เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 05:12:32
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 406047 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 21:17:00 »

         อยู่ในบอร์ดการเกษตรมานานแล้ว สังเกตว่าปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่เริ่มสนใจเรื่องการทำนาขึ้นแต่ก็เป็นส่วนน้อย  ในปี 2543 อาชีพชาวนามีอัตราร้อยละ 60 ของประชากรประเทศแต่พอปี 2553 เหลือเพียงร้อยละ 20 และอายุเฉลี่ยของชาวนาไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งช่วยเหลือท่านที่คิดจะสนใจเริ่มทำนาข้าวและอาจยังไม่ทราบว่าจะเริ่มจากจุดไหนก่อน หรือเป็นชาวนาอยู่แล้วอยากศึกษาเพิ่มเติม  ซึ่งผมจะทยอยนำเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับข้าวมาลงให้บางอย่างอาจนำมาจากบทความของท่านนักวิชาการบางท่าน  เกษตรกรตัวอย่าง และผมเอง ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจไม่มากก็น้อย ซึ่งหากใครมีความรู้ดี ๆ ก็มาร่วมแบ่งปันได้ครับ ... ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ

สารบัญ

หน้าที่ 1  
ประวัติความเป็นมาของข้าว  , พิธีกรรมและความเชื่อ ,ประเภทของข้าว,ลักษณะและส่วนประกอบของข้าว,องค์ประกอบภายในของเมล็ดข้าว,การทำนาโดยวิธีต่าง ๆ,โรคข้าว

หน้าที่ 2
แมลงศัตรูข้าว

หน้าที่ 3
ดิน, องค์ประกอบของดิน,ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช,ปุ๋ย

หน้าที่ 4
แมลงตัวห้ำตัวเบียน, จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์, วัชพืชในนาข้าว, บทความ อ.เดชา ศิริภัทร, คนค้นคนชาวนาเงินล้าน, นาอินทรีย์นิเวศ อ.ชัยพร พรหมพันธุ์, คนค้นคนปริญญาทำนา , คนค้นคนแหลมอรหันต์ชาวนา, ธาตุอาหารพืชในธรรมชาติ, ข้าวอินทรีย์, บทความลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง, การทำนาในอดีต,มองญี่ปุ่น, เปรียกสลับแห้งแกล้งข้าว

หน้าที่ 5
หอยเชอรี่, เชื้อราบิวเวอร์เรีย, เชื้อราไตรโครเดอร์มา, Banaue นาขั้นบันไดฟิลิปปินส์, บทความเดชา ศริภัทร, บทความปลูกดอกไม้ริมคันนาเวียดนาม, การขาดธาตุอาหารในข้าว,กากชา กำจัดหอยเชอรี่, จุดเริ่มการทำนาของผม

หน้าที่ 6
การเลี้ยงเป็ดในนาข้าวของไต้หวัน ญี่ปุ่น

หน้าที่ 7
น้ำส้มควันไม้, แหนแดง, เที่ยวหมู่บ้านชาวนาเวียดนาม, เที่ยวหมู่บ้านชาวนาญี่ปุ่น, เริ่มการทำนาปรังปี 2556 ,การคัดเมล็ดข้าว, ความลึกระดับน้ำในนาข้าว,คนค้นคน ตุ๊หล่างเด็กหนุ่มเลือดชาวนา

หน้าที่ 8
ลักษณะต้นข้าวที่ให้ผลผลิตดี, ปัจจัยที่ทำให้เมล็ดข้าวมีน้ำหนักมาก, ใบข้าว,วัชพืชทำให้ข้าวผลผลิตลดลง, วิธีทำนาปลอดเคมี โดยชัยพล ยิ้มไทร

หน้าที่ 9
ข้าววัชพืช, การปลูกดอกดาวเรืองริมคันนา,แมลงศัตรูธรรมชาติ, แมลงปอเพชรฆาตในนาข้าว, การทำงานของโรงสีเกี่ยวกับการสีข้าว, มหัศจรรย์ข้าวเพื่อสุขภาพ


* 10.jpg (98.48 KB, 800x536 - ดู 20425 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 05 สิงหาคม 2013, 20:56:51 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 21:23:37 »

ประวัติและความเป็นมาของข้าว

จุดกำเนิดของข้าว

ข้าว เป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารหลัก มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเอเชียนานนับพันปีแล้ว เพราะมีตำนานเล่าขานและประเพณีสืบทอดเกี่ยวกับข้าวมากมาย เช่น คนฟิลิปปินส์ มีเทพนิยายที่เล่ากันสืบทอดมาว่ามีเทพองค์หนึ่งชื่อ โซโร(Soro) ต้องการจะสมรสกับหญิงสาวสวยชื่อ ฟิลิปิโน อลาฮาร์ (Filipino Alahar) แต่นางต้องการทดสอบความรักแท้ที่ Soro มีต่อนางก่อน จึงร้องขอให้ Soro ไปแสวงหาอาหารที่มีรสดีกว่าอาหารทุกชนิดที่นางเคยบริโภคมาให้ เทพโซโร ได้ทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่ แต่หาไม่ได้จึงจากนางไปโดยกลับมาอีก นางรู้สึกเสียใจมากจนหัวใจสลาย และต่อมาที่หลุมฝังศพของนางได้มีต้นข้าวงอกขึ้นมา คนญี่ปุ่น มีเรื่องเล่าว่า ข้าวคือพืชทิพย์ที่นางฟ้า นินิโกโน มิโคโต (Ninigo-no-mikoto) ประสงค์ให้จักรพรรดิญี่ปุ่นนำไปถวายเทพ ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงมีราชประเพณีที่เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง จักรพรรดิจะทรงนำต้นข้าวที่ปลูกในพระราชวังไปที่วัด แกรนไชร์เนส (Grand Shrines) ในเมืองอิเซ เพื่อถวายเป็นเทพบูชา

คนไทย มีนิทานเล่าเกี่ยวกับข้าวว่า ผู้ที่บริโภคข้าวเป็นคนแรกคือพระฤาษี ซึ่งเมื่อได้เห็นต้นข้าวก็เกิดความอยากรู้ว่าเมล็ดข้าวนั้นกินได้หรือไม่ จึงให้ทดลองให้นกกิน เมื่อพระฤาษีเห็นนกปลอดภัยดีก็รู้ว่ามนุษย์สามารถบริโภคเมล็ดข้าวเป็นอาหารได้

ชาวเกาะเซลีเบสและสุลาเวสีของอินโดนีเซีย เชื่อว่า ในพิธีสมรสหากเจ้าบ่าวไม่สามารถรับเมล็ดข้าวที่ถูกโยนใส่ วิญญาณของเขาจะออกจากร่างในอีกไม่นาน
คนมาเลเซีย ในงานแต่งงานของเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะป้อนเมล็ดข้าวให้กัน
คนในชนบทของอินเดีย ใช้ปริมาณข้าวที่มีในครอบครองวัดฐานะความร่ำรวย
คนจีน ข้าวมีบทบาทที่ยิ่งใหญ่มากจนมีคำเปรียบเปรยว่า ข้าวมีความสำคัญต่อชีวิตยิ่งกว่าหยกหรือไข่มุก โดยในประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีน เช่น เวลามีเด็กเกิดใหม่ พ่อแม่ของทารกจะผัดข้าวใส่จานไม้นำไปแจกญาติมิตร เวลาเด็ก มีอายุครบหนึ่งขวบ แม่ของเด็กจะบิข้าวเกรียบให้เด็กกิน ด้วยถือเคล็ดว่า ข้าวเกรียบจะทำให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณความดีและมีอำนาจวาสนาสูง เวลาแต่งงานพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะทำขนมหวานจากข้าวแจกเป็นของชำร่วย และทำขนมบัวลอยไว้รับรองแขกเพราะถือเป็นเคล็ดว่าจะทำให้ชีวิตของคู่บ่าวสาวราบรื่น ในงานศพเจ้าภาพจะจัดข้าวและไข่เป็ดใส่จานพร้อมตะเกียบวางไว้ที่เท้าของผู้ตายเพื่อไม่ให้ผู้ตายอดอาหาร นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมความเชื่ออีกว่า ไม่ควรที่ใครจะเคาะจานเปล่าเพราะจะทำให้ผู้ตายนั้นตกระกำลำบากเหมือนขอทานที่ส่งเสียงร้องขออาหารจากคนที่เดินผ่านไปมา หรือเวลากินข้าวหากทำตะเกียบตกโต๊ะเคราะห์ร้ายจะมาเยือน และทุกคนควรกินข้าวให้หมดถ้วย เพราะคนที่กินข้าวเหลือจะเสี่ยงต่อการต้องแต่งงานกับคนที่ผิวหน้าขรุขระเหมือนดังถ้วยที่มีเมล็ดข้าวติดค้าง เป็นต้น

หลักฐานทางโบราณคดี เมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว ในวัฒนธรรมลุงชาน ประเทศจีน และวัฒนธรรมฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนาม พบหลักฐานว่า มนุษย์ค้นพบวิธีปลูกข้าวแบบทำไร่เลื่อนลอย ต่อมาเมื่อ 5,000-10,000 ปีมาแล้วในวัฒนธรรมยางเชาบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง วัฒนธรรมลุงชาน ประเทศจีน และในวัฒนธรรมฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนามปรากฏหลักฐานว่า มนุษย์ค้นพบการทำนาหว่าน และในวัฒนธรรมบ้านเชียง ประเทศไทย เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้วพบหลักฐานว่า ภูมิปัญญาด้านการปลูกข้าวพัฒนาสู่การปักดำ

ในปี 2539 S. Toyama แห่งมหาวิทยาลัย Kogakukan ในประเทศญี่ปุ่น ได้พบเมล็ดข้าวโบราณอันเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า จีนเป็นชนชาติแรกที่รู้จักทำนาปลูกข้าวตามบริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนกลาง คือ ในมณฑล Hunan และ Hubei เมื่อ 11,500 ปีมาแล้ว ต่อมาวัฒนธรรมข้าวได้แพร่สู่ดินแดนต่าง ๆ ของโลก เช่น ปากีสถานเมื่อ 4,200 ปีก่อน และอินเดียเมื่อ 3,200 ปีก่อน ส่วนคนญี่ปุ่นเริ่มรู้จักปลูกข้าวเมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว และคนไทยก็รู้จักทำนาเมื่อประมาณ 5,000 ปี


* 1.JPG (49.87 KB, 800x431 - ดู 22443 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 21:33:51 »

ประวัติข้าวของโลก


ข้าวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก แบ่งออกได้เป็น 3 พวก คือ

ออไรซา ซาไทวา (oryza sativa) มีปลูกกันทั่วไป
ออไรซา แกลเบอร์ริมา (oryza glaberrima) มีปลูกเฉพาะใน แอฟริกา
ข้าวป่าซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในประเทศต่าง ๆ ที่ปลูกข้าว มีด้วยกันหลายชนิด (species) แต่ที่สำคัญและควรทราบ ได้แก่ ออไรซา สปอนทาเนีย (oryza spontanea) ออไรซา เพเรนนิส (oryza perennis) ออไรซา ออฟฟิซินาลิส (oryza officinalis) และออไรซา นิวารา (oryza nivara) โดยข้าวป่าพวกออไรซา เพเรนนิส เป็นตระกูลของข้าวที่เราปลูกบริโภคกันทุกวันนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในธรรมชาติ และได้ผ่านการคัดเลือกโดยมนุษย์จนกลายเป็นข้าวที่ปลูกกันทุกวันนี้
ข้าวพันธุ์ที่เพาะปลูกในปัจจุบันพัฒนามาจากข้าวป่าในตระกูลออไรซา กรามิเนียอิ (Oryza gramineae) สันนิษฐานว่า พืชสกุล ออไรซา (Oryza) มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของทวีปกอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) ก่อนผืนดินจะเคลื่อนตัวและเคลื่อนออกจากกันเป็นทวีปต่าง ๆ เมื่อ 230-600 ล้านปีมาแล้ว จากนั้นก็กระจายสู่เขตร้อนชื้นของแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ออสเตรเลีย อเมริกากลางและใต้ ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งในที่ราบลุ่มจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,500 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 53 องศาเหนือ ถึง 35 องศาใต้

ปัจจุบันมนุษย์ได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่าง ๆ ตามความต้องการของตน เพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ มีการผสมข้ามระหว่างข้าวที่ปลูกกับวัชพืชที่เกี่ยวข้อง เกิดข้าวพื้นเมืองมากมายหลายพันธุ์ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ตลอดปี ก่อให้เกิดพันธุ์ข้าวปลูกที่เรียกว่า ข้าวลูกผสมซึ่งมีประมาณ 120,000 พันธุ์ทั่วโลก ข้าวปลูกในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

ข้าวแอฟริกา (Oryza glaberrima) แพร่กระจายอยู่เฉพาะบริเวณเขตร้อนของแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น สันนิษฐานว่าข้าวแอฟริกาอาจเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือหลังจากนั้น
ข้าวเอเชีย เป็นข้าวลูกผสม เกิดจาก ออไรซา ซาติวา(Oryza sativa) กับข้าวป่า มีถิ่นกำเนิดบริเวณประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปลูกกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อินเดีย ตอนเหนือของบังคลาเทศ บริเวณดินแดน สามเหลี่ยมระหว่างพม่า ไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ คือ
- ข้าวสายพันธุ์แรกเรียกว่าสายพันธุ์สานิกา(Sanica) หรือ จาโปนิกา(Japonica) ปลูกบริเวณแม่น้ำเหลืองของจีนแพร่ไปยังเกาหลี และญี่ปุ่น เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นข้าวเมล็ดป้อม
- ข้าวสายพันธุ์ที่สอง เรียกว่า อินดิกา(Indica) เป็นข้าวเมล็ดยาว ปลูกในเขตร้อน แพร่สู่ตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา แหลมมลายู หมู่เกาะต่าง ๆ และลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงของจีนประมาณคริสต์ศักราช. 200
ข้าวสายพันธุ์ที่สาม คือ ข้าวชวา (Javanica) ปลูกในอินโดนีเซีย ประมาณ 1,084 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นแพร่ไปยังฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ข้าวเอเชียแพร่เข้าไปในยุโรปและแอฟริกา สู่อเมริกาใต้ อเมริกากลางเข้าสู่สหรัฐอเมริกาครั้งแรกประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยนำเมล็ดพันธุ์ไปจากหมู่เกาะมาดากัสก้าในเบื้องแรก


* ge-rice-threatens-biodiversity.gif (159.82 KB, 430x396 - ดู 18063 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 21:39:20 »

ประวัติของข้าวไทย

เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูกของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่ รอยแกลบข้าวซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเก่าแก่ที่สุดคือประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า สยามประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ ได้แก่ เมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงว่ามีการปลูกข้าวในบริเวณนี้เมื่อ 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือราว 5,400 ปีมาแล้ว แกลบข้าวที่พบที่ถ้ำปุงฮุง มีทั้งลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ที่เจริญงอกงามอยู่ในที่สูงเป็นข้าวไร่และข้าวเจ้า แต่ไม่พบลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดป้อม หรือข้าวพวก จาโปนิกา(Japonica) เลย และแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีพบรอยแกลบข้าวผสมอยู่กับดินที่นำมาปั้นภาชนะดินเผากำหนดอายุได้ใกล้เคียงกับแกลบข้าว

หลักฐานการค้นพบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดินและรอยแกลบบนเครื่องปั้นดินเผาที่โคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังพบหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าเมืองไทยที่ถ้ำเขาทะลุ จังหวัดกาญจนบุรี อายุประมาณ 2,800 ปี (อาจจะก่อนหน้าหรือหลังจากนั้นประมาณ 300 ปี) ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อยุคหินใหม่ตอนปลายกับยุคโลหะตอนต้น

หลักฐานภาพเขียนบนผนังถ้ำหรือผนังหินอายุไม่น้อยกว่า 2,000 ปี ที่ผาหมอนน้อย บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บันทึกการปลูกธัญพืชอย่างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนข้าว และภาพแปลงของพืชคล้ายข้าว อาจตีความได้ว่า มนุษย์สมัยนั้นรู้จักข้าวหรือการเพาะปลูกข้าวแล้ว

ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี สรุปไว้เมื่อ ปี พ.ศ. 2535 ว่าประเทศไทยทำนาปลูกข้าวมาแล้วประมาณ 5,471 ปี (นับถึงปี พ.ศ. 2514) ผลของการขุดค้นพบรอยแกลบข้าวที่โนนนกทาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าข้าวเริ่มปลูกในทวีปเอเชียอาคเนย์ในสมัยหินใหม่ จากนั้นแพร่ขึ้นไปที่ประเทศอินเดีย ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี

ข้าวที่มีในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มี 3 ชนิด คือ เมล็ดป้อม เมล็ดใหญ่ และเมล็ดเรียง โดยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์มีการปลูกข้าว ดังนี้

สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) มีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ที่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี ปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และเมล็ดใหญ่
สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคใต้ นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และข้าวจ้าว
สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 12-18) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมปลูกข้าวจ้าว ข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่ ในภาคกลางนิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและข้าวจ้าว
สมัยเชียงแสนและล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 16-23) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคเหนือ นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดยาว ปลูกข้าวจ้าวน้อยกว่าข้าวเหนียว
สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20) อาณาจักรมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม ข้าวเหนียวเมล็ดยาวบ้าง และเริ่มปลูกข้าวจ้าวมากขึ้น
สมัยอยุธยา ระยะแรกปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมมาก เริ่มปลูกข้าวจ้าวมากในช่วงปลายสมัยอยุธยา ซึ่งน่าจะเป็นข้าวเหนียวที่ปลูกสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปลูกข้าวจ้าวเมล็ดยาวอย่างที่ปลูกในปัจจุบัน ส่วนข้าวเมล็ดป้อมพบว่าปลูกกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


 
 



* large_p4-1.jpg (78.04 KB, 640x401 - ดู 19036 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 21:45:38 »

พิธีกรรมความเชื่อ


ประเทศไทยมีลักษณะของผู้คนที่อยู่อย่างกระจายไม่หนาแน่น ความเชื่อที่พบในสังคมไทยจะไม่มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พิธีกรรมและความเชื่อจึงขึ้นอยู่กับสภาพของสังคมในแต่ละท้องถิ่นที่ ผู้ปกครองบ้านเมืองจึงต้องสร้างและบูรณาการให้ผู้คนที่เต็มไปด้วยชนเผ่าต่าง ๆ ที่หลากหลายมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

จำเป็นต้องนำระบบความเชื่ออิทธิฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพสามารถที่จะเอาชนะหรือสร้างความเคารพยอมรับจากชนเผ่าต่าง ๆ ได้ ดังนั้น เมื่อสังคมพัฒนาเป็นบ้านเป็นเมืองลักษณะของพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวจึงเกิดการนำเอาพิธีพุทธซึ่งมีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวด ทำบุญทำทาน และพิธีพราหมณ์มาผสมผสานเข้ามาเพื่อสร้างเป็นพีธีกรรมที่ความอลังการ มีความศักดิ์สิทธิ์ ความน่าเชื่อถือให้กับราชสำนัก และพิธีกรรมอันนี้เองที่ส่งผลอิทธิพล และสะท้อนกลับไปยังความเชื่อของชาวบ้านอีกต่อหนึ่ง พิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องราวของความเชื่อที่ผสมผสานกันระหว่างความเชื่อในเรื่องของผี ความเชื่อท้องถิ่น ความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูด้วย เช่น พิธีจุดบั้งไฟ มีความเชื่อว่า “แถน” เป็นเทพดั้งเดิมของชนเผ่าไทเป็นผู้ที่สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ทุกอย่าง มีอิทธิพลต่อการทำมาหากิน ความเป็นอยู่ของผู้คน ทำให้ผู้คนกลัวมาก เมื่อมีปัญหาอะไรต้องไปขอให้พระยาแถนช่วย พิธีกรรมนี้มีความสำคัญมากต่อการทำมาหากินและการปลูกข้าวของคนไทยหรือคนถิ่นไทยลาว เพื่อส่งสาส์นไปถึงพระยาแถน ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พิธีกรรมในประเพณีจุดบั้งไฟนี้เป็นพิธีที่ไม่สามารถทำขึ้นโดยคนเพียงไม่กี่คน แต่เป็นเรื่องของคนทั้งชุมชนทั้งสังคมต้องให้ความร่วมมือร่วมใจกันที่จะแก้ปัญหาวิกฤตในสังคมตัวเอง บทบาทของพิธีกรรมไม่ใช่เพียงแต่จะบันดาลให้ฝนตกมาได้ตามความเชื่อของท้องถิ่นเท่านั้น แต่เป็นพิธีกรรมที่ทำให้คนทั้งชุมชนมีความสามัคคีและร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมด้วย

“แม่โพสพ” เป็นความเชื่อนับแต่อดีตถึงปัจจุบันว่าเป็น เทพธิดาแห่งข้าว โดยมีที่มาของความเชื่อว่า แม่นั้นเป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้ที่มีบทบาทสูงที่สุดในครอบครัวและสิ่งที่มีคุณประโยชน์ทั้งหลายในสังคมไทยนั้นมักจะใช้คำว่าแม่เป็นคำเรียกชื่อไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ แม่ธรณี ฯลฯ การใช้คำว่า “แม่” เรียกข้าวก็คือเป็นการให้การยกย่องมากที่สุด ข้าวมีความสำคัญก็เพราะว่าข้าวเป็นผู้ให้ชีวิตแก่มนุษย์ เพราะฉะนั้น หน้าที่ที่มนุษย์ต้องตอบแทนคือมนุษย์ต้องเลี้ยงดูฟูมฟักเลี้ยงดูข้าวด้วย ข้าวมีขวัญข้าว ซึ่งเหมือนกับมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้องมีขวัญ ขวัญนั้นสามารถที่จะกระทบกระเทือนเจ็บไข้ได้ป่วยหรือไม่พึงพอใจได้ เพราะฉะนั้นถ้าต้องการให้อยู่ดีมีสุข ต้องเอาอกเอาใจขวัญของข้าว

นับแต่อดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมคือการเพาะปลูก พิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวจึงมีความสำคัญต่อชีวิตในการทำเกษตรกรรม เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ พิธีกรรมจึงมีจุดประสงค์หลักที่เกี่ยวกับข้าวแสดงให้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหาของชาวบ้านที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านในการเผชิญกับปัญหาเรื่องปากเรื่องท้องเรื่องความอยู่รอด พิธีกรรมข้าวมีความสำคัญต่อชาวบ้านมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินเลี้ยงชีพ ดังนั้น พิธีกรรมข้าวจะมีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยช่วงที่สำคัญที่สุดจะอยู่ระหว่างหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตและก่อนเริ่มฤดูกาลใหม่ พิธีกรรมข้าวมี 4 ขั้นตอน ดังนี้

พิธีกรรมก่อนการเพาะปลูก มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวง บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือบรรพบุรุษให้คุ้มครองป้องกันภยันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ให้มีความสวัสดิมงคล มีความอุดมสมบูรณ์ ขอโอกาสและความเชื่อมั่นในการดำรงชีวิตในรอบปีนั้น ๆ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีเลี้ยงขุนผีขุนด้ำ พิธีแห่นางแมว เทศน์พญาคันคาก สวดคาถาปลาช่อน พิธีปั้นเมฆ พิธีบุญบั้งไฟ พิธีบุญ ซำฮะ
 
พิธีช่วงเพาะปลูก มีเป้าหมายเพื่อบวงสรวงบนบาน บอกกล่าว ฝากฝังสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้าวหรือการเพาะปลูกแก่เทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้การเพาะปลูกข้าวดำเนินไปได้ด้วยดี ปราศจากอันตรายต่างๆ อาทิ พิธีแรกไถนา พิธีเลี้ยงผีตาแฮก ตกกล้า พิธีแรกดำนา พิธีปักข้าวตาแฮก พิธีปักกกตาแฮก
 
พิธีกรรมเพื่อการบำรุงรักษา เพื่อให้ข้าวงอกงาม ปลอดภัยจากสัตว์ต่างๆ หนอนเพลี้ย พิธีกรรมประเภทนี้ จัดขึ้นในช่วงระหว่างการเพาะปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว อาทิ พิธีไล่น้ำ พิธีปักตาเหลว พิธีสวดสังคหะ พิธีรับขวัญแม่โพสพ พิธีไล่หนู ไล่นก ไล่เพลี้ย ไล่แมลง และอื่นๆ โดยใช้น้ำมนต์ ผ้ายันต์ ภาวนาโดยหว่านทราย หรือเครื่องราง
 
พิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยว-ฉลองผลผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตมาก และเพื่อแสดงความอ่อนน้อมกตัญญูต่อข้าว ตลอดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้อง พิธีกรรมประเภทนี้ จัดขึ้นในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว อาทิ พิธีรวบข้าว พิธีแรกเกี่ยวข้าว พิธีเชิญข้าวขวัญ พิธีวางข้าวต๋างน้ำ พิธีปลงข้าว พิธีขนข้าวขึ้นยุ้ง พิธีตั้งลอมข้าว พิธีปิดยุ้ง พิธีเปิดยุ้ง
ปัจจุบันพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวที่มีความสำคัญคือพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีปฐมฤกษ์มีแหล่งกำเนิดมาจากศาสนาพราหมณ์ในการทำนาปลูกข้าวของแต่ละปี พิธีแรกนาขวัญนี้จะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวงประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมอบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายเกษตรเป็นพระยาแรกนาทำการไถและหว่านเมล็ดข้าว ณ ท้องสนามหลวง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถจะทรงเสด็จมาเป็นประธานและทรงแต่งตั้งพระยาแรกนาให้เป็นผู้นำในพิธีแทน ในพิธีมีการทำนายปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง โดยพระยาแรกนาจะเลือกผ้าสามผืน ที่มีความยาวต่างขนาดกัน ผืนที่ยาวที่สุดทายว่า ปริมาณฝนจะมีน้อย ผืนที่สั้นที่สุดทายว่าปริมาณน้ำฝนจะมาก และผืนที่มีความยาวปานกลาง ทายว่ามีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ หลังจากสวมเสื้อผ้าเรียกว่า “ผ้านุ่ง” เรียบร้อยแล้ว พระยาแรกนาก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทองซึ่งลากโดยพระโคผู้สีขาว ตามขบวนด้วยเทพีทั้งสี่ผู้ซึ่งหาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุด้วยเมล็ดข้าวเปลือกพระราชทานและหว่านข้าวเปลือกลงไปบนพื้นดินที่ไถ มีคณะพราหมณ์เดินคู่ไปกับขบวนพร้อมทั้งสวดและเป่าสังข์ไปพร้อมกัน เมื่อเสร็จแล้วพระโคก็จะได้รับการป้อนพระกระยาหารและเครื่องดื่ม 7 ชนิด คือ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้า เมล็ดงา น้ำ และเหล้า เมื่อพระโคจะเลือกกินหรือดื่มสิ่งใด ทายว่าปีนี้จะอุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเลือก เมื่อเสร็จพิธีจบก็จะเปิดให้ประชาชนเก็บเมล็ดข้าวที่หว่านโดยพระยาแรกนาเก็บไปเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อเป็นสิริมงคลในการปลูกข้าวเพื่อให้พืชผลในปีที่จะมาถึงนี้อุดมสมบูรณ์ เพราะว่าเมล็ดข้าวนี้ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง



* kwan_khao2.jpg (111.14 KB, 800x535 - ดู 23423 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 21:49:58 »

ประเภทของข้าว

การแบ่งประเภทของข้าวทำได้หลายแบบขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใช้เป็นมาตรฐานในการแบ่ง เช่น
- แบ่งตามประเภทของเนื้อแข็งในเมล็ดข้าวสาร ก็จะได้เป็นข้าวเจ้าและข้าวเหนียวซึ่งมีต้นและลักษณะอย่างอื่นเหมือนกันทุกอย่าง แต่ต่างกันที่ประเภทของเนื้อแข็งในเมล็ด เมล็ดข้าวเจ้าประกอบด้วยแป้งอไมลาส ( amylase) ประมาณร้อยละ 15-30 ส่วนเมล็ดข้าวเหนียวประกอบด้วยแป้งอไมลาส (amylase) เป็นส่วนเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 5-7 เท่านั้น
 
- แบ่งตามสภาพพื้นที่ปลูก ก็จะได้เป็นข้าวไร่ ข้าวนาสวน และข้าวขึ้นน้ำ ข้าวไร่เป็นข้าวที่ปลูกได้ทั้งบนที่ราบและที่ลาดชัน ไม่ต้องทำคันนาเก็บกักน้ำ นิยมปลูกกันมากในบริเวณที่ราบสูงตามไหล่เขาทางภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ คิดเป็นเนื้อที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ ข้าวนาสวนหรือนาดำเป็นข้าวที่ปลูกในที่ลุ่มทั่วๆ ไป ในสภาพที่มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าวตั้งแต่ปลูกสามารถรักษาระดับน้ำได้และระดับน้ำต้องไม่สูงเกิน 1 เมตรก่อนเก็บเกี่ยว มีเนื้อที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 80 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ ข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวนาเมืองเป็นข้าวที่ปลูกในแหล่งที่ไม่สามารถรักษาระดับน้ำได้ บางครั้งระดับน้ำในบริเวณที่ปลูกอาจสูงกว่า 1 เมตร ต้องใช้ข้าวพันธุ์พิเศษที่เรียกว่า ข้าวลอยหรือข้าวฟ่างลอย ส่วนมากปลูกแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี พิจิตร อ่างทอง ชัยนาท และสิงห์บุรี คิดเป็นเนื้อที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ
 
- แบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว ก็จะได้ข้าวเบา ข้าวกลาง และข้าวหนัก ข้าวเบามีอายุการเก็บเกี่ยว 90 - 100 วัน ข้าวกลาง 100 - 120 วัน และข้าวหนัก ตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป อายุการเก็บเกี่ยวนับแต่เพาะกล้าหรือหว่านข้าวในนาจนเก็บเกี่ยว
 
- แบ่งตามลักษณะความไวต่อแสง ก็จะได้ข้าวที่ไวและไม่ไวต่อแสง ข้าวที่ไวต่อแสงจะมีอายุการเก็บเกี่ยวที่ไม่แน่นอน เพราะจะออกดอกในช่วงเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้นกว่ากลางคืน ในประเทศไทยช่วงดังกล่าวเริ่มเดือนตุลาคม ฉะนั้น ข้าวพวกนี้ต้องปลูกในฤดูนาปี (ฤดูฝน) เท่านั้น ส่วนข้าวที่ไม่ไวต่อแสงจะสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
 
- แบ่งตามรูปร่างของเมล็ดข้าวสาร ก็จะได้ข้าวเมล็ดสั้น ความยาวของเมล็ดไม่เกิน 5.50 มิลลิเมตร ข้าวเมล็ดยาวปานกลาง ความยาวของเมล็ดตั้งแต่ 5.51 - 6.60 มิลลิเมตร ข้าวเมล็ดยาว ความยาวของเมล็ดตั้งแต่ 6.61 - 7.50 มิลลิเมตร ข้าวเมล็ดยาวมาก ความยาวของเมล็ดตั้งแต่ 7.51 มิลลิเมตรขึ้นไป
 
- แบ่งตามฤดูปลูก ก็จะได้ข้าวนาปีและข้าวนาปรัง (ข้าวนาน้ำฝน) ข้าวนาปี หรือข้าวนาน้ำฝน คือข้าวที่ปลูกในฤดูการทำนาปกติ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมและจะเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นล่าสุดไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนข้าวนาปรังคือข้าวที่ปลูกนอกฤดูการทำนาปกติ เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมในบางท้องที่ และจะเก็บเกี่ยวอย่างช้าที่สุดไม่เกินเดือนเมษายน นิยมปลูกในท้องที่ที่มีการชลประทานดี
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 21:58:37 »

ลักษณะและส่วนประกอบของต้นข้าว

ลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว ได้แก่ ราก ลำต้น และใบ


1. ราก เป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ใช้ยึดลำต้นกับดินเพื่อไม่ให้ต้นล้ม แต่บางครั้งก็มีรากพิเศษเกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว แต่มีรากฝอยแตกแขนงกระจายแตกแขนงอยู่ใต้ผิวดิน

2. ลำต้น  มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง ความยาวของปล้องนั้นแตกต่างกัน 

3. ใบ   ต้นข้าวมีใบไว้สำหรับสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแร่ธาตุ อาหาร น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ สร้างเมล็ดของต้นข้าว ใบประกอบด้วย กาบใบและแผ่นใบ


 ลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์


ต้นข้าวขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ลักษณะที่สำคัญเกี่ยวกับการ ขยายพันธุ์ ได้แก่ รวง ดอกข้าวและเมล็ดข้าว

1. รวงข้าว (panicle) หมายถึง ช่อดอกของข้าว (inflorescence) ซึ่งเกิดขึ้นที่ข้อของปล้องอันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง
 
2. ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อ หุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกใหญ่แผ่นนอก เรียกว่า เลมมา (lemma) ส่วนเปลือกนอกใหญ่แผ่นใน เรียกว่า พาเลีย (palea) ทั้งสองเปลือกนี้ ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้

 3. เมล็ดข้าว หมายถึง ส่วนที่เป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม (endosperm) และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็นโดสเปิร์มเป็นแป้งที่เราบริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิตและงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะ



* Oryza_sativa_-_K%C3%B6hler%E2%80%93s_Medizinal-Pflanzen-232.jpg (172.25 KB, 452x592 - ดู 17791 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 22:04:34 »

องค์ประกอบภายในเมล็ดข้าว
 
        เนื่องจากภายในเมล็ดข้าวมีแป้งเป็นองค์ประกอบหลักอยู่ ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นโดยน้ำหนัก และมีโปรตีน ประมาณ 5-14 % (ข้าวส่วนใหญ่มีโปรตีน 6-8 % )  ทำให้ข้าวแต่ละพันธุ์มีคุณภาพข้าวสุกแตกต่างกัน แป้งข้าวมีส่วนประกอบย่อย 2 ส่วน คือ

-  อมิโลเปคติน  (amylopectin)  เป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากการรวมตัวของกลูโคสเป็นโมเลกุลใหญ่มีโครงสร้างเชื่อมต่อกันแบบแยกเป็นกิ่งก้านสาขา (branched chain) อมิโลเปคติน เมื่อย้อมสีด้วยสารละลายไอโอดีน  จะเป็นสีน้ำตาลแดง และเป็นส่วนที่ทำให้   ข้าวสุกเหนียวติดกัน

-  อมิโลส  (amylose)   เป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากการรวมตัวของกลูโคสจำนวนมาก เช่นกันแต่มีโครงสร้างต่อกันเป็นแนวยาว (Linear chain) เมื่อย้อมสีด้วยสารละลายไอโอดีน จะมีสีน้ำเงินและมีผลให้การเกาะตัวหรือความเหนียวของข้าวสุกลดลง เมื่ออมิโลสเพิ่มขึ้น

--------------------------------------------------------------------------------
 
โครงสร้างของเมล็ดข้าว


 เมล็ดข้าว (rice fruit, rice grain, rice seed) เป็นผลชนิด caryopsis เนื่องจากส่วนที่เป็นเมล็ดเดี่ยว (single seed) ติดแน่นอยู่กับผนังของรังไข่หรือเยื่อหุ้มผล (pericarp)
 เมล็ดข้าวประกอบด้วยส่วนใหญ่ๆ 2 ส่วนคือ
1. ส่วนที่ห่อหุ้ม เรียกว่าแกลบ (hull หรือ husk)
2. ส่วนที่รับประทานได้ เรียกว่า ข้าวกล้อง (caryopsis หรือ brown rice)
  แกลบ  ประกอบด้วย เปลือกใหญ่ (lemma) เปลือกเล็ก (palea) หาง (awn) ขั้วเมล็ด (rachilla) และกลีบรองเมล็ด (sterile lemmas)
 ข้าวกล้อง หรือเมล็ดข้าวที่เอาเปลือกออกแล้ว ประกอบด้วย
ก. เยื่อหุ้มผล (pericarp) หรือ fruit coat ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้นด้วยกัน คือ epicarp, mesocarp และ endocarp, pericarp มีลักษณะเป็น fibrous ผนังเซลประกอบด้วย protein, cellulose และ hemicellulose
ข. เยื่อหุ้มเมล็ด (tegmen หรือ seed coat) อยู่ถัดจาก pericarp เข้าไป ประกอบด้วย เนื้อเยื่อสองชั้นเรียงกันเป็นแถวเป็นที่อยู่ของสารประเภทไขมัน (fatty material)
ค. เยื่ออาลูโรน (aleurone) อยู่ต่อจาก tegmen ห่อหุ้ม starchy endosperm (ข้าวสาร) และ embryo (คัพภะ) aleurone layer มี protein สูง นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย oil, cellulose และ hemicellulose
ง. ส่วนที่เป็นแป้ง (starch endosperm) หรือส่วนที่เป็นข้าวสาร อยู่ชั้นในสุดของเมล็ดประกอบด้วยแป้งเป็นส่วนใหญ่และมีโปรตีนอยู่บ้าง แป้งในเมล็ดข้าวมี 2 ชนิด คือ 
  amylopectin ซึ่งเป็น polymer ของ D-glucose ที่ต่อกันเป็น branch chain
  amylose ซึ่งเป็น polymer ของ D-glucose ที่ต่อกันเป็น branch chain และ amylose ซึ่งเป็น polymer ของ D-glucose ที่ต่อกันเป็น linear chain
 
  ส่วนประกอบของแป้งทั้ง 2 ชนิด มีสัดส่วนแตกต่างกันไปตามชนิดข้าว ในข้าวเหนียวจะมี amylose อยู่ประมาณ 0-2 % ส่วนที่เหลือเป็น amylopectin ข้าวเจ้ามี amylose มากกว่าคือ ประมาณ 7-33% ของน้ำหนักข้าวสาร
จ. คัพภะ (embryo) อยู่ติดกับ endosperm ทางด้าน lemma เป็นส่วนที่จะเจริญเป็นต้นต่อไป embryo ประกอบด้วย ต้นอ่อน (plumule) รากอ่อน (radicle) เยื่อหุ้มต้นอ่อน (coleoptile) เยื่อหุ้มรากอ่อน (coleorhiza) ท่อน้ำท่ออาหาร (epiblast) และใบเลี้ยง (scutellum) embryo เป็นส่วนที่มี protein และ fat สูง

 
 การสร้างเมล็ดของข้าว (rice grain formation) เกิดขึ้นหลังจากการผสมเกสร (Pollination) และการผสมพันธุ์ (fertilization) การสร้างเมล็ดเป็นขบวนการที่ต่อเนื่อง เมล็ดจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนถึงสุกแก่เต็มที่ (fully matures) ซึ่งกินเวลาประมาณ 30 วัน

 การผสมเกสร คือ การที่ละอองเกสรตัวผู้ (pollen grain) ตกลงบนเกสรตัวเมีย (stigma) หลังจากการผสมเกสรเล็กน้อย ก็จะเกิดการผสมพันธุ์ที่เรียกว่า double fertilization คือละอองเกสรตัวผู้งอกลงไปในก้านของเกสรตัวเมีย นำนิวเคลียสจากละอองเกสรตัวผู้ลงไปผสมกับไข่ egg cell และ polar nuclei ในรังไข่นิวเครียสที่ได้ผสมกับไข่ จะเจริญเติบโตเป็น embryo ส่วนที่ผสมกับ polar nuclei จะเจริญเติบโตเป็น endosperm ระยะเวลาของ pollination และ fertilization ของข้าวกินเวลาประมาณ 12-24 ชั่วโมง ต่อจากนั้นก็เป็นการสร้างเมล็ดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ 

1. ระยะน้ำนม (milk stage) หลังการผสมพันธุ์ระยะแรกๆ ส่วนที่เป็นข้าวกล้องมีลักษณะเป็นน้ำเหนียวๆ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นน้ำนม ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 7 วัน หลังผสมเกสร
2. ระยะแป้ง (dough stage) เป็นระยะที่น้ำนมค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแป้งอ่อน (soft dough) และกลายเป็นแป้งแข็ง (hard dough) ตามลำดับ ระยะนี้อยู่ระหว่าง 14-21 วัน หลังผสมเกสร
3. ระยะสุกแก่ (maturation stage) ประมาณ 30 วัน หลังผสมเกสรเมล็ดจะสุกแก่เมื่อได้มีวิวัฒนาการเต็มที่ในเรื่องของขนาด (Size) ความแข็ง ความใส และปราศจากสีเขียวแล้ว ระยะสุกแก่หมายถึงระยะที่มากกว่า 90% ของเมล็ดในรวงสุกแก่แล้ว

 embryo ประกอบด้วย cell 2-3 cell ระหว่าง 24 ชั่วโมงแรกหลังการผสมเกสร การแบ่ง cell เพื่อการเจริญเติบโตของเยื่อหุ้มต้นอ่อน เยื่อหุ้มรากอ่อนและใบเลี้ยง (scutellum) เริ่มขึ้นในวันที่ 3 ต้นอ่อน (plumule) และส่วนอื่น ๆ ภายในเยื่อหุ้มรากอ่อน (radicle) เกิดขึ้นเมื่อเมล็ดมีอายุ 5 วัน ท่อน้ำท่ออาหาร (vascular system) ปรากฎให้เห็นเมื่อเมล็ดอายุ 6 วัน การเจริญเติบโตของ embryo จะสมบูรณ์กินเวลาอย่างน้อย 13 วัน และไม่เกิน 20 วัน หลังดอกบาน หลังจากดอกบานแล้ว 7 วัน embryo ก็สามารถงอกเป็นต้นอ่อนได้เช่นกัน
 


 


* ricenose1.jpg (20.09 KB, 400x335 - ดู 42937 ครั้ง.)

* GABA-rice2.gif (72.78 KB, 489x387 - ดู 22955 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 22:13:14 »

การทำนาโดยวิธีต่าง ๆ


เราสามารถทำนาได้หลายวิธีตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่และความถนัดของชาวนาที่เราพบเห็นในปัจจุบันได้แก่

-  นาหว่าน
-  นาดำ
-  นาหยอด
-  นาโยน

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 22:20:01 »

การทำนาหว่าน

            เป็นการปลูกข้าวโดยการหว่านเมล็ดลงไปในนาที่เตรียมพื้นที่ไว้แล้วโดยตรง เป็นวิธีการที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากประหยัดแรงงานและเวลา



การทำนาหว่าน แบ่งเป็น 2 วิธี คือ

1. นาหว่านข้าวแห้ง เป็นการหว่านเมล็ดข้าวเพื่อคอยฝน และมีชื่อเรียกปลีกย่อยไปตามวิธีปฏิบัติ คือ

- การหว่านสำรวย เป็นการหว่านในสภาพดินแห้ง เนื่องจากฝนยังไม่ตก โดยหลังจากการไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วหว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่ต้องคราดกลบ เมล็ดจะตกลงไปอยู่ในระหว่างก้อนดิน เมื่อฝนตดลงมาเมล็ดข้าวจะงอกขึ้นมาเป็นต้น



- การหว่านหลังขี้ไถ เป็นการหว่านในสภาพที่มีฝนตกลงมา และน้ำเริ่มจะขังในกระทงนา เมื่อไถแปรแล้วก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามหลัง แล้วคราดกลบทันที



2. นาหว่านข้าวงอก หว่านน้ำตมหรือหว่านเพาะเลย โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกเพาะให้งอก มีขนาดตุ่มตา (มีรากงอกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร) แล้วจึงหว่านลงในกระทงนา ซึ่งมีการเตรียมดินจนเป็นเทือก แยกเป็น

        - การหว่านหนีน้ำ ทำในนาน้ำฝน เนื่องจากการหว่านข้าวแห้งหรือทำการตกกล้าไม่ทัน เมื่อฝนมามาก หลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้ว ก็หว่านข้าวที่เพาะจนงอก ลงไปในกระทงนาที่มีน้ำขังอยู่มากจึงเรียกว่า นาหว่านน้ำตม

        - นาชลประทาน หรือนาในเขตที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ การทำนาในสภาพนี้มักจะให้ผลผลิตสูง หลังจากเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้วระบายน้ำออกหรือให้เหลือน้ำขังบนผืนนาน้อยที่สุด นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่งอกขนาด “ตุ่มตา” หวานลงไป แล้วคอยดูแลควบคุมการให้น้ำ มักจะเรียกการทำนาแบบนี้ว่า “การทำนาน้ำตมแผนใหม่”



การทำนาหว่านน้ำตม
         การทำนาหว่านน้ำตมที่จะให้ได้ผลดีนั้น จะต้องปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอ มีคันนาล้อมรอบและสามารถควบคุมน้ำได้ การเตรียมดินก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมดินในนาดำ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ควรปล่อยให้เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในนามีเวลางอกเป็นต้นข้าว เพื่อลดปัญหาข้าวเรื้อ หรือข้าววัชพืชในนา แล้วจึงไถดะ แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้เมล็ดวัชพืช งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงปล่อยน้ำเข้านา แล้วทำการไถแปรและคราด หรือใช้ลูกทุบตี จะช่วยทำลายวัชพืชได้ หากทำเช่นนี้ 1-2 ครั้ง หรือมากกว่านั้น โดยทิ้งระยะห่างกันประมาณ 4-5 วัน หลังจากไถดะไถแปร และคราดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขังน้ำไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกเสียก่อน จึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าจะหลุดลอยไปติดคันนาใต้ทางลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงไปในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรเอาน้ำแช่ไว้ ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อน อย่างน้อย 3 อาทิตย์ แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าว จะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถหาอาหารได้ หลังจากนั้นจึงระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก

         การปรับพื้นที่นาหรือการปรับเทือกให้สม่ำเสมอ จะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก การงอกของข้าวดีเติบโตสม่ำเสมอ เพราะเมล็ดข้าวมักจะตายถ้าตกลงไปในแอ่งหรือหลุมที่มีน้ำขัง เว้นแต่กรณีดินเป็นกรดจัดละอองดินตกตะกอนเร็วเท่านั้นที่ต้นข้าวสามารถขึ้นได้ แต่ถ้าแปลงใหญ่เกินไปจะทำให้น้ำเกิดคลื่น ทำให้ข้าวหลุดลอยง่าย และข้าวรวมกันเป็นกระจุก ไม่สม่ำเสมอ นอกจากนั้นการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ยังช่วยควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการทำนาหว่านน้ำตมอีกด้วย การปรับพื้นที่ทำเทือก ควรทำก่อนหว่านข้าวหนึ่งวัน เพื่อให้ตะกอนตกดีเสียก่อน แล้วแบ่งกระทงนาออกเป็นแปลงย่อยๆ ขนาดกว้าง 3-5 เมตร ยาวตามความยาวของกระทงนา ทั้งนี้แล้วแต่ความสามารถของคนหว่าน ถ้าคนหว่านมีความชำนาญอาจแบ่งให้กว้าง การแบ่งอาจใช้วิธีแหวกร่อง หรือใช้ไหกระเทียมผูกเชือกลากให้เป็นร่องก็ได้ เพื่อให้น้ำตกลงจากแปลงให้หมด และร่องนี้ยังใช้เป็นทางเดินระหว่างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย และพ่นสารเคมีได้ตลอดแปลง โดยไม่ต้องเข้าไปในแปลงย่อยได้อีกด้วย

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

- ตรวจความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ พิจารณาว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปนหรือไม่ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย รูปร่างเมล็ดมีความสม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นหรือเมล็ดวัชพืชปน หรือมีโรค แมลงทำลายก็ไม่ควรนำมาใช้ทำพันธุ์

- การทดสอบความงอก โดยการนำเมล็ดข้าว จำนวน 100 เมล็ด มาเพาะเพื่อดูเปอร์เซ็นต์ ความงอก อาจทำ 3-4 ซ้ำเพื่อความแน่นอน เมื่อรู้ว่าเมล็ดงอกกี่เปอร์เซ็นต์จะได้กะปริมาณพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้ถูกต้อง

- คัดเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดที่แข็งแรง มีน้ำหนักเมล็ดดีที่เรียกว่าข้าวเต็มเมล็ด จะได้ต้นข้าวที่เจริญเติบโตแข็งแรง

อัตราเมล็ดพันธุ์
        อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการทำนาหว่านน้ำตม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ กล่าวคือ
ถ้ามีการเตรียมดินไว้ดี มีเทือกอ่อนนุ่ม พื้นดินปรับได้ระดับ เมล็ดที่ใช้เพียง 7-8 กิโลกรัมหรือ 1 ถังต่อไร่ ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูง แต่ถ้าพื้นที่ปรับได้ไม่ดี การระบายน้ำทำได้ยาก รวมถึงอาจมีการทำลายของนก หนู หลังจากหว่าน เมล็ดที่ใช้หว่านควรมากขึ้น เพื่อชดเชยการสูญเสีย ดังนั้นเมล็ดที่ใช้ควรเป็นไร่ละ 15-20 กิโลกรัม แต่ปัจจุบันนิยมหว่านมากกว่านี้

การหว่าน
        ควรหว่านให้สม่ำเสมอทั่วแปลง ข้าวจะได้รับธาตุอาหาร แสงแดด และเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน ทำให้ได้ผลผลิตสูง โดยเดินหว่านในร่องแคบๆ ที่ทำไว้ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านแต่ละแปลงย่อย ควรแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามขนาดและจำนวนแปลงย่อย เพื่อเมล็ดข้าวที่หว่านลงไปจะได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง ในนาที่เป็นดินทรายมีตะกอนน้อยหลังจากทำเทือกแล้วควรหว่านทันที กักน้ำไว้หนึ่งคืนแล้วจึงระบายออก จะทำให้ข้าวงอกและจับดินดียิ่งขึ้น



การหว่าน



การกระจายของเมล็ดข้าวหลังหว่าน



สภาพการงอกและเจริญเติบโตหลังหว่าน


การดูแลรักษา
        การทำนาหว่านน้ำตม จะต้องมีการดูแลให้ต้นข้าวงอกดีโดยพิจารณาถึง

        1. พันธุ์ข้าว การใช้พันธุ์ข้าวนาปีซึ่งมีลำต้นสูง ควรจะทำการหว่านข้าวให้ล่า ให้อายุข้าวจากหว่านถึงออกดอกประมาณ 70-80 วัน เนื่องจากความยาวแสงจะลดลง จะทำให้ต้นข้าวเตี้ยลง เนื่องจากถูกจำกัดเวลาในการเจริญเติบโตทางต้นและทางใบ ทำให้ต้นข้าวแข็งขึ้นและไม่ล้มง่าย สำหรับข้าวที่ไม่ไวแสงหรือข้าวนาปรังไม่มีปัญหา เพียงแต่กะระยะให้เก็บเกี่ยวในระยะฝนทิ้งช่วง หรือหมดฝน หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้าวบางพันธุ์ เช่น ปทุมธานี 1 ออกดอกในฤดูหนาวเป็นต้น

        2. ระดับน้ำ การจะผลผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงการควบคุมระดับน้ำเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่เริ่มหว่านจนข้าวแตกกอ ระดับน้ำไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร เมื่อข้าวแตกกอเต็มที่ ระดับน้ำอาจเพิ่มสูงขึ้นได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องสูบน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร เพราะถ้าระดับน้ำสูงจะทำให้ต้นข้าวที่แตกกอเต็มที่แล้ว เพิ่มความสูงของต้น และความยาวของใบ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร เป็นเหตุให้ต้นข้าวล้ม เกิดการทำลายของโรคและแมลงได้ง่าย



3. การใส่ปุ๋ย ต้องใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่ข้าวต้องการ จำนวนที่พอเหมาะ จึงจะให้ผลคุ้มค่า (ดูรายละเอียดเรื่องการใส่ปุ๋ย)

        4. การใช้สารกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นปัญหาใหญ่ในการทำนาหว่าน้ำตม การปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบสม่ำเสมอและการควบคุมระดับน้ำจะช่วยลดประชากรวัชพืชได้ส่วนหนึ่ง ถ้ายังมีวัชพืชในปริมาณสูงจำเป็นต้องใช้สารเคมี (ดูรายละเอียดเรื่องวัชพืช)

        5. การป้องกันกำจักโรคแมลง ปฏิบัติเหมือนการทำนาดำ (ดูรายละเอียดเรื่องโรคแมลงศัตรูข้าว)







 
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 22:30:16 »

การทำนาดำ

           เป็นวิธีการทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้ (แปลงกล้า)ให้งอกเป็นต้นกล้า แล้วถอนนำต้นกล้าไปปักลงในกระทงนาที่เตรียมเอาไว้ และมีการดูแลรักษาจนให้ผลผลิต การทำนาดำนิยมในพื้นที่ที่มีแรงงานเพียงพอ  แต่ปัจจุบันการทำนาดำสามารถทำโดยใช้เครื่องจักรโดยการเพาะกล้าในถาดและใช้รถดำนาซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในปัจจุบัน



1. การไถดะ และไถแปร คือ การพลิกหน้าดิน ตากดินให้แห้ง ตลอดจนเป็นการคลุกเคล้าฟาง วัชพืช ฯลฯ ลงไปในดิน เครื่องมือที่ใช้ อาจเป็น รถไถเดินตามจนถึง รถแทรกเตอร์



2. การคราดหรือใช้ลูกทุบ คือการกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว และเป็นเทือกพร้อมที่จะปักดำได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำต่อจากขั้นตอนที่ 1 และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดินที่เหมาะสมในการคราดหรือการใช้ลูกทุบ ในบางพื้นที่อาจมีการใช้ โรตารี




การเตรียมดินในพื้นที่ที่อยู่ในสภาพภูมิประเทศต่างๆ



นาที่สูง (ข้าวไร่)


นาดอน (นาน้ำฝน)


นาลุ่ม (นาชลประทาน)

ข้อควรระวังในการเตรียมดิน

        1. ควรปล่อยให้ดินนามีโอกาสแห้งสนิท เป็นระยะเวลานานพอสมควร และถ้าสามารถไถพลิกดินล่างขึ้นมาตากให้แห้งได้ก็จะดียิ่งขึ้น ถ้าดินเปียกน้ำติดต่อกันโดยไม่มีโอกาสแห้ง จะเกิดการสะสมของสารพิษ เช่นแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) เป็นต้น ซึ่งถ้าแก๊สนี้มีปริมาณมากก็จะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวได้

        2. ควรจะมีการปล่อยน้ำขังนาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อให้กระบวนการหมักและสลายตัวของอินทรียวัตถุเสร็จสิ้นเสียก่อน ดินจะปรับตัวอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว และจะปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นออกมาให้แก่ต้นข้าว

        3. ดินกรดจัดหรือดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดกำมะถัน เป็นดินที่มีสารที่จะก่อให้เกิดความเป็นกรด (pH ต่ำ) แก่ดินได้มากเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ ดินพวกนี้จึงจำเป็นต้องขังน้ำไว้ตลอด เพื่อไม่ให้สารดังกล่าวได้สัมผัสกับออกซิเจน จึงควรที่จะขังน้ำไว้อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนปักดำข้าว เพื่อให้ปฏิกิริยาต่างๆ ตลอดจนความเป็นกรดของดินลดลงสู่สภาวะปกติ และค่อนข้างเป็นกลางเสียก่อน ดินกลุ่มนี้ถ้ามีการขังน้ำตลอดปี หรือมีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ก็จะเป็นการลดสภาวะความเป็นกรดของดิน และการเกิดสารพิษลงได้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของข้าวสูงขึ้น


การตกกล้า

        การเตรียมต้นกล้าให้ได้ต้นที่แข็งแรง เมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และมีโอกาสให้ผลผลิตสูง ต้นกล้าที่แข็งแรงดีต้องมีการเจริญเติบโตและความสูงสม่ำเสมอกันทั้งแปลง มีกาบใบสั้น มีรากมากและรากขนาดใหญ่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

        - การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ที่ใช้ตกกล้าต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธ์ ปราศจากสิ่งเจือปน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง

        - การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะ นำไปแช่ในน้ำสะอาด นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขัง และมีการถ่ายเทของอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ 30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้



เมล็ดข้าวหลังจากแช่และหุ้มแล้วพร้อมที่จะนำไปหว่าน

        ในการหุ้มเมล็ดพันธุ์นั้น ควรวางเมล็ดพันธุ์ไว้ในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และขนาดของกองเมล็ดพันธุ์ต้องไม่โตมากเกินไป หรือบรรจุถุงขนาดใหญ่เกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสูงในกองข้าว เพราะถ้าอุณหภูมิสูงมากเกินไปเมล็ดพันธุ์ข้าวจะตาย ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะข้าวจะงอกเร็ว และสม่ำเสมอกันตลอดทั้งกอง

        - การตกกล้า การตกกล้ามีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์ เช่นการตกกล้าบนดินเปียก (ทำเทือก) การตกกล้าบนดินแห้ง และการตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว

        การตกกล้าในสภาพเปียก หรือการตกกล้าเทือก เป็นวิธีที่ชาวนาคุ้นเคยกันดี การตกกล้าแบบนี้จะต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ การดูแลรักษาไม่ยุ่งยากและความสูญเสียจากการทำลายของศัตรูข้าวมีน้อย มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

        - การเตรียมดิน ปฏิบัติเช่นเดียวกับแปลงปักดำ แต่เพิ่มความพิถีพิถันมากขั้น ในการเก็บกำจัดวัชพืช และปรับระดับเทือกให้ราบเรียบสม่ำเสมอ

        - การเพาะเมล็ดพันธุ์ ปฏิบัติตามขั้นตอนของการเตรียมเมล็ดพันธุ์ การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 50-60 กรัมต่อตารางเมตร หรือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้กล้าสำหรับปักดำได้ประมาณ 15-20 ไร่

        - การหว่านเมล็ดพันธุ์ ปล่อยน้ำแปลงกล้าให้แห้ง ทำเทือกให้ราบเรียบสม่ำเสมอ นำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะงอกดีแล้วมาหว่านให้กระจายสม่ำเสมอตลอดแปลง ควรหว่านเมล็ดพันธุ์ตอนบ่ายหรือตอนเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเที่ยงซึ่งมีความร้อนแรงมาก อาจทำให้เมล็ดข้าวตายได้

        - การให้น้ำ ถ้าตกกล้าไม่มากนัก หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์แล้วหนึ่งวัน สาดน้ำรดให้กระจายทั่วแปลง ประมาณ 3-5 วัน กล้าจะสูงพอที่ไขน้ำเข้าท่วมแปลงได้ แต่ถ้าตกกล้ามาก ไม่สามารถที่จะสาดน้ำรดได้ ให้ปล่อยน้ำหล่อเลี้ยงระหว่างแปลงย่อย ประมาณ 3-5 วัน เมื่อต้นกล้าสูงจึงไขน้ำเข้าท่วมแปลง และค่อยเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูงของต้นกล้าจนน้ำท่วมผิวดินตลอด ให้หล่อเลี้ยงไว้ในระดับลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร จนกว่าจะถอนกล้าไปปักดำ

        - การใส่ปุ๋ยเคมี ถ้าดินแปลงกล้ามีความอุดมสมบูรณ์สูง กล้างามดีก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย เพราะจะงามเกินไป ใบจะยาว ต้นอ่อน ทำให้ถอนแล้วต้นขาดง่ายและตั้งตัวได้ช้าเมื่อนำไปปักดำ แต่ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ให้ใส่ปุ๋ยเคมีแอมโมเนียมฟอสเฟต (16-20-0) อัตราประมาณ 25-40 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่หลังหว่านเมล็ดพันธุ์แล้วประมาณ 7 วัน หรือเมื่อสามารถไขน้ำเข้าท่วมแปลงได้แล้ว (ดูรายละเอียดในเรื่องการใส่ปุ๋ยแปลงกล้า)

        - การดูแลรักษา ใช้สารป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าวตามความจำเป็น



แปลงกล้าในสภาพเปียก

การตกกล้าในสภาพดินแห้ง การตกกล้าโดยวิธีนี้ ควรกระทำเมื่อฝนไม่ตกตามปกติ และไม่มีน้ำเพียงพอที่จะทำเทือกเพื่อตกกล้าได้ แต่มีน้ำพอที่จะใช้รดแปลงกล้าได้ มีวิธีการปฏิบัติดังนี้

        - การเตรียมดิน เลือกแปลงที่ดอนน้ำไม่ท่วม มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่จะนำมารดแปลง ทำการไถดะตากดินให้แห้ง แล้วไถแปร คราดดินให้แตกละเอียด เก็บวัชพืชออก ปรับระดับดินให้ราบเรียบ

        - การตกกล้า ทำได้ 2 แบบคือ

1. การหว่านข้าวแห้ง หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงโดยตรง โดยไม่ต้องเพาะเมล็ดให้งอกก่อน ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกับการตกกล้าเทือก คือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วคราดกลบเมล็ดพันธุ์ให้จมดินพอประมาณ อย่าให้จมมาก เพราะจะทำให้เมล็ดงอกช้าและโคนกล้าอยู่ลึกทำให้ถอนยาก

2. การหว่านข้าวงอก เพาะเมล็ดให้งอกขนาดตุ่มตา (วิธีการเพาะเช่นเดียวกับการตกกล้าเทือก) อัตราเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกับการหว่านข้าวแห้ง ควรหว่านตอนบ่ายหรือเย็น หว่านแล้วคราดกลบและรดน้ำให้ชุ่มทันทีหลังการหว่าน
        การให้น้ำ แบบวิธีการหว่านข้าวแห้ง อาจหว่านทิ้งไว้คอยฝนได้ 7-10 วัน แต่ถ้ายังไม่มีฝนตกก็ให้รดน้ำให้ชุ่ม และต้องรดติดต่อกันทุกๆวัน โดยรดวันละ 3 ครั้ง เช่นเดียวกับวิธีหว่านข้าวแห้ง ทั้งแบบหว่านข้าวแห้ง และหว่านข้าวงอกเมื่อข้าวงอกโผล่พ้นดินประมาณ 1 เซนติเมตร หากมีน้ำพอก็ปล่อยน้ำเข้าหล่อร่องทางเดินให้เต็มร่อง เพื่อให้แปลงกล้าชุ่มทั่วกันแปลง จะได้ไม่ต้องรดน้ำทุกวัน ถ้ามีน้ำเพียงพอ ก็ไขน้ำเข้าท่วมแปลงแบบวิธีตกกล้าเทือกก็ได้ แต่หากไม่มีน้ำเพียงพอก็ต้องใช้วิธีรดน้ำให้ดินชุ่ม และอาศัยน้ำฝนจนกว่าจะถอนกล้าไปปักดำได้
         การใสปุ๋ยเคมีและการดูแลรักษาปฏิบัติเช่นเดียวกับการตกกล้าเทือก

        การตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว เนื่องจากเครื่องปักดำข้าวมีหลากหลายยี่ห้อ และมีกรรมวิธีรายละเอียดแตกต่างกัน การตกกล้าเพื่อใช้กับเครื่องเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมีคำแนะนำบอกมาพร้อมเครื่อง


การปักดำ



  การปักดำควรทำเป็นแถวเป็นแนวซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การพ่นยากำจัดโรคแมลง และยังทำให้ข้าวแต่ละกอมีโอกาสไดรับอาหารและแสงแดดอย่างสม่ำเสมอกัน สำหรับระยะปักดำนั้นขึ้นกับชนิดและพันธุ์ข้าว ดังนี้


- พันธุ์ข้าวไม่ไวแสงหรือข้าวนาปรัง เช่นพันธุ์ สุพรรณบุรี1 ชัยนาท1 พิษณุโลก2 ควรใช้ระยะปักดำระหว่างแถวและระหว่างกอ 20x20 เซนติเมตร หรือ 20x25 เซนติเมตร

- พันธุ์ข้าวไวแสงหรือข้าวนาปี เช่น เหลืองประทิว123 ขาวดอกมะลิ105 กข15 กข6 ปทุมธานี60 ควรใช้ระยะปักดำ 25x25 เซนติเมตร


        ปักดำจับละ 3-5 ต้น ปักดำลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร จะทำให้ข้าวแตกกอใหม่ได้เต็มที่

        การปักดำลึกจะทำให้ข้าวตั้งตัวได้ช้าและแตกกอได้น้อย

        ไม่ควรตัดใบกล้าเพราะการตัดใบกล้าจะทำให้เกิดแผลที่ใบ จะทำให้โรคเข้าทำลายได้ง่าย ควรตัดใบกรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่น ใช้กล้าอายุมาก มีใบยาว ต้นสูง หรือมีลมแรง เมื่อปักดำแล้วจะทำให้ต้นข้าวล้ม

        อายุกล้า การใช้กล้าอายุที่เหมาะสม จะทำให้ข้าวตั้งตัวเร็ว แตกกอได้มาก และให้ผลผลิตสูง อายุกล้าที่เหมาะสมสำหรับปักดำ ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ข้าวดังนี้

- พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงหรือข้าวนาปรัง เช่นพันธุ์ สุพรรณบุรี1 ชัยนาท1 พิษณุโลก2 ควรใช้กล้าที่มีอายุประมาณ 20-25 วัน

- พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงหรือข้าวนาปี เช่น เหลืองประทิว123 ขาวดอกมะลิ105 กข15 กข6 ปทุมธานี60 ควรใช้กล้าที่มีอายุประมาณ 25-30 วัน

        ระดับน้ำในการปักดำ ควรมีระดับน้ำในนาน้อยที่สุด เพียงแค่คลุมผิวดิน เพื่อป้องกันวัชพืชและประคองต้นข้าวไว้ไม่ให้ล้ม การควบคุมระดับน้ำหลังปักดำก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะระดับน้ำลึกจะทำให้ต้นข้าวแตกกอน้อย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตต่ำ ควรควบคุมให้อยู่ในระดับลึกประมาณ 1 ฝ่ามือ (20 เซนติเมตร)

การดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย
การกำจัดวัชพืช
การกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว





IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 22:34:06 »

การทำนาหยอด

       เป็นวิธีการปลูกข้าวที่อาศัยน้ำฝน หยอดเมล็ดข้าวแห้ง ลงไปในดินเป็นหลุมๆ หรือโรยเป็นแถวแล้วกลบฝังเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาดินมีความชื้นพอเหมาะ เมล็ดก็จะงอกเป็นต้น นิยมทำในพื้นที่ข้าวไร่ หรือนาในเขตที่การกระจายของฝนไม่แน่นอน แบ่งเป็น 2 สภาพ ได้แก่



 - นาหยอดในสภาพข้าวไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่มักเป็นที่ลาดชัน เช่น ที่เชิงเขาเป็นต้น ปริมาณน้ำฝนไม่แน่นอน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินได้ จึงจำเป็นต้องหยอดข้าวเป็นหลุม


- นาหยอดในสภาพที่ราบสูง เช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาหรือหุบเขา การหยอดอาจหยอดเป็นหลุมหรือใช้เครื่องมือหยอด หรือโรยเป็นแถวแล้วคราดกลบ นาหยอดในสภาพนี้ให้ผลผลิตสูงกว่านาหยอดในสภาพไร่มาก

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 22:42:52 »

การปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า (parachute)



การพัฒนาการทำนา โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมได้อย่างเหมาะสม ทำให้การทำนาในเขตชลประทานได้ผลผลิตสูงกว่าในเขตนาน้ำฝนของประเทศ และสามารถผลิตข้าวได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตม ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น เก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด ดยเฉพาะพื้นที่นาชลประทานในภาคกลาง ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์สูง ซึ่งปัจจุบันราคาเมล็ดพันธุ์กิโลกรัมละ 20-23 บาท และเมล็ดพันธุ์ดีก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้การทำนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น 2 ปี 5 ครั้ง หรือ ปีละ 3 ครั้ง ย่อมส่งผลกระทบถึงสภาพแวดล้อม เช่น ปัจจุบันการทำนาในภาคกลางประสบกับ ปัญหาข้าววัชพืช ระบาดอย่างรุนแรง เกษตรกรที่ทำนาแบบหว่านน้ำตม ส่วนหนึ่งเปลี่ยนวิธีการทำนาเป็นการปักดำด้วยเครื่องปักดำเพื่อควบคุมปริมาณข้าววัชพืช ปัญหาที่ตามมาก็คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินให้เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องปักดำได้ และอัตราค่าปักดำค่อนข้างสูงคือ ไร่ละ 1,100-1,200 บาท (รวมเมล็ดพันธุ์ข้าว) วิธีการปลูกข้าวแบบโยนกล้า เป็นการทำนาแบบใหม่ที่สามารถนำมาใช้แทนการปักดำด้วยเครื่องได้

แนะนำให้เป็นทางเลือกในพื้นที่
    1. พื้นที่ปัญหาข้าววัชพืชมาก
    2. ผลิตในศูนย์ข้าวชุมชนหรือไว้ใช้เองได้
    3. ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อควบคุมข้าววัชพืช
    4. ประหยัดเมล็ดพันธุ์

         เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าแต่ได้ผลผลิตไม่ตกต่างจากการปักดำด้วยเครื่องหรือการหว่านน้ำตม แต่สามารถควบคุมวัชพืช โดยเฉพาะข้าววัชพืช ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ในภาคกลาง

การตกกล้า
      ตกกล้าในกระบะเพาะกล้าที่มีลักษณะเป็นหลุม ตามลำดับดังนี้


1. ใส่ดินในหลุมประมาณ ครึ่งหนึ่งของหลุม


2. หว่านเมล็ดข้างงอกลงในหลุมโดยใช้อัตรา 3-4 กก./ 60-70 ถาด/ไร่


3. ใส่ดินปิดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระวังอย่าให้ดินล้นออกมานอกหลุม
เพราะจะทำให้รากข้าวที่งอกออกมาพันกัน เวลาหว่านต้นข้าวจะไม่กระจายตัว


4. หาวัสดุ เช่นกระสอบป่าน คลุมถาดเพาะ เพื่อเวลารดน้ำจะได้ไม่กระเด็น
รดน้ำเช้า เย็น ประมาณ 3-4 วัน ต้นข้าวจะงอกทะลุกระสอบป่าน ให้เอากระสอบป่านออก แล้วรดน้ำต่อไป จนกล้าอายุ 15 วัน


5. นำกล้าที่ได้ไปหว่านในแปลงที่เตรียมไว้ ให้สม่ำเสมอ การตกกล้า 1 คน สามารถตกได้ 2 ไร่ (140 กระบะ) /วัน

การเตรียมแปลง
        ไถดะครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวข้าวปล่อยแปลงให้แห้งประมาณ 15-30 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้าพอให้ดินชุ่มประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้วัชพืชและเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในดินงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเสียก่อนจึงไถดะครั้งที่

        ไถแปร หลังจากการไถดะครั้งที่ 1 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วจึงไถแปร

        คราดหรือทุบ หลังจากการไถแปรครั้งที่ 2 แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันโดยรักษาระดับน้ำเพียงแค่ดินชุ่ม เพื่อให้เมล็ดวัชพืชและเมล็ดข้าวที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีกแล้วคราดหรือทุบจะช่วยทำลายวัชพืชได้มาก หรือหลังจากไถดะ ไถแปรและคราดเสร็จแล้วเอาน้ำขังแช่ไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกหญ้าที่เป็นวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบ ขาเขียด ทรงกระเทียม ผักปอดและพวกกกเล็ก เป็นต้น งอกขึ้นเสียก่อน เพราะเมล็ดวัชพืชปกติจะงอกภายใน 5-7 วันหลังจากน้ำนิ่งโดยเฉพาะนาที่น้ำใส เมื่อลูกหญ้าขึ้นแล้วจึงคราดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ลูกหญ้าก็จะหลุดลอยไปติดคันนาทางใต้ลม ก็จะสามารถช้อนออกได้หมด เป็นการทำลายวัชพืชวิธีหนึ่ง

        สำหรับผู้ที่ใช้ลูกทุบหรืออีขลุก ย่ำฟางข้าวให้จมลงในดินแทนการไถ หลังจากย่ำแล้วควรจะเอาน้ำแช่ไว้ให้ฟางเน่าเปื่อยจนหมดความร้อนเสียก่อนอย่างน้อย 3 สัปดาห์แล้วจึงย่ำใหม่ เพราะแก๊สที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของฟางจะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวจะทำให้รากข้าวดำไม่สามารถจะหาอาหารได้

        ระบายน้ำออกเพื่อปรับเทือก ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ เมื่อคราดแล้วจึงระบายน้ำออกและปรับเทือกให้สม่ำเสมอ กระทำได้ด้วยการใช้น้ำในนาเป็นเครื่องวัด โดยให้น้ำในนามีระดับเพียงตื้นๆ ขนาดเพียงท่วมหลังปูก็จะเห็นว่าพื้นที่นาราบเรียบเพียงใดอย่างชัดเจน เมื่อเห็นว่าส่วนใดยังไม่สม่ำเสมอก็ควรจะปรับเสียใหม่ การปรับพื้นที่นาหรือปรับเทือกให้สม่ำเสมอจะทำให้ควบคุมน้ำได้สะดวก

        การโยนกล้า ให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. นำกระบะกล้าข้าวที่มีอายุ 15 วัน ไปวางรายในแปลงที่เตรียมไว้ให้กระจายสม่ำเสมอ อัตรา 60-70 กระบะต่อไร่ จากนั้นคนที่จะโยนกล้าจะหยิบกระบะกล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศรีษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การหว่านกล้า 1 คน สามารถหว่านได้วันละ 4- 5 ไร่


จับต้นกล้า 5 - 15 หลุม


โยนตวัดมือขี้นหนือศีรษะ ต้นกล้าจะพุ่งดิ่งลง


เกษตรกรช่วยกันโยนกล้า/หว่านต้นกล้า

การดูแลรักษาระดับน้ำ วันหว่านกล้าให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. (ท่วมหลังปู) หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว สามารถเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของต้นข้าว หรือประมาณ 5 ซม. เพื่อการควบคุมวัชพืช


ต้นกล้าหลังหว่าน 7 วัน


การแตกกอของข้าวที่ปลูกด้วยวิธีการโยนกล้า

การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวข้าวที่ระยะที่เหมาะสม คือหลังจากข้าวออกดอก (75 %) แล้ว 28-30 วัน จะมีความชื้นประมาณ 22 %  กรณีไม่ถูกฝนช่วงเก็บเกี่ยว  ซึ่งจะเกิดความสูญเสียทั้งด้านปริมาณและคุณภาพน้อยที่สุด  จะทำให้ได้ข้าวที่มีน้ำหนักดีที่สุด มีการร่วงหล่นและสูญเสียขณะเก็บเกี่ยวน้อยที่สุด ผลผลิตมีคุณภาพดี ข้าวที่เก็บไว้สีเป็นข้าวมีคุณภาพการสีสูง  ข้าวที่เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอย่างน้อย 7-9 เดือน เสื่อมความงอกช้า


ข้อได้เปรียบของวิธีการโยนกล้าเปรียบเทียบกับการปักดำและหว่านน้ำตม
       1. แปลงที่มีลักษณะหล่มก็สามารถเตรียมแปลงเพื่อการหว่านต้นกล้าได้ แต่ไม่สามารถปลูกโดยวิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำได้ เนื่องจากเครื่องจะติดหล่ม
       2. ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์น้อยกว่าการหว่านน้ำตมและการปักดำ
       3. สามารถควบคุมและลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืชได้ดีกว่าการทำนาหว่านน้ำตม
       4. ลดการสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวเมื่อเทียบกับการหว่านน้ำตม



IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 22:53:16 »

พักก่อนครับวันนี้..พรุ่งนี้มาต่อ เรื่อง ดิน เรื่องปุ๋ยครับ


* DSC_2259.jpg (111.79 KB, 799x559 - ดู 17208 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
Jimmylin04
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 05 มกราคม 2013, 23:14:35 »

ตามมาอ่านค้าบ ม่ะเคยทำนา แต่อยากทำ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:08:16 »

โรคข้าว

โรคข้าวหมายถึงความผิดปกติที่พืชแสดงออก สาเหตุของโรคอาจจะเกิดจากสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต อาจจะเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ หรือเกิดร่วมกันก็ได้ สิ่งมีชีวิตทำให้เกิดโรคเรียกว่าเชื้อโรค  เชื้อสาเหตุของโรคข้าวอาจเกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ไฟโตพลาสมา และไส้เดือนฝอย จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถทำให้ข้าวแสดงอาการผิดปกติได้ชัดเจนที่ใบ  ลำต้น กาบไบ รวงหรือเมล็ด

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:09:00 »

ชื่อโรค: โรคกาบใบเน่า 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Sheath Rot Disease 
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี): โรคแท้ง   
เชื้อสาเหตุ: เชื้อรา Sarocladium oryzae 
ลักษณะ/อาการของโรค:       ลักษณะอาการในระยะแรกจะพบแผลสีน้ำตาลบนกาบใบธง กลางแผลมีสีอ่อน ขนาดแผลกว้างประมาณ 2-7 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 4-18 มิลลิเมตร แผลจะขยายลุกลามติดต่อกันทำให้กาบใบธงมีสีน้ำตาลดำ รวงข้าวที่เป็นโรคมักจะโผล่ไม่พ้นกาบใบธงหรือโผล่เพียงบางส่วน เมล็ดข้าวลีบและด่างดำ การระบาดของเชื้อราจะพบในที่ปลูกข้าวต้นเตี้ย และใส่ปุ๋ยในอัตราสูง การระบาดของเชื้ออาจเกิดจากสปอร์ที่ปลิวมากับอากาศ หรือติดมากับเมล็ดพันธุ์ นอกจากนี้ “ไรขาว” ซึ่งดูดกินน้ำเลี้ยงที่บริเวณกาบใบด้านในยังเป็นพาหะในการแพร่กระจายเชื้อราไปยังต้นข้าวอื่นๆในแปลงนาได้ เช่นกัน
 
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะออกรวง, ระยะข้าวตั้งท้อง   
การป้องกัน/กำจัด: เก็บทำลายกาบใบข้าวที่มีไรขาวอาศัยอยู่
ใช้น้ำสกัดสมุนไพรที่มีรสฝาดแก้เชื้อรา เช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด เปลือกสีเสียด ใบฝรั่ง ใบทับทิม และขมิ้น เป็นต้น
 



* 1.jpg (10.07 KB, 200x200 - ดู 16155 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:12:26 »

ชื่อโรค: โรคขอบใบแห้ง 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bacterial Leaf Blight Disease 
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี): -   
เชื้อสาเหตุ: เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al 
ลักษณะ/อาการของโรค:       เริ่มแรกจะมีลักษณะช้ำเป็นทางยาวที่ขอบใบของใบล่าง จากนั้น 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว จากใบสีเขียวจางลงเป็นสีเทา อาการในระยะการปักดำ จะแสดงอาการหลังปักดำแล้วหนึ่งเดือนถึงเดือนครึ่ง ใบที่เป็นโรคมีรอยขีดช้ำจนเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ที่แผลจะมีหยดน้ำสีเหลืองคล้ายยางสนกลมๆขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด จากนั้นจะกลายเป็นสีน้ำตาลและหลุดไปตามลมหรือน้ำ ซึ่งจะทำให้โรคระบาดได้ โดยแผลจะขยายไปตามความยาวของใบ ขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก เมื่อนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบที่เป็นโรคขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว ในกรณีที่เชื้อมีปริมาณสูงเข้าทำลายทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวทั้งต้นจะเหี่ยวเฉาและตายโดยรวดเร็วเรียกอาการของโรคนี้ว่า “ครีเสก” โรคนี้พบมากในนาน้ำฝน นาชลประทาน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ 
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า, ระยะแตกกอ, ระยะออกรวง   
การป้องกัน/กำจัด: ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากในดินที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว
ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น
ใช้น้ำสกัดสมุนไพรที่มีรสขมกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด สะเดา หญ้าใต้ใบและโทงเทง เป็นต้น
 



* 2.jpg (6.82 KB, 200x200 - ดู 15855 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:14:01 »

ชื่อโรค: โรคถอดฝักดาบ  
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bakanae Disease 
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี): โรคหลาว หรือโรคข้าวตัวผู้   
เชื้อสาเหตุ: รา Fusarium fujikuroi Nirenberg (Fusarium moniliforme J.Sheld.) 
ลักษณะ/อาการของโรค:       โรคนี้เกิดจากการทำลายของเชื้อราซึ่งติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวหรืออยู่ในดิน ส่วนมากจะพบอาการในต้นข้าวที่มีอายุมากกว่า 15 วัน ต้นข้าวที่เป็นโรคจะมีลักษณะผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่ว ๆ ไป ต้นข้าวผอมมีสีซีดมากกว่าปกติแสดงอาการย่างปล้องมีรากเกิดขึ้นที่ข้อต่อของลำต้น ถ้าเป็นรุนแรงกล้าข้าวจะตาย หากไม่รุนแรงอาการจะแสดงหลังจากย้ายไปปักดำได้15-45 วัน โดยต้นข้าวที่เป็นโรคแสดงอาการสูงผิดปกติอย่างชัดเจน ใบมีสีเขียวซีดและแห้งตายในที่สุด หากไม่แห้งต้นข้าวที่เป็นโรคจะไม่ออกรวง โรคนี้พบมากในนาน้ำฝน ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะกล้า   
การป้องกัน/กำจัด: เลือกใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค
ควรกำจัดต้นข้าวที่เป็นโรคโดยการถอนและเผาทิ้ง
ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด
เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วควรไขน้ำเข้าที่นาและไถพรวน ปล่อยน้ำเข้าที่นาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคที่ตกค้างในดิน
 


* 3.jpg (7.25 KB, 200x200 - ดู 15867 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 09:15:45 »

ชื่อโรค: โรคใบขีดสีน้ำตาล 
ชื่อภาษาอังกฤษ: Narrow Brown Spot Disease 
ชื่อท้องถิ่น (ถ้ามี): -   
เชื้อสาเหตุ: เชื้อรา Cercospora oryzae I.Miyake 
ลักษณะ/อาการของโรค:       พบแผลบนใบมีสีน้ำตาลเป็นขีดๆ ขนานไปกับเส้นใบของข้าว ต่อมาจะค่อยๆขยายติดต่อกัน แผลจะมีมากที่ใบล่างและบริเวณปลายใบ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตายจากปลายใบ ต้นข้าวที่เป็นโรครุนแรงแผลอาจลุกลามเกิดแผลสีน้ำตาลที่ข้อต่อของใบได้ พบโรคนี้ได้ ทั้งนาน้ำฝน และ นาชลประทาน ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ 
ช่วงระยะเวลาทำลายต้นข้าว: ระยะแตกกอ, ระยะออกรวง, ระยะข้าวตั้งท้อง   
การป้องกัน/กำจัด: กำจัดวัชพืชและทำความสะอาดแปลงนาสามารถลดความรุนแรงของโรคนี้ได้
ถอนต้นข้าวที่เป็นโรคและนำมาเผาทิ้ง
การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในแปลงนา


* 4.jpg (11.22 KB, 200x200 - ดู 15725 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!