เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 00:00:50
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  คนไทยมาจากไหน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 [2] 3 พิมพ์
ผู้เขียน คนไทยมาจากไหน  (อ่าน 20550 ครั้ง)
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #20 เมื่อ: วันที่ 30 กรกฎาคม 2013, 14:23:53 »

ยินดีเจ้าสำหรับข้อมูล.. ยิ้ม
+1 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
terraze9568
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 358


« ตอบ #21 เมื่อ: วันที่ 02 สิงหาคม 2013, 10:59:52 »

         นี่คือตัวอย่างภาษาเขียนในกลุ่ม ไท-กะได  จะเห็นการพัฒนาการของตัวหนังสือได้อย่างชัดเจน     พอจะอ่านได้บ้างไหม



ตัวหนังสือที่น่าสนใจคือ บรรทัด ที่  2  และ  3
         
            บรรทัด ที่ 2 เป็นภาษาของชาวไทใหญ่  ในรัฐฉาน Shan  ลองดูประวัติความสัมพันธ์กับคนไทย
           ไทใหญ่เกิดขึ้น 96 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หรือ พ.ศ. 448 คำว่าฉาน เพี้ยนมาจากคำว่า สยาม เนื่องจากการออกเสียงของคนพม่า
           ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า รัฐฉานจึงเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของรัฐฉานจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่างๆ ปัจจุบันรัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่า มีชายแดนติดกับประเทศไทยด้านตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ
           รัฐฉาน ในอดีตกาลมีชื่อเรียกว่า “ไต” หรือที่เรียกกันว่า "เมิงไต" ในสำเนียงไต หรือ "เมืองไต"
         
           ส่วนบรรทัดที่ 3 เป็นภาษของชาวไทยเขิน  เป็นตัวไทขิน  อยู่ในเมืองเชียงตุง  ( เมืองเชียงตุงอยู่ระหว่าง เมืองเชียงราย กับจีน )  เมืองเชียงตุงก็อยู่ในส่วนหนึ่งของรัฐฉาน

           จะเริ่มเห็นถึงความสัมพันธ์ ของกลุ่มชนชาติไท
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #22 เมื่อ: วันที่ 05 สิงหาคม 2013, 10:43:35 »

ขอบคุณครับ สำหรับทุกท่านที่ติดตาม
            เมื่อไม่สามารถหาหลักฐาน   ที่ยืนยันว่าชนชาติไทยอพยพมาจากแถบเทือกเขาอัลไตได้   ก็ต้องหันไปหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความแก่แก่อันดับถัดไป   นั่นคือ    ภาษาพูด
            ภาษาไทย  จัดอยู่ในกลุ่มภาษา ไท-กะได  (Tai-Kadai)
 มาดูกันว่าใครพูดภาษาไท-กะไดบ้าง
 

           
 
           
            จากรูปนี้  ถ้าจะให้แปลเป็นเส้นทางอพยพ  จะเห็นได้ชัดเลยว่า  ภาษาไทย้ายมาจากทางไหน  เนื่องจากตอนหัว (ด้านบน) มีคนพูดหนาแน่นน้อยลง  และกลุ่มด้านล่าง ขยายตัวมากขึ้น  แสดงว่า  เป็นการอพยพจากบนลงล่าง และฉีกออกไปทางด้านซ้าย และขวา

             Tai–Kadai consists of five well established branches, Hlai, Kra, Kam–Sui, Tai, and the Ong Be (Bê) language:
•   Ong Be (Hainan; Lin'gao (临高) in Chinese)
•   Kra (called Kadai in Ethnologue and Gēyāng (仡央) in Chinese)
•   Kam–Sui (mainland China; Dong–Shui (侗水) in Chinese)
•   Hlai (Hainan; Li (黎) in Chinese)
•   Tai (southern China and Southeast Asia)
   ภาษาอังกฤษ ด้านบน อธิบายถึงกลุ่มคนต่างๆ ที่ใช้ภาษาไท-กะได

                   
           นี่เป็นเอกสารอีกฉบับ  ที่ระบุว่า  ชนชาติที่พูดภาษากลุ่ม ไท-กะได  ปัจจุบันอยู่ที่ไหนบ้าง 
                     The list below is organized roughly according to Ethnologue.[5]
     •--   Northern Tai languages
     •--   Central Tai languages
       o   various Southern Zhuang (Nung) languages (China: Dai Zhuang / Wenma,
            Min Zhuang (Minz [mìn]), Nong Zhuang / Yanguang, Yang Zhuang /
            Dejing, Yongnan Zhuang, Zuojiang Zhuang)
       o   Cao Lan (Vietnam)
       o   Tai Nung proper (Vietnam)
       o   Tày (Tho) (Vietnam)
       o   Ts'ün-Lao (Vietnam)
     •--   Southwestern Tai languages (Thai languages)
     •--   Other Tai languages are Kuan (Laos), Rien (Laos), Tai Do (Viet Nam), Tai Pao (Laos), Tay Khang (Laos); geographically, these would all appear to be Southwestern
     
           ที่คัดลอกภาษาอังกฤษมาลง เผื่อสำหรับนักเรียน  นักศึกษา ได้สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้  เพราะข้อมูลทั้งหมดถ้าไม่ตัดทอนมาลง จะกินพื้นที่หลายสิบหน้า
 ////    ต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม  ดูได้จาก วิกิพีเดีย          ////
           

ถ้าเฮาจะปิ้นจะหลิ้นว่า กลุ่มที่พูด ไท-กะได น้อยกว่า อพยพไปจากกลุ่มที่หนาแน่นกว่า
ก็น่าจะเป็นได้เพราะรากเหง้าหรือ"ต้นเก๊า"อยู่ที่นี่แล้วบางส่วนอาจจะแบ่งแยกไปตั้งถิ่นฐานด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ก็น่าจะเป็นได้  (เอกสารที่เคยตีพิมพ์ไว้โดย อ.ธิดา ขึ้นชื่อเรืองว่า คนไทยอยู่ที่นี่) อันนี้แล้วแต่มุมมองและการวิเคราะห์ของแต่ละบุคคล
*กลุ่มไทยสยามก็อาจจะอพยพหนีขอมไปจากล้านนา ดังที่นักวิชาการท่านหนึ่งว่าไว้ว่า
 สุวรรณภูมิก็เป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากทางตอนเหนือ เช่นเดียวกับที่ชากังราว และได้ผสมผสานกันชนเผ่าดั้งเดิมในท้องถิ่นหรือใกล้เคียง จนเป็น สยาม และประเทศไทย ทุกวันนี้
เว้นเสียแต่ว่า อาจจะมีใครบางคน ยอมรับไม่ได้ที่ตัวเองจะมีสายเลือดเดียวกับผู้คนทางเหนือที่ถูกมองว่าเป็นคนบ้านป่า ไร้ความเจริญ
**************ผมคิดของผมเองนะ*********************
IP : บันทึกการเข้า
terraze9568
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 358


« ตอบ #23 เมื่อ: วันที่ 05 สิงหาคม 2013, 11:04:31 »

               เนื่องจากเอกสารหลายฉบับมีการอ้างถึงเมืองต่างๆในประเทศจีน  เพื่อให้สามารถอ่านและสะกดชื่อเมือง และชนชาติต่างๆ           ที่แปลจากภาษาจีน ไปเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง   เลยจะอธิบายวิธีการอ่านภาษา พิง-อิง ได้อย่างถูกต้องหรือใกล้เคียงมากที่สุด
                          
               การเขียนภาษจีนแบบพิง-อิง ( ที่จริงอ่านเหมือน พิง-อ-ยิง)  Pin -Yin  คือวิธีการแปลงตัวอักษรภาษาจีน โดยการเขียนแทนด้วยอักษรโรมัน หรือABC       การเขียนแบบพิง-อิง   เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนโดยนักบวชนิกายเยซูอิด  
              
                เพื่อให้ชาวยุโรปที่ไม่สามารถอ่านตัวอักษรภาษาจีนออก   ให้สามารถอ่าน และพูดภาษาจีนได้ง่ายขึ้น   แต่การพัฒนาอักษรพิง-อิงที่เป็นระบบเกิดขี้นในปี คศ.1949 และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
                 การสะกดตัว Pin- Yin หลายตัวไม่ได้สะกดเหมือนคำในภาษาอังกฤษ   ทำให้คนไทยส่วนมาก     สะกดตัวพิง-อิง  ผิดไปจากเสียงที่ควรจะเป็น
              


              ตัวสะกดบางตัวที่คนไทยอ่านผิดบ่อยคือ ตัวอักษร b และ d เช่น    ตัว b  อ่านออกเสียงเป็นตัว p ,    ส่วนตัว  d อ่านออกเสียงเป็นตัว  t    ดังตัวอย่างต่อไปนี้
              --  เว็ปไซต์ยอดฮิตของจีน                    Baidu   -- อ่านว่า   ไป่ตู้     ไม่ใช่       ไบ่ดู้

              --  อันนี้ผู้ประกาศข่าวส่วนใหญ่จะอ่านผิด  Guangdong  --  อ่านว่า  กว่างตง  หรือ มณฑลกวางตุ้งนั่นเอง       ผู้ประกาศข่าวส่วนใหญ่อ่าน  กว่างดง  หรือซ้ำร้ายอ่าน  กวางดง
              --  คำว่า    Beijing   -- อ่านว่า  เป่ยจิง  หรือเมืองปักกิ่งนั่นเอง          คนชอบอ่านว่า  เบ่ยจิง   หรือ เบจิง
                  สมัยก่อนฝรั่งสะกดชื่อเมืองปักกิ่ง  ว่า Peking  แล้วอ่านว่า เพคิง  ทำให้ออกเสียงเพี้ยนจากความเป็นจริงไปมาก เขาถึงต้องใช้ภาษาพิง-อิง เข้ามาแทนที่
                และยังมีตัวอักษรอื่นๆอีก  นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ผิดบ่อย        ฉะนั้นการอ่านข้อมูลในหัวข้อนี้      จะอ่านได้เข้าใจง่ายขึ้น

                  แต่มีคำว่า Tai-Kadai คำนี้น่าจะมาจากภาษฝรั่ง  น่าจะอ่านว่า ไท-กะได    ไม่ใช่  ไท-กะไต    
                 ซึ่งผิดกับคำว่า  Dai  ซึ่งน่าจะเป็นคำที่คนจีนใช้เรียกชื่อ ชนชาติไท   เขาจะพูดว่า ไต  ไม่ใช่  ได
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #24 เมื่อ: วันที่ 06 สิงหาคม 2013, 13:06:59 »

เข้ามาอ่าน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #25 เมื่อ: วันที่ 10 สิงหาคม 2013, 21:29:35 »

ตวยผ่อ
IP : บันทึกการเข้า
terraze9568
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 358


« ตอบ #26 เมื่อ: วันที่ 13 สิงหาคม 2013, 22:10:03 »

เมื่อค้นหากลุ่มคนที่พูดภาษาไท เก่าแก่ที่สุด  และเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด (ที่อยู่นอกประเทศไทย)  ได้แก่    ชาวจ้วง (Zhaung)   ในมณฑลกวางสี (Quangxi) ทางตอนใต้ของประเทศจีน
      ชาวจ้วงมีประวัติศาสตร์ที่สามารถสืบค้นไปได้ เก่าแก่กว่า 2500 ปี  มีประชากรประมาณ 18ล้านคน ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากชาวฮั่น (Han)คือชาวจีนในปัจจุบัน)
       มีต่อ ติดธุระ
IP : บันทึกการเข้า
“TumFishing”
"ไม่หล่อ แต่ก็มองไม่เบื่อ"
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,574


I Luke MusiC


« ตอบ #27 เมื่อ: วันที่ 14 สิงหาคม 2013, 11:09:32 »

ถ ถ่านไฟแดง  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

terraze9568
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 358


« ตอบ #28 เมื่อ: วันที่ 20 สิงหาคม 2013, 17:42:38 »

        ส่วนตัวแล้ว ผมเคยไปแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน  ระหว่างไปเที่ยววัดแห่งหนึ่ง  กรุ๊ปทัวร์ก็เดินดูวัดรอบๆ  ส่วนผมเดินไปเจอเด็กที่เล่นอยู่ในวัด กลุ่มหนึ่ง อายุประมาณ 8-10 ขวบ  พูดภาษาคล้ายภาษาไทย เลยนึกสนุกลองคุยกับเด็กๆพวกนั้น  ปรากฎว่าพวกเขาพูด  แบบคนภาคกลางพูดภาษาเมือง  คำศัพท์หลายคำเป็นคำโบราณคล้ายศัพท์ภาษาพ่อขุนราม หรือศัพท์ภาษาลาว  ตั้งแต่นั้นมาก็คิดอยู่เสมอว่า     คนไทยมาจากไหน
        กลับมาที่มณฑลกวางสี ซึ่งอยู่ติดกับมณฑลยูนนาน   ลองดูแผนที่ ว่าอยู่ใกล้ประเทศไทยแค่ไหน


จะเห็นว่ามณฑลกวางสีอยู่ทางด้านขวาของมณฑลยูนนาน

         มณฑลกวางสียังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นเขตปกครองตนเอง (Autonomous)  หมายความว่าตลอดเวลาพันกว่าปี  มณฑลนี้ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจ้วง ชาวจีนไม่สามารถปกครองมณฑลนี้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ จนต้องแยกไปปกครองตัวเอง เช่นเดียวกับ แคว้นสิบสองปันนาใน มณฑลยูนนาน  มองโกลเลีย  อุยกูร์  และธิเบต


เขตปกครองตนเองต่างๆในจีน หมายถึงว่ามีกฎหมายบางอย่างที่เป็นของตนเอง

      ลองมาดูประชากรของมณฑลกวางสี  คาดว่าสมัยก่อนคงมีประชากรชาวฮั่นน้อยกว่านี้  รัฐบาลจีนคงให้ชาวฮั่นย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น


ประชากรกวางสี แยกตามเชื้อชาติต่างๆ

       ส่วนในแคว้นสิบสองปันนา จะมีชาวไต (Dai)อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก


       ยังไม่ได้ศึกษาลึกลงไปว่าชาวไต  แยกมาจากชาวจ้วงยังไง  แต่คงมีความต่างที่ภาษา
IP : บันทึกการเข้า
terraze9568
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 358


« ตอบ #29 เมื่อ: วันที่ 23 สิงหาคม 2013, 15:51:25 »

      ชาวฮั่นหรือชาวจีนได้ทำสงครามกับชาวจ้วง เป็นระยะๆตลอดเวลา จนมาถึงสมัยราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty)  ชาวจ้วงได้อพยพไปสมทบ กับชนชาติไทอื่นๆ ที่อาณาจักรน่านเจ้า  ในมณฑลยูนนาน  
      ในปี คศ.750-751 ราชวงศ์ถังได้ส่งกำลังทหารไปปราบปรามอาณาจักรน่านเจ้า  แต่ไม่สามารถเอาชนะได้  จากนั้นอาณาจักรน่านเจ้าได้ขยายลงมาจากยูนนานถึง  พม่า  ลาว และไทย(สมัยนั้นยังไม่มีประเทศพม่า ไทย ลาว)  และในปี คศ.902 อาณาจักรน่านเจ้าได้เริ่มเสื่อมอำนาจลง
      ปี คศ. 937 ได้ย้ายอาณาจักรไปอยู่ที่เมืองต้าลี่ Dali  ตอนกลางของมณฑลยูนนาน  เรียกว่า อาณาจักรต้าลี่  อาณาจักรได้ตกอยู่ใต้ราชวงศ์หยวน Yuan ของชาวมองโกลในปี คศ.1253  


แผนที่ในสมัย อาณาจักรน่านเจ้า เมื่อ 1300ปี ก่อน

          ต่อไปจะเป็นความเป็นมาของชนชาติต่างๆที่อยู่ในแผ่นดินไทย ก่อนที่จะก่อตั้งอาณาจักรล้านนา และกรุงสุโขทัย

หมายเหตุ.--
ชาวจ้วง และชาวไต จะมีความชำนาญในการเพาะปลูก  ทอผ้า  และทำเครื่องปั้นดินเผา
Yao  -- คือชาวเขาเผ่าเย้า
Miao -- คือชาวเขาเผ่าแม้ว ซึ่งแตกออกไปเป็น Mong หรือชาวเขาเผ่าม้ง ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศลาว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 สิงหาคม 2013, 17:22:54 โดย terraze9568 » IP : บันทึกการเข้า
tfgc2007
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,874


สมบัติพญามังราย ต้องรักษาไว้


« ตอบ #30 เมื่อ: วันที่ 27 สิงหาคม 2013, 12:43:42 »

อ่านแล้วหันมาผ่อตั๋วเก่า ความฮู้เทียบกับ จขกท. = 0 ฮานิบ่าเฮ้ย
IP : บันทึกการเข้า

รักษ์กำเมือง....ร่วมส่งเสริมละอ่อนเหนือ อู้กำเมือง....
เชียงรายสถาปนิก'97 รับ ออกแบบ เขียนแบบบ้าน อาคาร รับบริหารงานก่อสร้างและงานระบบทุกประเภท ตรวจสอบอาคาร โดยสามัญวิศวกร สามัญสถาปนิก และ จป.วิชาชีพ
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #31 เมื่อ: วันที่ 27 สิงหาคม 2013, 14:39:46 »

อ่านแล้วหันมาผ่อตั๋วเก่า ความฮู้เทียบกับ จขกท. = 0 ฮานิบ่าเฮ้ย
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
terraze9568
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 358


« ตอบ #32 เมื่อ: วันที่ 02 กันยายน 2013, 12:59:14 »

              เรื่องราวของคนไทยมาจากไหน    ตอนนี้จะย้อนกลับไปเกี่ยวกับประวัติชนชาติต่างๆที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทยตามยุคสมัยต่างๆ    เรื่อยมา      ไล่เรียงมาเรื่อยๆ และจบลงตรงที่ ---   ยุคการก่อตั้งอาณาจักรล้านนา  และอาณาจักรสุโขทัย  เนื่องจากพอดีเป็นยุคเดียวกัน  และมีการจดบันทึกทางประวัติศาสตร์มากอยู่แล้ว   
              ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากทางประเทศจีน  และฝรั่ง  ทั้งทางตรง(  เขียนถึงประเทศไทยโดยตรง)  และทางอ้อม  เช่นข้อมูลเกี่ยวกับ กลุ่มภาษา เชื้อชาติ   และที่สำคัญคือ  แผนที่          ยกตัวอย่างเช่น  แผนที่โลก(ข้างบน)   Asia, 700 AD.  ผู้จัดทำแผนที่นี้ดีมาก  คือนำประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือได้ของประเทศต่างๆใน ปี คศ.นั้นๆ    มาแปลเป็นรูปแผนที่   เช่น  อาณาจักรต่างๆ ในประเทศอินเดีย  ทิศเหนือติดเมืองอะไร   ทิศตะวันออกติดอาณาจักรไหน   แล้วนำมาต่อๆ กันก็จะได้ แผนที่โลกในยุค ปี คศ.700  เป็นแผนที่ที่ค่อนข้างเชื่อถือได้   และพอจะเป็นแนวทางให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง   การครอบครองดินแดนของชนชาติต่างๆ ในช่วงเวลาแต่ละศตวรรษ
     

             ลองมาดู  ถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์  ที่อาศัยกระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนประเทศไทยสมัยก่อน

             -  มนุษย์โบราณลำปาง Lampang man  ขุดพบที่  อ.เกาะคา จ.ลำปาง
มีอายุประมาณ 1-5 แสนปีก่อน  ข้อมูลจาก sac.or.th  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร   มนุษย์โบราณลำปาง อยู่ในสมัยใกล้เคียงกับ มนุษย์ปักกิ่ง Peking man  ของจีน   ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการที่มีผู้คนอาศัยกระจายอยู่ทั่วทวีปเอเซียมานานแล้ว
                Peking man ขุดพบที่เมือง Zhoukondian 50กม. ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง  แบ่งการขุดค้นได้เป็น 17 ชั้นดิน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 2.3-7.3 แสนปี  ข้อมูลจาก Unesco
             -  แหล่งโบราณคดี ต.ทับปริก อ.เมือง จ.กระบี่  พบอารยธรรมอายุ 2.7-3.7หมื่นปี
             -  และยังพบลูกปัด ที่ อ. คลองท่อม  กระบี่    และพบจารึกเป็นตราประทับ เป็นภาษาอินเดียใต้  เป็นอักษรปัลลวะ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่10-12 หรือ 1,400-1,600 ปีก่อน  ข้อมูลจาก www1.tv5.co.th   อันนี้เป็นข้อมูลที่ดีมาก แสดงให้เห็นการเดินทางมาค้าขายระหว่างอินเดีย-ไทย  เมื่อพันกว่าปีก่อน  และอารยธรรมที่ต่อเนื่อง คือการที่พื้นที่แห่งเดียวมีคนอยู่อาศัยต่อกันมาเรื่อยตั้งแต่หลายหมื่นปี จนถึงหลายพันปีก่อน และอยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (อาจจะเป็นชนชาติเดียวกันหรือไม่ใช่ก็ได้)


ตราเดินเรือ จากอินเดีย พบที่จังหวัด กระบี่


ตราเดินเรือ ขุดพบที่อินเดีย  สังเกตุมีลักษณะเหมือนกัน คือมีใบเรือสองเสา มีจุดไข่ปลารอบๆ  ศิลปะการออกแบบคล้ายกัน แสดงว่ามีอายุใกล้เคียงกัน


ตราเดินเรือ ขุดพบที่ จังหวัดนครปฐม ทำด้วยดินเผา (แสดงว่าทำออกมาเยอะ) และมีรายละเอียดมาก  แสดงว่ามีอายุน้อยกว่า 2 ชิ้นแรก

           -  แหล่งโบราณคดี เพิงผาบ้านไร่ และเพิงผาถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า  จ.แม่ฮ่องสอน  พบโครงกระดูกอายุ 9.7พัน-1.06หมื่นปี  และพบภาพเขียนสีผนังถ้ำ  ข้อมูลจาก highland.trf.or.th  คณะวิจัยประกอบด้วย คณะโบราณคดี กรมศิลปากร , คณะสิ่งแวดล้อม ม.มหิดล,  และ คณะมานุษยวิทยา ม. เชียงใหม่


ภาพนี้น่าสนใจ ตรงรูปนกที่มีหงอน   ถ้าเป็นนกที่สูญพันธุ์ไปแล้ว  แสดงว่ารูปนี้เก่ามาก รูปล่างสุด เป็นรูปคนมีหงอน  แสดงว่า มีการพัฒนาตกแต่งร่างกาย  --  รูปเขียผนังถ้ำเก่าแก่ที่สุด  อยู่ที่ สเปน อายุ 40,000ปี  —

            -  แหล่งโบราณคดี  บ้านเชียง จ.อุดรธานี   อายุ 4,500 ปี ข้อมูลจาก Unesco

            -  แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา  พบข้าวหุง อายุ 4,500 ปี  ข้อมูลจาก Wiki   จากข้อมูลนี้หมายความว่า  มนุษย์ที่อาศัยอยู่ที่นี่มีความเจริญมาก  รู้จักเพาะปลูก  มีเครื่องมือเกษตร  มีภาขนะใช้  ไม่ได้อยู่ในสมัยยุคหินเหมือนชนชาติอื่นในภูมิภาคนี้


การขุดลงไปลึกมาก  แสดงให้เห็นความเก่าแก่ในการทับถมของตะกอนดิน 


ข้าวสารหุง  แสดงความเจริญ  ด้านต่างๆ

               -  แหล่งโบราณคดี ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี   อายุราว พุทธศตวรรษที่ 3 หรือประมาณ 2,300ปี พบซากโบราณสถานเทวาลัย  ลัทธิฮินดู  เป็นรูปพระนารายณ์  พระวิษณุ  พระพิฆเณศ  และยังพบพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี  -- ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่ามีการติดต่อค้าขายกับอินเดีย
ซึ่งจะไปตรงกับเรื่องราวของพระปฐมเจดีย์  ที่ว่า ในราวปี พศ. 200กว่า  พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดีย ได้ส่งพระมาเผยแผ่ศาสนาในดินแดนนี้     ซึ่งตอนนั้นเรียกว่า สุวรรณภูมิ  และโปรดให้สร้างเจดีย์ขนาดใหญ่ ขึ้นที่นครปฐม  นั่นก็คือ พระปฐมเจดีย์  ซึ่งเวลานั้นมีเมืองนครชัยศรี เป็นเมืองหลวง   (พระปฐมเจดีย์องค์ปัจจุบัน  ถูกสร้างครอบเจดีย์องค์เก่ามา 2ครั้งแล้ว)


พระพุทธรูป และพระนารายณ์หรือพระวิษณุ  ศาสนาฮินดูเข้ามาก่อน ศาสนาพุทธ
       
     กระทู้นี้ขอมอบเป็นเกียรติ์และที่ระลึกให้แด่ คุณลุง เซิ่นซุ่น ( จำชื่อไทยไม่ได้ )
         
          คุณลุงเซิ่นซุ่น  เป็นคนไทยอาศัยอยู่ในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน   ผมได้พบคุณลุงเมื่อสัก 20ปีก่อน  ที่คุณหมิง  ท่านเป็นเพื่อนของเพื่อนคุณพ่อ  ตอนที่เจอนั้นท่านอายุ 80กว่าปีแล้ว
-   ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า  ท่านเป็นหนึ่งในผู้ประสานงาน ให้ขบวนการเสรีไทย ในเมืองจีน   หรืออาจจะเป็นเสรีไทยคนสุดท้ายก็ได้
-   ท่านเคยให้ หนังสือ  เกี่ยวกับ ต้นกำเนิดของชนชาติไทย  พิมพ์ในจีน     ด้านหนึ่งเป็นภาษาจีน อีกด้านเป็นภาษาอังกฤษ  ตอนนี้ยังหาไม่เจอ แต่คงไม่หาย
-   ผมและคุณลุง เคยได้รับเชิญจากรัฐบาลจีน ให้ไปดูงานที่เมืองซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง   โดยสำนักงานประสานงานคนจีนโพ้นทะเล เมืองวัวเถา ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาล  เป็นเวลา 5-6วัน   ทางการจีนเลี้ยงดูเป็นอย่างดี  ไปกันแค่2คน+เจ้าหน้าที่จีน3-4คน เลี้ยงโต๊ะจีนทุกมื้อ
IP : บันทึกการเข้า
terraze9568
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 358


« ตอบ #33 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2013, 11:44:21 »

        จากข้อมูลข้างบน  แสดงให้เห็นว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในแทบทุกภาคของประเทศไทยมานานมาก  แต่ไม่การบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร์   สำหรับชนชาติแรกที่มีการจดบันทึกหรือหลักฐานอื่นทางประวัติศาสตร์  คือ  มอญ
         แผนที่แน่ชัดของชนชาติมอญ  ไม่มี  แต่พอจะสรุปแผนที่ได้ใกล้เคียงตามแผนที่ด้านล่างนี้


เทียบกับแผนที่ปัจจุบัน  จุดสีชมพู คือเมืองสะเทิม (Thaton) ในอ่าวเมาะตะมะ (Mataban) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ อาณาจักรสะเทิม (มอญดั้งเดิม)


อีกมุมมองหนึ่งของแผนที่  ก่อนปีคริสศักราช200 หรือ พุทธศตวรรษที่ 4  หรือราว 2,200 ปีก่อน   ตามแผนที่จะเห็นชนเผ่าไทย และชนเผ่าพม่า อยู่ทางตอนบนของอาณาจักรมอญ

ประวัติชนชาติมอญ จาก มอญ วิกิ        
         มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง จากพงศาวดารพม่ากล่าวว่า "มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสะโตง ซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารของจีน และอินเดียเรียกว่า "ดินแดนสุวรรณภูมิ"
         ในพุทธศตวรรษที่ 2 ศูนย์กลาง ของ"อาณาจักรมอญ" คืออาณาจักรสุธรรมวดีหรือสะเทิม (Thaton) จากพงศาวดารมอญ กล่าวไว้ว่าอาณาจักรสะเทิมว่า อาณาจักรสะเทิมสร้างโดยพระราชโอรส 2 พระองค์ของพระเจ้าติสสะ แห่งแคว้นหนึ่งของอินเดีย ก่อนปี พ.ศ. 241 พระองค์นำ พลพรรคลงเรือสำเภา มาจอดที่อ่าวเมาะตะมะ และตั้งรากฐาน ซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้งของเมือง
         อาณาจักรสะเทิม รุ่งเรืองมาก มีการค้าขายติดต่ออย่างใกล้ชิดกับประเทศอินเดีย และลังกา และได้รับเอาอารยธรรมของอินเดียมาใช้ ทั้งทางด้านอักษรศาสตร์ และศาสนา โดยเฉพาะรับเอาพุทธศาสนานิกายหินยานมา
        
         มอญมีบทบาทในการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย ไปยังชนชาติอื่นอย่าง ชาวพม่า ไทย และลาว เจริญสูง มีความรู้ดี ทางด้านการเกษตร และมีความชำนาญ ในการชลประทาน โดยเป็นผู้ริเริ่มระบบชลประทานขึ้น ในลุ่มน้ำอิระวดี ทางตอนกลางของประเทศพม่า
         พวกน่านเจ้าเข้ามาทางตอนเหนือของพม่า และทำสงครามกับพวกพยู อาณาจักรมอญ ที่สะเทิมขยายอำนาจขึ้นไปทางภาคกลางของลุ่มแม่น้ำอิระวดีระยะหนึ่ง แต่เมื่อ ชนชาติพม่า มีอำนาจเหนืออาณาจักรพยู และได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้ เข้ารุกรานมอญ มอญจึงถอยลงมาดังเดิม และได้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1368 ที่ หงสาวดี (Pegu)
        
         พระเจ้าอโนรธา กษัตริย์พม่าแห่งพุกาม ยกทัพมาตีอาณาจักรสุธรรมวดี และกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สมบัติ พระสงฆ์ พระไตรปิฎก กลับไปพุกามจำนวนมาก ต่อมาระหว่างปี 1600-1830 กรุงหงสาวดี ตกอยู่ใต้อำนาจพุกาม แต่กระนั้นพม่าก็รับวัฒนธรรมมอญมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น "ภาษามอญ"ได้แทนที่ภาษาบาลี และสันสกฤตในจารึกหลวง และศาสนาพุทธเถรวาท ได้เป็นศาสนาที่นับถือสูงสุดในพุกาม
         มอญยังมีความใกล้ชิดกับลังกา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และนิกายเถรวาทก็แพร่กระจายไปทั่วเอเชียอาคเนย์
พระเจ้ากยันสิทธะทรงดำเนินนโยบายผูกมิตรกับราชตระกูลของพระเจ้ามนูหะ "กษัตริย์มอญ"แห่งสะเทิม โดยยกพระราชธิดาให้กับเจ้าชายมอญ พระนัดดาที่ประสูติจากทั้งสองพระองค์นี้ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ พระนามว่า อลองคะสิทธู ในยุคที่พระองค์ปกครอง "อาณาจักรพุกาม"ได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นที่สุด
         นอกจากนี้ในสมัยของพระเจ้ากยันสิทธะ ในศิลาจารึกยกย่องไว้ว่า "วัฒนธรรมมอญ"เหนือกว่าวัฒนธรรมพม่าด้วย

          ต่อมาในปี พ.ศ. 1830 "มองโกล" ยกทัพมาตีพม่า ทำให้มอญได้รับเอกราชอีกครั้ง มะกะโท หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว หรือวาเรรุ ราชบุตรเขยของ "พ่อขุนรามคำแหง" ได้กอบกู้เอกราช และสถาปนาราชวงค์ชาน-ตะเลง สถาปนา"อาณาจักรมอญอิสระ" มีศูนย์กลางที่เมืองเมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองของมอญจนถึงปี พ.ศ. 1912 จากนั้นย้ายกลับไปหงสาวดีตามเดิม
           และในรัชสมัยพระเจ้าราชาธิราช หงสาวดีรุ่งเรืองจนเป็น ศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต ทางแถบอ่าวเบงกอล มีเมืองท่าหลายเมืองในละแวกใกล้ๆ และอาณาจักรมอญมารุ่งเรือง เจริญสูงสุดในช่วงปี พ.ศ. 2015-2035 สมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ ต่อมาหงสาวดีก็เสียแก่ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ กษัตริย์พม่า ในปี พ.ศ. 2094 จนปี พ.ศ. 2283 สมิงทอพุทธิเกศ ก็กู้เอกราชคืน มาจากพม่าได้สำเร็จ และได้ยกทัพไปตีเมืองอังวะอีกด้วย
          
            ในปี พ.ศ. 2290 พระยาทะละ ได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศ ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรพม่าสลายตัวลง จนในปี พ.ศ. 2300 พระเจ้าอลองพญา ก็กู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาได้ ทั้งยังได้โจมตีมอญ มอญตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่า จนกระทั่งทุกวันนี
สีน้ำเงินคือที่อยู่ของอาณาจักรมอญ  สีม่วงคืออาณาจักรเจนละ  สีเหลืองคือประเทศจีน  แสดงให้เห็นว่าเป็นแผนที่คร่าวๆในสมัยราชวงศ์ถัง
   ** เกิดความผิดพลาดเล็กน้อย  แผนที่นี้ควรอยู่ด้านบนสุดของข้อความนี้ **
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 กันยายน 2013, 11:52:07 โดย terraze9568 » IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #34 เมื่อ: วันที่ 18 กันยายน 2013, 14:37:09 »

มาศึกษาครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ปัญญาวุฒิ
เดินต่อไป
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 392



« ตอบ #35 เมื่อ: วันที่ 22 มีนาคม 2014, 13:40:46 »


มีต่ออีกไหมครับ รออ่าน

IP : บันทึกการเข้า

บล็อกเศรษฐี blogger    แบบบ้านน่ารัก
suriya102508
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 53


« ตอบ #36 เมื่อ: วันที่ 22 มีนาคม 2014, 19:16:02 »

คนไทยบ่ได้อพพยกมาจากไหนคนไทยอยู่ดินแดนนี้เป๋นเวลาหลายพันปีแล้วมีแต่คนไทยจะอกพยพไปยังดินแดนอื่นเช่นลาวรัฐฉานและสิบสองปันนา.ซึ่งแต่ก่อนเป๋นดินแดนของล้านนาหมด



IP : บันทึกการเข้า
Number9
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,759



« ตอบ #37 เมื่อ: วันที่ 25 มีนาคม 2014, 18:32:38 »


ขอบคุณอย่างสูงที่นำความรู้มาแบ่งปันเจ้า

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 25 มีนาคม 2014, 18:36:39 โดย Number9 » IP : บันทึกการเข้า
pong666
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 219



« ตอบ #38 เมื่อ: วันที่ 29 มีนาคม 2014, 08:24:31 »

   ต้องกลับไป ดู พงศาวดารของเพื่อนบ้านเรา (ไทยใหญ่ )ที่มีเมืองและบันทึกก่อน สยามประเทศ

หลายร้อยปี

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 29 มีนาคม 2014, 09:23:30 โดย pong666 » IP : บันทึกการเข้า
pong666
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 219



« ตอบ #39 เมื่อ: วันที่ 29 มีนาคม 2014, 09:06:13 »





IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!