เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 00:59:26
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 406038 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #20 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:17:22 »

ชื่อโรค: โรคใบจุดสีน้ำตาล 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Brown Spot Disease 
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี): -   
เชื้อสาเหตุ: เชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haan.) 
ลักษณะ/อาการของโรค:       พบแผลที่ใบข้าวเป็นจุดสีน้ำตาลกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง เชื้อรานี้สามารถเข้าทำลายที่เมล็ดด้วย ทำให้เมล็ดข้าวมีจุดสีน้ำตาลปนดำประปรายหรือทั้งเมล็ด ทำให้เมล็ดข้าวคุณภาพไม่ดี มีน้ำหนักเบา เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย โรคนี้พบมากทั้งนาน้ำฝน และ นาชลประทาน ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ 
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า, ระยะแตกกอ, ระยะออกรวง, ระยะข้าวตั้งท้อง   
การป้องกัน/กำจัด: กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรคนี้ เช่น หญ้าชันกาด หญ้าไซ เป็นต้น
ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด
ควรปรับปรุงดินด้วยการไถกลบฟาง หรือทำการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชที่ใช้เป็นปุ๋ยสด หรือทำการปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยลดความรุนแรงของโรค
 


* 5.jpg (12.88 KB, 200x200 - ดู 4121 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #21 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:19:21 »

ชื่อโรค: โรคใบหงิก 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Ragged Stunt Disease 
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี): โรคจู๋   
เชื้อสาเหตุ: เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV) 
ลักษณะ/อาการของโรค:       โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงพาหะ ซึ่งลักษณะอาการของข้าวที่เป็นโรค สังเกตง่ายคือ ข้าวต้นเตี้ย ไม่สูงเท่าที่ควร ใบมีสีเขียวเข้ม แคบและสั้น ใบใหม่แตกช้ากว่าปกติ ถ้าแตกขึ้นมาใหม่ก็ไม่ค่อยสมบูรณ์ ปลายใบบิดเป็นเกลียวซึ่งเป็นลักษณะเด่นของโรคนี้ นอกจากนี้ยังสังเกตเห็นขอบใบแหว่งวิ่นและเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบและกาบใบ ข้าวที่เป็นโรคจะออกรวงช้าและให้รวงไม่สมบูรณ์ รวงให้เมล็ดข้าวลีบ เมล็ดด่างเสียคุณภาพเป็นส่วนมาก ต้นข้าวที่เป็นโรคใบหงิกอย่างรุนแรงเกษตรกรจะไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โรคนี้พบมากในนาชลประทานภาคกลาง 
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า, ระยะแตกกอ, ระยะออกรวง, ระยะข้าวตั้งท้อง   
การป้องกัน/กำจัด: ควบคุมระดับน้ำในแปลงนา หลังจากที่ปักดำหรือหว่านแล้ว 2-3 สัปดาห์ จนถึงระยะตั้งท้อง โดยให้น้ำในแปลงพอดีดินเปียกหรือมีน้ำเรี่ยผิวดินประมาณ 7-10 วัน แล้วปล่อยขังไว้ให้แห้งเองสลับกัน เพื่อลดการระบาดของเพลี้ยที่เป็นแมลงพาหะได้
ใช้กับดักแสงไฟเพื่อจับตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาทำลายในระยะข้าวเริ่มสุกแก่ ทั้งนี้เพื่อสกัดกั้นไม่ให้อพยพไประบาดในแหล่งอื่น
ปลูกพืชหมุนเวียนในนาหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพด และพืชอื่นๆ เพื่อตัดชีพจรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแมลงพาหะและเชื้อไวรัส
ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด น้อยหน่า สะเดา และสาบเสือ
 


* 6.jpg (11.17 KB, 200x200 - ดู 3455 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
adrenaline85
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,677


« ตอบ #22 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:22:35 »

เยอะมากสงสัยต้องอ่านวันล่ะกระทู้
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #23 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:31:54 »

ชื่อโรค: โรคเมล็ดด่าง 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Dirty Panicle Disease 
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี): -   
เชื้อสาเหตุ: เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed. / Cercospora oryzae I.Miyake / Helminthosporium oryzae Breda de Haan. / Fusarium semitectum Berk & Rav. / Trichoconis padwickii Ganguly / Sarocladium oryzae 
ลักษณะ/อาการของโรค:       รวงข้าวที่เป็นโรค จะมีทั้งเมล็ดเต็ม และเมล็ดลีบ พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาล หรือดำที่เมล็ดรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทา ปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิด ที่สามารถเข้าทำลาย และทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรา มักจะเกิดในช่วงดอกข้าว เริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวง จนถึงระยะเมล็ดข้าว เริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัด ในระยะใกล้เก็บเกี่ยว โรคนี้พบมากในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ 
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะออกรวง   
การป้องกัน/กำจัด: เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรคัดเลือก จากแปลงที่ไม่เป็นโรค
ถ้ามีฝนตกชุก ในระยะที่ต้นข้าวกำลังออก หรือเป็นเมล็ดแล้ว ควรหาวิธีป้องกันโดยการพ่นสาร ด้วยน้ำหมักที่ทำจากสมุนไพร
 


* 2010920177.jpg (223.1 KB, 397x559 - ดู 3615 ครั้ง.)

* 2010920672.jpg (69.56 KB, 837x348 - ดู 3947 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #24 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:33:51 »

ชื่อโรค: โรคเมาตอซัง 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Akiochi Disease 
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี): -   
เชื้อสาเหตุ: เกิดจากความเป็นพิษของสภาพดินและน้ำ 
ลักษณะ/อาการของโรค:       เริ่มพบอาการเมื่อข้าวอายุประมาณ 1 เดือน หรือ ระยะแตกกอ ต้นข้าวจะแคระแกร็น ใบซีดเหลืองจากใบล่างๆ มีอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาล จะพบในขณะที่ขบวนการเน่าสลายของเศษซากพืชในนายังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษไปทำลายรากข้าวเกิดอาการรากเน่าดำ ทำให้ไม่สามารถดูดสารอาหารจากดินได้ ต้นข้าวแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ในขณะเดียวกันมักจะพบต้นข้าวสร้างรากใหม่ในระดับเหนือผิวดิน ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเกิดจากเกษตรกรทำนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการพักนาและเกิดการหมักของตอซังระหว่างข้าวแตกกอ โรคนี้พบมากในนาน้ำฝนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ 
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะแตกกอ   
การป้องกัน/กำจัด: ควรระบายน้ำเสียในแปลงออก ทิ้งให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนำน้ำใหม่เข้าและหว่านปุ๋ย
หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรทิ้งระยะพักดินประมาณ 1 เดือน ไถพรวนแล้วควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักสลายตัวสมบูรณ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์


 


* 8.jpg (61.46 KB, 240x320 - ดู 3281 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #25 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:36:33 »

ชื่อโรค: โรคไหม้  
ชื่อภาษาอังกฤษ: Rice Blast Disease 
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี): -   
เชื้อสาเหตุ: เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc. 
ลักษณะ/อาการของโรค:       ลักษณะอาการของโรค หากพบในระยะกล้าใบมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตาและมีสีเทาตรงกลางแผล หากมีอาการรุนแรงต้นกล้ามีอาการคล้ายกับถูกไฟไหม้และแห้งตาย แต่หากเกิดโรคในช่วงที่ข้าวแตกกอจะเกิดอาการได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบในที่สุด กรณีที่โรคเกิดในช่วงข้าวกำลังออกรวงเมล็ดข้าวจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะมีรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่ายและทำให้รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายเป็นจำนวนมาก โรคนี้พบมากในนาน้ำฝน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ 
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า, ระยะแตกกอ, ระยะออกรวง, ระยะข้าวตั้งท้อง   
การป้องกัน/กำจัด: ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด
ไม่ควรตกกล้าหนาจนเกินไป ความยาวของแปลงให้ขนานไปกับทิศทางลม เพื่อลดความชื้นภายในแปลง และอย่าให้กล้าขาดน้ำ
 


* 9.jpg (78.43 KB, 392x502 - ดู 3865 ครั้ง.)

* 10.jpg (101 KB, 432x514 - ดู 3372 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #26 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:38:43 »

ชื่อโรค: โรคไส้เดือนฝอยรากปม 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Root Knot Nematode 
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี): -   
เชื้อสาเหตุ: ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne graminicola 
ลักษณะ/อาการของโรค:       เมื่อไส้เดือนฝอยตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวที่ปลายรากอ่อน ของต้นข้าวแล้ว จะปล่อยสารออกมา กระตุ้นให้เนื้อเยื่อบริเวณผิวหนังนั้นแบ่งตัวเร็วและมากกว่าปกติ ทำให้รากต้นข้าวเกิดการพองขึ้นเป็นปม ซึ่งเมื่อปลายรากเกิดปมขึ้นแล้วรากนั้นก็จะไม่สามารถเจริญต่อไปได้อีก จึงทำให้ ต้นข้าวแคระแกร็น ใบสีเหลืองซีด แตกกอน้อย แต่ถ้ามีปมน้อยอาการจะไม่ปรากฏที่ใบ โรคนี้มักพบมากในนาน้ำฝนที่ดอน ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า, ระยะแตกกอ   
การป้องกัน/กำจัด: ไม่ควรปล่อยให้แปลงนาในระยะกล้าขาดน้ำ และหากพบการทำลายของไส้เดือนฝอยควรไขน้ำให้ท่วมแปลงนาระยะหนึ่งเพื่อจำกัดไส้เดือนฝอย หรือไถตากดินให้แห้ง
ปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่พืชหมุนเวียน เช่น ดาวเรือง ตะไคร้ เพื่อลดจำนวนไส้เดือนฝอยในดิน
ควรฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์และน้ำสกัดสมุนไพร เช่น บอระเพ็ด ระหุง และสะเดา เป็นต้น


 


* 11.jpg (28.62 KB, 384x242 - ดู 3558 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #27 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:46:44 »

แมลงศัตรข้าว

โดยปกติในนาข้าวจะมีศัตรูธรรมชาติ จำพวกแมลงต่าง ๆ   ซึ่งโดยปกติเราสามารถป้องกันหรือกำจัดใช้สารเคมี  สารสกัดธรรมชาติสมุนไพร หรือปล่อยให้แมลงในธรรมชาติควบคุมกันเองอย่างตัวห้ำตัวเบียนได้  เรามาดูกันว่าแมลงในธรรมชาติตัวไหนบ้างที่เป็นแมลงศัตรูข้าว
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #28 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:48:11 »

ชื่อสามัญ: ด้วงดำ (Scarab Beetle)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: ด้วงซัดดำ ตัวซัดดำ 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Heteronychus lioderes / Alissonotum cribratellum 
ชื่อวงศ์: Scarabaeidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       เป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง บินได้ มีขนาดใหญ่ สีดำ มักจะชอบบินมาเล่นไฟในตอนกลางคืน ไข่มีลักษณะกลมสีขาวขุ่นขนาดเท่าเม็ดสาคูขนาดเล็ก 5-6 ฟอง 
 
ลักษณะการทำลาย: โดยการกัดกินต้นข้าวอ่อนที่มีอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ บริเวณส่วนอ่อนที่เป็นสีขาว ที่อยู่ใต้ดินเหนือรากข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการเหลือง เหี่ยวและแห้งตายในที่สุด นอกจากนี้ด้วงดำจะเคลื่อนย้ายทำลายข้าวต้นอื่นๆ โดยการมุดลงดินทำให้เห็นรอยขุดดินเป็นแนว มักพบตัวเต็มวัยของด้วงดำชนิดนี้ 1 ตัวต่อข้าว 1 ต้น ด้วงดำพบมากในข้าวไร่และนาน้ำฝน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะแตกกอ   
การป้องกัน/กำจัด: ควรหว่านข้าวตามฤดูกาลเพื่อหลีกเลี่ยงตัวเต็มวัย ของด้วงดำที่ฟักออกจากดักแด้ ในดินหลังฝนแรกของฤดู
ล่อและทำลายตัวเต็มวัยของด้วงดำ โดยใช้หลอดไฟชนิดแบล็กไลท์ที่เกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมใช้ล่อแมลงดานา
 



* 12.jpg (93.55 KB, 295x319 - ดู 3413 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #29 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:49:54 »

ชื่อสามัญ: เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown Planthopper)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nilaparvata lugens (Stal) 
ชื่อวงศ์: Delphacidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:      เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงจำพวกปากดูด มีทั้งชนิดปีกสั้นและปีกยาว ลักษณะของตัวเต็มวัย มีลำตัวสีน้ำตาลอ่อน จนถึงน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ มักจะชอบอาศัยอยู่บริเวณโคนต้นข้าว เหนือระดับน้ำเล็กน้อย และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกาบใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่ จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้ง คล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น หากเป็นตัวอ่อนมีสีขาวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จากนั้นก็จะกลายเป็นตัวเต็มวัยต่อไป 
 
ลักษณะการทำลาย: เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียกว่า “อาการไหม้ (hopper burn)” นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสสาเหตุของโรค “ใบหงิก” มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว ขอบใบแหว่ง ซึ่งหากระบาดมากจะทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้เลย   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะแตกกอ, ระยะออกรวง, ระยะข้าวตั้งท้อง   
การป้องกัน/กำจัด: ระบายน้ำออกจากแปลงนาเพื่อลดความชุ่มชื้น บริเวณโคนข้าว ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของแมลง
ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด น้อยหน่า สะเดา ตะไคร้หอม หรือ สาบเสือ
ใช้แสงไฟล่อแมลงให้มาเล่นไฟแล้วจับทำลาย หรือ ปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติที่มีอยู่ในแปลงนาทำลายและควบคุม เช่น แมงมุม แตนเบียน ด้วงดิน แมงปอบ้าน เป็นต้น
 


* 13.jpg (41.32 KB, 320x320 - ดู 6418 ครั้ง.)

* 14.jpg (65.32 KB, 355x324 - ดู 4767 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #30 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:51:47 »

ชื่อสามัญ: เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Green Rice Leafhopper)    
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephotettix virescens (Distant) 
ชื่อวงศ์: Cicadellidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เป็นแมลงจำพวกปากดูด มีรูปร่างคล้ายกับจักจั่น มีสีเขียวอ่อนอาจมีแต้มดำบนหัวหรือปีก มีขา 6 ขา ปีก 2 คู่ (ปีกนอก 1 คู่ ปีกใน 1 คู่) ชอบบินมาเล่นไฟตอนกลางคืนโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน เพศเมียวางไข่ในกาบใบข้าว โดยวางไข่เป็นกลุ่ม ไข่มีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลและมีจุดสีแดง ตัวอ่อนมีสีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน พบได้ทั่วไปในแปลงนาทุกภาคของประเทศ โดยพบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
 
ลักษณะการทำลาย: ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายต้นข้าวโดยการใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและลำต้นข้าว ทำให้ข้าวชะงักการเจริญเติบโตและอาจแห้งตายได้หากมีปริมาณมาก นอกจากนี้เพลี้ยจักจั่นสีเขียวยังเป็นแมลงพาหะนำโรค “ใบสีส้ม” มาสู่ข้าวด้วย ทำให้ต้นข้าวแคระแกร็น ใบเหลือง ข้าวออกรวงไม่สม่ำเสมอ เมล็ดลีบ โดย พบการระบาดของเพลี้ยจักจั่นสีเขียวในฤดูข้าวนาปีมากกว่าฤดูข้าวนาปรัง   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะแตกกอ   
การป้องกัน/กำจัด: ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด น้อยหน่า สะเดา หรือสาบเสือ
ใช้แสงไฟล่อแมลงให้มาเล่นไฟแล้วจับทำลาย หรือ ปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติที่มีอยู่ในแปลงนาทำลายและควบคุม เช่น แมงมุม แตนเบียน ด้วงดิน มวนจิงโจ้น้ำ ด้วงเต่า เป็นต้น
ปลูกข้าวพร้อมๆกัน และปล่อยพื้นนาว่างไว้ระยะหนึ่ง เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลง


* 15.jpg (149.19 KB, 486x664 - ดู 5786 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #31 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:57:01 »

ชื่อสามัญ: เพลี้ยไฟ (Rice Thrips)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Stenchaetohrips biformis (Bagnall) 
ชื่อวงศ์: Thripidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       เพลี้ยไฟ เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยวๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวเดิมที่ฟักจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูดในการทำลายต้นข้าว 
 
ลักษณะการทำลาย: เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายต้นข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของต้นข้าว โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลาย ปลายใบจะเหี่ยวขอบใบม้วนเข้าหากลางใบ พบการทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนาน หรือสภาพนาข้าวที่ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า   
การป้องกัน/กำจัด: ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากสะเดา สาบเสือ น้อยหน่า หรือบอระเพ็ด
สุมไฟด้วยฟางข้าวไว้ด้านเหนือของแปลงนา แล้วโรยผงกำมะถันลงบนกองไฟนั้น อากาศที่เกิดจากกองไฟจะเป็นพิษทำลายเพลี้ยไฟข้าวได้
ปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติทำลายและควบคุม เช่น แมลงปอบ้าน แมลงปอเข็ม มวนจิงโจ้น้ำ เป็นต้น
ควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือถ้าพบว่ามีเพลี้ยไฟระบาดในระยะเริ่มแรกให้ไขน้ำเข้าท่วมแปลงนา ทิ้งไว้ 1-2 วัน
 
 


* borkor.gif (76.79 KB, 524x170 - ดู 3950 ครั้ง.)

* borkor1.gif (35.36 KB, 250x163 - ดู 5101 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #32 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:59:06 »

ชื่อสามัญ: มวนเขียวข้าว (Green Stink Bug)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nezara viridula (Linnaeus) 
ชื่อวงศ์: Pentatomidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       ตัวอ่อน มีรูปร่างคล้ายตัวเต็มวัยแตกต่างกันที่ขนาด สีและไม่มีปีก ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีส้มอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และกระจายออกไปหลังจากลอกคราบครั้งที่ 1 และ 2 สีของตัวอ่อนแตกต่างกันไปตามวัย มีจุดสีขาวกระจายอยู่บนหลัง ลอกคราบ 5 ครั้ง ตัวอ่อนวัยสุดท้ายมีสีเขียวเข้มและมีส่วนปีกงอกออกมาจากส่วนอก ส่วนตัวเต็มวัย มีลักษณะคล้ายโล่ ลำตัวมีสีเขียว หนวดปล้องที่ 3 ถึง 5 มีสีน้ำตาลตรงโคนสีเขียว 
 
ลักษณะการทำลาย: มวนเขียวข้าวทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายต้นข้าวด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก และเมล็ด ซึ่งจะทำให้เมล็ดข้าวลีบ และร่วงหล่นในที่สุด   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะออกรวง   
การป้องกัน/กำจัด: ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากน้อยหน่า
ควรหมั่นตรวจแปลงนาอยู่เสมอเมื่อพบกลุ่มไข่หรือตัวอ่อนให้จับไปทำลาย
 


* 16.jpg (22.65 KB, 320x240 - ดู 4029 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #33 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:03:40 »

ชื่อสามัญ: มวนง่าม (Stink Bug)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: Tetroda denticulifera (Berg) 
ชื่อวิทยาศาสตร์: มวนสามง่ามหรือแมงแครง 
ชื่อวงศ์: Pentatomidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       มวนง่ามทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายข้าวโดยใช้ Stylet เจาะลงไปในใบและลำต้นข้าว แล้วดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้นข้าว ทำให้ลำต้นและใบเหี่ยวเฉา นอกจากนี้ตัวเต็มวัยซึ่งมีขนาดใหญ่ เมื่อไปเกาะตามลำต้นและใบเป็นจำนวนมาก สามารถทำให้ลำต้นและใบในระยะกล้าหักพับ ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก พบการระบาดทำลายในฤดูนาปรังรุนแรงกว่าในฤดูนาปี และพบมากในระยะกล้าและหลังปักดำใหม่ 
 
ลักษณะการทำลาย:   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า   
การป้องกัน/กำจัด: ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากน้อยหน่า
ควรหมั่นตรวจแปลงนาอยู่เสมอเมื่อพบไข่ให้เก็บไปทำลายทิ้ง
ใช้สวิงทำการจับตัวอ่อนและตัวเต็มวัยแล้วนำไปทำลาย
 


* 17.jpg (46.47 KB, 311x311 - ดู 3495 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #34 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:05:41 »

ชื่อสามัญ: แมลงดำหนาม (Rice Hispa)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicladispa armigera (Olivier) 
ชื่อวงศ์: Chrysomelidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       แมลงดำหนาม เป็นด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่งมีหนามแหลมแข็งปกคลุม ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆใกล้ปลายใบอ่อน ตัวหนอนมีลักษณะลำตัวแบนสีขาว เจริญเติบโตและเข้าดักแด้อยู่ภายในใบข้าว ดักแด้มีสีน้ำตาล 
 
ลักษณะการทำลาย: แมลงดำหนามที่เป็นตัวหนอนกัดกินเนื้อเยื่อส่วนสีเขียวภายในใบข้าว คล้ายกับการทำลายของหนอนห่อใบ ส่วนตัวเต็มวัยกัดกินผิวใบข้าวด้านบนทำให้เห็นเป็นรอยขูดเป็นทางสีขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ นาข้าวที่ถูกทำลายรุนแรงใบข้าวจะแห้งและกลายเป็นสีน้ำตาลเหมือนถูกไฟไหม้ พบการระบาดเป็นครั้งคราวเท่านั้น   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะแตกกอ   
การป้องกัน/กำจัด: ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากพริกไทย หรือดาวเรือง
เก็บใบข้าวที่ถูกแมลงทำลาย แล้วนำมาทำลายทิ้งเพื่อไม่ให้ขยายพันธุ์ต่อไป
กำจัดวัชพืชพวกหญ้าทั้งในนาและข้างแปลงนาเพื่อกำจัดพืชอาศัย
ปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติทำลายและควบคุม เช่น แตนเบียนหนอน เป็นต้น
 


* 18.jpg (65.3 KB, 245x308 - ดู 3184 ครั้ง.)

* 19.jpg (108.3 KB, 509x252 - ดู 3278 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #35 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:07:30 »

ชื่อสามัญ: แมลงบั่ว (Rice Gall Midge)    
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Orseolia oryzae (Wood-Mason) 
ชื่อวงศ์: Cecidomyiidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       แมลงบั่ว เป็นจำพวกแมลงมีปีกบินได้ มีความว่องไวสูงชอบบินมาเล่นไฟในเวลากลางคืน ตัวเต็มวัยจะคล้ายกับยุงแต่ลำตัวมีสีส้ม ส่วนท้องจะมีสีส้มค่อนข้างป่องอ้วนใหญ่กว่าส่วนอื่น หนวดและขามีสีน้ำตาลอมดำ มีหนวด 1 คู่ ขา 6 ขา ปีกค่อนข้างใสขาว ชอบเกาะอยู่ตามกอข้าวที่หนาแน่นและร่มเงามาก ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ใต้ใบข้าวในตอนกลางคืน โดยวางเป็นฟองเดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่ม ไข่มีลักษณะคล้าย กล้วยหอม 
 
ลักษณะการทำลาย: แมลงบั่วตัวเต็มวัยจะเข้าแปลงนาตั้งแต่ระยะกล้า เพื่อไปวางไข่ที่กาบใบ จากนั้นก็ฟักเป็นตัวหนอนแล้วตัวหนอนคืบคลานเข้าไปที่ใบยอดและกาบใบข้าว เพื่อเข้าทำลายยอดอ่อนของต้นข้าวที่กำลังเจริญเติบโตทำให้เกิดเป็นหลอดลักษณะคล้ายหลอดหอม ต้นข้าวและกอข้าวที่ถูกทำลายจะมีอาการแคระแกร็น เตี้ย ลำต้นกลม มีสีเขียวเข้ม ยอดที่ถูกทำลายไม่สามารถออกรวงได้ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงมาก ระยะข้าวแตกกอจะเป็นระยะที่หนอนบั่วเข้าทำลายมาก แต่เมื่อข้าวเกิดช่อดอกแล้วจะไม่ถูกหนอนบั่วทำลาย แมลงบั่วพบมากในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า   
การป้องกัน/กำจัด: ควบคุมและกำจัดวัชพืชรอบแปลงนา เช่น ข้าวป่า หญ้าข้าวนก หญ้าไซ หญ้าแดง หญ้าชันกาด และหญ้านกสีชมพู ก่อนตกกล้าหรือหว่านข้าวเพื่อทำลายพืชอาศัยของแมลงบั่ว
ไม่ควรหว่านข้าวหนาๆ เพราจะทำให้เกิดร่ม ซึ่งจะเป็นแหล่งที่อยู่และอาหารของแมลงบั่วได้ง่าย
ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากหนอนตายหยาก
ปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติทำลายและควบคุม เช่น ด้วงดิน แมงปอ แมงมุม ด้วงดิน ด้วงเต่า มวนเขียวดูดไข่ เป็นต้น
 


* 20.jpg (120.1 KB, 586x740 - ดู 3933 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #36 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:09:36 »

ชื่อสามัญ: แมลงสิง (Rice Bug or Stink Bug)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: แมลงฉง 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Leptocorisa acuta (Thunberg), Leptocorisa oratorius (Fabricius) 
ชื่อวงศ์: Alydidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       แมลงสิง เป็นมวนชนิดหนึ่ง และเป็นจำพวกปากดูดแทง ตัวเต็มวัยมีรูปร่างเพรียวยาว หนวดยาวใกล้เคียงกับลำตัว ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างมีสีเขียว อกด้านหลังมีลักษณะเป็นรูปตัววี มีหนวด 1 คู่ ใช้สำหรับดมกลิ่น แมลงสิงมีกลิ่นเหม็นฉุนคล้ายกับแมลงกระแท้ บางท้องถิ่น จึงให้ชื่อว่า “แมลงฉง” มีความหมายว่า เหม็นฉุน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ได้หลายร้อยฟอง โดยวางไข่เรียงกันเป็นแถวบนใบข้าวขนานกับเส้นกลางใบ ไข่มีสีน้ำตาลแดงเข้ม รูปร่างคล้ายจาน ตัวอ่อนมีสีเขียวแกมน้ำตาลอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าว 
 
ลักษณะการทำลาย: แมลงสิงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายต้นข้าวด้วยการใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าว ระยะเป็นน้ำนม แต่ก็สามารถดูดกินเมล็ดข้าวทั้งเมล็ดอ่อนและเมล็ดแข็ง ทำให้เมล็ดลีบและไม่สมบูรณ์ การดูดกินของแมลงสิงไม่ทำให้เป็นรูบนเปลือกของเมล็ดข้าวเหมือนมวนชนิดอื่น ความเสียหายที่เกิดจากการทำลายของแมลงทำให้ข้าวเสียคุณภาพมากกว่าทำให้น้ำหนักของเมล็ดข้าวลดลง โดยเมล็ดข้าวที่นำไปสีจะแตกหักง่าย ถ้านำไปหุงจะทำให้ข้าวมีกลิ่นเหม็นเขียว นอกจากนี้แมลงสิงยังชอบดูดกินน้ำเลี้ยงจากคอรวงข้าว และที่ยอดอ่อนของข้าวเช่นกัน ข้อสังเกต ถ้ามีแมลงสิงระบาดในแปลงนาจะได้กลิ่นเหม็นฉุน แมลงสิงพบมากในข้าวไร่และข้าวนาน้ำฝน   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะออกรวง   
การป้องกัน/กำจัด: ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด สะเดา หรือสาบเสือ 
ตัวเต็มวัยชอบกินเนื้อเน่า ให้นำเนื้อเน่าแขวนล่อไว้ตามนาข้าวและจับมาทำลาย
ปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติทำลายและควบคุม เช่น แมงมุมหลังเงิน แตนเบียน เป็นต้น
 


* 21.jpg (14.38 KB, 276x310 - ดู 3793 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #37 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:11:00 »

ชื่อสามัญ: แมลงหล่า (Rice Black Bug or Malayan Black Bug)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: เพลี้ยหล่า กือซือฆูรอ กูฆอ อีบู 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Scotinophara coarctata (Fabricius) 
ชื่อวงศ์: Pentatomidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       แมลงหล่า เป็นมวนชนิดหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างกลม คล้ายโล่ห์ ด้านหัว และอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ลำตัวมีสีน้ำตาล หรือดำเป็นมันวาว เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ชอบอาศัยรวมกลุ่มที่โคนต้นข้าว เหนือระดับน้ำในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืน จะเคลื่อนย้ายขึ้นบนต้นข้าว ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ เป็นกลุ่มที่ใบข้าวบริเวณโคนต้นข้าวใกล้ระดับผิวน้ำ ไข่มีสีชมพูแกมเขียว ตัวอ่อนมีสีน้ำตาล และสีเหลืองกับจุดสีดำ ชอบหลบซ่อนอยู่ที่โคนต้นข้าว หรือตามรอยแตกของพื้นดิน เหมือนตัวเต็มวัย 
 
ลักษณะการทำลาย: แมลงหล่าทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายต้นข้าวด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นข้าว ทำให้บริเวณที่ถูกทำลาย เป็นสีน้ำตาลแดงหรือเหลือง ขอบใบข้าวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ คล้ายข้าวเป็นโรคไหม้ การทำลายในระยะข้าวแตกกอ ทำให้ต้นข้าวที่อยู่กลางๆ กอข้าวมีอาการแคระแกร็น มีสีเหลืองหรือเหลืองแกมน้ำตาล และการแตกกอลดลง ถ้าทำลายหลังระยะข้าวตั้งท้อง ทำให้รวงข้าวแกร็น ออกรวงไม่สม่ำเสมอ และรวงข้าวมีเมล็ดลีบ ต้นข้าวอาจเหี่ยวตายได้ ถ้ามีแมลงจำนวนมาก ทำให้ต้นข้าวแห้งไหม้ คล้ายกับถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลาย มักพบการระบาดมาก ในข้าวนาสวน นาชลประทาน   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า, ระยะแตกกอ, ระยะออกรวง, ระยะเก็บเกี่ยว, ระยะข้าวตั้งท้อง   
การป้องกัน/กำจัด: กำจัดวัชพืชที่ขึ้นหนาแน่นในนาข้าว เพื่อให้นาข้าวโปร่ง แสงแดดส่องถึงโคนต้นข้าว ทำให้สภาพในนาข้าว ไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย ของแมลงหล่า
ให้ระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อเป็นการลดปริมาณในการวางไข่ และกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่งถึงโคนต้น
ใช้แสงไฟล่อแมลงและทำลาย ในช่วงที่มีการระบาดรุนแรง
 


* 22.jpg (137.68 KB, 369x409 - ดู 3402 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #38 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:12:18 »

ชื่อสามัญ: หนอนกระทู้กล้า (Rice Armyworm or Rice Swarming Caterpillar)    
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Spodoptera mauritia (Boisduval) 
ชื่อวงศ์: Noctuidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว:       หนอนกระทู้กล้า เป็นผีเสื้อกลางคืน ผีเสื้อตัวเต็มวัยของหนอนกระทู้กล้ามีสีน้ำตาลเข้ม ปีกคู่หน้าสีเทาปนน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลแก่และเหลืองแก่ มีเส้นสีเทาลักษณะเป็นคลื่น 1 เส้น ปีกคู่หลังสีขาว เพศเมียวางไข่เป็นกลุ่มบริเวณยอดอ่อนของข้าว ตัวอ่อนมีสีเทาถึงเขียวแกมดำ ด้านหลังมีลายตามความยาวของลำตัวจากหัวจรดท้าย แต่ละปล้องมีจุดสีดำ จากนั้นจะเป็นดักแด้และเติบโตเป็นผีเสื้อต่อไป 
 
ลักษณะการทำลาย: โดยเริ่มแรกตัวอ่อนจะกัดกินเฉพาะในส่วนของใบข้าวก่อน จากนั้นเมื่อตัวโตขึ้นจะเข้ากัดกินทั้งใบเหลือไว้แต่ก้านใบ ตัวหนอนจะกัดกินต้นกล้าระดับผิวดิน นาข้าวจะถูกทำลายเป็นหย่อมๆ ดังนั้นหากต้นกล้าถูกทำลายมากจะทำให้ไม่มีใบเหลืออยู่เลย ทำให้มองเห็นข้าวที่อยู่ในแปลงนาแหว่งเป็นหย่อมๆ คล้ายกับถูกควายกิน ซึ่งเรียกว่า “หนอนกระทู้ควายพระอินทร์” พบการระบาดของหนอนกระทู้กล้ามากในช่วงฤดูฝน   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะแตกกอ   
การป้องกัน/กำจัด: ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากเลี่ยน หรือสาบเสือ
ปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติทำลายและควบคุม เช่น ด้วงดิน แตนเบียน ด้วงก้นกระดก ด้วงเต่า มวนเพชฌฆาต เป็นต้น
ปล่อยน้ำให้แห้ง เพื่อกระตุ้นให้ต้นข้าวแข็งแรงขึ้น และช่วยให้ต้นข้าวแตกใบใหม่ ทดแทนใบข้าวที่ถูกทำลาย
 


* 23.jpg (236.93 KB, 586x879 - ดู 3331 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #39 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 10:14:15 »

ชื่อสามัญ: หนอนกอข้าว (Rice Stem Borers)   
ชื่อท้องถิ่น หรือชื่อเรียกอื่นๆ: - 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Scirpophaga incertulas (Walker), Chilo suppressalis (Walker), Chilo polychrysus (Meyrick), Sessamia 
ชื่อวงศ์: Pyralidae   
ลักษณะของแมลงศัตรูข้าว: หนอนกอข้าวพบได้ ชนิด คือ
หนอนกอสีครีม ตัวเมียปีกคู่หน้ามีสีเหลืองคล้ายฟางข้าว ตรงกลางปีกมีจุดสีดำข้างละจุด ปลายส่วนท้องมีขนเป็นพู่สีน้ำตาลปกคลุม ตัวผู้ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลคล้ำ กลางปีกมีจุดดำข้างละจุดแต่มีขนาดเล็กกว่า จุดดำบนปีกของเพศเมีย ขอบปีกมีจุดดำเล็กๆเรียงเป็นแถวระหว่างจุดตรงกลางปีกและจุดเล็กๆ ตรงขอบปีก มีแถบสีน้ำตาลพาดจากขอบปีกด้านบนลงมา ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน
หนอนกอแถบลาย ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลคล้ายรำข้าว ที่ปีกมีลักษณะคล้ายฝุ่นดำเกาะอยู่ประปรายปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน ส่วนหัวมองจากข้างบนเห็นยื่นแหลมออกไปคล้ายหนาม ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนใบข้าว ไข่มีลักษณะเป็นเกล็ดวางซ้อนกันเป็นกลุ่มๆมีสีขาวขุ่นไม่มีขนปกคลุม ส่วนใหญ่พบอยู่ใต้ใบข้าว หนอนมีแถบสีน้ำตาล 5 แถบพาดตามยาวของลำตัวหัวและแผ่นอกปล้องแรกสีน้ำตาลอ่อน
หนอนกอแถบลายสีม่วง ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กคล้ายกับหนอนกอแถบลาย ต่างกันที่ตรงกลางและขอบปีกมีลวดลายสีสนิมเหล็ก คล้ายมีรูปตัว Y อยู่ตรงกลางปีก ปีกคู่หลังสีขาวตัวหนอนมีแถบสีม่วง 5 แถบพาดตามยาวของลำตัว หัวมีสีดำหรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ
หนอนกอสีชมพู ตัวเต็มวัยลำตัวอ้วนสั้นมีสีชมพูม่วงหัวและลำตัวมีขนปกคลุม ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลแกมแดง ปีกคู่หลังสีขาว ตัวเมียวางไข่เรียงเป็นแถวระหว่างกาบใบและลำต้น ไข่มีลักษณะกลมสีขาวครีม ตัวหนอนระยะแรกมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม 
 
ลักษณะการทำลาย: หนอนกอทั้ง 4 ชนิด ทำลายข้าวลักษณะเดียวกัน โดยหลังจากที่ตัวหนอนฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำๆ เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่า“ข้าวหัวหงอก”   
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า, ระยะแตกกอ, ระยะออกรวง, ระยะข้าวตั้งท้อง   
การป้องกัน/กำจัด: ไถตอซังหลังการเก็บเกี่ยว ไขน้ำท่วมและไถดินเพื่อทำลายหนอนและดักแด้ของหนอนกอข้าวที่อยู่ตามตอซัง หรือ ตากฟางข้าวให้แห้งหลังจากนวด
ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด หรือสะเดา
ใช้ศัตรูธรรมชาติทำลายและควบคุม เช่น แตนเบียนไข่ ตั๊กแตนหนวดยาว เป็นต้น
 


* 24.jpg (361.69 KB, 749x992 - ดู 4803 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!