เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 มีนาคม 2024, 18:02:51
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 [37] 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 405836 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #720 เมื่อ: วันที่ 17 มีนาคม 2013, 21:15:10 »

วันนี้ได้มีโอกาสปั่นจักรยานเที่ยวแถว อ.พานครับ ปั่นมาทางแม่คาวโตนครับ ถ่ายรูปท้องนามาฝากครับ


* IMG_0953.JPG (34.85 KB, 700x525 - ดู 615 ครั้ง.)

* IMG_0954.JPG (45.65 KB, 700x525 - ดู 568 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #721 เมื่อ: วันที่ 17 มีนาคม 2013, 21:21:16 »

มาถูกใจก็แปลงนานี้แหล่ะครับ นาดำ ลำต้นและใบเขียวมีลักษณะตามต้นข้าวในหลักวิชาการ นาแปลงนี้ใช้วิธีการดำโดยรถดำนา เจ้าของแปลงนาคงมีทักษะพอสมควรไม่แน่ใจว่ามีการคุมหญ้าด้วยเคมีหรือไม่เพราะไม่ค่อยเห็นมีหญ้าเลย ต้นข้าวแตกกอดี แม้ไม่มีน้ำต้นก็ยังเขียวสวยอยู่ ถ้าเจอเจ้าของคงได้คุยและนำความรู้มาแบ่งปันแล้วครับ


* IMG_0955.JPG (36.51 KB, 700x525 - ดู 701 ครั้ง.)

* IMG_0956.JPG (98.84 KB, 700x525 - ดู 702 ครั้ง.)

* IMG_0957.JPG (47.82 KB, 700x525 - ดู 675 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #722 เมื่อ: วันที่ 17 มีนาคม 2013, 21:25:00 »

ผ่านมาทางจะเข้าบ้านโป่งแดงก็จะเห็นป้ายนี้ครับ ใครสนใจก็คงตามเบอร์โทรตามป้ายเลยครับไม่รู้ว่าเค้ายังรับอยู่หรือป่าว ใครทราบเกี่ยวกับโครงการนี้ก็ขอช่วยแนะนำกันบ้างครับ


* IMG_0960.JPG (73.95 KB, 700x525 - ดู 665 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #723 เมื่อ: วันที่ 17 มีนาคม 2013, 21:32:34 »

วันก่อนได้ลองตรวจสอบความงอกของข้าวพันธุ์ที่ได้ซื้อมา ข้าวหอมนิล และข้าวหอมมะลิแดงครับ การงอกค่อนข้างดีครับ เลยเอามาเพาะต่อเพื่อจะลงกระถางต่อไปครับลองทำตามวิธี SRI ดูว่าจะได้ผลเป็นยังไงบ้างครับ


* IMG_0948.JPG (30.85 KB, 700x525 - ดู 670 ครั้ง.)

* IMG_0976.JPG (80.81 KB, 700x525 - ดู 665 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
Kontae_ki
อนาคต..เราสร้างเองได้
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 399


ลูกชาวนา 100%


« ตอบ #724 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 13:26:09 »



ข้อมูลแน่นเอี๊ยดเลย

ขอบคุณที่แบ่งปัน

IP : บันทึกการเข้า

chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #725 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2013, 17:49:52 »



ข้อมูลแน่นเอี๊ยดเลย

ขอบคุณที่แบ่งปัน


ผมก็เข้ามาดูเป็นประจำละคับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #726 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 10:42:45 »

ช่วงนี้ว่าจะนำข้อมูลวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวนาไทยมาลงครับ เผื่อชาวนารุ่นใหม่จะได้รู้จักกันครับ

เถียงนาน้อย

คือความงามคือความหมาย
เถียงนาน้อย : หมายถึงกระท่อมที่ชาวชนบทปลูกไว้ในที่นาของตนเองไว้เป็นที่พัก-หลับนอนเมื่อมีภารกิจในการทำนา และภารกิจอื่น

เถียงนาน้อย : คือบ้านหลังที่สองของชาวนาในภาคอิสาณ
ที่มีทุ่งนาอยู่ไกลบ้าน การเดินทางเช้าไป-เย็นกลับใช้เวลานานและไม่สะดวก จึงขนเอาอุปกรณ์ทำนา เครื่องยังชีพ สัตว์เลี้ยง ไปปักหลัก "นอนนา" โดยจะปล่อยให้ลูกคนโตอยู่ดูแลบ้าน ในหมู่บ้านถ้าบ้านใดเป็นครอบครัวเล็กก็จะฝากบ้านไว้กับตายาย หรือคนข้างบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน ช่วยดูแลแทน แล้วอพยพครอบครัวไปนอนทำนาจนแล้วเสร็จ จึงจะขนกลับ.... ...


* 1149738727.jpg (96.89 KB, 828x576 - ดู 1013 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #727 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 10:47:25 »

ชุมชนชาวนาที่ภาคเหนือตอนบน ถึงภาคเหนือตอนกลางตั้งอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำระหว่างหุบเขาอันอุดมสมบรูณ์เทือกเขาวางกั้นพื้นที่ราบให้แยกจากกัน หากเชื่อมร้อยกันด้วยระบบความสัมพันธ์ในรูปของเครือข่ายเหมืองฝายและเครือข่ายพระธาตุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางความศรัทธาของชุมชน พิธีกรรมข้าวในภาคเหนือ ก่อนการเพาะปลูก พิธีเลี้ยงผีขุนน้ำในช่วงก่อนฤดูเพาะปลูก ราวปลายฤดูแล้งหรือต้นฤดูฝนเกษตรกรจะร่วมกันประกอบพิธีเลี้ยงผีขุนน้ำ ซึ่งเป็นผีชั้นสูงทำหน้าที่ปกป้องรักษาคุ้มครองให้แหล่งน้ำมีน้ำไหลตลอดปีโดยมีแก่เหมืองหรือหัวหน้าเหมืองฝาย เป็นผู้ทำพิธีเพื่อขอให้ขุนน้ำดลบันดาลให้น้ำอุดมสมบรูณ์เพียงพอต่อการเกษตรตลอดฤดูกาล นับเป็นโอกาสที่หมูเกษตรกรผู้ใช้น้ำสายเดียวกันจะได้มาพบปะหารือกันก่อนถึงฤดูกาลทำงานเหมืองฝาย หรือฤดูการเพาะปลูกนั้นเอง

ช่วงเพาะปลูก พิธีแฮกนา

หมายถึง การไถนาครั้งแรก การแฮกนาให้นาไทถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และจะก่อให้เกิดศิริมงคล ที่ทำให้ข้าวงอกงามเต็มที่ โดยยึดถือปฏิทินสงกรานต์หรือปฏิทินปีใหม่เมืองซึ่งจะบอกให้ทราบว่าปีนั้นนาคให้น้ำกี่ตัวและหันหน้าไปทางทิศไดบ้าง การไถนาจะเริ่มจากทิศทางที่เป็นหัวนาคสู่ทิศที่เป็นหางนาค จากนั้นจะทำพิธีการหลกกล้า หรือถอนต้นกล้าข้าวและการปลูกนาหรือดำนาต่อไป

บำรุงรักษา

มีประเพณีการหลิมนาและหลกหญ้า การหลิมนา หมายถึงปลูกทดแทนหลังจากปลูกข้าวไปแล้ว 10-15 วัน เนื่องจากข้าวบางส่วนอาจถูกปู ปลา หรือเต่ากัดทำลาย ส่วนการ หลกหญ้า หมายถึง การถอนหญ้าที่ขึ้นแทรกอยู่ในกอข้าวให้หมด ซึ่งจะทำ 1-2 ครั้ง ในฤดูทำนาหนึ่ง ๆ

เก็บเกี่ยว

เมื่อข้าวสุกมีสีเหลืองแล้ว จะมีการเอามือหรือลงแขกเกี่ยวข้าว เคียวทางภาคเหนือจะโค้งน้อยกว่าใบเคียวทางภาคกลาง เพราะชาวนานิยมเกี่ยวข้าวชิดโคนต้น จะได้ฟางข้าวสำหรับให้วัวควายกินในฤดูแล้ง เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วก่อนนวด จะทำพิธีสู่ขวัญข้าว อันเป็นการคารวะแม่โพสพหรือแม่โกสก เครื่องพลีกรรมประกอบด้วย พานบายศรีปากชามหรือบายศรีนมแมว 1 ชุด ไก้ต้ม 1 ชุด เหล้า 2 ไห ข้าวตอกดอกไม้ 3 ชุด ข้าวเหนียว 1 กระติบ หมากพลู เมี่ยง บุหรี่ 1 ชุด โดยมีเจ้าของนาหรือปู่จารย์ของหมู่บ้านเป็นผู้กล่าวคำสังเวย


แหล่งอ้างอิง : กรมวิชาการเกษตร. 2541. ข้าว...วัฒนธรรมแห่งชีวิต. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 70-71.


* northrrn%20region.jpg (283.62 KB, 500x617 - ดู 972 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #728 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 10:50:28 »

การใช้ควายเพื่อลากล้อเกวียนและเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับทำนา


* 1.jpg (87.07 KB, 550x413 - ดู 862 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #729 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 10:52:41 »

เกวียนอีสาน

เกวียนเป็นพาหนะทำด้วยไม้ใช้ลากจูงด้วยแรงสัตว์ เช่นเทียมด้วยโคหรือกระบือ ประโยชน์ของเกวียนมีหลาย ประการคือ เป็นพาหนะโดยสารสำหรับเดินทางไกลเมื่อ
ไปเป็นกลุ่มเป็นพาหนะบรรทุกผลิตผลจากสวนไร่นาใปยัง เหย้าเรือนหรือตระเวนไปขายหรือแลกเปลี่ยนระหว่างหมู่ บ้าน เป็นพาหนะที่บรรทุกของที่หนักเช่น เสา ไม้ ดิน ทราย น้ำ เป็นพาหนะขนเสบียงอาหารและอาวุธในยามสงคราม และเป็นพาหนะลากหีบศพ เกวียนมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีหลักฐานปรากฎเด่นชัดกล่าวกันว่าภาพสลักหินเมืองพระนครประเทศกัมพูชามีรูป พระมหากษัตริย์ประทับนั่งพาหนะคล้ายเกวียนที่ใช้ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือแถบลุ่มแม่น้ำมูล นอกจากนี้ศิลาจารึก สุโขทัยหลักที่สองหรือจารึกวัดศรีชุมกล่าวถึงพระมหาเถร ศรีศรัทธาราชจุฬามุนีโปรดให้หาบรรดาพระพุทธรูปที่แตก หักในท้องถิ่นต่างๆ ชักมาด้วยล้อด้วยเกวียนมาเก็บไว้ใน วิหารเมืองสุโขทัย ในประเทศจีนมีรูปจำลองของเกวียนใน
หลุมฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผู้รู้หลายท่าน กล่าวว่าเดิมทีมนุษย์ใช้แรงงานคนในการแบกหามสิ่งของ ต่อมามีความจำเป็นที่ตอ้งขนของที่ไกล ๆ จึงคิดทำล้อเลื่อน โดยใช้แรงคนลาก จากล้อเลื่อนจึงพัฒนาเป็นเกวียนที่ใช้สัตว์
ลากแทนแรงงานคน

เกียน  หรือ เกวียน  เป็นยานพาหนะใช้บรรทุกสิ่งของต่าง ๆ หรือเดินทางไกลรอนแรมไปตามเมืองต่างๆ ชาวอีสานรู้จักใช้รู้จักเกวียนกันมาตั้งแต่สมัยใดนั้นกำหนดไม้ได้เกวียนเป็นยานพาหนะล้อเลื่อนที่ใช้วัว  หรือควายลากจูง ทำจากไม้ประกอบเป็นเกวียน

        เกวียนใช้เป็นยานพาหนะบรรทุกข้าว  สิ่งของไปจำหน่ายที่ตลาด  หรือขนย้ายหรือใช้เป็นยานพาหนะโดยสารในสมัยโบราณที่ยังไม่มีรถยนต์  รถไฟ  เหมือนในปัจจุบัน  ในหัวเมืองภาคอีสานก่อนรัชกาลที่ 5  นั้นจะมีเส้นทางเกวียนติดต่อกันระหว่างหมู่บ้าน  หรือระหว่างเมืองสู่เมืองดังที่สมเด็จมหาวีรวงศ์ ( อ้วน ติสโส )  สมัยดำรงสมณศักดิ์เป็นพระโพธิวงศาจารย์เจ้าคณะมณฑล  อุบลราชธานี  ได้เขียนไว้ในกรมศิลปากร, ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ (โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์,พ.ศ. 2515  หน้า 392 ) ว่า “…ส่วนทาง ( ทางเกวียน ) ที่ใช้กันอยู่เวลานี้ ( สมัยรัชกาลที่ 6 ) เดินได้ถึงกัน เช่น  มณฑลร้อยเอ็ดไปนครราชสีมา  อุดรธานี  อุบลราชธานี  เกวียนนี้เป็นยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสินค้าสำคัญกว่ายานพาหนะชนิดอื่นติดต่อกันในมณฑลภาคอีสาน  การบรรทุกถ้าเดินทางไกลตั้งแต่ 10 วันขึ้นไปบรรทุกน้ำหนักราว 3-4 หาบ ( หาบหนึ่งมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ) ถ้าเดินทางวันเดียวหรือ 2 วัน บรรทุก 5 หาบ ขนาดเกวียนสูงจากพื้นดินประมาณ 2 ศอกเศษ  ตัวเกวียนกว้าง 1 ศอกเศษ  ยาวประมาณ 3 ศอกเศษ  ราคาซื้อขายกันตามราคา ตั้งแต่  20 บาทขึ้นไปถึง 50 บาท  ประทุนที่ใช้ประกอบราคาหลังละ 7-8 บาท ถ้าซื้อทั้งประทุนด้วยราคาก็เพิ่มขึ้นตามส่วน …”

เกวียนที่ใช้กันอยู่ในภาคอีสานนั้นมี 2 ชนิด คือ

        1)  เกวียนโกง  คือเกวียนที่มีแต่พื้นเกวียนวางแน่นอยู่บนวงล้อ  เทียมวัวควายลากเลื่อนไปได้  ครั้นเมื่อจะบรรทุกสิ่งของต้องมีกระบะสานด้วยไม้ไผ่ขนาดใหญ่วางบนพื้นเกวียนสำหรับบรรจุสิ่งของ

        2)  เกวียนประทุน  คือเกวียนที่มีส่วนประกอบต่าง ๆ เหมือนเกวียนภาคกลางและเพิ่มประทุนวางครอบเพื่อกันแดดกับฝน  สำหรับให้ผู้นั่งโดยสารเดินทางไกล ๆ ประทุนเกวียนภาษาถิ่นอีสานเรียนกว่า “ พวง “


* imkwean01b.jpg (48.61 KB, 640x436 - ดู 751 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #730 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 14:51:37 »

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวนี้เป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจที่มีการช่วยเหลือซึ่่งกันและกัน อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่บ้านได้อีกด้วย นอกจากนี้ทำให้เกิดวัฒนธรรมและการขับร้องเพลงอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นประเพณีที่เจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านให่รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนาก็จะต้องปักธงที่ที่นาของตนเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือแขกที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยวได้ถูกต้องทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะเกี่ยวข้าวก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเกี่ยวข้องระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลินเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยได้



ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นประเพณีไทยอีกอย่างหนึ่งของชาวนาไทย ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยากในสภาพปัจจุบัน ชาวอีสานส่วนใหญ่ จะเป็นผู้มีน้ำใจไมตรี ดังนั้นในการทำกิจการ งานใดๆ ไม่ว่างานเล็กงานใหญ่ จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะทุกคนต่างมีน้ำใจให้กันและกัน ช่วยงานกันคนละมือละไม้ใช้เวลาไม่นานงานก็สำเร็จลุล่วงไปได้สมปรารถนา การทำงานแบบนี้ คนอีสานเรียกว่า “ลงแขก” การลงแขกในภาคอีสานก็คือการบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปงานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมีการลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว) เป็นต้น

นอกจากจะมีประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวแล้ว ยังมีประเพณีลงแขกทำนา ด้วยการทำนาเป็นงานหนักและในรอบปีหนึ่งต้องใช้ แรงงานมากถึง 4 วาระด้วยกันคือช่วงการดำนา การเกี่ยว การตี และเอาข้าวขึ้นเล้า ดังนั้นการทำงาน ทุกๆ ระยะ ชาวนาส่วนมากจะใช้วิธีการลงแขก อาศัยแรงจากญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยกัน เมื่อลงแขกในนาตนเสร็จก็เปลี่ยนไปลงแขกนาของคนอื่นๆ ต่อไปเป็นการตอบแทน ซึ่งเป็น การแสดงน้ำใจที่มีให้กันและกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันลูกหลานคนหนุ่มสาวไปทำงานต่างถิ่น ปล่อยให้พ่อแม่และคนแก่อยู่บ้าน การลงแขกจึงยังมีความจำเป็นสำหรับชาวนา
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #731 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 15:36:51 »

ยาพิษในชีวิตประจำวัน

สารคดีท่องโลกกว้้าง ไทยพีบีเอส วันที่ 18 ตค 2555 ตอน ยาพิษ ในชีวิตประจำวัน หรือ our daily poison มอนซานโต ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า หน่วยการกำหนดปริมาณสารเคมี ก่อมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งสมอง มะเร็งผิว

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #732 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 16:30:48 »

เปิดปมชาวนายุคจำนำข้าว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 21:12:21 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #733 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 16:36:51 »

ชาวนายุคใหม่เมื่อเทคโนโลยีมีบทบาทมากขึ้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 21:19:22 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #734 เมื่อ: วันที่ 19 มีนาคม 2013, 21:09:29 »

เรียบเรียงใหม่ครับ ...สารคดี ดีดีที่อยากให้ชมกันครับ



















IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #735 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 22:19:37 »

พลังงานที่เกือบจะถูกลบเลือน คือเครื่องจักรไอน้ำครับ เห็นชาวนาจำนวนมากที่ต้องสูบน้ำเข้านาต้องสิ้นเปลืองเงินค่าน้ำมันเป็นจำนวนมากครับ ตอนนี้ฝรั่งเค้าก็เริ่มหันกลับมาใช้กันบ้างแล้ว ตามโรงสีบ้านเราก็ยังมีการใช้เครื่องจักรต้นกำลังเป็นเครื่องจักรไอน้ำเหมือนกันสังเกตุที่โรงสีไหนมีปล่องควันไฟสูง ๆ มีควันออกนั่นแหล่ะครับ  ควันที่เกิดจากเครื่องจักรไอน้ำ ปกติควันต้องเป็นสีขาวแต่เนื่องจากเครื่องจักรใช้งานมานานส่วนผสมอากาศไม่ดีพอควันจึงมีสีดำ พ่อผมเคยสอนหลักการทำงานเหมือนกันเพราะพ่อผมเคยทำงานเป็นเสมียนโรงสีทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายเงินให้จับกังสมัยก่อน  ก่อนที่จะออกมารับซื้อข้าวส่งโรงสีเอง ญาติ ๆ ปัจจุบันก็ยังคงเปิดโรงสีกันอยู่ หากใครอยากได้แกลบดำก็สามารถไปหาซื้อได้ตามโรงสีที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำแบบนี้อยู่เพราะแกลบถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงจะมีการระบายแกลบดำออกและฉีดด้วยน้ำตลอดจึงมีแกลบดำค่อนข้างมาก

กลับมาดูเครื่องจักรที่เค้าทำกันครับ ผมว่าก็น่าสนนะครับส่วนเชื้อเพลิงก็ใช้แกลบก็ได้เพราะค่อนข้างให้ความร้อนพอสมควรและอยู่ได้นานครับแกลบหนึ่งกองหรือประมาณ 1 คิวน่าจะให้ความร้อนได้ทั้งวันครับหากควบคุมระดับออกซิเจนและการเผาไหม้ได้ แกลบ 1 คิวไม่มีราคาอะไรส่วนใหญ่โรงสีกลางตามหมู่บ้านเค้าก็ให้ฟรีครับ  ผมว่าจะลองทำดูเหมือนกันครับเผื่อจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้างครับ

ตัวอย่างของฝรั่งครับ





ตัวอย่างการนำเครื่องยนต์เก่ามาเป็นเครื่องยนต์ไอน้ำครับ



IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #736 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 22:31:27 »

เครื่องยนต์เครื่องยนต์สเตอร์ลิง (Stirling Engine)  เครื่องยนต์ที่คนส่วนน้อยจะรู้จัก

    เครื่องยนต์สเตอร์ลิงเป็นเครื่องยนต์ความร้อนระบบปิด2 จังหวะใช้ความร้อนจาก ภายนอก และใช้ก๊าซเป็นสารทำงาน ประดิษฐ์ขึ้นเป็นเครื่องแรกในปี 1816 โดย Robert Stirling ติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องยนต์สเตอร์ลิงรุ่นต่อมามี ขนาดเล็กลงปลอดภัยและเงียบเป็นที่แพร่หลายในอุตสาหกรรมขนาดเบาและตามบ้านเรือนเช่น พัดลม จักรเย็บผ้าและเครื่องสูบน้ำ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงรุ่นแรก ๆ ใช้อากาศเป็นสารทำงาน (Working substance) และ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เครื่องยนต์อากาศร้อน  (Hot air  engine)อากาศจะบรรจุอยู่ในกระบอกสูบรูป ทรงกระบอกเพื่อรับความร้อน การขยายตัวการระบายความร้อน และการอัด โดยการเคลื่อนที่ของส่วนต่างๆ ในเครื่องยนต์

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #737 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2013, 22:35:29 »

มาดูประวัติเครื่องจักรไอน้ำกันครับ

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #738 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 11:35:06 »

ผู้คิดค้นเครื่องยนต์สเตอร์ลิง

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #739 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2013, 13:10:24 »

กลับมาเรื่องข้าวต่อครับ หลายท่านยังไม่รู้ว่าต้นข้าวแบ่งเป็นกี่ระยะกันครับ


        1.ระยะข้าวงอก ถึงระยะกล้า หลังจากหว่านแล้ว ข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน

       2.ระยะกล้า ต้นข้าวจะเริ่มใช้อาหารจากดิน โดยดูดธาตุอาหารผ่านราก

       3.ระยะแตกกอ เป็นระยะที่ข้าวสร้างหน่อใหม่ หลังจากข้าวตั้งตัวได้ นาหว่านจะเห็นหน่อใหม่หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 7-10 วัน นาปักดำ หลังข้าวตั้งตัวหรือหลังปักดำ 7-10 วัน

       4.ระยะข้าวสร้างรวงอ่อน หรือ กำเนิดช่อดอก เป็นระยะที่สำคัญ ช่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว 2 เดือน หรือ 60 วัน ข้าวจำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อสร้างรวงให้สมบูรณ์แข็งแรง มีจำนวนเมล็ดต่อรวงมาก

       5.ระยะข้าวตั้งท้อง เป็นระยะที่ข้าวกำลังจะออกรวงนับวันหลังจากระยะสร้างรวงอ่อน 5-7 วัน ลำต้นข้าวจะเปลี่ยนจากลักษณะแบน เป็นต้นกลม อวบ ระยะนี้ โดยทั่วไปข้าวจะมีการสะสมอาหารไว้ในลำต้นของแต่ละหน่อแล้ว ต้นข้าวสามารถดึงธาตุอาหารมาใช้ในการเจริญเติบโตของรวงได้ บางครั้งสำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ที่มีการแตกกอมาก อาหารที่สะสมไว้อาจไม่เพียงพอ

       6.ระยะข้าวออกดอก เป็นระยะการเจริญเติบโตเต็มที่ของต้นข้าว ซึ่งข้าวจะออกดอกก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ช่วงนี้นาจะต้องมีน้ำอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ข้าวสร้างเมล็ดให้เต็ม ระยะนี้ข้าวจะดึงอาหารที่สะสมอยู่ที่ใบแก่(ส่วนล่าง) มาใช้

       7.ระยะเก็บเกี่ยว เป็นระยะที่ข้าวสุกแก่เต็มที่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เรียกว่าระยะพลับพลึง นับได้หลังจากข้าวออกดอกแล้ว 28-30 วัน สามารถสังเกตได้จาก รวงข้าวสามส่วนจากปลายรวงจะมีสีเหลืองฟางข้าว และที่



* rice20growth20stage.png (134.16 KB, 650x225 - ดู 1068 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 [37] 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!