เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 24 เมษายน 2024, 13:23:36
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 406757 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #120 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 10:26:06 »

น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้ (อังกฤษ: wood vinegar หรือ pyroligneous acid) เป็นของเหลวใส สีน้ำตาล มีกลิ่นควันไฟ ได้จากการควบแน่นของควันที่เกิดจากการเผาไม้ให้กลายเป็นถ่านในสภาวะที่มีออกซิเจนจำกัด โดยมีอุณหภูมิในเตาอยู่ระหว่าง 300 - 400 องศาเซลเซียส อุณหภูมิปากปล่องระหว่าง 80 – 150 องศาเซลเซียส สารประกอบต่างๆ ในไม้จะสลายด้วยความร้อนเกิดเป็นสารประกอบอินทรีย์ เมื่อนำของเหลวที่ได้จากการควบแน่นมาเก็บในที่ร่มประมาณ 3 เดือน เพื่อให้เกิดการตกตะกอน จะแยกตัวเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นน้ำมันใส ชั้นกลางเป็นน้ำส้มควันไม้ และน้ำมันดินตกตะกอนอยู่ด้านล่างสุด

องค์ประกอบ
น้ำส้มควันไม้ประกอบด้วยสารอินทรีย์มากกว่า 200 ชนิดโดยเฉพาะ ฟีนอล ซึ่งได้จากการสลายตัวของลิกนิน กรดอินทรีย์และแอลกอฮอล์ต่างๆที่ได้จากการสลายเฮมิเซลลูโลสและเซลลูโลส น้ำส้มควันไม้ประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 85 กรดอินทรีย์ประมาณร้อยละ 3 และสารอินทรีย์อื่นๆร้อยละ 12 น้ำส้มควันไม้มีค่า pH ประมาณ 3 ความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.012 – 1.024 ซึ่งมีความแตกต่างตามประเภทของไม้ที่นำมาเผา

การใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร
-  ราดโคนต้นไม้รักษาโรคราและโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงวางไข่
-  ฉีดพ่นใบเพื่อขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา
-  การใช้ประโยชน์ทางด้านปศุสัตว์ ใช้ลดกลิ่นและแมลงในฟาร์มปศุสัตว์ใช้ผสมอาหารสัตว์เพื่อช่วยการย่อยอาหารและป้องกันโรคท้องเสีย
-  การใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ การแช่เมล็ดข้าวที่เสื่อมคุณภาพตามธรรมชาติเนื่องจากผ่านการเก็บรักษา 10 เดือนในน้ำส้มควันไม้เจือจาง 300 เท่า เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เมล็ดมีความงอกร้อยละ 96.67 ซึ่งสูงกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านการแช่และแช่ด้วยน้ำ น้ำส้มควันไม้ระดับความเข้มข้น 1: 500 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในข้าวโพดหวานทั้งวิธีการฉีดพ่นบนใบและฉีดลงดิน
- เพื่อช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาลของพืข (ช่วยให้พืชผักและผลไม้มีรสหวาน)
-เมื่อต้องการขับไล่เห็บ หมัด รักษาโรคเรื้อนของสัตว์ ผสมน้ำฉีดพ่นที่ตัวสัตว์ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้งน้ำส้ม 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร


* Wood%20vinegar-01.jpg (90.88 KB, 500x413 - ดู 3443 ครั้ง.)

* 10.jpg (155.69 KB, 800x600 - ดู 2226 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #121 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 10:40:07 »

การทำน้ำส้มควันไม้


วัสดุอุปกรณ์
 1.ถัง 200 ลิตร (ถังแกลลอนน้ำมัน)
 2. ท่อซีเมนต์ใยหิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร (ความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลางอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
 3. กระบอกไม้ไผ่ สำหรับเป็นท่อของการไหลของน้ำส้มควันไม้ ยาวประมาณ 3-5 เมตร ตามความเหมาะสม
 4. ไม้ที่จะทำการเผาถ่าน ควรเป็นกิ่งไม้ที่ไม่ใหญ่มาก และเป็นไม้ที่มีความหมาด คือเป็นไม้ที่ตัดทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือมากกว่า เนื่องจากไม้ที่ตัดสดใหม่จะเผาใช้เวลานานกว่า

 ขั้นตอน/วิธีทำ  
1. นำถัง 200 ลิตร มาเจาะขอบถังให้ฝาถังเปิดได้แล้วทำการเจาะรูข้างหน้า 20×20 เซนติเมตร ส่วนก้นถังเจาะรูวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 4 นิ้ว สำหรับใส่ข้องอ
 2. ตั้งเตาให้ด้านหน้าถังแหงนขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ระบายน้ำออก ด้านหลังยังไม่ต้องปิด แล้วเทดินเหนียวประคองด้านหน้าเตาพอประมาณ เพื่อไม่ให้เตาขยับเขยื้อน
 3. ประกอบข้องอใยหิน 90 องศา โดยให้ด้านที่ใหญ่ที่สุดสวมเข้าไปในช่องที่เจาะไว้ ในด้านท้ายของตัวเตา และสวมท่อใยหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเดียวกันกับข้องอที่ประกอบไว้ท้ายเตา
 4. ปิดผนังเตาด้านหลัง โดยให้ผนังเตาห่างจากข้องอประมาณ 10-15 เซนติเมตร
 5. นำดินเหนียวประสานรอยรั่วให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปข้างในและป้องกันไม่ให้เกิดการลุกติดไฟ
 6. นำดินเหนียวหรือดินทรายที่เตรียมไว้เทลงให้เต็มด้านข้างและด้านหลังในช่องว่างระหว่างเตากับผนังเตาด้านหลังพอประมาณทั้ง 3 ด้าน เพื่อเป็นฉนวนกันไฟให้กับตัวเตา และไม่ให้ความร้อนระเหยออกไป โดยเว้นช่องฝาหน้าเตาเอาไว้เพื่อปิด/เปิด
 7. นำกระเบื้องหรือสังกะสีหรือแผ่นไม้เก่ามากั้นดินด้านหน้าและด้านหลังพร้อมทั้งปิดเสาค้ำยันด้านละ 2 ท่อน
 8. ตัดไม้เพื่อทำเป็นหมอนหนุนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว ยาว 20-25 ซ.ม. จำนวน 3 ท่อน วางขวางด้านล่างของตัวเตา โดยมีระยะห่างเท่ากัน เพื่อให้มีการไหลเวียนของลมร้อนภายในเตา
 9. การคัดเลือกไม้เข้าเตาถ่าน จะมีการจัดแยกกลุ่มของขนาดไม้เป็น 3 กลุ่ม คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยเรียงไม้ขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา ทับไม้หมอนไว้ ไม้ท่อนใหญ่ไว้ด้านบน เนื่องจากอุณหภูมิในเตาขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน โดยอุณหภูมิด้านล่างสุดของเตาจะต่ำ และอุณหภูมิด้านล่างบนจะสูงกว่าอุณหภูมิท้ายเตา
 10. เมื่อเรียงไม้เสร็จแล้วให้ปิดฝาเตาถังด้านหน้า โดยให้ช่องที่เจาะไว้อยู่ด้านล่างของตัวเตาถัง แล้วนำดินมาประสานขอบถังและฝาถัง เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปในถัง เพราะถ้าอากาศเข้าไปในเตาจะทำให้ถ่านไหม้จนหมด
 11. การเข้าสู่ขั้นตอนการเผาถ่าน จะเริ่มจุดไฟหน้าเตาเพื่อให้ความร้อนแก่เตา โดยจุดบริเวณช่องจุดไฟที่อิฐก้อนแรก โดยเชื้อเพลิงที่นำมาจุดควรเป็นเชื้อเพลิงแห้ง เช่น เศษไม้ เศษหญ้า หรือโฟม เป็นต้น 
 12. ใส่เชื้อเพลิงทีละน้อยเพื่อลดความร้อนจะกระจายเข้าไปในเตาเพื่อไล่อากาศเย็นและความชื้นที่อยู่ในเตา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง
 13. เมื่อไล่ความชื้นในเตาแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้น จนทำให้เนื้อไม้ในเตารักษาอุณหภูมิในเตาได้เอง โดยไม่ต้องใส่เชื้อเพลิงเข้าไปอีก โดยสังเกตจากควันที่ออกมาจากปากปล่องด้านหลังจะพุ่งแรงกว่าปกติ เรียกว่า “ควันบ้า” มีสีขาวขุ่น ช่วงนี้สามารถหรี่ไฟหน้าเตาลงได้ครึ่งหนึ่ง
 14. หลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง หรือสังเกตสีควันที่ปากปล่อง ถ้าเป็นสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้หรี่ไฟลงอีก ช่วงนี้เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ โดยใช้ท่อไม้ไผ่ที่เจาะรูไว้ตลอดทั้งลำ     โดยนำขวดน้ำผูกลวดแขวนรองน้ำส้มควันไม้ตรงจุดที่เจาะรูไว้ จะสามารถเก็บน้ำส้มควันไม้ได้ประมาณ 3-4 เดือน เมื่อน้ำที่หยดมามีลักษณะเป็นยางเหนียวและมีสีดำ ให้หยุดเก็บ
 15. ผลผลิตถ่านที่ได้จากเตาถัง 200 ลิตร ประมาณ 20-22 กิโลกรัม มีคุณภาพสูง และเตาเผาสามารถเผาได้ประมาณ 100-150 ครั้ง หรือประมาณ2-3 ปี (ขึ้นอยู่กับความถี่ของการใช้งาน) โดยนำถ่านที่ได้ใส่ถุงหรือกระสอบ แล้วนำไปเก็บที่ไม่มีความชื้น ไม่มีความร้อนสูงเกินไป รวมทั้งไม่มีแสงแดดส่อง หรืออากาศถ่ายเทสะดวก 

การทำน้ำส้มควันไม้ให้บริสุทธิ์ สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
 1. ปล่อยให้ตกตะกอน โดยนำน้ำควันไม้มาเก็บในถังทรงสูง มีความสูงมากกว่าความกว้างประมาณ 3 เท่า และทิ้งให้ตกตะกอนประมาณ 90 วัน น้ำส้มควันไม้ก็จะตกตะกอนแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นน้ำมันใส (light oil) ชั้นกลางเป็นของเหลวสีชา คือ น้ำส้มควันไม้ และชั้นล่างสุดจะเป็นของเหลวข้นสีดำคือน้ำมันดิบ หากนำผงถ่านมาผสมประมาณ 5 % โดยน้ำหนัก ผงถ่านจะดูดวับทั้งน้ำมันใสและน้ำมันดิบให้ตกตะกอนลงสู่ชั้นล่างสุดในเวลาที่เร็วขึ้น ประมาณ 45 วัน แต่ทั้งนี้อาจมีสารบางตัวที่เป็นประโยชน์ออกไปบ้างและค่า ph หรือค่าความเป็นกรดเป็นด่างอาจเปลี่ยนไปเมื่อปล่อยให้น้ำส้มควันไม้ตกตะกอนจนครบกำหนด ใช้ระยะเวลา 3 เดือน แล้วจึงนำน้ำส้ม   ควันไม้มากรองอีกครั้งด้วยผ้ากรอง แล้วจึงนำมาใช้ประโยชน์
2. การกรอง โดยใช้ผ้ากรองหรือถังถ่านกรองที่ใช้ผงถ่านกัมมันต์ (Activated charcoal) ซึ่งคุณสมบัติแตกต่างกันไป เพราะถ่านกัมมันต์จะลดความเป็นกรดของน้ำส้มควันไม้
3. การกลั่น โดยกลั่นได้ทั้งในความดันบรรยากาศ และกลั่นแบบลดความดันรวมทั้งกลั่นแบบลำดับส่วนเพื่อแยกเฉพาะสารใดสารหนึ่งในน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ ส่วนมากมักใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยา
อย่างไรก็ตามทั้งการกรองและการกลั่นต้องทำหลังจากการตกตะกอนแล้วเท่านั้น เนื่องจากต้องรอให้เกิดปฏิกิริยาในน้ำส้มควันไม้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ก่อน

การนำไปใช้งาน

1. ใช้ในครัวเรือน
ความเข้มข้น 100%  รักษาแผลสด น้ำร้อนและไฟลวก น้ำกัดเท้า เชื้อราที่ผิวหนัง
ผสมน้ำ 20 เท่า   ราดฆ่าปลวกและมด
ผสมน้ำ 50 เท่า   ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง ฯลฯ
ผสมน้ำ 100 เท่า   ดับกลิ่นในห้องน้ำ ครัว และบริเวณชื้นแฉะ ดับกลิ่น
2. ใช้ในการเกษตร
ผสมน้ำ 20 เท่า  ใช้พ่นลงดินก่อนการเพาะปลูก 10 วัน ฆ่าเชื้อราโรคโคนเน่า
ผสมน้ำ 50 เท่า  พ่นลงดิน ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าทำลายพืช
ผสมน้ำ 200 เท่า ฉีดพ่นที่ใบ ช่วยขับไล่แมลง และกำจัดเชื้อรา และกระตุ้นความต้านทานโรคของพืช
ผสมน้ำ 500 เท่า  ฉีดพ่น 15 วัน หลังติดผล ช่วยให้ผลโตขึ้น ฉีดพ่นก่อนเก็บ 20 วัน
ผสมน้ำ 1,000 เท่า ผสมสารจับใบป้องกันหนอนแมลง
3. ใช้ในปศุสัตว์
ผสมน้ำ 100 เท่า ลดกลิ่นและแมลงในคอกสัตว์
ใช้ผสมอาหารสัตว์ ยับยั้งการเกิดแก๊สในกระเพาะ ป้องกันและรักษาอาการท้องเสีย เพิ่มปริมาณน้ำนม ลดกลิ่นมูลสัตว์ ปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัตว์ให้รสดี

นายดอน  ช่างเก็บ
อาสาสมัคร  กศน.ตำบลโคกไทย
หมู่   6  บ้านหนองแสง   ต.โคกไทย  อ.ศรีมโหสถ  จ.ปราจีนบุรี




* 9%20(Custom).jpg (30.14 KB, 400x300 - ดู 4672 ครั้ง.)

* JPG_9.jpg (105.77 KB, 533x400 - ดู 4250 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #122 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 11:03:02 »

แหนแดง

แหนแดง (อังกฤษ: Mosquito fern, Water fern) เป็นพืชน้ำเล็ก ๆ พวกเฟิร์นพบเจริญเติบโตอยู่บนผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่นทั่วไป

ลักษณะ

แหนแดงเป็นเฟินน้ำ ขนาดเล็ก ลอยบนผิวน้ำ ต้นแก่ที่ได้รับแสงเต็มที่จะเป็นสีแดงคล้ำ ต้นอ่อนหรือได้รับแสงไม่เต็มที่จะเป็นสีเขียว แตกกิ่งแบบขนนก รากเป็นรากพิเศษ ยาวอยู่ทางด้านใต้ของลำต้น ทั้งต้นและกิ่งมีใบขนาดเล็กปกคลุม เรียงสลับซ้อนกัน ใบแต่ละใบแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบนหนา สีเขียวหรือสีแดง ส่วนล่างบางอยู่ใต้น้ำ ไม่ค่อยมีสี ใบล่างสุดสร้าง sporocrap 2-4 อัน ที่แกนของใบด้านใต้ใบ ภายในมีเมกะสปอร์และไมโครสปอร์

ในใบของแหนแดงมีโพรงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่อาศัยของ Anabenaeซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabenaeได้รับสารอาหารจากแหนแดง ส่วนแหนแดงจะได้ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจนของ Anabenae

องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่โปรตีน ไขมัน และเซลลูโลส แร่ธาตุ แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักที่สำคัญได้แก่ ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปตัสเซียม และจุลธาตุที่สำคัญได้แก่ เหล็ก และ โมลิบดินัม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ไนโตรจิเนส ในการตรึงไนโตรเจน แหนแดงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 5 – 45องศาเซลเซียส เจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 20 – 30 องศาเซลเซียส แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่มีแสงประมาณ 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ของแสงสว่าง พีเอชที่เหมาะสมที่แหนแดงเจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือ 4.0 – 5.5 ความลึกของน้ำความลึกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแหนแดงคือประมาณ 10 เซนติเมตร

ประโยชน์ของแหนแดง
แหนแดงเป็นพืชน้ำมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น และแหนแดงมีโปรตีนสูง เน่าสลายปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน โดยที่ในโพรงใบแหนแดง สามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำหรับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ แหนแดงมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C : N) อยู่ระหว่าง 8 – 13 หลังถูกไถกลบ จะย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในระยะเวลาที่สั้นประมาณ 8 สัปดาห์ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงจะคลุมผิวน้ำป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้ำ ทำให้วัชพืชในน้ำเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
แหนแดงสามารถเลี้ยงได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแหนแดงในนาข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลา พบว่า มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตข้าวใกล้เคียงกับการเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีตามปกติ และยังให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว
โครงสร้างของชีวมวลของแหนแดงมีหมู่คาร์บอกซิลและหมู่ฟอสเฟตจึงใช้เป็นตัวดูดซับโลหะหนักได้ โดยแหนแดงที่ทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมคลอไรด์จะดูดซับ ตะกั่ว แคดเมียม ทองแดงและสังกะสีในน้ำเสียได้ดี

การขยายพันธุ์ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เมื่อต้นมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
2. การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์สืบพันธุ์เพศผู้ และเพศเมีย

สายพันธุ์ของแหนแดง : ที่ใช้ในนาข้าว
 1. Azolla filiculoides
2. Azolla pinnata
3. Azolla critata
4. Azolla rubra
5. Azolla nilotica

วิธีการเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์
 1. เลี้ยงในบ่อดินโคลน กระถาง และซีเมนต์ (คล้ายกับการเลี้ยงบัว)
2. เลี้ยงในบ่อธรรมชาติ โดยเลี้ยงในกระชัง
3. เลี้ยงในแปลงโดยตรง

การใช้แหนแดงในนาข้าว :
 1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงในพื้นที่ 20 -25 ตารางเมตร เพื่อใช้สำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในน่าข้าวให้ลึก 5 – 10 เซนติเมตร
3. ใช้แหนแดงในอัตรา 50 – 100 กิโลกรัม/ไร่ ในวันที่ใส่แหนแดงควรมีการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่) ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสอัตรา 3 กิโลกรัม/ไร่
4. ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์อีกครั้งเมื่อแหนแดงมีอายุ 7 – 10 วัน

แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักเหมือนพืชสีเขียวชนิดอื่นๆ ยกเว้นไนโตรเจน รวมทั้งต้องการธาตุอาหารรองในการเจริญเติบโตด้วยในดินนาทั่วไปฟอสฟอรัสมีความจำเป็นต่อแหนแดงมาก ถ้าปริมาณฟอสฟอรัสในดินต่ำเกินไป จะส่งผลให้การเจริญเติบโต และปริมาณการตรึงไนโตรเจนลดลง

ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของแหนแดง (% ต่อกรัมของน้ำหนักแห้ง)
ไนโตรเจน ( % )..........ฟอสฟอรัส ( % )...........โปแตสเซียม ( % )
3.71..........................0.25...........................1.25

ปริมาณไนโตรเจนที่ได้จากแหนแดงแต่ละช่วงอายุ
ลักกษณะการใช้แหนแดง............................................................ปริมาณไนโตรเจน( กิโลกรัม/ไร่)
1. เลี้ยงก่อนปักดำข้าว 20 วัน แล้วทำการไถ่กลบ.............................................9-17
2. เลี้ยงก่อนปักดำข้าว 30 วัน แล้วทำการไถ่กลบ.............................................12-25
3. เลี้ยงพร้อมการปักดำข้าว ให้เจริญในแปลงข้าว 20 วัน......................................7-15
4. เลี้ยงพร้อมการปักดำข้าว ให้เจริญในแปลงข้าว 20 วัน......................................12-20

ข้อสังเกต :
1. น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงแหนแดง ระดับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงไม่ควรสูงเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือ 10- 30 เซนติเมตร และแหนแดงจะตายเมื่อในนาขาดน้ำ
2. แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีน้ำนิ่ง หรือมีกระแสน้ำไหลเป็นเวลาอย่างช้าๆ บริเวณคลื่นลมจัดจะทำให้แหนแดงแตกกระจายออกจากกัน ทำให้การเจริญเติบโต และการตรึงไนโตรเจนลดลงอย่างมาก
3. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae สามารถทำได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีไนโตรเจนต่ำ
4. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae จะมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และจะหยุดกระบวนการตรึงไนโตรเจนในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส

โดย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นันทกร บุญเกิด
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักงานวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี




* 118006.jpg (65.38 KB, 600x450 - ดู 4264 ครั้ง.)

* Azolla5.jpg (116.47 KB, 500x375 - ดู 3352 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #123 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 12:33:20 »


 สุดยอดกระทู้ชาวนาจริงๆครับ กระทู้นี้ ใครได้ทำตามกระทู้นี้สักครึงนึงนี่ก็สุดยอดแล้วครับ เข้ามาอ่านกระทู้นี้ทีไรอยากออกงาน ไปทำนาให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเลย ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #124 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 14:19:16 »

ขอบคุณทุกท่านที่คอยติดตามครับ หวังว่าบทความต่าง ๆ ที่นำมาลงจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยกับผู้สนใจในการทำนาข้าว หรือนำไปประยุกต์ในการทำนาของตัวเองเพราะแต่ละคนอาจมีวิธีการทำนาไม่เหมือนกันทั้งสภาพพื้นที่เพาะปลูก  ปัจจัยอื่น ๆ ทางด้านแรงงาน เครื่องจักร ความพร้อมต่าง ๆที่ไม่เหมือนกันครับ

พักสายตากับนาขั้นบันไดในเขตภาคเหนือบ้านเราครับ...


* E12884870-32.jpg (165.35 KB, 1100x699 - ดู 2116 ครั้ง.)

* E12884870-33.jpg (166.3 KB, 1100x699 - ดู 2214 ครั้ง.)

* E12884870-34.jpg (156.72 KB, 1100x699 - ดู 2270 ครั้ง.)

* E12884870-41.jpg (151.89 KB, 900x604 - ดู 2285 ครั้ง.)

* E12884870-58.jpg (157.32 KB, 898x604 - ดู 2096 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #125 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 14:42:32 »

ไปดูหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในเวียดนามทางเหนือกันบ้างครับ เป็นหมู่บ้านของชาวไทดำ เชื้อชาติเดียวกันคนไทย  บ้านจะเป็นบ้าน 2 ชั้นมีใต้ถุนข้างล่างสำหรับเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ หลังคาจะเป็นหญ้าคา รั้วก็จะเป็นไม้ไผ่ เหมือนกับบ้านทางเหนือเราสมัยก่อน หมู่บ้านนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งมีบ้านพักหรือเกสเฮาส์ให้พักอาศัย คนที่นี่เราพูดคุยภาษาไทยกับเค้าได้รู้เรื่องครับ  ที่นี่นอกจากมีรายได้จากการปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์แล้วยังมีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการท่องเที่ยวอีกด้วย


* wb0509_t610_r12203.jpg (166.11 KB, 800x533 - ดู 2254 ครั้ง.)

* wb0509_t610_r12215.jpg (136.41 KB, 800x533 - ดู 2113 ครั้ง.)

* wb0509_t610_r12219.jpg (155.31 KB, 800x533 - ดู 2934 ครั้ง.)

* wb0509_t610_r12224.jpg (247.91 KB, 800x533 - ดู 2143 ครั้ง.)

* wb0509_t610_r12230.jpg (155.31 KB, 800x533 - ดู 3839 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #126 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 14:52:20 »

เกษตรอินทรีย์ก็ดีไปอย่างครับ ดูเค้าไปนาไม่ใส่รองเท้าตั้งแต่ออกบ้านเลยเป็นวิถีที่เรียบง่ายดีครับ จึงเป็นจุดดึงดูดให้คนมาเที่ยวกัน


* wb0509_t610_r12232.jpg (150.86 KB, 800x533 - ดู 2606 ครั้ง.)

* wb0509_t610_r12235.jpg (188.67 KB, 800x533 - ดู 6599 ครั้ง.)

* wb0509_t610_r12237.jpg (187.33 KB, 800x533 - ดู 1969 ครั้ง.)

* wb0509_t610_r12247.jpg (169.36 KB, 800x533 - ดู 1958 ครั้ง.)

* wb0509_t610_r12273.jpg (116.86 KB, 800x532 - ดู 1972 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #127 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 15:06:08 »

ข้าวเป็นอาหารหลักของคนเอเชีย แต่ละพื้นที่ก็มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ต่างกันคราวนี้ลองไปดูหมู่บ้านชาวนาที่ญี่ปุ่นกันบ้างครับ..

หมู่บ้านชิราคาวาโกะ (Shirakawa-go)


หมู่บ้านมรดกโลกชิราคาวาโกะและบริเวณโกคายาม่า ที่อยู่ใกล้กันเป็นหมู่บ้านชาวนาที่ตั้งอยู่ในหุบเขาตามลำน้ำ Shogawa ตามแนวสันเขาที่ทอดยาวตั้งแต่เขตจังหวัด Gifu ถึง Toyama ชิราคาวาโกะ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 1995 มีบ้านแบบกัสโชสึคุริ (Gassho-zukuri) เป็นบ้านชาวนาโบราณที่มีอายุมากกว่า 250 ปี

บ้านในแบบกัสโชสึคุริ บ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ชื่อนี้ได้มาจากคำว่า “กัสโช” ซึ่งแปลว่า “พนมมือ” ตามรูปแบบของบ้านที่หลังคาชันถึง 60 องศา มีลักษณะคล้ายสองมือที่พนมเข้าหากัน ตัวบ้านมีความยาวประมาณ 18 เมตร และมีความกว้าง 10 เมตร ซึ่งมีโครงสร้างของบ้านสร้างขึ้นโดยไม่ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียวอีกทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างต่างๆ ล้วนแต่มาจากวัสดุจากธรรมชาติทั้งสิ้น อย่างต้นหญ้าที่ปลูกไว้เพื่อนำมาใช้มุงเป็นหลังคาขนาดหนาแต่ยังคงความแข็งแรงสามารถรองรับหิมะที่ตกมาอย่างหนักในช่วงฤดูหนาวได้เป็นอย่างดี

หมู่บ้านเหล่านี้ อยู่บนภูเขาในพื้นที่ห่างไกล บนพื้นที่ราบสูงฮิดะ (Hida) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี 1995 พื้นที่ของหมู่บ้านท่ามกลางหุบเขา และธรรมชาติของใบไม้ที่ผลิใบสีเขียวสดใสในฤดูใบไม้ผลิ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงในฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาวที่หมู่บ้านถูกปกคลุมไปด้วยสีขาวหมดจดของหิมะ หมู่บ้านมีความเป็นมาและคงความเป็นอยู่ดังมนต์ขลังแห่งเทพนิยาย ลักษณะของบ้านที่สร้างตามแบบเฉพาะนี้ (Gassho Style) มีหลังคาเป็นสามเหลี่ยมทรงสูงคล้ายลักษณะการพนมมือ เมื่อยามที่สวดมนต์ โครงสร้างภายในจะเป็นหลายชั้น อาจเป็น 3 หรือ 4 ชั้น มีรายละเอียดพิถีพิถัน และมีลักษณะเฉพาะออกไปตามการใช้งาน และแสดงถึงความชาญฉลาดของผู้ปลูกสร้าง และอยู่อาศัย ภายในจะมีผ้าไหมที่รอปูรองไว้เพื่อให้ความอบอุ่นเมื่อยามหน้าหนาวมาเยือน ที่พื้นบ้านในชั้นแรกหลังคาที่มีมุมประมาณ 60 องศา เพื่อให้หิมะไหลได้ง่ายป้องกันการทับถมของหิมะในยามที่หิมะตกหนัก

จุดท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในการสัมผัสบรรยากาศคือการพักค้างคืนในหมู่บ้านชาวนา มีบ้านหลายๆ หลังเปิดให้เป็นที่พักในแบบที่เรียกว่า Minshuku โดยเฉพาะที่ Ogimachi เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่สุดของชิราคาวาโกะ บ้านวาดะ (Wada) และ บ้านนางาเสะ (Nagase) ในโอกิมาชิ (Ogimashi) เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อที่จะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ว่าชาวบ้านดำรงชีวิตอย่างไรในอดีตที่ผ่านมา  โดยเฉพาะในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมทุกปี จะมีประเพณีลุยน้ำ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากที่ โกคายาม่า (Gokayama) มี หมู่บ้านอาอิโนะคุระ (Ainokura) ที่ซึ่งหมู่บ้านตั้งตระหง่านท้าทายขุนเขาอยู่ตลอดเวลา และ หมู่บ้านสุกะนุมะ (Suganuma) กับบ้าน 9 หลังที่รวมอยู่ในบ้าน 2 หลัง เป็นสิ่งล้ำค่าที่จะได้มาสัมผัสกับบ้านที่เป็นวัฒนธรรมอันเก่าแก่ และมีค่าของญี่ปุ่นนี้ จุดชมวิวของ ปราสาทโอกิมาชิ (Ogimashi) ได้รับความนิยมมากสำหรับการชมทัศนียภาพของหมู่บ้านชิราคาวาโกะ จะสามารถมองเห็นหมู่บ้าน 59 หลังคาเรือน จุดชมวิวนี้เหมาะมากกับการชมภาพมุมกว้างของหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นความเขียวชอุ่มของฤดูใบไม้ผลิ สีน้ำตาลแดงของฤดูใบไม้ร่วง หรือว่าในยามที่มีหิมะตกปกคลุม




* shirakawa_go01.jpg (162.41 KB, 730x450 - ดู 1932 ครั้ง.)

* shirakawa_go02.jpg (121.73 KB, 730x350 - ดู 3586 ครั้ง.)

* shirakawa_go03.jpg (123.2 KB, 730x350 - ดู 2989 ครั้ง.)

* shirakawago-1.jpg (187.85 KB, 800x600 - ดู 4078 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #128 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 15:46:24 »

เริ่มทำนาปรังในปี 2556

ช่วงเตรียมดิน

การทำนาปรังในทางบ้านเราจะมีช่วงเวลาในการพักดินอยู่ประมาณเกือบ 2 เดือน ช่วงนี้ชาวนาบางส่วนนิยมไถตากดินเพื่อทำการพลิกดินชั้นล่างขึ้นมาสัมผัสออกซิเจนรวมถึงเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืชนอกจากนี้ยังเป็นการฆ่าเชื้อโรคและไข่ของศัตรูพืชใต้ดินช่วงนี้ใครมีปุ๋ยคอกแห้ง ๆ ที่ยังไม่ได้หมักมาหว่านด้วยก็ได้เพื่อช่วยตากแดดทำลายเชื้อราที่อยู่ในมูลสัตว์สาเหตุของโรคพืชได้ทางหนึ่ง และการไถตากก็เหมาะสำหรับคนที่ต้องการทำคันนาใหม่เพราะดินแห้งจะทำให้รถขึ้นคันนาได้ง่ายและดินแน่นกว่า


* DSCN0427_resize.JPG (224.33 KB, 750x563 - ดู 1883 ครั้ง.)

* DSCN0428_resize.JPG (177.17 KB, 750x563 - ดู 1880 ครั้ง.)

* IMG_7636_resize.JPG (103.73 KB, 750x563 - ดู 1902 ครั้ง.)

* DSCN0770_resize.JPG (189.95 KB, 750x563 - ดู 1861 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #129 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 16:01:17 »

หลังจากที่มีการตากดินพอสมควรแล้วเมื่อใกล้การปลูกข้าวจะต้องนำน้ำลงในนาข้าวอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์เพื่อให้ดินอมน้ำจะได้เตรียมดินทำเทือกได้ง่ายและเป็นจากย่อยสลายเศษฟางข้าวและเศษวัชพืชช่วงนี้ควรมีการฉีดพ่น หรือเติมน้ำหมักจุลินทรีย์ลงไปด้วยเพื่อให้ช่วยย่อยสลายเศษฟางข้าวให้เร็วมากขึ้นอีกทั้งช่วยย่อยปุ๋ยให้เป็นธาตุอาหารสำหรับข้าวต่อไป และถ้าทางเทคนิคที่ดีควรปล่อยน้ำลงก่อนซัก3 สัปดาห์ให้ท่วมดินซัก 2-3 วันให้ชุ่มและปล่อยน้ำให้แห้งเพื่อเป็นการล่อข้าวดีด เมล็ดข้าวที่ร่วงในนาก่อนหน้านี้และวัชพืชให้ขึ้น ปล่อยให้เจริญเติมโตซัก1-2 สัปดาห์และค่อยปล่อยน้ำลงอีกตอนนี้จะทำการปั่นหรือไถแปร และทำเทือกต่อได้จะช่วยลดปริมาณข้าวดีดข้าวเด้ง และวัชพืชได้อีกทางหนึ่งครับ

การปล่อยน้ำลงในนา  นาของผมติดคลองชลประทานครับใช้ระบบกาลักน้ำครับ สะดวกไม่มีค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันหรือไฟฟ้า ใช้หลักการสุญญากาศใช้แรงดันน้ำที่ไหลจากสูงลงที่ต่ำเท่านั้นเอง
วิธีการง่าย ๆ คือ
- ปิดปลายท่อด้านต่ำ คือจุดปล่อยน้ำ
- เติมน้ำในท่อให้เต็ม
- ปิดฝาท่อที่เราเติมน้ำลงไป
- เปิดไปปลายท่อด้านต่ำ น้ำก็จะไหลและดูน้ำจากคลองชลประทานครับ



* DSCN0779_resize.JPG (156.42 KB, 750x563 - ดู 1855 ครั้ง.)

* DSCN0787_resize.JPG (214.73 KB, 750x563 - ดู 1848 ครั้ง.)

* DSCN0788_resize.JPG (217.07 KB, 750x563 - ดู 1901 ครั้ง.)

* DSCN0733_resize.JPG (210.1 KB, 750x563 - ดู 1837 ครั้ง.)

* DSCN0734_resize.JPG (162.55 KB, 750x563 - ดู 1869 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
Khunplong
สมาชิกลงทะเบียน
มัธยม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 836



« ตอบ #130 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 16:02:00 »

ขอบคุณการแบ่งปันความรู้จากท่านทั้งในกระทู้ของน้องดรีม กระทู้นวัตกรรมสิ่งประดิษฐิ์ทางการเกษตรและกระทู้นี้ครับ อ่านกระทู้ท่านแล้วอยากมีที่นาในเร็ววันเสียจริงๆ ผมมีแต่ไร่ อยากปลูกข้าวไร่พันธุ์ดีๆ ไว้กินทั้งข้าวเหนียวและข้าวจ้าว ขอคำแนะนำหน่อยนะครับ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

ไร่จันทร์กะสิน By Khunplong (ขุนปล้อง)
08-9432-5413(DTAC)09-3130-9451(AIS) @140 ม.10 ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย 57230 https://www.facebook.com/jatupong.tapiang
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,176



« ตอบ #131 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 16:05:28 »

ความรู้เยอะเลย แฮะๆๆ ยังอ่านไม่หมด ความรู้เยอะๆๆแบบนี้ แม่บอกว่า ก็ไปถามอ้ายเขาฮั่นก่า อี้ว่าเจ้า รอน้องดรีมลงมือทำท่าจะได้แวะไปแอ่วเวียงชัยหมั่นผ่องเน้อเจ้า
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #132 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 19:35:31 »

ขอบคุณการแบ่งปันความรู้จากท่านทั้งในกระทู้ของน้องดรีม กระทู้นวัตกรรมสิ่งประดิษฐิ์ทางการเกษตรและกระทู้นี้ครับ อ่านกระทู้ท่านแล้วอยากมีที่นาในเร็ววันเสียจริงๆ ผมมีแต่ไร่ อยากปลูกข้าวไร่พันธุ์ดีๆ ไว้กินทั้งข้าวเหนียวและข้าวจ้าว ขอคำแนะนำหน่อยนะครับ ยิ้มกว้างๆ

ขอบคุณครับเอาไว้จะเอาข้อมูลมาลงให้นะครับ

ความรู้เยอะเลย แฮะๆๆ ยังอ่านไม่หมด ความรู้เยอะๆๆแบบนี้ แม่บอกว่า ก็ไปถามอ้ายเขาฮั่นก่า อี้ว่าเจ้า รอน้องดรีมลงมือทำท่าจะได้แวะไปแอ่วเวียงชัยหมั่นผ่องเน้อเจ้า

มาแวะมาแอ่วถามข้อมูลได้ครับ แถวบ้านมีนาตัวอย่างให้ดูทั้งนาหว่าน นาโยน นาดำ ครับ อย่างนาโยนอ้ายต้น(ton-ao)  เจ้าของกระทู้นาโยน  ที่เปิ้นเพาะก็อยู่ห่างจากบ้านผมน้อยเดียวบ่าถึง 300 ม.ครับ วันก่อนก็ไปดูเปิ้นทำ ได้ช่วยเปิ้นเรียงถาดอยู่ครับอีกประมาณยี่สิบกว่าวันคงเริ่มโยนแล้วครับ

ยืมรูปจากกระทู้นาโยนมาครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #133 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 20:26:23 »

หลังจากเอาน้ำลงแล้วหากมีน้ำจุลินทรีย์ก็นำมาพ่นหรือสาดให้ทั่วแปลงนาครับ หากมีเวลาน้อยอาจปล่อยในส่วนทางน้ำเข้าในแต่ละแปลงให้กระจายกันเองน้ำจุลินทรีย์หากเราตักน้ำจุลินทรีย์ออกไปเราสามารถต่อเชื้อหรือขยายโดยการเติมน้ำเปล่าและกากน้ำตาลลงไปเพื่อให้เป็นอาหารของจุลินทรีย์อีกไม่กี่วันจุลินทรีย์ก็แพร่กระจายตัวเอง  สามารถใช้ต่อเชื้อได้เรื่อย ๆ ครับ 

หลังจากปล่อยน้ำเข้านาแล้วปล่อยไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก็สามารถเริ่มย่ำเทือกได้ ผมจะเริ่มใช้รถย่ำเทือกในวันเสาร์อาทิตย์ที่จะถึงนี้ วันนึงสามารถทำได้สิบกว่าไร่หากเป็นรถไถเดินตามอาจได้น้อยกว่านี้ และจะกดหน้าดินและชักร่องอีกครั้งในวันที่ 16 และหว่านวันที่ 17 นี้ครับ จริง ๆ แล้วเราสามารถย่ำเทือกและทำลูบเทือกและชักร่องน้ำต่อได้เลย แต่ผมมีข้อจำกัดเรื่องเวลาไม่สามารถลางานได้นาน ๆ  และจะต้องรอให้พร้อมกับชาวนาท่านอื่นที่ทำนาอยู่ถัดไปเพื่อที่จะสามารถปล่อยน้ำออกได้  ได้เอาไว้จะนำรูปมาให้ดูครับ


* DSCN0824_resize.JPG (213.82 KB, 750x563 - ดู 1795 ครั้ง.)

* DSCN0833_resize.JPG (127.47 KB, 750x563 - ดู 1770 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #134 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 20:38:51 »

รถที่ผมใช้สำหรับทำเทือกครับเครื่องดีเซล 1 สูบขนาด 14 แรงม้าเครื่องเดียวกับรถอีแต๋นมีข้อได้เปรียบตรงไม่ติดหล่มที่แม้แต่รถแทรกเตอร์ที่ติดกันทรุดก็ลงไม่ได้เพราะล้อหลังเป็นตีนเหล็กขนาดใหญ่ และยังช่วยให้ย่ำดินให้แตกค่อนข้างดี แต่หากใส่ล้อแบบนี้แล้วถอยหลังในนาไม่ได้นะครับไม่งั้นล้อจะจม หากไถนาดินแห้งทั้งวันจะได้ประมาณวันละ 6-7 ไร่ใช้น้ำมันประมาณ 200 บาทต่อวันที่ลิตรละ 30 บาท แต่ถ้าตอนทำเทือกพร้อมลูบเทือกชักร่องได้ประมาณวันละ 13 ไร่ ใช้น้ำมันวันละ 380 บาท ถือว่าประหยัดน้ำมันทีเดียวแต่ไม่เป็นที่นิยมทั่วไปเพราะคันเล็กจะต้องเปลี่ยนล้อไปมา ราคาที่ซื้อตอนนั้น 175000 บาทตอนนี้ทางคูโบต้าเองเลิกผลิตไปแล้วครับแต่อะไหล่ยังหาได้ง่ายอยู่


* IMG_3173_resize.JPG (114.75 KB, 700x525 - ดู 2056 ครั้ง.)

* IMG_3128_resize.JPG (93.93 KB, 700x525 - ดู 1790 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #135 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 20:46:17 »

ทีมงานอาชีพแถวบ้านครับ  มากันเป็นทีม ทั้งปั่น ทั้งทำเทือก ชักร่องในคราวเดียวกันสังเกตุท่อ PVC บนหลังคาจะใช้ลากในนาเพื่อใช้ลูบเทือกดินให้เรียบจะมีการเพิ่มน้ำหนักในท่อโดยการใส่น้ำเข้าไปการชักร่องจะใช้ล้อรถไถเองทำร่องน้ำในนาครับ  รถแทรกเตอร์แบบนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบันเพราะสามารถทั้งไถนา ปั่นา ทำเทือก ปรับดินได้ เหตุที่มากันหลายคันทั้งช่วยให้งานเสร็จไว้แล้วยังสามารถช่วยเหลือกันได้สำหรับเวลารถติดหล่มครับ


* DSCN0809_resize.jpg (248.93 KB, 1000x750 - ดู 1869 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #136 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 21:36:14 »

หากว่าคุณเป็นคนช่างสงสัย สังเกตุเกี่ยวกับข้าวจะสังเกตุชาวนาไหมครับว่าทำไมคนนู้นทำไมทำแบบนี้ครับเดี๋ยวจะมีเล่าให้ฟังครับ


ทำไมต้องมีการคัดพันธุ์เมล็ดข้าว

หากเคย VDO รายคุณอุ้ม ฉันจะเป็นชาวนาที่ไปดูงานที่มูลนิธิข้าวขวัญที่มีการคัดเมล็ดข้าวทีละเมล็ด หรือแม้แต่หลายการคนค้นคน ตอน ตุ๊หล่างเด็กหนุ่มเลือกชาวนาที่พิธีพิถันในการคัดข้าวเพื่อทำพันธุ์ต่อไปว่าทำไปเพื่ออะไรจะมาเฉลยกันครับ เมล็ดข้าวนอกจากดูภายนอกที่ต้องสมบูรณ์ที่ไม่ลีบเป็นเชื้อราแล้วจะต้องดูขนาดของเมล็ดครับเพื่ออะไรเพราะเมล็ดใหญ่จะมีอาหารสะสมในเมล็ดมากกว่าข้าวช่วงแรก ๆ จะกินอาหารจากเมล็ด ส่งผลให้ต้นกล้าออกมาเติบโตได้ดีกว่าแข็งแรงกว่า มีรากมากกว่าเมล็ดเล็ก ออกรวงมากและสมบูรณ์กว่าเมล็ดเล็กครับลองพิสูจน์โดยการปลูกในกระถางเปรียบเทียบดูครับ


* untitled.jpg (9.13 KB, 300x150 - ดู 1753 ครั้ง.)

* 1.JPG (43.48 KB, 915x618 - ดู 1776 ครั้ง.)

* photo.jpg (82.03 KB, 800x373 - ดู 1793 ครั้ง.)

* 0.jpg (18.52 KB, 480x360 - ดู 1763 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #137 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 21:58:45 »

ความลึกของระดับน้ำในนาข้าว

ควรมีระดับน้ำที่พอดี 5-10 ซม. เพราะว่าหากน้ำลึกข้าวจะสูงระบบรากจะไม่ดีเพราะขาดอากาศ ต้นข้าวจะอ่อนแอ

ปริมาณน้ำในนาข้าว

- ในนาข้าวหากข้าวได้รับน้ำสม่ำเสมอรากจะน้อยแต่ถ้าขาดน้ำรากจะยาวขึ้นเพื่อหาแหล่งน้ำแต่ละต้นของต้นข้าวอาจโตไม่สม่ำเสมอ
- แปลงข้าวในที่ต่ำจะมีความชื้นสูงแต่อากาศในดินน้อย ตรงดอนมีความชื้อต่ำแต่มีอากาศในดินมาก

อุณหภูมิหนาวกับร้อนมีผลอย่างไรกับต้นข้าว
มีบางคนถามผมว่าอุณหภูมิเกี่ยวข้องอย่างไรกับข้าว ขอตอบว่าดังนี้ครับ ข้าวในบ้านเราซึ่งอยู่ในเขตร้อนจะเจริญเติบโตได้ช้าหากว่าเจออุณหภูมิต่ำ จะเห็นว่านาของบางพื้นที่เสียหายเนื่องจากเจอสภาวะอากาศเย็นครับ ยิ่งอากาศเย็นจะทำให้ใบเหลืองมีโอกาสตายได้ด้วย อยากรู้ว่าจิงไม๊ลองพิสูจน์โดยการปลูกข้าวพันธุ์เดียวกันในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนโดยวัดความสูงของต้นข้าวในแต่ละวันดูครับว่าแตกต่างกันมากน้อยเพียงไหน ยิ่งอากาศหนาวจะเกิดน้ำค้างเกาะใบข้าวพอช่วงเที่ยงเจออากาศร้อนทำให้เกิดโรคจากเชื้อราได้อีกครับ ช่วงนี้อาจต้องฉีดพ่นยากำจัดเชื้อรา หรือใช้เชื้อราควบคุมกันเองก็ได้ครับ หรือถ้าดูง่าย ๆ เรามักถนอมอาหารโดยการนำผัก เนื้อสัตว์ไปแช่ตู้เย็นก็เพราะจุลินทรีย์ทำงานได้ช้า แม้แต่การเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์วิจัยก็จะต้องเก็บไว้ในห้องเย็นที่มีอุณภูมิต่ำ ๆ อีกด้วย การปลูกข้าวในช่วงหน้าหนาวควรศึกษาพันธุ์ข้าวให้ดีว่าพันธุ์ที่เราปลูกชอบอากาศแบบไหนมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากน้อยเพียงใดด้วย



* 1.JPG (72.35 KB, 654x576 - ดู 1774 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 11 มกราคม 2013, 08:54:43 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #138 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 22:16:15 »

ความเข้มของแสง

ที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าพืชแทบทุกชนิดต้องการแสงแดงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงแต่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพันธุ์พืชอีกที ข้าวก็เช่นกันครับเป็นพืชที่ต้องการแสงมากเคยสังเกตุไหมครับว่า

- ในช่วงวันที่มีแสงแดดน้อยติดต่อกันหลาย ๆ วันต้นข้าวจะดูอ่อนแอป่วยง่าย สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะข้าวสร้างอาหารได้ไม่เต็มที่เหมือนคนที่กินข้าวไม่อิ่มหรือไม่ได้กินข้าวเลยร่างกายก็อ่อนแอไม่มีแรง ข้าวก็เช่นกัน ถ้าแสงน้อยต้นข้าวก็สูงเพราะต้องพยายามยืดตัวเพื่อรับแสงเคยสังเกตุต้นไม้ที่จะเอียงไปทางทิศทางของแดดไหมครับ ยังไม่พอกาบใบจะยาวอีกต่างหาก รู้แบบนี้แล้วควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในบริเวณที่มีร่มไม้ อาคารบ้านเรือนบังแสงแดดครับเพื่อให้ข้าวปรุงอาหารได้เต็มที่จะได้ผลผลิตมากตามมา ถ้าข้าวอ่อนแอแล้วก็มีโอกาสเป็นโรคสูงด้วยเช่นกันครับ


* scince_p44_clip_image002.jpg (11.96 KB, 400x273 - ดู 14795 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #139 เมื่อ: วันที่ 10 มกราคม 2013, 22:26:20 »

เปิดโลกของ ตุ๊หล่าง แก่นคำหล้า พิลาน้อย ผู้ซึ่งรักและศรัทธาในอาชีพชาวนา

อาชีพชาวนา คือ อาชีพแห่งเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นอาชีพที่คนมักมองข้ามทั้ง ๆ ที่เป็นอาชีพสำคัญมากอาชีพหนึ่งที่สังคมนี้จะขาดไปไม่ได้ เปรียบเหมือนคุณค่าของเมล็ดข้าวที่เป็นดั่งอาหารหล่อเลี้ยงสังคมโลกมาอย่าง ยาวนาน และวันนี้เราอยากให้คุณรู้จักกับผู้ที่มีความเชื่อ และศรัทธาอันมั่นคงกับอาชีพ ๆ นี้ ซึ่งเขาผู้นั้นคือ แก่นคำหล้า พิลาน้อย หรือ ตุ๊หล่าง ชายหนุ่มวัย 28 ปี ที่เคยได้รับรางวัลคนนอกกรอบ จาก คนค้นฅนอวอร์ ครั้งที่ 9 และเขาคนนี้ยังป็นที่รู้จักกันดีในนามผู้พลิกฟื้นเกษตรกรรมให้กับชาวอีสาน อีกด้วย

แก่น คำหล้า พิลาน้อย หรือ ตุ๊หล่าง เด็กหนุ่มลูกอีสานชาวจังหวัดยโสธร ครอบครัวของเขาประกอบอาชีพทำนา เด็กหนุ่มคนนี้จึงมีสายเลือดของชาวนาอยู่อย่างเต็มเปี่ยม เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนกุดชุมวิทยาคมซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ ตุ๊หล่าง ก็หันหลังให้กับการศึกษาในห้องเรียน หันมาสู่โลกของการเกษตรกรรม ด้วยเพราะเล็งเห็นว่าบทบาทของอาชีพชาวนากับคนรุ่นหลังเริ่มเลือนลางลงทุกที

ทั้งนี้ ตุ๊หล่าง บอกว่า จากการสำรวจผู้คนในหมู่บ้านที่เขาอาศัยอยู่ ทั้งหมด 400 หลังคาเรือน รวมกว่า 1,000 คน พบว่ามีอยู่เพียง 200 คนเท่านั้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อรู้สึกว่าผู้คนเริ่มมองข้ามอาชีพนี้เขาจึงมีความคิดที่จะพัฒนางานด้าน การเกษตรให้คงอยู่กับคนอีสาน แม้ว่าความจริงแล้วตุ๊หล่างเคยฝันอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่อย่างไรเสีย หากยังไม่หมดลมหายใจ ตุ๊หล่าง คิดว่าเขาก็ยังมีโอกาสศึกษาต่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ แต่ถ้าอาชีพเกษตรกรรมยังไม่รีบอนุรักษ์สืบทอดไว้ อาจจะสูญสิ้นไปได้

"ผมว่าโลกแห่งเกษตรกรรมเป็นโลกของการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผม ผมจึงคิดว่าเราน่าจะแสวงหาความรู้จากโลกเกษตรกรรมเสียก่อน เพราะสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น การผสมพันธุ์ข้าว การทำอย่างนี้มันมีความละเอียดกว่าคนที่เรียนจบปริญญาตรียิ่งเสียอีก และประสบการณ์ในการทำงานมันมีค่ามากว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยด้วย" ตุ๊หล่าง บอกอย่างนั้น

ด้วยความมุ่งมั่นและศรัทธาในการเป็นชาวนา ตุ๊หล่างจึงคิดเสมอว่างานเกษตรกรรมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต เขามีความสุขกับการทำนาแม้ว่าแผ่นดินทำกินของเขาตั้งอยู่บนเงื่อนไขของนา แล้งเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ในภาคอีสาน แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรค กลับยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ชายคนนี้คิดแก้ปัญหา จนในที่สุด อดีตนักเรียน ม.ปลาย ก็กลายมาเป็นหนุ่มชาวนา นักปรับปรุงพันธุ์ข้าว เขาสามารถสร้างพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ขึ้นบนผืนดินที่แห้งแล้งได้สำเร็จ

เมื่อเวลาแห่งความมุ่งมั่นของ ตุ๊หล่าง สัมฤทธิ์ผล เขาจึงกระจายความรู้ที่มีออกไปยังชาวนาทุกสารทิศ ด้วยความหวังจะพัฒนาอาชีพชาวนาให้กลับมาสดใส ในขณะที่สังคมกำลังให้ความสำคัญกับอาชีพชาวนาน้อยลงทุกที ไม่เว้นแม้แต่ชาวนาด้วยกันเองที่ปัจจุบันส่วนใหญ่หมดความภาคภูมิใจในอาชีพ ปลูกข้าวเลี้ยงคน เพราะความทุกข์เข็ญจากภาระหนี้สินที่พอกพูนจนชดใช้ทั้งชีวิตก็อาจไม่หมด และมักที่จะผลักดันลูกหลานให้ถอยห่างออกไปจากท้องไร่ท้องนา ห่างจากอาชีพชาวนา มุ่งหน้าสู่เมืองใหญ่ เพื่อแสวงโชค หาเงิน และวาดหวังถึงชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

"ทุกคนเกิดมาต้องกินข้าว เพราะข้าวถือเป็นอาหารหลัก แต่มนุษย์กลับให้ความสำคัญในสิ่งนี้น้อยลงไปทุกวัน อยากฝากถึงบุคคลทุกประเภทและทุกอายุว่า อย่าดูถูกอาชีพชาวนา หรือการเกษตรกรรม เหตุที่ทำให้อาชีพเกษตรกรรมกำลังจะหายไปจากสังคมเป็นเพราะคนในระดับที่สูง กว่าดูถูกอาชีพนี้ ด้วยเหตุที่ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมเอาเงินเป็นที่ตั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ชีวิตไม่มีความหมาย ทั้ง ๆ ที่จากความจริงชีวิตคนเรามีคุณค่าสูงกว่าจำนวนเงิน แต่เมื่อคนเห็นความสำคัญของเงินนั้น คนย่อมทิ้งความเป็นคน"

ทุกวันนี้ ชีวิตของ ตุ๊หล่าง ดำเนิน ไปอย่างเรียบง่ายในแบบฉบับชาวไร่ชาวนา เขาเน้นหลักความพอเพียง ที่เจ้าตัวให้นิยามว่า แค่เป็นคนดีก็เพียงพอแล้ว เพราะคนเราถ้ามีเงินเป็นแสนเป็นล้าน หากไม่มีคุณธรรมและเป็นคนดีสังคมก็อยู่ไม่รอด

"ผมว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการใช้ชีวิตคือ เราต้องมีความเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่ทำ รวมทั้งต้องพึ่งพาตนเอง และแบ่งปันผู้อื่นด้วย ผมเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่อยู่เป็นโขลง ถ้าเรารอดอยู่คนดียว แล้วคนอื่นตายหมด เราจะอยู่ไปเพื่ออะไร ดังนั้น การทำพันธุ์ข้าวไม่ใช่เพื่อตนเอง แต่เพื่อความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ชาติ" ตุ๊หล่าง กล่าว

และนี่คือมุมมองของหนุ่มนักพัฒนาการเกษตร ที่หัวใจเต็มเปี่ยมด้วยแรงแห่งความรักในอาชีพชาวนา เขาค้นพบความสุขจากการพึ่งตน และแบ่งปันในสิ่งที่ตัวเองรู้ เพื่อพาเพื่อนมนุษย์ไปสู่ทางรอดร่วมกัน ชาวนาแท้แบบตุ๊หล่าง จึงไม่เพียงแต่ปลูกข้าวเลี้ยงคน แต่ยังเป็นอาชีพที่บ่มเพาะผู้คนให้เดินไปสู่หนทางแห่งความดีงาม



















* 1316848048.jpg (49.09 KB, 350x525 - ดู 1794 ครั้ง.)

* 1316848593.jpg (69.65 KB, 400x311 - ดู 1789 ครั้ง.)

* 1316848649.jpg (58.05 KB, 400x311 - ดู 2036 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!