เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 07:51:12
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 406054 ครั้ง)
HARLEY DAVIDSON
BIKER
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,537


HARLEY DAVIDSON & MERCEDES BENZ


« ตอบ #60 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 12:00:41 »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลการเกษตรที่ดี ๆ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ขาดแคลนเงินตรา  แต่งชุดนักศึกษามาหาพี่
สุขใดไหนจะเท่า เมื่อล้วงกระเป๋าแล้วเจอตังค์
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #61 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 13:04:22 »

พูดถึงโรคและแมลงศัตรูข้าวอาจทำให้หลายคนกังวลว่าทำไมมันมากมายขนาดนี้ แต่ในทางธรรมชาติแล้วเราสามารถใช้เทคนิคการดูแลต้นข้าวได้หลายวิธี ยกตัวอย่างการควบคุมแมลงศัตรูข้าวโดยชีววิธี โดยการใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน ในการควบคุมสามารถใช้ สมุนไพรขับไล่แมลงควบคู่กันไปด้วยเพราะตัวห้ำตัวเบียนไม่ได้กินใบ หรือรบกวนต้นข้าวเพียงใช้เป็นแหล่งหาอาหารหรือที่อยู่อาศัยเท่านั้น

แมลงตัวห้ำตัวเบียน

แม้ว่าแมลงจะมีการสืบพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถแพร่พันธุ์เพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว แต่แมลงก็มีศัตรูธรรมชาติมากมายที่คอยควบคุมประชากรของแมลงให้อยู่ในสมดุล ศัตรูธรรมชาติของแมลงได้แก่ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันตรายต่อแมลง และอีกอย่างได้แก่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่เป็นศัตรูของแมลง ที่สำคัญก็คือแมลงด้วยกันเอง แมลงหลายชนิดที่กินหรืออยู่ภายในหรือภายนอกตัวของแมลงชนิดอื่น แมลง
เหล่านี้เราเรียกว่าตัวห้ำและตัวเบียนซึ่งปกติแล้วจะมีอยู่จำนวนมากพอที่จะควบคุมจำนวนประชากรของแมลงชนิดหนึ่ง ๆ ให้อยู่ในสมดุลคือ ไม่ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ แต่มาถึงปัจจุบันมนุษย์ได้ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ไปเสียมาก ทั้งที่ฆ่ามันโดยตรงและที่ไปรบกวนเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ ซึ่งกระทบกระเทือนต่อวงจรชีวิตของมัน จนทำให้แมลงตัวห้ำและตัวเบียนน้อยลงเรื่อย ๆ จนไม่เพียงพอจะกำจัดแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันได้มีการช่วยเพิ่มปริมาณแมลงตัวห้ำและตัวเบียนเช่น การผลิตแมลงเหล่านี้แล้วนำไปปล่อยในธรรมชาติ
เรียกวิธีการนี้ว่า การป้องกันกำจัดแมลงแบบชีววิธี ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

แมลงตัวห้ำ
แมลงตัวห้ำหมายถึง แมลงที่กินแมลงเป็นอาหาร แมลงตัวห้ำ
จะมีลักษณะที่สำคัญต่างจากแมลงตัวเบียนคือ

1. ส่วนมากมีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าเหยื่อที่ใช้เป็นอาหาร
2. ส่วนมากกินเหยื่อโดยการกัดกินตัวเหยื่อ ทำให้เหยื่อตายทันที
3. ตัวห้ำจะกินเหยื่อหนึ่งตัวหรือมากกว่าในแต่ละมื้ออาหาร ดังนั้นจึงกินเหยื่อได้หลายตัวตลอดช่วงชีวิตการเจริญเติบโตของมัน
4. ตัวห้ำจะอาศัยอยู่คนละที่กับแมลงที่เป็นเหยื่อ และออกหาอาหารในที่ต่าง ๆ กันในแต่ละมื้อ

แมลงตัวห้ำมีมากมายหลายชนิดและมีอยู่ในเกือบทุกกลุ่มของแมลง เช่น ตั๊กแตนตำข้าว ด้วงบางชนิด แมลงวันบางชนิด ต่อแตนและมวนบางชนิด ส่วนแมลงปอ และแมลงช้างนั้นเกือบทุกชนิดเป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญทางการเกษตร แมลงตัวห้ำแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ พวกที่มีความว่องไว กระตือรือล้นในการออกหาเหยื่อ พวกนี้มักจะมีอวัยวะที่ดัดแปลงไปเพื่อช่วยในการจับเหยื่อ เช่น มีขายื่นยาวสำหรับจับเหยื่อ เช่น ตั๊กแตนตำข้าว บ้างก็มีตาใหญ่เพื่อจะได้เห็นเหยื่อได้ชัดเจน เช่น แมลงปอ เป็นต้น อีกพวกได้แก่ พวกที่กินเหยื่ออยู่กับที่ เช่น ด้วงเต่าลายกินเพลี้ยอ่อน ซึ่งไม่มีอวัยวะดัดแปลงเป็นพิเศษแต่อย่างใด แมลงตัวห้ำที่มีปากแบบกัดกินจะกัดเหยื่อเป็นชิ้น ๆ แล้วเคี้ยวกินเป็นอาหารเช่น ตั๊กแตนตำข้าว แมลงปอ เป็นต้น ส่วนตัวห้ำที่มีปากแบบแทงดูดจะแทงปากเข้าไปดูดกินของเหลวต่าง ๆ ในตัวแมลงจนแห้งเหลือแต่ซากแล้วทิ้งไป เช่น มวนเพชฌฆาต แมลงบางชนิดเป็นแมลงตัวห้ำทั้งในระยะที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เช่น แมลงปอ ด้วงดิน แต่แมลงบางชนิดเป็นตัวห้ำเฉพาะตอนเป็นตัวอ่อนเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะกินน้ำหวานหรือเกสรดอกไม้แทน เช่น แมลงวันดอกไม้ และบางชนิดก็เป็นตัวห้ำตอนเป็นตัวเต็มวัยในขณะที่เป็นตัวอ่อนจะกินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร เช่นแมลงวันหัวบุบ เป็นต้น

ได้มีการนำแมลงตัวห้ำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูทางการเกษตรประสบผลสำเร็จมาแล้วหลายตัวอย่าง ในต่างประเทศได้ใช้ด้วงเต่าลายทำลายเพลี้ยแป้งในสวนส้มด้วงเต่ายังสามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้เป็นอย่างดีจนกระทั่งมีการผลิตด้วงพวกนี้จำนวนมากเป็นการค้า เกษตรกรสามารถหาซื้อแล้วนำมาปล่อยในสวนของตนเพื่อช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ แมลงช้างปีกใสก็เช่นกันมีการผลิตออกมาขายในลักษณะเป็นไข่ที่สามารถนำไปวางในสวนเพื่อช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อนและมด เป็นต้น



* 40.jpg (29.52 KB, 536x399 - ดู 5210 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #62 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 13:09:26 »

แมลงตัวเบียน
แมลงตัวเบียนเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญทางเศรษฐกิจของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด แมลงตัวเบียนจะกินแมลงชนิดอื่นเป็นอาหารในลักษณะที่แตกต่างจากแมลงตัวห้ำ คือ

1. อาศัยกินอยู่ตัวเหหยื่อภายนอกหรือภายใน และอาศัยกินอยู่ในลักษณะนี้เป็นเวลานานตลอดวงจรชีวิต หรืออย่างน้อยก็ระยะหนึ่งของวงจรชีวิต
2. ตัวเบียนมีขนาดเล็กกว่าเหยื่อมาก ส่วนใหญ่เหยื่อหนึ่งตัวจะมีตัวเบียนอาศัยอยู่จำนวนมากมาย
3. ตัวเบียนจะค่อย ๆ ดูดกินอาหารจากเหยื่ออย่างช้า ๆ และทำให้เหยื่อตายเมื่อตัวเบียนเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
4. ใช้เหยื่อเพียงตัวเดียวตลอดระยะการเจริญเติบโตของตัวเบียน


แมลงตัวเบียนของแมลงด้วยกันเองแตกต่างจากแมลงตัวเบียนสัตว์ชนิดอื่น คือทำให้แมลงที่เป็นเหยื่อตายในที่สุด แต่แมลงตัวเบียนสัตว์ชนิดอื่น เช่น หมัด ไรไก่ หรือเหา จะแค่ดูดเลือดและแร่ธาตุอาหารก่อให้เกิดอันตรายบ้างแต่ไม่ถึงกับตาย ความสัมพันธ์ระหว่างแมลงตัวเบียนและแมลงศัตรูพืชนั้นค่อนข้างเฉพาะเจาะจง บางชนิดจะทำลายแมลงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น เฉพาะแมลงในกลุ่มพวกต่อแตนและแมลงวันบางชนิดเท่านั้นที่เป็นแมลงตัวเบียน (ตารางที่ 3) แมลงตัวเบียนจะทำลายเหยื่อในระยะต่าง ๆ กัน บางชนิดทำลายไข่ของเหยื่อบางชนิดทำลายตัวอ่อนหรือดักแด้ โดยปกติจะไม่ทำลายตัวเต็มวัยของแมลง แมลงส่วนมากเป็นตัวเบียนตอนเป็นตัวอ่อน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะหากินเป็นอิสระ ตัวเบียนบางชนิดอาศัยในตัวแมลง และเจริญเติบโตโดยใช้น้ำเลี้ยงในตัวแมลงเป็นอาหารแต่บางชนิดก็อาศัยอยู่ภายนอกและทำแผลขึ้นที่ผิวหนังของเหยื่อเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจากภายใน

วงจรชีวิตของแมลงตัวเบียนเริ่มต้นจากตัวเบียนมาวางไข่ โดยใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปวางไข่ในตัวเหยื่อหรือบนตัวเหยื่อ ส่วนมากจะวางไข่หลายฟองแล้วจากไปหาเหยื่อตัวอื่น เพื่อวางไข่ต่อไป โดยมิได้ดูแลตัวอ่อนที่จะฟักออกมา แต่ตัวเบียนบางตัวจะปล่อยสารพิษออกมาก่อนเพื่อจะให้เหยื่อเป็นอัมพาตจะได้วางไข่ได้ง่ายขึ้น และอาจนำเหยื่อที่มันวางไข่บนตัวแล้วมาใส่ไว้ในรังที่มันสร้างขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าตัวอ่อนที่ฟักออกมาจะมีทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย ปลอดภัยจากศัตรูตัวอ่อนของแมลงตัวเบียนเมื่อฟักออกจากไข่แล้วจะกินแร่ธาตุอาหารจากตัวเหยื่อ โดยเหยื่อก็จะยังคงมีชีวิตต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับตัวเบียนก็เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อแมลงตัวเบียนเติบโตเต็มที่แล้วจะเข้าดักแด้อาจเข้าดักแด้ภายในหรือภายนอกตัวแมลงซึ่งถึงขณะนี้แมลงที่เป็นเหยื่อ
จะถูกดูดกินไปหมดแล้ว อาจเหลือเพียงเปลือกผนังลำต้นเท่านั้น จากนั้นตัวเบียนก็จะเจริญเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งมีชีวิตอยู่เป็นอิสระกินน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร

ในธรรมชาติมีแมลงตัวเบียนหลายชนิดช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชอยู่แล้ว แต่มนุษย์เราก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น มีการผลิตแตนเบียนหลายชนิด แล้วนำไข่ไปปล่อยในแปลงปลูกพืช เช่นแตนเบียนฝอยไตรโคแกรมม่า ซึ่งเป็นแตนเบียนไข่ของหนอนผีเสื้อหลายชนิด ในประเทศไทย ได้มีการผลิตแตนเบียนชนิดนี้ในไข่ของผีเสื้อข้าวสาร แล้วนำไปปล่อยในแปลงอ้อย เพื่อใช้กำจัดหนอนกอทำลายอ้อย นอกจากนี้มีการนำแตนเบียนจากที่หนึ่งไปปราบแมลงซึ่งกำลังระบาดอีกที่หนึ่ง ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายและจำหน่ายแตนเบียนที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรหลายชนิดด้วย






* 41.jpg (29.97 KB, 448x358 - ดู 6115 ครั้ง.)

* 42.jpg (120.04 KB, 450x330 - ดู 5339 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #63 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 13:17:25 »

กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร

จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจนกว่ามันจะเกาะกลุ่มกัน จุลินทรีย์มีอยู่ในธรรมชาติ ทั้งในน้ำ ในอากาศและในดิน มีทั้งที่เป็นอันตรายต่อการทำให้เกิดโรคกับพืช มนุษย์ สัตว์และที่เป็นประโยชน์ในการสร้างสารปฏิชีวนะทางการแพทย์


1. จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing Microorganisms) ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มแบคทีเรีย เพราะทำงานเร็วและมีจำนวนอยู่มาก โดยครึ่งหนึ่งของมวลจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกคือ แบคทีเรีย แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องอยู่ร่วมกับตัวอื่นถึงจะตรึงไนโตรเจนได้แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน (Symbiosis) เช่น ไรโซเบียม (Rhizobium sp.) ในปมรากพืชตระกูลถั่ว และอีกกลุ่มหนึ่งที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างอิสระ (Non-Symbiosis)


2. จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือเซลลูโลส (Cellulolytic Microorganisms หรือ Cellulolytic Decomposers) เป็นพวกที่ย่อยสลายเซลลูโลส หรือซากพืช ซากสัตว์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา แอคติโนมัยซิท และโปรโตซัว จุลินทรีย์พวกนี้พบได้ทั่วไประหว่างการสลายตัวของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ซากพืช ซษกสัตว์ ใบไม้ กิ่งไม้ เศษหญ้า และขยะอินทรีย์ชนิดต่างๆ ทำให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ขึ้นมาได้เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

ในปุ๋ยหมักที่มีกิจกรรมจุลินทรีย์ค่อนข้างดีพบว่าในทุก 1 กรัมของปุ๋ยหมักจะต้องมีแบคทีเรีย 150-300 ไมโครกรัมและมีแบคทีเรียที่มีกิจกรรมสูง (Active) อยู่ 15-30 ไมโครกรัม มีเชื้อรา 150-200 ไมโครกรัมและมีเชื้อราที่มีกิจกรรมสูง 2-10 ไมโครกรัม มีพวกโปรโตซัว ซึ่งจะย่อยสลายเศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ต้องมีถึงประมาณ 10,000 ตัวต่อ 1 กรัมของปุ๋ยหมัก และมีพวกไส้เดือนฝอยชนิดที่เป็นประโยชน์ 50-100 ตัว


3. จุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆ (Phosphate and Other Nutrient Elements Solubilizing Microorganisms) จุลินทรีย์พวกนี้สามารถทำให้ธาตุอาหารพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ที่มักอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ ให้ละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ช่วยส่งเสริมให้รากพืชดูดกินธาตุอาหารพืชได้ดีขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือดูดกินได้น้อย

       จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการแปรสภาพฟอสฟอรัสจะมีทั้งกลุ่มที่ทำหน้าที่เปลี่ยนอินทรีย์ฟอสฟอรัสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ในกรณีของสารอินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูปของไฟทิน และกรดฟอสฟอรัส จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างเอนไซม์ Phytase, Phosphatase, Nucleotidases และ Glecerophosphatase เพื่อแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่เรียกว่า ออโธฟอสเฟต (Orthophosphate) ซึ่งเป็นพวกโมโน (Mono) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (Dihydrogen Phosphate) จุลินทรีย์ดังกล่าวได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Bacillus sp. และราในสกุล Aspergillus sp., Thiobacillus, Penicillium sp. และ Rhizopus sp. เป็นต้น นอกจากนี้สารประกอบอนินทรีย์ฟอสฟอรัสบางชนิดในรูปของหินฟอสเฟตซึ่งพืชยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้จุลินทรีย์บางชนิดในสกุล Bacillus sp. และ Aspergillus sp. จะสร้างกรดอินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสออกมาให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ นอกจากนี้เชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Fungi) ยังมีบทบาทในการละลายและส่งเสริมการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัส


4. จุลินทรีย์ที่ผลิตสารป้องกันและทำลายโรคพืช  จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียพวกที่ก่อโรคบางชนิด เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acids Bacteria) ได้แก่ Lactobacillus spp. บนใบพืชที่สมบูรณ์และมีสุขภาพดีแจะพบแบคทีเรียกลุ่มผลิตกรดแลคติกมาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Microorganisms) และมีประโยชน์อย่างมากในการเกษตร เช่น เปลี่ยนสภาพดินจากดินไม่ดีหรือดินที่สะสมโรคให้กลายเป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชให้มีจำนวนน้อยลง มีประโยชน์ทั้งกับพืชและสัตว์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสร้างสารปฏิชีวนะออกมาทำลาลเชื้อโรคพืชบางชนิด เช่น เชื้อรา Aspergillus sp., Trichoderma sp. และเชื้อแอคติโนมัยซิทพวก Streptomyces sp.


5. จุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนพืช แบคทีเรียหลายสายพันธุ์ เช่น Bacillus sp. สามารถสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช



* 43.jpg (58.63 KB, 640x480 - ดู 4892 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #64 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 13:52:35 »

วัชพืชในนาข้าว


1. วัชพืชในนาชลประทาน
  • ชนิดวัชพืชที่สำคัญ
- หญ้าข้าวนก - ขาเขียด
- หญ้านกสีชมพู - กกขนาก
- หญ้าแดง - กกทราย
- หญ้าดอกขาว - หนวดปลาดุก
- ผักปอดนา - ผักแว่น
 
 
2. วัชพืชในนาน้ำฝน
  • ชนิดวัชพืชที่สำคัญ
- หญ้าข้าวนก - หญ้าปากควาย
- หญ้านกสีชมพู - หญ้าตีนนก
- หญ้าแดง - หญ้าแพรก
- หญ้าดอกขาว - หญ้าชะกาดน้ำเค็ม
- ผักปอดนา - หญ้าตีนกา
- ขาเขียด - หญ้าชันกาศ
- กกขนาก - หญ้ารังนก
- กกทราย - หญ้ากุศลา
- ผักแว่น - ผักเบี้ยหิน
- ผักบุ้ง - ปอวัชพืช  
- เซ่งใบมน - สะอึก
- ผักปราบนา - ผักโขมไร้หนาม
- เทียนนา - โสนหางไก่
- หนวดปลาดุก - ผักงวงช้าง
-  โสนคางคก - กะเม็ง
- หญ้าหางหมาจิ้งจอก - ถั่วลิสงนา

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เนื่องจากเนื้อหาติดลิขสิทธิ์ครับ  http://www.brrd.in.th/rkb/weed/index.php.htm  


* 44.jpg (119.76 KB, 864x648 - ดู 6198 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #65 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 20:50:45 »

“เดชา ศิริภัทร” ปราชญ์ชาวนา “ทำนาผิดวิธี” อนาคต “สิ้นนา สิ้นชาติ”

แม้ว่า “มูลนิธิข้าวขวัญ” จะจดทะเบียนเป็นมูลนิธิในปี 2541 แต่ อาจารย์ “เดชา ศิริภัทร” เริ่มต้นการทำงานอย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหาชาวนาตั้งแต่จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคมในปี 2532

อาจารย์เดชาเล่าว่า การทำงานพัฒนาหรืองานช่วยท้องถิ่นจะเริ่มต้นที่ “ปัญหา” เป็นตัวตั้ง ซึ่งเมื่อกลับมาก็เห็นปัญหาของสุพรรณคือ “ชาวนา” ที่มีจำนวนมาก และปัญหาของชาวนาคือทำงานไม่ถูกวิธี ซึ่งเมื่อนำเทคนิคที่เราถนัดมาจับ พบว่าเทคนิคของชาวนาผิดหมดเลย

การทำนาในปัจจุบันกับทำนาในสมัยโบราณต่างกันมาก อาจารย์เดชาเล่าว่า ก่อนจะไปเรียนมหาวิทยาลัยขอนแก่นปี 2508 ตอนนั้นการทำนายังเป็นสมัยโบราณ ใช้พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน คือ ปลูกปีละหน ใช้ควายไถนา วิธีการก็หว่านให้มันขึ้นเอง พอน้ำท่วมก็ปล่อยให้จมไป พอน้ำลดก็เกี่ยว วิธีการแบบนี้ทำมาเป็นพันปีไม่เป็นไร เพราะไม่ใช้ปัจจัยอะไรเลย เกี่ยวข้าวได้เท่าไรก็เท่านั้น แม้จะได้กำไรน้อยมาก แต่ได้เท่าไรก็เป็นกำไรหมด

แต่พอเรียนจบมหาวิทยาลัยปี 2512 อาจารย์เดชาเล่าว่า มีข้าวพันธุ์ใหม่มา คือ ข้าว กข.1 เป็นข้าวนาปรัง ปลูกได้ทั้งปี แต่ถ้าน้ำท่วมจะปลูกไม่ได้เพราะมันไม่จมน้ำ ก็กลายเป็นว่า แทนที่จะปลูกหน้าฝนถึงหน้าน้ำ ก็เปลี่ยนมาปลูกหน้าแล้งตลอด พอหน้าน้ำจะมาก็เลิกปลูก ดังนั้น แทนที่จะปลูกข้าวปีละครั้ง ก็ปลูกปีละ 2 ครั้ง โดยปลูกในช่วงหน้าแล้ง 8 เดือน ได้ 2 ครั้ง ยิ่งพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมและมีชลประทานมาถึงจะปลูกได้ทั้งปีหรือปีละ 3-4 ครั้ง แต่พันธ์ข้าวพื้นบ้านปลูก 4 เดือนได้ครั้งเดียว

“พันธุ์ข้าวใหม่พวกนี้นำการเปลี่ยนแปลงมาเนื่องจากปลูกได้ปีละหลายๆ หนและผลผลิตสูง แต่ผลผลิตสูงก็ต้องการปัจจัยเยอะ ปุ๋ยเคมีก็เข้ามา ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ฮอร์โมนต่างๆ ก็มา และ ธ.ก.ส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) ก็เข้ามา”

ช่วงจังหวะเวลาดังกล่าว สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คือ ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรก ปี 2504 – 2509 กับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ตั้งแต่ปี 2510-2514

อาจารย์เดชาสรุปให้ฟังสั้นๆ ว่า แผนพัฒนาฯ ฉบับแรก เป็นการวางแผนเตรียมคน เตรียมเขื่อน เตรียมพันธุ์ข้าว พอมาถึงแผนฯ ฉบับที่ 2 ก็เริ่มส่งเสริม ตั้งกรมส่งเสริมการเกษตร ตั้ง ธ.ก.ส. มีพันธุ์ข้าวใหม่มาส่งเสริมให้ชาวนาทำ มีการตั้งเกษตรตำบล และเขตไหนมีชลประทานไปถึง ทางการก็เอาพันธุ์ข้าวใหม่มาแลกเอาพันธุ์ข้าวเก่าไปเก็บเพื่อให้ชาวนาปลูกพันธุ์ข้าวใหม่แทน ทำให้ชาวนาทิ้งพันธุ์ข้าวเก่า ตอนนี้ชาวนาไม่ปลูกพันธุ์พื้นบ้านกันแล้ว แต่การทำนาสมัยใหม่ทำให้เกิดปัญหาคือ

1. ชาวนามีปัญหาหนี้สินเยอะ

2. ทำนาแล้วมีแต่ขายนา

3. ทำนาแล้วลูกหลานหนีหมด

“ปัญหาดังกล่าวทำให้แทนที่ชาวนาจะเป็นกระดูกสันหลังก็กลับกลายเป็นรากหญ้า แบบนี้เขาเรียกว่า ‘ดูถูก’ และชาวนาก็ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องไปขอให้คนอื่นเขาช่วย เข้าโครงการจำนำข้าวทีก็เอาเงินมาปลดหนี้ที แบบนี้ทั้งตัวเองไม่รอดและเดือดร้อนคนอื่นด้วย”

ประธานมูลนิธิข้าวขวัญแสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายจำนำข้าว เพราะเห็นว่าเป็นการสร้างเดือนร้อนคนอื่น รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีจากคนอื่นมาซื้อข้าวในโครงการรับจำนำมาเก็บไว้ แต่ละปีต้องใช้เงิน 300,000 ล้านบาทขึ้นไป นั่นคือเงินภาษีต้องไปกองไว้ปีละ 300,000 ล้านบาทขึ้นไปเพื่อช่วยชาวนา พอรับจำนำเสร็จแล้วก็ต้องนำไปขาย ซึ่งแต่ละปีรัฐบาลต้องขาดทุนอีกปีละ 100,000 กว่าล้านบาทเป็นอย่างน้อย

แสดงว่าแต่ละปีต้องเสียเงินฟรีๆ ให้ชาวนาเป็น 100,000 ล้านบาท แล้วชาวนาทำอะไรให้บ้าง ชาวนากลายเป็นภาระของสังคมและเบียดเบียนคนอื่น

เพราะฉะนั้น ชาวนาต้องทำนาให้ถูกวิธี คือ ต้องมีต้นทุนต่ำ ไม่ใช่ต้นทุนสูงแบบนี้ และทำงานเสร็จแล้วต้องมีเงินเหลือโดยไม่ต้องไปทำอาชีพอื่น แต่ปัจจุบันชาวนาทำนาได้กำไรนิดเดียว ถ้าขาดทุนจะขาดทุนเยอะ ทำให้มีหนี้สินเป็นล้านบาท

ประธานมูลนิธิข้าวขวัญระบุว่า ชาวนาแถวสุพรรณบุรี ถ้าทำนาปรัง 3 ครั้ง มีหนี้เป็นล้าน แต่ทำนา 2 ครั้ง มีหนี้เป็นแสน ถ้าทำครั้งเดียวมีหนี้เป็นหมื่น เรียกว่า “ยิ่งทำหนี้ยิ่งเยอะ” เพราะยิ่งทำก็ได้เครดิตหรือสินเชื่อเพิ่มขึ้น ยิ่งกู้ก็ยิ่งมีหนี้มาก แต่มีรายได้ไม่เพียงพอ เพราะตัวเองขาดทุนอยู่แล้วจากการทำนาแบบต้นทุนสูง และมีความเสี่ยงเกิดโรคแมลงสูง เนื่องจากใช้วิธีเคมี ไม่ใช้ธรรมชาติ ทำให้โรคแมลงดื้อง่าย

ดังนั้น ปัญหาของชาวนาคือ มีต้นทุนสูง มีความเสี่ยงสูง และข้าวคุณภาพไม่ดี ทำให้ราคาข้าวตกต่ำ ขณะเดียวกันชาวนาไม่กินข้าวที่ตัวเองปลูก เพราะอันตราย ไม่อร่อย ต้องซื้อข้าวกิน ต้องพึ่งตลาด และตัวเองยังได้รับสารเคมีจากการทำนา มีโอกาสเป็นมะเร็ง เป็นเบาหวาน และเป็นโรคสารพัดเต็มไปหมดยิ่งกว่าคนเมืองเสียอีก

“ชาวนามีแต่ของเสียเต็มไปหมด และกระจายไปทั่วประเทศด้วย เพราะเวลาทำนาของเสียต่างๆ ไปกับน้ำ กับลม กับอากาศ คนซื้อข้าวกินก็กินข้าวที่ชาวนาไม่กิน จะเห็นว่าเป็นผลเสียทั้งประเทศ และไปเบียดบังภาษีที่คนอื่นต้องจ่าย แบบนี้ไม่มีอะไร ดีอย่างเดียวคือพวกนี้ประชานิยมง่าย รัฐบาลไหนสัญญาว่าจะให้ ชาวนาก็ไปลงคะแนนเลือกเขาหมด เพราะอ่อนแอ ต้องพึ่งรัฐบาล”

ที่เขาเรียกว่า ‘สิ้นนา สิ้นชาติ’ ก็แบบนี้แหละ” อาจารย์เดชากล่าวและบอกว่า ถ้าจะช่วยชาวนาต้องช่วยที่ต้นตอ คือการปลูกข้าวที่ถูกวิธี และต้องถูกทั้งทางโลกทางธรรม

ทางโลก คือ ต้นทุนต่ำ ใช้แรงงานน้อย ไม่เสี่ยงต่อการเสียหาย คุณภาพดี ไม่ทำลายธรรมชาติ และชาวนาสามารถมีรายได้พอกับการครองชีพ ไม่ต้องไปทำอาชีพอื่น ส่วนทางธรรม คือ ทำนาแบบไม่โลภ ไม่ต้องไปเบียดเบียนคนอื่น ไม่ต้องไปฆ่าสัตว์ ไม่ต้องไปทำร้ายผู้บริโภค ไม่ไปเอาของมีพิษให้คนอื่นกิน และตัวเองก็ไม่ทำบาป

“เราคิดแบบพุทธ คือ กำไรหรือขาดทุนอยู่ที่ปัจจัย ถ้าเราขายได้ถูกกว่าต้นทุนก็ขาดทุน ทั้งนี้ราคาข้าวเรากำหนดไม่ได้ เป็นปัจจัยภายนอกที่ขึ้นอยู่กับตลาด แต่ต้นทุนเรากำหนดได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเน้นที่ต้นทุนหรือสิ่งที่เรากำหนดได้ ถ้าปัจจัยข้างนอกดีเราก็ดีมากขึ้น ถ้าปัจจัยข้างนอกไม่ดีเราก็อยู่ได้เพราะต้นทุนต่ำ แต่ถ้าไม่ลดต้นทุนเลย รอให้ราคาข้าวแพงอย่างเดียวเมื่อไรจะได้ และถึงราคาข้าวจะแพง ถ้าเกิดโรคระบาดก็ไม่มีผลผลิตไปขาย แล้วจะมีรายได้อย่างไร เสียสองต่อเลย”

อาจารย์เดชาเล่าต่อว่า ทำนาวิธีใหม่ไม่มีการสอน ทุกอย่างเราต้องพัฒนาขึ้นมา แล้วเอาไปสอนชาวบ้าน ก่อนจะสอนต้องทำให้ได้ก่อน มีแปลงทดลอง ต้องทดลองจนรู้ได้ผลจริง เมื่อทดลองได้ผลจริงแล้วก็ไปหาชาวนาที่เขาต้องการลองจริงๆ ไปหาสัก 1-2 คน แล้วรับประกันให้เลยว่าถ้าไม่ได้ผลจะจ่ายชดเชยให้ ถ้าชาวนาคนนั้นผ่านได้ผลจริง ก็เอาไปสอนชาวบ้าน เพราะได้ผ่านการพิสูจน์จากชาวนาจริง ไม่ใช่เรา เพราะชาวนาเขามีปัจจัยบางอย่างควบคุมไม่ได้ แต่ถ้าเราควบคุมได้ ถ้าผ่านชาวนาไปแล้วปรับให้เข้ากับชาวนาส่วนใหญ่ก็ทำได้เลย

ชาวนาที่ทำนาตามวิธีใหม่แล้วประสบความสำเร็จคือ “คุณชัยพร พรหมพันธุ์” ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรให้เป็นเกษตรดีเด่นสาขาทำนา เมื่อปี 2538

“เราทำงานปี ’32 ลูกศิษย์เราได้รางวัลเกษตรกรดีเด่นดีเด่นระดับชาติ ในวันพืชมงคลเมื่อปี 38 เมื่อคุณชัยพรทำได้แล้วเราก็สังเกตดูว่าเป็นแกอย่างไร ตอนนั้นแกเริ่มจากมีที่นา 25 ไร่ ตอนนี้มี 108 ไร่ เขาซื้อเพิ่มเพราะว่ารวยขึ้น ได้กำไรปีละเป็นล้านบาท”

อาจารย์เดชาเล่าต่อว่า ตอนแรกคุณชัยพรมีที่นา 25 ไร่ แต่ถ้ามีที่น้อยกำไรก็น้อย จึงเช่าเขาเพิ่มเป็น 90 ไร่ เมื่อได้ที่ทำนา 90 ไร่ มีกำไรปีละเป็นล้าน ก็ไปซื้อนาเพิ่มขึ้นๆ จนมีนาเป็นของตัวเอง 108 ไร่ แบบนี้แสดงว่าได้ผลแน่ เราก็เอาตัวอย่างนี้ไปสอนต่อ ปรากฏว่าไม่มีใครทำเลย

“อยู่นี่มาตั้งแต่ปี ’32 เพื่อนบ้านเราเป็นสิบรายไม่มีสักคนทำตามเลย เขาใช้เคมีหมดเลย มีคนหนึ่งอยู่แถวนี้ มีหนี้อยู่ล้านสาม (1,300,000 บาท) ต้องเอานามาขายเรา เราก็ต้องซื้อไว้ ไม่นั้นจะโดนยึดนา แต่เหลือนาเท่าไรเขาก็ทำนาใช้เคมีเหมือนเดิม นี่ขนาดจะโดนยึดนายังไม่เข็ด”

ทั้งนี้ วิธีทำนาของมูลนิธิข้าวขวัญไม่ใช้เคมี ผลผลิตจะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ และแมลง แต่อาจารย์เดชายืนยันว่า ผลผลิตที่ได้เฉลี่ยมากกว่าใช้วิธีเคมีแน่นอน เนื่องจากต้นทุนต่ำกว่าเขา 2-3 เท่า คือต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาทต่อตัน คือ ทำนาได้ข้าว 1 ตันข้าวเปลือกมีต้นทุน 2,000 บาท ขณะที่ชาวนาทั่วไปต้นทุนอย่างน้อย 6,000 บาทขึ้นไป

เพราะฉะนั้น ถ้าคุณชัยพรขายข้าวได้ 2,000 บาทต่อตัน ก็เสมอตัว ถ้าขายได้ 4,000 บาทต่อตัน จะกำไร 100% และถ้าขายได้ 6,000 บาท ก็กำไร 200% ดังนั้นที่รัฐบาลรับจำนำข้าว 15,000 บาทต่อตัน ก็กำไรเกิน 10,000 บาท หรือขายได้ 13,000 บาท แต่ต้นทุน 2,000 บาท ก็กำไรตันละ 11,000 บาท

เหมือนเมื่อปี 2551 ตอนนั้นข้าวขึ้นไปราคา 13,000 บาท คุณชัยพรได้กำไรทั้งหมด 2 ล้านบาท ปีนั้นไม่มีโครงการจำนำข้าวแต่ข้าวแพงขึ้นเอง และเมื่อปี 2554 น้ำท่วม นาที่สุพรรณ ส่วนใหญ่ปรกติจะท่วมปลายเดือนกันยายน แต่ปีก่อนแค่วันที่ 10 กันยายน น้ำก็มาแล้ว คุณชัยพรต้องเกี่ยวข้าววันที่ 10 กันยายน เกี่ยวหลังจากนี้ไม่ได้ ทำให้ได้ข้าวเขียวมาก ขายได้ราคาไม่ดีเพียง 4,000 บาท จากราคาข้าวในตอนนั้น 8,000 บาท

อย่างไรก็ตาม แม้คุณชัยพรจะขายได้ 4,000 บาท แต่ก็ได้กำไร 2,000 บาท เนื่องจากมีต้นทุนเพียง 2,000 บาท แต่คนอื่นขาดทุนเพราะต้นทุนสูงกว่า

จากความสำเร็จของคุณชัยพร ซึ่งทำนาตามวิธีของมูลนิธิข้าวขวัญ ทำให้อาจารย์เดชามั่นใจว่า โมเดลการทำนาแบบคุณชัยพรจะทำให้ชาวนาไทยอยู่รอด และสามารถแข่งขันสู้ต่างประเทศได้หากเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน (เออีซี) เนื่องจากต้นทุนต่ำ แต่ปัญหาคือ ชาวนาคนอื่นๆ ไม่ทำตามโมเดลคุณชัยพร แม้แต่ชาวนารอบบ้านคุณชัยพรก็ไม่ทำตาม ทั้งที่เห็นชัดเจนว่าทำแบบคุณชัยพรแล้วกำไรดี ต้นทุนต่ำ ใช้แรงงานน้อย ไม่เป็นโรคแมลง

“ทุกอย่างดีหมด แต่ชาวบ้านบอกว่าไม่ทำหรอก เพราะทำแบบนี้ต้องเลิกใช้ปุ๋ยใช้ยา เขาเลิกไม่ได้ เขาบอกทำใจไม่ได้ นอนไม่หลับ ที่ทำใจไม่ได้ เพราะมีโฆษณาทุกวัน คนเมื่อถูกใส่โปรแกรมที่เขาเรียกว่า ‘ย้ำคิดย้ำทำ’ คุณต้องทำแบบนี้ดี ก็ลังเลว่าถ้าเราไม่ทำแบบนี้ก็ไม่ดีสิ โฆษณาแบบนี้ชาวนาไม่รอดหรอก เพราะคนเราไม่ได้อยู่ที่เหตุผล แต่อยู่ที่การให้ข้อมูล ผมพยายามส่งเสริมมาหลายปีแล้ว จะได้ผลก็เฉพาะกับคนที่ฉลาดจริงๆ เห็นโฆษณาแล้วไม่เชื่อ แต่คนส่วนใหญ่ 99.99% ไม่ฉลาดแบบนี้”

ทั้งนี้ อาจารย์เดชาบอกว่า ทำงานที่สุพรรณมากว่า 20 ปี แต่เครือข่ายลูกศิษย์ของมูลนิธิข้าวขวัญยังมีน้อยมาก หรือมีจำนวนเป็นเพียงหลักพันคนเท่านั้น แต่ชาวนามีตั้ง 18 ล้านคน

มีลูกศิษย์ที่มารับแนวคิดของมูลนิธิข้าวขวัญจากทั่วสารทิศ มีทั้งชาวนาแท้และไม่แท้ ชาวนาแท้ก็คือคนที่ทำนาเป็นอาชีพ ส่วนชาวนาไม่แท้คือคนทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่เป็นคนทำงานกรุงเทพฯ ดูรายการ “ฉันอยากเป็นชาวนา” ของอุ้ม (สิริยากร พุกกะเวส) ก็อยากมาเรียนที่นี่ ซึ่งโรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญ ได้เปิดหลักสูตรสำหรับคนกลุ่มนี้ 2 วัน 2 คืน เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์

“มาตั้งแต่เย็นวันศุกร์ สอนแค่ 2 วันก็ทำนาได้แล้ว และพาไปเยี่ยมชมนาคุณชัยพรครึ่งวันด้วยซ้ำ กลับเย็นวันอาทิตย์ไปทำนาเป็นแล้ว คนกลุ่มนี้ไม่มีที่นาก็ให้เราหาซื้อที่นาให้ เราก็ไปหาซื้อที่นาชาวบ้านให้ กลุ่มนี้จะเยอะขึ้น เพราะเขาอยากอิสระจากงานประจำ”

ประธานมูลนิธิข้าวขวัญกล่าวว่า เรามีทางเลือกที่ถูกต้องให้แล้ว แต่ชาวนาไม่เลือกเพราะถูกล้างสมอง เชื่อว่าถ้าไม่ถูกล้างสมองและโฆษณาได้เช่นกันในเวลาที่เท่าๆ กันชาวนาก็คงเลือก ถ้าไม่ให้โฆษณาก็ไม่เหมือนกัน แต่เราไม่มีเงินเหมือนบริษัทขายปุ๋ยขายยาฆ่าแมลง แบบนี้จึงเหมือนถูกมัดมือชก เขามีเงินทุนโฆษณาได้ทั้งวันทั้งคืน

“จริงๆ โครงการจำนำข้าวไม่ควรจะมีอยู่ เพราะทำให้ชาวนาไปหวังผิดๆ รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ห้ามไม่ให้โฆษณาก็ช่วยได้มากแล้ว จากนั้นชาวนาจะไปดูกันเองว่าทำนาแบบไหนที่ไหนดีก็ทำตามเขา ง่ายนิดเดียว ไม่เช่นนั้นจะแข่งกับเวียดนามกับพม่าได้อย่างไร ถ้าจะแข่งขันได้รัฐบาลต้องปล่อยให้คนของเราสู้กับเขาได้จริง ไม่ใช่อุ้ม ถ้าอุ้มจะเอาเงินที่ไหนมามากมาย เพราะไม่ได้ช่วยแต่ชาวนาอย่างเดียว”

ปัญหาของชาวนานั้น นอกจากเรื่องต้นทุนสูง มีความเสี่ยงโรคแมลง และคุณภาพข้าวแย่ จนทำให้ชาวนาเป็นหนี้สินล้นพ้น ต้องขายที่นาและลูกหลานทิ้งแล้ว ปัญหาเรื่องการที่ชาวนาไม่มีที่นาเป็นของตัวเอง ต้องเช่าที่เขาทำนา ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องแก้ไข เพราะทำให้ชาวนามีต้นทุนเพิ่มขึ้น และไม่มีความมั่นคงในอาชีพ แต่อาจารย์เดชามองว่า ปัญหาเช่าที่นาเป็นเรื่องหลัง เพราะดูอย่างคุณชัยพรก็เช่าที่นา แล้วทำไมสามารถซื้อที่นาเป็นของตัวเองได้ตั้ง 108 ไร่ เพราะเขามีกำไร

ดังนั้น ถ้าชาวนามีกำไรก็สามารถซื้อที่นาเป็นของตัวเองได้เช่นกัน แต่ตอนนี้ยิ่งเช่ายิ่งขาดทุนก็ยิ่งไปใหญ่ เรื่องปัญหาเช่าที่นาก็ต้องทำ แต่ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนแบบที่ว่า ทำนาแบบผิดๆ เรื่องนี้ต้องเร่งแก้ไขก่อนเป็นอันดับแรก

“การทำนาแบบผิดๆ เป็นปัญหาเร่งด่วน แต่รัฐบาลกลับไม่ช่วยอะไรเลย มัวแต่จะไปช่วยที่ไม่ได้ผล คือไปช่วยอะไรที่ถ้าบริษัทปุ๋ยและบริษัทยาฆ่าแมลงไม่ว่าก็ช่วย อย่างโครงการจำนำข้าว บริษัทไม่ว่าและยิ่งชอบ แต่ถ้าห้ามโฆษณา บริษัทไม่ชอบ เพราะขายของไม่ได้ กลายเป็นว่าขึ้นอยู่กับบริษัท ถ้ารัฐบาลจะช่วยชาวนา ก็ควรห้ามโฆษณา ไม่ต้องสนใจบริษัทว่าจะมีกำไรหรือขาดทุน”

เพราะฉะนั้น หากยังปล่อยให้ชาวนาถูกล้างสมองแบบนี้ไปเรื่อยๆ และรัฐบาลไม่ให้ความสำคัญในการเร่งแก้ไขปัญหาเช่นนี้ อาจารย์เดชาฟังธงว่าคงต้องให้ชาวนา “ล่มสลาย” ไปก่อน เพราะสุดท้ายคือตัวชาวนาเองต้องช่วยตัวเอง ถ้าชาวนาไม่ช่วยตัวเองก็ไม่มีใครช่วยได้ จะรอให้รัฐบาลหรือใครมาช่วยคงไม่มีทาง

ดังนั้นชาวนาต้องช่วยตัวเองถึงจะรอด แล้วคนส่วนใหญ่ก็จะรอด และจะเป็นคนนอกวงการที่ต้องการอิสระที่จะมาแทนชาวนาแท้ ซึ่งปริมาณอาจจะน้อยลง แต่คุณภาพจะเพิ่มขึ้น





* untitled.jpg (23.6 KB, 400x269 - ดู 4581 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #66 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 20:55:24 »

ชาวนาเงินล้าน  ชัยพร พรหมพันธุ์





นายชัยพร  พรหมพันธุ์

ประวัติ   อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 1 ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

การศึกษา  จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอบางปลาม้า สมรสกับคุณวิมล พรหมพันธุ์ บุตรมี 3 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 2 คน

ผลงานดีเด่น          

      เมื่อจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว นายชัยพร พรหมพันธุ์ ได้ออกมาช่วยบิดามารดาทำนา จนแต่งงาน จึงแยกครอบครัวไปประกอบอาชีพของตนเอง โดยมีการทำนาเป็นอาชีพหลัก และหล่อเสาปูนซิเมนต์เป็นอาชีพเสริม เริ่มทำนาจากที่ดินมรดก 40 ไร่ ซื้อที่ดินทำนาขยายเพิ่มขึ้นจนมีถึง 100 กว่าไร่ในปัจจุบัน ทำนาด้วยวิธีหว่านนาตม นายชัยพรเป็นผู้สนใจศึกษาหาความรู้ในการทำนาสมัยใหม่จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น จากเพื่อนบ้าน ร้านขายเคมีเกษตร และเจ้าหน้าที่เกษตร นำมาทดลองปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ ทั้งด้านการเตรียมพื้นที่ การใช้พันธุ์ดี การใส่ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง จนทำให้ได้ผลผลิตข้าวสูงกว่าคนอื่นๆ ในละแวกเดียวกัน
 
              ต่อมานายชัยพรได้ริเริ่มทำการเกษตร โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เช่น สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ฯลฯ และใช้สารอินทรีย์วัตถุแทน ซึ่งการเตรียมพื้นที่และการบำรุงดิน นายชัยพรจะใช้ฟางที่เหลือจากการนวดข้าว หมักและไถผสมลงไปในแปลงนา เน้นการปรับพื้นที่นาให้เรียบเพื่อสะดวกต่อการควบคุมน้ำ การควบคุมวัชพืช และหว่านปุ๋ย ซึ่งสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณที่ต่ำกว่าชาวนาทั่วๆ ไป สำหรับพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้นำเมล็ดข้าวพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรมาปลูกใหม่เสมอ รวมทั้งมีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ ให้ผลผลิตสูง ใช้ปุ๋ยน้อย และต้านทานต่อศัตรูพืช ซึ่งก่อนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปปลูกจะทำการแยกเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวออก โดยใช้ตาข่ายไนล่อนกรองแยกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นจึงนำไปแช่น้ำ ช้อนเมล็ดวัชพืชซึ่งลอยน้ำ เนื่องจากมีน้ำหนักเบาทิ้ง ซึ่งการควบคุมวัชพืชด้วยวิธีดังกล่าว ทำให้ไม่ต้องใช้ยาปราบวัชพืชเลย นอกจากนี้ยังริเริ่มปรับปรุงเครื่องจักรกลทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ดัดแปลงเครื่องยนต์รถไถติดเทอร์โบเพื่อเพิ่มกำลังในการไถและบรรทุก ปรับแต่งองศาของผานไถใหม่ ให้ไถดินได้มากกว่าเดิม ทำให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น
             ในปี พ.ศ. 2532 ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคมร่วมกับชาวนา ทดลองใช้สารสกัดจากพืช ควบคุมโรคแมลงในนาข้าวแทนสารเคมี และเนื่องจากบิดาของ นายชัยพร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 เคยแพ้ยาฆ่าแมลง จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมาแล้ว จึงได้เข้าร่วมโครงการด้วย โดยทดลองใช้สารสกัดจากสะเดา ข่าแก่ และตะไคร้หอม ควบคุมแมลงในนาข้าว และมอบหมายให้นายชัยพรช่วยจัดการฉีดพ่นสารสกัดจากพืชแทน ผลที่ได้ปรากฏว่า สารสกัดจากพืชสามารถป้องกันโรคแมลงของข้าวได้จริง โดยเฉพาะในช่วงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดครั้งใหญ่ ปี 2533 - 2534 ทำให้นาข้าวส่วนใหญ่เสียหายสิ้นเชิง แต่แปลงที่ใช้สารสกัดจากพืชยังได้ผลผลิต ทำให้นายชัยพรมีแรงจูงใจในการใช้สารสกัดจากพืช ในการกำจัดแมลงศัตรูข้าว และเนื่องจากความเป็นคนสนใจและช่างสังเกตนายชัยพรจึงพบว่า สารสกัดจากพืชจะกำจัดแมลงศัตรูข้าวเท่านั้น แต่ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูข้าวยังคงอยู่ และเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อช่วยในการกำจัดแมลงศัตรูข้าวอีกทางหนึ่ง แม้จะหยุดใช้สารสกัดจากพืชเป็นบางครั้งแมลงศัตรูข้าวก็ไม่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้นายชัยพรยังใช้วิธีการอื่น ๆ ในการควบคุมศัตรูพืช เช่น การใช้ข้าวพันธุ์ต้านทาน ปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ในแปลงเดียวกัน หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์ข้าวที่ซ้ำ ๆ กันในพื้นที่เดิมติดต่อกันหลาย ๆ ปี ไม่หว่านข้าวหนา เพื่อให้แสงแดดสามารถส่องลงถึงพื้นดินได้ เป็นการป้องกันไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาศัยอยู่ตามโคนต้นข้าว เป็นต้น การใช้วิธีดังกล่าว ทำให้นายชัยพรเลิกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างสิ้นเชิงในปี 2534 ผลผลิตข้าวจากแปลงนาของนายชัยพรจึงปลอดภัยจากสารพิษ ซึ่งนายชัยพร ได้ประสานงานกับศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคมจัดจำหน่ายข้าวปลอดภัยจากสารพิษ โดยบรรจุถุงวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วไปทั้งในและนอกเขตจังหวัดสุพรรณบุรี

นายชัยพรได้เผยแพร่ความรู้ที่ตนเองมีในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งรับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการฝึกปฏิบัติดูงานแก่นิสิต นักศึกษา นักเรียน เกษตรกร และบุคคลทั่วไปทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ รวมทั้งให้พักอาศัยและอำนวยความสะดวกจนได้รับหนังสือขอบคุณยกย่องเสมอมา รวมถึงการออกข่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชนทางเอกสารสิ่งพิมพ์ เช่น วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เอกสารศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา หนังสือพิมพ์ ผลงานทางสถานีโทรทัศน์ เช่น รายการผู้หญิงยาตรา โลกสวยด้วยมือเรา พฤหัสสัญจร แม่บ้านสีเขียว ฯลฯ ผลงานที่เด่นชัดของนายชัยพร ทำให้เป็นหนึ่งในชาวนาไทยที่ได้รับคัดเลือกให้ไปดูงานที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2537

นายชัยพร เป็นคนหนุ่มที่ยังมีความคิดก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง แผนการดำเนินงานขั้นต่อไปได้ตั้งความหวังว่า จะผลิตข้าวที่เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณผลผลิต ปลอดภัยจากสารพิษ และมีต้นทุนการผลิตต่ำ จากความวิริยะ อุตสาหะ ความตั้งใจ และผลงานที่ปรากฏ นายชัยพรจึงได้รับการยกย่องให้เป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2538


* 1.jpg (35.87 KB, 547x335 - ดู 4643 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 06 มกราคม 2013, 21:05:48 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #67 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 21:16:32 »

นาอินทรีย์นิเวศน์ของคุณชัยพร  พรหมพันธุ์
Ecology Agriculture in Paddy Field  By Chaiyaporn Pormpun

เรียบเรียงโดย  สมหวัง   วิทยาปัญญานนท์

 มูลเหตุจูงใจดูงาน
ได้มีโอกาสไปดูงานทำนา ของคุณชัยพร พรหมพันธ์  เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2538 (081-174-2813) บ้านเลขที่ 31 หมู่ 1 ต.บางใหญ่ อ.บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี 72450 ห่างจาก อ. บางปลาม้าประมาณ  5 กิโลเมตร ภรรยาชื่อวิมล แม่ยายชื่อ ทองโปรย  ยิ้มประเสริฐ

           มูลเหตุจูงใจที่ไปดูงาน เพราะไปค้นหาในอินเตอร์เน็ต ทำนาเกษตรอินทรีย์ แล้วเห็นคำว่า ซุปเปอร์ชาวนา ชัยพร พรหมพันธุ์  ทำนาอินทรีย์ 105 ไร่ ประเด็นที่น่าสนใจจากบทความคือ ทำนา 105 ไร่   2 คน  สามีภรรยาโดยไม่ต้องจ้าง ประดิษฐ์รถควักดินเอง ทำให้ต้นทุนต่ำ ประมาณการณ์จากบทความ น่าจะเป็นนาที่มีต้นทุนต่ำที่สุด คือประมาณ 2000 บาท/ไร่ ไม่รวมค่าเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย แต่กำไรไร่ละหมื่นบาท

ปุ๋ยสมุนไพรไล่แมลงใช้กับสวนผลไม้ได้
 เพื่อนของแม่ยาย อดีตเป็นเจ้าของโรงเลื่อยไม้ที่ปทุมธานี  มีที่ดินอยู่ที่เชียงราย ก็ยังเอาน้ำสมุนไพรไล่แมลงจากคุณชัยพร ไปฉีดไล่แมลงในสวนผลไม้ ทดแทนยาฆ่าแมลงเคมี เดิม ทีแรก คนสวนที่ไม่ค่อยเชื่อว่าจะได้ผล พอได้ผล ก็ติดใจอยากได้อีก เพราะปลอดภัย และเล่าให้ฟังว่า เคยเข้าโรงพยาบาล หลังฉีดยาฆ่าแมลง เพื่อนแม่ยาย เล่าให้ฟังว่า ที่นาเดิมที มีต้นไมยราบยักษ์ระบาดมาก  ต้องค่อยๆ ทำ ขยายพื้นที่ไปเรื่อยๆ โดยการทำทีละน้อย ตัด ฟัน เผาแล้วใช้ไกรโคเฟต และหมาแดง ฉีดพ่นอีกที การทำทีละน้อย เพื่อทะยอยจ่ายเงินจะได้ไม่ดูเป็นเรื่องใหญ่ ที่สวนก็มี  กระท้อน ลิ้นจี้ ลำไย หากเป็นลำใยก็สามารถขายที่เชียงรายได้ เพราะมีคนซื้อกิน  แต่หากเป็นกระท้อน ไม่มีคนกิน หากจะเอามาขายที่กรุงเทพผลผลิต 4 ตัน ก็ต้องเสียเงินค่าเก็บและค่าขนส่งมากรุงเทพแพงมาก จึงไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร จึงจะมีรายได้จากกระท้อน ทดลองใช้อีเอ็นแค่เดือนเดียว ก็จะมีไส้เดือนในดิน แนะนำว่า คนทางเหนือ ชอบปลาช้อนและปลาหมึกแห้ง หากคิดไม่ออกว่าจะซื้ออะไรไปฝากคนทางเหนือ

ต้นทุนทำนาถูกสุดสุดทำได้อย่างไร

การลดต้นทุนทำนาของคุณชัยพร พรหมพันธ์ มีดังนี้

-         ต้นทุนแรงงาน ทำเอง ให้คนอื่นทำ เหยียบข้าวล้มหมด จึงต้องเอาไม้แหวกต้นข้าวไว้เดิน หากตัวเองทำตะแคงฝ่าเท้าเดินอย่างสบายๆ เอายาฆ่าหญ้าลูบข้าวดีด ก็ไม่ไปถูกข้าวดี เหมือนจ้างเขา คนอื่นทำเสียเงิน 600 บาท ทำเองแค่  3 ชั่วโมงก็เสร็จก็จะได้ประหยัดไปแล้ว 600 บาท

-         ต้นทุนค่าเช่านา ไม่มี เพราะซื้อเป็นเจ้าของเอง แรกๆ อาจเช่า พอมีเงินก็ซื้อเลย

-         ต้นทุนค่าปุ๋ย ใช้ปุ๋ยขี้หมู มาหมักอีเอ็มใส่ขี้หมู 4-5 กระสอบ/ไร่ กระสอบละ 20 กก. ซื้อมาใส่รถกระบะปิกอัพของตัวเอง เที่ยวละ 50 ลูก ต้นทุนแค่ 1,000 บาท ใส่ได้ 10 ไร่ ตกต้นทุนปุ๋ย 100 บาท/ไร่ ใส่ปุ๋ยขี้หมูแห้งก่อนทำเทือก หรือ พร้อมๆ กับทำเทือก โดยวิธีใส่กระบุ้งลงบนรถอีโกร่ง ปาดนาให้เรียบพร้อมๆกับหว่านปุ๋ยแห้งลงไปด้วย

-         ต้นทุนปุ๋ยน้ำหมักและฮอร์โมน  ก็ทำปุ๋ยน้ำหมักเอง ทำหัวเชื้ออีเอ็มเอง เอามาจากป่าห้วยขาแข็ง นอกจากนี้ยังทำฮอร์โมนไข่  และฮอร์โมนนมสดใช้งานเองด้วย

-         ต้นทุนยาสมุนไพรไล่แมลง ทำเองที่บ้าน ก็ปลูกต้นบอระเพ็ดด้วย ให้ขึ้นตามต้นมะม่วง ไม่ต้องดูแลมาก

-         ต้นทุนปลูกข้าว ใช้วิธีแช่น้ำข้าวเปลือกพันธุ์ 1 คืน พองอก ผสมไตรโคเดอร์ม่า แล้วเอาไปทิ้งเป็นจุดๆ เตรียมหว่านโดยวิธีพ่นกระจายทั้งนา หากทำเองไม่ทัน ต้นข้าวก็ไม่เป็นรากเน่า

-         ต้นทุนพันธุ์ข้าว ให้พันธุ์ข้าวสุพรรณ 60 เมล็ดพันธ์ก็เลือกเกี่ยว เอาต้นที่มีรวงเมล็ดมากๆ ไว้ทำพันธ์ เอามาผึ่งแดดลมให้แห้ง โดยใส่กระสอบปุ๋ยโป่งๆ ให้ล้มระบายได้อย่างน้อยๆ  45 วัน จึงจะปลูกได้ ตอนใช้งานช่วยแช่น้ำไตรโดเคอม่า  จะปาดเอาข้าวลีบเบาลอยน้ำออกไปขาย ไม่เอาทำพันธุ์

-         ต้นทุนไถนา ซื้ออีโกร่ง มาใช้งานเอง ช่วงวิ่งบนถนนก็ เอายางนอกรถยนต์หุ้มไว้เวลาลงนาก็ถอดออก การไถนาจะทำทีเดียว ถึงทำเทือกเลย ไม่มีไถดะก่อน

 

การทำนาหมักปุ๋ยขี้หมู เลี้ยงต้นกล้าข้าวอ่อน  18 วัน
สูตรการทำนี้หมักจุลินทรีย์ขี้หมู

                   ขี้หมูแห้ง                           1        ส่วน   (20 กก.)

                   น้ำธรรมดา                         10      ส่วน   (180 ลิตร)

                   ใส่อีเอ็มห้วยขาแข็ง              0.5     ส่วน   (1 ลิตร)

                   แช่น้ำ                                         2-3     คืน     (200 ลิตร)

                   ไม่ต้องใส่น้ำตาล

สูตรการใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ขี้หมู
                   น้ำหมัก                                       1        ลิตร   

                   น้ำธรรมดา                         20      ลิตร

                   ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เมื่อข้าวอายุได้ประมาณ 18 วัน

 

การทำฮอร์โมนนมเลี้ยงต้นอ่อน 18 วัน
สูตรการทำหมักฮอร์โมนนม

บีทาเก็นหรือยาคูลน์ (นมเปรี้ยวจุลินทรีย์)   1 ขวด

              นมจืด                                             1 กระป๋อง

               แป้งข้าวหมาก                                  1  ลูก

หมัก  3 วัน จนมีกลิ่นหอม

สูตรการใช้

     นำน้ำสมุนไพรไล่แมลงผสมน้ำหมักฮอร์โมนนม  ฉีดบำรุงต้นข้าว และไล่แมลงไปพร้อมๆ กันจนได้ไม่เปลืองแรงงาน

 

เร่งดอกออกรวงด้วยฮอร์โมนไข่ (ข้าว 45 วัน)
          สูตรการทำ ฮอร์โมนไข่

          - ไข่ไก่หรือรกวัวแทน           5  กก. (ไข่ประมาณ  100 ฟอง)

          - กากน้ำตาล                      5  กก.

          - ลูกแป้งข้าวหมาก              1  ลูก

- ยาคูลน์ หรือบีทาเก็น หรือนมเปรี้ยว  1 ขวด

 วิธีการทำ

นำไข่ไก่ทั้งฟอง ปั่นให้ละเอียดแล้ว แล้วนำไปใส่ภาชนะ ผสมการน้ำตาลคลุกเคล้าให้เข้ากัน ต่อจากนั้นบดแป้งข้างหมากให้ละเอียดแล้วผสมกับยาคูลน์และนมเปรี้ยว แล้วนำไปบรรจุใส่ถังพลาสติก แล้วคนให้เข้ากัน แล้วปิดฝาหมักทิ้งไว้ 14 วัน โดยจะต้องเปิดคนทุกวัน จึงนำไปใช้ได้ ถ้าหมักนานเกินไป จะทำให้แห้งจะต้องเติมน้ำมะพร้าวอ่อน ที่มีเนื้อเป็นวุ้น  2 ลูก

สูตรการใช้งาน
             เมื่อข้าวอายุ 45 วัน จะเริ่มตั้งท้อง  100 ไร่ ใช้ฮอร์โมนประมาณ  5 กก. โดยใช้  30 ซซ. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น

          หลังออกรวงแล้ว จะฉีดฮอร์โมนไข่ อีกครั้งก็ได้ การฉีดพ่น  10-15 วันต่อครั้ง และควรฉีดพ่นขณะแดดอ่อน หรือในช่วงเช้า เพราะกลัวว่าจุลินทรีย์จะตายจากความร้อน

 การทำเทือก
ลูบเพื่อกดให้ระดับเรียบ นามีน้ำ ให้ไล่ดินก่อนแล้วลาก ตั้งระดับได้ มีกระดานลูบหลังเสมอเลย  หากท้องนาเสมอเรียบ จะใช้น้ำเข้านาน้อย ไม่เปลืองน้ำค่าสูบน้ำ คุมน้ำคุมหญ้าได้ง่าย และป้องกันน้ำแห้งเป็นจุดๆ ในที่ดอน

น้ำเข้านาวันที่ 7-25   ของวันปลูกข้าว  หลังจากวันที่ 25  แล้ว  ปล่อยให้น้ำในนาแห้งเอง

 

การหว่านข้าว
เอาข้าวเปลือกแช่ลงไปในน้ำในปลอกบ่อที่เตรียมไว้ใส่น้ำ  70% ที่ใส่เชื้อไตรโคเดอร์ม่าไว้แล้ว เอาข้าวเปลือกลอยๆ ออกทันที เพราะเป็นข้าวเบาข้าวล้ม ไม่มีน้ำหนักแช่ไว้  1 คืน แล้วตักใส่กระสอบปุ๋ย เอาไปค้างที่นาได้เลย วางกระสอบไว้เป็นจุดๆ ทั่วแปลง

     การหว่านใช้วิธีหว่านเครื่อง เป็นเครื่องพ่นหว่านโดยถอดลิ้นให้ล้มลง เอาตัวกันน้ำออก

          เครื่องหว่านเหมือนกัน 2  เครื่อง เอาไว้หว่านปุ๋ยแห้งปุ๋ยเม็ด และเอาไว้หว่านข้าว  1 เครื่อง อีกเครื่องลิ้นปิด ก็จะพ่นปุ๋ยน้ำ พ่นน้ำหมัก พ่นน้ำสมุนไพร น้ำฮอร์โมนได้พ่นเครื่องหนึ่งๆ  ห่างจากตัวผู้พ่นประมาณ  7 เมตร อัตราการใช้ข้าวเปลือก  2.5  ถัง/ไร่

หว่านไม่หมดก็ไม่เป็นไร หากไม่แช่เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ข้าวเปลือกจะขึ้นรา  ข้าวที่แช่แล้ว  1 คืน วางทิ้งไว้ในกระสอบชื้น จะเกิดตุ่มตา หากความชื้นหมด ตาจะหด จะใช้อีกก็จะนำกระสอบข้าวเปลือกแช่น้ำอีก เรียกตุ่มตาใหม่ก่อนเอาไปใช้งาน

 จำไว้ข้าวล้มให้เอาออกเลย เอาไว้ไม่ดีเพราะอาหารน้อยมีแค่ครึ่งเมล็ด เติบโตไม่ดีแล้ว เมล็ดลีบก็จะออกลูกเป็นเมล็ดลีบเช่นกัน

     การแช่น้ำ แค่น้ำเปล่าก็พอ ไม่ต้องใช้น้ำเกลือเพราะแค่น้ำเปล่าก็คัดเมล็ดนั้นออกไปมากแล้ว ต้องรีบตักข้าวลอยน้ำออก เพราะทิ้งไว้นาน ๆ ข้าวจะจมลงเพราะอุ้มน้ำเต็มที


แก้ปัญหาเพลี้ยไฟในนาข้าว

 ใช้สมุนไพรไล่แมลง ก็จะเหลือตัวหำตัวเบียน คอยกินเพลี้ย

อีกเทคนิคหนึ่งคือ อย่าหว่านข้าวหนาไป  จากเดิม  4-5 ถัง/ไร่ หนาไป ลดเหลือ  2.5 ถัง/ไร่ ก็พอดี หากต้นข้าวหนา แดดจะร่ม มีร่มเงามาก เพลี้ยชอบความชื้นและร่มเงา หากหว่านให้บาง  เพลี้ยจะหมดไป

          เป็นชาวนาต้องหมั่นเป็นนักสังเกตุ เคยทำนา  3 แปลง ทำแปลงต้นน้ำก่อน แล้วไล่น้ำลงมาแปลงสองและไปแปลงสาม

บังเอิญข้าวงอกครึ่งเดียว ทั้งๆ ที่หว่านหนาคิดว่าจะรื้อนา หว่านใหม่ แต่ทำใจไหนๆ ก็ไหนๆ ก็เลยปล่อยไปแบบข้าวนาดำ แรกๆ ดูข้าวบางๆ ไม่เต็มนา รู้สึกเบาๆ ไม่มั่นใจ ว่าข้าวต้องได้น้อยแน่ แต่ตรงกันข้ามหว่านไว้หนา กลับได้ข้าวถัง/ไร่ น้อยกว่าหว่านบางอีก ก็เลยหันมาหว่านแบบบางๆ  ตั้งแต่นั้นมา

 ต้นทุนทำนา
 เดิมทีมีแค่  30 ไร่  พอต้นทุนต่ำก็มีกำไรมาก ก็ขยายนา ซื้อไปเรื่อยๆ จนได้ 107 ไร่

ต้นทุนปี 2550 ประมาณ 2,000 บาท/ไร่  ปี 2551 ประมาณ 2,500 บาท/ไร่ เพราะราคาน้ำมันขึ้น   ต้นทุนนี้ไม่รวมค่ารถเกี่ยวข้าว (รถอุ้ม) กำไรไร่ละ 10,000 บาท หากปีไหนได้ผลผลิตมากกว่า 100 ถัง/ไร่ จะซื้อเครื่องประดับให้กำลังใจตัวเอง ในส่วนที่เกิด 100 ถัง/ไร่

ทำนา  10 ไร่ เท่ากับเงินเดือน 5,000-10,000 บาท/เดือน ทำ 2 รอบ/ปี ที่สุพรรณบุรี ดังนี้

          รอบแรก         ธันวาคม-เมษายน

          รอบสอง        พฤษภาคม-กันยายน

          พักให้น้ำท่วม  ตุลาคม-พฤศจิกายน

 

การรักษาดินนา
ให้ตรวจดินดูโดยการเดินย่ำนา หากนุ่มเท้าดินจะดี เพราะประกอบด้วยฟางจุลินทรีย์มากมาย   หากเป็นดินแย่ จะแข็งกระด้าง เดินไม่สบายเท้า มักเกิดจากการเผานาแบบรุนแรง คือ เผาขณะลมนิ่ง

          ยามจำเป็นต้องเผาฟาง  จะใช้เทคนิคการเผาฟางแบบลอกผ่าน โดยเลือกช่วงลมแรงๆ ไฟจะเผาฟางแบบผ่านๆ เผาไม่หมด


การทำเทือกโดยวิธีควักดิน
รถควัก ทำงาน  10 ไร่/วัน ดินนิ่มและยกเท้าเปื้อน ข้าวอายุ 45 วัน  เปิดน้ำทิ้งก่อนปลายข้าวเหลืองให้แห้งก่อน 

รถทำเทือกแบบที่ขายกัน จะตัดดินจนเละ  ดินข้างใต้ถูกตัดเสมอกันหมด  และพื้นแข็ง    สู้ควักเป็นจุด จะดีกว่า

ใส่ปุ๋ยขี้หมูช่วงข้าวอายุ 45 วัน
 ช่วง 45 วัน หากข้าวออกรวงช้า ให้เอาขี้หมูแห้งใส่กระสอบวางขวางน้ำเข้านา ให้น้ำชะล้าง ละลายออกไป ใช้ประมาณขี้หมู  1  กระสอบ/ไร่

หนที่ 2 อายุข้าว 50-55 วัน ใส่ปุ๋ยอีก

หากเมล็ดข้าวเล็กไป ให้บำรุงเมล็ดข้าวโดยฉีดฮอร์โมน

                   - ฉีดพ่นฮอร์โมนก่อนข้าวออกรวง     1 ครั้ง

                    - หลังออกรวงแล้ว ฉีดพ่นฮอร์โมน    1 ครั้ง

เกสรตัวเมียข้าวจะเปิดปากช่วง  9 โมงเช้าถึงบ่าย  2 ช่วงนี้  ห้ามฉีดพ่นฮอร์โมนหรือปุ๋ยใดๆ เพราะเมล็ดข้าวจะอมสารเข้มข้นเข้าไป เมล็ดจะแตก 

ทำนาข้าวไร้สารเคมีฉีดแล้วเทียวต่อได้
ทำนาข้าวไร้สารเคมี ไร้พิษภัยอันตรายฉีดเสร็จก็ไปช่วยงานสังคมได้ต่อเลย

ปราบหอยเชอรี่ด้วยนก
หอยเชอรี่ไม่มี เพราะนกกินหมด หลังจากทำเทือกแล้ว ปล่อยน้ำแห้ง นกจะลงมากินหอยในนา นกกินหลังทำเทือกเลย  กิน 1- 2 วัน หอยก็หมด แล้วนกจะไม่มาลงนาอีก เพราะอาหารหมด หากในนามีหอยอยู่ มีต้นกล้าอ้วน นกจะเดินย่ำกล้าอ่อน ทำให้ต้นกล้าตายได้ พอนกกินหอยหมด ก็จะไม่มาลงนาอีก เพราะรู้ว่าอาหารหมดแล้ว จากนั้นก็ค่อยหว่านข้าวลงนา

          การแหวกร่องน้ำ บางคนนิยมสวยงามดี ใช้แหวกเป็นเส้นคู่ขนานไปเลย ในทางประหยัดแรงงาน  ก็ไปดูว่าน้ำขังอยู่ตรงไหน ก็ลากแหวกเฉพาะตรงนั้นให้น้ำระบายออกไป ไม่เน้นความสวยงาม เน้นหน้าที่ร่องน้ำ ปลูกข้าวขึ้นหมดก็จะปกคลุมบังมิด ไม่เห็นร่องน้ำแล้ว


ทำอย่างไรให้ข้าวกินอร่อย
ช่วงข้าวออกรวงต้องปล่อยให้น้ำแห้ง ข้าวจะหอมคล้ายๆ วิธีเดียวกันกับผลส้ม หน้าแล้งรสเฉียบกว่าฤดูฝน

ข้อมูลนี้พบโดยบังเอิญ หว่านข้าว  3  เดือนครึ่ง หวิดน้ำไปอีกแปลงด้านท้าย  15 ไร่ น้ำไม่พอ ปรากฏว่าข้าวหอม ไม่ได้ทำอะไรเลย สรุปว่า ข้าวจะหอมต้องอดน้ำ ข้าวหอมปทุม หอมเพราะอดน้ำข้าวหอมมะลิ มีบางคนเอาหอมปทุมไปปน  หอมปทุมเป็นนาปรัง  100  ถัง/ไร่ แต่หอมมะลิเป็นนาปี  60  ถัง/ไร่

ดูแลแมลงศัตรูข้าว

มีแมลงมีหนอน ช่วงแรก หนอนจะห่อใบข้าว และมีเพลี้ยกระโดด ในนาข้าวอินทรีย์มีแมลงบ้าง แต่ไม่เสียหายใบหักไปบ้างไม่เป็นไร อย่ามากินรวงข้าว ก็แล้วกัน เพราะเราทำนาเองรวงข้าวเมล็ดข้าว  ไม่ใช่เอาใบข้าว

หนอนกินใบลงนามากๆ นกจะรู้ แล้วลงมาหาหนอน  กินแล้วนกจะเหยียบรวงข้าวหัก

ต้องฉีดสมุนไพร ได้ผลแน่นอนอยู่ที่ใจว่ามั่นใจในสมุนไพรไล่แมลง สมุนไพรต้องเก็บสะสม   ที่ใช้บ่อยๆ ก็มี บอระเพ็ด ผักคูณ สะเดา ยาสูบ (ยาฉุน) หางไหล (โลตั๋น)

 

การจัดการข้าวพันธ์
การเก็บข้าวพันธุ์จากการทำนาของตัวเอง เป็นพันธุ์สุพรรณ 60 ดูที่รวงแก่หน่อย เมล็ดสุขเหลืองทั้งรวง  ไม่มีต้นหญ้าอยู่ใกล้ๆ เกรงว่าจะเอาเมล็ดหญ้าปนมาด้วย เกี่ยวเสร็จ ก็เอามาตากแดด  1-2 วัน ขึ้นอยู่กับแสงแดดอ่อนแก่   จัดเก็บใส่ถุงปุ๋ยไว้

          การใช้ข้าวพันธุ์ไปปลูก ต้องเก็บอย่างน้อย 3  สัปดาห์ (21) วัน  จึงเอาไปใช้ได้เลยช่วง  30-45 วัน    % การงอกของเมล็ดข้าวจะสูงสุด

การเก็บข้าวพันธุ์เอง ช่วยทำให้ประหยัด ค่าพันธุ์ไม้ไว้ และสามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวเองได้

ในท้องตลาด  หากเราขายข้าวเปลือกเพื่อกิน  110 บาท/ถัง แต่หากเราไปซื้อพันธุ์ข้าวมา ราคาจะเป็น  250  บาท/ถัง หรือแพงอีกเท่าตัว  และอาจควบคุมความเก่าใหม่ของเมล็ดพันธุ์ไม่ได้ หรือมีข้าวอื่นปลอมปน หรือมีข้าวดีข้าวเสียปนมามาก หรือข้าวอายุเกิน ไม่ได้ อาจได้ข้าว  4  เดือน แทนข้าว  3  เดือน คนอื่นเก็บเกี่ยวหมดแล้ว ตัวเองยังไม่ออกรวงเลย จะช้ำใจ เพราะถูกเพื่อนชาวนาแปลงข้างๆ ถามเอา

ข้าว  4   เดือน มี ข้าวหอมปทุม  35  ข้าวปทุม 1 ข้าวพิษณุโลก  ข้าว 3 เดือน ก็มี ข้าวรวงทอง  ข้าวราชินี ข้าวพวงทอง แต่คุณชัยพร เลือก ข้าวสุพรรณ   60

          ข้าวสุพรรณ  60  นั้น  อายุตามฤดูกาลที่ปลูก

          ฤดูแรก          อายุ    90      วัน

          ฤดูสอง                   อายุ    107    วัน

ข้าวเปลือกแบ่งเป็น 3  ส่วน คือ ข้าวเปลือกขายโรงสี ข้าวเปลือกเก็บไว้สีกินเอง และ ข้าวเปลือกทำพันธุ์

ข้าวเปลือกที่เก็บไว้กิน 1   ถัง จะสีเป็นข้าวสารได้ 0.6  ถัง ให้คำนวณ ให้เพียงพอในการกินทั้งปี อาจเผื่อแจกจ่ายญาติด้วยก็ได้

 

จงทำใจเมื่อทำนาอินทรีย์
คนเริ่มทำนาอินทีรย์ใหม่ๆ จะมีปัญหามาก มีชาวนาอยุธยา จะโทรมาถามถึงคุณชัยพรบ่อยๆ   พอติดปัญหาก็โทรมาถาม แล้วก็เอาไปปฏิบัติ ได้ผลเกินคาดจริงๆ

ทำนาอินทรีย์ ต้องทำใจให้ได้ หากต้นข้าวไม่งามใบไม่เขียว ปุ๋ยเคมีพอช่วยได้บ้างในช่วงแรกๆ แต่อย่ามาก เพราะชาวนาจะชินต่อการทำให้ใบข้าวเขียว แต่สารเคมีฆ่าแมลงให้ห้ามเด็ดขาด

ข้าวใบงามเกินไป เมล็ดลีบ  ให้สังเกตุดู เขาเรียกว่าบ้าใบ หรือวัวพันธุ์เนื้อตัวใหญ่แต่น้ำนมน้อย  แต่วัวพันธุ์นม ตัวจะเล็กกว่า แต่ให้น้ำนมมากกว่า ข้าวใบรวงสั้น เมล็ดจะแกร่ง เมล็ดจะเต็มเปลือกใบข้าวนาอินทรีย์ใบจะคมบาดขาลายไปหมด
 
แนวคิดจูงใจตัวเองให้ทำเองดีกว่าจ้าง
ทำนาทั้งปี  2   ครั้ง ช่วง  3  ว่าง 3  เดือน รอน้ำท่วม นับวันแต่ละรอบทำนา วันทำงานจริง 30 วัน  นั้นคือ ทำงานทั้งปี แค่ 60 วัน/ปี วันว่างมีมาก เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงแต่ขี้เกียจทำ ไปจ้างเขาหมด ลองทำเองบ้าง

ไปจ้างเขาฉีดพ่นปุ๋ยใบ  10 ไร่ เขามา 2 คน ทำแค่ 2  คน หมดไป 500 บาท ลองมาทำเองเสียเวลาแค่  3   ชั่วโมง ครึ่งวัน ประหยัดได้  500  บาท

เราทำเองอาจเร็วกว่า เพราะเราทำไปคิดไปว่าจะลดขั้นตอนงานให้น้อยลงอย่างไร สำรวจแปลงนาไปด้วย ประสิทธิภาพมากกว่า ระมัดระวังมากกว่า เพราะเป็นเจ้าของเอง การเดินก็ไม่เหยียบต้นกล้า จนเสียหาย คนอื่นเขาระวังน้อยกว่า

          การบนไว้กับตัวเองและภรรยา ว่าหากเกิน 100  ถัง/ไร่ (1 เกวียน/ไร่) จะขอส่วนเกินไปซื้อเครื่องประดับทองคำมาแต่งตัวแล้ว หากทำไม่ถึงก็อด ท้าท้ายตัวเอง หากจ้างคนอื่น ไม่มีทางทำได้มาก ต้องทำเอง จึงเกิดพลังใจในการทำงาน  มากกว่าจ้าง

ชาวบ้านเพื่อนบ้านไม่เชื่อว่า ทำนาได้มากกว่า  100  ถัง/ไร่ ต้องเก็บกากตั๋วขายข้าวมาให้ดู

          แนวคิดเรื่องปุ๋ยเคมี  มีพนักงานขายมากระตุ้นให้ชาวนาซื้อมากๆ แล้วมีชิงรางวัลเลี้ยงโต๊ะจีนพาไปดูงานต่างประเทศ  อย่าใจอ่อน ให้ทำเองใช้เกษตรอินทรีย์ อยากเที่ยว ก็ให้เก็บเงินไปเที่ยวเอง เขาต้องกำไรมากๆ มิเช่นนั้นเขาจะเอาโต๊ะจีนมาเลี้ยงได้อย่างไร ต้องคิดว่าเขาฟันเรา จะได้มีฤทธิ์สู้ ไม่ให้ใครมาเอาเปรียบ ซึ่งต้องตอบโต้  โดยการต่อสู้  ทำปุ๋ยใช้เอง  ไม่ยอมซื้อเด็ดขาด
 
แรงดลใจให้เป็นชาวนาอินทรีย์
 ตอนนี้เป็นชาวนาเกษตรอินทรีย์ไปแล้ว รับนักศึกษาเกษตรมาฝึกงาน โดยไม่คิดเงินเลย เลี้ยงอยู่เสร็จ มาจากมหาวิทยาลัยเกษตรบางแสน และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แรงดลใจ  มีดังนี้

-         มีอาจารย์ด้านเกษตรมาช่วยสอนเรื่องทำนาให้
-         คนโบราณยังไม่เห็นใช้ยาเคมีเลย ยังทำนาได้
-         นาปรังบอกว่าทำนาไม่พอกิน ลองไม่ทำอะไรเลย ก็เห็นได้ผลผลิตออกมาพออยู่ได้
-         ข้าวนาเพลี้ยลง บางคนถึงกับถอดใจ เอาน้ำออกจนนาแห้ง  ปรากฏว่าข้าวรอด เพราะเพลี้ยอยู่ไม่ได้ เพราะร้อนและขาดความชื้น
-         ลองฉีดสมุนไพรดู ปรากฏว่าข้าวเต็มเมล็ดดี
-         ทำใจได้ อยากลองดู เพราะเป็นคนช่างคิดช่างสังเกตุ มีนิสัยเป็นนักทดลองอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว

ลองทำนาอินทรีย์ดู
ทำนาอินทรีย์มาแล้ว ประมาณ  25 ปีมาแล้ว แรกๆ ก็ทดลองน้อยๆ ก่อน  8  ไร่เป็นนาอินทรีย์ ที่เหลือ 14 ไร่ เป็นนาเคมี ปรากฏกว่านาเคมีมีเพลี้ยมาก นาเคมีกับนาอินทรีย์เป็นคนละเลนกัน ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง จุลินทรีย์ในนาอินทรีย์ พอกับมาที่นาเคมี จุลินทรีย์ถูกสารเคมีก็ตายหมดเชื่อราที่ใช้  ก็มี

-         เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (ราเขียว) ใช้ตรวจเมล็ดพันธุ์ และฉีดพ่นฆ่าเชื้อราสนิมใบข้าว
-         เชื้อจุลินทรีย์ห้วยขาแข้ง (อีเอ็ม)  เพาะหัวเชื้อจุลินทรีย์เอง โดยไปเอาจากป่าห้วยขาแข้ง อุทัยธานี ลักษณะนุ่มเป็นแผ่น หอมคล้ายเห็ด  อีเอ็มนี้มาทำเป็นอีเอ็มผงก่อน เก็บเอาไว้ โดยใช้ไปขอบบ่อเอาฟางคลุม เอาฝาปิดอีกที แล้วเอาไปใช้เป็นอีเอ็มน้ำ ใช้มาหลายปีแล้ว ยังไม่หมดเลย  ใครมาขอก็ยกให้ฟรีๆ อีเอ็มเราหมักไว้ย่อยฟางข้าวในนา และหมักขี้หมู และสมุนไพรไล่แมลง

 การทำอีเอ็มจากห้วยขาแข้ง เอาเชื้อราจากห้วงขาแข้ง ในลักษณะดินโป่ง ใช้วัสดุฟางข้าว ใบไผ่ ลำ แกลบ กากน้ำตาล น้ำธรรมดา ผสมกันแล้วราดให้ชุ่ม คลุกเคล้าให้ทั่วขณะราดน้ำ เอากระสอบป่านคลุมความชื้นไว้ จนเริ่มออกใยขาว แสดงว่าเชื้อเกิดแล้ว ปล่อยให้อยู่ในดินจนแห้ง โดยเก็บใส่ขอบบ่อที่อยู่ในร่มไม้ เอาฟางแห้งคลุม  เอาฝาปิดกระสอบป่าน อย่าให้ถูกแสงแดดและอย่าให้ร้อน 

เอาเชื้อแห้งผงใส่ถุงตาข่าย ไปใส่ในถังน้ำเปล่า ที่ใส่กากน้ำตาล แช่ถุงตาข่ายไว้ 4-5 วัน เชื้ออีเอ็มก็จะขยายลงในอยู่ในน้ำแทน โดยใส่ถังเขียนปิดฝาไว้  100  ลิตร

การทำแผนนาอินทรีย์
แรกๆ เราใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ เราใส่ปุ๋ยอะไรบ้าง มีไร่แล้วค่อยๆลดลง

การทำนาอินทรีย์มี  2  วิธี คือ
-         ทำนาอินทรีย์บางส่วนสัก 5-10% ของพื้นที่ที่เหลือเป็นนาเคมี แล้วค่อยๆ  ขยาย พื้นที่นาอินทรีย์จนเต็มแปลงภายในกี่ปี ตามที่แผนเรากำหนดไว้
-         ทำนาอินทรีย์ทั้งหมดทั่วพื้นที่ โดยกระบวนการ ลดเคมีฆ่าแมลงก่อน แล้วมาใช้สมุนไพรแทน จากนั้นก็ค่อยๆ ลงปริมาณปุ๋ยเคมีลง โดยทดแทนตัวปุ๋ยอินทรีย์และจุลินทรีย์ชีวภาพ ให้มาก

พื้นที่ทำนาเคมีเสียและเสื่อมโทรมมากๆ ก็จะฟื้นยากหน่อย จะปรับตัวไม่เท่ากัน อีกอย่างนี้เคมีจากแปลงอื่นใกล้เคียงก็ไหลเข้ามา เพราะมีการถ่ายน้ำนาจากแปลงโน่นไปใส่แปลงนี้ หรือใช้คลองห้วยร่วมกัน ให้ลองเอาดินและน้ำไปตรวจดูสารปนเปื้อนโลหะหนักมีพิษ  เคมีฆ่าแมลง
ให้เลิกใช้เคมียูเรียเลย เพราะมีแต่ใบและเป็นโรคง่าย ให้ใช้สูตรเคมี 16-20-0 ไปก่อนแล้วค่อยๆ ลดลง
 

สมุนไพรฆ่าแมลงตัวเก่ง

 เมล็ดมันแกว   :- ฤทธิ์แรงฆ่าแมลงได้เร็ว ฆ่าหนอน บดแล้วให้สุนัขกิน อาจตาย  ได้
กลอย            :- จะมีฤทธิ์เมา ฆ่าแมลงและหอยได้

ชาวนาต้องเก่งเครื่องจักรจึงจะลดต้นทุนได้
 เคยมีอาชีพหล่อเสาปูนขาย มีรถบรรทุกสิบล้อวิ่งข้าว เคยเป็นช่างอู่ จึงมีความรู้เรื่องช่าง

หากทำเองมีพื้นที่มาก ทำไม่ทันฤดูกาลและเวลาที่ให้ จะจ้างก็แพง ปกติทำนาเขาจะจุดไฟตอซังก่อนแล้วไถ  เห็นว่าไม่ดีก็เปลี่ยนวิธีใหม่

          เริ่มจากการทำแบบไถกลบฟาง  เห็นข้าวงามดี เพราะมีปุ๋ยจากฟาง ก็เลยประดิษฐ์รถควัก วิ่ง  3  ที ก็เสร็จแล้ว ทุ่นแรงเครื่องมือทำแรง

วิธีการทำเทือกที่รวดเร็วลดงาน
1.     หลักการ
-         จุดเลี้ยวพื้นจะไม่เสมอ เนื่องจากล้อบิดเป็นแอ่งลึก หากเลี้ยวเป็นวงแคบ ดังนั้นการเลี้ยวต้องเป็นวงกลม

-         ใช้คลื่นน้ำ กระแทกดินที่เป็นเลนพอดีๆ เรียบเอง ใช้หลักธรรมชาติช่วยทำงานให้

2.     วิธีการทำ

-         เริ่มจากแบ่งพื้นที่เป็น 2 ซีก
-         วิ่งผ่ากลางแปลง จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ใช้แนวตรง
-         เมื่อชนสุด ให้เลี้ยวขวา (ด้านขวาแปลง) ตั้งฉากไปจนสุดแปลงนาแล้ววิ่งกลับมาใช้เส้นเดิม
-         พอเจอเส้นกลางก็ทำเทือกทางขวาของเส้นกลาง
-         วิ่งมาสุดอีกด้านของเส้นผ่ากลาง ก็เลี้ยวไปทางขวา (ด้านซ้ายแปลง)
-         วิ่งสุดก็วิ่งกลับมาจนเส้นกลาง
-         แล้วทำเทือกด้านซ้ายเส้นกลาง
-         แล้วทำซ้ำๆ ในลักษณะตัวเอส-ฉาก
-         เส้นกลางก็จะเป็นพื้นที่ขยายไปซ้ายขาวเรื่อยๆ
-         ดินเทือกก็จะถูกกระแทกไปเรื่อยๆ จนเรียบ
-         สุดท้ายให้ทำเทือกเรียบโดยวิ่งตามกรอบ รอบแปลงนา

 



* rice-chaiyaporn.gif (7.09 KB, 730x458 - ดู 4655 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #68 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 21:19:48 »

สูตรน้ำสกัดสมุนไพรป้องกันและกำจัดแมลงและศัตรูข้าว
สมุนไพรจำเป็นแต่ละชนิดอย่างละ  5   กก. ดังนี้

ยาสูบหัวกลอย หนอนตายอยาก บอระเพ็ด หางไหลแดง เปลือกมังคุด เมล็ดมันแกว ขมิ้นชัน ไพล เปลือกสะเดา สมุนไพรเหล่านี้ สามารถปลูกเองได้รอบๆบ้าน จะได้ไม่ต้องซื้อหา

สมุนไพร (หากมี) แต่ละชนิดอย่างละ 5 กก. ดังนี้

ตะไคร้หอม  ว่านน้ำ ลูกมะกรูด เถามะระขี้นก ฝักคูณแก่

ใช้กากน้ำตาล  10  กก. หัวเชื้ออีเอ็ม 1 ลิตร หากกากน้ำตาลต้องซื้อ ก็ปลูกอ้อยสัก  1 งาน ก็สามารถใช้แทนกากน้ำตาลได้

วิธีทำ  สับส่วนประกอบทั้งหมดให้ละเอียดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้ละเอียด (ยกเว้นกากน้ำตาลและหัวเชื้ออีเอ็ม) นำไปบรรจุในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด ใส่กากน้ำตาล อีเอ็มและน้ำ  โดยให้ท่วมส่วนผสมขึ้นมาประมาณ 15  ซม. คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิทแล้วเปิดคนกวนทุกวัน เป็นเวลา 14 วัน จึงจะนำไปใช้ได้

          การใช้ อัตรา 100-150   ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร การฉีดพ่น ควรทำในช่วงเช้า จึงจะมีประสิทธิภาพสูง ส่วนกากที่เหลือ จากการคั่นน้ำหมดแล้ว ให้นำไปเทลาดเวลาสูบน้ำเข้านา

 

การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ชนิดสด
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มาใช้ตอนแช่ข้าวพันธุ์ก่อนปลูก และรักษาโรคเพลี้ย  โรครากเน่าได้ ตลอดจนเพิ่มฟอสเฟตในดินได้

          การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ มีดังนี้

-         หุงปลายข้าวด้วยหม้ออุ่นข้าวไฟฟ้า ไม่นิ่มไม่แข็ง พอข้าวสุก ก็ใช้ทัพพีซุบขณะร้อน

-         ตักปลายข้าวสุกขณะร้อน ระวังเชื้ออื่นเข้าใส่ในถุงพลาสติกทนร้อน 8X12 นิ้ว หรือ 250  กรัม/ถุง

-         กดข้าวให้แบนพับปากถุง รอจนข้าวอุ่นเกือบเย็น

การใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์ม่า

-         ใช้เหยาะหัวเชื้อลงในถุงข้าวในที่ลมสงบ 2-3  ครั้ง หรือประมาณ 1 กรัม/ถุง

-         รัดยางตรงปากถุงให้แน่น เขย่าหรือบีบเบาๆ ให้เชื้อกระจายทั่วถุง

-         สวมถุงให้ปากถุงพองอากาศ แล้วใช้เข็มแหลมแทงบริเวณรอบๆ ปากถุงที่ยางรัดไว้

การบ่มเชื้อราไตรโคเดอร์มา
-         กดข้าวในถุงให้แน่น ห้ามวางถุงซ้อนทับกัน ดึงกลางถุงให้พองออก ไม่ให้ถุงติดข้าว ให้อากาศเข้าได้
-         บ่ม 2 วัน โดยวางถุงในห้องที่ปราศจากมด ไร และ สัตว์อื่น ๆ อากาศไม่ร้อน ไม่ถูกแสงแดด แต่มีแสงสว่าง  6-10 ชั่วโมง/วัน หากแสงไม่พอใช้หลอดนีออนช่วยแทน
-         ครบ  2  วัน บีบเขย่าข้าวที่มีเส้นใยให้แตก วางถุงในที่เดิม ดึงถุงให้อากาศเข้าอีกเหมือนเดิม
-         บ่มต่ออีก  4-5 วัน บีบดึงถุงอีก
-         ครบ 15 วัน จึงนำไปใช้
 

ปัญหาที่พบ
-         เชื้อขึ้นขาวแต่ไม่เขียว ข้างแฉะไป ต้องลดน้ำหุ้งข้าว
-         ปากถุงราเขียวก้นถุงราขาว อากาศไม่พอแสงไม่พอ ให้เจาะรูเพิ่มให้ใช้ไฟนีออนช่วย 
-         เกิดหยดน้ำในถุง วางถุงข้าวในที่ร้อน ให้วางในที่เย็น
-         เชื้อดำเสียในถุงข้าว มีจุลินทรีย์ปนเปื้อน ต้องทิ้งถุงข้าวโดยไม่ต้องแกะ
-         เชื้อเขียวแล้วกลายเป็นเชื้อขาว เชื้ออายุเกิน 7 วัน ให้บ่มเชื้อครบ 7 วัน แล้วเก็บถุงเชื้อในตู้เย็น
-         เกิดการปนเปื้อน เชื้อราไตรโคเคอร์ม่ากลายพันธุ์

วิธีการดูว่าเป็นนาอิทรีย์แล้ว
1.     สัมภาษณ์ แนวคิดชาวนา
-         มีความรู้เรื่องจุลินทรีย์ ทำนาอินทรีย์
-         ตอบปัญหาได้ในมุมของเกษตรอินทรีย์ จุลินทรีย์ชีวภาพได้ ในเรื่องลดต้นทุนปุ๋ย ยาฆ่าแมลง วัชพืช เนื้อดิน
-         สามารถบอกเวลาข้าวปิดเปิดเกสรตัวเมียได้
-         ค้นหาวิธีการลดงานลงโดยวิธีการตัดหรือรวมขั้นตอนการทำนา
-         วิธีการทำนาในแต่ละขั้นตอนสอดคล้อง
-         ผลงาน ผลผลิต

2.     เยี่ยมบ้านชาวนา
-         พบตุ่ม ไห ถังหมักจุลินทรีย์ ถุงปุ๋ยอินทรีย์
-         มีการปลูกพืชสมุนไพรใกล้บ้าน
-         มีการทำน้ำฮอร์โมนพืช
-         มีการทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมัก ใช้เอง หรือเลือกซื้อได้
-         มีถังข้าวแช่น้ำจุลินทรีย์
-         มีรถไถนาขนาดเล็ก, และอุปกรณ์ทำนา เชิงระบบนิเวศน์
-         มีอุปกรณ์ตรวจสอบต่างๆ เช่น ทดสอบดินและน้ำ

3.     ตรวจนาอินทรีย์ภาพสนาม สถานที่ทั่วไป

-         มีเสียงกบเขียดร้อง
-         พบตัวห้ำตัวเบียน  มวลเพชรฆาต  แมงมุม ตามระยะเวลาการปลูกข้าว
-         ดินนาร่วนซุ่ย เดินแล้วนิ่ม ไม่แข็งกระด้าง ดินมีกลิ่นหอม ไม่เหม็น มีแก๊สบริสุทธิ์ ไม่มีแก๊สมีเทน หรือแก๊สไข่เน่า
-         น้ำสะอาดใส่ ไม่เน่าดำ เอาน้ำไปวิเคราะห์ไม่พบโลหะหนัก หรือมีน้อยมาก
-         มีซากอินทรีย์ ตอซังข้าว ที่มีลักษณะเป็นฮิวมัสแล้ว
-         เอาดินจากนา มาลอยเพาะเชื้อจุลินทรีย์ดู โดยการทดสอบกับน้ำผสมน้ำตาล จะมีแก๊สหอมชื้น
-         พบวิธีการทำนา เช่น การวางกระสอบปุ๋ยคอกวางขวางทางน้ำ
-         พบวิธีการ ฆ่าแมลงทางกล และชีวภาพ
-         มีเทคนิคการทำนาที่ใช้ในเชิงระบบนิเวศน์ เช่นการปลูกห่างและใบโปร่ง เพื่อกำจัดเพลี้ยและราสนิม โดยวิธีสร้างบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวย
-         ตรวจดูรวงข้าว เมล็ดเต็ม ไม่ลีบ จำนวนเมล็ดมาก จำนวนกอมีกี่ต้น ต้นละกี่รวง รวงละกี่เมล็ด
-         การกระจายความหนาแน่นต้นข้าวและรวงข้าว ในแต่ละไร่ ของแปลงนาว่าสม่ำเสมอ หรือแตกต่าง  สามารถอธิบายสาเหตุและผลได้
-         อธิบายธรรมชาติของนกกินหอย และแมลงศัตรูพืชได้ ในแง่โทษและประโยชน์พฤติกรรม นิสัย ที่สอดคล้องกับการควบคุมป้องกัน จำนวนประชากรแมลงไม่ให้มากถึงขั้นเสียหาย

บทส่งท้าย
 คุณชัยพร พรหมพันธุ์ เป็นชาวนาที่ทำเกษตรอินทรีย์มามากกว่า 20 ปี มาแล้ว อาศัยที่ตัวเองเป็นช่างเทคนิค เป็นคนชอบสังเกตุ ชอบคิดใหม่ทำใหม่ คิดปรับปรุงงานให้ทำงานน้อยลง ตัดงานบางอย่าง อย่างไรโดยการรวมงาน การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องทุนแรง มาช่วยลดแรงคน การดัดแปลงเครื่องมือที่มีอยู่แล้ว มาทำหน้าที่หว่านเมล็ดข้าวและปุ๋ยเม็ดได้ การทำอุปกรณ์สูบข้าวดีดอย่างง่ายๆ ราคาถูก การยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำเอง ใช้จ่ายประหยัด ใช้สารสมุนไพรไล่แมลงแทนเคมีฆ่าแมลง รู้จักธรรมชาติของนกในการลงนา การที่มีอุปนิสัยดี ที่ชอบสอนด้วย และมีแนวคิดกุศโลบายในการจูงใจตนเอง ให้ทำงานอย่างไร โดยไม่พึ่งคนอื่นมากนัก  การเป็นนักลดต้นทุนอยู่เป็นนิสัยรากฐาน  หากซื้อก็ซื้อน้อยที่สุด หากเป็นเครื่องจักรราคาแพงก็จะซื้อรถเก่า เช่น รถเกี่ยวข้าว รถใหม่ราคา 2  ล้านบาท ก็จะรอหาที่คนร้อนเงิน ขายรถเก่า ราคา 5 แสนบาท  1  ปี ก็ถอนทุนแล้ว เพราะไปรับจ้างเกี่ยวข้าวด้วย  การลดเวลาป้ายข้าวดีด โดยการเอาถังน้ำยาสะพายติดหลัง  คนเดียวกันทำได้  ไม่ต้องใช้ 2 คน แบบคนอื่น และไม่ต้องเดินย้อนไปมา  เดินเที่ยวเดียวไปทั่วไป งานจึงเสร็จเร็วและไม่เหนื่อย
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #69 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 21:26:42 »

คนค้นคน  ตอน ปริญญาทำนา
ชัยพล ยิ้มไทร



จากตัวหนังสือไม่กี่หน้า ในนิตยสาร ค ฅน ฉบับที่ 48 เดือนตุลาคม 2552 ที่ตีพิมพ์เรื่องราวของ ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน ได้ทำให้เด็กหนุ่มดีกรีนิติศาสตร์บัณฑิตคนหนึ่งที่ไม่ชอบเป็นเจ้านาย หรือเป็นลูกน้องใคร ไม่คิดจะเดินอยู่บนเส้นทางสายนักกฏหมายเหมือนเพื่อน ๆ ที่จบมาด้วยกัน เขานั่งคิด นอนคิดว่า อาชีพอะไรที่เหมาะกับคนรักอิสระเช่นเขา และเขาก็ค้นพบว่า อาชีพ "ชาวนา" นี่แหละ คือสิ่งที่เขาปรารถนา

          รายการ คนค้นฅน ได้นำเสนอเรื่องราวของหนุ่มผิวคล้ำร่างใหญ่ ชัยพล ยิ้มไทร ชาวจังหวัดนนทบุรี วัย 27 ปี...เขาคือหนุ่มรักอิสระที่ดั้นด้นเดินทางไปหา ชัยพร พรหมพันธุ์ เพื่อขอคำแนะนำการทำเกษตรกรรม และชัยพรก็คือคนที่ทำให้เขาพบแสงสว่างของการเป็นชาวนา เมื่อได้รับคำแนะนำกลับมา หนุ่มคนนี้ก็ได้เช่าพื้นที่รกร้างในอำเภอเชียงราก จังหวัดปทุมธานี เพื่อเดินตามความฝันของตัวเองทันที



* 2.jpg (59.45 KB, 600x338 - ดู 4699 ครั้ง.)

* 3.jpg (61.68 KB, 600x338 - ดู 4742 ครั้ง.)

* 4.jpg (102.77 KB, 600x338 - ดู 4781 ครั้ง.)

* 5.jpg (85.13 KB, 600x338 - ดู 4563 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #70 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 21:37:39 »

คนค้นคน  ตอน แหลม อรหันต์ชาวนา



คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นสิ่งที่คุ้นหูกันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถนำกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างจริงจังและสมบูรณ์แบบ เฉกเช่น "อรหันต์ชาวนา" หรือกลุ่มชาวบ้านแห่งบ้านโนนยาง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ที่มีแหลม พูนศักดิ์ สมบูรณ์ เป็นผู้ริเริ่ม

          แหลม หรือ พูนศักดิ์ สมบูรณ์ เป็นลูกชาวนาธรรมดาๆ คนหนึ่งแห่งบ้านโนนยาง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เมื่อเรียนจบชั้น ป.6 แล้ว  "แหลม" ก็ได้เดินตามกระแสสังคม ก้าวเดินออกจากบ้านเข้ามาหางานทำในเมือง และประกอบอาชีพ "ช่างซ่อม" ซึ่งเป็นสิ่งที่เขามองว่า ดูดี และทำเงินได้อย่างรวดเร็ว เขาได้เป็นช่างซ่อมประจำร้านในเมือง ก่อนจะเปิดร้านรับซ่อมเองที่บ้าน มีกำไรพอสมควร

จนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง "แหลม" กลับมองว่า การเป็นลูกจ้างคนอื่น ไม่ใช่หนทางที่เขาอยากจะเลือกเป็น และเริ่มคิดว่า เขากำลังตกเป็นทาสของระบบทุนนิยม ตกอยู่ในวังวนของการเอารัดเอาเปรียบจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เขาไม่สบายใจ และนั่นทำให้ "แหลม" เริ่มมองหาชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

          หลังจากสับสนในชีวิตอยู่พักใหญ่ "แหลม" ก็ได้ไปดูงานของ "พ่อใหญ่เชียง น้อยไท" ชาวนาอาวุโสแห่งจังหวัดสุรินทร์ และเห็นแปลงเกษตรที่มีทั้งปลูกพืช สมุนไพร หลากหลายอย่าง ความประทับใจในครั้งนั้นทำให้ "แหลม" เริ่มมองเห็นความจุดมุ่งหมายของตัวเอง

 "การเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน" คือคำตอบสุดท้ายของ "แหลม" ทั้งที่เขาไม่เคยมีความคิดว่า จะทำนาเหมือนดังเช่นพ่อแม่ของเขามาก่อนเลย นั่นทำให้เขาเริ่มปรับเปลี่ยนชีวิตของตัวเองอีกครั้ง เขาตัดสินใจหันหลังให้กับการทำงานในเมือง ที่ใครๆ ต่างพากันยื้อแย่งเพื่อที่จะก้าวไปสู่ดินแดนศิวิไลซ์เช่นที่ "แหลม" มีโอกาส แต่สำหรับ "แหลม" เขามองว่า การพึ่งตัวเองได้ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

          "แหลม" ตัดสินใจกลับบ้านมาใช้วิถีชีวิตดังเช่นชาวนาชาวสวน ทำนาโดยใช้ควาย แทนที่จะใช้เครื่องจักร เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา และปลูกสมุนไพรไปในคราวเดียวกัน

"ชาวนาที่ดูถูกควาย ผมไม่คิดว่าเค้าเป็นชาวนา ชาวนาจริงๆ จะคิดว่า ควายคือเพื่อนที่มีบุญคุณ สำหรับผมกลับยกย่องว่า ควายเป็นครู ผมต่างหากที่คิดว่าตัวเองเป็นศิษย์ของควาย" แหลมบอก

          แม้จะไม่มีใครเห็นด้วยกับความคิดของเขา และพากันเรียกเขาว่า "ผีบ้า" แต่ด้วยกำลังใจจาก "เรณู" ผู้เป็นภรรยา และลูกชายทั้งสองคน ก็ทำให้ "แหลม" ลุกขึ้นสู้ และฝ่าฟันจิตใจที่อยากจะกลับไปเป็นช่างซ่อมอีกครั้ง จนผ่านไปได้ด้วยดี

          "คนในหมู่บ้านมองว่าผมเป็นผีบ้า เพราะกลางคืนเดือนแจ้ง ผมจะลงไปขุดดินทำหลุมปลูกผัก บางวันก็ทำงานไม่หยุด เพราะต้องการที่จะให้มันเกิดผลเร็วๆ ให้พื้นที่แห้งแล้งกลายเป็นสีเขียวให้ได้ แล้วที่สำคัญผมต้องการพิสูจน์ให้ชาวบ้านที่เขาปรามาสไว้ว่า ไม่มีทางเป็นจริงได้ แต่ผมจะทำให้ได้..."


 สิ่งที่ "แหลม" ทำสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงของแหลม คือเขาไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินเลย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาต้องการ ก็สามารถหาได้จากไร่นาของเขา และความหลากหลายของการทำเกษตรก็ทำให้เขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างสบายๆ เพราะสามารถเก็บผลผลิตไว้ทานเอง ให้เพื่อนบ้าน หรือจะนำไปขายก็ได้

          "การทำอย่างนี้มันเหมือนกับเราฉีกสังคม แต่สังคมที่เราฉีกไปหาก็คือบรรพบุรุษของเรา มันคือรากเหง้าของเราเอง ถ้าทำเกษตรอินทรีย์แบบจริงๆ จังๆ นะ เราจะหลุดพ้นจากระบบนายทุนอย่างเต็มตัวเลย ทำนาง่ายนิดเดียว ลงแรงก็จริง เหนื่อยก็จริง แต่ก็แค่เดือนครึ่ง พอข้าวเต็มยุ้งฉาง เวลาที่เหลือจะนั่งเล่น นอนเล่นก็ได้"


 นอกจาก "แหลม" จะยึดแนวคิดพอเพียงมาใช้กับครอบครัวของตัวเองแล้ว เขาเล็งเห็นว่า สิ่งดีๆ เหล่านี้ควรจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย "แหลม" จึงเริ่มถ่ายทอดประสบการณ์การทำนาของตัวเองผ่าน "โรงเรียนอรหันต์ชาวนา" ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้การเกษตรแบบผสมผสาน โดยเริ่มให้ความรู้จากคนในหมู่บ้านก่อน จนเมื่อแนวคิดของเขาได้บอกต่อปากต่อปากไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ทำให้มีหลายคนหันมาสนใจการเกษตรแบบพอเพียงมากขึ้น โดยสิ่งที่ "แหลม" เน้นย้ำก็คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่จะทำให้คนอยู่รอดได้

"ความรู้ในวิชาชีพอื่นๆ นั้นถูกเผยแพร่เยอะแล้ว แต่ชาวนามีโอกาสน้อยมากที่จะได้ขึ้นเวทีพูดให้คนอื่นฟัง ผมอยากให้คนอื่นได้รู้กรรมวิธีของชาวนา ให้รู้ว่าเป็นชาวนาแล้วไม่อดตาย" แหลมกล่าวอย่างมุ่งมั่นและภาคภูมิใจในอาชีพของตัวเขา

          ปัจจุบัน "แหลม พูนศักดิ์" เป็นหนึ่งในความภูมิใจของชาวยโสธร จนชาวบ้านขนานนามเขาว่า "แหลม ยโสธร" และนี่ก็คือชีวิตที่เรียบง่าย แต่สร้างความสุขได้บนพื้นฐานการดำเนินชีวิตในแบบของ "เศรษฐกิจพอเพียง" และสมดังคำว่า "อรหันต์ชาวนา" ที่เปรียบประดุจชาวนาผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว จนสามารถหลุดพ้นจากวัฎสงสารของระบบนายทุน หลุดพ้นจากวังวนแห่งการใช้สารเคมี และการหลุดพ้นจากความจน อันเป็นผลพลอยได้ที่ตามมานั่นเอง


* 6.jpg (79.98 KB, 400x533 - ดู 4763 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #71 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 09:17:21 »



  ติตตามอยู่ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #72 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 14:12:43 »

ธาตุอาหารพืชในธรรมชาติ

ไนโตรเจน
ในพืช :
- ส่วนสีเขียวเข้มแก่จัดของพืชทุกชนิด. ต้นถั่วทุกชนิด. พืชตระกูลถั่ว (ก้ามปู. พุทรา. มะขามเทศ. มัยราบ. ทองหลาง. กระถินทุกชนิด. โสนทุกชนิด). สาหร่ายน้ำจืดทุกชนิด.
ในสัตว์ :
- เมือก-คาว-เลือด-เนื้อ สดๆ จากปลายังมีชีวิต.
ในน้ำ :
- น้ำฝน. น้ำค้าง. น้ำในแหล่งธรรมชาติ.

ฟอสฟอรัส
ในพืช :
- รากสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. ใบแก่ชะอม-ขจร-ถั่วพู-กระถิน-มะระ-บัวบก-ผักบุ้งจีน-สะระแหน่-หน่อไม้ฝรั่ง. งาดำ. ถั่วดำ. ถั่วลิสง. ถั่วเหลือง. เมล็ดบัว. ลูกเดือย. ดอกตูมและเกสร. สาหร่ายทะเล
- เนื้อผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุน เช่น กล้วย. เงาะ. มะละกอ. ทุเรียน. ละมุด. ฝรั่ง. น้อยหน่า. แก้วมังกร. มะปรางหวาน. มะยงชิด. ลองกอง. ลางสาด. มะขามหวาน. แตงโม. แคนตาลูป.
ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกปลาทะเล สด/แห้ง-เก่า/ใหม่
ในอาหารคน :
- มัสตาส. นมผงขาดมันเนย. เนยแข็ง. ลูกชิ้นกุ้ง. กะปิเคย

โปแตสเซียม
ในพืช :
- เปลือกและเนื้อของผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุนเหมือนฟอสฟอรัส
- ผลดิบแก่จัด เช่น ฟักทอง. แตงทุกชนิด. กระเจี๊ยบ. พริกสด. มะเขือพวง.
- ผักสด เช่น บล็อกโคลี่. ผักกาดขาว. ผักกาดหอม. ป๊วยเหล็ง.
- เปลือกแห้ง/สด/ใหม่ของผลไม้รสหวาน เช่น ทุเรียน. กล้วย. มะละกอ (ยกเว้น มังคุดและเงาะ)
ในสัตว์ :
- เนื้อสดสัตว์น้ำจืด/ทะเล. เครื่องในสัตว์บก/ทะเล

แคลเซียม
ในพืช :
- ผักผลสดแก่จัด เช่น ถั่วลันเตา. กระเจี๊ยบ. แตงดิบทุกชนิด. มะขามเทศมัน. กระถิน. มะระ. มะเขือเทศดิบ. บวบเหลี่ยม. งาดำ
- ผักใบสดแก่จัด เช่น คะน้า. โขม. กะเฉด. บล็อกโคลี่. ยอดปอ. ใบแก่ฟักทอง
- ผลดิบสดแก่จัดรสฝาดยังไม่สุก เช่น ฝรั่ง. อะโวคาโด. ผล/เมล็ดแตงแก่สดทุกชนิด. เมล็ดถั่วเขียว. มะขามเทศฝาด. มะขามป้อม. ขุยมะพร้าว.
ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกของปลาสดมีชีวิต. เปลือกไข่. เปลือกหอยสด/แห้ง/เก่า/ใหม่. นมสดสัตว์รีดใหม่. กุ้งฝอยสด/แห้ง. หอยจูน. หอยทราย
ในอาหารคน :
- นมพร่องมันเนย. เนยแข็ง. ผงกะหรี่. ไข่สด
ในธรรมชาติ :
- ยิบซั่มธรรมชาติ. ปูนหินเผา. ปูนเปลือกหอมเผา.  ปูนมาร์ล.  โดโลไมท์.

แม็กเนเซียม
ในพืช :
- เปลือก-ใบ-ตา-ต้นสีเขียวเข้มแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. เนื้อ/เปลือกผลไม้สดแก่จัดสุกงอมรสหวานอมเปรี้ยว เช่น สับปะรด. สตรอเบอรี่. มะเฟือง. ระกำ. สละ. เชอรี่. มะเขือเทศดิบ
ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกสัตว์สด/แห้ง-ใหม่/เก่า.  ปลาทะเล.
ในธรรมชาติ :
- ปูนมาร์ล. โดโลไมท์.
             
กำมะถัน
ในพืช :
- พืชสด/แห้งแก่จัดที่มีกลิ่นฉุน เช่น หอมแดง. หอมหัวใหญ่. กระเทียม. ขึ้นฉ่าย. ผักชี. สะตอ. พริกสด/แห้ง
ในสัตว์ :
- เมือก-เลือด-เนื้อสดใหม่จากปลาทะเลมีชีวิต
ในอาหารคน :
- ไข่สด
ในธรรมชาติ :
- ยางติดเปลือกมังคุด. กำมะถันผง

เหล็ก
ในพืช :
- ตาที่กำลังอั้นเต็มที่. ยอดอ่อน. เนื้อ/ใบสดแก่จัดของฟักทอง-ฟักเขียว-เผือก-กะเฉด-ผลพริกสด-ยอดปอ. มะเขือพวง. เมล็ดถั่วแขกแห้ง. เมล็ดบัว. เมล็ดกระถิน. ถั่วลิสง. ลูกเดือย. ยอดขี้เหล็ก. ผักดูด. เห็ดหูหนู. มัสตาด. จมูกข้าว.
ในสัตว์ :
- เมือก-เลือด-เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต. เลือดวัว/ควาย/ไก่/แพะ. นมสดสัตว์รีดใหม่.
ในอาหารคน :
- มัสตาด. นมกล่องจืด/เปรี้ยว. ไข่สด.

ทองแดง
ในพืช :
- ส่วนสีเขียวสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. พืชตระกูลถั่ว.
ในสัตว์ :
- เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต

สังกะสี
ในพืช :
- หัวสดแก่จัดเป็นเสี้ยนจนกินไม่ได้ เช่น ไชเท้า. แครอท. มันเทศ. มันแกว
- เหง้าหรือไหลสดแก่จัด เช่น ผักปอด. พุทธรักษา. กล้วย. เตย. ตำลึง.
- เมล็ดสดแก่จัด เช่น ฟักทอง. บวบ. แตง. ถั่วเขียว.
ในสัตว์ :
- หอยทะเล.  ปลาทะเล.

แมงกานิส
ในพืช :
- มะเขือเทศสุก. ผลตำลึงสุก. ผลวัชพืชสุก.
ในสัตว์ :
- เครื่องในสดปลาทะเล.
ในพืช :
- เมล็ดอ่อน. ส่วนที่เป็นน้ำหรือเยื่อเจริญของพืช.

โมลิบดินั่ม
ในพืช :
- เยื่อเจริญ                 

โบรอน
ในพืช :
- ผลอ่อน-ยอดอ่อน-ใบอ่อน-รากอ่อน ลักษณะกรอบ เปราะ เด็ดได้ด้วยมือ เช่น ผล/ยอดแตง-กะเฉด-ตำลึง-ผักบุ้ง-ยอดอ่อนของพืชเลื้อยทุกชนิด-เปลือกสดเขียว ส่วนปลายกิ่งที่กำลังมีผลอ่อน.  ทะลายปล์ม.
ในสารสังเคราะห์ :
- น้ำประสานทอง. โบรอนพืช (เกรด 10 โมเลกุลน้ำ).

ซิลิก้า
ในพืช :
- แกลบดิบ. หญ้าคา. หญ้าขน. กากน้ำตาล.
ในธรรมชาติ :
- หินภูเขาไฟ

โซเดียม
ในสัตว์ :
- เครื่องในสดใหม่ปลาทะเลมีชีวิต. มูลควาย.
ในธรรมชาติ :
- เกลือสมุทร. คาร์บอน
.ในสารธรรมชาติ :
- แกลบดำ. ถ่าน. ขี้เถ้า. ควันไฟ.

จิ๊บเบอเรลลิน
ในพืช :
- เมล็ดเริ่มงอก. น้ำมะพร้าวอ่อน. ผลอ่อนของผลไม้ที่มีลักษณะยาว. ยอดอ่อนพืชเด็ดได้ด้วยมือ. เถาบอระเพ็ดสดแก่จัดช่วงความสูง 1 ม.แรกจากพื้น. เปลือกสดปลายกิ่งส่วนที่เป็นสีเขียวขณะมีผลแก่.
ในสัตว์ :
- น้ำล้างเขียงทำปลา.

ไซโตคินนิน
ในพืช :
- หัวไชเท้า. ผักปรัง. ข้าวโพดหวาน. ข้าวระยะน้ำนม. โสมไทย. หน่อไม้ฝรั่ง. หน่อไม้ไผ่ตง.   น้ำมะพร้าวแก่.  แป้งในพืชหัวระยะกำลังเจริญเติบโต.  สาหร่ายทะเล.
ในสัตว์ :
- สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง. เคย. ปู. หนอน. แมลง. กิ้งกือ. ไส้เดือน. กระดองเต่า/ตะพาบ. ปลิงทะเล/น้ำจืด. ลิ้นทะเล. รกสัตว์. ไข่อ่อน. ไข่ขาว.  น้ำหอยเผา.   

อะมิโน
ในพืช :
- น้ำเต้าหู้พร้อมดื่ม.   
ในสัตว์ :
- ปลาทะเล. เยื่อหุ้มเมล็ดเลือด.
ในอาหารคน :
- ซุปไก่สกัด.  น้ำก้นหม้อนึ่งปลา.  น้ำเนื้อตุ๋น. ผงชูรส.

โอเมก้า
ในสัตว์ :
- เครื่องในสัตว์ทะเลสดมีชีวิต. หนอน. เนื้อปลาทะเลสด.
ในอาหารคน :
- ไข่สด. นมสด.

เอ็นเอเอ.
ในพืช :
- หัวกวาวเครือขาวสดแก่จัด

พาโคลบิวทาโซล
ในพืช :
- เหง้าตำลึงสดแก่จัดเป็นเสี้ยน ใบข่อยสดแก่จัด ผักปรังต้นแก่จัด ผักเสี้ยนต้นแก่จัด. หัวสดแก่จัดจนเนื้อเป็นเสี้ยนกินไม่ได้ เช่น หัวไชเท้า. มันเทศ. มันแกว.

วิตามิน บี.
ในพืช :
- เมล็ดทานตะวัน. น้ำมันพืช.
ในอาหารคน :
- ไข่สด
ในสัตว์ :
- หนังปลาสดใหม่

วิตามิน อี.
ในสัตว์ : 
- ไข่แดง.  หนังปลา.
ในพืช :
- แตงกวา

โปรตีน.
ในพืช :
- ถั่วเหลือง.
ในสัตว์ : 
- เนื้อสัตว์สดใหม่
ในอาหารคน : 
- เนื้อสัตว์ทุกชนิด (ในปลามากที่สุด).  นม.  ไข่.  น้ำเต้าหู้.  น้ำต้มตุ๋น. 

เอสโตรเจน.
ในพืช :
น้ำมะพร้าวแก่.
ในสัตว์ : 
- น้ำเชื้อ.
ในอาหารคน : 
- ยาเม็ดคุมกำเนิดแถวบำรุง.   ไวอากร้า.  เอสไพริน.

      หมายเหตุ :
   - เกษตรกรสหรัฐอเมริการู้จักการทำและใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพมานานกว่า 50 ปีแล้ว โดยปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ใช้ทำจากวัสดุส่วนผสมแบบเลือกสรรพิเศษพบว่ามีธาตุอาหาร พืชกลุ่ม “อะมิโน โปรตีน”  เป็นหลัก และวันนี้ เกษตรกรเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ก็ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางและจริงจัง
    - ผู้ค้นพบปุ๋ยหมักครั้งแรก คือ นักวิชาการเกษตรอินเดียได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว ถึงวันนี้ก็ยังได้รับความนิยมและความเชื่อถือจากเกษตรไทยน้อยมาก
    - ปัจจุบันเกษตรกรเยอรมันที่มีเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การเกษตรสูงมาก ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางทำการเกษตรแบบเคมีวิทยาศาสตร์ล้วนๆ มาสู่รูปแบบ “อินทรีย์ชีวภาพนำ-เคมีวิทยาศาสตร์เสริม” อย่างกว้างขวาง โดยมีหลักวิชาการเข้ามาประกอบการใช้ ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตการทำอาชีพเกษตรกรรมดีขึ้น     

         แนวความคิดในการทำธาตุอาหารพืช
1. รู้......พืชต้องการธาตุอาหารตัวใด ?
2. รู้......ธาตุอาหารที่พืชต้องการนั้นมีอยู่ในวัสดุใด ?
3. รู้......วิธีแปรสภาพวัสดุนั้นให้เป็นธาตุอาหารสำหรับพืชได้อย่างไร ?
4. รู้......วัสดุที่แปรสภาพแล้วนั้นได้ธาตุอาหารพืชตัวใด ?
5. รู้......วิธีให้ธาตุอาหารที่แปรรูปแล้วแก่พืชอย่างไร ?
6. รู้......ธาตุอาหารแต่ละตัวที่แปรสภาพแล้วบำรุงพืชเพื่ออะไร ?

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #73 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 14:15:26 »

ข้าวอินทรีย์
ข้าวอินทรีย์ เป็นข้าวจากการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่มีการใช้สารเคมี สารสังเคราะห์โดยมนุษย์ ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารคุมและฆ่าวัชพืชทางเคมี สารเคมีป้องกันโรค สารเคมีฆ่าแมลง  สารเคมีฆ่าสัตว์ศัตรูพืชทุกชนิด สารเคมีฮอร์โมน แต่จะใช้วัสดุธรรมชาติและสารสกัดจากพืช สัตว์ ที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์มาใช้ทดแทน ตลอดจนไม่มีสารพิษตกค้างในข้าว หรือตกค้างในนา ในน้ำ จนทำลายสิ่งแวดล้อม

          การผลิตข้าวอินทรีย์เน้นความยั่งยืน โดยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูดิน สร้างสมดุลระบบนิเวศน์ การปรับปรุงบำรุงดิน โดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ วัสดุอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ ชีวภาพ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรค รักษาความสมดุลของศัตรูธรรมชาติทางโรคและแมลง การจัดการพืชต้นข้าว น้ำ อากาศ ตามจังหวะที่ต้นข้าวต้องการ ตั้งแต่ต้นกล้า วัยรุ่น ออกดอก ออกรวง การจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้โรคระบาดได้ง่าย โดยเฉพาะความโปร่งแสง ความชื้น  อากาศ น้ำขัง หรือน้ำแห้ง จนทำให้พืชต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี ได้ผลิตสูง

          การผลิตข้าวอินทรีย์ จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ปราศจากสารเคมี หลังการเก็บเกี่ยวด้วย มีการขนส่ง การเก็บ การสีข้าว การบรรจุหีบห่อ จนถึงมือผู้บริโภคให้ปราศจากสารเคมี หรือสารพิษต่างๆ

          การปรับปรุงบำรุงดิน ต้องมีเทคนิคการไถกลบตอซัง ย่อยสลายตอซัง การใช้จุลินทรีย์ ตามภารกิจหน้าที่ ไม่ว่าเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์  ปุ๋ยน้ำฮอร์โมน จุลินทรีย์ป้องกันโรคเน่า  จุลินทรีย์สกัดสมุนไพร เกิดธาตุอาหาร NPK ในซากพืช ซากสัตว์ในดิน สลายออกมาให้พืชต้นข้าว สามารถกินได้ เลิกเผาตอซังในนาข้าว เพื่อรักษาชีวิตจุลินทรีย์  แมลงและสัตว์ที่เป็นประโยชน์ให้อยู่ในภาวะสมดุลต่อไป

ขั้นตอนการปลูกข้าวอินทรีย์มีดังนี้

1) การสำรวจพื้นที่แปลงนา

-         สภาพน้ำ (น้ำใช้ น้ำฝน สถิติน้ำฝน คุณภาพน้ำ แหล่งน้ำ)
-         สภาพดิน (ความสมบูรณ์ของดิน  pH , N-P-K จุลินทรีย์ในดิน สารเคมีตกค้างในดิน
-         สภาพความเป็นอยู่ของโรคพืช แมลง และศัตรูพืช (โรคเน่า หนอนแมลง หอยเชอรี่ โรคระบาด โรคประจำถิ่น)
-         สภาพลม (หน้าหนาว ทิศทางลม)
-         สภาพวัชพืช (ข้าววัชพืช โสน กก หญ้าขาว)
-         สภาพสัตว์ (กบ เขียด ปูนา แมงดา อึ่ง หนู งู)
-         สภาพเกษตรรอบๆ (การปลูกข้าวรอบๆ การเลี้ยงเป็ด วัว เลี้ยงปศุสัตว์ การปลูกอ้อยข้างๆ)

2) การเลือกพืชพื้นที่ปลูก

          พื้นที่เหมาะสมการปลูกมี
-         แปลงใหญ่
-         ความสมบูรณ์ดินสูง
-         อยู่ไกลจากพื้นที่เกษตรเคมีที่ใช้มากๆ มาอย่างยาวนาน
-         สารเคมีตกค้างในดินต่ำ

3) การดูแลความสมบูรณ์ของดิน

          สร้างความสมบูรณ์ของดินโดย

-         ไม่เผาตอซัง เพราะทำให้จุลินทรีย์ตาย และดินแข็งแน่น ตลอดจนไล่คาร์บอนในดินสู่บรรยากาศ
-         นำอินทรีย์วัตถุจากแปลงนาและแหล่งใกล้เคียงมาลงสู่แปลงนา อยู่เป็นระยะๆ
-         ปลูกพืชตระกูลถั่ว โสน แล้วไถกลบ เพิ่มไนโตรเจนในดิน
-         ปลูกพืชคลุมดินช่วงที่ไม่ได้ปลูกข้าว เพื่อคลุมหน้าดินดี ไม่ให้ถูกชะล้างออกไป
-         ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี เช่นมูลสัตว์ ซากพืช
-         ราดพ่นน้ำจุลินทรีย์หมักย่อยสลายตอซังข้าวแล้วไถกลบ
-         ใช้อนินทรีย์วัตถุและอินทรีย์วัตถุ ราดแทนปุ๋ยเคมี เช่น

N: แหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว กากเมล็ดสะเดา เลือดสัตว์แห้ง กระดูกป่น
P:  หินฟอสเฟต กระดูกป่น มูลไก่ มูลค้างคาว กากเมล็ดพืช ขี้เถ้าไม้ สาหร่ายทะเล
K:  ขี้เถ้า หินปูน หินดินดาน
Ca:          ปูนขาว โคโลไมต์ เปลือกหอยป่น กระดูกป่น

-         ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกถั่วสลับปลูกข้าว

4) การคัดเลือกพันธุ์ข้าว

-         เหมาะสำหรับพื้นที่นั้น คืออยู่ในที่ดินสมบูรณ์ต่ำได้  ต้านทานโรค ทนแมลง ตรงตามต้องการตลาด
-         พันธุ์ข้าว และลักษณะเด่น ของแต่ชนิดพันธุ์ข้าว เลือกใช้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยว ทนดินเค็ม ต้านทานไส้เดือนฝอย ทนโรคไหม้ โรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง โรคจู๋ ทนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทนเพลี้ยจักจั๋นสีเขียว  ทนหนอนกอ ทนแมลงบั่ว  นวดง่าย กลิ่นหอม หุ้งต้มง่าย แตกกอดี ฟางแข็งไม่ล้มง่าย ทนน้ำท่วม ทนโรคกาบใบเน่า คอรวงยาว  เกี่ยวง่าย จำนวนเมล็ดต่อรวงมาก ทนโรคใบหงิก ทนโรคเขียวเตี้ย
-         ควรเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวจากแปลงเกษตรอินทรีย์ เอามาปลูก ปราศจากโรคแมลง
-         ทดสอบ% การงอกและความแข็งแรง
-         ปราศจากเมล็ดวัชพืช
-         อาจป้องกันโรคติดต่อมากับเมล็ดพันธุ์ โดยการแช่ในน้ำจุนสี (0.1%) นาน 20 ชั่วโมง แล้วล้างน้ำสะอาดก่อนนำไปปลูก
-         ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมีในขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมดหากมีให้แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50-55  ํซ นาน 10-30 นาที

5) การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนปลูก

          - เป็นพันธุ์ข้าวมาตรฐาน
          - ผลิตจากแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าว
          - %  ความงอกสูง
          - ปราศจากโรคแมลง
          - ปราศจากเมล็ดวัชพืช
          - แช่ข้าวเปลือกในน้ำจุลินทรีย์  1% นาน 20 ชั่วโมง ก่อนนำไปหว่านปลูก

6) การเตรียมดินในแปลงนา

     วัตถุประสงค์เตรียมดินเพื่อ

-         สร้างสภาพเหมาะสะดวกในการปลูก
-         ทำให้ข้าวเจริญเติบโตดี
-         ช่วยควบคุมวัชพืชโรคและแมลง
     การเตรียมดินโดยการไถ
-         ไถดะ เพื่อทำลายวัชพืช พลิกกลับหน้าดิน กลบให้วัชพืชตาย ไถกลบตอซังให้ย่อยสลาย ไถกลบแล้วทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
-         ไถแปร เพื่อตัดรอยไถดะ ทำให้รอยไถดะแตกออกเป็นก้อนเล้กๆ จนวัชพืชหลุดออกจากดิน อาจไถมากกว่า 1 ครั้ง ก็ได้ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนา ชนิด และปริมาณวัชพืช
-         ไถคราด  เพื่อคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนาและปรับที่นาให้ราบเสมอกัน เพื่อให้ข้าวได้รับน้ำเสมอกันทั่วแปลง และสะดวกในการไขน้ำในนาออก

วิธีปักดำ
                 โดยการตกกล้า แล้วนำไปปักดำในนา ซึ่งได้ในการเตรียมดิน โดยการไถดะ 

     ตากดิน ปล่อยน้ำท่วมแปลง ไถแปร ไถคราดแล้ว

-         ตกกล้าคือ การเอาเมล็ดพันธ์ข้าวไปหว่านให้งอก 100 กรัม/ตรม. ในดินเปียก หรือในดินแห้ง คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ในน้ำเกลือ 1.7 กก. ต่อน้ำ  10 ลิตร คัดเอาเมล็ดลอยออกไป เมล็ดใส่ถุงไปแช่น้ำธรรมดา 12-24 ชม. แล้วเอาไปวางบนแผ่นกระดานให้ระบายอากาศดี แล้วเอาผ้าเปียกหรือกระสอบเปียกคลุมไว้นาน 36-48 ชั่วโมง พอเมล็ดงอกก็เอาไปหว่านลงแปลง

-         วิธีตกกล้าดินเปียก โดยหว่านเมล็ดงอกลงบนดินที่สูงกว่าระดับน้ำโดยรอบ 3 ซม. ทำเป็นร่องกว้าง 50  ซม.  เว้นคนเดิน  30 ซม. แนวยาวตามลม

-         วิธีตกกล้าดินแห้งโดยการเปิดร่องเล็กๆ ขนาดยาว 1 ม. หลายแถว ห่างกัน 10 ซม. หว่านเมล็ดในร่อง ใช้อัตรา 7-10 กรัม/ม. แล้วกลบดิน กันนกหนูรบกวน รดน้ำด้วยฝักบัว วันละ 2-3 ครั้ง

-         การดูแลแปลงกล้า ในกล้าดินแบบเปียก รักษาระดับน้ำ 2-3 ซม.   15 วัน แล้วระบายน้ำออก 2 วัน จากนั้นเอาน้ำแข็งแช่ 3-5 ซม. จนอายุกล้า 25 วัน ปล่อยกล้าขาดน้ำอีก 2-3 วัน จนอายุกล้า 28 วัน  ก็เอาน้ำเข้าอีก พอครบ 30 วัน ก็ถอนไปปักดำ ลักษณะต้นกล้าที่จะไปปักดำสีเขียวอมเหลืองหากพบเพลี้ยไฟ ให้ไขน้ำท่วมมิดต้นข้าว 6-12 ชั่วโมง สลับ 3-4 วัน

-         การถอนกล้า อายุ 25-30 วัน ล้างรากจับแยกรากที่โคนต้นสลัดในน้ำ มัดเป็นกำ ตบกล้าให้รากเสมอกัน กำละ 800-1,000 ต้น  ปักดำ 100 กำต่อไร ย้ายไปแปลงดำ  วางเรียงกระจายทั่วแปลงนา ให้รากแช่น้ำตลอดเวลา

-         วิธีปักดำ กล้าอายุ 30 วัน ถอดมัดเป็นกำๆ ตัดปลายทิ้ง ยกเว้นกล้าเล็ก ล้างเอาดินที่รากออก เอาไปปักดำในนาที่มีน้ำท่วม 5-10 ซม. ใช้กล้าประมาณ 7 กกต่อไร่ ดำระยะ 20 X
20 ซม. จำนวน 3-5 ต้น/กอ ระดับน้ำน้อยกล้าจะล้มง่าย ระดับน้ำสูงกล้าจะแข่งยึดต้น จะแตกกอน้อย

วิธีหว่านข้าวแห้ง
          หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในนาที่ไถเตรียมไว้ หลังจากไถดะและไถแปรแล้ว  เหมาะสำหรับพื้นที่ฝนตกน้อย วัชพืชน้อย นาลุ่ม เมล็ดข้าวจะตกอยู่ตามซอกดิน รอยไถ พอฝนตกความชื้นถึงก็จะงอก  และดินจะลงไปกลบ อัตราการหว่าน 20-25 กก. /ไร่

วิธีหว่านน้ำตม
เตรียมดินเหมือนนาดำ มีไถดะ ไถแปร ไถคราด เก็บวัชพืช ปรับระดับพื้นที่นา ทิ้งให้ดินตกตะกอนจนน้ำใส ให้หว่านลงในนา นี้มีระดับน้ำไม่มากกว่า  2 ซม.  ใช้ 15-20 กก/ไร่ พอข้าวงอกก็จะโตพ้นน้ำขึ้นมา  วิธีนี้เหมาะสมสำหรับในพื้นที่เขดน้ำชลประทาน

การควบคุมวัชพืช
วัชพืชในนาข้าว

-         นาหว่านมีวัชพืชมากกว่านาดำ เพราะนาดำมีการเตรียมดินเก็บวัชพืชออกไปจากแปลงนาก่อนปักดำ

-         วัชพืชมี 5 ประเภท ดังนี้

1.     วัชพืชใบกว้าง เช่น แพงพวยน้ำ เทียนนา สาหร่ายหางกระรอก ผักปราบนา ผักปอด ผักตับเต่า
2.     วัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าขาวนก หญ้านกเขา หญ้าแดง หญ้ากระดูกไก่ หญ้าก้านธูป หญ้าชันอากาศ
3.     กกมีลำต้นเป็นเหลี่ยมสามแฉก เช่น แห้วหมูนา
กก  แห้วทรงกระเทียม หนวดปลาดุก หนวดแมว
4.     สาหร่าย เช่น สาหร่ายไฟ สาหร่ายเส้นด้าย
5.     เฟิร์น เช่น ผักแว่น ผักกูดนา ผักกูดน้ำ

การควบคุมวัชพืช และศัตรูพืชในนา
-         หว่านถั่วเขียว คุมหญ้า หว่านพร้อมเมล็ดข้าว
-         ใช้แรงคนถอน
-         คุมระดับน้ำในแปลงนา ในระยะ 1-2 เดือน หลังปักดำ
-         ปลูกพืชหมุนเวียน เช่นปลูกถั่วเขียวก่อนข้าว
-         เลือกพันธุ์ข้าวต้านทานทนทาน

โรคในนาข้าว
  -   โรคไหม้ เกิดจากเชื้อรา ไพริดูลาเลีย ออไรซี ปลิวมากับลม ถูกใบจะเป็นแผล
       เป็น สีน้ำตาลรูปตาคน ทำให้เกิดใบแห้งตาก ทำให้คอรวงข้าวเน่า
       ทำให้เมล็ดลีบ  โรคจะรุนแรง หากข้าวไม่ทน และดินมี N สูง
       แก้โดยฉีดน้ำสมุนไพรบอระเพ็ด

-         โรคถอดฝักดาบ เกิดจากรา ยิบเบอเรลลา ฟูจิคูรอย เส้นใยสีชมพู ทำให้ข้าวแตกกอน้อย ใบเหลืองชัด และต้นสูง แพร่เชื้อราหางเมล็ด แก้ไขโดยวิธีถอนมาเผาทิ้ง เลือกพันธุ์ข้าวทนโรค ฉีดสมุนไพรบอระเพ็ด

-         โรคใบจุดสีน้ำตาล เกิดจากรา เฮลมินโทสพอเรียบออไรซี ทำให้เมล็ดข้าวมีรอยด่างเทา ทำลายแป้งในเมล็ด น้ำหนักเบา ให้ฉีดสมุนไพรบอระเพ็ด

-         โรคขอบใบแห้ง เกิดจากบัคเตรี  แซนโทโมนัส ออไรซี มักเกิดในที่น้ำขังนาน ทำลายต้นข้าวที่ใบและราก แก้โดยให้ฉีดสมุนไพร และงด N  ทุกชนิด

-         โรคใบสีส้ม เกิดจากเชื้อไวรัส เยลโล โอเรนจ์ลีฟ แพร่โดยจักจั่นสีเขียว เกิดรอยด่าง แตกกอน้อย รากเดินไม่ดี รวงข้าวมีเมล็ดน้อย เมล็ดเปลี่ยนเป็นสีดำ น้ำหนักเบา ใช้กำจัดแมลงพาหะโรค และฉีดสมุนไพรบอระเพ็ด

-         โรครากปมจากไส้เดือนฝอย ที่ชื่อ เมลอยโคไกเนเกรมินิโคลา ทำให้รากระยะแตกกอมีปมเล็กๆ จำนวนมาก ใบเหลืองชัด แคระแกร็น แก้โดยอย่าปล่อยในนาขาดน้ำ ให้น้ำท่วมนา เพื่อทำลายไส้เดือนฝอย ใช้ฉีดสมุนไพร บอระเพ็ด ระหุ่ง สะเดา

แมลงในนาข้าว

-  เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากแหงดูดกินน้ำเลี้ยงต้นกล้า ตรงที่เป็นสีเขียว พืชจะใบเหลือง ต้นแคระแกร็น ใบม้วนตามความยาว แก้โดยอย่าให้ข้าวขาดน้ำ จมข้าวมิดยอดทิ้งไว้ 1-2 วัน ฉีดพ่นด้วยสมุนไพร สะเดา สาบเสือ น้อยหน้า บอระเพ็ด

-  หนอนม้วนใบ ทำให้ข้าวม้วนเข้าหากัน หุ้มตัวไว้ และกัดกินใบ พบช่วง ข้าวกำลังแตกกอ แก้โดยจุดไฟล่อตัวแก่ให้มาเล่นไฟ แล้วจับทำลาย ฉีดพ่นสารสกัดสะเดา

-  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงปากแหงดูดน้ำเลี้ยงกาบใบ ทำให้ใบเหี่ยวแห้ง และพบราสีดำเกาะติดต้นข้าวด้วย ทำให้เมล็ดไม่สมบูรณ์ น้ำหนักเบา ล้มง่าย แก้โดยจุดไฟล่อให้มาเล่นไฟ เว้นระยะการปลูกข้าวหากระบาดหนัก ระบายน้ำทิ้งเพื่อลดความชุ่มชื้น ฉีดพ่นสมุนไพร บอระเพ็ด น้อยหน่า สะเดา สาบเสือ

- เพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงปากแหงดูดทำลายข้าวทุกระยะ ทำให้ใบแห้งเหี่ยวมีสีเหลือง ต้นข้าวอาจตายได้ แก้โดยจุดไฟล่อให้บินมาเล่นไฟ ฉีดพ่นน้ำสมุนไพรน้อยหน่า และสะเดา

- แมลงสิง  ดูดกินน้ำนมจากเมล็ดข้าว หลังจากออกดอก 1-2 สัปดาห์ ทำให้เมล็ดลีบ บางครั้งดูดน้ำเลี้ยงที่คอรวงและยอดต้นอ่อน ให้ฉีดพ่น บอระเพ็ด สะเดา และสาบเสือ

- แมลงบั่ว ตัวคล้ายยุง ลำตัวสีชมพู วางไข่ฝักเป็นตัวหนอนเข้าไปในลำต้นข้าว ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นหลอด คล้ายธูป ไม่ออกรวง แคระแกร็น แตกกอมากมีรวงน้อย แก้โดยฉีดพ่นสมุนไพร

- หนอนกอ มีสีครีม สีชมพู ทำลานต้นข้าวในระยะที่เป็นตัวหนอน เจาะเข้าทำลายต้นข้าว กัดกินใบ จนใบอ่อนแห้งตาย ทำให้คอรวงขาด ให้จุดไฟล่อแมลงและฉีดพ่น สารสมุนไพร บอระเพ็ด สะเดา และสาบเสือ

สัตว์และหอยศัตรูข้าว
- ปูนา กัดกินต้นข้าวที่ปักดำใหม่ๆ ทำคันนาเป็นรู  แก้โดยไขน้ำให้นาแห้ง 10-15 วัน ให้ดินร้อน เอาปลาร้าใส่ลงในปีบ ฝังไว้ในนา ปากเสมอพื้น ปูลงไปกินแล้วขึ้นไม่ได้

-  หนู กัดกินต้นข้าวระยะแตกกอ ระยะตั้งท้องมีหนูพุกเล็ก หนูนา หนูสวน หนูจิ๊ด หนูขยะ หนูหริ่ง แก้ไขโดย ใช้กับดับ ทำความสะอาดคันนา ยุ้งฉาง

- หอยเชอรี่ กัดข้าวระยะต้นอ่อน แก้โดยใช้ต้นกล้า อายุ 35-45 วัน ปลูก ดักหอยที่น้ำไหล ใช้มะละกอล่อ  เลี้ยงเป็ดในนาข้าว ฉีดพ่นน้ำเอ็นไซด์จากหอยเชอรี่และมะละกอ

หลักการป้องกันโรคแมลงสัตว์ศัตรูข้าว
                   - ไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด
                   - ใช้ข้าวพันธุ์ต้านทานโรคและแมลง
                   -  เตรียมแปลง ปลูกพืชหมุนเวียน ตัดวงจร ทำสมดุล ธาตุอาหาร จัดการระดับน้ำ
                   - จัดสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาด
                   - รักษาความสมดุลทางธรรมชาติ สร้างแมลง มีประโยชน์ พวกตัวห้ำตัวเบียน
                   - ปลูกพืชขับไล่แมลงตามคันนา เช่น ตะไคร้หอม
                   - ใช้สารสกัดจากพืชไล่แมลง เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ใบแคฝรั่ง
                   - ใช้ไฟล่อ กับดัก ยางเหนียว

แมลงที่เป็นประโยชน์ในนาข้าว
          ควรอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติมีดังนี้

-         ด้วงดิน เป็นตัวหำที่แข็งแรงว่องไว จะกินหนอนห่อใบข้าว กินเพลี้ยกระโดด
-         ด้วงเต่า มีด้วงเตาลายจุด ด้วงเต่าลายขวาง ด้วงเต่าแดง ด้วงเต่าจะกิน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดด เพลี้ยหอย แมลงวี่ขาว และไร้ กินหนอนตัวเล็กๆ และไข่แมลง
-         มวนเพชฌฆาต เป็นตัวห้ำ มีสีน้ำตาลมีหนามแหลม 3 อันที่หลัง กินหนอนผีเสื้อ
-         จิ้งหรีดหางดาบ มีสีดำ ตัวอ่อนมีสีน้ำตาล จะกินไข่แมลงศัตรูข้าว ไข่หนอนผีเสื้อ หนอนกอ หนอนห่อใบ หนอกระทู้ ไข่แมลงวัน เจาะยอดข้าวตัวอ่อนเพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น
-         มวนจิงโจ้น้ำเล็ก มีขนาดเล็ก เคลื่อนที่เร็ว มีทั้งมีปีกและไม่มีปีก จะกินตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดที่ตกลงไปในน้ำ
-         แมลงหางหนีบ มีหางคล้ายคีมยื่นออกมาคู่หนึ่งไว้ใช้ป้องกันตัว จะกินและตัวหนอนผีเสื้อ
-         แมลงปอเข็ม ปีกแคบ บินไม่เก่ง มีสีเขียว แกมเหลือง ท้องยาวเรียง จะกินตัวอ่อนเพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น

 การจัดการน้ำ
          น้ำทำให้ข้าวเจริญเติบโต การให้ผลผลิต หากระดับน้ำสูง จะทำให้ต้นข้าวสูงหนีน้ำ จะทำให้ต้นอ่อนล้มง่ายหากน้ำขาดก็จะทำให้วัชพืชรกเติบโตแข่งกับข้าวตลอดฤดูกาลปลูก  เลี้ยงน้ำไว้ที่ระดับ 5-15 ซม. และก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ให้ระบายน้ำออกเพื่อให้ข้าวสุกพร้อมกัน และพื้นนาแห้งเหมาะสำหรับการเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยว
          หลังข้าวออกดอก 30 วัน เมล็ดในรวงข้าวจะเปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่า ข้าวพลับพลึง
          ขณะเก็บเกี่ยวข้าวมีความชื้น 18-24% ต้องลดให้เหลือ 14% หรือต่ำกว่า เพื่อให้เหมาะสำหรับการเก็บรักษา
          การตากข้าวในลานตากหลังเก็บเกี่ยว เกลี่ยให้หนา5 ซม. ตากแดดจัด 1-2 วัน พลิกข้าววันละ 3-4 ครั้ง
          การตากข้าวในกระสอบถุงปุ๋ย ขนาด 40-60 กก. วางกระสอบตากแดด 5-9 วัน พลิกกระสอบวันละ 2 ครั้ง
          การตากฟ่อนข้าวแบบสุ่มซังในนา แขวนไว้ 2-3 แดด อย่าให้ข้าวเปียกน้ำหรือเปื้อนโคลน

สนใจอ่านเพิ่มเติม       ปลูกข้าวอินทรีย์ เปลี่ยนวิถีชาวนาไทย
                                        ดร. รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์





IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #74 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 14:18:59 »

ชีวิตชาวนายุคโลกาภิวัฒน์สู่ชาวนานักปราชญ์
โดยลุง ลุงทองเหมาะ   แจ่มแจ้ง  ปราชญ์ชาวนา  อำเภอศรีประจัน  จังหวัดสุพรรรณบุรี 

ชาวนาขาดความรู้เรื่องทำนา
       ชาวนาไม่รู้ว่าจุลินทรีย์มีประโยชน์ในการทำนา  จุลินทรีย์อยู่ในดินเหมือนแม่พระธรณี พอ ถึงยุคเคมีเข้ามาในวงการเกษตรในปี  2512  มีทั้งปุ๋ยและยา   ดินเริ่มตาย  พันธุ์ข้าวโบราณที่ชินต่อการปลูกแบบไร้สารเคมีเริ่มเปลี่ยนไป  เป็นข้าวที่ปรับปรุงพันธุ์ที่ตอบสนองกับปุ๋ยเคมี  ข้าวนาปีเริ่มหายไป  มีข้าวนาปรังเข้ามาแทนที่   เอาข้าวนาปรังไปปลูกข้าวนาปี พอหน้าน้ำท่วม  ข้าวนาปรังไม่ชอบน้ำออกไม่ได้  ข้าวออกรวงไม่สุดเพราะหนาวได้ข้าวแค่ปลายรวง

ข้าวเขียวมากออกรวงสั้น
        ทำนาต้นข้าวเหลืองกี่ครั้ง  ตั้งแต่ปลูกเป็นเมล็ดจนเป็นต้นกล้าเล็กๆ  จนต้นยาวใหญ่จนเกี่ยวได้ชาวนาไม่รู้  พอเห็นข้าวเหลืองก็คิดว่าเป็นเพลี้ย ก็เอาสารเคมีมาใส่  ข้าวก็กลับมาเขียวใหม่  ชาวนารู้หรือเปล่าว่า  ในช่วง  40-60  วัน ใบข้าวจะเหลืองกี่ครั้ง  ข้าวใบเหลืองกี่ใบใบที่  1-4  แต่ใบที่  5-6  และใบหาอาหารให้ใบที่  1,2  กิน  ใบที่  5  จะต้องปลดใบที่  1  ทิ้ง  แล้วมาสร้างรังไข่รวงใหญ่ยาว  พอเอาปุ๋ยไปใส่ใบที่  1,2  เขียว  ใบที่  5-6  ก็หาอาหารมาให้ใบที่  1,2  กิน  รังไข่ก็เลยเล็กสั้นรวงสั้นทั้งประเทศ  ทั้งประเทศผลผลิตลดลงไม่รู้เท่าไร
       ข้าวก็เหลือแต่รวงละ  110  เมล็ด  แทนที่จะเป็น  230  เมล็ดให้ใบเขียว  ใบข้าวนั้นก็เหลืองเป็นธรรมชาติของเขา
       หากรวงข้าวสั้นลง ผลผลิตก็จะลดลง  110  เมล็ด  40-50  ถัง/ไร่  หากเต็มก็จะประมาณ  100-200  ถัง/ไร่  ที่เมืองจีน  กัมพูชา  ได้ถึง  200  ถัง/ไร่  เมืองไทยอย่างเก่งแค่ 70-120  ถัง/ไร่
       ข้าวถังหนึ่งมีประมาณ  378,000  เมล็ด  ชาวนาหว่าน  ข้าว  3  ถัง/ไร่  หรือประมาณ  1.1   ล้านเมล็ด  ชาวนาไม่รู้หรอกว่า มีกี่ต้นข้าวต่อตารางวา  แล้วต้องใช้ปุ๋ยไปเท่าไร  น้ำยาเท่าไร  ใส่ปุ๋ยเคมีเข้าไปราคาแสนแพง

ลัทธิเคมี  40  ปี  แห่งความหลัง
       ลัทธิเคมีเข้ามาตั้งแต่ปี  2512  สอนมาว่า  ต่อไปเราจะผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกไม่ทัน  หากไม่ใช้สารเคมี เป็นความคิดที่ผิด  เพราะเขาหลอกเรา  ทำให้จุลินทรีย์  (แม่พระธรณี)ของ เราตาย  และเสียเงินให้  ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ก็ทำให้แม่พระพายก็ตาย  (เราหายใจไม่ได้  มีแต่อากาศเป็นพิษ)  เคมีทำลายหมดทุกอย่าง  ทำลายจุลินทรีย์  ทำลายสุขภาพคนด้วย

เกษตรอินทรีย์ต้องมีจุลินทรีย์ด้วย
        หากหันมาทำเกษตรอินทรีย์ต้องมาใช้จุลินทรีย์ที่เดิมเคยมีอยู่  ก็ใส่เข้าไปช่วยย่อยอาหารอินทรีย์วัตถุกลับไปเป็นอาหารของพืชต่อไป  การเอาอินทรีย์วัตถุไปใส่นาทั้งพืชทั้งสัตว์โดยไม่มีจุลินทรีย์ชีวภาพ  พืชก็กินไม่ได้ เกิดน้ำเน่าแทน  ดินไม่มีชีวิตแล้ว  ไม่มีจุลินทรีย์ เพราะสารเคมีลงไปทำลายฆ่าจุลินทรีย์ตายหมดแล้ว

ผลกระทบโลกร้อนต่อข้าว
        ปุ๋ยอินทรีย์เป็นเม็ดก็มีค่าแค่ขี้วัวกระสอบเดียว มีแต่เน่า หากไม่มีจุลินทรีย์  พอเอาปุ๋ยอินทรีย์ไปใส่นา ไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลาย  น้ำในนาก็จะเน่า เวลาเดินย้ำนา  น้ำเน่าจะกัดเท้า  คันไปหมด  เกิดเป็นแก๊สมีเทน ระเหยขึ้นในอากาศ เป็นฝ้าเรือนกระจก เป็นเหตุให้โลกร้อน  ข้าวจะผสมพันธุ์เองยาก  ข้าวผสมพันธุ์โดยไม่อาศัยแมลง จะผสมพันธุ์เอง  เกสรตัวผู้แห้ง  6  ตัว  ร่วงหล่นไปโดนเกสรตัวเมีย  2  อัน  ข้างล่าง  พอรับเกสรตัวผู้ได้ เป็นโรคปากหุบไม่ลง เป็นโรคปากอ้า  หากเกสรตัวผู้ถูกภาวะโลกร้อน ก็ไม่มีคุณภาพ  พอหล่นใส่เกสรตัวเมียก็ไม่ติดเมล็ด  ชาวนาจึงจนเพราะภาวะโลกร้อนด้วย

มาทำหัวเชื้อจุลินทรีย์กันเองเถอะ
        การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องใส่เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปทำงานย่อยสลายด้วย  พืชจึงจะกินได้เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต เป็นจุลินทรีย์กู้ชาติ  ไปหาได้จากธรรมชาติป่าดงดิบในป่าใหญ่  เช่นแถบเขาใหญ่ แล้วเอามาขยายหัวเชื้อ ได้ดินจากป่าลึก ก็จะมีชีวิตมีจุลินทรีย์หลายสายพันธุ์ สามารถเอาไปขยายทำหัวเชื้อได้  เอาไปทำปุ๋ย  เอาไปบำบัดน้ำเสีย  มูลสัตว์หมู  เป็ด  ไก่  วัว  ควาย  ให้หายเหม็นได้  เอาดินจากป่าใหญ่แค่  0.5-1.0  กิโลกรัม  (ไม่ต้องเอามาก)  ก็เอามาขยายได้  โดยใช้รำ แกลบ  1  ปี๊บ  ใบไผ่แห้ง  1  ปี๊บ   และน้ำเปล่า  1  บัวรดน้ำ  เข้าสู่กระบวนขยายหัวเชื้อ  ในขั้นตอน

การทำ  ดังนี้
       1.  นำแกลบสดและใบไม้แห้ง  มาผสมคลุกเค้า ให้เข้ากันกับดินป่าลึก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม  50% 
       2.  นำรำข้าวมาคลุกให้เข้ากันเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์  ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ  15  วัน
       3.  เมื่อครบ  15  วัน  นำส่วนผสมที่ได้ใส่ลงถุงตาข่ายขนาด  8x12  นิ้ว
       4.  เตรียมถังน้ำ  200  ลิตร  เติมน้ำเปล่าปริมาณ  175  ลิตร  ผสมกับกากน้ำตาล  15  ลิตร  แล้วคนให้เข้ากัน
       5.  นำถุงตาข่ายที่เตรียมไว้ลงแช่ในถังน้ำแล้วปิดฝาให้สนิท  ทิ้งไว้  15  วัน  ก็จะได้  “หัวเชื้อจุลินทรีย์”

ทำเพื่อให้ธรรมชาติทำงานต่อ
        เมื่อมีจุลินทรีย์เหมือนมีแก้วสารพัดนึก แต่ปลูกข้าวแบบเคมี เหมือนทำเพราะมีหน้าที่ต้องทำ  ปลูกอีกก็ต้องเอาเคมีมาใส่และเพิ่มขึ้นทุกๆ  ปี  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปีแรกๆ  ใส่  100  กก/ไร่  พร้อมฉีดน้ำจุลินทรีย์  ปีต่อไปใส่ปุ๋ยอินทรีย์แค่  50  กก/ไร่  ปีต่อไปลดเหลือ  30  กก/ไร่  ใส่ต่ออีก  2-3  ปี  ปีละ  30  กก/ไร่  จากนั้นก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เลย  ฉีดแต่น้ำจุลินทรีย์อย่างเดียว  อย่างนี้เป็นการทำเพื่อจะไม่ต้องทำ  พอเข้าที่ ก็ปล่อยให้ธรรมชาติทำงานทั้งดินอากาศ  จุลินทรีย์ปีต่อๆ  ไปก็ปลูกข้าวโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเลย  เป็นไปได้  เป็นการคืนชีวิตให้กับแผ่นดิน  การปลูกพืชแบบเคมีเหมือนปลูกพืชแบบเลี้ยงสัตว์  เลี้ยงหมูถึงเวลาไม่ให้อาหารหมูโจมร้องอิ๊ตๆ  เลี้ยงวัวไม่เปิดคอกให้ไปกิน  วัวก็จะร้องมอๆ  เวลาเอาอาหารให้หมูกิน  หมูหยุดร้อง  แต่เวลาปลูกพืช  เราเอาเคมีไปใส่  ต้นพืชร้องไม่ได้  แต่จะแสดงออกมาเป็นใบเหลือง

ข้าวติดสารเคมีแบบยาเสพติด
        ถ้าทำด้วยอินทรีย์ชีวภาพ  รากพืชจะมีสีขาว  หากเป็นสารเคมีปลายรากจะดำ  ให้ลองถอนต้นข้าวมาดูราก  เพราะปุ๋ยเคมีจะมีปูนผสมไปอุดทางเดินน้ำที่จะลำเลียงในลำต้น  ต้นพืชจะกินปุ๋ยได้ เพราะมีเคมีมาใส่  ถูกฝึกมาแบบนั้น  ต้นพืชโง่เพราะเคมี  พอเอาปุ๋ยอินทรีย์มา พืชกินไม่เป็น  พืชติดเคมีเหมือนติดยาเสพติด

ทำนาอินทรีย์ต้องใจเย็นต่อการรอคอย
        ทำนาอินทรีย์เริ่มใหม่ ผลผลิตอาจลดลงเล็กน้อย เพราะยังมีเคมีตกค้างอยู่  แต่ราคาต้นทุนถูกกว่า  เช่นว่าเคยทำเคมีได้  100  ถัง/ไร่  แต่พอเริ่มทำอินทรีย์ได้แค่  50  ถัง/ไร่  ปีแรกอาจหายไปครึ่งหนึ่งแต่ไม่ต้องเสียเงินค่าปุ๋ยเคมี  ที่แน่ๆ  ได้กำไรชีวิต  ทำเคมีต้องฉีดพ่นละอองเคมีเข้าร่างกายทางลมหายใจ  พอฉีดยาฆ่าหญ้ามันก็ซึมขึ้นมาทางเท้า กลายเป็นโรคตับโรคไต  เดี๋ยวนี้โรงพยาบาลสูงละฟ้า  มีแต่เกษตรกรเจ็บป่วยไปนอน

นาอินทรีย์ไม่ต้องกลัวเพลี้ย
       เพลี้ยมาจะทำอย่างไร  ชาวนามักคิดว่าหากเราทำเกษตรอินทรีย์  รอบๆ  ข้างทำเคมี  เพลี้ยจะแห่มาอยู่ที่แปลงอินทรีย์หมดเลย  เป็นที่พักเพลี้ยเป็นความรู้ที่ผิด  ผิดหมด  การทำเกษตรอินทรีย์ใช้สิ่งมีชีวิตจุลินทรีย์ไปยับยั้งการเกิดแมลงในแปลงนาได้เอง

หอยเชอรี่สัตว์ต่างแดนถูกทำให้ไข่สั้นลง
        หอยเชอรี่มาจากไหนเมื่อก่อนในนามีแต่หอยโข่ง เสียเมืองไปเลย  นาทั่วประเทศไทยไม่มีหอยโข่งกินแล้ว  พอหอยเชอรี่มา  ก็กัดกินต้นข้าว  ก็เอาสารเคมีแฟนโดเอาไปหยอด  หอยตาย  ถ้าแน่จริง  หอยเชอรี่ต้องสูญพันธุ์ไปแล้ว  ตายไปหนึ่งเกิดใหม่  300  เต็มนาไปหมดแล้ว นาอินทรีย์มีหรือเปล่า ก็ทำให้ไม่ให้มันไข่  ฆ่ามันไม่ได้  มันมีหัวใจลิงลมใส่ฆ่าหนึ่งเกิดร้อย  ต้องทำให้มันขยายพันธุ์ลดลง  จากไข่ยาวๆ  มาเป็นไข่สั้นๆ  ลดปริมาณลง นกมากินได้  ปลามากินได้  วิธีการก็คือเอาเหล้าขาว  2  ส่วน  น้ำส้ม  อสร.  1  ส่วน  กากน้ำตาลและจุลินทรีย์สายพันธุ์เขาใหญ่  1  ส่วน  ใส่ลงในขวดเขย่าไว้  24  ชั่วโมง  แล้วเอาไปผสมน้ำให้ได้  300  ซม.  ผสมน้ำ  20  ลิตร  เอาไปหยดลงในนาเวลาเปิดน้ำใส่แปลงนา ก็เอาถังไปวางติดก๊อก  น้ำไหลช้าๆ  ก็หยดแบะๆ  ถ้าน้ำไหลแรงขึ้นก็หยดเร็วขึ้นตามลำดับ  หอยปกติฝังตัวอยู่ในดินพอหอยได้น้ำมาใหม่ๆ  มันก็อ้าปากกระเดือกเข้าไปในท้องมันก็ไปทำลายรังไข่  แทนที่จะไข่ยาวก็จะสั้นลง พอปีนขึ้นมาไข่ตามกิ่งไม้  ยอดข้าว  สังเกตได้เลยดูที่ไข่กลุ่มไข่สั้นลง  ก็จะกลายเป็นอาหารนกอาหารปลาไปเลย  ประชากรหอยเชอรี่ก็จะลดลงๆ  เป็นการกู้ชาติ  เอาธรรมชาติชนะให้ได้

ข้าวเกษตรอินทรีย์ใบแข็งคมทนแมลงกัด
        การที่เราไม่เอาเคมีใส่ลงไป  ต้นข้าวมาจากธรรมชาติ  ต้นไม้ในป่าธรรมชาติไม่ค่อยพบเพลี้ยกิน  หนอนกิน  ต้นข้าวใบใหญ่  เอาปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใส่  ใบข้าวจะคม เอามือไปถูก จะบาดเอาจนเลือดออก  ถ้าเราเอาปุ๋ยเคมีไปใส่  เอายาเคมีไปฉีด ลองสูดดมใบข้าวจะนิ่ม  เหมือนขนหน้าแข้งบอบบาง  แมลงจะมีฟันเป็นไฟเบอร์  พอเราเอาเคมีไปใส่  แมลงกินหมด เหมือนเป็นขนมนุ่มๆ  แต่ถ้าเป็นธรรมชาติจะสร้างเกาะป้องกันตัวเอง  มีภูมิคุ้มกันเอง  ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไม่มีใครพาไปเที่ยวไม่มีใครจัดโต๊ะเลี้ยง  หากใช้ปุ๋ยเคมีคนขายจะทำส่งเสริมการขาย  จับฉลาก  พาไปเที่ยวกรุงเทพ  ภูเก็ต  เชียงใหม่  เชียงราย

ยุคเครื่องจักรกลเกษตร
            ตอนนั้นจะเรียนทีก็ลำบาก  ค่านิยมชาวบ้านว่าที่ดินมีเยอะ พลิกแผ่นดินกินดีกว่าไปเรียน  คนโบราณให้เราทำนากิน  เริ่มซื้อที่นาเป็น  100  ไร่  เริ่มมีรถไถนาเป็นยุคใหม่แห่งเครื่องจักรกลการเกษตรมาทดแทนควายไถนา  มีรถไถก็ซื้อรถไถมารับจ้างไถนา ตามคำขวัญพลิกแผ่นดินกิน  ก็เอารถไถพลิกแผ่นดิน  โดนฝรั่งหรอกเพราะไถลงไปลึกพระแม่ธรณีตายหมด  นาลึกก็เอาหน้าดิน  (ดินดี)  บนลงล่างแล้วเอาดินล่าง  (ดินไม่ดี)  ขึ้นมาข้างบน  เดี๋ยวนี้ยิ่งแย่  ยาฆ่าหญ้าฉีดพ่นแล้วก็ฝังลงในดิน  4-25  ปี  ก็เลยต้องใช้เคมีต่อ  เพราะเอาดินดีลงล่างไปฝังลึกๆ  แล้ว  ทำนาจึงไม่ได้ผล  ทำนาเป็นร้อยไร่ คือ  140  ไร่  แล้วก็ขาดทุน  มีรถไถเองอีกต่างหาก  ชาวนาก็เลยจนเหมือนเดิม


* expert-3032-1.jpg (20.95 KB, 400x299 - ดู 4563 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #75 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 16:19:37 »

การทำนาในอดีต

การเกษตรของชาวบ้านในอดีตจะทำการเกษตรแบบธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นการทำนาข้าวเสียเป็นส่วนใหญ่ การทำนาอาศัยน้ำฝน และใช้แรงงานควายและแรงงานคนเป็นหลัก เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่ทำไร่ ทำเฉพาะนาพอให้ได้ข้าวเก็บไว้กิน มีการปลูกพริก แตง ฟักทอง และอื่นๆ มีการเตรียมการและขั้นตอนดังนี้

เตรียมทุน
ทุนที่ต้องลงในการทำการเกษตรในอดีตนั้นมีไม่มากนัก เพราะงานส่วนใหญ่จะใช้แรงตนเองและแรงสัตว์เป็นหลัก แหล่งเงินทุนจึงไม่ค่อยจะจำเป็นมากนัก แต่เมื่อมีการสามารถกู้ยืม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส)ได้ เกษตรกรก็เริ่มกู้ยืมเงินมาใช้ ส่วนหนึ่งลงทุนในการทำการเกษตรแต่เป็นส่วนน้อยเพราะค่าใช้จ่ายไม่สูง ที่เหลือก็จะนำไปใช้ในการอื่น

เตรียมพันธ์ข้าว
เมื่อใกล้จะเข้าหน้าฝนชาวบ้านจะเตรียมหาเมล็ดพันธ์ข้าว หากไม่ได้เก็บไว้เองก็จะไปขอกับเพื่อนบ้านหรือขอจากหมู่บ้านใกล้เคียง ข้าวที่ได้มาจะตั้งชื่อตามแหล่งที่ได้พันธ์ข้าวมาเช่น

ข้าวขาวโนนทอง หากได้มาจากบ้านโนนทอง
ข้าวขาวแม่ใหญ่จ่าย หากแม่ใหญ่จ่ายเป็นผู้ให้พันธ์ข้าว
ข้าวหอมลุงดา หากลุงดาเป็นคนให้พันธุ์และข้าวเป็นข้าวที่มีกลิ่นหอม
นอกจากนั้นยังมีมีการแยกพันธุ์ข้าวตามอายุของการออกรวงข้าวเป็น ข้าวหนัก และข้าวเบา

ข้าวหนักคือข้าวที่ออกรวงช้า ใช้ปลูกในนาที่มีน้ำมากเพื่อเลี่ยงการเกี่ยวข้าวจมน้ำซึ่งจะเป็นการลำบากในการเก็บเกี่ยว และข้าวจะเปียก มีความชื้นสูง
ข้าวเบา คือข้าวที่ออกรวงเร็ว ใช้ปลูกในนาที่มีน้ำน้อยเพื่อเลี่ยงการที่ข้าวออกรวงไม่ทันน้ำ

ตรียมควาย
ควายที่เป็นแรงงานหลักของการทำนา ตัวที่โตพอจะใช้งานได้จะมีการฝึก เพื่อจะสามารถบังคับควายได้ และไถนาได้ มีขั้นตอนดังนี้

 

สนตะพาย นั่นคือการนำเชือกมาร้อยเข้าไปในจมูกของควาย วิธีการทำก็คือจับควายที่ยังไม่ได้สนตะพายมาผูกกับหลักไม้ให้แน่นไม่ให้ดิ้นได้ โดยเฉพาะส่วนหัว แล้วเอาเหล็กหรือไม้ไผ่แหลมขนาดเท่ากับเชือกแทงผ่านเข้าไปที่กระดูกอ่อนที่เป็นผนังกั้นระหว่างรูจมูกด้านในของควาย หากใช้เหล็กแหลมจะต้องเผาไฟให้เหล็กร้อนจนแดง และจุ่มลงไปในน้ำให้เหล็กเย็นทันที ด้วยการทำอย่างนี้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคและทำให้เหล็กไม่มีสนิม เมื่อรูได้แล้วใช้เชือกร้อยเข้าไปในจมูกควาย ดึงเชือกอ้อมผ่านใต้หูไปผูกเป็นเงี่ยนตายเอาไว้บริเวณท้ายทอย ไม่ผูกแน่นหรือหลวมเกินไป การสนตะพายควายนี้ส่วนมากจะวานคนที่มีความชำนาญมาช่วยทำการ

เมื่อได้ตะพายควายแล้วจะฝึกให้ควายชินกับการถูกสนตะพายด้วยการผูกเชือกและปล่อยให้ควายเดิน ควายอาจะจะเหยียบเชือกบ้างเป็นครั้งคราว การฝึกแบบนึ้จะทำให้ควายเคยชินเมื่อถูกจูง

การฝึกจูงควายและบังคับ จะใช้เชือกผู้เข้ากับตะพายของควาย นิยมผูกทางด้านซ้ายมือ แล้วให้ควายเดินไปข้างหน้าของผู้จูง ในการบังคับให้ควายเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวานั้น ทำได้ดังนี้ หากผูกเชือกทางด้านซ้ายมือต้องการให้ควายเลี้ยวซ้ายให้ดึงเชือกที่ผูกกับตะพาย ควายก็จะเลี้ยวซ้าย หากต้องการให้ควายเลี้ยวขวาให้กระตุกเชือกถี่ๆ เบาๆ ควายก็จะเลี้ยวขวา เมื่อควายเริ่มชินต่อการจูงแล้วสำหรับตัวที่คุ้นก็สามรถขี่หลังได้แต่ขี่ไม่ได้ทุกตัวไปขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยระหว่างเจ้าของกับควาย หากควายที่ยังไม่โตพอที่จะฝึกไถนาได้ก็เพียงสนตะพายเท่านั้น หากควายโตพอที่จะลากไถได้ก็จะฝึกให้ไถต่อไป

ฝึกให้ควายไถนาควายที่โตพอจะถูกฝึกให้ไถนา การฝึกควายไถนานี้ต้องใช้คนสองคน คนหนึ่งเป็นคนจูงเพื่อนำทางควาย อีกคนจะเป็นคนไถ การฝึกไถอาจจะใช้เวลาแต่ต่างกันไปสุดแล้วแต่ความชำนาญของผู้ฝึกและความคุ้นของควาย ปกติแล้วจะใช้เวลาฝึกไถไม่นานนัก แต่จะฝึกบ่อยๆ มักจะฝึกช่วงช้าวเพราะแดดไม่แรง เมื่อควายพร้อมที่จะไถนาจริงก็จะเริ่มไถจริงต่อไป

เตรียมไถ
ไถเป็นอุปกรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่งในการทำนาของเกษตรกรบ้านหัวถนน ไถในอดีตจะทำด้วยไม้ จะมีเพียงผานไถ ปะขางไถ ขอสำหรับเกาะผอง (ท่อนไม้ที่ไว้ผูกเชือกต่อจากแอกที่คอควาย)เท่านั้นจะเป็นเหล็ก ไม้ที่ใช้ทำจะเป็นไม้เนื้อแข็งเช่นไม้ประดู ไม้มะค่า ตัวไถจะเป็นไม้สามชิ้นได้แก่ คันไถ หางไถ และหัวหมู ประกอบกันด้วยการเข้าลิ่ม และส่วนที่ผูกติดกับควายอีกสามชิ้นส่วนประกอบของไถมีดังนี้

หางไถ คือส่วนที่ชาวนาใช้จับเวลาไถ เป็นไม้ชิ้นเดียวทำให้เป็นลักษณะเอียงจากหัวหมูประมาณ 15องศา มาจนถึงส่วนที่จะต่อเข้ากับคันไถจะเจารูสี่เลี่ยมผืนผ้าทะลุชิ้นไม้เพื่อใส่ลิ่มต่อกับคันไถ เหนือส่วนนี้ขึ้นไปจะทำเป็นรูปโค้งเพื่อสะดวกต่อการจับ เวลาประกอบเข้าเป็นตัวไถแล้วส่วนนี้จะตั้งขึ้นและส่วนโค้งจะยื่นไปด้านหลังระดับประมาณเอว
คันไถ คือส่วนที่ยื่นออกไปด้านหน้า เพื่อเชื่อมต่อกับส่วนที่ผูกควาย เป็นไม้อีกท่อนที่เป็นส่วนประกอบของตัวไถ ส่วนที่ต่อกับหางไถจะทำเป็นเดือยตัวผู้เพื่อใช้ต่อกับรูเดือยตัวเมียที่หางไถ ทำให้แน่โดยใช้ลิ่มตีเข้าด้านบนเพื่อให้ไม้สองชิ้นประกอบกันแน่น ส่วนปลายยื่นออกไปข้างหน้า โค้งทำมุมต่ำลง มีปลายช้อนขึ้น เพื่อใส่ตะขอสำหรับต่อกับผองไถ
หัวหมู คือส่วนที่ใช้ไถดิน จะประกอบด้วยไม้หนึ่งชิ้นบากปลายให้แหลมและบาน เจาะรูเดือยตัวเมียสี่เหลี่ยมสำหรับต่อเข้ากับหางไถ ส่วนท้ายจะทำเป็นรูปท่อนกลมยาว เพื่อรักษาระดับไถเวลาไถนา ส่วนประกบอที่เป็นเล็กตัวส่วนหัว จะเป็นรูปทรงแหลมกลวงเรียกว่าผานไถ ใช้ส่วยเข้ากับตัวไม้แล้วยึดติดด้วยตะปู ส่วนที่เป็นเหล็กแผ่นรับขึ้นมาอีกชิ้นเรียกว่า ปะขางไถใช้บังคับดินที่ถูกไถ หรือที่เรียกว่าขี้ไถให้พลิกไปตามแนวที่ต้องการ ที่หมู่บ้านหัวถนนนิยมเอียงไปทางด้านซ้ายมือ

ผองไถ ส่วนนี้จะเป็นไม้ท่อนกลมๆ มีขอเหล็กติดอยู่ตรงกลางเพื่อยึดเข้ากับขอเหล็กของคันไถ ส่วนหัวทั้งสองข้างจะทำเป็นปมหยัก เพื่อใช้ผูกเชือกติดกับปลายที่แอกคอควาย

แอก คือไม้ชิ้นที่ทำเพื่อวางบนคอควาย มีลักษณะเหมือนเขาควายกางออก ตรงกลางสูงขึ้นเพื่อให้รับพอดีกับคอควาย ส่วยปลายสองข้างไว้ผูกเชือกต่อกับผองไถ
ผองคอควาย คือส่วนที่อยู่ใต้คอควาย เป็นไม้ชิ้นแบนๆ ทำให้เป็นรูประมาณครึ่งวงกลมด้านบนเรียบเพื่อให้รับเข้าได้กับคอควาย ด้านล่างจะทำรูเพื่อร้อยเชือกเพื่อผูกให้ผองคอควายติดกับกับแอกและแนบกับคอควายได้พอดี
มีไถเหล็กมาแทนที่ไถไม้บ้างเพราะน้ำหนักเบาและทนทานกว่า แต่ไถไม้ก็ยังมีใช้อยู่

เตรียมคราด
คราดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำสำหรับทำให้ดินที่ไถแล้วละเดียด ประกอบด้วยตัวคราด ลูกคราด คันคราด และเสาจับคราด และมือจับ

ตัวคราด เป็นไม้ท่อนเจาะรูกลมสำหรับใส่ลูกคราด
ลูกคราด เป็นท่อนไม้กลมๆ รูปเรียวด้านปลายตีเข้าไปในรูของตัวคราด โผล่ออกมาจากตัวคราดประมาณ 10-15 ซม.แต่ละซี่ห่างหันประมาณ 10-15 ซม.เช่นกัน (ขึ้นอยู่กับผู้ทำ ไม่มีสูตรตายตัว)
คันคราด เป็นไม้สองชิ้นยาวที่ต่อระหว่างตัวคราด ขนานกลับพื้น ยาวจนถึงแอกควาย เวลาใช้งานควายจะอยู่ระหว่างคันคราด
เสาจับคาด เป็นเสาสองเสาที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวยึดมือจับกับตัวคราด
มือจับ เป็นไม้ยาวทรงกลมสำหรับจับเวลาคราดนา
ส่วนที่ผูกกับคอควายก็ใช้แอกและผองคอควายของไถ

เตรียมเชือก
ส่วนใหญ่จะเป็นเชือกที่ฝั่นด้วยปอ หรือเถาวัลย์ เช่นเถาหลำเปรียง หรือเครือกระไดลิง หรือเป็นเชือกที่ซื้อมาจากตลาด เชือกมีศัพย์เรียกเฉพาะว่าเชือกค่าว หรือ ค่าว ใช้ผู้ต่อเชื่อส่วนต่างๆ ของไถเข้ากับตัวควาย เพื่อบังคับควย เชือกที่ฝั่นเองไม่ค่อยจะมีคนนิยมทำกันนัก ส่วนใหญ่จะซื้อจากตลาดเสียเป็นส่วนมาก แต่ก็ยังมีชาวบ้านที่ฝั่นเองอยู่บ้าง

เตรียมนา
เมื่อได้พันธุ์ข้าวมาแล้วก็รอให้ถึงเวลาหน้าฝน ซึ่งในอดีตจะสามารถคาดได้ว่าฝนน่าจะตกประมาณเดือนไหน เกษตรกรก็จะเตรียมไถนาเตรียมแปลงเอาไว้

การไถจะเดินเวียนไปทางด้านซ้าย จากรอบนอกเข้ามาด้านใน ต้องหมั่นระวังรอยไถไม่ให้ห่างกัน ห่างคนไถไม่ชำนาญดินจะถูกไถไม่หมดภาษาถินเรียกว่า “ไถระแวง” เวลาไถเกษตรกรจะทำเสียงดุควายเพื่อเร่งให้ควายอยู่ในการบังคับ มักจะทำเสียงว่า “ฮึย…จุ๊ จุ๊ จุ๊…ฮึย” จนเป็นเสียงไล่ควายที่เป็นที่นิยมทำกัน หากควายไม่ดื้อเกษตรกรก็จะเพียงกระตุกเชือกเบาๆ ไล่ให้ควายเดิน แต่หากควายตัวไหนที่ดื้อ ผู้ไถก็จะใช้ปลายเชือก หรือไม้เรียวตี การไถปกติจะไถสองครั้ง ครั้งแรกไถเตรียมรอฝน หรือไถตอนต้นฝน แล้วทิ้งเอาไว้ระยะนึง ก่อนจะทำการไถที่อีกครั้งเมือฝนเริ่มชุก ครั้งนี้เรียกว่าไถแปร การไถจะใช้แรงงานควายไถไม้ที่มีผานไถเป็นเหล็ก บางคนจะเรียกว่าปะขางไถ ในระยะหลังๆ เริ่มมีไถเหล็กมาใช้ซึ่งจะแข็งแรงและเบากว่า

เมื่อไถเสร็จก็จะคราดนาเพื่อให้ดิดเรียบและไม่มีเศษหญ้า เหมาะแก่การหว่านกล้า หรือดำ แปลงแรกที่ไถจะใช้สำหรับเพราะพันธ์กล้าข้าว

คันนาจะได้รับการซ่อมแซมส่วนที่ขาดไปด้วยกานขุดดินขึ้นมาปั้นเป็นรูปคันยาวๆ เพื่อให้นาเก็บน้ำได้ ส่วนไหนที่ขาดหรือต่ำลงก็จะได้รับการซ่อมแซมซึ่งมีศัพท์เฉพาะว่า ปิดคันนา การปิดคันนามักจะทำไม่ใหญ่นัก ส่วนมากจะทำขนาดกว้างพอเดินได้ นอกเสียจากว่าจะเป็นที่น้ำลึกหรือต้องการจะปลูกพืชอื่นบนคันนาถึงจะทำใหญ่ขึ้น ไม่มีขนาดมาตราฐานตายตัว

การไถนาจะนิยมไถแต่เช้ามืดควายจะได้ไม่เหนื่อยมาก หากมีควายหลายตัวอาจจะผลัดควายเป็นเพื่อให้ควายได้พักกินหญ้า สำหรับคนที่ไม่มีควายก็จะยืมควาย หรือวานกันไถ คนที่ยืมความก็จะตอบแทนด้วยการเลี้ยงควายให้

เตรียมแปลงหว่านข้าวกล้า
แปลงนาจะเตรียมสองแบบคือแบบสำหรับหว่านข้าวกล้า กับเแบบที่ใช้เพื่อดำ แปลงที่เตรียมไว้หว่านจะมีปล่อยน้ำให้เหลือน้อยไม่ท่วมเมล็ดข้าว และใช้ไม้ไผ่สวมที่ลูกคราดปาดให้แปลงนาเสมอเหมาะแก่การหว่านข้าว ส่วนแปลงที่เตรียมไว้สำหรับดำไม่ต้องทำลักษณะนี้เพียงไถและคราดเท่านั้น

เตรียมกล้าข้าว
เมื่อเตรียมแปลงนาเหมาะที่จะหว่านกล้าได้แล้วชาวนาก็จะล้างมะเล็ดพันธุ์ข้าว และแช่พันธ์ข้าวด้วยน้ำในภาชนะประมาณ 2-3 วันจนเมล็ดพันธุ์ข้าวแตกราก จะเรียกพันธุ์ข้าวว่า ข้าวปลูก เมื่อได้ข้าวปลูกแล้วจะนำไปหว่านลงแปลงนาที่เตรียมไว้ แปลงนาที่หว่านข้าวปลูกนี้จะเปิดน้ำออกไม่ให้มีน้ำท่วมขัง ทำร่องน้ำอยู่ในระหว่างพอให้หว่านข้าวปลูกเพื่อใช้ในการเดินหว่านและดูแลเวลาที่กล้ายังไม่โต

รอเวลาประมาณสามอาทิตย์ถึงหนึ่งเดือน กล้าข้าวก็จะโตพอที่จะรับการถอน การถอนกล้าจะเป็นกำแล้วฟาดส่วนรากกับเท้าเพื่อให้ดินที่ติดอยู่กับรากหลุดออก เมื่อได้กล้าพอยกไหวก็จะมัดด้วยตอกไม้ไผ่ตรงส่วนยอดแล้วตัดใบกล้าข้าวออกเพื่อให้กล้าข้าวไม่คายน้ำมากเกินไปเวลาดำ

การขนย้ายกล้าข้าวไปในแปลงที่ดำข้าวจะใช้ไม้ไผ่แหลมสองข้างที่มีศัพย์เรียกเฉพาะว่าไม้หลาว เสียเข้าไปใต้ส่วนที่มัดด้วยตอกไม้ไผ่ ข้างละเท่าๆ กันแล้วแล้วหาบไปไว้เป็นจุดๆ ตามแปลงที่เตรียมดำ

ทำหุ่นไล่กา
เมื่อหว่านข้าวปลูกเสร็จมักจะมีนกและกามากินข้าวที่หว่าน ชาวนาจะทำหุ่นไล่กา วิธีการจะให้ไม้ทำเป็นกากะบาดเหมือนไม้กางเขน สูงขนาดตัวคน แล้วสวมด้วยเสื้อผ้าเก่าๆ หมวกหรืองอบเก่าไว้ตรงส่วนหัว ทำให้เหมือนคน พอลมพัดหุ่นก็จะขยับ เป็นการไล่นก ไล่กาได้ระดับนึ่ง

เตรียมแปลงนาดำ
แปลงนาดำนี้จะมีการเตรียมคล้ายกับแปลงหว่านแต่ไม่ต้องปรับผืนดินที่ไถให้เรียบ น้ำในนาก็จะปล่อยออกเพียงไม่ท่วมกล้าข้าว

การดำนา
เมื่อได้แปลงนาเพื่อใช้ดำและกล้าข้าวเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการดำนา การดำนาชาวนาจะอุ้มมัดกล้าไว้ที่อกด้วยมือซ้าย แยกเอากล้าข้าวออกด้วยมือขวาประมาณสี่ถึงห้าต้น ใช้นิ้วโป้งกดรากข้าวลงไปในดินแล้วกลบให้กล้าตั้งต้นได้ด้วยน้ิวที่เหลือ การดำจะดำถอยหลังให้ต้นกล้าห่างกันประมาณหนึ่งศอก แถวต่อมาก็จะดำระหว่างกลาง มีลักษณะเป็นสามเส้า การดำนาในลักษณะอย่างนี้ชาวนาต้องก้มเป็นเวลานาน

การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยที่ใสนาไม่มีมาตราฐานตายตัว ชาวนาส่วนใหญ่จะปุ๋ยที่โฆษณาตามท้องตลาด หว่านลงไปในนาเพื่อบำรุงข้าว บางคนก็ใช้ปุ๋ยคอกตามแต่จะสะดวก

การเรียกขวัญข้าว
การเรียกขวัญข้าวนิยมทำกันทั่วไปแต่ไม่ทุกบ้าน การเรียกขวัญข้าวนี้เป็นการบูชาพระแม่โพสพ ที่เชื่อกันวันเป็นผู้ดูแลข้าว ทำให้ข้าวอุดมสมบูรณ์ นิยมทำกันในวันออกพรรษา วิธีการทำก็จะแตกต่างกันออกไป แต่พอสรุปได้ดังนี้

พิธีกรรม
หลังจากถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ หญิงที่แต่งงานแล้วจะเตรียมอุปกรณ์ การเรียกขวัญข้าว ดังนี้

กรวยก้นแหลม 2 กรวย
ดอกไม้
ขนมห่อ (ขนมสอดไส้) ข้าวต้มมัด กล้วยสุก เข้าเปียกหวาน
แป้งผัดหน้า น้ำมันใส่ผม ขี้ผึ้งสีปาก
หมาก พลู บุหรี่
ต้นอ้อย
ไม้ไผ่ (จักให้เป็นตอก มีลักษณะคล้ายต้นข้าว รวงข้าว)
ขนมห่อ ข้าวต้มมัด กล้วยสุก ขอจากวัดที่ชาวบ้านนำไปทำบุญ เนื่องจากของถวายพระย่อมเป็นของดีและจัดทำอย่างประณีต เมื่อนำมาประกอบพิธีย่อมทำให้เกิดสิริมงคล รวงข้าวจะอุดมสมบูรณ์ หญิงผู้ประกอบพิธีนำอุปกรณ์ที่เตรียมไปที่นาของตนปักต้นอ้อยไม้ไผ่ลงบนมุมคันนา ที่หัวนาด้านทิศเหนือ วางอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เตรียมมาบนตะแกรงไม้ไผ่สานหยาบ ๆ ปูผ้ากราบ 3 ครั้ง แล้วกล่าวคำเรียกขวัญดังนี้

“วันนี่ วันดี วันออกพรรษา พระแม่โพสพคงจิสะเอียขนม ข้าวต้ม ขอเชิญมากินเครื่องสังเวย พวกนี้ซะเด้อ เจ้าข้า เมื่อกินอิ่มแล้ว ก็ขอให้ผัดหน่า ทาน้ำมัน สีขี้ผึ่ง กินหมาก สูบยา ซะเนอ อุ้มท่อง ปีนี่ขอให่ อุ้มท่องใหญ่ ๆ ทีเดียว ขอให่ได้รวงละหม่อกอละเกียนเด้อ ให่ได้เข่าได้เลี้ยงลูกปลูกโพ อย่าให่ได้อด ได้อยาก ได้ยาก ได้จน เดอ ขวัญแม่โพสพเอย มากู๊”

ใช้เป็นภาษาโคราช ซึ่งแปลความได้ว่า

“วันนี้ วันดี วันออกพรรษา พระแม่โพสพคงจะอยากกินขนม ข้าวต้ม ขอเชิญมากินเครื่องสังเวยเหล่านี้เสียน๊ะ เมื่อกินอิ่มแล้ว ขอให้ผัดหน้า ทาน้ำมัน สีขี้ผึ้ง กินหมาก สูบยา ด้วย อุ้มท้องปีนี้อขอให้ท้องใหญ่ๆ เลยนะ ขอใด้ได้รวงละหม้อกอละเกวียนนะ ให้ได้ข้าวพอเลี้ยงลูกเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ อย่าให้อดอยาก มีความยากจนนะ ขวัญแม่โพสพเอย มากู๊ เป็นการกู่เรียก)

กล่าวจบแล้วกราบ 3 ครั้ง จบพิธี

การเรียกขวัญข้าวนี้ทำกันตามความเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้น คำกล่าวต่างๆ ก็สุดแล้วแต่จะนึกหรือจำได้ไม่มีมาตราฐาน

เตรียมลาน
ลานข้าวเป็นที่ๆ ชาวนาจะใช้ในการตีข้าว จะถูกเตรียมไว้ก่อนการเกี่ยวข้าว โดยาการถากและปรับดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม แล้วใช้ขี้ควายเปียกมาย่ำให้ละเอียด มีความเหลวพอที่จะทาผืนดิน ใช้ไม้กวดที่ทำจากต้อนขัดมอญซึ่งหาได้ทั่วไปในหมู่บ้าน ตัดและมัดเป็นกำเพื่อกวาดให้ขี้ควายเสมอ ฉาบเป็นผิวหน้าของลาน ปล่อยไว้ให้แห้งเหมาะสำหรับเก็บฟ่อนข้าว

การเกี่ยวข้าว
เมื่อข้าวเริ่มออกรวงเหลืองพอที่จะเกี่ยวได้แล้ว หากข้าวสูงมากชาวนาจะใช้ไม้ใผ่ลำยาวๆ นาบข้าว ให้ข้าวล้มไปทางเดียวเพื่อง่ายต่อการเกี่ยว เมื่อนาบเสร็จก็จะเริ่มเกี่ยวข้าว โดยใช้เคียวเกี่ยวเป็นกำวางไว้เป็นแถวบนซังข้าว เพื่อตากเข้าไปในตัว บางบ้านจะเกี่ยวรวงข้าวยาวๆผูกกัน ที่มีศัพย์เรียกเฉพาะว่าเขน็ด เขน็ดจะเป็นตัวรัดข้าวให้เป็นฟ่อน จะนิยมมัดฟ่อนข้าวในตอนเช้าเพราะเขน็ดข้าวจะอ่อนเนื่องจากตากน้ำค้าง จากนั้นใช้ไม้หลาวหาบผ่อนข้าวมาตั้งเรียงเป็นกองง่ายต่อการตีข้าว

การเกียวข้าวอาจจะวาน(ลงแขก)เพื่อนบ้านมาช่วยกันเกี่ยวในเวลาที่เกียวไม่ทัน เจ้าของนาจะเตรียมข้าวปลาอาหาร หรืออาจจะมีการแอบทำสาโทไว้เลี้ยงคนมาช่วยเกี่ยว บางครั้งเกี่ยวไปร้องเพลงกันไป

 

การตีข้าว
อุปกรณ์ที่ใช้

ไม้ตีข้าว หรือเรียกภาษาโคราชว่าไม่ตีหัวข้าว ทำด้วยไม้ขนาดกำถนัด ยาวประมาณศอครึ่ง ชิ้นนึงยาวกว่าประมาณหนึ่งคืบ ผูกติดกันด้วยเชือกยาวประมาณหนึ่งคืบ ใช้สำหรับรัดฟ่อนข้าวเวลาตี
ลานข้าว
เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จหรือมากพอที่จะตี ชาวนาจะใช้ไม้ตีหัวข้าว เวลาตีใช้ไม้ขัดหัวข้าวรัดฟ่อนข้าวให้แน่นแล้วตีลงไปที่ลานข้าว สังเกตว่าเมล็ดข้าวออกหมดพอประมาณแล้วก็จะเหวียงฟ่อนฟางให้คนเก็บฟางตั้งเป็นลอมฟางเป็นชั้นๆ การตั้งลอมฟางจะตั้งฟ่อนฟางเป็นวงกลมจากนอกเข้าใน จะทำให้ฟ่อนฟางแน่นและสามารถตั้งให้สูงได้

การตีข้าวนี้นิยมวานเพื่อนบ้านมาช่วยกันตีในเวลากลางคืน เรียกว่าตีข้าววาน จะมีการแข่งขันกันว่าใครขว้างฟ่อนฟางได้แม่นยำ หรือสูงกว่ากัน ทำให้เกิดความสนุกสนานครืนเครงไปในตัว

 

การนวดข้าว
ฟางที่เหลือจากการตีข้าว เมื่อตีข้าวเสร็จแล้วจะนำมานวดเพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือกที่เหลือติดฟาง

อุปกรณ์ที่ใช้

ลานข้าว
หลักผูกควาย
ควาย
ไม้ขอฉาย เป็นไผ่ป่าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม. ยาวประมาณ 180 ซม. ริแขนงไผ่ออกเหลือแต่ส่วนปลายอันเดียว แขนงส่วนที่เหลือนี้ตัดให้ยาวประมา 1 คืบ ทำให้งอด้วยการลนไฟ แล้วเหลาให้ปลายเรียว ใช้เพื่อเกาะฟางให้กระจาย หรือขนย้ายฟางให้กองรวมกันเป็นกองฟาง ส่วนด้ามถือใช้สำหรับตีนวดข้าวได้ด้วย
วิธีการนวดข้าว

ฝังหลักไม้ตรงกลางลานข้าวเพื่อผูกควาย
ใช้เคียวเกียวเขน็ดมันฟ่อนฟางให้ขาดออก
กระจายฟางข้าวเป็นวงกลมในลานข้าน
บังคับให้ควายเดินเป็นวงลม
ใช้ไม้ขอฉายกระจายฟางและใช้ด้ามตีฟางไปพร้อมๆ กันกับเวลาที่ควายย่ำฟาง
เมื่อสังเกตว่าข้าวร่วงดีแล้ว เกาะฟางให้ออกจากลานไปกองไว้เป็นกองฟาง
การเก็บข้าว

เมื่อตีข้าวเสร็จก็โปรยข้าวเพื่อให้ข้าวลีบหรือเศษฟางเล็กๆ ไม่มีน้ำหนักปลิวออกไปจากเมล็ดข้าว จะทำในวันที่มีลมแรง ทำโดยการเอากระบุงตักข้าวแล้วเทลงพื้นทีละน้อยให้ลมพัดเอาข้าวลีบออกข้าวที่แห้งดีแล้วจะถูกนำเข้าไปเก็บในยุ้ง ซึ่งชาวนาจะมียุ้งข้าวทุกหลังคาเรือน เวลาเก็บจะนับเป็นกระเฌอ หรือบางบ้านที่พอหากระสอบข้าวได้ก็จะตวงเป็นกระสอบ ข้าวที่ได้จะเก็บไว้กินมากกว่าที่จะขาย อาจจะมีการขายบ้างก็เพียงเพื่อให้ได้เงินไว้ใช้เล็กน้อยเท่านั้น

การเก็บฟาง
ฟางที่เหลือจากการนวดจะถูกเกาด้วยไม้ขอฉายมารอบๆ หลักไม้ไผ่ที่มีความสูงตามแต่จะเห็นเหมาะสมเพื่อเป็นหลักให้ฟางมีที่ยึดเวลากองขึ้นสูง กองฟางจะถูกเก็บไว้ในบริเวณที่ตีข้าว เก็บไว้เพื่อเป็นอาหารควายหลังฤดูเก็บเกี่ยวเสียเป็นส่วนมาก

การสีข้าว
มีโรงสีข้าวของแม่ใหญ่จ่าย(ไม่ทราบนามสกุล) ตั้งอยู่เมื่อประมาณสี่สิบปีก่อน ได้เลิกล้มกิจการย้ายไปอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ และต่อมา นายดวน บาทขุนทด ได้ตั้งโรงสีข้าวขนาดกลางที่ตำแหน่งเดิม อยู่ประมาณสิบปี ก็เลิกกิจการ การสีข้าวในสมัยก่อนโรงสีจะหักข้าวสารจากเข้าเปลือที่สีได้เป็นส่วน หากต้องการสีข้าวเป็นจำนวนมากชาวบ้านจะขนข้าวด้วยรถเข็นไปสีที่ตลาดปะคำ หรือตลาดโคกสวาย เนื่องจากสีได้เร็วกว่า ชาวบ้านบางส่วนก็ไม่นิยมสีข้าวแต่ใช้การตำข้าวด้วยครกกระเดื่องแทน
พ่อใหญ่จอย พาผล ได้เคยทำเครื่องสีข้าวที่ใช้แรงควายสี แต่ไม่ได้รับจ้างสีข้าวให้ชาวบ้าน ทำใช้ในครัวเรือนเท่านั้น น่าเสียดายว่าไม่มีโอกาสได้เก็บภาพถ่ายไว้ในสมัยนั้น

หลังการเก็บเกี่ยว
หลังฤดูเก็บเกี่ยว ฟางข้าวจะถูกปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการไถกลบ หรือเผา พื้นนาจะกลายเป็นที่สาธารณะ ชาวบ้านทุกคนมีสิทธิ์เข้าไปใช้ได้โดยไม่ต้องขอกัน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นที่เลี้ยงควาย จึงจะเห็นเด็ก และผู้ใหญ่นำควายออกไปเลี้ยงเป็นฝูง ในทุ่งนา และเข้าไปอาศัยพักตามกระท่อมนาเหมือนเป็นเจ้าของ

เมื่อเสร็จหน้านาชาวนาก็มีเวลาพักผ่อนที่ยาว ประเพณีและพิธีบุญอะไรต่างๆ จะฉลองกันนาน เช่นประเพณีสงกรานต์ ชาวบ้านจะเล่นสงกรานต์ก่อนและหลังวันสงกราณ์เป็นอาทิตย์ หรือสองอาทิตย์ มีเวลาไปช่วยงานวัด ช่วยงานส่วนรวมมาก แม้หมู่บ้านของตนไม่มีวัดก็เดินกันไประยะทาง 2-3 กิโลเมตรก็เดินไปกันได้ คนไปวัดมากเป็นร้อยถึงห้าร้อย หากเป็นวันเทศกาลสำคัญๆ คนก็จะยิ่งมาก

สรุปการทำนาในอดีต
การทำนาจะอาศัยแรงงานคน แรงงานสัตว์เป็นหลัก มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนบ้าน ตั้งแต่เริ่มต้นการทำนาจนจบขั้นตอนสุดท้าย ชาวนาจะทำนาเพื่อให้ได้ข้าวไว้กิน ไม่ได้คิดถึงเรื่องเงินมากนัก หลังการทำนาเป็นเวลาพักผ่อนมาก


* large_p4-1.jpg (78.04 KB, 640x401 - ดู 4714 ครั้ง.)

* post-6017-1277310526.jpg (46.87 KB, 599x600 - ดู 8479 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #76 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 16:54:14 »

ข้ามไปมองญี่ปุ่นกันบ้าง การทำนาในบ้านเราดูเหมือนเราจะตามญี่ปุ่นกันอยู่ ถ้าอยากมองอนาคตการทำนาบ้านเราอาจต้องไปดูประเทศญี่ปุ่นแต่อาจไม่ถึงต้องลอกเรียนวิธีจนเหมือนแต่พอรู้และนำมาปรับใช้เพราะบางอย่างก็ไม่เหมาะสมกับบ้านเราเนื่องด้วยหลายปัจจัยทั้งราคาและความพร้อมของเครื่องจักร  จำนวนพื้นที่ทำนาเพราะบางครอบครัวทำนามาก ระบบชลประทานก็ไม่ได้ครอบคลุม ตลอดจนความรู้และความเข้าใจของชาวนาเอง แต่ที่น่านำมาเป็นเยี่ยงอย่างคือความใส่ใจข้าวที่ปลูกเพื่อให้ปลอดภัยกับผู้บริโภคครับ

"ข้าว" เป็นวิถีชีวิต เป็นเศรษฐกิจ เป็นอาหารหลัก 
คนญี่ปุ่นมีอายุที่ยืนยาว ก็มาจากเเปลงนา มีอาหารปลอดสาร
ส่งออกอาหารญี่ปุ่น เป็นวัฒนธรรม ที่ขายได้ มีคุณค่า


เช่นเดียวกันการทำนา ก็ต้องมี
 "การจัดระเบียบการปลูกข้าว"
1.ให้ "ต้นข้าว" สามารถใช้ปัจจัยการผลิตจากธรรมชาติ (แสงเเดด ดิน น้ำ อากาศ สารอาหาร ) มาช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 2.การจัดการ พัฒนาคน พัฒนาเด็กให้รู้จักระเบียบวินัย กันตั้งแต่เเปลงนา  คนมีคุณภาพ มีการศึกษา เป็น "ทุน" ที่ได้เปรียบของญี่ปุ่น
3.ตามมาด้วยการพัฒนาเครื่องจักร เพื่อรองรับ อายุที่มากขึ้นของคน ประชากรโลก "ของเกษตรกร ญี่ปุ่น(สังคมญี่ปุ่นเข้าสู่ยุค คนชรามานานแล้ว)"
 4.ญี่ปุ่นสร้างรายได้จากการส่งออก เทคโนโลยี เครื่องจักร รถยนต์ เครื่องจักรกลการเกษตร  ให้ผู้บริโภคในประเทศต่างๆ สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น มีความสะดวกสะบายและปลอดภัย มากขึ้น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรม และการเกษตรที่ก้าวหน้า ส่วนหนึ่งก็คือการพัฒนามาจาก ความมีระเบียบวินัย ของคนในชาติ ที่ฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กครับ
รวมถึงการจัดระเบียบการปลูกข้าว...เค้าสอน เด็กๆ กันตั้งแต่ในเเปลงนา ครับ

"ดินดีหญ้าต้องขึ้น"  อยู่แล้วครับ
 เมื่อหญ้าขึ้น นอกแถวนอกกอข้าว ก็สามารถจัดการได้ง่าย
ไม่ต้องใช้ยา กำจัดวัชพืช ยาฆ่าหญ้า ที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม = อาหารมีความปลอดภัยตั้งแต่เเปลงนา




* 1.jpg (59.23 KB, 640x480 - ดู 4850 ครั้ง.)

* 2.jpg (44.43 KB, 506x388 - ดู 10891 ครั้ง.)

* 3.jpg (70.89 KB, 640x480 - ดู 4988 ครั้ง.)

* 4.jpg (68.83 KB, 640x480 - ดู 4716 ครั้ง.)

* 5.jpg (64.99 KB, 640x480 - ดู 5217 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #77 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 17:05:51 »

พัฒนาคน : มีคุณภาพ มีการศึกษา มีจิตวิญญาณของเกษตรกร ห่วงใยสิ่งแวดล้อม
พัฒนาพันธุ์ :ให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคเเมลง รสชาตถูกปากผู้บริโภค
พัฒนาเครื่องจักร: รองรับแรงงานภาคเกษตรที่หายไป ซึ่งปัจจุบันเหลือประมาณ ร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด คนรุ่นหนุ่มสาวออกไปเป็น salary man และ กลับมาเป็นชาวนาวันหยุด

การเพาะกล้า-เป็นระบบสายพานลำเลียงผลิตแผ่นกล้า ใช้เมล็ดพันธุ์ จำนวน 8-10 กิโลกรัมต่อไร่ มีการอนุบาลก่อนลงเเปลง อายุตั้งแต่ 8-15 วัน แต่ไม่เกิน 25 วัน ความสูงไม่เกิน25 เซนติเมตร ต้นกล้าข้าวไม่ต้องลงไปโตแข่งกับหญ้าในแปลงนา
เตรียมดิน -ใช้แทรกเตอร์ติดโรตารี เตรียมดินให้เรียบเสมอ  ลึกในระดับที่เหมาะสม 12-18 cm.พร้อมสำหรับการปักดำ

ปักดำ - เป็นแถว ความกว้าง 30 ซม. เป็นแนว มีระเบียบ มีช่องว่างให้อากาศผ่าน แสงแดดส่องถึงพื้น(แถวตามแนวขี้น-ลงของพระอาทิตย์:ต้นข้าวไม่บังแสงแดดกันเอง) ต้นข้าวสุขภาพดี แข็งแรง การจัดการดูแลในเเปลงนาก็ง่ายขึ้น     

การดูแลหลังการปักดำ -ใช้เครื่องพรวนหญ้า (weeder) ในร่องนาดำ ลดการใช้ยาปราบวัชพืช และใช้เครื่องชักร่องน้ำ ระบายน้ำได้ น้ำไม่ท่วมขังเเปลงนา ช่วย ลดก๊าชมีเทน

เก็บเกี่ยว -ใช้ระบบนวด "เฉพาะคอรวง" ใช้พลังงานในการนวดนวดน้อยลง ได้ข้าวที่มีความชื้นต่ำ เนื่องจากไม่ต้องเอาต้นข้าวเข้าตู้นวด (ซึ่งบริเวณโคนต้นข้าวมีความชื้นสูง) ประหยัดพลังงานในการอบลดความชื้น หลังการเก็บเกี่ยว

การจัดเก็บ -ไซโล ขนาดเล็ก เก็บข้าวที่โรงนาเกษตรกร ไว้ทยอยสีขายทั้งปี สีเป็นข้าวกล้อง และข้าวขาว หรือบรรจุเป็นข้าวเปลือกใส่ถุง กระดาษรีไซเคิล

การสีข้าว - มีเครื่องสีข้าวที่โรงนาของเกษตรกรเอง ทำให้ได้ทั้ง ข้าวกล้อง
ข้าวสาร รำ  และแกลบ เก็บไว้ใช้ประโยชน์ที่บ้าน
มีตู้สีข้าวหยอดเหรียญตามชุมชน เพื่อผู้บริโภคได้สารอาหารครบถ้วน กรณีซื้อข้าวกล้อง มาไว้ที่บ้าน แล้วต้องการบริโภคข้าวกล้องเเบบสีสดๆร้อน

หลังการเก็บเกี่ยว : เครื่อง กระจายฟาง รวมฟาง อัดฟาง ไว้ใช้ประโยชน์ทำปุ๋ย เลี้ยงสัตว์ต่อ   มีการหมัก และโรยใส่เเปลงนาบำรุงดินก่อนการเพาะปลูก
 
พัฒนาระบบชลประทาน : ควบคุมน้ำ ได้ก็ประหยัดน้ำ จัดการในเเปลงนาได้ดั่งใจ ที่ระดับ 5cm. น้ำสลับเเห้ง  ข้าวก็ไม่ต้องโตยืดตัว หนีน้ำ (มีผลต่อปัจจัยการผลิตอย่างอื่นต่อ ปุ๋ย ยา การร่วงหล่น ) หรือเเห้งตาย เพราะไม่มีน้ำ ลดต้นทุนเกษตรกรไม่ต้องสูบน้ำเข้านา

พัฒนาตลาดการเกษตร :ผ่านระบบสหกรณ์ หรือ JA ทำให้เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรม และการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณข้อมูล 
ต้นกล้า ชาวนาวันหยุด
นาย สุภชัย ปิติวุฒิ




* 6.jpg (17.7 KB, 640x134 - ดู 4279 ครั้ง.)

* 7.jpg (51 KB, 400x600 - ดู 4458 ครั้ง.)

* 8.jpg (47.05 KB, 640x607 - ดู 4687 ครั้ง.)

* 9.jpg (64.76 KB, 640x589 - ดู 4505 ครั้ง.)

* 10.jpg (81.56 KB, 640x481 - ดู 7001 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #78 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 19:36:10 »

เปียกสลับเเห้ง แกล้งข้าว ป้องกันและแก้ไข "นาหล่ม"

ปัญหา "นาหล่ม" แถบพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือล่าง
นับเป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้การทำงานในเเปลงนาเป็นไปด้วยความยากลำบาก

ผลที่ตามมาจาก "นาหล่ม"
1.สิ้นเปลืองพลังงาน ทั้งคน และเครื่องจักร ในการ ลุยสู้หล่ม
เนื่องจากแรงต้านทานการทำงานมากกว่าสภาพแปลงนาปกติ
2.เครื่องจักรเสียหาย หากติดหล่ม แล้วเอาขึ้นจากหล่มไม่ถูกวิธี
3.แรงงานที่ทำงาน เกิดความท้อ ต้นทุนค่าเเรงงานสูงขึ้น
เนื่องจาก มีการเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขี้น ตามสภาพเเปลงนา
4.โรค แมลง ความอ่อนแอของต้นข้าวที่แช่น้ำตลอด
5.ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งค่าสึกหรอเครื่องจักร ค่าแรงงาน ค่าปุ๋ย ค่ายา(จากความอ่อนแอของต้นข้าว ที่แช่น้ำตลอดเวลา) จากปกติ 20-50 เปอร์เซนต์

ที่มาของ "ปัญหานาหล่ม"
1.การบริหารจัดการน้ำในเเปลงนาล้มเหลว ไม่มีการทำคลองทิ้งน้ำในเเปลงนา
2.การปล่อยน้ำแช่ขังในเเปลงนาตลอดระยะเวลา ทำให้ดินเหลว เป็นหล่มลึก
3.การทำนาต่อเนื่อง ติดกัน หน้าดินไม่ได้หยุดพัก ไม่ได้มีเวลา set ตัว
4.การใช้รถเกี่ยวนวดข้าวขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก

แนวทางการแก้ไข
1.ทำร่องระบายน้ำทิ้ง/ คลองทิ้งน้ำในเเปลงนา
2.ปรับพื้นที่นา ให้เรียบเสมอได้ระดับ เพื่อไม่ให้น้ำขัง หรือ ตกเเอ่ง
3.ใช้เทคนิค "เปียกสลับเเห้ง แกล้งข้าว" ในระยะแตกกอ เพื่อให้ดินเเห้ง แตกระเเหง มีการ Set ตัว
4.ใช้ "ระบบน้ำวนแบบปิดในเเปลงนา" เพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในเเปลงนา สำหรับนานอกเขตชลประทาน






* 1.jpg (71.51 KB, 640x480 - ดู 4299 ครั้ง.)

* 2.jpg (74.71 KB, 640x483 - ดู 4367 ครั้ง.)

* 3.jpg (106.12 KB, 600x450 - ดู 4737 ครั้ง.)

* 4.jpg (59.51 KB, 600x450 - ดู 5000 ครั้ง.)

* 5.jpg (33.79 KB, 600x450 - ดู 4804 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #79 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 19:43:22 »

step ในการ "เพิ่มผลผลิตข้าว"

คือ "การเพิ่ม จำนวนรวงต่อพื้นที่"
"ค่าเฉลี่ย ควรอยู่ที่ 250-340 รวงต่อ 1 ตารางเมตร"
ถ้ามากไปกว่านี้ ก็จะแน่น เบียดแย่งแสง เมล็ดข้าวไม่แกร่ง

"ราก ---->ลำ(หน่อ)----> รวง"
โดยใช้ การจัดการเเปลงนา กระตุ้นให้ข้าวใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่(+สิ่งที่มีในธรรมชาติ คือ เเสงเเดด อากาศ น้ำ) พัฒนาตั้งแต่ ระบบราก การแตกกอ(ลำ) และสร้างรวงที่สมบูรณ์
-เริ่มจาก "พัฒนาระบบรากข้าว" ให้หาอาหารในรัศมีที่มากกว่าหน้าผิวดิน
"กระตุ้นให้ออกรากใหม่หาอาหารเพิ่มขึ้น ตลอดเวลา ด้วยการ "แกล้งข้าว"
-เมื่อหาอาหาร มาเลี้ยงต้นแรกสมบูรณ์ได้แล้ว ก็
"แตกหน่อ เพิ่มจำนวนมากขึ้น มากขึ้น"
-และ "ระบบรากข้าว" ก็ยังคงหาอาหารมา "บำรุงหน่อ ให้สมบูรณ์" พร้อมรับสำหรับการตั้งท้อง ออกรวงที่สมบูรณ์ต่อไป
สิ่งที่คนทำนา รุ่นหลังๆ ไม่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ของต้นข้าว ก็คือการ "ออกราก" "แตกกอ การแตกหน่อ(ลำ)"
แต่ไปสิ้นเปลืองกับเมล็ดพันธุ์ เพิ่มจำนวน "ต้นข้าว" เพิ่มปุ๋ย เพิ่มยา ในเเปลงนาแทน   
จากฟังก์ชันการผลิตเเบบ "ทวีคูณ" 1 ต่อ 10 ต่อ 20 กลายเป็นฟังก์ชันการผลิตแบบ "ถดถอย" 1 ต่อ    1 ต่อ   2 ซะอย่างนั้น
 ผลตอบแทน ที่ควรได้ หายไป  หายไปไหนหมด


* 6.jpg (66.43 KB, 640x480 - ดู 4935 ครั้ง.)

* 7.jpg (56.19 KB, 640x480 - ดู 4380 ครั้ง.)

* 8.jpg (85.54 KB, 480x640 - ดู 4879 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!