เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 18 เมษายน 2024, 22:09:48
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ม็อบชาวสวนยางพาราเชียงรายบุกศาลากลางเรียกร้องรัฐบาลจ่ายเงินค่ายางพารา
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ม็อบชาวสวนยางพาราเชียงรายบุกศาลากลางเรียกร้องรัฐบาลจ่ายเงินค่ายางพารา  (อ่าน 877 ครั้ง)
kaeo
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,830


« เมื่อ: วันที่ 16 มกราคม 2013, 15:25:31 »


เมื่อเวลา 09.30 น .วันที่ 11 มกราคม 2556 ที่บริเวณหน้าศาลากลาง จ.เชียงราย นายสุวิทย์ ใหม่ธิ ประธานเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง จ.เชียงราย พร้อมด้วยนายสมพงษ์ กาญจนสุนทร ประธานกลุ่มสวนยางสำนักงานงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ดอยหลวงปงน้อย อ.ดอยหลวง นายธงชัย ชำนาญกิจ หัวหน้ากลุ่มบ้านคีรีสุวรรณ ต.หนองป่าก่อ อ.ดอยหลวงและกลุ่มตัวแทนเกษตรกรจากหลายอำเภอใน จ.เชียงราย จำนวน 50 คน ได้ไปรวมตัวกันเพื่อยื่นร้องทุกข์ต่อนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เพื่อให้ช่วยเหลือกรณีขายยางพาราให้กับองค์การสวนยาง (อสย.) แต่ไม่ได้รับเงิน โดยกลุ่มเกษตรกร ได้พากันไปแสดงป้ายเรียกร้องให้รัฐบาลได้ช่วยเหลือ
 
โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้จัดทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด 1 ฉบับ และส่งต่อไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อีก 1 ฉบับ มีเนื้อหาว่าขอให้รัฐบาลได้จ่ายเงินค่ายางพาราที่ติดค้างกับสถาบันเกษตรกรทุกสถาบันภายในเดือน ม.ค.นี้ และให้เปิดจุดรับซื้อยางพาราที่คงค้างภายกลางเดือนนี้ ที่บ้านแม่ลอย ต.แม่ลอยไร่ อ.เทิง รวมทั้งให้ขยายโครงการออกไปอีกโดยให้จัดสรรงบประมาณให้ตรงเวลา ขณะเดียวกันให้มีการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราในพื้นที่ด้วย
 
นายสมพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพารา โดยให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราไปจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชาวสวน กลุ่มชาวสวนยาง กลุ่มสหกรณ์ ฯลฯ โดยรับปากจะนำงบประมาณเข้าไปแทรกแซงจัดซื้อให้ในราคาสูงโดยให้ อสย.เข้าไปรับซื้อ ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ซึ่งมีกว่า 10,000 รายและมีพื้นที่ปลูกไม่น้อยกว่า 100,000 ไร่ต่างพากันไปจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวได้ประมาณ 89 กลุ่ม แต่ปรากฎว่าตั้งแต่เดือน ต.ค.2555-ม.ค.2556  อสค.ที่รับยางพาราจากเกษตรกรไปแล้วกลับไม่ได้จ่ายเงินให้ชาวบ้านเลย เนื่องจากมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ระงับการซื้อขายเพราะไม่มีเงินทำให้เกษตรกรเดือดร้อนอย่างหนัก ตลาดทั่วไปก็ถุกพ่อค้าคนกลางกดราคายางก้อนก็กิโลกรัมละแค่ 30 บาท ยางแผ่น 80 บาท ส่วนน้ำยางขายไม่ได้เลยเพราะเราไม่มีโรงงานในพื้นที่
 
ด้าน นายธงชัย กล่าวว่า กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ที่มีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยได้ออกมารับปากกับชาวบ้านว่าจะผลักดันให้ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ให้มีราคากิโลกรัมละ 120 บาท โดยให้ชาวบ้านออกไปรวมเป็นกลุ่มต่างๆ เพราะจะจัดสรรงบประมาณกว่า 15,000 ล้านบาท ไปสนับสนุนทำให้กลุ่มเกษตรกรมีการดำเนินการตามที่ได้รับแจ้งอย่างครบถ้วน จากนั้นรัฐบาลมีการจัดสรรงบประมาณ 10,000 ล้านบาทให้ อสค.และอีก 5,000 ล้านบาทให้กับสถาบันเกษตรกรไปรับซื้อจากเกษตรกร แต่ปรากฎว่าเมื่อเวลาล่วงไปจนถึงเดือน ต.ค.ดังกล่าวกลับไม่มีการรับซื้อจากเกษตรกรเลยเมื่อไปสอบถามก็อ้างว่าไม่มีเงิน
 
ขณะที่ นายสุวิทย์ กล่าวว่า โครงการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2555 และมีกำหนดหมดโครงการสิ้นเดือน มี.ค.2556 แต่ปรากฎว่าที่ผ่านมามีการจ่ายเงินให้กลุ่มเกษตรกรเฉพาะใน จ.เชียงราย ในช่วงต้นโครงการประมาณ 90 ล้านบาท คงเหลือที่ไม่ได้จ่ายอีกประมาณ 260 ล้านบาท มียางพาราคงค้างทั้งที่ อสค.รับไปและที่อยู่กับเกษตรกรอีกกว่า 810 ตันมูลค่าร่วม 68 ล้านบาท
 
ในเวลาต่อมา นายอนันยศ แก้วคุ้มกัย ผอ.สกย.เชียงราย ได้เข้ารับเรื่องจากชาวบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้ข้อมูลว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2556 ได้เดินทางไปรับมอบนโยบายจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่แล้ว ได้ความว่าวันที่ 15 ม.ค.จะขออนุมัติไปยัง ครม.เพื่อนำงบประมาณ 45,000 ล้านบาท ให้กับ อสค.มาดำเนินการโครงการต่อคาดว่าจะได้รับวันที่ 29 ม.ค.2556 และสามารถนำเงินออกมาจ่ายให้เกษตรกรทั่วประเทศในวันที่ 30 ม.ค.นี้ ต่อไป สำหรับ จ.เชียงราย เปิดจุด ณ บ้านแม่ลอย ตามที่เกษตรกรเรียกร้องดังกล่าว ทำให้ชาวสวนยางพอใจแต่ได้ขู่ทิ้งท้ายว่าจะมีการนัดชุมนุมใหญ่กันอีกครั้งหากว่าไม่มีการดำเนินการรับซื้อยางพาราที่คงค้างและยางพาราใหม่จากเกษตรกร
IP : บันทึกการเข้า
kaeo
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,830


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 16 มกราคม 2013, 15:26:48 »

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 11 มกราคม ที่ลานหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงรายนำโดยยนายสุวิทย์ ใหม่ธิ ประธานเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง จ.เชียงราย นายสมพงษ์ กาญจนสุนทร ประธานกลุ่มสวนยางสำนักงานงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ดอยหลวงปงน้อย อ.ดอยหลวง นายธงชัย ชำนาญกิจ หัวหน้ากลุ่มบ้านคีรีสุวรรณ ต.หนองป่าก่อ อ.ดอยหลวง ได้รวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายให้ส่งถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ช่วยเหลือหลังจากที่ขายยางพาราให้กับองค์การสวนยาง (อสย.) แล้วไม่ได้รับเงินค่ายางพารา

โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้ยื่นหนังสือต่อนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผ่านถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อหาว่า ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือจ่ายเงินค่ายางพาราที่ยังคงค้างอยู่กับสถาบันเการเกษตรทุกสถาบันภายในเดือน ม.ค.นี้ และให้เปิดจุดรับซื้อยางพาราที่คงค้างภายกลางเดือนเดียวกันนี้ ณ บ้านแม่ลอย ต.แม่ลอยไร่ อ.เทิง ให้ขยายโครงการออกไปอีกโดยให้จัดสรรงบประมาณให้ตรงเวลา ขณะเดียวกันให้มีการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราในพื้นที่

นายธงชัย ชำนาญกิจ หัวหน้ากลุ่มบ้านคีรีสุวรรณ ต.หนองป่าก่อ อ.ดอยหลวง กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลได้รับปากว่าจะช่วยเหลือผลักดันให้แผ่นยางรมควันชั้น 3 มีราคากิโลกรัมละ 120 บาท โดยให้ชาวบ้านรวมตัวกันเป็ลกลุ่ม เพื่อจะได้จัดสรรค์งบประมาณที่มีกว่า 15,000 ล้านบาทให้ช่วยในการสนับสนุน กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราต่างก็ได้ทำตามคำแนะนำ แต่ปรากฎว่าไม่มีการรับซื้อจากเกษตรกร เมื่อสอบถามกลับได้คำตอบว่ายังไม่มีงบประมาณมา ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกขาดเงินหมุนเวียน หากจะกรีดยางก็ต้องมีต้นทุนในการกรีดและการผลิต ในช่วงแรกของการผลิตก็ยอมลงทุน แต่ผลสุดท้ายกลับไม่ได้รับการช่วยเหลือแต่อย่างใด มาจนถึงขณะนี้เงินทุนก็ได้หมดลงแล้วผลผลิตที่นำไปขายก็ไม่ได้เงิน จึงทำให้เดือดร้อนมาก

หลังจากที่ชุมนุมได้ระยะหนึ่ง นายอนันยศ แก้วคุ้มกัย ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดเชียงราย (สกย.) ได้เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายออกมารับเรื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุม โดยแจ้งกับกลุ่มผู้ชุมนุมว่าเมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้รับมอบนโยบายจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่แล้ว ซึ่งวันที่ 15 ม.ค.นี้จะได้ขออนุมัติไปยัง คณะรัฐมนตรีเพื่อนำงบประมาณจำนวน 45,000 ล้านบาท มาให้กับองค์การสวนยาง (อสย.) มาดำเนินการคาดว่าเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราจะได้รับเงินในวันที่ 29 ม.ค. และสามารถนำมาจ่ายให้ได้ในวันที่ 30 มกราคม นี้ ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมพใจและยอมสลายตัว แต่ทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้ทิ้งท้ายว่าหากไม่ได้รับเงินตามที่ได้ตกลงไว้ก็จะมีการชุมนุมใหญ่ขึ้นอย่างแน่นอน
IP : บันทึกการเข้า
kaeo
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,830


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 16 มกราคม 2013, 15:27:35 »

นายสุวิทย์ ใหม่ธิ ประธานเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง จ.เชียงราย พร้อมด้วยนายสมพงษ์ กาญจนสุนทร ประธานกลุ่มสวนยางสำนักงานงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ดอยหลวงปงน้อย อ.ดอยหลวง นายธงชัย ชำนาญกิจ หัวหน้ากลุ่มบ้านคีรีสุวรรณ ต.หนองป่าก่อ อ.ดอยหลวง และกลุ่มตัวแทนเกษตรกรจากหลายอำเภอใน จ.เชียงราย จำนวน 50 คน ได้ไปรวมตัวกันเพื่อยื่นร้องทุกข์ต่อนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อให้ช่วยเหลือกรณีขายยางพาราให้กับองค์การสวนยาง (อสย.) แต่ไม่ได้รับเงิน โดยกลุ่มเกษตรกรได้พากันไปแสดงป้ายเรียกร้องให้รัฐบาลได้ช่วยเหลือ ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย
 
โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้จัดทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด 1 ฉบับและส่งต่อไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อีก 1 ฉบับ มีเนื้อหาว่าขอให้รัฐบาลจ่ายเงินค่ายางพาราที่ติดค้างกับสถาบันเกษตรกรทุกสถาบันภายในเดือน ม.ค.นี้ และให้เปิดจุดรับซื้อยางพาราที่คงค้างภายกลางเดือนนี้ ที่บ้านแม่ลอย ต.แม่ลอยไร่ อ.เทิง รวมทั้งให้ขยายโครงการออกไปอีก โดยให้จัดสรรงบประมาณให้ตรงเวลา ขณะเดียวกันให้มีการสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราในพื้นที่ด้วย
 
ด้านนายอนันยศ แก้วคุ้มกัย ผอ.สกย.เชียงราย ได้เข้ารับเรื่องจากชาวบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้ข้อมูลว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2556 ได้เดินทางไปรับมอบนโยบายจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่แล้ว ซึ่งวันที่ 15 ม.ค. นี้ จะขออนุมัติไปยัง ครม.เพื่อนำงบประมาณ 45,000 ล้านบาท ให้กับ อสค.มาดำเนินการโครงการต่อคาดว่าจะได้รับวันที่ 29 ม.ค.2556 และสามารถนำเงินออกมาจ่ายให้เกษตรกรทั่วประเทศในวันที่ 30 ม.ค.ต่อไป
 ที่มา : หนังสือพิมพ์็แนวหน้า (วันที่ 12 มกราคม 2556)
IP : บันทึกการเข้า
sabaidree
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 16 มกราคม 2013, 15:37:18 »

ทำได้แล้วครับ..........ทำใจ
IP : บันทึกการเข้า
0440
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 490


ชีวิตมันสั้น เกินกว่าจะไล่ตาม "คนที่เขาไม่มองเรา"


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 11:03:51 »

พอๆ กันทั้งเกษตรกร (บางคน) พ่อค้า (หัวใส) และรัฐบวม (ประชานิยม)
โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี แต่ปฏิบัติการได้ห่วยสุดๆ ไม่รัดกุม ไม่รอบคอบ
ทุจริต สวมสิทธิ์ กันอย่างมโหฬาร
จะยกตัวอย่างให้ดู
นาย ก. ปลูกยาง 10 ไร่ ผ่านไป15 วัน นำยางไปขาย 1 คันรถ 6 ล้อ ถามว่ายางมาจากไหน?
นาย ข. ไม่ได้ปลูกยาง แต่มียางไปขาย โดยใส่ชื่อ นายก. หรือ ผ่านหน่วยงาน ผ่านสหกรณ์ ถามว่า
ใครได้ประโยชน์ตรงนี้
ยิ่งลักษณ์อนุญาตให้รัฐมนตรีแดงปล้นชาวสวนยางและปล้นเงินงบประมาณแผ่นดิน!

มองมุมกว้างในระดับประเทศ
หลังราคายางพาราตกต่ำแต่ทำสัญญาซื้อขายยางพาราล่วงหน้าจำนวน 480,000 ตัน ในราคาต่ำ(105บาท/กิโลกรัม)ทำให้ราคายางพาราตกลงมาจาก 120 บาท/กิโลกรัม มาอยู่ที่ราคา 65-75 บาท/กิโลกรัมในปัจจุบัน นายณัฐวุฒิรัฐมนตรีที่รับผิดชอบจึงขอเงินงบประมาณจากรัฐบาลนางยิ่งลักษณ์จำนวน 15,000,000,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาท)เพื่อมาแทรกแซงราคายางพาราเพื่อให้ราคายางพาราขยับสูงขึ้น แต่กลับเป็นว่านักการเมืองร่วมกับข้าราชการองค์การสงเคราะห์การทำสวนยาง(อสย.) มีส่วนกับการทุจริตหรือไม่?? คิดเอาเองนะครับ

ขั้นตอนการทุจริตยางพารามีดังต่อไปนี้

1.นักการเมืองที่รับผิดชอบสนับสนุนและให้ออกกฎเกณฑ์ให้บริษัทเอกชนเข้ามาช่วย อสย.ในการกำหนดจุดรับซื้อยางแผ่นและยางก้นถ้วย(ขี้ยาง) เช่น บริษัทไทย..ฮ..รับเบอร์,บริษัทศรี..ต..รับเบอร์,บริษัทนอร์ท..อี..ฯลฯ โดยมีคำสั่งจากนักการเมืองให้สถานที่รับซื้อยางพาราของ อสย.งดรับซื้อยางพาราในโครงการแทรกแซงราคา โดยให้เกษตรกรหรือสหกรณ์ท...ี่ต้องการขายยางพาราในโครงการแทรกแซงราคานำยางไปขาย ณ สถานที่ที่บริษัทเอกชนเป็นผู้กำหนด เพราะหากเกษตรกรหรือสหกรณ์นำยางพาราไปขายให้ อสย.โดยตรงเกษตรกรจะมีส่วนร่วมในการเข้าไปดูกระบวนการ"ตีเปอร์เซ็นต์ยาง"หรือ"การกำหนดคุณภาพยาง" แต่เมื่อเกษตรกรหรือสหกรณ์นำยางพาราไปขายให้กับสถานที่รับซื้อของเอกชน เกษตรกรจะไม่ได้เข้าไปดูกระบวนการตีเปอร์เซ็นต์ยาง เพราะเอกชนจะให้แต่รถบรรทุกยางเข้าไป จะตีเปอร์เซ็นต์ยางอย่างไรเกษตรกรก็ไม่มีสิทธิโต้แย้ง เหมือนหามผีมาถึงป่าช้าแล้วไม่ฝังก็เผา  (ถามว่าตอนตีเปอร์เซ็นต์ยาง...มีใครเข้าไปดูมั่ง ไม่มีใช่มั้ย 55555)

2.ขั้นตอนการโกงยางแผ่น เมื่อเกษตรกรหรือสหกรณ์เอายางแผ่นไปขายตามโครงการแทรกแซงราคาตามจุดที่ อสย.ร่วมกับบริษัทเอกชนกำหนด จนท.บริษัทเอกชนและ อสย.จะบอกเกษตรกรและสหกรณ์ว่าจะบวกน้ำหนักเพิ่มเข้าไป โดยอ้างว่าน้ำหนักที่บวกเพิ่มเข้าไปนั้นจะนำเงินไปส่งให้ฝ่ายรัฐมนตรี โดยจะบวกเพิ่มเข้าไปประมาณตันละ 200 กิโลกรัม เช่น เมื่อนำยางแผ่นไปชั่งได้น้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม ก็จะออกใบรับรองน้ำหนักเป็น 1,200 กิโลกรัม แล้วให้เกษตรกรหรือสหกรณ์นำใบชั่งน้ำหนักไปขึ้นเงิน เมื่อขึ้นเงินแล้ว ก็ให้นำเงินของน้ำหนักส่วนเกินที่บวกไว้มาส่งให้จนท.บริษัทเอกชนและ อสย.ที่ยืนรออยู่  

3.หากเกษตรกรหรือสหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชนรายใดไม่ร่วมมือก็จะโดนกลั่นแกล้งโดย จนท.บริษัทเอกชนที่มีหน้าที่ตีเปอร์เซ็นต์ยางจะตีเปอร์เซ็นต์ยางของเกษตรกรรายนั้นอยู่ในเกรดต่ำสุด จากยางชั้นหนึ่งเป็นยางชั้นสี่ ขายได้ราคาต่ำสุด

4.โครงการแทรกแซงราคายางพาราที่ใช้เงินงบประมาณ 15,000 ล้านบาท มีการโกงกินเป็นระบบดังนี้

-รับซื้อยางพารา 150,000 ตัน โดยแต่ละตันจะบวกน้ำหนักเข้าไปประมาณ 200 กิโลกรัม

-ยางแผ่นหนึ่งกิโลกรัมราคาประกัน 103 บาท ถ้า 200 กก.จะเป็นเงิน 20,600 บาท สรุปจะมีการโกงกินเงินงบประมาณจากโครงการแทรกแซงราคายางพาราตันละ 20,000 บาท

-จำนวนรับซื้อยางพาราตามโครงการ 150,000 ตัน โกงไปตันละ 20,000 บาท รวมเป็นเงินที่ถูกโกงไป 3,000,000,000 บาท(สามพันล้านบาท)


ไม่ต้อง 15,000 ล้านหรอกครับ ถ้าทำแบบนี้  แสนล้านก็ไม่พอ
.....

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 19 มกราคม 2013, 11:16:04 โดย 0440 » IP : บันทึกการเข้า

ID Line : n0804988255
0440
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 490


ชีวิตมันสั้น เกินกว่าจะไล่ตาม "คนที่เขาไม่มองเรา"


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 19 มกราคม 2013, 11:11:20 »

ผลกรรมที่เกิดขึ้นคนที่เสียประโยชน์มากที่สุดคือนายทุนนะครับ สรุปนายทุนก็เจ็บหนัก ชาวบ้านก็เจ็บตัว
เมืื่่อนายทุนไปซื้อยางจากชาวบ้านมาขาย แต่ไม่ได้เงิน ก็ไม่ยอมจ่ายชาวบ้าน แล้วเป็นไงละทีนี้
หน่วยงานราชการลองตรวจสอบดูดี ๆ
ถ้าการจ่ายเงินล่าช้าไปอีกสองสามเดือน ผมว่ามีนายทุนจะโดนลงโทษประชาทัณฑ์ให้เห็นแน่ๆ ตอนนั้นความจริงจะปรากฎ

ปล้นชาวสวนยางและปล้นเงินงบประมาณแผ่นดิน! ครั้งนี้ ใครทำ?ฮืม
IP : บันทึกการเข้า

ID Line : n0804988255
kaeo
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,830


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 20 มกราคม 2013, 06:33:30 »

ท่านช่างรู้ดีเหลือเกินครับมีอะไรช่วยเผยแพร่ออกมาเยอะๆเกษตรกรจะได้รู้กันอย่างทั่วถึงเอาใจช่วยครับ
IP : บันทึกการเข้า
sabaidree
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 565


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 20 มกราคม 2013, 09:02:38 »

พอๆ กันทั้งเกษตรกร (บางคน) พ่อค้า (หัวใส) และรัฐบวม (ประชานิยม)
โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี แต่ปฏิบัติการได้ห่วยสุดๆ ไม่รัดกุม ไม่รอบคอบ
ทุจริต สวมสิทธิ์ กันอย่างมโหฬาร
จะยกตัวอย่างให้ดู
นาย ก. ปลูกยาง 10 ไร่ ผ่านไป15 วัน นำยางไปขาย 1 คันรถ 6 ล้อ ถามว่ายางมาจากไหน?
นาย ข. ไม่ได้ปลูกยาง แต่มียางไปขาย โดยใส่ชื่อ นายก. หรือ ผ่านหน่วยงาน ผ่านสหกรณ์ ถามว่า
ใครได้ประโยชน์ตรงนี้
ยิ่งลักษณ์อนุญาตให้รัฐมนตรีแดงปล้นชาวสวนยางและปล้นเงินงบประมาณแผ่นดิน!

มองมุมกว้างในระดับประเทศ
หลังราคายางพาราตกต่ำแต่ทำสัญญาซื้อขายยางพาราล่วงหน้าจำนวน 480,000 ตัน ในราคาต่ำ(105บาท/กิโลกรัม)ทำให้ราคายางพาราตกลงมาจาก 120 บาท/กิโลกรัม มาอยู่ที่ราคา 65-75 บาท/กิโลกรัมในปัจจุบัน นายณัฐวุฒิรัฐมนตรีที่รับผิดชอบจึงขอเงินงบประมาณจากรัฐบาลนางยิ่งลักษณ์จำนวน 15,000,000,000 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาท)เพื่อมาแทรกแซงราคายางพาราเพื่อให้ราคายางพาราขยับสูงขึ้น แต่กลับเป็นว่านักการเมืองร่วมกับข้าราชการองค์การสงเคราะห์การทำสวนยาง(อสย.) มีส่วนกับการทุจริตหรือไม่?? คิดเอาเองนะครับ

ขั้นตอนการทุจริตยางพารามีดังต่อไปนี้

1.นักการเมืองที่รับผิดชอบสนับสนุนและให้ออกกฎเกณฑ์ให้บริษัทเอกชนเข้ามาช่วย อสย.ในการกำหนดจุดรับซื้อยางแผ่นและยางก้นถ้วย(ขี้ยาง) เช่น บริษัทไทย..ฮ..รับเบอร์,บริษัทศรี..ต..รับเบอร์,บริษัทนอร์ท..อี..ฯลฯ โดยมีคำสั่งจากนักการเมืองให้สถานที่รับซื้อยางพาราของ อสย.งดรับซื้อยางพาราในโครงการแทรกแซงราคา โดยให้เกษตรกรหรือสหกรณ์ท...ี่ต้องการขายยางพาราในโครงการแทรกแซงราคานำยางไปขาย ณ สถานที่ที่บริษัทเอกชนเป็นผู้กำหนด เพราะหากเกษตรกรหรือสหกรณ์นำยางพาราไปขายให้ อสย.โดยตรงเกษตรกรจะมีส่วนร่วมในการเข้าไปดูกระบวนการ"ตีเปอร์เซ็นต์ยาง"หรือ"การกำหนดคุณภาพยาง" แต่เมื่อเกษตรกรหรือสหกรณ์นำยางพาราไปขายให้กับสถานที่รับซื้อของเอกชน เกษตรกรจะไม่ได้เข้าไปดูกระบวนการตีเปอร์เซ็นต์ยาง เพราะเอกชนจะให้แต่รถบรรทุกยางเข้าไป จะตีเปอร์เซ็นต์ยางอย่างไรเกษตรกรก็ไม่มีสิทธิโต้แย้ง เหมือนหามผีมาถึงป่าช้าแล้วไม่ฝังก็เผา  (ถามว่าตอนตีเปอร์เซ็นต์ยาง...มีใครเข้าไปดูมั่ง ไม่มีใช่มั้ย 55555)

2.ขั้นตอนการโกงยางแผ่น เมื่อเกษตรกรหรือสหกรณ์เอายางแผ่นไปขายตามโครงการแทรกแซงราคาตามจุดที่ อสย.ร่วมกับบริษัทเอกชนกำหนด จนท.บริษัทเอกชนและ อสย.จะบอกเกษตรกรและสหกรณ์ว่าจะบวกน้ำหนักเพิ่มเข้าไป โดยอ้างว่าน้ำหนักที่บวกเพิ่มเข้าไปนั้นจะนำเงินไปส่งให้ฝ่ายรัฐมนตรี โดยจะบวกเพิ่มเข้าไปประมาณตันละ 200 กิโลกรัม เช่น เมื่อนำยางแผ่นไปชั่งได้น้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม ก็จะออกใบรับรองน้ำหนักเป็น 1,200 กิโลกรัม แล้วให้เกษตรกรหรือสหกรณ์นำใบชั่งน้ำหนักไปขึ้นเงิน เมื่อขึ้นเงินแล้ว ก็ให้นำเงินของน้ำหนักส่วนเกินที่บวกไว้มาส่งให้จนท.บริษัทเอกชนและ อสย.ที่ยืนรออยู่ 

3.หากเกษตรกรหรือสหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชนรายใดไม่ร่วมมือก็จะโดนกลั่นแกล้งโดย จนท.บริษัทเอกชนที่มีหน้าที่ตีเปอร์เซ็นต์ยางจะตีเปอร์เซ็นต์ยางของเกษตรกรรายนั้นอยู่ในเกรดต่ำสุด จากยางชั้นหนึ่งเป็นยางชั้นสี่ ขายได้ราคาต่ำสุด

4.โครงการแทรกแซงราคายางพาราที่ใช้เงินงบประมาณ 15,000 ล้านบาท มีการโกงกินเป็นระบบดังนี้

-รับซื้อยางพารา 150,000 ตัน โดยแต่ละตันจะบวกน้ำหนักเข้าไปประมาณ 200 กิโลกรัม

-ยางแผ่นหนึ่งกิโลกรัมราคาประกัน 103 บาท ถ้า 200 กก.จะเป็นเงิน 20,600 บาท สรุปจะมีการโกงกินเงินงบประมาณจากโครงการแทรกแซงราคายางพาราตันละ 20,000 บาท

-จำนวนรับซื้อยางพาราตามโครงการ 150,000 ตัน โกงไปตันละ 20,000 บาท รวมเป็นเงินที่ถูกโกงไป 3,000,000,000 บาท(สามพันล้านบาท)


ไม่ต้อง 15,000 ล้านหรอกครับ ถ้าทำแบบนี้  แสนล้านก็ไม่พอ
.....


ตรงประเด็นมากครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
ผมก็เคยคิดอยู่ว่า เขา(รัฐบาล)ทำเพื่ออะไร?ฮืม

IP : บันทึกการเข้า
0440
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 490


ชีวิตมันสั้น เกินกว่าจะไล่ตาม "คนที่เขาไม่มองเรา"


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 21 มกราคม 2013, 11:59:06 »

ท่านช่างรู้ดีเหลือเกินครับมีอะไรช่วยเผยแพร่ออกมาเยอะๆเกษตรกรจะได้รู้กันอย่างทั่วถึงเอาใจช่วยครับ

ไม่รู้ว่าประชดผมเปล่านะ ผมแค่เสนอตามที่ผมพอจะรู้ แต่ที่แน่ๆ ราคายางไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใดหลังจากทุ่มงบประมาณเข้าไปหมื่นกว่าล้าน วันนี้ราคาก็ต่ำกว่าเดิมด้วยซ้ำ
กลุ่มโอเปค มีน้ำมัน เค้ากำหนดราคาขายได้
ไทยมีทั้งข้าว ทั้งยางพารา แต่กำหนดราคาขายไม่ได้
ใครควรพิจารณาตัวเอง เด็กเมื่อวานซืนบริหารนโยบาย ก็ทำได้แค่นั้น ผมไม่คาดหวังอยู่แล้ว

คนที่ผมรู้จักคนนึง ไม่ได้ปลูกยางซักต้น ซื้อขี้ยางจากเชียงราย เอาไปสวมชื่อญาติที่ อ.xxx.... จ.พะเยา สวมชื่อญาติขายผ่าน สหกรณ์ฯ สหกรณ์ขายเข้า อสย.... เพื่ออะไรครับ? ลองคิดดู ? ใครได้ใครเสีย เงินจริงๆ ควรมาอยู่ในมือเกษตรกรมิใช่หรือ?
แต่ผลกรรมก็ตามสนอง จนวันนี้ยังไม่ได้เงิน ต้องกู้เงิน แบกดอกเบี้ย มาจ่ายให้กับเจ้าของสวน แต่บางคนก็ยังไม่ได้อยู่ดี มองหน้าใครแทบไม่ติด
นี่ครับ ไม่ใช่แต่เชียงราย จังหวัดอื่นก็มี น้ำลด ตอเริ่มผุด
 
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000006999

facebook อสย. ตามไปดูครับ เดือดร้อนกันกี่จังหวัด
https://www.facebook.com

http://www.mcot.net/site/content?id=5077a62c0b01da704a00001b



* cats.jpg (197.78 KB, 776x531 - ดู 193 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 21 มกราคม 2013, 12:04:14 โดย 0440 » IP : บันทึกการเข้า

ID Line : n0804988255
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!