เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 19:07:26
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลท่องเที่ยว-โพสรูป
| |-+  ห้องโพสรูป-ภาพประทับใจ (ผู้ดูแล: ap.41)
| | |-+  อยกได้เทคนิคการถ่ายรูปง่ายๆ(ชัดลึก) sony a57
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน อยกได้เทคนิคการถ่ายรูปง่ายๆ(ชัดลึก) sony a57  (อ่าน 4986 ครั้ง)
mooyow
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21



« เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 12:49:22 »

พอดีผมเพิ่งซื้องกล้อง sony a57 มา  แล้ว  แต่ถ่ายไม่เป็นอยากให้เพื่อนๆช่วยสอนหน่อยนะครับ  รับทุกคำสอนครับ
IP : บันทึกการเข้า

คุยกันรู้เรื่องก็จบครับ
zombie01
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,519


ความสุขเกิดขึ้นได้ เพียงแต่รู้จักใช้ชีวิต


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 14:14:08 »

ชัดลึก ที่ผมเข้าใจคือเปิดรูรับแสงแคบ ๆ f น้อย ๆ เช่น 5.6 8 11 จะได้ความชัดลึกอย่างต้องการครับ
IP : บันทึกการเข้า

ChaN
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 482



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 14:16:18 »

เอาแบบง่าย ๆ น่อครับ

ใช้โหมดถ่ายภาพ A (Aperture Priority)หรือ AV

เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด ซูมสุด ตัวแบบให้อยู่ไกลฉากหลังมาก ๆ

ลองดูครับ
IP : บันทึกการเข้า
zombie01
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,519


ความสุขเกิดขึ้นได้ เพียงแต่รู้จักใช้ชีวิต


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 14:20:07 »

เอาแบบง่าย ๆ น่อครับ

ใช้โหมดถ่ายภาพ A (Aperture Priority)หรือ AV

เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด ซูมสุด ตัวแบบให้อยู่ไกลฉากหลังมาก ๆ

ลองดูครับ

อันนี้ชัดตื่นหรือเปล่าครับพี่  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,913



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 14:27:54 »

เอาแบบง่าย ๆ น่อครับ

ใช้โหมดถ่ายภาพ A (Aperture Priority)หรือ AV

เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด ซูมสุด ตัวแบบให้อยู่ไกลฉากหลังมาก ๆ

ลองดูครับ

อันนี้ชัดตื่นหรือเปล่าครับพี่  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ถ้ากว้าง มันจะชัดตื่นครับ

หมายถึง หน้าชัด หลังเบลอ

แต่ถ้าเปิดให้แคบ จะเรียกว่าชัดลึก

คือ ภาพจะชัดไปทั้งหมด

ส่วนมากจะนิยมถ่ายกับวิว ธรรมชาติครับ

ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า

น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,913



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 14:47:04 »

ระยะชัดลึก Dept of Field

         การเริ่มต้นถ่ายภาพจริงจังสำหรับมือใหม่ นอกจากการฝึกปรับความชัดแม่นยำ และถูกตำแหน่งแล้ว
ยังต้องเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการควบคุมระยะชัดลึกของภาพ ซึ่งบ่อยครั้งที่ช่างภาพมืออาชีพที่มีประสบการณ์
ยังตอ้งตกม้าตายกับเรื่องนี้ สาเหตุมา
จากการใช้กล้องถ่ายภาพที่มีระบบอัติโนมัติมากมาย ทำให้ละเลยที่จะเรียนรู้พื้นฐานการถ่ายภาพที่สำคัญ
เช่นการควบคุมระยะชัดลึก ส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความสมบูรณ์ไปอย่างน่าเสียดาย

ระยะชัดลึก( Depth of field) คืออะไร
  
       ระยะชัดลึก บางครั้งก็เรียกว่าความชัดลึก คือควมชัดด้านหน้าและด้านหลังของตำแหน่งที่เราปรับความชัด
เช่นหากถ่ายภาพบุคคลเต็มหน้าและปรับความชัดที่ดวงตา ในทางทฤษฎีภาพจะชัดเฉพาะที่ระนาบของดวงตาเท่านั้น
(ไม่สามารถปรับความชัดหลายๆระนาบได้ เช่น ไม่สามารถปรับความชัดที่ 3,4 หรือ 5 เมตรในภาพเดียวกันได้ตอ้งปรับ
ความชัดที่ระยะใดระยะหนึ่งเท่านั้น) ลำแสงจากวัตถุที่เราปรับโฟกัสให้ชัดจะไปตัดกับจุดระนาบฟิล์มพอดี แต่ความชัด
จะบางเหมือนแผ่นกระดาษและอยู่ระนาบเดียวกับระนาบเซ็นเซอร์ สำหรับกลอ้งถ่ายภาพปกติ(ยกเว้นกลอ้งที่สามารถปรับ
มุมของระนาบเลนส์และระนาบฟิล์มได้ เช่นกลอ้งวิว หรือกลอ้งบางประเภทเท่านั้น ที่สามารถบิดระนาบความชัดไปมาได้)
ทำให้ส่วนที่เป็นแก้ม ใบหู ฉากหลังและฉากหน้าเบลอไป เพราะลำแสงของภาพจากส่วนที่ไม่ใช่ความชัดนี้จะไม่ตัดกันเป็น
จุด แต่จะตัดกันเป็นวงกลมขนาดใหญ่แทน ทำให้ภาพนอกระยะตำแหน่งปรับความชัดเบลอไป เราเรียกจุดและวงกลมที่
เกิดจากลำแสงไปตัดกันที่ระนาบฟิล์มนี้ว่า Circle of confusion
    
    ในทางปฎิบัติเราสามารถควบคุมความชัดของภาพให้เพิ่มขึ้นจากระนาบความชัดได้ โดยการลดขนาดลำแสงที่ผ่าน
เลนส์ไปยังฟิล์มมีขนาดเล็กลง นั่นคือการลดขนาดรูรับแสงของเลนส์ให้เล็กลง ยิ่งหรี่ขนาดรูรับแสงเพิ่มขึ้นเท่าไร
จะทำให้วงกลมนี้เล็กลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฟิล์มและสายตาไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่า ลำแสงตัดกันเป็นจุดหรือวงกลม
ทำให้ภาพเกิดความชัดขึ้นมาได้ นั่นคือ การเกิดระยะชัดทางด้านหน้าและด้านหลังระนาบที่ถูกปรับให้ชัด
หรือเป็นการเกิด Depth of field นั่นเอง
    
     ขนาดของ Circle of confusion ใหญ่ที่สุดซึ่งกลายเป็นจุดอันจะทำให้ภาพเกิดความชัดขึ้นมา เราเรียกว่า
 Permissible circle of confusion ซึ่งขนาดของวงกลมดังกล่าวนี้ จะมีกรกำหนดไม่เท่ากันในผู้ผลิตเลนส์แต่ละราย
เพราะขนาดของ circle of confusion ขึ้นกับระยะที่มองภาพอัตราขยายภาพ ความแตกต่างของสีหรือแสงระหว่างฉาก
หน้ากับฉากหลัง

     แสงสว่างที่ส่องมายังภาพ รวมไปถึงสายตาของผู้มองภาพด้วย เช่น ถ้าเรามองภาพจากระยะไกล
 เราจะแยกภาพชัดกับไม่ชัดยากกว่าการมองภาพใกล้ๆ และการขยายภาพขนาดเล็กกับขนาดใหญ่มากๆ
ก็จะแสดงความชัดกับไม่ชัดของภาพออกมาได้มากกว่า แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ดูภาพส่วนใหญ่จะมองภาพ
ด้วยระยะห่างประมาณ เส้นทแยงมุมของภาพอันเป้นเรื่องของมุมรับภาพของสายตา หากภาพมีขนาดเล็ก
ก็จะดูภาพในระยะใกล้ ภาพขนาดใหญ่ก็จะดูภาพจากระยะไกล ดังนั้น เราจึงถือว่าอัตราขยายภาพและระยะการมอง
ไม่มีผลต่อขนาดของ   Circle of confusion ในทางปฎิบัติ
      
    โดยมาตรฐานแล้ว จะกำหนดระยะการมองภาพไว้ที่ 10 นิ้ว ด้วยปัจจัยหลายประการนี้เอง ทำให้เลนส์ต่างยี่ห้อที่มี
ทางยาวโฟกัสเท่ากัน ขนาดรูรับแสงเท่ากัน แต่มีตัวเลขความชัดลึกที่กระบอกเลนส์ไม่เท่ากัน แต่ภาพที่ถ่ายออกมานั้น
จะมีความชัดลึกเท่ากัน และที่น่าแปลกใจคือ ไม่ได้มีข้อกำหนดร่วมกับเลนส์ของผู้ผลิตแต่ละรายว่าควรจะใช้
ขนาดของ Circle of confusion นี้เท่าไร  ตามมาตรฐานทั่วไปจะกำหนดที่ขนาด 1/1000 นิ้ว หรือ 0.003937 มม.
แต่ในการผลิตจริง ของผู้ผลิตเลนส์จะมีค่าตั้งแต่ 1/70 ถึง 1/200 นิ้ว



ชัดลึกและชัดตื้น


      ระยะชัดทางด้านหน้าของตำแหน่งที่ปรับความชัด เราจะเรียกว่า ชัดตื้น ส่วนระยะชัดด้านหลังของระนาบความชัด
 เราเรียกว่าชัดลึก ระยะชัดจากด้านหลังสุดเราเรียกว่า ช่วงความชัด เช่นเลนส์ขนาด 50 มม. ปรับความชัดที่ระยะ 3 เมตร
 ปรับขนาดรูรับแสง f/16 ระยะชัดด้านหน้าอยู่ที่ 2 เมตร ระยะชัดด้านหลังอยู่ที่ 10 เมตร ถึง 10 เมตร หรือมีช่วงระยะชัด
8 เมตร เป็นต้น
  
    กลอ้งถ่ายภาพ 35 มม. DLR หรือกลอ้งดิจิตอล SLR ในปัจจุบันเป็นระบบ Auto Diaphragm ซึ่งเลนส์จะเปิดรูรับแสง
กว้างสุดเอาไว้ตลอดเวลา  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับความชัด (ปรับโฟกัส) และช่องมองภาพได้ง่ายขึ้น  ดังนั้นภาพที่ปรากฏ
ในช่องมองภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยที่สุดของเลนส์ที่กำลัง ใช้งานอยู่ เมื่อชัตเตอร์บันทึกภาพ ระบบควบคุมของกลอ้งจะ
ทำให้รูรับแสงหรี่ลงมาตามขนาดรูรับแสงจริงที่เราตั้งเอาไว้จากนั้นชัตเตอร์จึงทำงาน หลังจากที่ชัตเตอร์ปิด
รูรับแสงก็จะเปิดกว้างสุดเหมือนเดิม หากถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงแคบ เช่น f/11 คุณก็จะได้ภาพถ่ายที่มีระยะชัด
ลึกมากกว่าที่มองเห็นในช่องมองภาพ
    
    ชัดลึกและชัดตื้นจะมีความหมายในอีกกรณีหนึ่ง คือการชัดและเบลอของฉากหน้าและฉากหลัง ถ้าฉากหน้าและฉาก
หลังเบลอมากเราเรียกว่า ชัดตื้น หากชัดมากเราจะเรียกว่าชัดตื้น แต่เนื่องจากความชัดลึกชัดตื้นในกรณีนี้เป็นความรู้สึก
ของผู้ดูภาพซึ่งแต่ละบุคคลจะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป

การควบคุมความชัดลึก

       คุณสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ด้วยตัวเอง ความชัดลึกของภาพกำหนดโดยขนาดของ
Circle of confusion ซึ่งถ้าเราให้เลนส์แต่ละยี่ห้อมีขนาด  Circle of confusion  เท่ากันแล้ว เราจะรู้ได้ว่าเลนส์ทุกยี่ห้อ
ไม่ว่าจะแพงหรือถูกเพียงใด หากมีทางยาวโฟกัสเท่ากันและขนาดรูรับแสงเท่ากัน จะมีระยะชัดลึกเท่ากันด้วยอัตราการ
ขยายภาพไม่มีผลต่อความชัดลึกของภาพดังที่กล่าวไปก่อนหน้านี้และเราสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ 3 วิธี
      
การควบคุมขนาดรูรับแสง (F-Number)
    การลดขนาดรูรับแสงลง จะทำให้ระยะชัดลึกด้านหน้าและด้านหลังจุดปรับความชัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่าความ
ชัดที่เห็นในช่องมองภาพนั้นเป็นความชัดที่ขนาดรูรับแสงกว้างสุด หากต้องการตรวจสอบว่าค่ารูรับแสงที่ใช้จะทำให้ระยะ
ชัดลึกมากน้อยเพียงใด สามารถทำได้โดยการกดปุ่มเช็กชัดลึกที่ตัวกลอ้ง (ถ้ามี)
    
 ระยะปรับความชัด ( Focusing distance)  
    ระยะชัดลึกจะแปรผันตามระยะชัด การปรับความชัดใกล้ขึ้นจะทำให้ภาพมีความชัดลึกลดลง พูดง่ายๆคือ
ยุ่งถ่ายภาพใกล้มากเท่าใด ภาพก็จะมีระยะชัดน้อยลงตามลำดับ
    
ทางยาวโฟกัสของเลนส์ ( Focal Length)    
    เมื่อถ่ายภาพที่ระยะห่างและขนาดรูรับแสงเดียวกัน เลนส์เทเลโฟโต้จะให้ภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยกว่าเลนส์มุมกว้าง
ยิ่งทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้นเท่าไร ช่วงระยะชัดลึกก็จะน้อยลงตามลำดับ

บทสรุป
  
       เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับระยะชัดลึกแล้ว คุณสามารถนำความรู้นี้ ไปใช้ในการควบคุมระยะชัดลึกของภาพได้
และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จะช่วยให้การตัดสินใจในเรื่องของ การควบคุมระยะชัดลึก เป็นไปอย่างรวดเร็ว
เช่นเมื่อตอ้งการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้คมชัดทั้งภาพ คุณตอ้งใช้เลนส์มุมกว้างที่มีคุณสมบัติชัดลึกมากกว่าเลนส์เทเล
แล้วปรับรูรับแสงแคบเพื่อเพิ่มระยะชัด  แต่ถ้าตอ้งการถ่ายภาพให้ชัดตื้น เช่นถ่ายภาพบุคคลให้ฉากหลังเบลอ
ตอ้งเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ เช่น  100 หรือ 200 mm. ถ่ายภาพโดยเปิดรูรับแสงกว้างสุดและเข้าไปถ่ายภาพใกล้ๆ
เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ภาพที่ชัดตื้นหรือมีฉากหลังเบลออย่างง่ายดาย

ขอบคุณบทความจากนิตรสาร

นิตรสาร SHUTTER PHOTOGRAPHY
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 14:49:27 โดย วัยทองคะนองรัก » IP : บันทึกการเข้า

น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,913



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 14:50:09 »

IP : บันทึกการเข้า

น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,913



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 14:50:19 »

IP : บันทึกการเข้า

น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,913



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 14:52:01 »

อันนี้เป็นคลิปที่สอนไว้ครับ

ผมเองก็ดูเหมือนกันครับ สอนดีมาก

มีหลายๆคลิป สำหรับมือใหม่แบบเราๆ

ขอบคุณครับ


IP : บันทึกการเข้า

Number9
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,760



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 16:06:19 »


เข้ามาหาความรู้ด้วยคน ขอบคุณเจ้าของกระทู้

และทุกท่านที่ให้ความรู้เป็นวิทยาทานเจ้า

IP : บันทึกการเข้า
noom2514
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,162


Noom 2514


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2012, 17:01:10 »

เอาแบบง่าย ๆ น่อครับ

ใช้โหมดถ่ายภาพ A (Aperture Priority)หรือ AV

เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด ซูมสุด ตัวแบบให้อยู่ไกลฉากหลังมาก ๆ

ลองดูครับ

อันนี้ชัดตื่นหรือเปล่าครับพี่  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
+1
IP : บันทึกการเข้า

225/3 หมู่ 2 ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย 57100
โทรศัพท์ 083-5713720
๋๋P
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,917



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 21 ธันวาคม 2012, 00:06:29 »

 ยิ้มเท่ห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2013, 19:12:46 โดย ๋๋P » IP : บันทึกการเข้า
ChaN
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 482



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 21 ธันวาคม 2012, 09:05:44 »

เอาแบบง่าย ๆ น่อครับ

ใช้โหมดถ่ายภาพ A (Aperture Priority)หรือ AV

เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุด ซูมสุด ตัวแบบให้อยู่ไกลฉากหลังมาก ๆ

ลองดูครับ

อันนี้ชัดตื่นหรือเปล่าครับพี่  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

55555 +

อ่านผิดครับ  แลบลิ้น

ปกติจะมีแต่คนถามชัดตื้นถ่ายไง เคสนี้ถามชัดลึก

ยอมรับเต็มประตู๋เลยครับ ตรงข้ามเลย เอิ๊ก ๆ ๆ
IP : บันทึกการเข้า
Maxza555
ไม่รู้จะขอบคุณยังไงดี ^^
สมาชิกลงทะเบียน
แฟนพันธ์แท้
*
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 11,831


Do you belive in love ?


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 23 ธันวาคม 2012, 14:27:32 »


เห็นภาพ และเข้าใจ ชัดสุด ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

Plustertoy
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,207


รับถ่ายภาพ รับสอนถ่ายภาพโทร 082-6123401


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 23 ธันวาคม 2012, 20:01:29 »

จัดสอนถ่ายภาพสำหรับมือไหม่เลยดีก้า
IP : บันทึกการเข้า


รับถ่ายภาพ สอนถ่ายภาพ เชียงราย เชียงใหม่ กรุงเทพ รับถ่ายภาพทุกประเภท ชมผลงานคลิกที่รูปครับ
๋๋P
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,917



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2013, 19:15:48 »

สอบถามผู้รู้ด้วยครับ  งง มาก กับรุ่นนี้

ถ่ายวีดีโอชัดดีจัง  แต่เอามาลงคอมไม่ได้  มันหาไฟล์วีดีโอที่ถ่ายไม่เจอซะงั้น

แต่เปิดในกล้องได้นะ 

ต้องไปตั้งค่าอะไรตรงไหนหว่า? หาเป็นเดือนๆไม่เจอ ตึ๊บๆ ร้องไห้



* 410.gif (5.31 KB, 50x50 - ดู 2264 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
mooyow
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 21



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013, 11:59:25 »

ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า

คุยกันรู้เรื่องก็จบครับ
หมอกชวนฝัน
เพียงแค่สายลมพัดพา ให้มาเจอกัน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,794



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2013, 22:35:07 »

รบกวนสอบถามหน่อยครับ มืใหม่หัดถ่ายจ้า ทำไมกล้องผมมันปรับไป F1.2 ไม่ได้ล่ะครับ ได้แค่ 3.4 พอกดชัตเตอร์ เด้งไปอยู่ที่ 5.6 แก้ไขยังงัยครับ เบลอฉากหลังไม่ได้สักที ใช้แคนนอน 600D เลนส์18-55 ครับ
IP : บันทึกการเข้า
zombie01
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,519


ความสุขเกิดขึ้นได้ เพียงแต่รู้จักใช้ชีวิต


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 09 มีนาคม 2013, 00:55:35 »

รบกวนสอบถามหน่อยครับ มืใหม่หัดถ่ายจ้า ทำไมกล้องผมมันปรับไป F1.2 ไม่ได้ล่ะครับ ได้แค่ 3.4 พอกดชัตเตอร์ เด้งไปอยู่ที่ 5.6 แก้ไขยังงัยครับ เบลอฉากหลังไม่ได้สักที ใช้แคนนอน 600D เลนส์18-55 ครับ

การปรับรูรับแสงขึ้นอยู่กับเลนส์นะครับ ถ้าเลนส์ 18-55 จะมีรูรับแสงเริ่มต้นที่ 3.5 เป็นขนาดกว้างที่สุด และจะปรับให้กว้างกว่านั้นไม่ได้ครับ


* Canon-Eos-650d-18-55mm.jpg (35.07 KB, 500x392 - ดู 2164 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

008
สุขกับสิ่งที่มี
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 42



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 11 มีนาคม 2013, 21:29:52 »

ระยะชัดลึก Dept of Field

         การเริ่มต้นถ่ายภาพจริงจังสำหรับมือใหม่ นอกจากการฝึกปรับความชัดแม่นยำ และถูกตำแหน่งแล้ว
ยังต้องเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการควบคุมระยะชัดลึกของภาพ ซึ่งบ่อยครั้งที่ช่างภาพมืออาชีพที่มีประสบการณ์
ยังตอ้งตกม้าตายกับเรื่องนี้ สาเหตุมา
จากการใช้กล้องถ่ายภาพที่มีระบบอัติโนมัติมากมาย ทำให้ละเลยที่จะเรียนรู้พื้นฐานการถ่ายภาพที่สำคัญ
เช่นการควบคุมระยะชัดลึก ส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความสมบูรณ์ไปอย่างน่าเสียดาย

ระยะชัดลึก( Depth of field) คืออะไร
  
       ระยะชัดลึก บางครั้งก็เรียกว่าความชัดลึก คือควมชัดด้านหน้าและด้านหลังของตำแหน่งที่เราปรับความชัด
เช่นหากถ่ายภาพบุคคลเต็มหน้าและปรับความชัดที่ดวงตา ในทางทฤษฎีภาพจะชัดเฉพาะที่ระนาบของดวงตาเท่านั้น
(ไม่สามารถปรับความชัดหลายๆระนาบได้ เช่น ไม่สามารถปรับความชัดที่ 3,4 หรือ 5 เมตรในภาพเดียวกันได้ตอ้งปรับ
ความชัดที่ระยะใดระยะหนึ่งเท่านั้น) ลำแสงจากวัตถุที่เราปรับโฟกัสให้ชัดจะไปตัดกับจุดระนาบฟิล์มพอดี แต่ความชัด
จะบางเหมือนแผ่นกระดาษและอยู่ระนาบเดียวกับระนาบเซ็นเซอร์ สำหรับกลอ้งถ่ายภาพปกติ(ยกเว้นกลอ้งที่สามารถปรับ
มุมของระนาบเลนส์และระนาบฟิล์มได้ เช่นกลอ้งวิว หรือกลอ้งบางประเภทเท่านั้น ที่สามารถบิดระนาบความชัดไปมาได้)
ทำให้ส่วนที่เป็นแก้ม ใบหู ฉากหลังและฉากหน้าเบลอไป เพราะลำแสงของภาพจากส่วนที่ไม่ใช่ความชัดนี้จะไม่ตัดกันเป็น
จุด แต่จะตัดกันเป็นวงกลมขนาดใหญ่แทน ทำให้ภาพนอกระยะตำแหน่งปรับความชัดเบลอไป เราเรียกจุดและวงกลมที่
เกิดจากลำแสงไปตัดกันที่ระนาบฟิล์มนี้ว่า Circle of confusion
    
    ในทางปฎิบัติเราสามารถควบคุมความชัดของภาพให้เพิ่มขึ้นจากระนาบความชัดได้ โดยการลดขนาดลำแสงที่ผ่าน
เลนส์ไปยังฟิล์มมีขนาดเล็กลง นั่นคือการลดขนาดรูรับแสงของเลนส์ให้เล็กลง ยิ่งหรี่ขนาดรูรับแสงเพิ่มขึ้นเท่าไร
จะทำให้วงกลมนี้เล็กลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฟิล์มและสายตาไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่า ลำแสงตัดกันเป็นจุดหรือวงกลม
ทำให้ภาพเกิดความชัดขึ้นมาได้ นั่นคือ การเกิดระยะชัดทางด้านหน้าและด้านหลังระนาบที่ถูกปรับให้ชัด
หรือเป็นการเกิด Depth of field นั่นเอง
    
     ขนาดของ Circle of confusion ใหญ่ที่สุดซึ่งกลายเป็นจุดอันจะทำให้ภาพเกิดความชัดขึ้นมา เราเรียกว่า
 Permissible circle of confusion ซึ่งขนาดของวงกลมดังกล่าวนี้ จะมีกรกำหนดไม่เท่ากันในผู้ผลิตเลนส์แต่ละราย
เพราะขนาดของ circle of confusion ขึ้นกับระยะที่มองภาพอัตราขยายภาพ ความแตกต่างของสีหรือแสงระหว่างฉาก
หน้ากับฉากหลัง

     แสงสว่างที่ส่องมายังภาพ รวมไปถึงสายตาของผู้มองภาพด้วย เช่น ถ้าเรามองภาพจากระยะไกล
 เราจะแยกภาพชัดกับไม่ชัดยากกว่าการมองภาพใกล้ๆ และการขยายภาพขนาดเล็กกับขนาดใหญ่มากๆ
ก็จะแสดงความชัดกับไม่ชัดของภาพออกมาได้มากกว่า แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ดูภาพส่วนใหญ่จะมองภาพ
ด้วยระยะห่างประมาณ เส้นทแยงมุมของภาพอันเป้นเรื่องของมุมรับภาพของสายตา หากภาพมีขนาดเล็ก
ก็จะดูภาพในระยะใกล้ ภาพขนาดใหญ่ก็จะดูภาพจากระยะไกล ดังนั้น เราจึงถือว่าอัตราขยายภาพและระยะการมอง
ไม่มีผลต่อขนาดของ   Circle of confusion ในทางปฎิบัติ
      
    โดยมาตรฐานแล้ว จะกำหนดระยะการมองภาพไว้ที่ 10 นิ้ว ด้วยปัจจัยหลายประการนี้เอง ทำให้เลนส์ต่างยี่ห้อที่มี
ทางยาวโฟกัสเท่ากัน ขนาดรูรับแสงเท่ากัน แต่มีตัวเลขความชัดลึกที่กระบอกเลนส์ไม่เท่ากัน แต่ภาพที่ถ่ายออกมานั้น
จะมีความชัดลึกเท่ากัน และที่น่าแปลกใจคือ ไม่ได้มีข้อกำหนดร่วมกับเลนส์ของผู้ผลิตแต่ละรายว่าควรจะใช้
ขนาดของ Circle of confusion นี้เท่าไร  ตามมาตรฐานทั่วไปจะกำหนดที่ขนาด 1/1000 นิ้ว หรือ 0.003937 มม.
แต่ในการผลิตจริง ของผู้ผลิตเลนส์จะมีค่าตั้งแต่ 1/70 ถึง 1/200 นิ้ว



ชัดลึกและชัดตื้น


      ระยะชัดทางด้านหน้าของตำแหน่งที่ปรับความชัด เราจะเรียกว่า ชัดตื้น ส่วนระยะชัดด้านหลังของระนาบความชัด
 เราเรียกว่าชัดลึก ระยะชัดจากด้านหลังสุดเราเรียกว่า ช่วงความชัด เช่นเลนส์ขนาด 50 มม. ปรับความชัดที่ระยะ 3 เมตร
 ปรับขนาดรูรับแสง f/16 ระยะชัดด้านหน้าอยู่ที่ 2 เมตร ระยะชัดด้านหลังอยู่ที่ 10 เมตร ถึง 10 เมตร หรือมีช่วงระยะชัด
8 เมตร เป็นต้น
  
    กลอ้งถ่ายภาพ 35 มม. DLR หรือกลอ้งดิจิตอล SLR ในปัจจุบันเป็นระบบ Auto Diaphragm ซึ่งเลนส์จะเปิดรูรับแสง
กว้างสุดเอาไว้ตลอดเวลา  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับความชัด (ปรับโฟกัส) และช่องมองภาพได้ง่ายขึ้น  ดังนั้นภาพที่ปรากฏ
ในช่องมองภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยที่สุดของเลนส์ที่กำลัง ใช้งานอยู่ เมื่อชัตเตอร์บันทึกภาพ ระบบควบคุมของกลอ้งจะ
ทำให้รูรับแสงหรี่ลงมาตามขนาดรูรับแสงจริงที่เราตั้งเอาไว้จากนั้นชัตเตอร์จึงทำงาน หลังจากที่ชัตเตอร์ปิด
รูรับแสงก็จะเปิดกว้างสุดเหมือนเดิม หากถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงแคบ เช่น f/11 คุณก็จะได้ภาพถ่ายที่มีระยะชัด
ลึกมากกว่าที่มองเห็นในช่องมองภาพ
    
    ชัดลึกและชัดตื้นจะมีความหมายในอีกกรณีหนึ่ง คือการชัดและเบลอของฉากหน้าและฉากหลัง ถ้าฉากหน้าและฉาก
หลังเบลอมากเราเรียกว่า ชัดตื้น หากชัดมากเราจะเรียกว่าชัดตื้น แต่เนื่องจากความชัดลึกชัดตื้นในกรณีนี้เป็นความรู้สึก
ของผู้ดูภาพซึ่งแต่ละบุคคลจะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป

การควบคุมความชัดลึก

       คุณสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ด้วยตัวเอง ความชัดลึกของภาพกำหนดโดยขนาดของ
Circle of confusion ซึ่งถ้าเราให้เลนส์แต่ละยี่ห้อมีขนาด  Circle of confusion  เท่ากันแล้ว เราจะรู้ได้ว่าเลนส์ทุกยี่ห้อ
ไม่ว่าจะแพงหรือถูกเพียงใด หากมีทางยาวโฟกัสเท่ากันและขนาดรูรับแสงเท่ากัน จะมีระยะชัดลึกเท่ากันด้วยอัตราการ
ขยายภาพไม่มีผลต่อความชัดลึกของภาพดังที่กล่าวไปก่อนหน้านี้และเราสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ 3 วิธี
      
การควบคุมขนาดรูรับแสง (F-Number)
    การลดขนาดรูรับแสงลง จะทำให้ระยะชัดลึกด้านหน้าและด้านหลังจุดปรับความชัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่าความ
ชัดที่เห็นในช่องมองภาพนั้นเป็นความชัดที่ขนาดรูรับแสงกว้างสุด หากต้องการตรวจสอบว่าค่ารูรับแสงที่ใช้จะทำให้ระยะ
ชัดลึกมากน้อยเพียงใด สามารถทำได้โดยการกดปุ่มเช็กชัดลึกที่ตัวกลอ้ง (ถ้ามี)
    
 ระยะปรับความชัด ( Focusing distance)  
    ระยะชัดลึกจะแปรผันตามระยะชัด การปรับความชัดใกล้ขึ้นจะทำให้ภาพมีความชัดลึกลดลง พูดง่ายๆคือ
ยุ่งถ่ายภาพใกล้มากเท่าใด ภาพก็จะมีระยะชัดน้อยลงตามลำดับ
    
ทางยาวโฟกัสของเลนส์ ( Focal Length)    
    เมื่อถ่ายภาพที่ระยะห่างและขนาดรูรับแสงเดียวกัน เลนส์เทเลโฟโต้จะให้ภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยกว่าเลนส์มุมกว้าง
ยิ่งทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้นเท่าไร ช่วงระยะชัดลึกก็จะน้อยลงตามลำดับ

บทสรุป
  
       เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับระยะชัดลึกแล้ว คุณสามารถนำความรู้นี้ ไปใช้ในการควบคุมระยะชัดลึกของภาพได้
และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จะช่วยให้การตัดสินใจในเรื่องของ การควบคุมระยะชัดลึก เป็นไปอย่างรวดเร็ว
เช่นเมื่อตอ้งการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้คมชัดทั้งภาพ คุณตอ้งใช้เลนส์มุมกว้างที่มีคุณสมบัติชัดลึกมากกว่าเลนส์เทเล
แล้วปรับรูรับแสงแคบเพื่อเพิ่มระยะชัด  แต่ถ้าตอ้งการถ่ายภาพให้ชัดตื้น เช่นถ่ายภาพบุคคลให้ฉากหลังเบลอ
ตอ้งเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ เช่น  100 หรือ 200 mm. ถ่ายภาพโดยเปิดรูรับแสงกว้างสุดและเข้าไปถ่ายภาพใกล้ๆ
เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ภาพที่ชัดตื้นหรือมีฉากหลังเบลออย่างง่ายดาย

ขอบคุณบทความจากนิตรสาร

นิตรสาร SHUTTER PHOTOGRAPHY

ขอบคุณมากๆ สำหรับความรู้ใหม่ เข้าใจมากขึ้นหรือเปล่าไม่รู้แต่ต้องลองดู ขอบคุณจริงๆค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!