เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 26 เมษายน 2024, 01:49:23
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  คิดอย่างไรระหว่างจำนำข้าวกับประกันราคาข้าว
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน คิดอย่างไรระหว่างจำนำข้าวกับประกันราคาข้าว  (อ่าน 614 ครั้ง)
ittisara
วิถีชีวิตที่ดีย่อมไม่หยุดยั้งการพัฒนา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 426


มีดคมอยู่ในฝักคนล๊วกอยู่ในใจ


« เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2012, 12:32:55 »

ช่วยกันสะท้อนความเห็นหน่อยครับว่าที่สุดแล้วชาวนาได้ดีจางสิ่งไหนกันแน่
และขอความเห็นกับการทุจริตการรับจำนำข้าว
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2012, 15:37:23 »

อย่าโยงเข้าการเมืองนะคับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
เมล็ดพันธุ์แห่งขุนเขา
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 718


เมล็ดพันธุ์แห่งขุนเขา


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 30 ตุลาคม 2012, 17:11:25 »

ผมกลัวตอบไปแล้วจะเป็นประเด็นทางการเมืองขึ้นมาเอาเป็นว่ากั๊ดอกต่อไปแล้วกัน
IP : บันทึกการเข้า

สนับสนุนความเป็นชุมชนพอเพียง เพราะความพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
jaroen
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 425


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 16:16:35 »

ผมกลัวตอบไปแล้วจะเป็นประเด็นทางการเมืองขึ้นมาเอาเป็นว่ากั๊ดอกต่อไปแล้วกัน

ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ;D555 อู้บ่อได้เหมือนกันคับ รูดซิบปาก รูดซิบปาก
IP : บันทึกการเข้า
challethai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 312


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 16:32:36 »

ชาวนาทำนาขายข้าวเอง   จำนำดีกว่าครับ
เจ้าของนา-ทำนาเอาไว้กิน   ประกันรายได้ดีกว่าครับ
IP : บันทึกการเข้า
Wavelap
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 95


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 20:12:52 »

ทำแล้วชาวนามีอันจะกินก็ทำเถอะ  อย่าโกงเป็นพอ
IP : บันทึกการเข้า
۰•ฮักแม่จัน©®
เลวบ้างในบางเวลา
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,017


"มารบ่มี บารมี บ่เกิด.."


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 20:20:01 »

กึ๊ดแล้ว กั๊ดอกครับ
IP : บันทึกการเข้า

"ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป"

ไม่มีใครหรอกที่จะเลวโดยสันดาน ..
หากแต่สถานการณ์มันบีบบังคับให้ทำ
yonok
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 91


เจ้านายตัวเอง 0813663304


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 21:48:27 »

*มันก็ดีไปคนละแบบ
*สำคัญอย่าโกง เป็นใช่ได้
*เสียดายเงินภาษีของชาวบ้าน ของเราๆด้วย เจ็บใจครับ


* คนกับควาย.png (334.2 KB, 422x292 - ดู 147 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
xavier
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 31 ตุลาคม 2012, 22:22:31 »

ช่วยกันสะท้อนความเห็นหน่อยครับว่าที่สุดแล้วชาวนาได้ดีจางสิ่งไหนกันแน่
และขอความเห็นกับการทุจริตการรับจำนำข้าว
  ไม่ดีทั้งสองอย่าง เพราะทำให้คน มีนิสัยแบ มือขอ  สร้างนิสัยไม่ดีให้คนรุ่นหลัง ๆ  ที่ดีต้องช่วยเหลือแบบยั่งยืน เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต  ... การทำปุ๋ย แบบธรรมชาติ .... ไม่ใช่ไม่พอใจอะไร ก็ปิดถนน  ขอ ขอ ขอ...
IP : บันทึกการเข้า
waannoom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 211


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 11:01:55 »

จำนำดีกว่าเพราะราคาข้าวสูงมาก
ประกันรายได้ได้เงินประกันมาน้อย  ราคาขายข้าวยังถูกอีก

ส่วนเรื่องที่ว่าจำนำข้าวมีการโกงเยอะมากนั้น  เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องต้องแก้การโกงหรือดำเนินคดีกันไป   อย่าเอาเรื่องจำนำข้าวมาโยงกับการโกงครับ  เพราะพ่อผมทำนาอยู่ขายข้าวได้แพงชอบใจมาก 
IP : บันทึกการเข้า
tfgc2007
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,874


สมบัติพญามังราย ต้องรักษาไว้


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 11:27:23 »

ช่วยกันสะท้อนความเห็นหน่อยครับว่าที่สุดแล้วชาวนาได้ดีจางสิ่งไหนกันแน่
และขอความเห็นกับการทุจริตการรับจำนำข้าว
  ไม่ดีทั้งสองอย่าง เพราะทำให้คน มีนิสัยแบ มือขอ  สร้างนิสัยไม่ดีให้คนรุ่นหลัง ๆ  ที่ดีต้องช่วยเหลือแบบยั่งยืน เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต  ... การทำปุ๋ย แบบธรรมชาติ .... ไม่ใช่ไม่พอใจอะไร ก็ปิดถนน  ขอ ขอ ขอ...
+10000
IP : บันทึกการเข้า

รักษ์กำเมือง....ร่วมส่งเสริมละอ่อนเหนือ อู้กำเมือง....
เชียงรายสถาปนิก'97 รับ ออกแบบ เขียนแบบบ้าน อาคาร รับบริหารงานก่อสร้างและงานระบบทุกประเภท ตรวจสอบอาคาร โดยสามัญวิศวกร สามัญสถาปนิก และ จป.วิชาชีพ
Mong6
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,363



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 11:35:26 »

ช่วยกันสะท้อนความเห็นหน่อยครับว่าที่สุดแล้วชาวนาได้ดีจางสิ่งไหนกันแน่
และขอความเห็นกับการทุจริตการรับจำนำข้าว

การทุจริตการรับจำนำข้าว
ได้ยินเยอะ  แต่จับใครไม่ได้   " Thailand Only "

ตำรวจ อัยการ ศาล ไปไหนกันหมด
หรือว่าทุกวันนี้งานเยอะ เกินเงินเดือนอยู่แล้ว

จบข่าว !
IP : บันทึกการเข้า
ManU
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 576



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 12:41:42 »

เรื่องนี้ก็รู้ๆกันอยู่ถ้าอยากให้แสดงความคิดเห็นโดยไม่เกี่ยวเรื่องการเมือง..มันไม่ได้ เอาเลยอยากพูดอะไรพูดกันเลยดีกว่าครับ
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 14:04:44 »

เอาความคิดเห็นของ  ดร.ชัย วัชรงค์ มาครับ  น่าจะช่วยได้เยอะครับ

ในประเด็น : การรับประกันราคา และการจำนำ กรณีข้าว
ภาพรวมตลาดข้าว

การผลิตรวมทั้งโลก ประมาณ 456 ล้านตัน (ข้าวสาร)     พอๆ กับการบริโภค บางปีขาดแคลน บางปีเหลือนิดหน่อย

ผู้ผลิตรายสำคัญ: ปี 2554

จีน                      138 ล้านตัน     บริโภคเองทั้งหมด บางปีขาดแคลน ต้องนำเข้า บางปี
                                               เหลือเก็บไม่มาก

อินเดีย                  97 ล้านตัน      บริโภคเกือบหมด ส่งออกไม่มาก ปีนี้ส่งมากเพราะ
                                               อินเดียติดปัญหาหนี้สินมากต้องการรายได้เข้าประเทศ

บังคลาเทศ            33 ล้านตัน      บริโภคในประเทศ 36 ล้านตัน ต้องนำเข้า

เวียดนาม              25 ล้านตัน        บริโภค 19 ล้านตัน  ส่งออก 6 ล้านตัน

ไทย                    21 ล้านตัน       บริโภค 10 ล้านตัน    ส่งออก 11 ล้านตัน 

ปัจจุบัน ทั่วโลก ค้าขายข้าวสาร ทุกเกรด   32 ล้านตัน

ไทยส่งออก 10-11 ล้านตัน   คิดเป็น 1 ใน 3 ของโลก

Stock
เพื่อความมั่นคง ทุกประเทศจะสำรองข้าวเผื่อกรณีขาดแคลน  ทั้งโลก ปริมาณสำรองอยู่ที่ 9.7 ล้านตันผลิต 456 ล้านตัน เป็น stock 9.7 ล้านตัน คิดเป็น 21 %  Stock ข้าวทั่วโลกคิดเป็น  2.5 เดือน  ถือว่า มีน้อยมาก  ถ้าเกิดภาวะวิกฤติทางด้านอาหาร จะเป็นปัญหาใหญ่ปัจจุบัน ภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบมากคือ สหรัฐฯ, อินเดีย, บังคลาเทศ, ฟิลิปปินส์เวียดนามเอง มี stock สำรองอยู่เพียง เดือนกว่าๆ

ผลผลิตของไทย
ชาวนาที่ปลูกข้าว 3.7 ล้านครัวเรือน จากผู้ทำอาชีพเกษตรกรทั้งหมด 5.8 ล้านครัวเรือน

ทำนาปีรวม            59 - 60 ล้านไร่     
ทำนาปรังรวม          9 - 10 ล้านไร่
เฉลี่ย 60 ล้านไร่ / 3.7 ล้านครัวเรือน  ประมาณ 18 ไร่ ต่อครัวเรือน
ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ได้  461 ก.ก. (ข้าวเปลือก) / ไร่   ถือว่าต่ำมาก

(จีนผลิต 1,100 – 1,200 ก.ก./ไร่  เวียตนาม  800 ก.ก./ไร่ กัมพูชา, ลาว, ฟิลิปปินส์ ก็มีผลผลิตต่อไร่มากกว่าไทย)
ที่ไทยผลิตเฉลี่ยได้น้อย ก็เพราะ เรามีการทำนาข้าวหอมมะลิ ในภาคอิสาน ที่มีค่าเฉลี่ยไร่ละ 400 ก.ก.ต่างจากข้าวเจ้า ไร่ละ 600 ก.ก. / 800 ก.ก. / 1,000 ก.ก.  ขึ้นอยู่กับพื้นที่ชลประทาน
ไทยผลิตข้าว 21 ล้านตัน (ข้าวขาว – สีแล้ว)  บริโภคภายใน 10 ล้านตัน  ส่งออก   11 ล้านตัน
ประชากรในครัวเรือนชาวนาเฉลี่ย 3.7 คน x 3.7 ล้านครัวเรือน  ประมาณ 13.5 ล้านคนที่เกี่ยวกับครอบครัวชาวนา
ผลิตข้วเปลือก นาปี + นาปรัง รวม ประมาณ 32 ล้านตัน  ผลิตเป็นข้าวสารเจ้า  21 ล้านตัน

การตลาด
ชาวนา 3.7 ล้านครอบครัว   โรงสีข้าว   1,333 โรง      พ่อค้าข้าว 176 ราย
ชาวนา : โรงสี  เท่ากับ  1:2,800
ชาวนา : พ่อค้าข้าว เท่ากับ   1:21,000
ผลผลิตส่วนมากจะออกมาพร้อมๆ กัน ในพื้นที่เพาะปลูกบริเวณเดียวกัน
กลไกการตลาด เมื่อ supply มันมากกว่า demand มหาศาล  เป็นตลาดของผู้ซื้อสมบูรณ์ถ้าไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้กลไกเป็นอยู่เช่นนี้ ชาวนาจะเป็นอย่างไร?


อดีต   ข้าวเปลือก 1 เกวียน (1,000 ก.ก.)   ขายได้ประมาณเฉลี่ย 5 – 7,000 บาท
ชาวนาปลูกข้าวเปลือกได้ ประมาณ 700 ก.ก. ต่อไร่  (0.7 เกวียน)
ถ้าขายตามปกติดั้งเดิม สมมติขายได้ราคา 7,000 บาท / เกวียน
เท่ากับ    7,000 บาท x 0.7 เกวียน      เท่ากับ   4,900 บาท / ไร่
ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ อยู่ที่                                            4,000 บาท / ไร่
ก็จะได้ ส่วนต่าง 900 บาท / ไร่ / ครัวเรือน (3.7 คน)
ไม่น่าสงสัย ความยากจนของชาวนา บวกกับ หนี้สินที่ต้องเพิ่มพูนขึ้น บวกกับการที่ต้องขายที่ดินทำกิน

ปัจจุบัน ชาวนาที่ต้องเช่าที่ดินเพื่อปลูกข้าว มี 800,000 ครัวเรือน
ชาวนาที่มีที่ดิน แต่ไม่พอปลูก ต้องเช่าเพิ่ม มี 500,000 ครัวเรือน
กลไกตลาด แบบดั้งเดิม มันไม่เป็นธรรม   มันจึงเป็นที่มาของ โครงการที่รัฐฯ ต้องเข้าแทรกแซง
ถ้ารัฐฯ ไม่ดูแล ประชากรที่คิดเป็น 30% ของคนทั้งประเทศ  ผลจะเป็นอย่างไร?
ปัจจุบัน ลูก-หลาน ชาวนา ไม่ต้องการยึดอาชีพทำนาอีกต่อไปแล้ว ชาวนามีจำนวนน้อยลงทุกปี
อายุเฉลี่ยของผู้ประกอบอาชีพชาวนาปัจจุบัน ใกล้อายุ 50 ปีแล้ว

 การแทรกแซงของรัฐ : ประกัน VS จำนำ

การประกัน
รัฐฯ ให้ชาวนาขายกับพ่อค้า ตามกลไกปกติ เช่น  ประกันราคาไว้ที่ 12,000 บาท (ที่ความชื้นไม่เกิน 15%)

ชาวนาขายได้ราคาเท่าไร ก็มารับส่วนต่าง ที่ขาดไปแต่ รัฐฯ จะรับประกันได้ไม่เกิน 10 ไร่ ที่ 600 ก.ก. / ไร่  คือไม่เกินรายละ 6,000 ก.ก. (6 เกวียน)
ในความเป็นจริงเรื่องราคา รัฐฯ จะมีการประกาศ “ราคาอ้างอิง” ซึ่ง ชาวนาต้องขายได้ตามราคานี้
เช่น ราคาอ้างอิง เท่ากับ 9,500 บาท  เมื่อหักลบราคาประกัน จะได้ 12,000 – 9,500  เท่ากับ 2,500 บาท / เกวียนแต่ในชีวิตจริง ชาวนาจะถูกกดราคา ขายได้เพียง 6,000 – 7,000 บาท
ชาวนาก็ไปเข้าใจว่า ส่วนต่างที่จะได้คือ 12,000 ลบ ราคาที่ได้ขายไป ซึ่งไม่ใช่เพราะรัฐฯ กำหนดราคาอ้างอิง ซึ่ง ชาวนาต้องขายให้ได้ในราคานั้น !!!

แล้วใครได้ประโยชน์ ?   พ่อค้าคนกลาง + โรงสีใหญ่    ในขณะที่ชาวนาได้ประโยชน์ น้อยมาก
อีกประการหนึ่ง

การประกันราคา ไม่ได้ดูที่ตัวเมล็ดข้าว แต่ดูหลักฐานเรื่องการถือครองที่ดินเป็นหลักคนที่ไม่ได้ทำนาจริง แต่เป็นเจ้าของที่ โดยให้ชาวนาทำ เจ้าของที่ก็ได้ประโยชน์ เกิดการคดโกง ทุจริต
ตัวเลขที่เห็นได้ สมัยประกันราคารัฐบาลที่แล้ว   รัฐฯ จ่ายไปเพื่อซื้อข้าวเปลือก 38 ล้านตัน

ที่กล่าวไว้ตอนแรกแล้ว   ไทยผลิตข้าวเปลือกได้จริง ปีละ 31-32 ล้านตัน

แล้วผลผลิต (ที่เอาไปรับเงิน ประกันราคาข้าว) มันโผล่มาอย่างไร อีก 6 ล้านตัน ?

เจ้าของที่ดิน เอาหลักฐานไปบอกว่า ผลิตข้าว จะได้เฉลี่ย 2,500 บาท / เกวียน โดยไม่ต้องผลิตเลย !!!

 

เทียบกับ การจำนำข้าว

เอา “เมล็ดข้าว” ของจริง ไม่สนใจเรื่องโฉนดที่ดิน ที่เรียกว่า “รับจำนำทุกเม็ด”
จะทำที่ของตัวเอง หรือจะเช่าที่ดิน  ขอให้มี “เม็ดข้าว” มาจำนำ ได้เงิน
15,000 บาท / เกวียน (ตัน) สำหรับข้าวเปลือก 100% ความชื้นไม่เกิน 15%
14,800 บาท / เกวียน สำหรับข้าวเปลือก 5% ความชื้นไม่เกิน 15%
20,000 บาท / เกวียน สำหรับข้าวหอมมะลิ

 
มียอดจำนำปีนี้ ข้าวนาปี 6.9 ล้านตัน (ที่น้อย เพราะอยู่ในช่วงคาบเกี่ยว ประกัน / จำนำ  ฤดูผลิต 2554-2555)
นาปรัง เข้าโครงการจำนำ รวม 9.8 ล้านตัน (จำนำเต็มจำนวนที่ผลิตได้)
รวม ข้าวที่อยู่ในโครงการรับจำนำแล้ว 17 ล้านตัน   จุดนี้แหละ ถูกนำมาเป็นประเด็นโจมตีอีกแง่มุมหนึ่ง
 

รัฐฯ ขาดทุนมหาศาล เอาข้าวจำนำมา “กองไว้” ไม่ได้ขาย เอาภาษีมาอุดหนุน ให้เสียหาย
จะ “ขาดทุน” หรือไม่ ให้ดูรายละเอียดนะ  (คิดต่อเกวียน หรือ ตัน)
ต้นทุนรัฐบาล รับจำนำ                         15,000 บาท
ค่าสีข้าว + อื่นๆ                                     500 บาท
ค่าเช่าโกดัง 4 เดือน @ 75 บาท                300 บาท           รวม  15,800 บาท / ตัน (ข้าวอยู่ในความดูแลของรัฐฯ)

 ข้าวเปลือก 1 ตัน สีออกมาแล้ว ได้ข้าวสาร 450 ก.ก.   ที่เหลือเป็น
ปลายข้าว (ข้าวหัก) 200 ก.ก. / รำข้าว  100 ก.ก. / แกลบ  250 ก.ก.
เวลาคิดราคา คิดแยก 2 กอง คือ “ข้าวสาร” กับ “ผลพลอยได้”
ปลายข้าว 200 ก.ก. x 14 บาท               =  2,800  บาท
รำข้าว  100 ก.ก. x 8 บาท                    =      800 บาท
แกลบ  250 ก.ก. x 0.8 บาท                 =      200 บาท       รวมมูลค่า ผลพลอยได้   3,800 บาท / ข้าวเปลือก 1 ตัน

เมื่อนำไปหักออก จากต้นทุนข้าวเปลือก 15,800 บาท / ตัน 
จะเหลือต้นทุนข้าวสาร 450 ก.ก.            = 12,000 บาท  (26.70 บาท / ก.ก.)
จะรู้ว่า กำไร (ขาดทุน) จริง ต้องเทียบราคาขาย
ถ้าราคาขาย ส่งออก เท่ากับ $600 / ตัน (ข้าวสาร) ก็เท่ากับ

600 x 31.50 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน)                  =  18,900 บาท / ตัน
ข้าวสาร 450 ก.ก. / ตัน     =  18,900 x .45         =    8,505 บาท
ฉะนั้น (ขาดทุนจริง)   = 12,000 – 8,505             =    3,495 บาท / ตัน (ข้าวเปลือก)
แล้วถ้าราคาข้าว (FOB Bangkok) มันขึ้นไปเป็น $700, $800, $900 ล่ะ
จึงขึ้นอยู่กับราคาขายข้าวสาร   หากเกิน $800/ตัน เราก็มีกำไร
เทียบกับอดีต สมัยประกันราคา ได้ราคาส่งออก (FOB) ที่ $490 / ตัน

 เมื่อรัฐฯ รับจำนำ ทำให้ “ของ” มาอยู่ในมือรัฐฯ ทำให้ควบคุม ราคาขาย ได้
ตอนที่มีการรับจำนำช่วงแรก ราคาอยู่ที่ $600 เคยขึ้นไปถึง $672
เวลานี้รัฐฯ จะขายแบบ รัฐฯ ต่อ รัฐฯ (Government to Government)
คาดว่าจะขายให้จีน 2 ล้านตัน อินเดีย 1 ล้านตัน ที่อื่นๆ 1 ล้านตัน รวม 4 ล้านตัน
ราคาขาย อยู่ที่ $612 / ตัน
ฉะนั้น รัฐจะ (ขาดทุน) ประมาณ 3,325 บาท / ตัน

 รัฐฯ รับจำนำมาแล้ว 17 ล้านตัน หากขายได้เฉลี่ยที่ $612 / ตัน ขาดทุนตันละ 3,325 บาท

ฉะนั้น โครงการรับจำนำในปีนี้ จะขาดทุนรวม ประมาณ 56,525 ล้านบาท
โครงการ “รับประกันราคา” ของรัฐบาลที่แล้ว ใช้งบประมาณไป 8 หมื่นล้านบาท
แต่...ชาวนายังยากจน

 
นโยบาย ดี-ไม่ดี ดูอย่างไร?

1 ดูว่าใคร ได้ประโยชน์
2 ดูว่า ใช้เงินงบประมาณอย่างไร เท่าไร?

ตอนนี้ ชาวนาขายข้าวได้เฉลี่ย 11,500 – 12,500 บาท / เกวียน ขึ้นอยู่กับความชื้น
เทียบกับการขายข้าวตามกลไกเดิมๆ ชาวนาได้เงินเพิ่มเฉลี่ย 5,000 – 5,500 บาท / เกวียน
ที่มาโจมตีเรื่อง ข้าวล้นโกดัง  ตอนนี้มี 11 ล้านตัน (จำนวนนี้มี ปลายข้าว 3.4 ล้านตัน รวมอยู่ด้วย)มีระบายออกมาบ้างส่วนหนึ่ง  เหลือข้าวสารเพื่อจำหน่ายจริง ประมาณ 6 ล้านตัน
ข้อแนะนำคือ ขายปลายข้าวออกมาเลย เพราะเป็นการขาย ภายในประเทศ ไม่มีการส่งออก
ที่เหลือข้าวสาร 6 ล้านตัน  รัฐฯ ต้องควบคุม supply และทำให้ราคาข้าวสารสูงขึ้น
 
ที่พ่อค้าไม่ชอบ โรงสีไม่ชอบ ก็เพราะเรื่องของไม่มีขายในตลาด
ในอดีตสบาย ซื้อของถูก พอมาเป็นอย่างนี้ ก็ต้องเดือดร้อนเป็นธรรมดา
ทั้งๆ ที่จริง ปัญหาเรื่องพ่อค้า คนกลุ่มเดียว มีจำนวนไม่มาก น่าจะเป็นเรื่องอันดับรอง
และพวกเขาทำการค้า เขาย่อมรู้ดี และปรับตัวได้ในที่สุด
ส่วน ชาวนายากจน เป็นปัญหาใหญ่ของชาติ เป็นเรื่องหลัก
นโยบาย “จำนำข้าว” ของรัฐฯ จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

 ที่กล่าวหาว่า การจำนำราคา “บิดเบือนกลไกตลาด”
เป็นเรื่องจริง ใช่   และที่ต้องทำการ “บิดเบือน”
ก็เพื่อทำให้มันตรงไง บิดให้มันตรง เพราะที่แล้วมา
กลไกมันไม่เป็นธรรม ให้คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์
ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ

ตอนนี้ รัฐฯ รับจำนำ มี “ของ” แล้ว รัฐฯ ก็เปิดประมูล
พวกคุณก็มาประมูลไป แต่รัฐฯ ย่อมสามารถ กำหนด

“ราคาประมูลขั้นต่ำ” ได้นี่

 

เรื่องไทย “เสียแชมป์” ก็ช่างมันซิ
ที่แล้วมาเราเป็นแชมป์ตลอด แต่ชีวิตชาวนาเป็นอย่างไร?
อย่าหลงประเด็น เป็นแชมป์แล้วลำบาก เป็นไปทำไม?

 

แล้วถ้าจะว่ากันตามจริง ระยะเวลาของยอดส่งออก
เขานับรอบ 12 เดือน   ตอนนี้ เราเก็บไว้ ยังไม่ปล่อย
ไม่ได้หมายถึงเราไม่ขายนี่  เวียดนาม, อิเดีย ขายไป
อย่างไรก็ไม่พอความต้องการของโลก ลองคิดดูขณะที่
เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน ไม่มีของขาย แต่เรามี

อีกประเด็น มีคนบอกว่า ชาวนาส่วนใหญ่ ไม่ได้ประโยชน์
ส่วนใหญ่ เป็นชาวนารายย่อย “ทำแค่พอกิน” ไม่มีมาจำนำ
ใน 3.7 ล้านครัวเรือน มีชาวนาทำพอกินถึง 2.6 ล้านครัวเรือน
จริงหรือ ?

 

ดูตัวเลขสถิติ  (สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
เกษตรกรชาวนาข้าว ลงทะเบียน 3.2 ล้านครัวเรือน ที่ดินทำกินเฉลี่ย 18 ไร่ / ครัวเรือน
แต่สถิติบอกว่า ผู้ที่ถือครองที่ดินตั้งแต่ 10 – 39 ไร่ คิดเป็น 52% ของทั้งหมด
ที่ว่า ชาวนา 2.6 ล้านครัวเรือน ทำพอกิน เอาตัวเลขมาจากไหน?
ชาวนา เฉลี่ยครอบครัวละ 4 คน กินข้าวทั้งปี เพียง 600 ก.ก. (เฉลี่ย)
หรือคิดเป็นข้าวเปลือก เท่ากับ 1,500 ก.ก.  ใช้ที่ปลูก 2 ไร่
ชาวนาที่ไหน ทำการเพาะปลูกข้าทั้งปี แค่ 2 ไร่?

 

เรื่อง ทุจริต
เป็นไปไม่ได้ที่จะ ไม่มี  แต่มีแค่ไหน?  อย่างไร?  เป็นเรื่องที่ต้องแก้
มันทุจริต ร้ายกาจถึงขนาดต้องล้มโครงการเลยหรือ?
ถ้าเทียบระบบประกันราคา กับ จำนำราคา
ระบบประกันราคา มันทุจริต โดยไม่ต้อง “ออกแรงโกง” เลย
ระบบรับจำนำ มันมีขั้นตอนเชิงประจักษ์
จะโกง จะทุจริต ก็ทำได้ แต่มันยาก มีขั้นตอน
และถ้าจับได้ บทลงโทษหนักๆ มันก็ไม่คุ้ม
สรุปคือ ต้องแก้ปัญหาทุจริต แต่ไม่ต้องยกเลิกโครงการ

 

รัฐฯ ต้องสื่อสารถึงชาวนาทั้งหลาย
รัฐฯ ยินดีช่วยเหลือ แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากชาวนา ในเรื่อง

อย่าเร่งปลูก จนเกินไปทำให้ไม่ได้ผลผลิตที่ดี
อย่าใช้พันธ์ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีราคา
จัดทำ stock ตัวเลข แยกเมล็ดข้าว / ผลพลอยได้
ช่วยเป็นหูเป็นตาให้รัฐ ดำเนินการจับทุจริต เพื่อคงนโยบายนี้ไว้
 

เมื่อชาวนามีเศรษฐกิจครัวเรือนที่ดีขึ้น มีกำลังซื้อ
มันก็ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติได้



IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 18:01:43 »

ขอบคุณข้อมูลดีๆนำมาให้ทราบคับ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า
zombie01
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,519


ความสุขเกิดขึ้นได้ เพียงแต่รู้จักใช้ชีวิต


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 01 พฤศจิกายน 2012, 18:08:03 »

อ่านข้อมูลแล้วรู้เรื่องขึ้นอีกเยอะเลยครับ ขอบคุณครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

waannoom
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 211


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 02 พฤศจิกายน 2012, 09:47:57 »

เห็นด้วยอย่างมากเลยครับกับกระทู้ที่ 1736  ครับ
จำนำชาวนาได้ประโยชน์มาก
ส่วนคนโกงจะได้ประโชน์ไปด้วยก็ต้องแก้ไขเอา
อย่าถึงขั้นต้องล้มโครงการเลย
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!