เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 15:27:40
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การศึกษา (ผู้ดูแล: >:l!ne-po!nt:<)
| | |-+  นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสมัช
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสมัช  (อ่าน 649 ครั้ง)
kaeo
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,823


« เมื่อ: วันที่ 03 ธันวาคม 2012, 13:35:10 »

นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชาสามัญประจำปี ๒๕๕๕ สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) โดยมีสมาชิกสมัชชาสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทยจากองค์กรครูทั่วประเทศกว่า ๑,๒๐๐ คน เข้าร่วมประชุม เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมสโมสรทหารบก (ส่วนกลาง) เทเวศร์
รมว.ศธ.กล่าวแสดงความยินดีที่ได้พบกับครูที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นบุคคลสำคัญต่ออนาคตของประเทศไทย เหตุที่พูดเช่นนี้ไม่ใช่พูดเอาใจครู แต่พูดที่ใดก็พูดเช่นนี้ เพราะในโลกยุคปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษามีความสำคัญยิ่งที่เราจะต้องแข่งขันด้วยสมองคน ด้วยความรู้และความคิดสร้างสรรค์ สู้กันที่คุณภาพของคน ซึ่งการศึกษาอย่างเดียวเท่านั้นที่จะยกระดับคุณภาพของคน แต่จะต้องเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพในทิศทางที่ถูกต้อง เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่จะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน ให้มีความคิดสร้างสรรค์ มีนวัตกรรม สามารถสร้างผลผลิตให้แก่ประเทศได้ ซึ่งครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเด็กรุ่นใหม่ ภารกิจนี้มีความยากลำบาก ต้องใช้เวลา ใช้ความร่วมแรงร่วมใจจำนวนมาก

* เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชาสามัญประจำปี ๒๕๕ (134 KB - ดาวน์โหลด 30 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
kaeo
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,823


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 03 ธันวาคม 2012, 13:37:32 »

นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชาสามัญประจำปี ๒๕๕๕ สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) โดยมีสมาชิกสมัชชาสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทยจากองค์กรครูทั่วประเทศกว่า ๑,๒๐๐ คน เข้าร่วมประชุม เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมสโมสรทหารบก (ส่วนกลาง) เทเวศร์
รมว.ศธ.กล่าวแสดงความยินดีที่ได้พบกับครูที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นบุคคลสำคัญต่ออนาคตของประเทศไทย เหตุที่พูดเช่นนี้ไม่ใช่พูดเอาใจครู แต่พูดที่ใดก็พูดเช่นนี้ เพราะในโลกยุคปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษามีความสำคัญยิ่งที่เราจะต้องแข่งขันด้วยสมองคน ด้วยความรู้และความคิดสร้างสรรค์ สู้กันที่คุณภาพของคน ซึ่งการศึกษาอย่างเดียวเท่านั้นที่จะยกระดับคุณภาพของคน แต่จะต้องเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพในทิศทางที่ถูกต้อง เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่จะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน ให้มีความคิดสร้างสรรค์ มีนวัตกรรม สามารถสร้างผลผลิตให้แก่ประเทศได้ ซึ่งครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเด็กรุ่นใหม่ ภารกิจนี้มีความยากลำบาก ต้องใช้เวลา ใช้ความร่วมแรงร่วมใจจำนวนมาก
รมว.ศธ.กล่าวฝากอนาคตประเทศไทยไว้ครูทั้งหลาย เพื่อขอความร่วมมือให้ร่วมผลักดันและดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ดังนี้
● เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย คุณภาพของนักเรียนนักศึกษาไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น พบว่า
๑) การประเมินเรื่องการอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตามโครงการประเมินนักเรียนนานาชาติ ซึ่งมีการประเมินจากกลุ่มประเทศ OECD ๓๔ ประเทศ และประเทศเข้าร่วมโครงการอีก ๓๑ ประเทศ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ ๕๐ และมีแนวโน้มว่าระดับคุณภาพการศึกษาไทยจะลดลงเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาไทย สิ่งหนึ่งที่มีการเปรียบเทียบแล้ว คือ เราสอนเยอะ แต่เด็กเรียนรู้น้อย ในขณะที่อีกหลายประเทศสอนน้อย แต่เด็กเรียนรู้เยอะ เท่ากับเราขาดทุน ๒ ต่อ จึงจะต้องทบทวนสิ่งต่างๆ มากขึ้น ผลการประเมินนักเรียนนานาชาติ ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงคโปร์ ใช้ผลการประเมินนี้นำไปปรับปรุงการศึกษา หากเราไม่ใส่ใจ อนาคตของการศึกษาไทยก็จะแย่ลง
๒) ผลการประเมินการใช้ภาษาอังกฤษในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ประเทศไทยก็อยู่ลำดับเกือบสุดท้าย ซึ่งประโยชน์ของภาษาอังกฤษมีอยู่มากมาย คือ ใช้ในการค้นคว้า การสื่อสาร การทำงาน แม้แต่คนที่อินเดียก็ยังสามารถทำงานให้บริษัทของสหรัฐอเมริกา สามารถบอกทางไปร้านอาหารในสหรัฐอเมริกาให้กับคนที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาได้ ฉะนั้นคนที่รู้ภาษาสากลในอนาคตก็จะเปิดกว้างมากขึ้น ปัญหาหนึ่งจากการใช้ภาษาของเด็กไทย แม้ว่าเด็กไทยจะอ่านออก เขียนได้ รู้ไวยากรณ์ แต่ยังอ่อนในเรื่องการพูดและการฟัง เรื่องของภาษาหากเราไม่หัดหรือไม่ได้ใช้บ่อยๆ ก็จะพูดตะกุกตะกัก จำคำศัพท์ไม่ได้ แม้จะเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ ป.๑ ถึงระดับมหาวิทยาลัย ได้แต่อ่านและเขียน ไม่ได้พูด ไม่ได้ฟัง เด็กไทยก็จะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ซึ่ง ศธ.ได้มีนโยบายภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การที่จะออกสู่ตลาดนานาชาติมากขึ้น จำเป็นจะต้องยกระดับคุณภาพภาษาอังกฤษ รวมทั้งภาษาอื่นด้วย
ครูเป็นผู้เสียสละ ในอดีตครูเป็นปูชนียบุคคล ในหมู่บ้าน ในชุมชน เมื่อมีปัญหาจะต้องเรียกหาครู ชาวบ้านก็ฟังและเชื่อถือครู ครูก็รู้สึกภาคภูมิใจกับความเป็นครู แต่ในระยะหลังอาชีพครูดึงดูดความสนใจน้อยลงหรือไม่ และจากการได้พบปะกับเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ทราบว่า แม้แต่ในประเทศสิงคโปร์ที่มีการศึกษาทุกระดับอยู่ในขั้นแนวหน้า แต่ก็ยังประสบปัญหาการดึงคนเก่ง ดึงหัวกะทิเข้ามาเป็นครูทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และพยายามหาวิธีที่จะทำให้ได้ครูที่มีความรู้ ความสามารถ อบรมเด็กให้เป็นคนตามเป้าหมายที่วางไว้ ย้ำว่าหัวใจที่จะพัฒนาการศึกษาไทย ผลสุดท้ายคือคุณภาพของเด็ก แต่ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ครู
● ปฏิรูปหลักสูตรทุกระดับ เมื่อพูดถึงการปฏิรูปหลักสูตรจะมีความเห็นหลากหลายมาก จึงต้องมีการพิจารณากลั่นกรองว่า ควรจะใช้วิชาต่างๆ มากน้อยเพียงใด ที่จะสร้างให้เด็กมีการวิเคราะห์ มีความคิด พื้นฐานที่ควรจะต้องรู้เป็นเรื่องหลัก ส่วนรายละเอียดต่างๆ ไม่มีความจำเป็นให้ต้องเรียน ต้องจำ เพราะข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย และมีเครื่องมือช่วยจำที่มีความทันสมัย รวดเร็ว จึงไม่จำเป็นที่เด็กจะต้องจำหรือเรียนรู้รายละเอียดเหมือนในอดีต ขอให้รู้เพียงว่าจะไปหาข้อมูลจากที่ใด ตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างไร เพราะข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด เช่น มีคนเข้าใจผิดว่าผู้สมัครประธานาธิบดีคนหนึ่งเป็นชาวยิว เพราะเปิดเว็บไซต์ของตะวันออกกลาง ฉะนั้นการกลั่นกรองข้อมูลว่าข้อมูลใดถูกต้อง แล้วนำมาวิเคราะห์ว่าควรจะเชื่อหรือไม่ แม้กระทั่งข้อมูลที่ถูกยังต้องวิเคราะห์ว่าน่าเชื่อถือเพียงใด ทั้งนี้ การปฏิรูปหลักสูตรต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจอย่างมาก ทั้งจากครู ผู้ปกครอง นักเรียน บุคคลภายนอก เพราะจะไปได้ดี หาจุดลงตัวได้ดี ต้องฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ในสุดท้ายได้ฉันทามติร่วมกัน ขอฝากประเด็นนี้ให้กลับไปทบทวนว่า เราควรจะต้องทำอย่างไรต่อไปเพื่อปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ
● ประชาธิปไตย เรื่องของประชาธิปไตยต้องมีรัฐธรรมนูญ ในอดีตก่อนมีรัฐธรรมนูญก็มีการเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้ให้ความสนใจ ในปัจจุบันเมื่อพูดถึงรัฐธรรมนูญก็จะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน ถึงจะสามารถวางโครงสร้างในการจัดการ การบริหาร แบ่งสรรคน ผลประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ซึ่งในวันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ ขอให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ช่วยกันรณรงค์สนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญของประชาชน สร้างกติกาที่มีความเป็นธรรมกับทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ทุกผู้ ทุกคน เป็นกติกาที่ควรมีมาตรฐานเดียวกัน
● ครูใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราได้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ครูถูกทำร้าย ถูกยิงเสียชีวิต ผู้ที่ผ่านการสูญเสียจะทราบดีถึงความรู้สึก ตนเองก็เคยสูญเสียบิดาเนื่องจากชราและมีโรคประจำตัว เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของชีวิต โดยที่ไม่มีโอกาสได้อยู่ตอนที่บิดาจากไป เพราะต้องเดินทางไปทำงาน ยังสร้างความเสียใจให้กับตนเป็นเวลานาน จึงเข้าใจดีว่าเวลาที่ครูต้องจากไปโดยไม่ได้ล่ำลาผู้ที่เป็นลูกหลาน คู่สมรส หรือญาติพี่น้อง จะรู้สึกอย่างไร ตนเองแม้จะไม่มีบิดาแล้ว ก็ยังสามารถอยู่ได้ เลี้ยงตัวเองได้ แต่ครูหลายท่านลูกยังเล็ก แม่อายุมาก ส่วนเหล่านี้เราต้องขอแสดงความเสียใจและต้องชื่นชมครูใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้เสียสละเป็นอย่างมากในการยืนหยัดเพื่อให้การศึกษา ซึ่งเรื่องนี้ก็มีส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศด้วย ทั้งนี้ รมว.ศธ.ได้ขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมปรบมือให้กำลังใจครูใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกล่าวว่าในวันที่ ๖ ธันวาคมนี้ จะเดินทางไปพบปะครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดปัตตานี
รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า เรื่องของการศึกษามีผู้รู้มาก เพราะแต่ละท่านมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ผู้ปกครองก็มีประสบการณ์ แม้แต่แอร์โฮเตสก็มีประสบการณ์ ซึ่งได้พูดคุยกันในระหว่างเดินทางไปประชุมที่ยูเนสโก ทำให้ได้ประสบการณ์ ได้ทราบปัญหา และข้อแนะนำที่ดีหลายอย่าง ฉะนั้นครูอาจารย์ที่สัมผัสกับเรื่องการศึกษามาโดยตลอด ย่อมมองเห็นแนวทางที่จะช่วยให้การศึกษาดีขึ้นได้ โดยตนได้ขอให้ผู้แทนไทยซึ่งประจำอยู่ที่ยูเนสโกได้รวบรวมแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทย แม้แต่เอกอัครราชทูตสิงคโปร์เองก็เล่าให้ฟังว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์เดินทางไปทั่วโลก เพื่อดูว่าเรื่องการศึกษาที่ใดมีอะไรดีๆ บ้าง ฉะนั้นการเดินทางไปดูงาน หากตั้งใจดู ทุ่มเท และดูอย่างจริงจัง ก็จะได้ความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการศึกษาไทย จึงขอให้นำคนที่สนใจจริงๆ เพียงไม่กี่คน และสามารถสื่อสารภาษาประเทศนั้นๆ ได้ ไปดูงานในเชิงลึก ใช้เวลาในการดูอย่างจริงจัง ก็จะเกิดประโยชน์กับการศึกษาไทย ซึ่งก็เชื่อว่าครูอาจารย์จะมีข้อแนะนำดีๆ ให้กับ ศธ.ได้มาก ขอฝากให้ช่วยกันรวบรวมข้อแนะนำดีๆ ในการพัฒนาการศึกษา โดยรับประกันว่าจะอ่านทุกข้อแนะนำด้วยตนเอง และจะนำข้อเสนอที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เด็กไทยต่อไป
โอกาสนี้ ตัวแทนสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย ได้ยื่นข้อเสนอแนวทางการพัฒนาศึกษาไทย ต่อ รมว.ศธ. ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
๑) ส่งเสริม สนับสนุนให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๔๙ มีผลบังคับใช้ โดยเฉพาะการไม่เก็บค่าใช้จ่ายให้ประชาชนได้เรียนฟรี จัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ขยายโอกาสทางการศึกษาให้เท่าเทียมกัน ทั้งชนบทและในเมือง โดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับ ๑๒ ปี ควรเปิดทุกโรงเรียนที่สังกัด สพฐ. และจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มาตรา ๘ และ ๑๐ และขอให้จัดสรรอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอ โดยเฉพาะอัตราข้าราชการครูเกษียณก่อนกำหนดและนโยบายครูคืนถิ่น ควรคืนอัตราและตำแหน่งให้สถานศึกษาโดยเร็ว เพราะมีผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมากในขณะนี้
๒) การกระจายอำนาจทางการศึกษา ควรวิเคราะห์และสังเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ชัดเจน ทั้งในส่วนของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการกระจายอำนาจ และการแบ่งส่วนราชการกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้อง โดยออกกฎหมายและกฎกระทรวงรองรับ กำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน และมีผลในทางปฏิบัติ, ผลักดันนโยบายโรงเรียนเป็นนิติบุคคลให้เป็นจริง ให้โรงเรียนเป็นฐานในการจัดการศึกษา โดยมีส่วนร่วมกับชุมชน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา ๙, ให้เสรีภาพทางวิชาการตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๕๐ โดยที่องค์กรทางการศึกษาและองค์กรวิชาชีพปราศจากการแทรกแซง เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการจัดการศึกษา และให้การกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลดำเนินการไปตามกฎหมายที่มีองค์คณะบุคคลรองรับ เช่น พระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา ๒๓ เพราะการรวบอำนาจส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา ทำให้เกิดปัญหามากมาย
๓) เงินอุดหนุนอาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) ขอให้คืนเงินอุดหนุนอาหารกลางวันและเงินอาหารเสริมนมให้สถานศึกษาบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งได้โอนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อปีงบประมาณ ๒๕๔๔ ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าและไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงกับจำนวนนักเรียนต่อวัน ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล, เพิ่มเงินอุดหนุนอาหารกลางวันให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และให้ขยายเงินอุดหนุนอาหารกลางวันและอาหารเสริมนม ให้ครอบคลุมการศึกษาภาคบังคับตามรัฐธรรมนูญในมาตรา ๔๙
๔) การปรับปรุงหลักสูตรเพื่อการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ เนื่องจากผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา และการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ จึงควรปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ ได้แก่ พัฒนาหลักสูตรโดยบูรณาการจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง และจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน โดยสอดคล้องกันอย่างเป็นเอกภาพ, ในระดับประถมศึกษาไม่ควรอัดแน่นด้วยสาระวิชามากเกินไป จนเด็กกลัวโรงเรียน ควรจัดกิจกรรมเสริมที่จูงใจให้เด็กไปโรงเรียน และให้คงไว้ซึ่งศีลธรรม ศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ อัตลักษณ์อันดีงามของไทย ควบคู่กับการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ของเพื่อนบ้าน โดยสอดแทรกสิ่งใหม่ในด้านเทคโนโลยี ภาษา เพื่อนำไปสู่ประชาคมอาเซียน
๕) ปัญหาพิเศษใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา เหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในด้านการศึกษา สูญเสียครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑๕๕ คน บาดเจ็บ ๑๕๓ คน นักเรียนเสียชีวิต ๔๓ คน และทรัพย์สินทางการศึกษาอีกมากมายคำนวณไม่ได้ ขอนำเสนอดังนี้ ประสานงานทุกฝ่ายให้แก้ไขอย่างจริงจัง โดยมีการบูรณาการและสอดคล้องอย่างเป็นเอกภาพ, ช่วยเหลือผู้สูญเสียทั้งด้านทรัพยากรและการปูนบำเหน็จให้สมเกียรติเหมือนข้าราชการประเภทอื่น, ให้ทายาทครูผู้สูญเสียมีโอกาสเป็นครู เพื่อสืบสานอุดมการณ์และภารกิจเป็นกรณีพิเศษ และให้มีมาตรการสร้างขวัญกำลังใจให้ชัดเจนและเป็นเอกภาพเมื่อมีการสูญเสียเกิดขึ้น

IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!