เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 17:13:37
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ญาณ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ญาณ  (อ่าน 2357 ครั้ง)
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« เมื่อ: วันที่ 22 ธันวาคม 2012, 20:49:59 »

กราบเรียน  ญาติธรรม ร่วม ธรรมทาน เรื่อง  ญาณ กันเถิด หนา  อนุโมทนาสาธุ ครับ
ญาณ มิได้มีแต่ เป็น ผลจากการ ทำวิปัสสนา เท่านั้นจริง ไหม?
เคยทราบ  คำว่า มัคคญาณ (มรรคญาณ)  / ผลญาณ กันไหม ?
คำว่า ญาณที่ประกอบ ในคำต่าง ๆ เช่น วิจารณญาณ  วิปัสสนาญาณ  ญาณสังวร  โพธิญาณ  ฯลฯ

หนานธง ไม่ได้มา เรี่ยไรเงิน  ครับ   แต่  ขอท่าน สละกำลังสติปัญญา มาเป็น
ธรรมทาน
 
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 28 ธันวาคม 2012, 17:41:35 »

ญาณ คือ รู้      
เนื่องจาก หนานธง ด้อยใน สติปัญญา จึงใคร่ กราบขอโอกาส  นำข้อมูล จาก
 หนังสือ เหตุให้เกิดทุกข์  โดย  พระอาจารย์ทูล  ขิปฺปปญฺโญ
 วัดป่าบ้านค้อ  ต.เขือน้ำ  อ.บ้านผือ อุดรธานี
ท่านว่า ถึงคำว่ารู้ (ญาณ) ไว้ ในหมวด วิญญาณ หน้า 64  ดังนี้...

....คำว่า รู้ ในคำเดียวนี้ มีความหมายได้หลายอย่าง  เช่น

วิญญาณการรับรู้     ธาตุรู้     ความรู้สึก    ญาณรู้
 ญาณทัศนะ  ญาณที่รู้เห็น
 มรรคญาณ  ญาณหยั่งรู้ ใน องค์มรรค
 อุเบกขาญาณ  ญาณหยั่งรู้ ใน การวางเฉย
 ปัญญาญาณ  ญาณรู้รอบ ด้วย ปัญญา  
วิปัสสนาญาณ  ญาณที่ รู้แจ้งเห็นจริง ใน สัจจธรรม ตามความเป็นจริง
 วิสุทธิญาณ  ญาณหยั่งรู้  ใน ความบริสุทธิ์  
ในความหมาย ของ คำว่า ญาณ นี้ มีมาก จะหา อ่านตามตำรา ได้
            
         ตำราในบางหมวด ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 30 ธันวาคม 2012, 22:00:11 โดย nantong » IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
ขี้เหล้าอาวุโส
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,062



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 30 ธันวาคม 2012, 06:39:17 »

 ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
jirapraserd
midafXD
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 691


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 16:10:10 »

ญาณ คือ ความรู้ ความประจักษ์แจ้ง ด้วยจิต เป็นปัจจัตตัง คือ ต้องอาศัยประสบการณ์ตรง จะไปอาศัยคิด หรือคาดคะเนเอาไม่ได้ครับ อย่างที่เราเจริญสติกัน เมื่อจิตเห็นความจริง เห็นนามตามจริง เห็นรูปตามจริง
เห็นไตรลักษณ์ตามจริง (ไม่ใช่คิดเอานะ  ) ตรงนี้ เขาเรียกว่า วิปัสสนาญาณหล่ะ 
โดยย่อ คำว่า ญาณ คือ ความรู้ หรือ การรู้ นั้นเองอย่างคำว่า วิญญาณ เนี่ย มาจากคำว่า วิ(ต่าง ๆ )+ ญาณ(รู้)
รวมเป็นวิญญาณ คือ การรู้ต่าง ๆ นั้นเอง เช่น รู้รูป รู้รส รู้กลิ่น รุ้เสียง รู้สัมผัส หรือในเรื่องของ วิชชา ๘ คือ วิปัสสนาญาน(รู้เห็นไตรลักษณ์นามรูปตามจริง) , มโนมยิทธิญาณ(รู้การเนรมิตรู้อันเกิดแต่ใจ), อิทธิวิญญาณ(รู้การแสดงฤทธิ์), ทิพโสตญาณ (รู้เสียงทิพย์ ),เจโตปริยญาณ(รู้ใจผู้อื่น), ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ(รู้อดีตชาติ), จุตูปปาตญาณ(รู้การเกิดตายของเหล่าสัตว์) ,อาสวักขยญาณ(รู้การวิธีการดับไปของอาสวะ หรือ รู้อริยสัจ) 

สรุป ญาณ คือ การรู้ หรือ ปัญญาในระดับ ภาวนา เท่านั้นครับ เป็นปัญญาคนล่ะแบบกับความคิดครับ 
 
IP : บันทึกการเข้า

dr.kuay
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 88


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 06 มกราคม 2013, 19:45:50 »

ผมขอแจมน่ะครับ..
  คำว่า "ญาณ" เป็นคำที่ไวพจน์ในการใช้อยู่เยอะมากน่ะครับ

ญาณ แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการบำเพ็ญวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง
ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่องๆ กล่าวได้ว่า ญาณ คือ ความรู้บริสุทธิ์ที่ผุดโพลงสว่างแจ้งขึ้น มองเห็นตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ หรือเรื่องนั้นๆ บางครั้งญาณเกิดขึ้นโดยอาศัยความคิดเหตุผล แต่ญาณนั้นเป็นอิสระจากความคิดเหตุผล คือไม่ต้องขึ้นต่อความคิดเหตุผล แต่ออกไปสัมพันธ์กับตัวสภาวะที่เป็นอยู่จริง
มีการกล่าวถึงญาณในหลายลักษณะ หรืออาจจัดแบ่งญาณได้เป็น ญาณ3 (3หมวด) และ ญาณ16 (ในวิปัสสนาญาณ) ดังนี้
   
   1 ญาณ3 ได้แก่ วิชชา3
   2 ญาณ3 ในส่วนอดีต-อนาคต-ปัจจุบัน
   3 ญาณ3 ในการหยั่งรู้อริยสัจ
   4 ญาณ16 และ วิปัสสนาญาณ 9
   5 ญาณ16 จัดเข้าในวิสุทธิ 7

เช่นในความหมายที่หนึ่ง
คำว่า ญาณ ในความหมายเฉพาะ หมายถึง พระปรีชาหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้า ความรู้แจ้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกเต็มว่า โพธิญาณ หรือ สัมมาสัมโพธิญาณ มี 3 อย่าง หรือที่เรียกว่าวิชชา3 คือ
บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เกิดในอดีตได้ คือ ระลึกชาติได้
จุตูปปาญาณ ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง
อาสวักขยญาณ ความรู้ในการกำจัดอาสวกิเลสให้สิ้นไป

หรือตามข้อสี่
ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีการบรรยายขั้นต่างของการวิปัสสนา เป็น 16 ขั้น หรือเรียกว่า ญาณ16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน คือ
นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป
สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้(ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา(ระหว่างดับถึงเกิด)
ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ )
โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค
ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล
ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน
แต่เมื่อกล่าวถึงวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ อันหมายถึงญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา จะมีเพียง 9 ขั้น คือ ตั้งแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ถึง สัจจานุโลมิกญาณ (ตามปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ขั้นหนึ่งใน วิสุทธิ7) ที่บรรยายในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ นับรวม สัมมสนญาณ ด้วยเป็น10ขั้น)
วิปัสสนาญาณคืออุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ภังคานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นอนิจจัง
วิปัสสนาญาณคือภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ นิพพิทานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นทุกขัง
วิปัสสนาญาณคือมุจจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ สังขารุเบกขาญาณ นั้นเห็นอนัตตา




IP : บันทึกการเข้า
jirapraserd
midafXD
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 691


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 10:48:08 »

กำหนด ในภาษาเพื่อนบ้านเราแปลว่า กดเอาไว้ ข่มเอาไว้

กลุ่มญาณทั้งสามกลุ่มนี้ หมายรวบเป็นอันเดียวกัน

**-----------------------------**
ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด

อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้

นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย

**------------------------------**

เมื่อจิตดำเนินมาถึงตรงนี้แล้ว
บางคนจะเกิดอาการกลัว
บางคนจะเกิดอาการเบื่อหน่าย
บางคนจะเกิดอาการหาสาระแก่นสารที่พึ่งที่พิงอะไรไม่ได้เลย

ถ้าบารมีมีไม่มากพอ หรือคุณงามความดีที่สั่งสมมีไม่มากพอ จิตมันจะถอยร่น
ต้องกลับไปรู้รูป รู้นามใหม่ อีกหลายปี

แต่ถ้าบารมีแกร่งกล้าพอ จิตมันจะตัดเข้า สังขารุเบกขาญาณ
มันจะเป็นกลางกับสิ่งทั้งปวง เห็น ทุกข์ กับสุข เสมอกัน

ได้ฟังจากครูบาอาจารย์ท่านเล่ามา ท่านย้ำนักหนาว่า ถ้าจิตมันเดินมาถึงตรงที่เกิดความ
เบื่อ ความไร้สาระ ความกลัวอะไรพวกนี้ ให้รู้ทันมันลงไป ไม่มีอะไรเกินนอกจากนี้
IP : บันทึกการเข้า

nantong
ปั๋น กั๋นฮู้ แล้วก่อยเอาไปกึ๊ดอ่าน กั๋น แหมกำ อาจมีผิดถูก ฯ
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,579



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 07 มกราคม 2013, 23:17:30 »

ขอกราบขอบพระคุณ ญาติธรรม ทั้งคู่ ครับ  ที่สรรสาระธรรม มาเป็นธรรมทาน  ผมขอกราบเรียน ท่านทั้งสองได้โปรดไปร่วมเสวนา ในกระทู้อื่น ๆ ที่ผมตั้งไว้ในห้องสาสนาด้วยเถิด  จักเป็นไป เพื่อ โลกเพื่อธรรม คือ สงเคราะห์โลก ด้วยธรรมะพระศาสดา 
ตัวผม หนานธง ยังชอบ ยังไม่ละ วิชาลึกลับ (ไสยเวทย์) แต่ก็ชอบ พระธรรม พระวินัย แห่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  อันเป็น พระเจ้าอยู่ใจ อันสูงสุด ของ ชาวพุทธ เป็นที่สุด
ก็เหมือน  ว่า วิชาทางโลก รวมถึง ไสยศาสตร์ เป็น ของสมมุติ เป็นไปเพื่อโลก   ส่วนพุทธธรรม เป็นของแท้ คือ  สัจจธรรม
พุทธธรรม เป็นของ ขั้นวิมุต(หลุดพ้น) แก่ การเป็นวิมุตติ(ผู้หลุดพ้น)  โปรดอ่าน กระทู้ วิมุต  วิมุตติ ประกอบ ครับ

ไหว้สา  ครับ
IP : บันทึกการเข้า

หนานขี้อู้หำยาน : นายจิราวัฒน์  โสรัจพงศ์เกษม / หนานธง   อีเมล : k e n g k a b h e n g @ g m a i l . c o m    มือถือ  081 777  51 76
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!