เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 มีนาคม 2024, 15:40:53
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 [34] 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 405824 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #660 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 21:51:39 »

เตาครับ เริ่มเน่าแล้วตักออกครับ


* IMG_0755.JPG (80.64 KB, 525x700 - ดู 3753 ครั้ง.)

* IMG_0760.JPG (77.58 KB, 700x525 - ดู 835 ครั้ง.)

* IMG_0761.JPG (87.77 KB, 525x700 - ดู 858 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,573


canon eos


« ตอบ #661 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 21:56:38 »

ไปพานกลับมาบ้านก็ไปนา ตัดหญ้าและพ่นน้ำส้มควันไม้+ไคโตซานต่อครับ คันนาที่พูดถึงเมื่อวานครับลองเปรียบเทียบกันดูครับฝนตกน้ำไหลแรง ๆ คันนาไหนจะพังก่อนกัน

 ยิ้มกว้างๆ...คันนาหรือคันเหมืองที่พ่นยาฆ่าหญ้า..มักผุพังไวเพราะหญ้าตายหมดไม่มีรากหญ้ายึดเกาะไว้.....คันนาแบบทางขวาต้องเอาหญ้าแฝกมาปลูกครับ...
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #662 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 22:09:12 »

แปลงนาอีกเจ้าที่อยู่ติดกันแกทำนาโยนครับ ปัญหาของนาโยนคือต้องควบคุมระดับน้ำให้ได้ แกโยนค่อนข้างห่างพอดินแห้งปรากฎว่าวัชพืชขึ้นครับ การกำจัดค่อนข้างยากหากใช้แรงกลไม่เหมือนนาดำด้วยรถที่สามารถใช้อุปกรณ์ในการพรวน  สุดท้ายเจ้าของนาต้องพ่นยากำจัดหญ้าและวัชพืชครับ นาโยนบางคนก็ใช้ยาคุมเลนก่อนการโยนแม้จะช่วยลดปริมาณวัชพืชในนาได้แต่ก็เป็นการใช้สารเคมีอันตรายอยู่ดีครับ


* IMG_0790.JPG (97.02 KB, 700x525 - ดู 918 ครั้ง.)

* IMG_0791.JPG (72.21 KB, 700x525 - ดู 909 ครั้ง.)

* IMG_0794.JPG (93.44 KB, 700x525 - ดู 908 ครั้ง.)

* large_japan10.jpg (45.81 KB, 401x490 - ดู 1605 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #663 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 22:13:29 »

ไปพานกลับมาบ้านก็ไปนา ตัดหญ้าและพ่นน้ำส้มควันไม้+ไคโตซานต่อครับ คันนาที่พูดถึงเมื่อวานครับลองเปรียบเทียบกันดูครับฝนตกน้ำไหลแรง ๆ คันนาไหนจะพังก่อนกัน

 ยิ้มกว้างๆ...คันนาหรือคันเหมืองที่พ่นยาฆ่าหญ้า..มักผุพังไวเพราะหญ้าตายหมดไม่มีรากหญ้ายึดเกาะไว้.....คันนาแบบทางขวาต้องเอาหญ้าแฝกมาปลูกครับ...

คิดเช่นเดียวกันครับ เจ้าของนาแกไม่ตัดหญ้าคันนาเลยแกพ่นยาฆ่าหญ้าอย่างเดียวเลยครับ แกบอกประหยัดรวดเร็วดี ไม่รู้ว่าจะคุ้มหรือป่าว น้ำในลำเหมืองก็พลอยถูกปนเปื้อนด้วยยาฆ่าหญ้าไปด้วยครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #664 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 22:24:15 »

นาติดถนนคลองชลครับต้องตัดหญ้ามากกว่าคนอื่นครับ ด้านที่ติดคลองชลหน้ากว้าง 228 ม.เท่ากับว่าตัดหญ้าบนถนนคลองชลทีระยะทางประมาณกิโลกว่า ๆ ครับไม่รวมระยะทางในคันนาอีกไม่แปลงใจชาวนาญี่ปุ่นบางคนจึงใช้คันนาคอนกรีต บริเวณริมทางมีการปรับพื้นที่บางแห่งก็เทคอนกรีตเช่นกันเพื่อไม่ให้เกิดวัชพืชขึ้นครับ


* IMG_0801.JPG (55.39 KB, 700x525 - ดู 894 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #665 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 22:32:18 »

ได้พันธุ์ข้าวหอมนิลและข้าวหอมมะลแดง มาลองมาศึกษาเทียบกับข้าวพันธุ์อื่น ๆ ดูครับ


* IMG_0817.JPG (29.91 KB, 700x525 - ดู 899 ครั้ง.)

* IMG_0818.JPG (19.33 KB, 700x525 - ดู 910 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #666 เมื่อ: วันที่ 10 มีนาคม 2013, 22:38:13 »

ลองทดสอบการงอกของเมล็ดดูครับ ที่จริงต้องทดสอบโดยใช้เมล็ดมากกว่านี้ในการหาเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดแต่อยากลองดูก่อนปลูกในช่วงนาปีจริงครับ ข้าวหอมนิลเป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงปลูดได้ทุกช่วง ข้าวหอมมะลิแดงเป็นข้าวไวต่อช่วงแสงควรปลูกเฉพาะนาปีอย่างเดียวครับ


* IMG_0821.JPG (36.13 KB, 525x700 - ดู 877 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,573


canon eos


« ตอบ #667 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 08:35:09 »

ลองทดสอบการงอกของเมล็ดดูครับ ที่จริงต้องทดสอบโดยใช้เมล็ดมากกว่านี้ในการหาเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดแต่อยากลองดูก่อนปลูกในช่วงนาปีจริงครับ ข้าวหอมนิลเป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงปลูดได้ทุกช่วง ข้าวหอมมะลิแดงเป็นข้าวไวต่อช่วงแสงควรปลูกเฉพาะนาปีอย่างเดียวครับ

 ยิ้มกว้างๆ...ข้าวหอมนิล...ระวังนกด้วยครับ...
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #668 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 11:29:10 »

มาติดตามอีกเช่นเคย ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #669 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 11:57:06 »

ลองทดสอบการงอกของเมล็ดดูครับ ที่จริงต้องทดสอบโดยใช้เมล็ดมากกว่านี้ในการหาเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดแต่อยากลองดูก่อนปลูกในช่วงนาปีจริงครับ ข้าวหอมนิลเป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงปลูดได้ทุกช่วง ข้าวหอมมะลิแดงเป็นข้าวไวต่อช่วงแสงควรปลูกเฉพาะนาปีอย่างเดียวครับ

 ยิ้มกว้างๆ...ข้าวหอมนิล...ระวังนกด้วยครับ...

ขอบคุณครับ


* 1193724816.jpg (114.43 KB, 740x507 - ดู 1673 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #670 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 12:53:29 »

วันนี้นึกอยากศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวครับ การผสมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเพื่อนามาปรับใช้ในแปลงนา .. เลยศึกษาข้อมูลไปเจออาชีพหนึ่งเป็นงานปิดทองหลังพระครับเลยเอามาฝากครับ


นักผสมพันธุ์ข้าว งานปิดทองหลังพระ ข้าวพันธุ์ใหม่



เบื้องหลังความสำเร็จของการพัฒนาพันธุ์ข้าวนอกจากจะเกิดขึ้นจากนักวิจัยที่มีความรู้แล้ว น้อยคนนักจะรู้ว่าฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่เป็นเพียงลูกจ้างประจำในตำแหน่งที่อาจเรียกได้ว่า “นักผสมพันธุ์ข้าว” นั้นมีความสำคัญในการช่วยให้พันธุ์ข้าว  ที่นักวิจัยต้องการพัฒนานั้นประสบผลสำเร็จ
 
เนื่องจากการผสมพันธุ์ข้าวไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะทำได้ เพราะต้องอาศัยการฝึกฝนมาอย่างยาวนาน ดังเช่น ลำไย ใบกุหลาบ ในวัย 52 ปี และ เพลินตา ทองพูล อายุ 48 ปี ลูกจ้างประจำศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา กรมการข้าว ที่ทำหน้าที่เป็นนักผสมพันธุ์ข้าวมาตลอดชีวิตการเป็นลูกจ้าง

ลำไย เล่าว่า เข้ามาเป็นลูกจ้างเป็นคนงานเกษตรของศูนย์วิจัยข้าวฯ มาตั้งแต่ยังไม่มีการก่อตั้งกรมการข้าวรวมเวลาการเป็นลูกจ้างกว่า 20 ปี
 
แรกเริ่มเข้ามาเป็นคนงานเกษตรที่ต้องทำงานทั่วไป แต่ต่อมาก็ได้รับการถ่ายทอด จากลูกจ้างรุ่นก่อน ๆ ให้เป็นนักผสมพันธุ์ข้าว โดยฝึกฝนมาตั้งแต่อายุยี่สิบกว่ากระทั่งปัจจุบันก็ยังทำหน้าที่สำคัญนี้
 
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่  “ครู” ถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกจ้างรุ่นใหม่ที่เข้ามา ซึ่งลำไยบอกว่าลูกจ้างรุ่นใหม่ที่เข้ามานั้นน้อยคนนักที่จะอาสาเข้ามาเป็นนักผสมพันธุ์ข้าว เพราะเป็น งานที่ต้องอาศัยความประณีต ละเอียดอ่อน แต่ทำงานเหมือนชาวนาคนหนึ่งหลังรับคำสั่งปฏิบัติการจากนักวิจัย
 
เริ่มตั้งแต่การปัก ดำ ผสมพันธุ์ข้าว และเกี่ยวข้าว แม้จะเป็นพื้นที่นาทดลองขนาดเล็กแต่ก็ต้องสู้แดดสู้ฝน
 
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่คนคนหนึ่งจะนั่งอยู่กับที่แทบทั้ง วันกลางแดดจ้าเพื่อแยกเกสร ตัวผู้ออกจากรวงข้าวที่คัดไว้ให้ เหลือแต่เกสรตัวเมีย



วิธีการผสมพันธุ์ข้าวนั้นเริ่มจาก การต้มน้ำวัดอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 45 องศาเซล เซียส ใส่กระติกน้ำร้อน จากนั้นเทน้ำร้อนทิ้ง นำความร้อนที่หลงเหลือในกระติกไปครอบรวงข้าว
 
ความร้อนที่หลงเหลือในกระติกน้ำร้อนจะไปช่วยเร่งให้เมล็ดข้าวบานออกมา จากนั้นใช้เล็บเรียวค่อย ๆ กรีด รวงข้าวเมล็ดจ้อยของเกสรตัวเมียให้ฉีกออกจากกันเพียงเล็กน้อย
 
จากนั้นก็จะใช้คีมเล็ก ๆ คล้ายแหนบคีบเกสรตัวผู้ออกจากดอกข้าวให้เหลือแต่เกสรตัวเมีย
 
ขณะเดียวกัน ก็จะมีนักผสมพันธุ์ข้าวอีกคน ที่ต้องทำงานไปพร้อม ๆ กัน ทำหน้าที่คีบเกสรตัวผู้ที่คัดไว้เข้าไปวางในดอกข้าวที่เหลือแต่เกสรตัวเมียเพื่อให้เกิดการผสมพันธุ์กัน
 
แต่การผสมพันธุ์ข้าวในแต่ละรวงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครทำได้ในเร็ววัน เนื่องจากเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ
 
เพราะเกสรดอกข้าวนั้นมีขนาดเล็กมากหากมือไม่นิ่ง หรือมือหนักไปก็จะทำให้เกสรข้าว หรือกระทั่งมดลูกของดอกข้าวช้ำและจะส่งผลให้การผสมพันธุ์ไม่ประสบผลสำเร็จ
 
อาชีพนักผสมพันธุ์ข้าว ดูแล้วอาจต่ำต้อย เพราะเป็นเพียงคนงานคนหนึ่ง แต่สิ่งที่  ทำให้ภูมิใจคือการได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ  ให้กับประเทศไทย ทั้งเพื่อการบริโภคในประเทศ และเพื่อการส่งออก ล้วนแต่ต้องผ่านมือนักผสมพันธุ์ข้าวมืออาชีพอย่างตน มาทั้งนั้น
 
“เราดีใจนะ ได้เห็นข้าวที่เราผสมพันธุ์ออกมาแล้วได้ ผล บางครั้งไม่ติดก็มี ที่ภูมิใจ มีข้าว กข 105 เราก็ทำเองกับมือ” เพลินตาบอกด้วยรอยยิ้ม
 
เพลินตา บอกว่า รู้สึกภาคภูมิใจในการทำหน้าที่เป็นนักผสมพันธุ์ข้าว แม้ว่าตลอดชีวิตจะทำงานแบบปิดทองหลังพระมาตลอดชีวิต
 
น้อยคนนักจะรู้ว่าก่อนที่นักวิจัยจะพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ออกมาในแต่ละพันธุ์ บุคคลที่มีส่วนอย่างมากที่จะทำให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ คือการได้ผู้ช่วยนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในการเป็นนักผสมพันธุ์ข้าว อย่างพวกเรา
 
ปัจจุบันก็ยอมรับว่าจำนวนคนงานหรือลูกจ้างที่จะมาทำหน้าที่เป็นนักผสมพันธุ์ข้าว จึงเป็นเรื่องที่กรมการข้าวต้อง  เร่งผลิตบุคลากรเหล่านี้ออกมา  ทดแทนคนรุ่นเก่าที่กำลังจะเกษียณอายุไปในเร็ว ๆ นี้
 
ขณะเดียวกันงานวิจัยพันธุ์ข้าวใหม่ต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอด เพื่อสู้กับโรค แมลงศัตรูพืช สิ่งเหล่านี้ปรับตัวตลอดเวลา
 
อีกทั้งต้องผลิตพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ เพื่อรองรับสภาพนาที่ลุ่มที่ดอนต่างกัน รวมทั้งเป้าหมายที่จะผลิตข้าวส่งออกต้องหาพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงต้นทุนต่ำ เหล่านี้เป็นภาระหนักของการวิจัยพันธุ์ข้าว
 
ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวยอมรับว่า ปัจจุบันงานวิจัยกับการพัฒนาเป็นเรื่องสำคัญยิ่งเพราะว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จะให้ความสำคัญกับงานวิจัยค่อนข้างมาก
 
โดยเฉพาะประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจโลกจะแบ่งงบประมาณส่วนหนึ่งหรือประมาณ 2% ของ จีดีพี มาใช้ในการ วิจัยและในขณะเดียวกันก็มี  การพัฒนาจำนวนนักวิจัยในประเทศด้วย
 
ทั้งนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีจำนวนนักวิจัยมากกว่า 50 คนต่อประชากร 10,000 คน แต่ประเทศไทยจำนวนนักวิจัยมีน้อย ประมาณ 3-5 คนต่อประชากร 10,000 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลได้ให้ความสนใจและเร่งแก้ไขเพื่อ มุ่งเพิ่มสัดส่วนนักวิจัยให้มีมากขึ้นในทุกสาขาอาชีพ
 
ในส่วนของนักวิจัยพัฒนาด้านข้าวนั้น ปัจจุบันประเทศไทยยังมีนักวิจัย นักผสมพันธุ์ข้าวในสัดส่วนที่น้อย เนื่องจากเป็นงานที่ต้องทุ่มเท และอดทนเพราะข้าวแต่ละพันธุ์กว่าจะสามารถทำวิจัยได้สำเร็จต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 8-10 ปี
 
ทำให้ความสนใจเข้ามาศึกษาในสาขานี้ต่ำ ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีพื้นที่ทำนากว่า 57.5 ล้านไร่ ชาวนากว่า 3.7 ล้านครัวเรือนและมียอดส่ง ออกข้าวกว่าแสนล้านบาท แต่การวิจัยและพัฒนาข้าวไทยยัง มีน้อย
 
ดังนั้น กรมการข้าวจึงให้ความสำคัญในการพัฒนางานวิจัยข้าวของไทย ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเพื่อตอบสนองความต้องการและภาวะการแข่งขันโลกและรองรับวิกฤติอาหารโลกในอนาคต
 
ทั้งนี้ได้เตรียมจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาข้าว ซึ่งในปี 52 กรมการข้าวได้รับ   การจัดสรรงบประมาณด้านวิจัยประมาณ 205 ล้านบาท ซึ่งจะเร่งพัฒนาและวิจัยข้าวไทยให้มีศักยภาพมากขึ้น
 
สำหรับการวิจัยและพัฒนาข้าวซึ่งปี 2552 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวและเทคโนโลยีการผลิตและนำไปถ่ายทอดให้ชาวนาปฏิบัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดย ใช้ต้นทุนต่ำ
 
รวมทั้งเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว พัฒนาเศรษฐกิจชาวนาให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้การผลิตข้าวของประเทศมีเสถียรภาพมีแนวทางการดำเนินงานที่เน้น 4 ยุทธศาสตร์ได้แก่  การเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าว การลดการสูญเสียและรักษาเสถียรภาพผลผลิตการเพิ่ม มูลค่า
 
และการสร้างมูลค่าข้าวและเสริมสร้างความสามารถในการผลิตข้าวเพื่อสร้างความมั่นคงทางการอาหารในพื้นที่เฉพาะ 
 
หรือแม้กระทั่งระเบียบ การจ้างลูกจ้างมาทำงานเป็นนักผสมพันธุ์ข้าวนั้นทำค่อนข้างยากหรือล่าช้า
 
แต่ยืนยันว่าในแผนการ วิจัยข้าวและพัฒนาข้าวนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านนี้เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วน และจำเป็นอย่างยิ่งต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อให้มีคุณภาพเหมาะสมกับความต้องการในอนาคต
 
ทั้งเพื่อการส่งออก และบริโภคในประเทศต่อไป
 
แหล่งที่มา  เดลินิวส์ออนไลน์
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #671 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 13:07:47 »

ศึกษาแนวคิดการผสมพันธุ์และอนุรักษ์พันธุ์ข้าวครับ   แก่นคำหล้า พิลาน้อย หรือ ตุ๊หล่าง เด็กหนุ่มลูกอีสานชาวจังหวัดยโสธร ครอบครัวของเขาประกอบอาชีพทำนา เด็กหนุ่มคนนี้จึงมีสายเลือดของชาวนาอยู่อย่างเต็มเปี่ยม เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนกุดชุมวิทยาคมซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ ตุ๊หล่าง ก็หันหลังให้กับการศึกษาในห้องเรียน หันมาสู่โลกของการเกษตรกรรม ด้วยเพราะเล็งเห็นว่าบทบาทของอาชีพชาวนากับคนรุ่นหลังเริ่มเลือนลางลงทุกที  ทุกวันนี้ก็มีทั้งนักวิชาการ ผู้สนใจต่าง ๆ ก็ไปศึกษาความรู้เรื่องข้าวจากตุ๊หล่าง

ทั้งนี้ ตุ๊หล่าง บอกว่า จากการสำรวจผู้คนในหมู่บ้านที่เขาอาศัยอยู่ ทั้งหมด 400 หลังคาเรือน รวมกว่า 1,000 คน พบว่ามีอยู่เพียง 200 คนเท่านั้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อรู้สึกว่าผู้คนเริ่มมองข้ามอาชีพนี้เขาจึงมีความคิดที่จะพัฒนางานด้านการเกษตรให้คงอยู่กับคนอีสาน แม้ว่าความจริงแล้วตุ๊หล่างเคยฝันอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่อย่างไรเสีย หากยังไม่หมดลมหายใจ ตุ๊หล่าง คิดว่าเขาก็ยังมีโอกาสศึกษาต่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ แต่ถ้าอาชีพเกษตรกรรมยังไม่รีบอนุรักษ์สืบทอดไว้ อาจจะสูญสิ้นไปได้

          "ผมว่าโลกแห่งเกษตรกรรมเป็นโลกของการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผม ผมจึงคิดว่าเราน่าจะแสวงหาความรู้จากโลกเกษตรกรรมเสียก่อน เพราะสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น การผสมพันธุ์ข้าว การทำอย่างนี้มันมีความละเอียดกว่าคนที่เรียนจบปริญญาตรียิ่งเสียอีก และประสบการณ์ในการทำงานมันมีค่ามากว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยด้วย" ตุ๊หล่าง บอกอย่างนั้น

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #672 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 16:32:48 »

การคัดเลือกพันธุ์ข้าว

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว มีหลายวิธีได้แก่ การรวบรวมข้าวพันธุ์ดีจากที่อื่นมาปลูกขยาย การคัดเลือกพันธุ์ การผสมพันธุ์ข้าวและ การปลูกคัดเลือกหลังการผสมเพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ การฉายรังสี เป็นต้น ซึ่งมูลนิธิข้าวขวัญได้นำเสนอเทคนิคการคัดเลือก พันธุ์ข้าวโดยวิธีการคัดข้าวกล้อง ซึ่งชาวนาและผู้สนใจทั่วไปสามารถเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในไร่นาของตนเองได้

การคัดเลือกพันธุ์ข้าววัตถุประสงค์หลักเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าวนั้นๆไว้ซึ่งได้แก่ ความสูง ลักษณะทรงกอ สีใบ สีเมล็ด ชนิดข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้า เป็นต้น ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์อาจเปลี่ยนแปลงได้หากชาวนาใช้พันธุ์เดิม ปลูกต่อเนื่องกันโดยไม่มีการคัดเมล็ดพันธุ์ สาเหตุอาจเกิดการผสมข้าม



พันธุ์โดยธรรมชาติที่เรียกว่า ข้าวกลายพันธุ์ นอกจากนั้นยังมีหลายสาเหตุ เช่น ข้าวเรื้อในนาติดมากับรถเกี่ยวหรือปนมากับ เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ลักษณะที่แตกต่างกันนั้นสามารถคัดเลือกให้เป็นพันธุ์ที่บริสุทธิ์ได้ ซึ่งการคัดพันธุ์ของชาวนาแบบเดิม นั้นคัดจากต้นข้าวที่สมบูรณ์ ความสูงสม่ำเสมอ รวงยาว การติดเมล็ดดี ระแง้ถี่ การให้ผลผลิตดี ไม่มีโรค แมลงรบกวนเป็นต้น
การคัดเลือกวิธีนี้จะคัดเลือกจากลักษณะที่สังเกตเห็นจากภายนอกเปลือกเท่านั้น แต่พบว่ายังมีปัญหาคุณภาพภายในเมล็ด เช่น การเป็นท้องไข่ ความมันวาว สีของข้าวกล้องไม่ตรงตามพันธุ์ เป็นต้น







IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #673 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 21:20:40 »

เย็นนี้ไปนาครับพบหญ้าหวังหรือหญ้าข้าวนกอยู่ต้นหนึ่งเลยถอนมาให้ดูครับ ถ้าดูไกล ๆ โดยไม่สังเกตแล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นข้าวครับ หญ้าพวกนี้ค่อนข้างปราบยากและค่อนข้างจะเป็นปัญหากับชาวนาส่วนมาก ๆ

ลักษณะถ้าดูทางใบครับ


* IMG_0822.JPG (51.94 KB, 700x525 - ดู 878 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #674 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 21:26:51 »

ดูลักษณะใบครับ หญ้าหวังจะเห็นเส้นกลางใบค่อนข้างชัดเจน ข้าวจะไม่เห็นครับ


* IMG_0824.JPG (35.97 KB, 700x525 - ดู 918 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #675 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 21:29:53 »

ต้นข้าวจะมีเขี้ยวใบและเยื้อกันน้ำฝนครับ ส่วนหญ้าหวังจะไม่มี หญ้าอื่น ๆ ก็อาจจะมีเยื้อกันน้ำฝนแต่ไม่มีเขี้ยวใบ บางชนิดมีเขี้ยวใบแต่ก็จะไม่มีเยื้อกันน้ำฝนครับ


* IMG_0825.JPG (35.5 KB, 700x525 - ดู 850 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #676 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 21:37:27 »

หากแปลงไหนปล่อยให้มีมาก ๆ ก็จะมีสภาพเป็นแบบนี้ครับ


* echinochloa-crus-galli1.jpg (112.19 KB, 600x402 - ดู 1276 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #677 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 22:00:27 »

นาข้าวผมช่วงออกรวงเมื่อปีที่ผ่านมาครับ จะไม่ค่อยมีหญ้าให้เห็นกว่าจะได้แบบนี้ก็อาศัยลองผิดลองถูกมาพอสมควร ทำนาครั้งที่ 1 และ 2 หญ้าเยอะมากเพราะยังไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจครับ หญ้าบางชนิดอาศัยการแพร่พันธุ์โดยเมล็ดเราก็ต้องกำจัดก่อนเมล็ดร่วงในนา เมล็ดหญ้าบางชนิดจะเน่าเสียเมื่อจมน้ำเกิน 3-4 วัน วัชพืชบางชนิดก็ขึ้นได้ดีในน้ำท่วมขังเราก็ต้องเรียนรู้การป้องกันและกำจัดอย่างถูกวิธีซึ่งมีหลายวิธีมากให้ประยุกต์ใช้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีตลอดครับเพราะเห็นว่าการทำนาหว่านบางคนพ่นยาคุมฆ่าหญ้า 2 ครั้งแต่บางคนพ่นเพียงครั้งเดียว ผมก็พ่นเป็นครั้งเดียวครับ นาปีนี้จะทำนาดำโดยไม่ใช้ยาคุมหญ้าผมก็เตรียมวิธีป้องกันและกำจัดไว้แล้วเช่นกันครับ


* IMG_6677_resize.JPG (65.02 KB, 700x525 - ดู 843 ครั้ง.)

* IMG_6680_resize.JPG (59.19 KB, 700x525 - ดู 848 ครั้ง.)

* IMG_6684_resize.JPG (95.84 KB, 700x525 - ดู 860 ครั้ง.)

* IMG_6721_resize.JPG (108.56 KB, 700x525 - ดู 840 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #678 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 22:14:42 »

นี่ก็อีกวิธีนึงในการป้องกันครับ คือล่อให้ขึ้นแล้วทำลาย ได้ทั้งหญ้าและข้าวดีดข้าวเด้งครับ ผมไม่ได้ซื้อจอบหมุนมาใช้เพราะราคาแพง 4 หมื่นกว่าบาทเลยดัดแปลงใช้พวกนี้แทนลงทุนไม่เกิน 2 พันบาทครับ


* IMG_3134_resize.JPG (85.78 KB, 700x525 - ดู 866 ครั้ง.)

* IMG_3136.JPG (74.28 KB, 700x525 - ดู 1013 ครั้ง.)

* IMG_3137_resize.JPG (69.62 KB, 700x525 - ดู 846 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #679 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 22:26:07 »

นี่ก็อีกวิธีครับ คัดแล้วก็ถอนกำจัด  ค่อย ๆ ทำไปในการทำนาแต่ละครั้งก็จะช่วยลดปริมาณหญ้าวัชพืชในครั้งถัดไปได้ เพราะเมล็ดหญ้าไม่ร่วงในนามันก็น้อยลงไปทุกปี ๆ ผลผลิตข้าวก็ได้ดีขึ้นเพราะไม่มีวัชพืชไปแย่งอาหารกับต้นข้าว

ภาพนี้เป็นตอนทำนา ปี 2554 ครับ


* 1257.jpg (114.19 KB, 640x480 - ดู 838 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 [34] 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!