เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 มีนาคม 2024, 14:25:54
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 [32] 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 405819 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #620 เมื่อ: วันที่ 07 มีนาคม 2013, 19:56:40 »

ความสวยงามที่แฝงมาด้วยอันตรายครับ นาแปลงนี้เป็นนาหว่าน นอกจากจะมีการฉีดพ่นยาคุมหญ้าในแปลงนาแล้ว  คันนายังถูกพ่นด้วยยาฆ่าหญ้าครับซึ่งมีพิษที่ค่อนข้างอันตรายด้วย ลองคิดดูคนที่ใช้ถนนสัญจรไปมาขณะเจ้าของนากำลังพ่นยาฆ่าหญ้าก็จะพลอยสูดดมยาฆ่าหญ้าไปด้วย บ้านเรือนใกล้เคียงก็คงหนีไม่พ้นเช่นกัน  นี้ไม่นับการเจือจางสารพิษลงในแหล่งน้ำธรรมชาติที่จะมีสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อาศัยอยู่ครับ ที่จริงภาครัฐควรส่งเสริมการทำนาปลอดสารพิษให้มากกว่านี้โดยเฉพาะท้องนาที่อยู่ใกล้ชุมชนครับ อย่างน้อยก็เพื่อลูกหลานครับ บางทีเด็กอาจไปเล่นน้ำโดยไม่รู้ว่าน้ำมีสารพิษอยู่  ชุมชนผมผู้ใหญ่บ้านยังแบกถังยาฆ่าหญ้าพ่นตามถนนหน้าบ้านอยู่เลยครับ สำหรับต้นข้าวถึงแม้จะดูสวยงามแต่ก็ไม่ปลอดภัย เหมือนกับผักที่สวยงามแต่พ่นยาฆ่าแมลง เดือนก่อนบิดาของเพื่อนร่วมงานเสียชีวิตไป 2 คนก็เนื่องด้วยโรคมะเร็ง  เมื่อเช้าวันนี้เพื่อนร่วมรุ่นสมัยเรียน ปวส. ก็เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเช่นกันสาเหตุก็เนื่องด้วยอาหารการกินนี่แหล่ะครับ


* IMG_0548.JPG (36.41 KB, 700x525 - ดู 1288 ครั้ง.)

* IMG_0549.JPG (36.74 KB, 700x525 - ดู 1185 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #621 เมื่อ: วันที่ 07 มีนาคม 2013, 20:06:45 »

นาสองแปลงนี้มีความแตกต่างในการปลูกครับ ด้านซ้ายจะเป็นนาดำโดยรถดำนา ด้านขวาเป็นนาหว่าน  ต้นข้าวที่เกิดจากนาดำจะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าเนื่องจากต้นข้าวไม่แย่งอาหารกันมากเหมือนนาหว่านเนื่องจากมีพื้นที่ห่างกันมีระยะห่างระหว่างกอและแถว ต้นข้าวก็สามารถสังเคราะห์แสงได้เต็มที่เพราะไม่บังแสงกัน ส่งผลให้ไม่เปลืองปุ๋ยและอัตราการเป็นโรคและการระบาดของแมลงจะมีน้อยกว่า แต่ปัจจุบันนาดำค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและใช้แรงงานมากกว่า แต่คงไม่นานชาวนาคงเห็นประโยชน์ของนาดำมากขึ้นหากชาวนามีความรู้ความเข้าใจในการทำนาครับ


* IMG_0545.JPG (40.56 KB, 700x525 - ดู 1187 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #622 เมื่อ: วันที่ 07 มีนาคม 2013, 20:54:18 »

ปลูกข้าวด้วยรถดำนาจะต้องปรับพื้นนาให้เสมอกันเพื่อให้น้ำทั่วถึงเพื่อคุมวัชพืชในแปลงนาครับ หากวัชพืชและข้าวปนเกิดขึ้นก็ต้องมีการถอนและกำจัดครับ  แปลงนี้เจ้าของแกไม่ค่อยได้ดูแลเพราะเป็นชาวนาวันหยุดเหมือนกันเป็นพนักงานราชการและทำนาไปด้วยทำนามาสามสิบปีแล้ว  ตอนนี้แกก็กำลังจะเออรี่จากราชการมาทำนาอย่างเดียวครับ


* IMG_0546.JPG (42.22 KB, 700x525 - ดู 1245 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #623 เมื่อ: วันที่ 07 มีนาคม 2013, 21:01:05 »

ด้วยที่แกจบด้านช่างมา แกก็ทำเครื่องใช้ในการทำเกษตรหลายอย่าง ตรงน้ำเข้านาแกก็เทคอนกรีตกั้นทำประตูน้ำเข้าน้ำออกเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมน้ำเช่นกัน ถึงแม้มีค่าใช่จ่ายแต่ก็ง่ายและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานครับ


* IMG_0547.JPG (69.66 KB, 700x525 - ดู 1180 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
~ lทวดาไร้ปีก ~
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609



« ตอบ #624 เมื่อ: วันที่ 07 มีนาคม 2013, 21:48:09 »

ด้วยที่แกจบด้านช่างมา แกก็ทำเครื่องใช้ในการทำเกษตรหลายอย่าง ตรงน้ำเข้านาแกก็เทคอนกรีตกั้นทำประตูน้ำเข้าน้ำออกเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมน้ำเช่นกัน ถึงแม้มีค่าใช่จ่ายแต่ก็ง่ายและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานครับ
อยากเห็นภาพตรงที่เทคอนกรีต หลายๆมุมจังเลยครับพี่อู๋ เผื่อเอาไปดัดแปลงทำที่นาบ้างครับ ดูแล้วคงทนง่ายดีครับ
เป็ดน้อยก็น่าฮักขนาดครับ
IP : บันทึกการเข้า


Thanks: ฝากรูป [url=http
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #625 เมื่อ: วันที่ 07 มีนาคม 2013, 22:20:06 »

ด้วยที่แกจบด้านช่างมา แกก็ทำเครื่องใช้ในการทำเกษตรหลายอย่าง ตรงน้ำเข้านาแกก็เทคอนกรีตกั้นทำประตูน้ำเข้าน้ำออกเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมน้ำเช่นกัน ถึงแม้มีค่าใช่จ่ายแต่ก็ง่ายและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานครับ
อยากเห็นภาพตรงที่เทคอนกรีต หลายๆมุมจังเลยครับพี่อู๋ เผื่อเอาไปดัดแปลงทำที่นาบ้างครับ ดูแล้วคงทนง่ายดีครับ
เป็ดน้อยก็น่าฮักขนาดครับ


คล้ายแบบนี้ครับคือเทคอนกรีตเหมือนทางระบายน้ำแต่จะทำช่องสำหรับใส่แผ่นไม้ได้ เพื่อกั้นน้ำ ส่วนรูปทรงแล้วแต่จะออกแบบได้เลยครับ


* IMG_0914.JPG (58.68 KB, 700x525 - ดู 1156 ครั้ง.)

* IMG_8434.JPG (63.25 KB, 700x525 - ดู 1198 ครั้ง.)

* IMG_8435.JPG (62.43 KB, 700x525 - ดู 1211 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #626 เมื่อ: วันที่ 07 มีนาคม 2013, 22:51:44 »

พื้นที่เตรียมสำหรับทำเล้าเป็ดครับเอาพื้นที่หลังโกดัง  เล้าเป็ดกั้นด้านหน้าด้านหลังแล้วและทำโรงเรือนให้เป็ดอยู่ไว้หลบฝนก็น่าจะเสร็จแล้ว  เดิมเป็นโกดังสำหรับเก็บข้าวเปลือก  ตอนนี้ไม่ได้รับซื้อข้าวเปลือกแล้ว อนาคตผมว่าจะทำโรงสีข้าวขนาดเล็กครับ เพื่อสามารถสีข้าวสารและข้าวกล้องได้เห็นราคาไม่สูงมากในงบประมาณเครื่องละ 3-5 หมื่นบาท ตัวโกดังปรับปรุงอีกนิดหน่อยก็ได้แล้ว โครงการทำเป็นปี ๆ ไปไม่รีบ ใช้เงินส่วนหนึ่งจากกำไรการทำนาค่อย ๆทำไปครับ  เมื่อมีเครื่องสีข้าวเราก็จะมีแกลบ สามารถทำแกลบดำสำหรับใช้ในการเพาะกล้ารถดำนา ส่วนที่เหลือสามารถขายให้ร้านทำดินปลูกได้  รำอ่อนสามารถใช้เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ได้ ข้าวสารและข้าวกล้องก็สามารถมาบรรจุภัณฑ์ขายได้ซึ่งคิดมานานแล้วแต่ก็ค่อยเป็นค่อยไปครับ


* IMG_0551.JPG (82.11 KB, 700x525 - ดู 1169 ครั้ง.)

* IMG_0552.JPG (84.1 KB, 700x525 - ดู 1163 ครั้ง.)

* untitled.jpg (30.73 KB, 525x700 - ดู 1887 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
Khunplong
สมาชิกลงทะเบียน
มัธยม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 836



« ตอบ #627 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 09:13:01 »

ขอบคุณความรู้ดีๆที่นำมาแบ่งปันครับ สักวันต้องมีที่นาและปลูกข้าวอินทรีย์ให้ได้ ยิ้มเท่ห์

ขอบคุณครับ หากผมปรับปรุงแปลงนาเสร็จอีกหน่อยก็ต้องไปขอความรู้การปลูกผักหวานป่าของคุณ Khunplong บ้างเหมือนกันครับ
ยินดี ยินดีมากๆครับ ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ไร่จันทร์กะสิน By Khunplong (ขุนปล้อง)
08-9432-5413(DTAC)09-3130-9451(AIS) @140 ม.10 ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย 57230 https://www.facebook.com/jatupong.tapiang
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #628 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 09:52:28 »

ขอบคุณความรู้ดีๆที่นำมาแบ่งปันครับ สักวันต้องมีที่นาและปลูกข้าวอินทรีย์ให้ได้ ยิ้มเท่ห์

ขอบคุณครับ หากผมปรับปรุงแปลงนาเสร็จอีกหน่อยก็ต้องไปขอความรู้การปลูกผักหวานป่าของคุณ Khunplong บ้างเหมือนกันครับ
ยินดี ยินดีมากๆครับ ยิ้ม

ขอบคุณมาก ๆ ครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #629 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 09:53:59 »

ข้าวกล้องคืออะไร ?

คือข้าวที่สีเอาเปลือก (แกลบ) ออกโดยที่ยังมีจมูกข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) อยู่ ข้าวกล้องจะมีสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวนี้มีคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์มาก

สำหรับข้าวขาวที่เรากินๆ กันอยู่นั้น เป็นข้าวที่เกิดจากการขัดสีหลายๆ ครั้ง จนเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวและจมูกข้าวหลุดออกไป จนเหลือแต่เนื้อในของข้าว

ข้าวกล้องบางคนเรียกกันติดปากว่า ข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดง เนื่องจากในสมัยโบราณ ชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินกันเอง จึงเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน จึงเรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกนี้ว่า ข้าวกล้อง

ข้าวกล้องมีโปรตีนประมาณ 7-12% (แล้วแต่พันธุ์ข้าว) นักค้นคว้าชื่อ โรสเดล ( Rosedale ) ได้วิเคราะห์ว่า การขัดสีข้าวกล้องจนมีสีขาว จะทำให้โปรตีนสูญหายไปประมาณ 30%

ประโยชน์มากมายของการกินข้าวกล้อง

  • ได้วิตามินบีรวม ช่วยป้องกันและบรรเทาอาหารอ่อนเพลีย แขน ขาไม่มีแรง ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนังบางชนิด บำรุงสมอง ทำให้เจริญอาหาร 
  • ได้วิตามินบี 1 ซึ่งถ้ากินเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้ 
  • ได้วิตามินบี 2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก 
  • ได้ฟอสฟอรัส ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน 
  • ได้แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว 
  • ได้ทองแดง สร้างเมล็ดโลหิต และเฮโมโกลบิน 
  • ได้ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง 
  • ได้โปรตีน ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ 
  • ได้ไขมัน ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันในข้าวกล้องเป็นไขมันที่ดี ไม่มีโคเรสเตอรอล 
  • ได้ไนอะซิน ช่วยระบบผิวหนังและเส้นประสาท และป้องกันโรคเพลลากรา
(โรคที่เกิดจากการขาดไนอะซิน จะมีอาการท้องเสีย ประสาทไหว โรคผิวหนัง) 
  • ได้คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย 
  • ได้กากอาหาร ข้าวกล้องมีกากอาหารมาก ซึ่งจะทำให้ท้องไม่ผูก และช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้อีกด้วย 
  • วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ในข้าวกล้องจะช่วยให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

ข้าวกล้องมีอะไรดีกว่าข้าวขาว

ธาตุเหล็ก มีมากเป็น 2 เท่าช่วยป้องกันโลหิตจาง   • ข้าวกล้องมีวิตามินบี 1 มากกว่าข้าวขาวประมาณ 4 เท่า ถ้ากินเป็นประจำ จะป้องกันโรคเหน็บชา 
  • วิตามินบี 2 มีมากจะป้องกันโรคปากนกกระจอก 
  • วิตามินบีรวม มีมากกว่าจะป้องกัน และบรรเทาอาการอ่อนเพลียและขาไม่มีแรง อาการปวดแสบและเสียวในขา ปวดน่อง ปวดกล้ามเนื้อ ลิ้นแตกหรือมีแผล ริมฝีปากเจ็บหรือมีแผล โรคผิวหนังบางชนิด โรคปลายประสาทอักเสบ และโรคเกี่ยวกับระบบประสาทบางชนิด 
  • วิตามินบีรวม ยังบำรุงสมอง ทำให้เรียนเก่งขึ้นและเจริญอาหาร 
  • ธาตุเหล็ก มีมากเป็น 2 เท่า ช่วยป้องกันโลหิตจาง 
  • แคลเซียม มีมากกว่า จะทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว 
  • ไขมัน มีมากกว่าให้พลังงานแก่ร่างกาย 
  • กากอาหาร มีมากกว่าจะช่วยป้องกันท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ 
  • เกลือแร่และวิตามินต่างๆ ในข้าวกล้อง มีรวมกัน 20 กว่าชนิด มีหน้าที่ทำให้การทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ 
  • โปรตีน มีมากกว่าช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ 
  • แป้ง (คาร์โบไฮเดรต) มีน้อยกว่าข้าวขาว ช่วยลดความอ้วน ส่วนคนที่ผอมจะสมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากได้รับสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น 
  • ประหยัดเงินทอง เพราะเจ็บป่วยน้อยกว่า ข้าวกล้องจะมีราคาถูกกว่า เพราะต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า 
  • มีผลทำให้สุขภาพจิตและสติปัญญาดีขึ้น เพราะสุขภาพกายดีขึ้น 

ปริมาณสารอาหารในข้าวขาวกับข้าวกล้อง

สารอาหาร
 ข้าวขาว
 ข้าวกล้อง
 
วิตามิน – บี 1
 4 จานกว่า
 1 จาน
 
วิตามิน – บี 2
 2 จาน
 1 จาน
 
วิตามิน – บี 6
 5 จานกว่า
 1 จาน
 
กากข้าว
 2 จานกว่า
 1 จาน
 

ผลเสียของการกินข้าวขาว

โรคและอาการต่างๆ ต่อไปนี้ จะลดลงมากหรือป้องกันได้ ถ้ากิน ข้าวกล้อง เป็นประจำ และกินอาหารเพียงพอและถูกหลัก

  • โรคเหน็บชา เพราะขาดวิตามิน-บี 1 ข้าวกล้องมีวิตามิน-บี 1 มากกว่าข้าวขาว 385% (พบมากในประเทศที่กินข้าวขาวเป็นอาหารหลัก) 
  • โรคปากนกกระจอก เพราะขาดวิตามิน-บี 2 ข้าวกล้องมีวิตามิน-บี 2 มากกว่าข้าวขาว 66% (ตามชนบทมีเด็กเป็นโรคปากนกกระจอก 60%) 
  • โรคโลหิตจาง เพราะขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากข้าวกล้องมีธาตุเหล็กมากกว่าข้าวขาว 2 เท่า (ประชากรไทยเป็นโรคโลหิตจาง 40%) 
  • โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (พบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี) เกี่ยวเนื่องจากมาจากการขาดธาตุฟอสฟอรัส และอื่นๆ ซึ่งมีในข้าวกล้อง นอกจากนั้น ฟอสฟอรัสยังช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟันอีกด้วย 
  • โรคท้องผูก เพราะมีกากอาหารน้อย ข้าวกล้องมีกากอาหารมากกว่า 133% (ข้าวกล้องช่วยป้องกันท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่) 
  • โรคทางระบบประสาทบางชนิด และโรคปลายประสาทอักเสบ เพราะขาดวิตามินบีรวม ซึ่งมีมากในข้าวกล้อง (วิตามินบีรวม ช่วยบำรุงสมอง ทำให้เรียนเก่งขึ้น และเจริญอาหาร) 
  • อารมณ์เสียง่ายกว่า หงุดหงิดเพราะชาดวิตามินบีรวม ซึ่งเป็นวิตามินที่เสริมสร้างระบบประสาทของร่างกาย และถ้าระบบประสาทของเราไม่ดี ทำให้เราควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีนัก 
  • เบื่ออาหาร เพราะขาดวิตามินบีรวม ซึ่งข้าวกล้องมีมากกว่าข้าวขาว 
  • โรคขาดโปรตีน ข้าวกล้องมีโปรตีน ร้อยละ 7-12 (เด็กไทยประมาณร้อยละ 40-60 เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน) ข้าวกล้องมีโปรตีนมากกว่าข้าวขาว 20-30% 
  • โรคผิวหนังบางชนิด ขาดวิตามินบีบางตัว 
  • อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ ปวดเมื่อยตามตัวและขา เพราะขาดวิตามินบีรวม 
  • โรคชัก เนื่องจากขาดวิตามิน บี 6 ซึ่งมีมากในข้าวกล้อง 
  • ข้าวขาวมีแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) พอๆ กับข้าวกล้อง แต่มีเกลือแร่และวิตามินต่างๆ น้อยกว่าข้าวกล้อง (ในข้าวกล้องจะมีวิตามินรวมกัน 20 กว่าชนิด) ที่ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างร่างกายให้สมบูรณ์ 

จะเห็นได้ว่า ผลเสียของการกินข้าวขาวมีมาก เพราะการขัดสีส่วนที่มีคุณค่าต่อร่างกายออกไป หลายท่านอาจจะกินข้าวขาว เพราะไม่รู้ว่ายังมีข้าวที่มีคุณค่ามากอย่างข้าวกล้องอยู่ จนบางคนไม่เคยรู้จักข้าวกล้องด้วยซ้ำ

คนสมัยโบราณแต่ละบ้านจะตำข้าวกินเอง ซึ่งเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ ซึ่งก็คือ ข้าวกล้อง คนสมัยก่อนจึงมีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคอย่างที่คนสมัยนี้เป็นกันเท่าไร เช่น โรคเบาหวาน, หัวใจวาย, มะเร็ง ฯลฯ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็เพราะการกินไม่เป็น
         
    แหล่งข้อมูล : ธรรมทัศน์สมาคม 


* 67635.jpg (54.58 KB, 533x400 - ดู 1122 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #630 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 10:08:10 »

ความรู้พันธุ์ข้าวโภชนาการสูง
            ปัจจุบันการพัฒนาพันธุ์ข้าว ได้ให้ความสนใจคุณค่าทางอาหารมากขึ้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติของข้าวพันธุ์พื้นเมืองหลายชนิด ก่อนหน้านี้เราสนใจข้าวเป็นเพียงแหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรทหริือแป้งเท่านั้น จึงสนใจปริมาณของแป้งและชนิดของแป้งในข้าว มากกว่า คุณค่าทางโภชนาการที่สะสมอยู่ในเมล็ดข้าว โดยเฉพาะในจมูกข้าวและเคลือบผิวของเมล็ดข้าว
            ที่ผ่านมาการแปรรูปข้าวจึงขัดเอาผิวเคลือบเมล็ดข้าวและจมูกข้าวออกมาเป็น รำข้าว ใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ เมล็ดข้าวจะถูกขัดขาวเพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพตามมาตรฐานตลาดกำหนด ตามข้อกำหนด ข้าวสารขัดขาว แต่ละประเภทโดยใช้ขนาดของเมล็ดข้าวสาร ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา เป็นไปตามหลักวิชาการและคำปรึกษาของต่างประเทศ ที่ไม่รู้คุณค่า  ไม่ศึกษาภูมิปัญญาของตนเองของคนไทย
            ทิศทางการพัฒนาพันธุ์ข้าวในปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนทิศทาง จากมองเรื่องปริมาณผลผลิตและคุณภาพตามมาตรฐานความต้องการของตลาดโลก ที่ต้องการข้าวที่มีความขาว นุ่ม มามุ่งพัฒนาคุณภาพที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะชนิดและปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ ความเป็นสมุนไพร ที่ขึ้นอยู่กับสารพันธุกรรมที่อยู่ในสายพันธุ์ข้าวแต่ละสายพันธุ์ โดยเฉพาะข้าวพันธุ์พื้นเมือง
            ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ปรับเปลี่ยนทิศทาง ให้ความสำคัญในการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาเป็น พ่อ แม่พันธุ์ ทำให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ๆนำมาส่งเสริมการปลูกหลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น เช่น ข้าวหอมนิล ข้าวสินเหล็ก ข้าวมะลิแดง ข้าวไรซ์เบอร์รี่
            สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารอาหารที่เกิดขึ้นในธรรมชาติจากพืช เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่  กลุ่มวิตามิน กลุ่มเกลือแร่และกลุ่มเม็ดสารสีในพืช เป็นสารสำคัญที่มีผลในการเสริมสร้างสุขภาพ
            ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรภาคอีสาน ที่บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และพันธุ์ที่นิยมปลูกและมีราคาคือข้าว กข 6 ที่มีปัญหาโรคใบไหม้ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งใช้ปุ๋ยยูเรีย ยิ่งทำให้โรคระบาดมากขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตต่อไร่ลดลง ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและศูนย์วิศวพันธุกรรม สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)ได้พัฒนาพันธุ์จากข้าว กข 6 ให้ต้านทานโรคใบไหม้ ทำให้การเจริญเติบโตดีขึ้น เรียกชื่อว่า ข้าวธัญสิริน มาเป็นพันธุ์ปลูกแทนพันธุ์ กข 6
            การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น นำข้าวหอมนิล ที่มีเมล็ดสีม่วงมาผสมกับข้าวมะลิ 105 ที่มีความหอมเฉพาะตัว ทำให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์สินเหล็ก เป็นเมล็ดสีขาวและพันธุ์ไรซ์เบอรรี่ มีเคลีอบเมล็ดสีม่วง
            ข้าวพันธุ์สินเหล็ก มีคุณสมบัติ มีน้ำตาลต่ำ มีธาตุเหล็กสูง และมีความหอม จึงเหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
            ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรรี่ มีคุณสมบัติ มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดในปริมาณสูง จึงเหมาะสำหรับการนำมาแปรรูปเป็นผลิตเสริมสร้างสุขภาพ เช่น น้ำมันรำ สกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากรำมาทำเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เหมาะสำหรับคนในปัจจุบันที่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหาร ที่สารพิษต่อร่างกายปนเปื้อน

ข้าวเจ้าพันธุ์สินเหล็กและไรซ์เบอรรี่
        ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้ข้าวหอมนิล ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสุงมาผสมกับข้าวมะลิ 105 ที่มีความหอม ได้ข้าวที่มีลักษณะเมล็ดแตกต่างกัน 2 พันธุ์ คือ
        1.ข้าวสินเหล็ก เป็นข้าวเจ้า มีเมล็ดสีขาวคล้ำเล็กน้อย มีธาตุเหล็กสูงและมีความหอม ระดับน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานบริโภค
        2. ข้าวไรซ์เบอรรี่ เป็นข้าวเจ้า มีเมล็ดสีม่วงเข้ม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตเพื่อสุขภาพ สกัดน้ำมันรำ และสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อบริโภคเป็นอาหารเสริมสุขภาพ
 
ลักษณะของข้าวสินเหล็กและข้าวไรซ์เบอรรี่

ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry




     ความสูง............................................ 105-110 ซม.
อายุเก็บเกี่ยว......................................... 130 วัน
ผลผลิต............................. 750-1,000 กก. / ไร่
% ข้าวกล้อง (Brown rice)..............ใใ......... 76 %
% ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice)......... 50 %
 ความยาวของเมล็ด
ข้าวเปลือก 11 ม.ม. ....... ข้าวกล้อง 7.5 ม.ม. .... ข้าวขัด 7.0 ม.ม.
คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ Riceberry
ปริมาณ Amylose....................................... 15.6 %
อุณหภูมิแป้งสุก............................... < 70 & deg ; C
ธาตุเหล็ก........................................ 13-18 mg/kg
ธาตุสังกะสี......................................... 31.9 mg/kg
โอเมกา-3 ................................... 25.51 mg/100 g
วิตามิน อี ....................................... 678 ug /100 g
โฟเลต ........................................... 48.1 ug/100 g
เบต้าแคโรทีน .................................... 63 ug/100 g
โพลีฟีนอล ...................................113.5 mg/100 g
แทนนิน ..................................... 89.33 mg/100 g
แกมมา-โอไรซานอล ........................ 462 ug/100 g
สารต้านอนุมูลอิสระ
             ชนิดละลายในน้ำ ............ 47.5 mg ascorbic acid quivalent/100 g
             ชนิดละลายในน้ำมัน ......... 33.4 mg trolox equivalent/100 g


ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวสินเหล็ก


                           ความสูง ....................................... 148 ซม.
                           อายุเก็บเกี่ยว .................................. 120 วัน
                           ผลผลิต ........................................ 600-800 กก./ไร่
                           % ข้าวกล้อง (brown rice) ................. 76%
                           % ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice)..... 50%
ความยาวของเมล็ด
                      ข้าวเปลือก 11 ม.ม., ข้าวกล้อง 7.6 ม.ม., ข้าวขัด 7.0 ม.ม.
คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้อง
                          ปริมาณ Amylose ................... 16.5 %
                          อุณหภูมิแป้งสุก ...................... 70-74 องศา
                          ธาตุเหล็ก ............................ 15-21 mg/kg
ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็ก
ข้าวกล้อง ............................ 7.19 ng Ferritin/mg-cell protein
ข้าวขัด ............................... 8.30 ng Ferritin/mg-cell protein
ธาตุสังกะสี ........................... 26.9 mg/kg
Omega-3 .......................... 22.4 mg/100g
Gamma oryzanol ................. 372 ug/g
วิตามิน อี ............................. 680 ug/100g
โฟเลต ............................... 20.35 ug/100g
ดัชนีน้ำตาล ........................... 58

ข้าวหอมนิล


ข้อมูลทั่วไป

         ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือก และพัฒนาจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้ม ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะนุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม น่ารับประทาน ที่สำคัญคือ ข้าวกล้องมีโปรตีนสูงถึง 12.5% ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70% ปริมาณ amylose 16% และยังประกอบไปด้วย ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 (ตารางที่ 1)
          การศึกษาเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายชนิด microsatellite จำนวน 48 ตำแหน่ง มาทำการตรวจสอบ ชี้ให้เห็นว่า ข้าวเจ้าหอมนิลมีความแตกต่างจากข้าวพันธุ์ Hei Bao และ Xua Bue Huqที่เป็นข้าวเมล็ดสีดำของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงยืนยันได้ว่าข้าวทั้ง 3 ไม่ได้เป็นพันธุ์เดียวกัน

ลักษณะประจำพันธุ์  
         ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี การแตกกอดี ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และแมลงโดยทั่วๆ ไปต้านทานต่อโรคไหม้ (Blast) ทนทานต่อสภาพแล้ง (Drought) และดินเค็ม (Salinity)
 ความสูงของต้น75 เซนติเมตร
สีของ ใบ/ลำต้น  เขียวเข้มอมม่วง
เมล็ดข้าวกล้องยาวประมาณ  6.5 ม.ม. มีสีม่วงดำ
เปลือกหุ้มเมล็ดข้าว สีม่วงเข้ม
อายุการเก็บเกี่ยว  95 -100 วัน
ผลผลิตเฉลี่ย    400 - 700 ก.ก./ไร่
 
คุณค่าทางโภชนาการ
                ปริมาณองค์ประกอบของสารอาหารในเมล็ด  
                            แป้งอะมัยโลส (Amylose)                                12%
                            ธาตุเหล็ก 2-2.25 มิลลิกรัมต่อ                         100 กรัม
                            สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidamt)                  292 ไมโครโมลต่อกรัม
                            น้ำมันรำข้าว                                                   18%
                            เส้นใยจากรำข้าว                                             10%
คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเจ้าหอมนิลเทียบ กับข้าวขาวดอกมะลิ 105
คุณค่าทางโภชนาการ                      ข้าวเจ้าหอมนิล          ข้าวขาวดอกมะลิ 105
โปรตีน (%)                                             12.56                        
คาร์โบไฮเดรต (%)                                    70.0                        80.0
ธาตุเหล็ก (มก./100 ก)
สังกะสี (มก./100 ก)
แคลเซียม (มก./100 ก)
โพแทสเซียม (มก./100 ก)
ทองแดง (มก./100 ก)  12.56
ที่มา : Chrispeels, M.L. and E.S. David. 1994. Plants, Genes and Agriculture. Jones and Bartlett Publishers. London. England. 478
 
ลักษณะทางโภชนาการ
          ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5 % มีปริมาณแป้งอะมัยโลสประมาณ 12-13% มีปริมาณสาร 2-acetyl-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ พวก Cyclohexanone ในปริมาณมาก มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม ปริมาณธาตุเหล็กแปรปวนอยู่ระหว่าง 2.25- 3.25 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม และธาตุสังกะสีประมาณ 2.9 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
          ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณสาร antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมลต่อกรัม ในส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีม่วงเข้มประกอบไปด้วยสาร anthocyanin, proanthocyanidin, bioflavonoids และวิตามิน E ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสีผสมอาหารตามธรรมชาติ
          ในส่วนของรำและจมูกข้าว มีวิตามิน E วิตามิน B และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ในส่วนของรำมีน้ำมันรำข้าว 18% เป็นองค์ประกอบ ซึ่ง 80 % เป็นชนิด C18:1 และ C18:2 เหมือนกับน้ำมันที่ได้จากถั่วเหลืองและข้าวโพดและพบว่ามีสาร omega-3 ประมาณ 1-2 % รำข้าวของเจ้าหอมนิลมีปริมาณเส้นใย digestible fiber สูงถึง 10% จากข้อมูลทางโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่มีศักยภาพในการนำมาแปรรูปทางอุตสหกรรมอาหารสูง เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวเจ้าหอมนิล รวมทั้งขนมขบเคี้ยวต่าง

คุณประโยชน์ของสีม่วงในข้าวเจ้าหอมนิล
          ข้าวเจ้าหอมนิลมีเมล็ดสีม่วงดำ เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสีของเมล็ด สีม่วงดำประกอบไปด้วย สีม่วงเข้ม (cyanidin) สีชมพูอ่อน (peonidin) และสีน้ำตาล (procyanidin) ผสมกัน ซึ่งสีที่เห็นนั่นเป็นสารประกอบกลุ่ม flavonoid ที่เรียกว่า สารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ที่ประกอบไปด้วยสาร cyanidin กับ สาร peonidin           สารโปรแอนโทไซยานิดิน (proanthocyanidin) ประกอบด้วยสาร procyanidin ซึ่งสารดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นสาร antioxidant ที่ทำหน้าจับกับอนุมูลอิสระแล้วช่วยทำให้กลไกลการทำงานของร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าปกติ
สารแอนโทไซยานิน มีรายงานวิจัยพบว่า สามารถช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่หัวใจ และสมอง บรรเทาโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงสายตาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นเวลามองตอนกลางคืน สาร cyanidin มีประสิทธิภาพในการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินอี หลายเท่า และยังยับยั้งการเจริญเติบโตของ epidermal growth factor receptor ในเซลล์มะเร็ง สารโปรแอนโทไซยานิดิน หรือเรียกว่าสาร condensed tannins มีรายงานวิจัยพบว่า สารโปรแอนโทไซยานิดิน ทำการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน (beta-carotene) สาร โปรแอนโทไซยานิดิน ยังไปจับกับอนุภาคของกัมมันตภาพรังสีทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ และช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดป้องกันโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ยังยับยั้งการเจริญเติบของเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด กระเพาะอาหาร และเม็ดเลือดขาว และยังป้องกันไวรัส HSV-1 และยับยั้งการทำงานของเอมไซม์ reverse transcriptase ใน ไวรัส HIV
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #631 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 11:03:23 »

โจน จันใด



นับวันวิวัฒนาการของโลกก็ยิ่งก้าวไกลออกห่างจากธรรมชาติมากขึ้น และนั่นคือ เรายิ่งนำตัวเอง ออกห่างจากการพึ่งตนเองมากขึ้นๆ เมื่อห่างไกลธรรมชาติ และการพึ่งตนเอง อะไรจะเกิดขึ้น

ดังนั้น การเรียนรู้เรื่องบ้านดิน และการเก็บเมล็ดพันธุ์ ๒ ในปัจจัย ๔ ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต อาจถือเป็นการคืนสู่ธรรมชาติที่น่าคิด

*** ประวัติส่วนตัว
ผมชื่อโจน จันใด ชื่อเล่นก็โจ ใครจะเรียกอะไรก็ได้ เป็นคนบ้านศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร เกิดที่นั่น เติบโตที่นั่น พ่อแม่เป็นชาวนา เรียนจบ ป.๗ อยากเรียนหนังสือต่อ แต่ทางบ้านไม่มีเงิน เลยไปบวช เป็นเณร ๔ ปี เรียนจบเทียบเท่ามัธยมปลาย การศึกษาอยู่ในห้องเรียนมีแค่นี้ แต่การศึกษาในชีวิต มีตลอด

*** ทำไมสนใจบ้านดิน
หลักๆ แล้วผมคิดถึงการพึ่งตนเอง เพราะว่าผมเบื่อหน่ายกับการทำงานในเมือง อยากใช้ชีวิต ที่เรียบง่ายที่สุด จึงคิดถึงเรื่องการพึ่งตนเอง ชีวิตที่ง่ายที่สุดมันจะง่ายไม่ได้ถ้าไม่พึ่งตนเอง อย่างน้อยปัจจัย ๔ เราน่าจะช่วยตัวเองได้ ไม่เดือดร้อน ก็ถือว่าใช้ได้

ผมออกจากกรุงเทพฯ เพราะเบื่อ ก็มาคิดเรื่องนี้ จึงเริ่มต้นทำกระท่อมไม้ไผ่อยู่เอง ปลูกผักกินเอง รู้สึกว่าพึ่งปัจจัย ๔ ได้ และชีวิตมันง่ายขึ้น น่าประทับใจ แล้วก็ชอบวิถีชีวิตแบบนี้เรื่อยมา จนถึงทุกวันนี้ ระหว่างนั้นมีแฟนเป็นคนอเมริกัน เขามาอยู่ที่ทุ่งนาด้วยปีกว่าๆ จากนั้นเขาคิดอยาก จะไปเรียนนวดที่อเมริกา และอยากให้ผมไปด้วย ก็เลยไปอยู่ที่สหรัฐฯ ๒ ปี แต่ก่อนจะกลับเมืองไทย เราขี่จักรยานเที่ยวใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน ขี่จากรัฐยูท่าห์ไปโคโลราโด เม็กซิโก อาริโซนา แล้วกลับมา แคลิฟอร์เนีย ช่วงนี้เราได้ผ่านหมู่บ้าน หนึ่งชื่อว่า Toapueblo เป็นหมู่บ้านอินเดียนแดง หมู่บ้านแรก ที่ผมเห็น คือในระหว่างขี่จักรยานในเขตนั้นมันเป็นทะเลทรายทั้งหมด ไม่มีร่มไม้เลย มันร้อนมาก แต่พอเข้าไปในบ้านรู้สึกเย็นมาก ก็คิดถึงบ้านที่ยโสธรทันทีเพราะมันร้อนมากเหมือนกัน กลับมาก็คิดว่า จะสร้างบ้านแบบนั้นบ้าง หลังจากนั้นผมก็สร้างบ้านหลังแรก ไม่ได้เรียน แค่ไปดูนิดๆ หน่อยๆ แล้วก็สอบถามเขา แล้วมาค้นดูหนังสือในห้องสมุดถึงวิธีทำ แค่นั้นเอง แล้วก็ลงมือ ทำเลย ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก เราเป็นคนที่เติบโตมากับดินอยู่แล้ว เป็นชาวไร่ชาวนา เรารู้จัก นิสัยดินดี เมื่อรู้ว่าทำยังไงแล้วก็ง่าย

หลังจากนั้นก็ทำมาเรื่อยๆ ปีละหลังสองหลัง จนเมื่อ ๒ ปีที่แล้วทางอาศรมวงศ์สนิท จัดเวิร์คช็อพ บ้านดินขึ้น โดยเขาไปเจอฝรั่ง ๒ คน ชื่อไจแนลกับมิแชลที่ทำบ้านดินมาก่อน เขาก็ให้ ๒ คนนี้มาสอน และเชิญผมไปดู ที่เขาสอนเรานี่เป็นอีกเทคนิคหนึ่งเรียกว่าค็อบ ส่วนเทคนิคที่ผมทำนี่ เป็นแบบ ก้อนอิฐตากแดด ซึ่งทำเป็นอิฐก่อนแล้วมาก่อ แต่ที่เขาทำ คือการเหยียบดินเหนียวๆ ผสมกับฟางยาวๆ แล้วก็มาปั้นเป็นบ้านขึ้น ซึ่งมันยากมาก พอเขาทำเวิร์คช็อพที่นั่นเสร็จ ปรากฏว่าคนที่เข้าร่วมเวิร์คช็อพไม่อยากทำเลย ถ้ายากขนาดนี้ไม่เอาดีกว่า ผมก็เลยบอกว่า ผมทำได้ง่ายกว่านี้ ฝรั่งสองคนนั้น ก็เลยมาเรียนกับผม จากนั้นก็กระจายเวิร์คช็อพออกไป แม่ชีศันสนีย์สนใจ เอาไปออกทีวีเลยยาวไปเลย

๒ ปีที่ผ่านมา ผมแทบไม่ได้อยู่บ้าน เดินทางไปเผยแพร่เรื่องบ้านดินทั่วประเทศ จนถึงทุกวันนี้ ผมตั้งใจไว้ว่า จะใช้ชีวิตอยู่กับเรื่องบ้านดิน ทำบ้านดิน โดยเฉพาะ ใครเชิญที่ไหนไปหมด ขอให้เป็นการเรียนรู้ เพื่อคนอื่น จนปีนี้จะเข้าปีที่ ๓ ผมก็ชะลอลงเพราะคิดว่าเรื่องบ้านดินน่าจะจบ คนที่ทำเป็น ก็มีมากแล้ว

*** ประโยชน์จากบ้านดิน
ประสบการณ์จากบ้านดินที่เห็นชัดๆ เลย ก็คือ
๑.เราไม่ได้เสียเงิน อันนี้เห็นชัดมาก
๒.ทำได้เอง ใครๆก็ทำได้ไม่จำเป็นต้องเป็นช่าง ทุกคนทำได้
๓.ควบคุมอุณหภูมิได้ดี ถ้าทำเพดานดี อันนี้เห็นชัดมาก
๔.วัสดุที่ใช้ หาที่ไหนก็ได้ ไม่เป็นปัญหา

คิดว่าเป็นสิ่งสำคัญของการพึ่งตนเองที่ง่ายมาก ก็ทำมาเรื่อยๆ

บ้านดินเหมาะกับทุกภูมิประเทศยกเว้นน้ำท่วม ส่วนจะฝนมาก ฝนน้อย ความชื้นเยอะ ความชื้นน้อย ไม่สำคัญ ทำได้หมด เพราะว่าบ้านดินมีตั้งแต่ ในเขตทะเลทรายเยอะที่สุด และ ไปจนถึงยุโรป อย่างในอังกฤษอากาศความชื้นเยอะมาก หมอกลงตลอดปี แต่เขาก็อยู่กันมาได้ หลายร้อยปี และก็ยังมีบ้านดินเหลืออยู่จนทุกวันนี้ในยุโรปอายุ ๒๐๐ ถึง ๔๐๐ ปีมีเยอะมากเลย ตอนนี้ เป็นของเก่าซึ่งคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้เทคนิคในการทำ

ในยุโรปตะวันออกมีทั้งโบสถ์ โรงแรม ร้านอาหาร ที่เก่าแก่มาก ที่เก่าที่สุดคือที่ Toapueblo ของอินเดียนแดง อายุพันกว่าปี ในสหรัฐอเมริกายังมีซากปรักหักพังอีกมากที่มีอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี เนื่องจาก ไม่มีคนอยู่อาศัยเรื่อยมาเท่านั้นเอง หลังที่อายุพันกว่าปี มีคนอยู่อาศัย ตั้งแต่สร้าง จนถึงทุกวันนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่พิเศษมาก สำหรับเรื่องที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ก็เลยคิดว่า มันเป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจ

*** แล้วโทษล่ะ
โทษของมันแทบจะไม่มีเลย ถ้าจะมีคงเป็นเรื่องของการก่อสร้าง เพราะในระหว่างที่ก่อสร้าง มันอาจ จะล้มทับเราได้ ถ้าเราไม่ชัดเจนในเทคนิค แต่ก็ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไร เพียงแต่ใช้สามัญสำนึก และ ความระมัดระวังเท่านั้นเอง ก็จะปลอดภัย

*** โทษของวัสดุก่อสร้าง
โทษภัยของวัสดุก่อสร้างสมัยนี้เทียบกับบ้านดินแล้วต่างกันมาก อย่างกระเบื้อง เขาเรียกว่า แอสเบ็ตโต๊ส ซึ่งในหลายประเทศถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายถ้าจะใช้กระเบื้องแบบนี้ เช่นในสหรัฐ ถือว่าผิดกฎหมาย ในเยอรมันก็ใช้ได้เฉพาะในอาคาร ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย ห้ามใช้กับโรงพยาบาล หรือโรงเรียน เพราะว่าฝุ่นของกระเบื้อง นี่ทำให้เกิด โรคปอด โรคระบบหายใจ จนเขาสั่งห้าม โดยถือว่า เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย หลายประเทศในยุโรป เขาจะไม่ให้ใช้เลย ส่วนกระเบื้องแผ่นเรียบ เขาไม่ให้ใช้เหมือนกัน ถือว่าผิดกฎหมาย เป็นสิ่งที่เราไม่รู้เรื่องเลย แล้วก็ใช้กันอยู่ นี่คือโทษชนิดหนึ่ง

อีกชนิดหนึ่งก็คือ สีจากบ้าน จะมีสารเคมีหลายอย่าง เวลามันเก่าร่วงหล่นลงมาตกไปในอาหารบ้าง หายใจเข้าไปบ้าง สิ่งเหล่านี้อันตรายทั้งสิ้น

บ้านปูนนี่ดูดพลังงาน เวลานอนพื้นปูนทำให้อ่อนเพลีย และหมดแรง จะรู้สึกไม่อยากตื่น แต่นอนพื้นดิน จะรู้สึกอิ่มเร็ว ตื่นแต่เช้าได้ อันนี้ก็เป็นความแตกต่างของบ้านดินกับบ้านทั่วๆ ไปที่มีอยู่

บ้านไม้ไผ่อย่างพวกชาวเขาก็ยังดีกว่า คือเราหาวัสดุที่มี และใช้สิ่งที่เรามีก่อสร้าง ถ้าเรามีไม้ไผ่เยอะ เราก็ใช้ไม้ไผ่

เมื่อเดือนกุมภาฯ ผมทำบ้านไม้ไผ่ทั้งหลังโดยไม่ให้มีตะปู ไม่ให้มีลวดเลย เพราะไม้ไผ่ทางเชียงใหม่ มีเยอะ

เรื่องบ้านดิน คิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่เห็นได้ในตอนนี้สำหรับชีวิตคนเรา ในเรื่องที่อยู่อาศัย อยู่แล้วสุขภาพดีเพราะว่ามันไม่มีฝุ่น ดินช่วยดูดสิ่งที่ไม่ดีออกจากร่างกาย อย่างเช่นคนเมาเห็ด เขาจะเอาฝังดิน ฝังให้เหลือแค่คอ ก็ดูดพิษออกได้ เวลาอยู่บ้านดินจะทำให้เรารู้สึกดี รู้สึกสบาย เพราะอุณหภูมิในห้องจะสม่ำเสมอมาก ความสม่ำเสมอของอุณหภูมิคิดว่า มีผลต่อสุขภาพเราด้วย ก็น่าจะมีประโยชน์กว่าอยู่บ้านชนิดอื่นๆ

*** ทำไมถึงสนใจเรื่องเมล็ดพันธุ์
สาเหตุที่สนใจเรื่องเก็บเมล็ดพันธุ์ก็คือ ผมเริ่มสังเกตจากชาวบ้านที่ปลูกแตงโมที่บ้าน เพราะว่า การปลูกแตงโม เริ่มเป็นการลงทุนที่มหาศาลขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากราคาของเมล็ดพันธุ์แพงขึ้นๆ จากตอนแรก เราเคยเก็บเมล็ดพันธุ์แล้วก็ปลูกเอง ต่อมามีบริษัทเอาเมล็ดพันธุ์มาแจกเราก็แจกต่อ แจกไปแจกมา เราก็ต้องซื้อเขาเพราะเขาเลิกแจก และเราชอบเมล็ดพันธุ์ของเขา จากนั้นราคา เมล็ดพันธุ์ ก็แพงขึ้นๆ เรื่อยๆ ในขณะที่ราคาแตงโมยังเท่าเดิม หรือไม่ต่างจากเดิมนัก

ผมสังเกตเห็นว่ามันเริ่มจะขยายขอบเขตจากแตงโมไปเป็นมะละกอ ไปเป็นผักชีฝรั่ง ไปเป็นอะไร อีกหลายอย่าง รู้สึกว่ามันกินเนื้อที่เร็วมาก จึงทำให้เกิดความกลัวขึ้นมาว่า ถ้าเราซื้อทุกอย่าง อะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตเรา ทันทีที่เราซื้อของเขาเมล็ดพันธุ์ของเราก็สูญหายไป เราไม่สามารถ กลับไปหา เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านได้อีกแล้ว ยิ่งทุกวันนี้หลายอย่างราคาหมื่นขึ้นทั้งนั้นเลย ยิ่งรู้สึกตกใจมาก เพราะมันขยายไปเร็วมาก เร็วจนไม่คิดว่า จะไปได้ขนาดนั้น ถ้าราคากิโลละ เป็นหมื่นขึ้นไป ชาวบ้านที่มีรายได้ต่อปี ปีละหมื่นสองหมื่น ก็หมายความว่า มากกว่าครึ่งหนึ่ง ของรายได้ ถูกใช้ไปเพื่อค่าเมล็ดพันธุ์ แล้วเราจะอยู่ได้ยังไง อันนี้ก็ทำให้ผมคิด เรื่องเมล็ดพันธุ์มาก และช่วงไม่กี่ปีมานี้ ก็มีเรื่อง GMO มาอีก ยิ่งทำให้คิดเรื่องเมล็ดพันธุ์มากขึ้น เพราะว่ามันคืออาหาร ถ้าอาหารที่เรากินไม่ปลอดภัย ชีวิตเราจะอยู่เพื่ออะไรกัน ทำให้เป็นห่วงมาก อาหาร GMO ไม่ใช่อาหารปกติ และก็ไม่มีใครรับรองความปลอดภัยของมันได้ เราจะเชื่อนักวิทยาศาสตร์หมด ไม่ได้ เพราะนักวิทยาศาสตร์ก็เคยทำผิดพลาด มาเยอะเหมือนกัน อย่างกรณีดีดีทีใช่ไหม องค์การสหประชาชาติ เคยประกาศว่า ดีดีทีเป็นสารเคมีที่มีประโยชน์ ให้ทุกประเทศใช้ดีดีที เพื่อปราบยุง หลังจากนั้น ๔๐ ปีถึงได้รู้ว่า ดีดีทีมีอันตราย ถึงได้ออกกฎหมาย ห้ามใช้ดีดีทีกัน อันนี้คือ ความผิดพลาดของนักวิทยาศาสตร์ ฉะนั้น ถ้ามันเกิดขึ้นกับเมล็ด GMO ล่ะ อีก ๔๐ ปีข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้นกับลูกหลาน ที่กินอาหาร GMO ใครจะรับผิดชอบ ก็เลยคิดว่า เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ที่เราจะต้องรีบเก็บเมล็ดพันธุ์ ทำให้ผมตัดสินใจ ที่จะเลิกหลายสิ่ง หลายอย่าง เพื่อทุ่มเทกับเรื่องเมล็ดพันธุ์

*** สถานการณ์ของเมล็ดพันธุ์
ผมรู้สึกว่า ตอนนี้เราอยู่ในขั้นที่ล่อแหลมมา เป็นเรื่องน่าห่วงกว่าทุกเรื่องเพราะเมล็ดพันธุ์ ถือว่าเป็นมรดก ชิ้นสุดท้าย ที่เผ่าพันธุ์มนุษย์เหลืออยู่ ก่อนที่จะโดนย่ำยีทำลายมากกว่านี้ และ สิ่งที่ผมอยากบอก คือผมรู้สึกว่า มองไปทางไหนก็มืดมน ฉะนั้น ถ้าจะทำให้มีแสงสว่างเกิดขึ้น เพื่ออนาคตอันงดงาม และการอยู่รอดของเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านแท้ๆของเราก็หวังว่า คงมีหลายคน ที่คิดเป็นห่วงเป็นใยเรื่องนี้ และคงมีหลายคน อยากสะสมเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน มากขึ้นกว่านี้ แทนที่จะไปสะสมของเก่า ขอบโบราณ สะสมแสตมป์ เรามาสะสมเมล็ดพันธุ์ เพื่อลูกหลานของเราดีไหม และเพื่อตัวเราด้วย

*** แนวคิดการสร้างเครือข่ายเมล็ดพันธุ์
สิ่งแรกที่ผมทำก็คือ ผมต้องเก็บเองก่อน เพิ่งเริ่มปีนี้เอง ทำมาได้ ๒ เดือนแล้ว ขอจากชาวบ้าน และเก็บจากชาวเขา มาเพื่อรวบรวมไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จากนั้นก็อยากจะเชื่อมกับ กลุ่มองค์กรอะไรก็ตาม ที่สนใจเรื่องการพึ่งตนเอง เรื่องเมล็ดพันธุ์ แล้วมาพูดคุยกันมากขึ้น ในเรื่องเก็บเมล็ดพันธุ์ แลกเปลี่ยนกันมากขึ้นในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ และในอนาคต ก็อยากจะให้ มีการรณรงค์ร่วมกัน เพื่อจะกลับมากินอาหารของเรา ไม่ใช่กินอาหารของเขา อันนี้จะทำให้ เรามีความมั่นคงมากขึ้นในชีวิต ถ้าหากว่าเราครอบครองอาหารของเราจริงๆ คือมีเมล็ดพันธุ์ ของเราเอง ปลูกกินเอง นี่จะเป็นการพึ่งตนเองที่แท้จริง ผมอยากจะเชื่อมกับทุกกลุ่ม ที่สนใจ ในเรื่องนี้ และอยากทำงานร่วมกัน แล้วจะเชื่อมกับต่างประเทศด้วย

การสร้างเครือข่ายเป็นทางรอด เพราะว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ทำคนเดียวไม่ได้ แล้วก็ไม่ใช่เรื่อง ของคนๆ เดียว มันเป็นเรื่องของมนุษยชาติ ทั้งเผ่าพันธุ์สัตว์ทุกชนิด ก็ต้องอาศัยเมล็ดพันธุ์ ในขณะที่เรา ปล่อยให้บริษัทไม่กี่บริษัท ครอบครองเมล็ดพันธุ์เพียงคนเดียว แล้วก็ทำลาย เมล็ดพันธุ์ที่ดี ให้สูญสลายกลายเป็นสิ่งที่ไม่ดีขึ้นมา ถือว่าเป็นการทำลาย เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ฉะนั้นก็จำเป็นต้องอาศัยหลายๆ คนช่วยกัน การสร้างเครือข่ายจึงถือว่าจำเป็น ผมอยากให้ กลุ่มต่างๆ มีการเก็บเมล็ดพันธุ์กันเอง อย่างน้อย แต่ละกลุ่มควรจะต้องมีรายชื่อ เมล็ดพันธุ์ของ ตัวเองว่าเรามีอะไรอยู่บ้าง เพื่อกลุ่มอื่นจะได้มาเช็คดูว่ามีอะไรบ้างที่เขาไม่มี จะได้ขอไป หรืออะไรบ้าง ที่เขามี จะได้ให้เรามา จะได้เกิดการแลกเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ

การสะสมเมล็ดพันธุ์นี้ หนึ่งเรากินได้ ประการที่สองเราสามารถผสมพันธุ์กันตามวิธีธรรมชาติ ทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ เกิดการคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์โดยพวกเราเอง ซึ่งเราควบคุมได้ เราทำตาม ขบวนการธรรมชาติ สามารถได้พันธุ์ดีๆ ที่มีคุณภาพขึ้นมา แล้วเราก็แจกจ่ายกันพัฒนา ในแนวทาง ที่ยั่งยืน ไม่ใช่พัฒนาเพื่อการผูกขาด ฉะนั้นเรื่องนี้น่าจะทำให้เกิดความสนุก

อันนี้เราไม่ได้สู้กับนายทุนแต่เราสู้กับตัวเอง เราไม่จำเป็นต้องไปสู้กับเขา สู้กับตัวเองให้ได้แค่นั้นพอ

*** รูปแบบการต่อสู้กับธุรกิจทุนนิยม
ผมคิดว่า ไม่ใช่เรื่องอยาก เพราะสงครามสมัยก่อนเราใช้อาวุธเป็นเครื่องมือ แต่สงครามวันนี้ เราใช้การไม่ร่วมมือ เป็นเครื่องมือ คือ พยายามอยู่เฉยๆ ให้มากที่สุด เขาจะแพ้ แต่ถ้าหากเรายังดิ้น กระเสือกกระสนอยู่ เขาจะชนะ ฉะนั้นเราต้องหยุดนิ่ง คือไม่ซื้อ ไม่ใช้เงินโดยไม่จำเป็น นี่คืออาวุธ ที่ร้ายแรงมาก เขากลัวมาก สิ่งที่ทุนนิยมกลัวที่สุดคือ ความเข้มแข็งของชุมชน และการพึ่งตนเอง ทันทีที่เราพึ่งตนเองได้ ทันทีที่เราเข้มแข็ง ทุนนิยมจะตายและอยู่ไม่ได้ ซึ่งเป็นอาวุธง่ายๆ แต่เราทำได้ไหม

การช่วยเกษตรกรในเรื่องของเมล็ดพันธุ์
ต้องให้เกษตรกรเปลี่ยนความคิดก่อนถึงจะช่วยได้ นอกจากความคิดแล้วไม่มีอะไร ช่วยเกษตรกร ได้เลย คือเปลี่ยนความคิดจากคิดทำเพื่อขาย มาคิดทำเพื่ออยู่เพื่อกิน เพราะทันทีที่คิดทำเพื่อขาย ตายแล้ว ไปไม่รอดแล้ว แต่ถ้าทำเพื่ออยู่เพื่อกิน เราจะเริ่มมีเงินทันทีเลย อันนี้พอมาคิดถึง การพึ่งตนเอง มันอยู่ได้ ฉะนั้นทำยังไงถึงจะให้เกษตรกรรู้สึกว่าอยากจะกลับมาพึ่งตนเอง นี่คือทางรอด เราทำแค่นี้เอง ถ้าทำตรงนี้ได้เราก็รอด ไม่ต้องทำอะไรมากกว่านั้นเลย ไม่ต้องใช้เงิน ด้วย

*** หลักคิดในการพึ่งตนเอง
องค์ประกอบง่ายๆ ก็คือพึ่งตัวเองให้ได้ในปัจจัย ๔ อย่างบ้านเราทำได้ด้วยดิน เราพึ่งตัวเองง่ายๆ ทำบ้านดิน บ้านไม้ไผ่ ก็ได้ อาหารเราทำเอง ปลูกเองได้ ถ้าเรามีเมล็ดพันธุ์ เราจะพึ่งตนเองได้ ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะปุ๋ยเราก็ไม่ใช้ เราทำจุลินทรีย์ เราทำอะไรกันอยู่แล้ว เสื้อผ้านี่ถึงแม้ว่า จะปิดโรงงานทอผ้าทั่วโลกไปอีกสัก ๒๐-๕๐ ปี เราก็ยังมีเสื้อผ้าใช้ไม่หมด ยารักษาโรค ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เราใช้สมุนไพรที่มีอยู่แล้ว

ก็ยอมรับความเป็นจริงของชีวิตเท่านั้นเอง ชีวิตจะง่ายขึ้น สุขภาพก็ดีขึ้น ถ้าชีวิตยากจิตใจก็ไม่ดี สุขภาพก็แย่ลง

ฉะนั้นการอยู่ง่ายๆคือเป้าหมายหลักของการพึ่งตนเอง แต่คนเราไม่ค่อยคิดถึงความง่าย ตอนนี้โลกทั้งโลก กำลังวิปริต ลองมองดูซิว่า ในอดีตที่ผ่านมา มนุษย์มีเวลานอนพักผ่อน มีเวลาเล่นดนตรี สร้างงานศิลปะขึ้นมาได้ แต่มนุษย์ยุคนี้ ไม่มีเวลาคิด ชีวิตเต็มไปด้วยความยุ่งยาก เขาทำงานมากเกินไป แต่เขาทำงานเพื่อใครก็ไม่รู้ ทำให้มองเห็นว่านี่คือโลกกำลังเกิดความวิปริต

*** สุดท้ายอยากบอกว่า
ชีวิตเราจะมีความสงบสุขหรืออิสระไม่ได้ถ้าเราพึ่งตัวเองไม่ได้ การพึ่งตนเองคือปัจจัยหลัก ในการมีชีวิตอยู่ คือสาระสำคัญของการมีชีวิตอยู่ของชีวิตทุกชีวิต ไม่ว่าคนหรือสัตว์ แต่ว่าทุกวันนี้ ไม่ว่าสื่อหรืออะไรต่างๆ ไม่สนับสนุนให้เราพึ่งตัวเอง เพราะระบบทุนนิยมเขากลัวมาก รังเกียจ การพึ่งตนเองมาก หรือรังเกียจความเข้มแข็งของปัจเจก ฉะนั้นเราจะต้องฝืนกระแส คือฝืน การพึ่งเขา มาเป็นการพึ่งตนเอง กระแสที่จะบอกให้เราพึ่งเขาตลอด ซื้อของเขาตลอด เราต้องฝืน ตรงจุดนี้เพื่อให้กลับมาให้พึ่งตัวเอง แค่นี้แหละเราก็จะพบกับความง่าย ความสะดวกสบายในชีวิต



IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #632 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 15:16:44 »

วันนี้ลองสืบหาข้อมูลเครื่องสีข้าวขนาดเล็กครับ รุ่นสิงห์สยาม รุ่น MS 100 RM   หาข้อมูลในเว็ป ร้านสากลการเกษตรเป็นตัวแทนจำหน่ายอยู่เลยลองโทรไปสอบถามครับ  ราคาเครื่องละ  40,000 บาท สามารถสีได้ทั้งข้าวขาวและข้าวกล้อง การกระเทาะเปลือกโดยใช้ลูกยาง ซึ่งจะไม่มีเศษหินให้กวนใจเหมือนเครื่องที่ใช้หินขัด  ลูกยาง 1 ลูกสามารถใช้งานได้ประมาณ 40 กส.(น้อยไปเปล่า)  ลูกยางราคา 420 บาท  สำหรับการสีข้าวขาวสีรอบเดียว แต่หากเป็นข้าวกล้องแล้วแต่สายพันธุ์อย่างมากก็สี 2 รอบ  ดูแล้วก็น่าสนใจทีเดียวเพราะอยากได้เครื่องที่ไม่เสียงดัง แต่ก็ได้ศึกษาไปเรื่อย ๆ ก่อน เผื่อเจอเครื่องที่ถูกใจกว่านี้เพราะกว่าจะได้ใช้ก็สิ้นปี ส่วนสิ้นนาปรังนี้ต้องซื้อรถดำนาให้ได้ก่อนครับ เอามาให้ดูเผื่อใครสนใจครับ



รุ่น MS 100 RM
ลักษณะการใช้งาน สีข้าวกล้อง และข้าวขาว สีข้าวกล้อง และข้าวขาว
ขนาดมอเตอร์ (แรงม้า) 1 แรงม้า 1.5 แรงม้า
รอบการทำงานของมอเตอร์ / นาที 1,440 รอบ/นาที 1,440 รอบ/นาที
กำลังไฟฟ้าที่ใช้ (โวลต์) 220 โวลต์ 220 โวลต์
ระบบส่งกำลัง สายพาน สายพาน
ลูกกลิ้งกระเทาะเปลือก ลูกยาง ลูกยาง
ขนาดลูกกลิ้ง Diameter (มม.) 101.60 x 40.64 มม. 101.60 x 40.64 มม.
ขนาดตัวเครื่อง ( ก x ย x ส ) ซม. 75 x 46 x 110 ซม. 75 x 46 x 110 ซม.
น้ำหนักเครื่องมาตรฐาน 96 กิโลกรัม 96 กิโลกรัม
ประสิทธิภาพการทำงาน 50 - 60 กิโลกรัม / ชั่วโมง 50 - 60 กิโลกรัม / ชั่วโมง

IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #633 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 16:34:28 »



  ผมว่าคนที่ไม่เคยทำนามาก่อนอ่านกระทู้นี้จบนะ ทำนาเป็นเลยหละ ครบๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #634 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 18:32:52 »



  ผมว่าคนที่ไม่เคยทำนามาก่อนอ่านกระทู้นี้จบนะ ทำนาเป็นเลยหละ ครบๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
อยากทำ...แต่ตี้นาแปงเกิน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #635 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 20:40:04 »



  ผมว่าคนที่ไม่เคยทำนามาก่อนอ่านกระทู้นี้จบนะ ทำนาเป็นเลยหละ ครบๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

ขอบคุณครับ ก็พยายามนำเนื้อหามาให้ครอบคลุม นำวิธีการทำนาของชาวนาตัวอย่างมาหลายคนเพื่อศึกษา อยากให้ชาวนารุ่นใหม่มีความเข้าใจในการทำนา ที่ปลอดภัย  ที่นาแต่ละแห่งมีความแตกต่างทั้งดิน สภาพแวดล้อม วิถีการทำนาของชาวบ้าน เราก็ควรนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม  ซึ่งพวกเราค่อนข้างโชคดีที่สามารถศึกษาค้นคว้าจากสื่อต่าง ๆ ได้ต่างจากชาวบ้านชาวนารุ่นเก่าทั่วไป ที่ทำนาตามสังคมซะส่วนใหญ่ นานๆทีจะมีคนมาให้ความรู้บ้างแต่ก็เห่อเป็นพัก ๆ ทำผิด ๆ ถูก ๆ พอเห็นว่าไม่ได้ผลก็กลับไปทำนาแบบเดิมตาม ๆกัน อย่างพี่ ๆ เพื่อน ๆ แถวบ้านที่เริ่มทำนาพร้อมเดียวกันกับผมที่แกไม่ได้ศึกษา ค้นคว้าแกก็ทำนาตามแบบรุ่นพ่อรุ่นแม่ซึ่งทำอย่างไหนก็ทำต่อแบบนั้น เราจะไปแนะเค้าก็ไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจหน้าที่เค้าไม่ฟัง ขนาดเราทำเป็นแบบอย่างให้เห็นเค้ายังไม่ทำตามเลยเค้ายังว่าเหนื่อยป่าวใช้เคมีสิสะดวกรวดเร็วดี (ยาเคมี: ยาคุมหญ้า ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ยาต้านกำจัดเชื้อราและโรคต่าง ๆ ) ถ้าไม่มีพวกเหล่านี้รับรองสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำธรรมชาติจะดีขึ้นกว่านี้อีกมากเลยครับ


* e0b89ee0b8ade0b980e0b89ee0b8b5e0b8a2e0b887.jpg (135.84 KB, 960x720 - ดู 1073 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #636 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 21:25:04 »



  ผมว่าคนที่ไม่เคยทำนามาก่อนอ่านกระทู้นี้จบนะ ทำนาเป็นเลยหละ ครบๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
อยากทำ...แต่ตี้นาแปงเกิน ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ที่นา แพงจริง ๆครับเดี๋ยวนี้จะซื้อนาเพิ่มทีละไร่เค้าก็ไม่ขายจะซื้อทีต้อง 4-5 ไร่ แถวบ้านก็ไร่ละ 4 แสนบาทแล้วครับ 5 ไร่ก็ 2 ล้านบาทแล้ว ทำนา 5 ไร่กว่าจะได้ 2 ล้านก็ใช้เวลาเกือบ 20 ปีหากกู้เงินมาซื้อนาก็คงทำนาส่งดอกเบี้ยหรือเก็บที่ดินเก็งกำไรเท่านั้นครับ แต่ทำนามาก ๆ ก็เหนื่อย  ผมก็เลยพยายามศึกษาวิธีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตในที่ดินที่มีอยู่ตัวเองมีอยู่ครับ ด้านแรงงานแถวบ้านก็ไม่ค่อยมี สุดท้ายก็ต้องพึ่งเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อลดแรงงานครับ ซึ่งก็ลงทุนพอสมควรแต่ก็ไม่ควรเกินตัว ผมโชคดีหน่อยที่มีงานประจำทำซึ่งพอยังมีเงินใช้เงินจ่าย เงินที่กำไรจากการทำนาก็พอไปลงทุนเพิ่มได้  ทำนาปีแรก ๆ จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงแทบไม่เหลืออะไร กว่าผมจะเริ่มปรับตัวได้ก็ 2-3 ปีตอนนี้กำลังจะซื้อรถดำนาก็ตัดสินใจซื้อรุ่นที่ถูกที่สุดล่ะครับ 135,000 บาทค่าถาดเพาะกล้าอีก 30,000 บาท ( กว่าจะตัดสินใจซื้อได้ใช้เวลาศึกษาเกือบ 2 ปีเล่นซะคนขายเหงื่อตก  ยิ้มกว้างๆ )  ที่ตัดสินใจซื้อรถดำนาเพราะตอนนี้หากจ้างดำนาแถวบ้านไร่ละ 1300-1400 บาท ปีหนึ่งผมต้องจ้างดำนาประมาณ 57,200 บาท รถดำนาน่าจะมีอายุการใช้งานมากกว่า 3 ปี หรือหากใช้งานครบ 3 ปีแล้วขายต่ออย่างน้อยก็คงได้เงินกลับคืนมาซัก 60,000 บาทก็น่าจะได้อยู่  ทำนารอบต่อไปหากมีเงินเหลือก็ต่อยอดต่อไปได้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
~ lทวดาไร้ปีก ~
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 609



« ตอบ #637 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 22:11:00 »

ด้วยที่แกจบด้านช่างมา แกก็ทำเครื่องใช้ในการทำเกษตรหลายอย่าง ตรงน้ำเข้านาแกก็เทคอนกรีตกั้นทำประตูน้ำเข้าน้ำออกเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมน้ำเช่นกัน ถึงแม้มีค่าใช่จ่ายแต่ก็ง่ายและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานครับ
อยากเห็นภาพตรงที่เทคอนกรีต หลายๆมุมจังเลยครับพี่อู๋ เผื่อเอาไปดัดแปลงทำที่นาบ้างครับ ดูแล้วคงทนง่ายดีครับ
เป็ดน้อยก็น่าฮักขนาดครับ


คล้ายแบบนี้ครับคือเทคอนกรีตเหมือนทางระบายน้ำแต่จะทำช่องสำหรับใส่แผ่นไม้ได้ เพื่อกั้นน้ำ ส่วนรูปทรงแล้วแต่จะออกแบบได้เลยครับ
ขอบคุณมากๆครับดูง่ายและสะดวกดี คงทนถาวรด้วย จะรอดูเล้าเป็ดนะครับพี่
IP : บันทึกการเข้า


Thanks: ฝากรูป [url=http
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #638 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 22:37:43 »

ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพคนไทย



การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนเกษตรกรที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช กำลังส่งสัญญาณว่าระบบเกษตรและอาหารของไทยอาจกำลังเข้าขั้นวิกฤต เมื่อสุขภาพของเกษตรกรถูกคุมคาม แน่นอนว่าผลกระทบจะถูกส่งต่อมายังสังคมไทยโดยรวม ทั้งในเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารในปัจจุบันและอนาคต

สถิติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่นับกรณีทำร้ายตนเอง) ค่อนข้างไม่เป็นเอกภาพและเป็นเพียงตัวเลขขั้นต่ำของจำนวนผู้ป่วยจริงในแต่ละปี การเก็บข้อมูลส่วนใหญ่มาจากระบบฐานข้อมูลการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นเพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แต่ในความเป็นจริงมีผู้ป่วยที่ไม่เข้ารับการรักษาในระบบจำนวนมาก และความเชื่อมโยงของการป่วยและสารเคมีอาจไม่ชัดเจนในบางกรณี โดยเฉพาะในโรคเรื้อรังต่างๆ อย่างไรก็ตาม มีการประเมินว่าจำนวนผู้ป่วยที่แท้จริงอาจอยู่ที่ 200,000 – 400,000 คนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าปละใช้สารเคมีในประเทศ

ปัญหาจากการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในอาหารยังเป็นข้อกังวลสำคัญสำหรับสังคมไทย ประโยชน์ของการบริโภคผักและผลไม้อาจถูกหักล้างด้วยความเสี่ยงจากสารเคมี บ่อยครั้งที่การสำรวจความปลอดภัยของอาหารตามตลาดและซูเปอร์มาร์เก็ตให้ผลลัพธ์ที่น่าตกใจ ไม่เพียงแค่กรณีที่มีปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ แต่รวมถึงกรณีที่พบสารเคมีที่ห้ามใช้ในพืชผักชนิดนั้นๆ และการตรวจพบสารเคมีในสินค้าที่อ้างว่าเป็นผักปลอดสารพิษ ปัญหาเหล่านี้ก็ได้ถูกสะท้อนในระดับประเทศเช่นเดียวกันจากกรณีการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพืชผักส่งออกที่ได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นที่จะเป็นครัวโลกของไทย



แม้ว่าปัญหาทางสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรที่ได้รับพิษเฉียบพลัน เช่น  คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น แต่ภัยมืดที่อันตรายกว่าคือพิษสะสมจากการสัมผัสสารเคมีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การอยู่ใกล้พื้นเกษตรกรรมที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก และการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีตกค้าง ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง เบาหวาน พาร์คินสัน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น สถิติการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าสังคมไทยกำลังผจญกับความเสี่ยงด้านสารเคมีและมลพิษ ดังนั้น หนึ่งในทางออกคือการกลับมาทบทวนและปรับปรุงกลไกการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตและการบริโภคอาหาร ให้มีคุณภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น

IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #639 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 22:41:54 »

ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอาจเป็นความสนใจอันดับท้ายๆ ของรัฐและสังคมไทย ภายใต้แรงกดดันให้ต้องเร่งเพิ่มผลผลิตและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันกับต่างประเทศ แต่ทรัพยากรทางธรรมชาติที่กำลังลดน้อยลงและความสมดุลทางนิเวศที่ถูกคุมคาม กำลังส่งผลกระทบที่ไม่คาดคิดย้อนกลับมาที่ระบบเกษตรกรรมที่เป็นอยู่เช่นกัน

 

ประสิทธิภาพ หรือ ความอันตราย?

          ประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชประเมินได้จาก 3 เกณฑ์สำคัญคือ ฤทธิ์ในการฆ่าศัตรูพืช ความเจาะจง และเวลาของการตกค้าง แต่การให้ความสำคัญกับฤทธิ์หรือความเป็นพิษสูงทำให้สารเคมีที่ไม่เจาะจง (broad-based spectrum) เช่น ไกลโฟเสทและคาร์โบฟูราน ถูกนำเข้าและใช้มากที่สุดในประเทศ พร้อมกับการก่อความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม สัตว์ และพืชที่เป็นประโยชน์

 

การปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบ

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกใช้จะมีเพียง 0.1% เท่านั้นที่ถึงศัตรูพืชเป้าหมาย (targeted pests) ส่วนอีก 99.9% จะปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ปัญหาอาจลดลงหากสารเคมีสามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่อัตราการสลายตัวหรือค่าครึ่งชีวิต (half-life) มีความแตกต่างกันตามชนิดและสภาพแวดล้อม  สารเคมีบางประเภทเป็นพิษสูงต่อสัตว์ที่มีประโยชน์บางชนิด เช่น สารเคมีในกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (neonicotinoid) เป็นหนึ่งในสาเหตุของปรากฏการณ์ Colony Collapse Disorder (CCD) ที่ผึ้งทั้งฝูงล้มตาย และสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อปริมาณผลผลิตและการขยายพันธุ์พืช ที่สำคัญ สารเคมีที่สามารถสะสมในสิ่งมีชีวิตและเพิ่มอัตราความเข้มข้นตามระดับของห่วงโซ่อาหาร (biomagnification) จะยิ่งเป็นปัญหาต่อนิเวศทั้งระบบ

การย่อยสลายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มต่างๆ
 
สารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอรัส หรือออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphorus or organophosphate pesticides) เช่น ไดโครโตฟอสและอีพีเอ็น สามารถตกค้างในดินที่มีความเป็นกลางไม่กี่ชั่วโมงถึงหลายอาทิตย์ แต่จะมีอายุยาวนานขึ้นหลายเท่าตัวหากดินมีความเป็นกรดเล็กน้อย

สารเคมีกลุ่มคาร์บาเมต (carbamate) เช่น คาร์โบฟูราน ออลดิคาร์บ และเมโทมิล ตกค้างในดินมากที่สุดประมาณ 50 อาทิตย์และในน้ำประมาณ 30 อาทิตย์

สารเคมีในกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (neonicotinoid) เช่น อิมิดาคลอพริด ใช้เวลาประมาณ 34 วันในการสลายตัวจากแสงอาทิตย์ แต่อาจตกค้างยาวนานเกือบ 4 ปี หากไม่โดนแสงอาทิตย์หรือไม่มีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย จึงอาจปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดินได้

สารเคมีกลุ่มไพริทริน (pyrethrin) มีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 12 วันถึง 8 อาทิตย์ แต่มีอายุยาวนานขึ้นในพื้นที่ที่แสงส่องไม่ถึง ทั้งนี้ สารเคมีกลุ่มที่มีอัตราการสลายตัวช้าที่สุดและยังมีความอันตรายสูงคือกลุ่มออร์กาโนคลอรีน (organochlorine) เช่น DDT และ เอนโดซัลแฟน ซึ่งใช้เวลาย่อยสลายในดินได้ประมาณ 1 – 15 ปี ดังนั้น จึงยังมีสารเคมีเหล่านี้ตกค้างในลุ่มแม่น้ำและคลองแยกต่างๆในปริมาณค่อนข้างสูง (แม้ว่าประเทศไทยได้ยกเลิกการใช้ไปแล้วแต่ยังมีการลักลอบนำเข้าและใช้อยู่ในปัจจุบัน)
 

สารเคมีบางส่วนที่ถูกดูดซึมเข้าไปในพืชและอยู่บนต้นพืชจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อตัวห้ำตัวเบียนหรือนกที่กินแมลงที่มีสารเคมีตกค้าง หรือแม้กระทั้งสัตว์นักล่า ดังกรณีที่สิงโตในเคนย่าตายหลังการกินซากฮิปโปโปเตมัสที่มีคาร์โบฟูรานในร่างกาย      เมื่อสารเคมีซึมลงสู่ดิน ไส้เดือนและสัตว์ในดินที่มีประโยชน์อื่นๆจะได้รับพิษโดยตรง ความสูญเสียของประชากรสัตว์เหล่านี้ทำให้ดินเสื่อมสภาพลง น้ำซึมผ่านลงดินได้ยากขึ้น สารอินทรีย์ในดินลดลง และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชที่เพาะปลูก  ในขณะเดียวกัน สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำยังทำให้ปลาหลายชนิดตาย ซึ่งบางครั้งเป็นผลกระทบทางอ้อมจากการที่สารเคมีไหลลงแหล่งน้ำและทำลายระบบนิเวศในน้ำ ปลาจึงขาดออกซิเจนในการหายใจ การได้รับสารเคมีอย่างต่อเนื่องยังอาจทำให้ปลาเกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ซึ่งจะสร้างความเสียหายระยะยาวต่อความอยู่รอดและการเจริญพันธุ์



การต้านทานและการระบาดของศัตรูพืช

          ผลกระทบต่อสัตว์ที่มีประโยชน์ทำให้ระบบนิเวศไม่สามารถรักษาสมดุลทางธรรมชาติไว้ได้ ศัตรูพืชที่ได้รับสารเคมีอย่างต่อเนื่องยังสามารถปรับตัวและพัฒนาความต้านทานต่อสารเคมี จนกระทั่งก่อให้เกิดการระบาดของศัตรูพืช โดยในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ศัตรูพืชที่มีความต้านทานสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีมากกว่า 1,000 ชนิด การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวและเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังซึ่งมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้นได้บ่งบอกถึงความอ่อนแอของระบบนิเวศในปัจจุบัน จากรายงานของสถาบันพัฒนามันสำปะหลัง(2552) “การระบาด (ของเพลี้ยแป้ง) ในลักษณะและระดับความรุนแรงนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อนในการปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทย” ดังนั้น ผลลัพธ์หนึ่งที่ตามมาคือเกษตรกรเพิ่มการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และยิ่งสร้างผลเสียระยะยาวต่อระบบนิเวศที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูโดยวิถีธรรมชาติ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 [32] 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!