปกติ  ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น  อาการแพ้นี้อาจเกิดกับอวัยวะต่าง ๆ เช่น  มีอาการจาม คัดจมูก มีน้ำมูก ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการตอบสนองมากกว่าปกติของทางเดินหายใจส่วนบน  ตั้งแต่จมูกจนถึงหลอดลมส่วนต้น ที่เราเรียกว่าโรคแพ้อากาศ หรือหลอดลมมีอาการหดเกร็งตัวมากกว่าปกติทำให้เกิดเป็นโรคหอบหืดขึ้น  นอกจากนี้โรคภูมิแพ้ยังรวมไปถึงโรคลมพิษ  การแพ้อาหาร  การแพ้แมลงต่อย  การแพ้หรืออักเสบทางผิวหนังและการแพ้แบบเฉียบพลัน

            ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เราพบว่าอัตราการกระจายของโรคภูมิแพ้ที่สำคัญ ๆ โดยเฉพาะโรคหอบหืดและโรคแพ้อากาศมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก  ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทย  จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2533  พบอัตราการกระจายของโรคหอบหืดในเด็กนักเรียนในกรุงเทพฯมหานครเท่ากับร้อยละ 4.2  และอัตราการกระจายของโรคแพ้อากาศในเด็กกลุ่มเดียวกัน เท่ากับร้อยละ 20  จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2538 พบอัตราการกระจายของโรคหอบหืดเท่ากับร้อยละ 13 และโรคแพ้อากาศเท่ากับร้อยละ 40  คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 3 เท่าสำหรับโรคหอบหืดและ 2 เท่าสำหรับโรคแพ้อากาศ   ในประชากรผู้ใหญ่ถึงแม้ยังมีการศึกษาน้อยอยู่  แต่ก็เชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะดำเนินไปในทิศทางเดียวกันกับประชากรเด็กเช่นกัน   คงต้องยอมรับว่าโรคภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางเศรษฐกิจและสุขภาพของประชาชนอย่างมาก

 

โรคภูมิแพ้เกิดขึ้นได้อย่างไร

            ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้  แต่เราทราบว่าโรคนี้มีส่วนถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์  เราพบว่าถ้าบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้  บุตรมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ด้วยประมาณร้อยละ 30  แต่ถ้าทั้งบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ บุตรมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ถึงประมาณร้อยละ 50  เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีประวัติในบิดามารดา ซึ่งอาจเกิดโรคเพียงประมาณร้อยละ 13  ดังนั้นผู้ที่มีญาติใกล้ชิดเช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคภูมิแพ้ ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่ตัวเองจะเป็นโรคภูมิแพ้ด้วย   นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับว่าคนผู้นั้นได้ไปสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ หรือไม่  ซึ่งสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้พอจะแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็นสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน เช่น  สารจากไรฝุ่นซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญที่สุดทั่วโลก  สารก่อภูมิแพ้ในบ้านอื่น ๆ ได้แก่ ฝุ่นบ้าน  สะเก็ดจากแมลงสาบ  สารจากขนแมว, ขนสุนัข  สปอร์จากเชื้อราต่าง ๆ   สารก่อภูมิแพ้นอกบ้าน  ได้แก่  ละอองเกสรดอกไม้  ต้นไม้  ต้นหญ้า   วัชพืช  และสปอร์จากเชื้อรานอกบ้าน  เป็นต้น   สารก่อภูมิแพ้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพ เช่น ละอองจากถั่วเหลืองที่รั่วจากปล่องเก็บ  ซึ่งเคยก่อให้เกิดการระบาดใหญ่ของโรคหอบหืดที่เมืองบาเซโลนาในประเทศสเปน ในปี พ.ศ. 2532  ฝุ่นจากใยผ้า เช่น ผ้าฝ้าย  ผ้าไหม นุ่น  ฝุ่นจากโรงงาน   นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ได้ทำให้เกิดอาการของโรคโดยตรง แต่ช่วยส่งเสริมให้หลอดลมที่อักเสบอยู่แล้วเกิดการหดตัวและบวมยิ่งขึ้น เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจ  ไม่ว่าจะเป็นจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส   การสูบบุหรี่  มลภาวะของอากาศที่เป็นพิษต่อทางเดินหายใจ เช่น มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์  มลพิษจากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์, เป็นต้น

            กลไกหลักของการเกิดอาการแพ้เกิดจากการที่ร่างกายได้สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งครั้งหนึ่งร่างกายของเราเคยได้รับมาก่อนและจดจำเอาไว้  พอได้รับสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นอีก  สารนั้นจะทำปฏิกิริยากระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียก mast cell ที่มีภูมิคุ้มกันเฉพาะชนิดหนึ่งที่เรียก IgE ปล่อยสารเคมีชนิดที่ทำให้อวัยวะต่างเกิดอาการภูมิแพ้ออกมา  สารเคมีหลักที่ถูกหลั่งออกมาเรียกว่า ฮีสตามีน (Histamine) ในโรคแพ้อากาศ สารนี้จะไปทำให้เยื่อบุในโพรงจมูก บวม มีสารคัดหลั่งออกมาเป็นน้ำมูก หรือในโรคลมพิษ   สารนี้ก็จะไปทำให้เกิดผื่นแดง  คัน บวม ตามผิวหนังขึ้น  เป็นต้น

 

โรคแพ้อากาศคืออะไร

            โรคแพ้อากาศเป็นโรคที่เกิดจากเยื่อบุจมูกมีการอักเสบ มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกไหล จามและคันจมูก  โดยเกิดขึ้นจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป  ผู้ป่วยจะมีอาการเรื้อรัง  อาการจะเป็นมากตอนเช้า ๆ เกือบทุกวัน  เนื่องจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ในระหว่างที่นอนหลับตลอดทั้งคืน  ที่สำคัญที่สุดคือ สารจากตัวไรฝุ่น  ไรฝุ่นเป็นแมลงขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า  ไรฝุ่นชอบอาศัยอยู่ในที่นอน หมอน หมอนข้าง  ผ้าห่มนวม  พรม   ไรฝุ่นต้องการความชื้นและอุณหภูมิเหมาะสมในการเจริญเติบโต  อาหารที่สำคัญสำหรับไรฝุ่นได้แก่ สะเก็ดผิวหนังจากมนุษย์  ไรฝุ่นจะวางไข่วันละ 20-50 ฟองและสามารถเพิ่มจำนวนเป็น 2 เท่า ใน 3 เดือน   สารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นได้แก่สารที่อยู่ในอุจจาระของไรฝุ่นที่ตกสะสมอยู่บริเวณหมอนและที่นอนเป็นจำนวนมาก   เมื่อเราพลิกตัวไปมาบนที่นอนจะทำให้สะเก็ดดังกล่าวฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ  และหลังจากที่สูดหายใจเอาสะเก็ดอุจจาระของไรฝุ่นเข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการแพ้ทางจมูก ได้แก่ จาม  คัดจมูก  น้ำมูกไหล และอาการแพ้ที่ปอด ได้แก่ ไอ หอบ หายใจลำบาก  และมีเสมหะมากขึ้นได้   มีการศึกษาพบว่า หลังจากที่ลดจำนวนไรฝุ่นในห้องนอนลงแล้ว อาการของโรคภูมิแพ้ในผู้ป่วยจะลดลงได้มาก

 

 

โรคลมพิษคืออะไร

            โรคลมพิษ  เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบได้ถึงร้อยละ 15-30 ของประชากร   ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น  แดง  คัน บางครั้งมีบวมด้วย เกิดขึ้นตามตัวและแขนขา  มักขึ้นตอนบ่าย ๆ เย็น ๆ แต่อาจขึ้นเวลาใดก็ได้  ผื่นจะค่อย ๆ จางไปเอง   อาการผื่นแดงและคันมักไม่อยู่นานเกิน 1 วัน  อาจเป็นทุกวันหรือขึ้นเป็นบางวันก็ได้   ถ้าเกิดขึ้นทุกวันเกิน 6 สัปดาห์เราจัดเป็นลมพิษชนิดเรื้อรัง   สาเหตุของโรคลมพิษ  อาจเกิดจากการแพ้สารบางอย่าง  อาหาร  สารเคมี  การติดเชื้อบางชนิด เช่น พยาธิ โรคแพ้ภูมิบางอย่าง แต่ส่วนมากไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าแพ้อะไร

 

การแพ้อาหาร เป็นอย่างไร จะป้องกันได้อย่างไร

            การแพ้อาหาร  หมายถึง อาการผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากปฏิกิริยาไวเกินของภุมิคุ้มกันของร่างกาย   หลังจากการรับประทานอาหาร สิ่งปนเปื้อนหรือสารปรุงแต่งอาหาร   อาการที่พบบ่อยที่สุดจะเป็นอาการทางเดินอาหาร เช่น คัน บวมในคอ คลื่นไส้ อาเจียน  ปวดท้อง  แน่นท้อง  ท้องอืด ท้องเสีย   อาการที่พบรองลงมาคือ อาการทางผิวหนัง  ได้แก่ มีผื่นขึ้น  แดง คัน  บวม หรือเป็นลมพิษเฉียบพลัน  นอกจากนั้นอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ  การแพ้อาหารส่วนใหญ่เกิดจากการได้สารโปรตีนแปลกปลอม, โดยการรับประทาน เช่น นมวัว ไข่ อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู  ดังนั้นการเลี่ยงอาหารที่แพ้จึงเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด  อาการแพ้อาหารอาจหายไปได้หลังจากหลีกเลียงอาหารที่แพ้ระยะหนึ่ง

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราแพ้อะไร

            วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้ป่วยคือการสังเกตด้วยตนเองว่าแพ้อะไร  โดยสถิติพบว่าสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ ฝุ่นบ้าน  ฝุ่นแมลงสาบ ตัวไรในฝุ่นบ้าน  ขนสัตว์  ละอองเกสรดอกไม้ ละอองเกสรดอกหญ้าหรือวัชพืช  เชื้อรา  อาหารบางชนิด  ซึ่งที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ อาหารทะเลจำพวกกุ้ง ปู หอย แมงกะพรุน นมวัว ไข่ขาว  ข้าวสาลี ถั่วต่าง ๆ หน่อไม้ เนื้อวัว เครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์  อาหารที่มีเชื้อราหรือทำจากการหมักดอง เช่น ปลาร้า กะปิ ข้าวหมาก แหนม เบียร์ เห็ด ขนมปัง  น้ำส้มสายชู ขนมจีน  เป็นต้น

            อาหารที่แพ้  บางชนิดเป็นส่วนผสมในอาหารหลายรูปแบบ เช่น นม ไข่ มีอยู่ในพวกขนมเด็ก ขนมปัง   ดังนั้นผู้ที่แพ้ไข่แม้จะไม่ได้รับประทานไข่ต้ม ไข่ดาว ไข่เจียว  แต่ไม่ได้หลีกเลี่ยงบะหมี่ ขนมเค้ก มักกะโรนี  ก็ยังอาจมีอาการแพ้อยู่ได้อีก   ผู้ป่วยที่แพ้อาหารจึงควรรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาหารที่รับประทานด้วยว่า มีอาหารที่แพ้ปะปนอยู่ด้วยหรือไม่  ทำจากการหมักดองหรือไม่  และควรหลีกเลี่ยงเสีย

            อย่างไรก็ตาม   การสังเกตอาหารที่แพ้  อาจทำได้ไม่ง่ายนักในบางกรณี  เพราะอาหารบางอย่าง  ร่างกายอาจไม่แสดงปฏิกิริยาทันที บางครั้งอาจแสดงอาการสามวัน เจ็ดวัน ให้หลัง  ทำให้ลืมไปแล้วว่ารับประทานอาหารเข้าไป  ดังนั้น  หากจะให้รู้แน่ว่าแพ้อะไร  ให้หยุดอาหารตัวที่สงสัยไว้ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน  จากนั้นทดลองรับประทานดูใหม่  ถ้ามีอาการแพ้ก็ให้สงสัย  และหลีกเลี่ยงเสีย

 

หลักการรักษาโรคภูมิแพ้ เป็นอย่างไร

            เนื่องจากโรคภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรัง  จำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษานาน  การรักษาที่สำคัญที่สุด  จะเริ่มตั้งแต่การสืบค้นให้ได้แน่ชัดว่าแพ้อะไร  จากประวัติของผู้ป่วย  จากการทำการทดสอบทางผิวหนัง  และการตรวจเลือด  จะทำให้แพทย์พอจะทราบว่าสารก่อภูมิแพ้คืออะไร  เพราะหลักการรักษาที่ดีที่สุดและได้ผลที่สุดคือหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้นั้น  ในกรณีที่ทราบแต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้ได้เต็มที่ เช่น ไรฝุ่น  ฝุ่นบ้าน  ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยยารักษาภูมิแพ้ตามที่แพทย์แนะนำ  ซึ่งยาที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายกลุ่ม เช่น

-          ยาต้านสารฮีสตามีน (anti-histamine) ยากลุ่มนี้เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด   ปัจจุบันมีหลายชนิด มีทั้งชนิดออกฤทธิ์สั้น ๆ ราว 4-6 ชั่วโมง  ต้องรับประทานวันละ 4 ครั้ง  หรือชนิดที่ออกฤทธิ์ยาว 12 ชั่วโมงหรือ 24 ชั่วโมง  รับประทานวันละ 1-2 ครั้งก็พอ  ยาในกลุ่มต้านสารฮีสตามีนนี้มักก่อให้เกิดอาการง่วงนอน  ดังนั้นหลังจากกินยากลุ่มนี้จึงไม่ควรขับรถยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล  อย่างไรก็ตาม  ในปัจจุบันมียาต้านสารฮีสตามีนใหม่ ๆ หลายชนิดที่ไม่มีผลข้างเคียงเรื่องง่วงนอนหรือมีน้อย  แต่ราคามักแพงกว่ายาในกลุ่มที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน

-          ยาลดอาการคั่งของจมูก  ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดในจมูกหดตัว ทำให้น้ำมูกลดลง  จมูกโล่ง  ไม่คัดจมูก  แต่ข้อเสียของยากลุ่มนี้คืออาจทำให้คอแห้ง  กระวนกระวายใจสั่น  นอนไม่หลับ  ในคนสูงอายุอาจทำให้โรคหัวใจกำเริบ  ปัสสาวะไม่ออกหรือตาต้อหินกำเริบได้  จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังตามคำแนะนำของแพทย์  ยาในกลุ่มนี้มีทั้งชนิดกินและชนิดพ่นจมูก  สำหรับยาชนิดพ่นไม่ควรใช้นานเกิน 7 วัน  มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดอาการติดยาและคัดจมูกมากกว่าเดิม  เกิดเป็นภาวะจมูกอักเสบเรื้อรังจากยาได้   จึงไม่ควรซื้อมาใช้เองอย่างเด็ดขาด

-          ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก  ยาในกลุ่มนี้ช่วยลดอาการอักเสบของเยื่อบุจมูก  และลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่บริเวณเยื่อบุจมูกโดยไม่ก่อให้เกิดอาการติดยาเหมือนกลุ่มที่แล้ว แต่ควรใช้ภายใต้ความควบคุมของแพทย์เท่านั้น

การรักษาด้วยการฉีดยาภูมิแพ้    เป็นวิธีการรักษาภูมิแพ้ โดยอาศัยหลักการที่ว่าเมื่อฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกาย โดยค่อย ๆ เพิ่มขนาดอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานาน  ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา  ทำให้ทนต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้น ๆ ได้ดี  โรคภูมิแพ้ชนิดที่รักษาด้วยวิธีนี้ได้ผลคือ โรคแพ้อากาศ และโรคหอบหืดจากภูมิแพ้ ส่วนโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น ลมพิษ  แพ้อาหาร ผิวหนังอักเสบ การรักษาด้วยการฉีดสารภูมิแพ้จะได้ผลไม่แน่นอน

จะมีแนวทางในการปฏิบัติตัวอย่างไร  เมื่อเป็นโรคภูมิแพ้

            ก่อนอื่นผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ว่า

-          โรคภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรัง  ที่ต้องใช้เวลาในการรักษานาน

-          การรักษาด้วยยาในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นเพียงการควบคุมอาการให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยที่สุดเท่านั้น

-          เมื่อได้รับการรักษา  อาการจะดีขึ้น  แต่มักจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ อาการอาจดีขึ้น  หรือไม่มีอาการไปพักใหญ่ ๆ แล้วอาจมีอาการกลับมาเป็นอีกได้

-          อาการของโรคนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งอาการจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณสารก่อภูมิแพ้ และปฏิกิริยาในร่างกายของผู้ป่วยแต่ละรายไม่เท่ากัน

-          โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ  ไม่ใช่โรคติดเชื้อ  แต่สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้

มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้อาการของโรคภูมิแพ้กำเริบขึ้น หรือมีอาการรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งควรพยายามไม่ให้เกิดขึ้นเท่าที่จะทำได้  ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่

-          ความเครียด และความวิตกกังวล  ไม่ว่าจากเรื่องงาน  ครอบครัว  หรืออื่นๆ ยิ่งเครียดมาก วิตกกังวลมาก อาการก็จะเป็นมากขึ้น

-          การอดหลับอดนอน  ภาวะที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ  เป็นปัจจัยสำคัญมากที่ทำให้อาการกำเริบขึ้น

-          การเปลี่ยนอุณหภูมิที่เร็วเกินไป  เช่นอยู่ในห้องปรับอากาศเย็น ๆ แล้วออกไปกลางแดด  แล้วกลับเข้าในห้องเย็น ๆ อีก  จะทำให้ร่างกายปรับอุณหภูมิตามไม่ทัน จะเกิดอาการคัดจมูกได้

-          การเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น  ร้อนจัด หนาวจัด  ความชื้นสูง  ฝนใกล้ตก  เหล่านี้ทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสารภูมิแพ้มากขึ้น  ทำให้อาการกำเริบได้  ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้  อาจต้องรับประทานยาแก้แพ้ป้องกันไว้ก่อน

-          สิ่งระคายเคืองต่าง ๆ  ได้แก่ ควันไฟ  ควันบุหรี่  กลิ่นน้ำหอม  ฝุ่นชอล์ค  กลิ่นสี  กลิ่นอาหารรสเผ็ด  ควันท่อไอเสียรถยนต์  สารระเหยต่าง ๆ ยากันยุง  ยาฆ่าแมลง  เป็นต้น   สิ่งระคายเคืองพวกนี้จะทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบได้ง่าย  ควรหลีกเลี่ยง

-          ภาวะติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ  โดยเฉพาะที่พบบ่อยที่สุด คือ ไข้หวัด ควรรีบรักษาแต่เนิ่น ๆ

            นอกจากการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้โดยตรง เท่าที่จะทำได้แล้ว  ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้สามารถช่วยตัวเองได้โดย พยายามจัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งที่ทำงาน  ที่บ้าน และในห้องนอนให้เสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้น้อยที่สุดดังนี้

 

            ห้องนอน

-          ควรมีสิ่งของเครื่องเรือนให้น้อยที่สุดเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น  เพื่อที่จะได้ทำความสะอาดและกำจัดฝุ่นได้ง่าย  ไม่ควรมีกองหนังสือเก่า ๆ เสื้อผ้าเก่า ๆ ตุ๊กตาขนสัตว์  ตุ๊กตาสักหลาด  ของเล่นหรือเครื่องใช้ที่ไม่ใช้แล้ว  สิ่งของเครื่องเรือนควรเป็นพวกไม้ โลหะ  พลาสติก  หรือวัสดุที่เช็ด ซัก ล้างได้สะอาด  การมีสิ่งของและเครื่องเรือนจำนวนมาก  จะทำให้เกิดซอกมุมหรือที่อับเป็นแหล่งสะสมฝุ่น  ทำความสะอาดยาก

-          พรมและผ้าม่านไม่ควรใช้เพราะเป็นแหล่งสะสมฝุ่น

-          ไม่ใช้ฟูก ที่นอน หมอน หรือหมอนข้างที่ยัดไส้ด้วยนุ่น เพราะนุ่นเป็นที่อยู่ของไรฝุ่น  ควรใช้ชนิดที่ทำจากยาง หรือฟองน้ำ  หากต้องใช้ที่นอนที่ยัดไส้ด้วยนุ่น  ก็ควรหุ้มด้วยพลาสติกก่อน

-          เตียงนอน  ควรเป็นแบบไม่มีขา ขอบเตียงทึบสนิทกับพื้นห้อง  เพื่อกันไม่ให้ฝุ่นจัดใต้ขอบเตียง

-          พื้นห้องควรเป็นพื้นขัดมัน  เพราะกำจัดฝุ่นได้ง่าย

-          ที่นอน หมอน มุ้ง ควรได้รับการตากแดดจัด ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อฆ่าตัวไร

-          ผ้าห่ม  ไม่ควรใช้ประเภทขนสัตว์ ผ้าสักหลาด  ผ้าสำลี ควรใช้ผ้าห่มที่ทำจากใยสังเคราะห์

-          ไม่ควรใช้เครื่องใช้ที่มีกลิ่นในห้องนอน  อาทิ โคโลญจน์ น้ำหอม ลูกเหม็น  สเปรย์กลิ่นต่าง ๆ เพราะเป็นตัวระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ  ทำให้แพ้ได้ง่ายขึ้น

-          เครื่องปรับอากาศช่วยให้ละอองฝุ่น  เกสร และเชื้อราจากภายนอนบ้านเข้ามาในห้องนอนน้อยลง  โดยเฉพาะในรุ่นที่มีระบบกรองอากาศ  อย่างไรก็ตาม  ความเย็นจากเครื่องปรับอากาศอาจกระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้มากขึ้นได้  หากใช้เครื่องปรับอากาศต้องปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะ  อย่าให้เย็นจัดเกินไป  และต้องหมั่นทำความสะอาดเครื่องเป็นประจำ  โดยเฉพาะส่วนกรองอากาศซึ่งมักจะมีฝุ่นจับอยู่เป็นจำนวนมาก

-          พัดลม  ไม่ควรเปิดแรง  หรือเป่าตรงตัวผู้ป่วย  และไม่ควรเป่าลงพื้น เพราะจะเป็นการเป่าฝุ่นให้เข้าจมูกมากขึ้น  อาการภูมิแพ้จะกำเริบได้ง่าย

ห้องอื่น ๆ

-          พยายามจัดห้องให้โล่ง  สะอาด  ไม่มีฝุ่น  ไม่เป็นที่เก็บสะสมเสื้อผ้าเก่า ๆ หนังสือเก่า ๆ    

        กองเอกสาร ของเล่น หรือของที่ไม่ใช้แล้วทั้งหลาย   อันจะเป็นที่อยู่ของแมลงสาบ  

        แมลงอื่น ๆ รวมทั้งฝุ่นด้วย

-          เอกสารในห้องทำงานหรือบนโต๊ะทำงาน  ควรจัดเก็บให้เป็นระเบียบ  ไม่ให้เป็นที่เก็บฝุ่น

-          ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน   ถ้าอยากเลี้ยงจริง ๆ  แนะนำให้เลี้ยงปลาเท่านั้น

-          ไม่ควรปลูกต้นไม้ในบ้าน  โดยเฉพาะไม้ดอก  นอกจากนี้กระถางดอกไม้ที่อับชื้นจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อราได้

-          ควรจัดบ้านให้อากาศถ่ายเทได้ดี  และแสงแดดส่องถึง

-          ควรหาทางกำจัดแมลงภายในบ้าน  โดยเฉพาะแมลงสาบ เพราะซากและอุจจาระของแมลงสาบเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญ

การทำความสะอาด

-          หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องผจญกับฝุ่น เช่น การดูดฝุ่นบ้าน  การปัดกวาดบ้าน  ปัดกวาดหยักไย่  การดูดฝุ่นรถยนต์ และไม่ควรอยู่ในที่ที่กำลังทำความสะอาดดังกล่าว

-          หากจำเป็นต้องทำความสะอาดเอง  ให้ใช้ผ้าชุบน้ำ บิดให้หมาด ๆ ปิดปากและจมูกไว้เสมอ  และกินยาแก้แพ้ประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนทำงาน

-          เมื่อกวาดฝุ่นแล้ว ควรเช็ดถูด้วยผ้าชุปน้ำหมาด ๆ อีกครั้งหนึ่งเสมอ

-          ควรนำสิ่งของที่มีฝุ่นจับไปทำความสะอาดนอกบ้านเพื่อมิให้ฝุ่นฟุ้งกระจายอยู่ภายในบ้าน

 

การออกกำลัง    

            ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง  จะช่วยลดอาการภูมิแพ้ลงได้   อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางราย  การออกกำลังกายอาจกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้กำเริบได้เช่นกัน   หากสงสัย ควรปรึกษาแพทย์ก่อน


 ที่มา : http://www.ra.mahidol.ac.th/th/dpt/MD/know11-air-02
IP : บันทึกการเข้า

รับทำกรงสุนัขและสัตว์เลี้ยง ตามสั่งทุกแบบทุกขนาด
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=189263.0
ติดต่อได้ที่ : 080-671-4993
ที่ตั้ง : http://goo.gl/maps/daSvO
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!