เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 00:03:36
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คุยเรื่องไอที - เทคโนโลยี (ผู้ดูแล: K€nGja1, chiohoh, nuifish, NOtis)
| | |-+  มือใหม่อยากน็อค โอเวอร์คล็อก AMD อ่านหน่อยนะ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน มือใหม่อยากน็อค โอเวอร์คล็อก AMD อ่านหน่อยนะ  (อ่าน 984 ครั้ง)
kitty9
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 22 กันยายน 2010, 01:12:44 »

ข้อมูลจากเว็บ  ARIP    ยิ้มเท่ห์




                     “AMD” รู้จักกันในนามของยี่ห้อซีพียู ที่มีความสามารถในการ "โอเวอร์คล็อก" ได้ค่อนข้างดี บริษัทแม่ของ AMD คงอยากให้ลูกค้าได้อะไรไปเยอะๆ พวกเขาจึงปรับการผลิตให้ซีพียูจาก AMD ง่ายต่อการเค้นพลังแฝง ในอดีตเพียงใช้แค่ดินสอ 2 แท่งก็สามารถปลดล็อกพลังแฝงได้แล้ว และสำหรับซีพียูแบบ Palamino ในปัจจุบันนั้น วิธีโอเวอร์คล็อกแม้จะยากกว่าบ้างแต่ว่าก็ให้พลังที่มากกว่าเช่นกัน

สำหรับบทความนี้จะเป็นขั้นตอนโอเวอร์คล็อกซีพียู AMD ขั้นตอนที่ไม่เพียงแต่จะใช้สำหรับโอเวอร์คล็อกซีพียูตระกูล Athlon เท่านั้นแต่ยังเป็นสามารถใช้โอเวอร์คล็อกกับกับซีพียู AMD รุ่นใหม่ๆได้อย่างดีอีกด้วย จุดมุ่งหมายของบทความนี้เพื่อช่วยให้ผู้เริ่มต้นโอเวอร์คล็อกได้เข้าใจและรับทราบถึงข้อมูลที่สำคัญสำหรับการโอเวอร์คล็อก โดยทั่วไปนักโอเวอร์คล็อกตัวยงจะรู้วิธีโอเวอร์คล็อกซีพียู Athlon XP กันเป็นอย่างดี แต่สำหรับผู้เริ่มต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัญหาอย่างมาก ไม่ต้องห่วงครับ เพียงตามมากับเราเข้าสู่เส้นทางแห่งนักโอเวอร์คล็อกมือสมัครเล่น รับรองว่าเข้าใจแน่นอน

*ระวัง : เทคนิคการโอเวอร์คล็อกไม่ได้เป็นศาสตร์ที่แน่นอนชัดเจน ข้อมูลในบทความนี้อาจส่งผลเสียหายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ผู้เขียนบทความและนิตยสาร COMMART จะไม่รับผิดชอบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับการโอเวอร์คล็อกในทุกกรณี ไม่ใช่ทุกซีพียูจะสามารถโอเวอร์คล็อกได้ และการโอเวอร์คล็อกมีความเสี่ยง ควรระวัง!!!

เทคนิคพื้นฐาน
ก่อนที่เราจะเริ่มขั้นตอนโอเวอร์คล็อกจริง เราต้องเข้าใจเทคนิคพื้นฐานในการโอเวอร์คล็อก 2 ข้อก่อน อันได้แก่ การโอเวอร์คล็อก FSB และ การปรับแต่งตัวคูณสัญญาณนาฬิกา (Multiplier) ผลของการโอเวอร์คล็อกที่ดีที่สุดจะได้มาจากการใช้ทั้งสองเทคนิคร่วมกัน แต่เราก็สามารถแยกใช้เทคนิคใด เพียงเทคนิดเดียวก็ได้

ก่อนอื่นโปรดพึงระลึกไว้ว่า ไม่ใช่ทุกเมนบอร์ดที่จะรองรับการโอเวอร์คล็อก เมนบอร์ดบางรุ่นอาจไม่มีเมนูให้ตั้งค่าหรือปรับแต่งอะไรมากนัก โดยเฉพาะเครื่องมียี่ห้อ เช่น Dell , IBM หรือ Gateway แต่ก็ยังมีอีกหลายเมนบอร์ดที่สามารถโอเวอร์คล็อกได้เป็นอย่างดี

และทำไมเครื่องมียี่ห้อถึงต้องปิดไม่ให้เราปรับแต่งค่าเพื่อโอเวอร์คล็อกล่ะ? เพราะว่าถ้าเราโอเวอร์คล็อกได้ บางครั้งอาจทำให้เครื่องมีปัญหาและอาจทำให้บริษัทที่จำหน่ายคอมพิวเตอร์ต้องตรวจซ่อมเครื่องมากขึ้น แต่เพียงแค่บริษัทเหล่านั้นปิดไม่ให้ผู้ซื้อปรับตั้งค่า ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านเทคนิคและบริการตรวจซ่อมลงได้มากโขเลยครับ

เมื่อพร้อมแล้วและคิดว่าเครื่องคุณก็พร้อม ลุยกันต่อครับ



..........................................


คำศัพท์ก่อนโอเวอร์คล็อก
ก่อนที่เราจะมาเริ่มกัน คุณจำเป็นต้องเข้าใจในข้อมูลพื้นฐานและคำศัพท์ต่อไปนี้ก่อน เพื่อใช้ในการศึกษาบทความให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่ใช่เพียงแค่อยากรู้ว่าทำอย่างไร แต่อยากรู้ว่าทำไมถึงทำอย่างนั้น!

ชิปเซต (Chipset) : ชิปเซตหมายถึง "กลุ่มของไมโครชิปที่ออกแบบมาสำหรับทำงานหนึ่งงาน หรือหลายงานที่เกี่ยวข้องกัน" โดยทั่วไปในปัจจุบัน ชิปเซตจะมีสองส่วน คือ Northbridge และ Southbridge สำหรับผู้โอเวอร์คล็อก เพียงเข้าใจไว้ว่าชิปเซตคู่ที่ทำงานร่วมกันได้ดีจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าคู่ที่ทำงานเข้ากันไม่ดี ชิปเซตที่มีใช้ทั่วไปสำหรับ Athlon XP นั้นได้แก่ VIA KT266A, KT333, และ KT400 ซึ่งเปรียบมวยได้กับการ์ดจอ TNT2, GeForce2 และ GeForce4 ตามลำดับ และถึงแม้ว่า SiS จะมีชิปเซตสำหรับ AMD แต่ว่าก็ไม่เหมาะสำหรับการใช้โอเวอร์คล็อก

ตัวคูณสัญญาณนาฬิกา (Clock Multiplier) : ตัวคูณสัญญาณนาฬิกา คือการตั้งค่าภายในของซีพียู เพื่อใช้สำหรับคำนวนความเร็วของซีพียู ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีซีพียูที่ตั้งค่าตัวคูณสัญญาณนาฬิกา = 10 และค่า FSB (อ่านด้านล่าง) = 100MHz ผลที่ได้คือ ซีพียู ของคุณจะมีความเร็วเท่ากับ 1000MHz หรือ 1GHz นั่นเอง เป็นการคูณกันตามชื่อตรงๆ นั่นละครับ

DDR (Double Data Rate) : อัตราส่งข้อมูลแบบสองเท่า หรือเรียกทั่วไปว่า DDR ซึ่งกลายเป็นนิยามยอดนิยมสำหรับคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ เริ่มต้นจากการที่ความเร็วที่สูงเกินยั้งของซีพียูแต่ส่วนอื่นๆ เช่น หน่วยความจำ ยังแรงไม่พอ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาของหน่วยความจำแบบ DDR ที่รองรับการส่งข้อมูลได้สองครั้งในแต่ละรอบสัญญาณนาฬิกา (ส่งทั้งขอบขาขึ้นและขอบขาลงของสัญญาณนาฬิกา) ทำให้หน่วยความจำสามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นและประสิทธิภาพก็มากขึ้นด้วย ไม่เพียงแค่หน่วยความจำได้เร็วขึ้นเป็นสองเท่าเพียงอย่างเดียว แต่ยังเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำและเมนบอร์ดเพิ่มขึ้นสองเท่าอีกด้วยเช่นกัน

FSB (Front Side Bus) : FSB คือเส้นทางส่งข้อมูลและเชื่อมต่อระหว่างซีพียูและหน่วยความจำหลัก สำหรับความหมายในการโอเวอร์คล็อกจะหมายถึง ความเร็วในหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (MHz) โดยเลขยิ่งสูง ข้อมูลยิ่งส่งกันได้เร็ว

Northbridge : Northbridge คือส่วนของชิปเซตที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่าง ซีพียู และ ส่วนควบคุมการเชื่อมต่อกับหน่วยความจำ (Control Interaction with Memory) , ส่วนควบคุม PCI , cache แบบ L2 ,ส่วนควบคุม AGP โดย Northbridge จะติดต่อกับ ซีพียู โดยผ่านทาง FSB

Southbridge : Southbridge คือส่วนของชิปเซตที่จัดการเกี่ยวกับการรับ-ส่งข้อมูลภายนอก (input/output I/O) เช่น USB, serial , IDE, ISA โดย Southbridge จะส่งข้อมูลบน PCI Bus ของ Northbridge อีกต่อหนึ่ง

VAGP : VAGP หมายถึงการตั้งค่าความต่างศักดิ์ไฟฟ้า (Voltage) สำหรับบัส AGP บนเมนบอร์ด มีเพียงบางเมนบอร์ดเท่านั้นที่สามารถปรับค่า VAGP ได้ แต่หากปรับได้จะมีผลดีอย่างมากต่อความเร็วของการ์ดจอ

VCore : หมายถึง การตั้งค่าความต่างศักดิ์ไฟฟ้า (Voltage) สำหรับซีพียู ซึ่งใช้สำหรับเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถโอเวอร์คล็อกได้สูงขึ้น ข้อควรระวังในการปรับ Vcore คือ ซีพียูอาจไหม้ได้ ถ้าปรับสูงเกินไป

VDIMM : หมายถึง การตั้งค่าความต่างศักดิ์ไฟฟ้า (Voltage) สำหรับหน่วยความจำ ยิ่งกระแสไฟสูงมากเท่าไร ยิ่งช่วยให้ความเร็วโดยรวมของหน่วยความจำสูงขึ้นด้วย แต่ก็อาจทำให้เครื่องของคุณรวนได้
-------------------------------------------------------------------------------------------
โอเวอร์คล็อก FSB
เมื่อพูดถึงเทคนิคการโอเวอร์คล็อกแบบมาตรฐาน อาจมีวิธีโอเวอร์คล็อกที่นิยมอยู่หลายวิธี แต่วิธีโอเวอร์คล็อก FSB นั้นเป็นวิธีที่มีโอกาสได้ผลสูง จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่า FSB หมายถึงเพียงแค่เส้นทางส่งข้อมูลระหว่างซีพียู และหน่วยความจำเท่านั้นเอง ความเร็วในการส่งข้อมูลวัดในหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (MHz) โดยทุกซีพียู จะมีขนาด FSB คงที่ซึ่งกำหนดมาจากโรงงานอยู่แล้ว (Native FSB) ตารางที่ 1 คือข้อมูลซีพียูที่นิยม และค่า native FSB ของซีพียูนั้น




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 27 กันยายน 2010, 11:43:54 โดย Granado » IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!