เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 05:59:15
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 [82] 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 ... 95 พิมพ์
ผู้เขียน {{ เรื่องของข้าว การทำนาและเกษตรผสมผสาน }}  (อ่าน 406912 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1620 เมื่อ: วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2014, 21:32:30 »

ไปดูรูปนาหว่านของคนอื่นบ้างบรรยากาศดีทีเดียว


* 20140216_180213.jpg (53.28 KB, 700x525 - ดู 371 ครั้ง.)

* 20140216_180218.jpg (50.66 KB, 700x525 - ดู 370 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1621 เมื่อ: วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2014, 21:36:42 »

แปลงนี้ก็บรรยากาศดีครับ อยู่ใกล้ ๆ บ้านนี่เอง


* 20140216_181308.jpg (90.41 KB, 700x525 - ดู 371 ครั้ง.)

* 20140216_181329.jpg (82.16 KB, 700x525 - ดู 384 ครั้ง.)

* 20140216_181153.jpg (74.8 KB, 700x525 - ดู 366 ครั้ง.)

* 20140216_181450.jpg (50.94 KB, 700x525 - ดู 363 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #1622 เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2014, 13:36:48 »

แปลงนี้ก็บรรยากาศดีครับ อยู่ใกล้ ๆ บ้านนี่เอง
เข่าท่าดีครับ ดอกก่ได้ขาย ปลาก่ได้กิ๋น ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Khunplong
สมาชิกลงทะเบียน
มัธยม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 836



« ตอบ #1623 เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2014, 16:24:19 »

แวะมาเยี่ยมเยือนครับ ชาวนาบ้านนี้ขยันจริงๆครับ ทำนาแบบคนรุ่นใหม่ประหยัดต้นทุนไปได้เยอะเลยครับ อ้ายอู๋ไม่ลองปลูกข้าวเพื่อสุขภาพบ้างเหรอครับจะได้ขายได้ในราคาดีๆ ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ไร่จันทร์กะสิน By Khunplong (ขุนปล้อง)
08-9432-5413(DTAC)09-3130-9451(AIS) @140 ม.10 ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย 57230 https://www.facebook.com/jatupong.tapiang
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1624 เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2014, 21:21:37 »

แปลงนี้ก็บรรยากาศดีครับ อยู่ใกล้ ๆ บ้านนี่เอง
เข่าท่าดีครับ ดอกก่ได้ขาย ปลาก่ได้กิ๋น ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

แม่นละครับ  ดอกดาวเรืองเอาไปถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะหมายถึงจะพบแต่ความรุ่งเรือง ถ้าดอกบัวหมายถึง ความสุข, ความสำเร็จ  ป้าข้างบ้านผมปลูกดอกเบญจมาศขายก็รายได้ดีเหมือนกั๋นหนาครับเป็นไม้ล้มลุกออกดอกตลอดปีชอบแสงแดด และมีผลวิจัยว่าดอกเบศจมาศมีประสิทธิภาพ ในการดูดสารพิษสูงมาก จำพวกสารพิษ ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย เหมาะสำหรับปลูกในบริเวณบ้านครับ


* biodiversity-122012-1.jpg (148.69 KB, 640x480 - ดู 370 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1625 เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2014, 21:26:53 »

แวะมาเยี่ยมเยือนครับ ชาวนาบ้านนี้ขยันจริงๆครับ ทำนาแบบคนรุ่นใหม่ประหยัดต้นทุนไปได้เยอะเลยครับ อ้ายอู๋ไม่ลองปลูกข้าวเพื่อสุขภาพบ้างเหรอครับจะได้ขายได้ในราคาดีๆ ยิ้ม

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมเยือน ข้าวเพื่อสุขภาพอยากจะทำอยู่เหมือนกันครับแต่ต้องรอฮื้อพร้อมแหมน้อยก่อนครับ
IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #1626 เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2014, 21:43:18 »

 ยิ้มกว้างๆ....ตั้งแต่ช่วงลงนาปรังไม่ค่อยได้ออนไลน์บ่อย......ของผมลงนาหว่านไป17-18ไร่...นาำดำอีก50ไร่....เหลือแค่ดำนาอีกประมาณ10ไร่พรุ่งนี้คาดว่าจะดำนาเสร็จครับ.....เงินขายข้าวนาปีก็ยังไม่ได้....นาปรังลงทุนไปแสนกว่าๆแล้วครับ...
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1627 เมื่อ: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2014, 16:49:38 »

ยิ้มกว้างๆ....ตั้งแต่ช่วงลงนาปรังไม่ค่อยได้ออนไลน์บ่อย......ของผมลงนาหว่านไป17-18ไร่...นาำดำอีก50ไร่....เหลือแค่ดำนาอีกประมาณ10ไร่พรุ่งนี้คาดว่าจะดำนาเสร็จครับ.....เงินขายข้าวนาปีก็ยังไม่ได้....นาปรังลงทุนไปแสนกว่าๆแล้วครับ...

ข้าวนาปรังรอบนี้สงสัยเฮาจะได้ขายฮื้อพ่อค้าหรือโรงสีละก้าครับ  เห็นว่าทางรัฐยังบ่ามีนโยบายรองรับเรื่องราคาข้าวรอบนี้ เฉพาะเรื่องเงินที่จะมาจ่ายฮื้อชาวนาที่ยังบ่าได้รับเงินเตื้อตอนนี้ก็ลำบากแล้ว  ตอนนี้ราคาข้าวนาปรังที่พิษณุโลกก็ประมาณ 6.50 บาท/ ก.ก.เองครับ ที่สุพรรณ 6.90 บาท/ก.ก.  บ่าแน่ใจว่าเชียงรายจะเหลือกี่บาทครับ
IP : บันทึกการเข้า
เสือซุ่ม
Luckyim
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,313



« ตอบ #1628 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 09:10:24 »

ตอนเราใส่ปุ๋ยในนาข้าว ต้องรอให้น้ำแห้งก่อนไหมครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

***มักน้อย มีสาระ สันโดษ ทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม***
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #1629 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 13:06:47 »

ตอนเราใส่ปุ๋ยในนาข้าว ต้องรอให้น้ำแห้งก่อนไหมครับ ยิงฟันยิ้ม

 ยิ้มกว้างๆ....ปกติผมใส่ปุ๋ยน้ำพอขลุกขลิกครับ....แต่ไม่ใส่ช่วงน้ำไหล
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
เสือซุ่ม
Luckyim
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,313



« ตอบ #1630 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 14:26:15 »

ตอนเราใส่ปุ๋ยในนาข้าว ต้องรอให้น้ำแห้งก่อนไหมครับ ยิงฟันยิ้ม

 ยิ้มกว้างๆ....ปกติผมใส่ปุ๋ยน้ำพอขลุกขลิกครับ....แต่ไม่ใส่ช่วงน้ำไหล

ขอบคุณมากครับ...
IP : บันทึกการเข้า

***มักน้อย มีสาระ สันโดษ ทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม***
jon
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #1631 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 14:58:46 »

ผมกำลังทำนา ปีนี้ปีแรก ซึ่งไม่เคยปลูกครับ และผมจ้างรถปลูก ตอนนี้ปลูกได้ 17 วันแล้ว ผมใช้ยาคุมหญ้า หมาแดง เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา และผมจะต้องใส่ปุ๋ยอีกเมื่อไหร่ครับ และใช้ปุ๋ยสูตรอะไรดี ครับ ขอความรู้หน่อย
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1632 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 16:00:59 »

ตอนเราใส่ปุ๋ยในนาข้าว ต้องรอให้น้ำแห้งก่อนไหมครับ ยิงฟันยิ้ม

 ยิ้มกว้างๆ....ปกติผมใส่ปุ๋ยน้ำพอขลุกขลิกครับ....แต่ไม่ใส่ช่วงน้ำไหล

ขอบคุณมากครับ...

ตามท่าน bm เลยครับ น้ำมากเกินไปจะไปเจือจางปุ๋ย ยิ่งน้ำไหลจะพัดพาธาตุอาหารที่เกิดจากการละลายไปกับน้ำได้ครับข้าวจะงามเป็นจุด  ๆ  การใส่ปุ๋ยโดยที่น้ำพอเหมาะช่วยประหยัดปุ๋ยได้มากครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1633 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 16:22:19 »

ผมกำลังทำนา ปีนี้ปีแรก ซึ่งไม่เคยปลูกครับ และผมจ้างรถปลูก ตอนนี้ปลูกได้ 17 วันแล้ว ผมใช้ยาคุมหญ้า หมาแดง เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา และผมจะต้องใส่ปุ๋ยอีกเมื่อไหร่ครับ และใช้ปุ๋ยสูตรอะไรดี ครับ ขอความรู้หน่อย

หากวัชพืชตายบ้างแล้วก็ใส่ปุ๋ยได้เลยครับ ที่จริงใส่ได้ตั้งแต่หลังปลูกประมาณ 1 สัปดาห์แล้วครับเพราะรากของต้นข้าวหลังจากที่ขาดจากส้อมปักดำของรถดำนาจะสามารถสร้างรากใหม่เพื่อหาอาหารเองได้แล้วครับ ใส่ปุ๋ยระยะแรกเพื่อสร้างรากและลำต้น หากจะเร่งลำต้นก็ปุ๋ยไนโตรเจนหรือยูเรียมากหน่อยครับ  บางคนก็ใส่แต่ยูเรียนำไปก่อนซักสัปดาห์ แล้วค่อยตามด้วย 16-20-0 ก็มีครับ หรืออาจใส่พร้อมกัน 16-20-0 + 46-0-0  ก็ได้ครับราคาพอ ๆ กันจะดีกว่าใส่ 16-20-0 อย่างเดียว นาปลูกจะประหยัดปุ๋ยกว่านาหว่านน้ำตมมากครับ  ผมก็ปลูกรถดำนา นาผม 22 ไร่ตอนนี้ใส่ปุ๋ยรอบแรกไป 2 กส. ใช้เครื่องพ่นครับ จะไปหนักปุ๋ยในช่วงเร่งการแตกกอ และเริ่มตั้งท้องมากกว่าครับ  ช่วงนี้ข้าวต้นยังเล็กเหมือนเด็กการกินอาหารซึ่งก็กินไม่เยอะเท่าช่วงวัยรุ่น ให้เกินความจำเป็นก็ใบงามเกินไปอาจเป็นโรคหรือล่อแมลงมาได้ครับ   ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1634 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 21:05:05 »

ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง

          การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้นหมายถึง สูตร เรโชและรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสามอย่างนี้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวาง
         สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า "เกรดปุ๋ย" หมายถึง  ตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมีโดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2 O5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ยเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น 20-10-5 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจนว่ามีอยู่หนัก ๒๐ กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีอยู่ ๑๐ กิโลกรัมเลขตัวที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้มีอยู่ ๕ กิโลกรัม รวมเป็นธาตุอาหารทั้งหมด ๓๕ กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม และเป็นที่ทราบกันเป็นสากลว่าเลขตัวแรก คือ ไนโตรเจนตัวกลาง คือ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้าย คือ โพแทสเซียม จะไม่มีการสลับที่กัน จึงไม่จำเป็นต้องเขียนตัวหนังสือกำกับไว้
          เมื่อดินขาดธาตุอาหาร N P และ K ชนิดของธาตุอาหารในปุ๋ยที่ใส่ก็จะต้องมีธาตุ N P และ K แต่ถ้าดินขาดธาตุอาหาร N และ P ส่วน K ในดินตามธรรมชาติมีเพียงพออยู่แล้ว ธาตุอาหารในปุ๋ยก็ควรจะมีแต่ N และ P เท่านั้น อาทิ ดินนาในภาคกลางซึ่งขาดแต่ N และ P เป็นส่วนใหญ่ปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าวจึงมีแต่ N และ P เท่านั้น เช่น  ปุ๋ยสูตร 18-46-0, 28-28-0, 20-20-0 และ 16-20-0 เป็นต้น
          สำหรับ "เรโช" ของปุ๋ยนั้น เป็นสัดส่วนเปรียบเทียบกันระหว่างธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในสูตรปุ๋ยเรโชปุ๋ยจะบอกเป็นตัวเลขลงตัวน้อยๆ ระหว่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส (P2 O5 ) และโพแทสเซียม (K2 O) ของสูตรปุ๋ยนั้นๆ เช่น6-16-8 เท่ากับเรโช 2:2:1 ได้จากการหารตลอดด้วย 8 20-10-5 เท่ากับเรโช 4:2:1 ได้จากการหารตลอดด้วย 5
          ปุ๋ยเรโชเดียวกันสามารถมีได้หลายสูตร เช่น ปุ๋ยเรโช 1:1:1 จะมีสูตร เช่น

          สูตร                        เรโช                  ธาตุอาหารรวม กก./ปุ๋ย 100 กก.
          10-10-10               1:1:1                            30
          15-15-15               1:1:1                            45
          20-20-20               1:1:1                            60

          นั่นคือ ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่มีเรโชเดียวกัน จะแตกต่างกันที่ปริมาณธาตุอาหารรวม ที่มีอยู่ในปุ๋ย เช่น สูตร 10-10-10 มีธาตุอาหารรวม N P K หนัก ๓๐ กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม ส่วนปุ๋ย 20-20-20 มีธาตุอาหารรวมหนัก ๖๐ กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าปุ๋ยสูตรแรกเท่าตัว ปุ๋ยที่มีเรโชเดียวกัน จะบอกให้ทราบว่าเป็นปุ๋ยชนิดเดียวกัน สามารถใช้แทนกันได้ ดังนั้นถ้าใช้ปุ๋ย 10-10-10 อยู่โดยใช้อัตรา ๕๐ กก./ ไร่ สามารถเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ย 20-20-20 แทนได้แต่เนื่องจากปุ๋ยนี้มีธาตุอาหารรวมมากกว่า ก็จะต้องลดอัตราที่ใช้ให้น้อยลง คือใช้เพียง ๒๕ กก./ ไร่ เท่านั้น ก็จะได้ธาตุอาหารที่เท่ากัน
          ปุ๋ยเคมีจะมีสัดส่วนระหว่าง N:P:K แตกต่างกันแล้วแต่จะนำไปใช้กับชนิดของพืช และกับที่ดินที่มีระดับธาตุอาหาร N P และ K แตกต่างกันอย่างไร กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ก่อนใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องก็จะต้องรู้จักดินและรู้จักพืชที่ปลูกเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากดินแต่ละแห่งและแต่ละชนิดจะมีระดับธาตุอาหารปุ๋ยในดินแตกต่างกันส่วนพืชที่ปลูกต่างชนิดกันหรือแม้แต่อายุพืชแตกต่างกันก็มีความต้องการธาตุอาหาร N P K ในปริมาณและสัดส่วนเพื่อการเจริญเติบโตและสร้างผลิตผลแตกต่างกันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน
          ระดับธาตุอาหารพืชในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีอยู่มากน้อยเท่าใดนั้นสามารถตรวจสอบได้ด้วยการส่งตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของไร่นานั้นๆ มาทำการวิเคราะห์ทางเคมีจะใช้เป็นปุ๋ยเร่งต้นเร่งใบ เหมาะสำหรับพืชผักกินใบหรือเร่งการเจริญเติบโตทางด้านต้น และเร่งให้พืชโตเร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ในกรณีที่ดินขาด N อย่างรุนแรงส่วน P และ K มีอยู่ในดินระดับปานกลาง หรือค่อนข้างสูง การใช้ปุ๋ยเคมีที่เรโชของ N สูงๆ ก็จะเป็นการช่วยปรับระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร N P K ในดินให้เหมาะสมแก่พืชที่ปลูกได้ดีขึ้น หรือในกรณีของดินนาทางภาคอีสานและภาคใต้ของประเทศไทย ระดับ ความเป็นประโยชน์ของ K ในดินค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับดินนาทางภาคกลาง ดังนั้น ปุ๋ยนาที่แนะนำให้ใช้ในทางภาคอีสานและภาคใต้จึงควรมี K รวมอยู่ด้วย แต่เป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่า N และ P เช่น เรโช 2:2:1 เช่นสูตร 16-16- 8 หรือ 2:2:1 เช่นสูตร 18-12-6 แทนที่จะเป็น 16- 20-0 หรือ 20-20-0 เช่น ปุ๋ยนาในภาคกลาง ดังนี้เป็นต้น
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1635 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 21:09:56 »

ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะ

          ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จำนวนหรืออัตราปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่หรือต่อต้นที่พืชจะได้รับความพอเหมาะนี้มีอยู่ ๒ ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้นก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโตและให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจำนวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับหนึ่ง (ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) อันจะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด
          การพิจารณาความพอเหมาะพอดีของจำนวนปุ๋ยหรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้ จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ หลายประการมาประกอบ การพิจารณา อาทิ ชนิดของพืช ระดับความชื้นและความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแลและการบำรุงรักษาของกสิกร ตลอดจนราคาของปุ๋ยและของพืชที่ปลูกประกอบด้วย

ใส่ปุ๋ยให้พืชในขณะที่พืชต้องการ

          พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารมักจะแคระแกร็น และให้ผลิตผลต่ำ การใส่ปุ๋ยจะช่วยยกระดับธาตุอาหารที่ขาดแคลนให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน อาจจะให้ผลแตกต่างกันได้เป็นอย่างมากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา (timing) ของการให้ปุ๋ยแก่พืชนั้น ตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความต้องการธาตุอาหารนั้นๆ มากที่สุดหรือไม่ ช่วงจังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป พืชที่มีอายุสั้น เช่น  พืชไร่และข้าว จะมีจังหวะการดึงดูดธาตุอาหารที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัดอย่างน้อย ๓ ช่วงด้วยกันคือ (๑) ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอกและการเติบโตในระยะ  ๓๐-๔๕ วันแรก พืชมักจะต้องการธาตุอาหารน้อยและช้า เพราะระยะนี้ระบบรากยังน้อย และต้นยังเล็กอยู่ (๒) ช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารเป็นจำนวนมาก สำหรับข้าวจะเป็นระยะที่กำลังแตกกอและระยะที่กำลังสร้างตาดอก ถ้าเป็นข้าวโพดจะเป็นระยะที่มีอายุ ๔๕ - ๖๐ วัน ถ้าเป็นข้าวก็ระยะประมาณ ๓๐ วัน ก่อนออกดอก และ (๓) ช่วงที่มีการเติบโตเต็มที่แล้วและเป็นระยะสร้างเมล็ดหรือสร้างผล ความต้องการธาตุอาหารในระยะนี้จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฝักหรือเมล็ดแก่
          ระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารจากดินมากที่สุดและดึงดูดธาตุอาหารจากดินในอัตราที่รวดเร็วมากที่สุดก็คือ ช่วงที่สอง เพราะเป็นระยะที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและต้องการสะสมธาตุอาหารไว้ในต้นและใบ ให้เพียงพอสำหรับการสร้างเมล็ดและผลที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชระยะที่สำคัญก็คือ ระยะที่สองนี้ ซึ่งพืชควรจะได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ให้เพียงพอที่สุด
          ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชจึงต้องแบ่งใส่จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการจะยังผลให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใส่สูงความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืชได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ยเพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป แต่อาจจะถือเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ได้คือ
         ๑. การแบ่งใส่ปุ๋ยมักจะให้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยจำนวนเดียวกันนั้นเพียงครั้งเดียวตอนปลูก ยกเว้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำมากๆ
         ๒. การใส่ครั้งแรกคือใส่ตอนปลูก ควรใส่แต่น้อย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทสนั้นจะใส่ทั้งหมดในตอนปลูกก็ได้
         ๓. การใส่ครั้งที่สองควรใส่ระยะที่พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ระหว่างระยะแตกกอสูงสุดถึงใกล้ออกดอก ส่วนใหญ่การใส่ครั้งที่สองจะเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้สูงมากๆ การแบ่งใส่ควรเป็นสามครั้งคือ  ตอนปลูก ตอนเริ่มการเติบโตอย่างรวดเร็วและตอนระยะใกล้ออกดอก และจะไม่ช้าไปกว่าระยะหลังจากพืชออกดอกแล้ว หรือระยะที่พืชเริ่มแก่

ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด

         นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที
         ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ยจะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมากเพราะละลายน้ำได้ง่าย ไนโตรเจนในรูปไนเทรตจะถูกน้ำพัดพาออกไปจากชั้นของดินได้อย่างรวดเร็ว ถ้ารากพืชดึงดูดเอาไว้ไม่ทันก็จะสูญเสียไปหมดและไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชแต่อย่างใด ปกติแล้วปุ๋ยไนโตรเจนในดินจะสูญเสียไปโดยการชะล้างประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ใส่ลงไป ไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม ถึงแม้จะดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ และถูกชะล้างได้ยากก็จริง เมื่อดินมีการถ่ายเทอากาศดีจะถูกแปรรูปโดยจุลินทรีย์ในดินจะทำปฏิกิริยาเพิ่มออกซิเจน (oxidized) ให้กลายเป็นไนเทรต (NO3- N) ได้ง่ายและเร็วมาก
          ฟอสฟอรัสในปุ๋ยถึงแม้จะละลายน้ำได้ง่ายแต่เมื่ออยู่ในดินจะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับแร่ธาตุต่างๆ ในดิน กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ความเป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง และไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยฟอสเฟตตรงจุดไหน ฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ง่ายก็มักจะอยู่ตรงจุดนั้น ถ้าจะเคลื่อนย้ายจากจุดเดิมก็เป็นระยะใกล้ๆ ในรัศมี ๑-๕ ซม. เท่านั้น ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตให้กับพืชจึงต้องให้อยู่ใกล้กับรากมากที่สุดเพื่อที่รากจะไม่เป็นอันตรายจากปุ๋ยนั้น การใส่บนผิวดินจะเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยกว่าใส่ใต้ผิวดินในบริเวณที่รากจะแพร่กระจายไปได้ถึงซึ่งผิดกับปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่บนผิวดินก็สามารถซึมลงมายังบริเวณรากที่อยู่ใต้ผิวดินได้ง่าย ดังนั้นการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใต้ผิวดินจึงไม่มีข้อดีไปกว่าใส่บนผิวดิน
           ปุ๋ยโพแทสเซียมจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าฟอสเฟตแต่จะช้ากว่าไนโตรเจน โพแทสเซียมในปุ๋ยละลายน้ำได้ง่ายพอๆ กับไนโตรเจนก็จริงแต่เนื่องจากมีประจุบวกซึ่งดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ จึงถูกชะล้างได้ยาก แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ได้ง่ายแก่พืชอยู่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมจึงสามารถใส่บนผิวดินหรือใต้ผิวดินก็ได้ แต่การเคลื่อนย้ายจะช้ากว่าไนโตรเจนและในเวลาเดียวกันการสูญเสียโดยการชะล้างก็จะน้อยกว่าด้วย
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1636 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 21:30:35 »

ช่วงนี้ก็ลองปลูกพืชตัวอื่นอยู่ ทำเล็ก ๆ ครับลองปลูกเพื่อศึกษาว่าพืชตัวไหน การเจริญเติบโตเป็นยังไง  การดูแลรักษา  โรคและแมลงที่พบ  แต่ก็คงแนวคิดเดิมคือไม่ใช้สารเคมีอันตรายทั้งยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืช จะดูความต้านทานของเค้า พืชตัวไหนดีก็ขยายปลูกเพิ่มครับ


* 20140218_182350.jpg (88.86 KB, 525x700 - ดู 328 ครั้ง.)

* 20140218_182635.jpg (104.74 KB, 525x700 - ดู 320 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1637 เมื่อ: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014, 21:34:26 »

ต้นข้าววันนี้มีการเจริญเติบโตมากขึ้น เริ่มมีวัชพืชขึ้นบ้างแล้วเพราะไม่ได้ใส่สารคุมหรือกำจัดวัชพืชครับ


* 20140219_180723.jpg (52.92 KB, 700x525 - ดู 313 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
jon
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #1638 เมื่อ: วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2014, 15:34:03 »

ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากมายครับ  และมีปัญหา มากอีก หนึ่งรายการ มีหอยเชอรี่ มากัดกินต้นกล้า อีกแล้ว ข้าวตาย  ไปเยอะมาก ผมก็ใช้ยาที่ฆ่าหอยเป็นเม็ด สีชมพู และยาน้ำ มันก็ตายไม่หมด ปวดหัวกับหอยอีกแล้ว
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #1639 เมื่อ: วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2014, 21:03:55 »

ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากมายครับ  และมีปัญหา มากอีก หนึ่งรายการ มีหอยเชอรี่ มากัดกินต้นกล้า อีกแล้ว ข้าวตาย  ไปเยอะมาก ผมก็ใช้ยาที่ฆ่าหอยเป็นเม็ด สีชมพู และยาน้ำ มันก็ตายไม่หมด ปวดหัวกับหอยอีกแล้ว

นาที่ทำทั้งนาปี นาปรัง โดยเฉพาะนาชลประทานมันเจอปัญหาหอยเชอรี่เหมือนกันหมดครับ ของผมก็เสียหายจากหอยเชอรี่เหมือนกันครับ นาที่ใช้สารเคมีอันตรายมักจะเสียหายน้อย แต่ก็ไม่ปลอดภัยกับชาวนาด้วยเช่นกันครับ แต่ก็มีชาวนาหลายท่านเหมือนกันที่มีวิธีกำจัดหอยเชอรี่แบบวิธีทางธรรมชาติครับ

http://www.gotoknow.org/posts/443650


* large_IMG_3030.jpg (66.86 KB, 640x480 - ดู 288 ครั้ง.)

* large_IMG_3034.jpg (74.66 KB, 640x480 - ดู 299 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 [82] 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 ... 95 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!