เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 24 เมษายน 2024, 05:58:19
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ฉันจะเป็นชาวนา
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ... 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 [16] 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 พิมพ์
ผู้เขียน ฉันจะเป็นชาวนา  (อ่าน 47812 ครั้ง)
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #300 เมื่อ: วันที่ 24 พฤศจิกายน 2012, 19:57:41 »

ใช้เวลาหว่านไป 2 ชม.ได้ 4 ไร่กว่าต้องหยุดเพราะพื้นนายังไม่แห้งพอ เพราะมีฝนตกลงมาบ่อย ต้องปล่อยทิ้งไว้อีกซัก 1-2 สัปดาห์ค่อยมาหว่านอีกครั้ง แล้วก็เดินทางกลับมาบ้านครับ


* IMG_7648_resize.JPG (168.33 KB, 750x1000 - ดู 715 ครั้ง.)

* IMG_7651_resize.JPG (127.41 KB, 750x563 - ดู 552 ครั้ง.)

* IMG_7662_resize.JPG (76.07 KB, 750x563 - ดู 517 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
HARLEY DAVIDSON
BIKER
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,537


HARLEY DAVIDSON & MERCEDES BENZ


« ตอบ #301 เมื่อ: วันที่ 24 พฤศจิกายน 2012, 20:08:33 »

เยี่ยมครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

ขาดแคลนเงินตรา  แต่งชุดนักศึกษามาหาพี่
สุขใดไหนจะเท่า เมื่อล้วงกระเป๋าแล้วเจอตังค์
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #302 เมื่อ: วันที่ 24 พฤศจิกายน 2012, 22:01:00 »

ใช้เวลาหว่านไป 2 ชม.ได้ 4 ไร่กว่าต้องหยุดเพราะพื้นนายังไม่แห้งพอ เพราะมีฝนตกลงมาบ่อย ต้องปล่อยทิ้งไว้อีกซัก 1-2 สัปดาห์ค่อยมาหว่านอีกครั้ง แล้วก็เดินทางกลับมาบ้านครับ

 ยิ้มกว้างๆ....เทรลเลอร์คันเล็กกะทัดรัดดีครับ....
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ปวดตับ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,555


ถ่ายรูปคือความสุข ..


« ตอบ #303 เมื่อ: วันที่ 24 พฤศจิกายน 2012, 22:31:55 »


สาวบ้านนี้ ... ได้ใครคู่ครอง ... มีัข้าวกินทั้งปีทั้งชาติ  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

อนิจจาผู้ไม่เคยมีความฝัน ... ไม่มีวันได้เจอสุข
chetta2499
เชษฐา 2499
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,138


จุดเทียนไขดีกว่านั่งแช่งความมืด


« ตอบ #304 เมื่อ: วันที่ 25 พฤศจิกายน 2012, 06:56:44 »


สาวบ้านนี้ ... ได้ใครคู่ครอง ... มีัข้าวกินทั้งปีทั้งชาติ  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
สงสัยจะเป็นสาวลูก 2 เหียก๊าหา
IP : บันทึกการเข้า

ฟาร์มผลิตไก่ชนคุณภาพ จังหวัดเชียงราย
ซุ้มไก่ชนลูกพ่อขุนฯเชียงราย

htt://www.facebook.com/chetta worapitbenja

โทร 0892576293/0808979330
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #305 เมื่อ: วันที่ 25 พฤศจิกายน 2012, 10:05:04 »


สาวบ้านนี้ ... ได้ใครคู่ครอง ... มีัข้าวกินทั้งปีทั้งชาติ  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
สงสัยจะเป็นสาวลูก 2 เหียก๊าหา

ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 25 พฤศจิกายน 2012, 10:07:14 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #306 เมื่อ: วันที่ 25 พฤศจิกายน 2012, 13:01:23 »


สาวบ้านนี้ ... ได้ใครคู่ครอง ... มีัข้าวกินทั้งปีทั้งชาติ  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
สงสัยจะเป็นสาวลูก 2 เหียก๊าหา

 ยิ้มกว้างๆ....เหอๆๆๆ....เก็บหลักฐานไว้ก่อนครับ....
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
HARLEY DAVIDSON
BIKER
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,537


HARLEY DAVIDSON & MERCEDES BENZ


« ตอบ #307 เมื่อ: วันที่ 25 พฤศจิกายน 2012, 17:20:38 »


สาวบ้านนี้ ... ได้ใครคู่ครอง ... มีัข้าวกินทั้งปีทั้งชาติ  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
สงสัยจะเป็นสาวลูก 2 เหียก๊าหา

 ยิ้มกว้างๆ....เหอๆๆๆ....เก็บหลักฐานไว้ก่อนครับ....
นั้นเตอะ ลูกสองลูกสาม สำหรับผมไม่มีปัญหา
IP : บันทึกการเข้า

ขาดแคลนเงินตรา  แต่งชุดนักศึกษามาหาพี่
สุขใดไหนจะเท่า เมื่อล้วงกระเป๋าแล้วเจอตังค์
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #308 เมื่อ: วันที่ 25 พฤศจิกายน 2012, 21:42:28 »

รถแบบนี้แปลกดีน้อ แต่ก็ใช้ได้ครับ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม


* heilongjiang-rice-harvest-rural-province-china-tra1.jpg (93.3 KB, 640x480 - ดู 511 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #309 เมื่อ: วันที่ 25 พฤศจิกายน 2012, 21:50:38 »

อีกหน่อยที่นาผมก็คงจะทำแบบนี้แล้วครับ ในไทยก็มีหลายท่านที่ทำแล้วแม้ลงทุนสูงแต่ก็อยู่ได้เป็นสิบปีแถมการซ่อมแซมก็ง่ายครับ เพราะอีกหน่อยอายุเยอะขึ้นจะมาตัดหญ้าคันนาก็คงบ่าไหว หน้าฝนหญ้าก็ขึ้นเร็วแถมเป็นที่อยู่ของแมลงศัตรูข้าว มีทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย แถมบ่าปอตึงปู งู ปลาไหล ก็ยังคอยทำฮื้อคันนาเป็นรู เก็บน้ำบ่าอยู่ต้องคอยซ่อม แถมบ่าปอต้องได้ขึ้นคันนาใหม่แหม ถ้าจะเอายาพ่นก็เสียต่อสุขภาพแหมครับ


* woman-carrying-bucket-through-rice-field-Dali-China.jpg (269.58 KB, 860x574 - ดู 489 ครั้ง.)

* man-crossing-rice-field-near-town-Dali-China.jpg (214.6 KB, 860x574 - ดู 505 ครั้ง.)

* China_rice_fields_canal_waterway.jpg (322.6 KB, 960x1280 - ดู 530 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ⒷⒼ*
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,369

นิพพานคือนิรันดร์


« ตอบ #310 เมื่อ: วันที่ 25 พฤศจิกายน 2012, 21:58:46 »

เข้ามาดมกลิ่นอายดิน ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,176



« ตอบ #311 เมื่อ: วันที่ 26 พฤศจิกายน 2012, 07:32:10 »


สาวบ้านนี้ ... ได้ใครคู่ครอง ... มีัข้าวกินทั้งปีทั้งชาติ  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
สงสัยจะเป็นสาวลูก 2 เหียก๊าหา

 ยิ้มกว้างๆ....เหอๆๆๆ....เก็บหลักฐานไว้ก่อนครับ....
นั้นเตอะ ลูกสองลูกสาม สำหรับผมไม่มีปัญหา
ฮาๆๆๆ โดนเต็มๆๆๆ ยังโสดๆๆอยู่ทางนี้ เน้อเจ้า ฮาๆๆๆๆ
IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,176



« ตอบ #312 เมื่อ: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2012, 08:10:27 »

คูโบต้ามาสาธิตรถเกี่ยวข้าวที่โรงเรียนชาวนาท่าสาย เจ้า


* 3450_304335193008128_1109696502_n.jpg (179.19 KB, 960x640 - ดู 539 ครั้ง.)

* 16001_304336486341332_1705471647_n.jpg (141.62 KB, 960x640 - ดู 471 ครั้ง.)

* 75235_304336703007977_755906194_n.jpg (75.82 KB, 640x960 - ดู 475 ครั้ง.)

* 149134_304335233008124_1539970527_n.jpg (157.72 KB, 960x640 - ดู 482 ครั้ง.)

* 248902_304335163008131_845564430_n.jpg (200.7 KB, 960x640 - ดู 451 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,176



« ตอบ #313 เมื่อ: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2012, 08:12:26 »

คูโบต้าก็เอารถอักฟางมาสาธิตให้ดูด้วยเจ้า


* 374471_304336909674623_2049337822_n.jpg (166.88 KB, 960x640 - ดู 464 ครั้ง.)

* 381608_304335366341444_1752650546_n.jpg (177.55 KB, 960x640 - ดู 520 ครั้ง.)

* 395106_304336073008040_1091932912_n.jpg (156.99 KB, 960x640 - ดู 463 ครั้ง.)

* 530907_304336846341296_749221889_n.jpg (104.91 KB, 960x640 - ดู 471 ครั้ง.)

* 556253_304335733008074_882187725_n.jpg (181.63 KB, 960x640 - ดู 445 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,176



« ตอบ #314 เมื่อ: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2012, 08:13:18 »

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


* 531139_304335916341389_1504013464_n.jpg (122.43 KB, 960x640 - ดู 446 ครั้ง.)

* 534059_304335553008092_829136919_n.jpg (125.87 KB, 960x640 - ดู 470 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #315 เมื่อ: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2012, 11:36:56 »

คูโบต้าก็เอารถอักฟางมาสาธิตให้ดูด้วยเจ้า

เครื่องอัดฟางราคาเต้าใดครับนี่ น่าสนใจดี  แต่รถเกี่ยวบ่าไหวคนแถวบ้านซื้อมาใช้งานขายปอจะบ่าตันเพราะนาแถวบ้านส่วนใหญ่จะหล่มกั๋นนัก ตีนตะขาบมันเล็กเกินไปมันติดท้องรถจะต้องได้เอา
แบคโฮลากออก แต่บางที่ก็เห็นมีใช้กันอยู่หนาที่นาบ่าหล่ม แต่ถ้าซื้อทั้งทีก็น่าจะเอารถที่สามารถใช้งานได้ทุกสภาพพื้นที่ดีกว่าครับ..



IP : บันทึกการเข้า
ubuntuthaith
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,044



« ตอบ #316 เมื่อ: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2012, 12:59:23 »

ใกล้เริ่มทำนาปรังกันแล้วมาทบทวนความรู้กันหน่อย...จะได้เตรียมตัวได้ทัน...  ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ

ชัยพร พรหมพันธุ์ นาข้าวอินทรีย์ต้นทุนต่ำ



ชัยพร พรหมพันธ์  เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2538 บ้านเลขที่ 31 หมู่ 1 ต.บางใหญ่ อ.บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี 72450 ห่างจาก อ. บางปลาม้าประมาณ  5 กิโลเมตร

การลดต้นทุนทำนาของคุณชัยพร พรหมพันธ์ มีดังนี้

- ต้นทุนแรงงาน ทำเอง ให้คนอื่นทำ เหยียบข้าวล้มหมด จึงต้องเอาไม้แหวกต้นข้าวไว้เดิน หากตัวเองทำตะแคงฝ่าเท้าเดินอย่างสบายๆ เอายาฆ่าหญ้าลูบข้าวดีด ก็ไม่ไปถูกข้าวดี เหมือนจ้างเขา คนอื่นทำเสียเงิน 600 บาท ทำเองแค่  3 ชั่วโมงก็เสร็จก็จะได้ประหยัดไปแล้ว 600 บาท
- ต้นทุนค่าเช่านา ไม่มี เพราะซื้อเป็นเจ้าของเอง แรกๆ อาจเช่า พอมีเงินก็ซื้อเลย
- ต้นทุนค่าปุ๋ย ใช้ปุ๋ยขี้หมู มาหมักอีเอ็มใส่ขี้หมู 4-5 กระสอบ/ไร่ กระสอบละ 20 กก. ซื้อมาใส่รถกระบะปิกอัพของตัวเอง เที่ยวละ 50 ลูก ต้นทุนแค่ 1,000 บาท ใส่ได้ 10 ไร่ ตกต้นทุนปุ๋ย 100 บาท/ไร่ ใส่ปุ๋ยขี้หมูแห้งก่อนทำเทือก หรือ พร้อมๆ กับทำเทือก โดยวิธีใส่กระบุ้งลงบนรถอีโกร่ง ปาดนาให้เรียบพร้อมๆกับหว่านปุ๋ยแห้งลงไปด้วย
- ต้นทุนปุ๋ยน้ำหมักและฮอร์โมน  ก็ทำปุ๋ยน้ำหมักเอง ทำหัวเชื้ออีเอ็มเอง เอามาจากป่าห้วยขาแข็ง นอกจากนี้ยังทำฮอร์โมนไข่  และฮอร์โมนนมสดใช้งานเองด้วย
- ต้นทุนยาสมุนไพรไล่แมลง ทำเองที่บ้าน ก็ปลูกต้นบอระเพ็ดด้วย ให้ขึ้นตามต้นมะม่วง ไม่ต้องดูแลมาก
- ต้นทุนปลูกข้าว ใช้วิธีแช่น้ำข้าวเปลือกพันธุ์ 1 คืน พองอก ผสมไตรโคเดอร์ม่า แล้วเอาไปทิ้งเป็นจุดๆ เตรียมหว่านโดยวิธีพ่นกระจายทั้งนา หากทำเองไม่ทัน ต้นข้าวก็ไม่เป็นรากเน่า
- ต้นทุนพันธุ์ข้าว ให้พันธุ์ข้าวสุพรรณ 60 เมล็ดพันธ์ก็เลือกเกี่ยว เอาต้นที่มีรวงเมล็ดมากๆ ไว้ทำพันธ์ เอามาผึ่งแดดลมให้แห้ง โดยใส่กระสอบปุ๋ยโป่งๆ ให้ล้มระบายได้อย่างน้อยๆ  45 วัน จึงจะปลูกได้ ตอนใช้งานช่วยแช่น้ำไตรโดเคอม่า  จะปาดเอาข้าวลีบเบาลอยน้ำออกไปขาย ไม่เอาทำพันธุ์
- ต้นทุนไถนา ซื้ออีโกร่ง มาใช้งานเอง ช่วงวิ่งบนถนนก็ เอายางนอกรถยนต์หุ้มไว้เวลาลงนาก็ถอดออก การไถนาจะทำทีเดียว ถึงทำเทือกเลย ไม่มีไถดะก่อน



การทำนาหมักปุ๋ยขี้หมู เลี้ยงต้นกล้าข้าวอ่อน  18 วัน

สูตรการทำนี้หมักจุลินทรีย์ขี้หมู
ขี้หมูแห้ง                           1        ส่วน   (20 กก.)
น้ำธรรมดา                         10      ส่วน   (180 ลิตร)
ใส่อีเอ็มห้วยขาแข็ง              0.5     ส่วน   (1 ลิตร)
แช่น้ำ                                         2-3     คืน     (200 ลิตร)
ไม่ต้องใส่น้ำตาล

สูตรการใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ขี้หมู
น้ำหมัก                                       1        ลิตร
น้ำธรรมดา                         20      ลิตร
ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เมื่อข้าวอายุได้ประมาณ 18 วัน

การทำฮอร์โมนนมเลี้ยงต้นอ่อน 18 วัน

สูตรการทำหมักฮอร์โมนนม
บีทาเก็นหรือยาคูลน์ (นมเปรี้ยวจุลินทรีย์)   1 ขวด
นมจืด                                             1 กระป๋อง
แป้งข้าวหมาก                                  1  ลูก
หมัก  3 วัน จนมีกลิ่นหอม
สูตรการใช้
นำน้ำสมุนไพรไล่แมลงผสมน้ำหมักฮอร์โมนนม  ฉีดบำรุงต้นข้าว และไล่แมลงไปพร้อมๆ กันจนได้ไม่เปลืองแรงงาน

เร่งดอกออกรวงด้วยฮอร์โมนไข่ (ข้าว 45 วัน)
สูตรการทำ ฮอร์โมนไข่
- ไข่ไก่หรือรกวัวแทน           5  กก. (ไข่ประมาณ  100 ฟอง)
- กากน้ำตาล                      5  กก.
- ลูกแป้งข้าวหมาก              1  ลูก
- ยาคูลน์ หรือบีทาเก็น หรือนมเปรี้ยว  1 ขวด
วิธีการทำ
นำไข่ไก่ทั้งฟอง ปั่นให้ละเอียดแล้ว แล้วนำไปใส่ภาชนะ ผสมการน้ำตาลคลุกเคล้าให้เข้ากัน ต่อจากนั้นบดแป้งข้างหมากให้ละเอียดแล้วผสมกับยาคูลน์และนมเปรี้ยว แล้วนำไปบรรจุใส่ถังพลาสติก แล้วคนให้เข้ากัน แล้วปิดฝาหมักทิ้งไว้ 14 วัน โดยจะต้องเปิดคนทุกวัน จึงนำไปใช้ได้ ถ้าหมักนานเกินไป จะทำให้แห้งจะต้องเติมน้ำมะพร้าวอ่อน ที่มีเนื้อเป็นวุ้น  2 ลูก
สูตรการใช้งาน
เมื่อข้าวอายุ 45 วัน จะเริ่มตั้งท้อง  100 ไร่ ใช้ฮอร์โมนประมาณ  5 กก. โดยใช้  30 ซซ. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
หลังออกรวงแล้ว จะฉีดฮอร์โมนไข่ อีกครั้งก็ได้ การฉีดพ่น  10-15 วันต่อครั้ง และควรฉีดพ่นขณะแดดอ่อน หรือในช่วงเช้า เพราะกลัวว่าจุลินทรีย์จะตายจากความร้อน

การทำเทือก

ลูบเพื่อกดให้ระดับเรียบ นามีน้ำ ให้ไล่ดินก่อนแล้วลาก ตั้งระดับได้ มีกระดานลูบหลังเสมอเลย  หากท้องนาเสมอเรียบ จะใช้น้ำเข้านาน้อย ไม่เปลืองน้ำค่าสูบน้ำ คุมน้ำคุมหญ้าได้ง่าย และป้องกันน้ำแห้งเป็นจุดๆ ในที่ดอน
น้ำเข้านาวันที่ 7-25   ของวันปลูกข้าว  หลังจากวันที่ 25  แล้ว  ปล่อยให้น้ำในนาแห้งเอง

การหว่านข้าว
เอาข้าวเปลือกแช่ลงไปในน้ำในปลอกบ่อที่เตรียมไว้ใส่น้ำ  70% ที่ใส่เชื้อไตรโคเดอร์ม่าไว้แล้ว เอาข้าวเปลือกลอยๆ ออกทันที เพราะเป็นข้าวเบาข้าวล้ม ไม่มีน้ำหนักแช่ไว้  1 คืน แล้วตักใส่กระสอบปุ๋ย เอาไปค้างที่นาได้เลย วางกระสอบไว้เป็นจุดๆ ทั่วแปลง

การหว่านใช้วิธีหว่านเครื่อง เป็นเครื่องพ่นหว่านโดยถอดลิ้นให้ล้มลง เอาตัวกันน้ำออก
เครื่องหว่านเหมือนกัน 2  เครื่อง เอาไว้หว่านปุ๋ยแห้งปุ๋ยเม็ด และเอาไว้หว่านข้าว  1 เครื่อง
อีกเครื่องลิ้นปิด ก็จะพ่นปุ๋ยน้ำ พ่นน้ำหมัก พ่นน้ำสมุนไพร น้ำฮอร์โมนได้
พ่นเครื่องหนึ่งๆ  ห่างจากตัวผู้พ่นประมาณ  7 เมตร อัตราการใช้ข้าวเปลือก  2.5  ถัง/ไร่
หว่านไม่หมดก็ไม่เป็นไร หากไม่แช่เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ข้าวเปลือกจะขึ้นรา  ข้าวที่แช่แล้ว  1 คืน วางทิ้งไว้ในกระสอบชื้น จะเกิดตุ่มตา หากความชื้นหมด ตาจะหด จะใช้อีกก็จะนำกระสอบข้าวเปลือกแช่น้ำอีก เรียกตุ่มตาใหม่ก่อนเอาไปใช้งาน
จำไว้ข้าวล้มให้เอาออกเลย เอาไว้ไม่ดีเพราะอาหารน้อยมีแค่ครึ่งเมล็ด เติบโตไม่ดีแล้ว เมล็ดลีบก็จะออกลูกเป็นเมล็ดลีบเช่นกัน
การแช่น้ำ แค่น้ำเปล่าก็พอ ไม่ต้องใช้น้ำเกลือเพราะแค่น้ำเปล่าก็คัดเมล็ดนั้นออกไปมากแล้ว ต้องรีบตักข้าวลอยน้ำออก เพราะทิ้งไว้นาน ๆ ข้าวจะจมลงเพราะอุ้มน้ำเต็มที

แก้ปัญหาเพลี้ยไฟในนาข้าว
ใช้สมุนไพรไล่แมลง ก็จะเหลือตัวห้ำตัวเบียน คอยกินเพลี้ย
อีกเทคนิคหนึ่งคือ อย่าหว่านข้าวหนาไป  จากเดิม  4-5 ถัง/ไร่ หนาไป ลดเหลือ  2.5 ถัง/ไร่ ก็พอดี หากต้นข้าวหนา แดดจะร่ม มีร่มเงามาก เพลี้ยชอบความชื้นและร่มเงา หากหว่านให้บาง  เพลี้ยจะหมดไป
เป็นชาวนาต้องหมั่นเป็นนักสังเกตุ เคยทำนา  3 แปลง ทำแปลงต้นน้ำก่อน แล้วไล่น้ำลงมาแปลงสองและไปแปลงสาม

บังเอิญข้าวงอกครึ่งเดียว ทั้งๆ ที่หว่านหนาคิดว่าจะรื้อนา หว่านใหม่ แต่ทำใจไหนๆ ก็ไหนๆ ก็เลยปล่อยไปแบบข้าวนาดำ แรกๆ ดูข้าวบางๆ ไม่เต็มนา รู้สึกเบาๆ ไม่มั่นใจ ว่าข้าวต้องได้น้อยแน่ แต่ตรงกันข้ามหว่านไว้หนา กลับได้ข้าวถัง/ไร่ น้อยกว่าหว่านบางอีก ก็เลยหันมาหว่านแบบบางๆ  ตั้งแต่นั้นมา

ต้นทุนทำนา
เดิมทีมีแค่  30 ไร่  พอต้นทุนต่ำก็มีกำไรมาก ก็ขยายนา ซื้อไปเรื่อยๆ จนได้ 107 ไร่

ต้นทุนปี 2550 ประมาณ 2,000 บาท/ไร่  ปี 2551 ประมาณ 2,500 บาท/ไร่ เพราะราคาน้ำมันขึ้น   ต้นทุนนี้ไม่รวมค่ารถเกี่ยวข้าว (รถอุ้ม) กำไรไร่ละ 10,000 บาท หากปีไหนได้ผลผลิตมากกว่า 100 ถัง/ไร่ จะซื้อเครื่องประดับให้กำลังใจตัวเอง ในส่วนที่เกิด 100 ถัง/ไร่

ทำนา  10 ไร่ เท่ากับเงินเดือน 5,000-10,000 บาท/เดือน ทำ 2 รอบ/ปี ที่สุพรรณบุรี ดังนี้
รอบแรก         ธันวาคม-เมษายน
รอบสอง        พฤษภาคม-กันยายน
พักให้น้ำท่วม  ตุลาคม-พฤศจิกายน

การรักษาดินนา
ให้ตรวจดินดูโดยการเดินย่ำนา หากนุ่มเท้าดินจะดี เพราะประกอบด้วยฟางจุลินทรีย์มากมาย   หากเป็นดินแย่ จะแข็งกระด้าง เดินไม่สบายเท้า มักเกิดจากการเผานาแบบรุนแรง คือ เผาขณะลมนิ่ง
ยามจำเป็นต้องเผาฟาง  จะใช้เทคนิคการเผาฟางแบบลอกผ่าน โดยเลือกช่วงลมแรงๆ ไฟจะเผาฟางแบบผ่านๆ เผาไม่หมด

การทำเทือกโดยวิธีควักดิน

รถควัก ทำงาน  10 ไร่/วัน ดินนิ่มและยกเท้าเปื้อน ข้าวอายุ 45 วัน  เปิดน้ำทิ้งก่อนปลายข้าวเหลืองให้แห้งก่อน
รถทำเทือกแบบที่ขายกัน จะตัดดินจนเละ  ดินข้างใต้ถูกตัดเสมอกันหมด  และพื้นแข็ง    สู้ควักเป็นจุด จะดีกว่า

ใส่ปุ๋ยขี้หมูช่วงข้าวอายุ 45 วัน
ช่วง 45 วัน หากข้าวออกรวงช้า ให้เอาขี้หมูแห้งใส่กระสอบวางขวางน้ำเข้านา ให้น้ำชะล้าง ละลายออกไป ใช้ประมาณขี้หมู  1  กระสอบ/ไร่
หนที่ 2 อายุข้าว 50-55 วัน ใส่ปุ๋ยอีก
หากเมล็ดข้าวเล็กไป ให้บำรุงเมล็ดข้าวโดยฉีดฮอร์โมน
- ฉีดพ่นฮอร์โมนก่อนข้าวออกรวง     1 ครั้ง
- หลังออกรวงแล้ว ฉีดพ่นฮอร์โมน    1 ครั้ง
เกสรตัวเมียข้าวจะเปิดปากช่วง  9 โมงเช้าถึงบ่าย  2 ช่วงนี้  ห้ามฉีดพ่นฮอร์โมนหรือปุ๋ยใดๆ เพราะเมล็ดข้าวจะอมสารเข้มข้นเข้าไป เมล็ดจะแตก

ทำนาข้าวไร้สารเคมีฉีดแล้วเทียวต่อได้
ทำนาข้าวไร้สารเคมี ไร้พิษภัยอันตรายฉีดเสร็จก็ไปช่วยงานสังคมได้ต่อเลย

ปราบหอยเชอรี่ด้วยนก
หอยเชอรี่ไม่มี เพราะนกกินหมด หลังจากทำเทือกแล้ว ปล่อยน้ำแห้ง นกจะลงมากินหอยในนา นกกินหลังทำเทือกเลย  กิน 1- 2 วัน หอยก็หมด แล้วนกจะไม่มาลงนาอีก เพราะอาหารหมด หากในนามีหอยอยู่ มีต้นกล้าอ้วน นกจะเดินย่ำกล้าอ่อน ทำให้ต้นกล้าตายได้ พอนกกินหอยหมด ก็จะไม่มาลงนาอีก เพราะรู้ว่าอาหารหมดแล้ว จากนั้นก็ค่อยหว่านข้าวลงนา
การแหวกร่องน้ำ บางคนนิยมสวยงามดี ใช้แหวกเป็นเส้นคู่ขนานไปเลย ในทางประหยัดแรงงาน  ก็ไปดูว่าน้ำขังอยู่ตรงไหน ก็ลากแหวกเฉพาะตรงนั้นให้น้ำระบายออกไป ไม่เน้นความสวยงาม เน้นหน้าที่ร่องน้ำ ปลูกข้าวขึ้นหมดก็จะปกคลุมบังมิด ไม่เห็นร่องน้ำแล้ว

ดูแลแมลงศัตรูข้าว
มีแมลงมีหนอน ช่วงแรก หนอนจะห่อใบข้าว และมีเพลี้ยกระโดด ในนาข้าวอินทรีย์มีแมลงบ้าง แต่ไม่เสียหายใบหักไปบ้างไม่เป็นไร อย่ามากินรวงข้าว ก็แล้วกัน เพราะเราทำนาเองรวงข้าวเมล็ดข้าว  ไม่ใช่เอาใบข้าว
หนอนกินใบลงนามากๆ นกจะรู้ แล้วลงมาหาหนอน  กินแล้วนกจะเหยียบรวงข้าวหัก
ต้องฉีดสมุนไพร ได้ผลแน่นอนอยู่ที่ใจว่ามั่นใจในสมุนไพรไล่แมลง สมุนไพรต้องเก็บสะสม   ที่ใช้บ่อยๆ ก็มี บอระเพ็ด ผักคูณ สะเดา ยาสูบ (ยาฉุน) หางไหล (โลตั๋น)

จงทำใจเมื่อทำนาอินทรีย์
คนเริ่มทำนาอินทีรย์ใหม่ๆ จะมีปัญหามาก มีชาวนาอยุธยา จะโทรมาถามถึงคุณชัยพรบ่อยๆ   พอติดปัญหาก็โทรมาถาม แล้วก็เอาไปปฏิบัติ ได้ผลเกินคาดจริงๆ
ทำนาอินทรีย์ ต้องทำใจให้ได้ หากต้นข้าวไม่งามใบไม่เขียว ปุ๋ยเคมีพอช่วยได้บ้างในช่วงแรกๆ แต่อย่ามาก เพราะชาวนาจะชินต่อการทำให้ใบข้าวเขียว แต่สารเคมีฆ่าแมลงให้ห้ามเด็ดขาด
ข้าวใบงามเกินไป เมล็ดลีบ  ให้สังเกตุดู เขาเรียกว่าบ้าใบ หรือวัวพันธุ์เนื้อตัวใหญ่แต่น้ำนมน้อย  แต่วัวพันธุ์นม ตัวจะเล็กกว่า แต่ให้น้ำนมมากกว่า ข้าวใบรวงสั้น เมล็ดจะแกร่ง เมล็ดจะเต็มเปลือก

ใบข้าวนาอินทรีย์ใบจะคมบาดขาลายไปหมด

แนวคิดจูงใจตัวเองให้ทำเองดีกว่าจ้าง
ทำนาทั้งปี  2   ครั้ง ช่วง  3  ว่าง 3  เดือน รอน้ำท่วม นับวันแต่ละรอบทำนา วันทำงานจริง 30 วัน  นั้นคือ ทำงานทั้งปี แค่ 60 วัน/ปี วันว่างมีมาก เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงแต่ขี้เกียจทำ ไปจ้างเขาหมด ลองทำเองบ้าง
ไปจ้างเขาฉีดพ่นปุ๋ยใบ  10 ไร่ เขามา 2 คน ทำแค่ 2  คน หมดไป 500 บาท ลองมาทำเองเสียเวลาแค่  3   ชั่วโมง ครึ่งวัน ประหยัดได้  500  บาท
เราทำเองอาจเร็วกว่า เพราะเราทำไปคิดไปว่าจะลดขั้นตอนงานให้น้อยลงอย่างไร สำรวจแปลงนาไปด้วย ประสิทธิภาพมากกว่า ระมัดระวังมากกว่า เพราะเป็นเจ้าของเอง การเดินก็ไม่เหยียบต้นกล้า จนเสียหาย คนอื่นเขาระวังน้อยกว่า
การบนไว้กับตัวเองและภรรยา ว่าหากเกิน 100  ถัง/ไร่ (1 เกวียน/ไร่) จะขอส่วนเกินไปซื้อเครื่องประดับทองคำมาแต่งตัวแล้ว หากทำไม่ถึงก็อด ท้าท้ายตัวเอง หากจ้างคนอื่น ไม่มีทางทำได้มาก ต้องทำเอง จึงเกิดพลังใจในการทำงาน  มากกว่าจ้าง
ชาวบ้านเพื่อนบ้านไม่เชื่อว่า ทำนาได้มากกว่า  100  ถัง/ไร่ ต้องเก็บกากตั๋วขายข้าวมาให้ดู
แนวคิดเรื่องปุ๋ยเคมี  มีพนักงานขายมากระตุ้นให้ชาวนาซื้อมากๆ แล้วมีชิงรางวัลเลี้ยงโต๊ะจีนพาไปดูงานต่างประเทศ  อย่าใจอ่อน ให้ทำเองใช้เกษตรอินทรีย์ อยากเที่ยว ก็ให้เก็บเงินไปเที่ยวเอง เขาต้องกำไรมากๆ มิเช่นนั้นเขาจะเอาโต๊ะจีนมาเลี้ยงได้อย่างไร ต้องคิดว่าเขาฟันเรา จะได้มีฤทธิ์สู้ ไม่ให้ใครมาเอาเปรียบ ซึ่งต้องตอบโต้  โดยการต่อสู้  ทำปุ๋ยใช้เอง  ไม่ยอมซื้อเด็ดขาด

แรงดลใจให้เป็นชาวนาอินทรีย์

ตอนนี้เป็นชาวนาเกษตรอินทรีย์ไปแล้ว รับนักศึกษาเกษตรมาฝึกงาน โดยไม่คิดเงินเลย เลี้ยงอยู่เสร็จ มาจากมหาวิทยาลัยเกษตรบางแสน และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แรงดลใจ  มีดังนี้
-         มีอาจารย์ด้านเกษตรมาช่วยสอนเรื่องทำนาให้
-         คนโบราณยังไม่เห็นใช้ยาเคมีเลย ยังทำนาได้
-         นาปรังบอกว่าทำนาไม่พอกิน ลองไม่ทำอะไรเลย ก็เห็นได้ผลผลิตออกมาพออยู่ได้
-         ข้าวนาเพลี้ยลง บางคนถึงกับถอดใจ เอาน้ำออกจนนาแห้ง  ปรากฏว่าข้าวรอด เพราะเพลี้ยอยู่ไม่ได้ เพราะร้อนและขาดความชื้น
-         ลองฉีดสมุนไพรดู ปรากฏว่าข้าวเต็มเมล็ดดี
-         ทำใจได้ อยากลองดู เพราะเป็นคนช่างคิดช่างสังเกตุ มีนิสัยเป็นนักทดลองอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว

ลองทำนาอินทรีย์ดู
ทำนาอินทรีย์มาแล้ว ประมาณ  25 ปีมาแล้ว แรกๆ ก็ทดลองน้อยๆ ก่อน  8  ไร่เป็น
นาอินทรีย์ ที่เหลือ 14 ไร่ เป็นนาเคมี ปรากฏกว่านาเคมีมีเพลี้ยมาก นาเคมีกับนาอินทรีย์
เป็นคนละเลนกัน ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง จุลินทรีย์ในนาอินทรีย์ พอกับมาที่นาเคมี จุลินทรีย์ถูกสารเคมีก็ตายหมด
เชื่อราที่ใช้  ก็มี
-         เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (ราเขียว) ใช้ตรวจเมล็ดพันธุ์ และฉีดพ่นฆ่าเชื้อราสนิมใบข้าว
-         เชื้อจุลินทรีย์ห้วยขาแข้ง (อีเอ็ม)  เพาะหัวเชื้อจุลินทรีย์เอง โดยไปเอาจากป่าห้วยขาแข้ง อุทัยธานี ลักษณะนุ่มเป็นแผ่น หอมคล้ายเห็ด  อีเอ็มนี้มาทำเป็นอีเอ็มผงก่อน เก็บเอาไว้ โดยใช้ไปขอบบ่อเอาฟางคลุม เอาฝาปิดอีกที แล้วเอาไปใช้เป็นอีเอ็มน้ำ ใช้มาหลายปีแล้ว ยังไม่หมดเลย  ใครมาขอก็ยกให้ฟรีๆ อีเอ็มเราหมักไว้ย่อยฟางข้าวในนา และหมักขี้หมู และสมุนไพรไล่แมลง

การทำแผนนาอินทรีย์
แรกๆ เราใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ เราใส่ปุ๋ยอะไรบ้าง มีไร่แล้วค่อยๆลดลง
การทำนาอินทรีย์มี  2  วิธี คือ
-         ทำนาอินทรีย์บางส่วนสัก 5-10% ของพื้นที่ที่เหลือเป็นนาเคมี แล้วค่อยๆ  ขยาย พื้นที่นาอินทรีย์จนเต็มแปลงภายในกี่ปี ตามที่แผนเรากำหนดไว้
-         ทำนาอินทรีย์ทั้งหมดทั่วพื้นที่ โดยกระบวนการ ลดเคมีฆ่าแมลงก่อน แล้วมาใช้สมุนไพรแทน จากนั้นก็ค่อยๆ ลงปริมาณปุ๋ยเคมีลง โดยทดแทนตัวปุ๋ยอินทรีย์และจุลินทรีย์ชีวภาพ ให้มาก
พื้นที่ทำนาเคมีเสียและเสื่อมโทรมมากๆ ก็จะฟื้นยากหน่อย จะปรับตัวไม่เท่ากัน อีกอย่างนี้เคมีจากแปลงอื่นใกล้เคียงก็ไหลเข้ามา เพราะมีการถ่ายน้ำนาจากแปลงโน่นไปใส่แปลงนี้ หรือใช้คลองห้วยร่วมกัน ให้ลองเอาดินและน้ำไปตรวจดูสารปนเปื้อนโลหะหนักมีพิษ  เคมีฆ่าแมลง
ให้เลิกใช้เคมียูเรียเลย เพราะมีแต่ใบและเป็นโรคง่าย ให้ใช้สูตรเคมี 16-20-0 ไปก่อนแล้วค่อยๆ ลดลง

สมุนไพรฆ่าแมลงตัวเก่ง
เมล็ดมันแกว   :- ฤทธิ์แรงฆ่าแมลงได้เร็ว ฆ่าหนอน บดแล้วให้สุนัขกิน อาจตายได้
กลอย            :- จะมีฤทธิ์เมา ฆ่าแมลงและหอยได้

ชาวนาต้องเก่งเครื่องจักรจึงจะลดต้นทุนได้
เคยมีอาชีพหล่อเสาปูนขาย มีรถบรรทุกสิบล้อวิ่งข้าว เคยเป็นช่างอู่ จึงมีความรู้เรื่องช่าง
หากทำเองมีพื้นที่มาก ทำไม่ทันฤดูกาลและเวลาที่ให้ จะจ้างก็แพง ปกติทำนาเขาจะจุดไฟตอซังก่อนแล้วไถ  เห็นว่าไม่ดีก็เปลี่ยนวิธีใหม่
เริ่มจากการทำแบบไถกลบฟาง  เห็นข้าวงามดี เพราะมีปุ๋ยจากฟาง ก็เลยประดิษฐ์รถควัก วิ่ง  3  ที ก็เสร็จแล้ว ทุ่นแรงเครื่องมือทำแรง
วิธีการทำเทือกที่รวดเร็วลดงาน
1.     หลักการ
-         จุดเลี้ยวพื้นจะไม่เสมอ เนื่องจากล้อบิดเป็นแอ่งลึก หากเลี้ยวเป็นวงแคบ ดังนั้นการเลี้ยวต้องเป็นวงกลม
-         ใช้คลื่นน้ำ กระแทกดินที่เป็นเลนพอดีๆ เรียบเอง ใช้หลักธรรมชาติช่วยทำงานให้
2.     วิธีการทำ
-         เริ่มจากแบ่งพื้นที่เป็น 2 ซีก
-         วิ่งผ่ากลางแปลง จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ใช้แนวตรง
-         เมื่อชนสุด ให้เลี้ยวขวา (ด้านขวาแปลง) ตั้งฉากไปจนสุดแปลงนาแล้ววิ่งกลับมาใช้เส้นเดิม
-         พอเจอเส้นกลางก็ทำเทือกทางขวาของเส้นกลาง
-         วิ่งมาสุดอีกด้านของเส้นผ่ากลาง ก็เลี้ยวไปทางขวา (ด้านซ้ายแปลง)
-         วิ่งสุดก็วิ่งกลับมาจนเส้นกลาง
-         แล้วทำเทือกด้านซ้ายเส้นกลาง
-         แล้วทำซ้ำๆ ในลักษณะตัวเอส-ฉาก
-         เส้นกลางก็จะเป็นพื้นที่ขยายไปซ้ายขาวเรื่อยๆ
-         ดินเทือกก็จะถูกกระแทกไปเรื่อยๆ จนเรียบ
-         สุดท้ายให้ทำเทือกเรียบโดยวิ่งตามกรอบ รอบแปลงนา

สูตรน้ำสกัดสมุนไพรป้องกันและกำจัดแมลงและศัตรูข้าว
สมุนไพรจำเป็นแต่ละชนิดอย่างละ  5   กก. ดังนี้
ยาสูบหัวกลอย หนอนตายอยาก บอระเพ็ด หางไหลแดง เปลือกมังคุด เมล็ดมันแกว ขมิ้นชัน ไพล เปลือกสะเดา สมุนไพรเหล่านี้ สามารถปลูกเองได้รอบๆบ้าน จะได้ไม่ต้องซื้อหา
สมุนไพร (หากมี) แต่ละชนิดอย่างละ 5 กก. ดังนี้
ตะไคร้หอม  ว่านน้ำ ลูกมะกรูด เถามะระขี้นก ฝักคูณแก่
ใช้กากน้ำตาล  10  กก. หัวเชื้ออีเอ็ม 1 ลิตร หากกากน้ำตาลต้องซื้อ ก็ปลูกอ้อยสัก  1 งาน ก็สามารถใช้แทนกากน้ำตาลได้
วิธีทำ  สับส่วนประกอบทั้งหมดให้ละเอียดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้ละเอียด (ยกเว้นกากน้ำตาลและหัวเชื้ออีเอ็ม) นำไปบรรจุในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด ใส่กากน้ำตาล อีเอ็มและน้ำ  โดยให้ท่วมส่วนผสมขึ้นมาประมาณ 15  ซม. คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิทแล้วเปิดคนกวนทุกวัน เป็นเวลา 14 วัน จึงจะนำไปใช้ได้
การใช้ อัตรา 100-150   ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร การฉีดพ่น ควรทำในช่วงเช้า จึงจะมีประสิทธิภาพสูง ส่วนกากที่เหลือ จากการคั่นน้ำหมดแล้ว ให้นำไปเทลาดเวลาสูบน้ำเข้านา

การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ชนิดสด
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มาใช้ตอนแช่ข้าวพันธุ์ก่อนปลูก และรักษาโรคเพลี้ย  โรครากเน่าได้ ตลอดจนเพิ่มฟอสเฟตในดินได้
การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ มีดังนี้
-         หุงปลายข้าวด้วยหม้ออุ่นข้าวไฟฟ้า ไม่นิ่มไม่แข็ง พอข้าวสุก ก็ใช้ทัพพีซุบขณะร้อน
-         ตักปลายข้าวสุกขณะร้อน ระวังเชื้ออื่นเข้าใส่ในถุงพลาสติกทนร้อน 8X12 นิ้ว หรือ 250  กรัม/ถุง
-         กดข้าวให้แบนพับปากถุง รอจนข้าวอุ่นเกือบเย็น
การใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์ม่า
-         ใช้เหยาะหัวเชื้อลงในถุงข้าวในที่ลมสงบ 2-3  ครั้ง หรือประมาณ 1 กรัม/ถุง
-         รัดยางตรงปากถุงให้แน่น เขย่าหรือบีบเบาๆ ให้เชื้อกระจายทั่วถุง
-         สวมถุงให้ปากถุงพองอากาศ แล้วใช้เข็มแหลมแทงบริเวณรอบๆ ปากถุงที่ยางรัดไว้
การบ่มเชื้อราไตรโคเดอร์มา
-         กดข้าวในถุงให้แน่น ห้ามวางถุงซ้อนทับกัน ดึงกลางถุงให้พองออก ไม่ให้ถุงติดข้าว ให้อากาศเข้าได้
-         บ่ม 2 วัน โดยวางถุงในห้องที่ปราศจากมด ไร และ สัตว์อื่น ๆ อากาศไม่ร้อน ไม่ถูกแสงแดด แต่มีแสงสว่าง  
6-10 ชั่วโมง/วัน หากแสงไม่พอใช้หลอดนีออนช่วยแทน
-         ครบ  2  วัน บีบเขย่าข้าวที่มีเส้นใยให้แตก วางถุงในที่เดิม ดึงถุงให้อากาศเข้าอีกเหมือนเดิม
-         บ่มต่ออีก  4-5 วัน บีบดึงถุงอีก
-         ครบ 15 วัน จึงนำไปใช้

ปัญหาที่พบ
-         เชื้อขึ้นขาวแต่ไม่เขียว ข้างแฉะไป ต้องลดน้ำหุ้งข้าว
-         ปากถุงราเขียวก้นถุงราขาว อากาศไม่พอแสงไม่พอ ให้เจาะรูเพิ่มให้ใช้ไฟนีออนช่วย
-         เกิดหยดน้ำในถุง วางถุงข้าวในที่ร้อน ให้วางในที่เย็น
-         เชื้อดำเสียในถุงข้าว มีจุลินทรีย์ปนเปื้อน ต้องทิ้งถุงข้าวโดยไม่ต้องแกะ
-         เชื้อเขียวแล้วกลายเป็นเชื้อขาว เชื้ออายุเกิน 7 วัน ให้บ่มเชื้อครบ 7 วัน แล้วเก็บถุงเชื้อในตู้เย็น
-         เกิดการปนเปื้อน เชื้อราไตรโคเคอร์ม่ากลายพันธุ์

วิธีการดูว่าเป็นนาอิทรีย์แล้ว
1.     สัมภาษณ์ แนวคิดชาวนา
-         มีความรู้เรื่องจุลินทรีย์ ทำนาอินทรีย์
-         ตอบปัญหาได้ในมุมของเกษตรอินทรีย์ จุลินทรีย์ชีวภาพได้ ในเรื่องลดต้นทุนปุ๋ย ยาฆ่าแมลง วัชพืช เนื้อดิน
-         สามารถบอกเวลาข้าวปิดเปิดเกสรตัวเมียได้
-         ค้นหาวิธีการลดงานลงโดยวิธีการตัดหรือรวมขั้นตอนการทำนา
-         วิธีการทำนาในแต่ละขั้นตอนสอดคล้อง
-         ผลงาน ผลผลิต
2.     เยี่ยมบ้านชาวนา
-         พบตุ่ม ไห ถังหมักจุลินทรีย์ ถุงปุ๋ยอินทรีย์
-         มีการปลูกพืชสมุนไพรใกล้บ้าน
-         มีการทำน้ำฮอร์โมนพืช
-         มีการทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมัก ใช้เอง หรือเลือกซื้อได้
-         มีถังข้าวแช่น้ำจุลินทรีย์
-         มีรถไถนาขนาดเล็ก, และอุปกรณ์ทำนา เชิงระบบนิเวศน์
-         มีอุปกรณ์ตรวจสอบต่างๆ เช่น ทดสอบดินและน้ำ
3.     ตรวจนาอินทรีย์ภาพสนาม สถานที่ทั่วไป
-         มีเสียงกบเขียดร้อง
-         พบตัวหำตัวเบียน  มวลเพชรฆาต  แมงมุม ตามระยะเวลาการปลูกข้าว
-         ดินนาร่วนซุ่ย เดินแล้วนิ่ม ไม่แข็งกระด้าง ดินมีกลิ่นหอม ไม่เหม็น มีแก๊สบริสุทธิ์ ไม่มีแก๊สมีเทน หรือแก๊สไข่เน่า
-         น้ำสะอาดใส่ ไม่เน่าดำ เอาน้ำไปวิเคราะห์ไม่พบโลหะหนัก หรือมีน้อยมาก
-         มีซากอินทรีย์ ตอซังข้าว ที่มีลักษณะเป็นฮิวมัสแล้ว
-         เอาดินจากนา มาลอยเพาะเชื้อจุลินทรีย์ดู โดยการทดสอบกับน้ำผสมน้ำตาล จะมีแก๊สหอมชื้น
-         พบวิธีการทำนา เช่น การวางกระสอบปุ๋ยคอกวางขวางทางน้ำ
-         พบวิธีการ ฆ่าแมลงทางกล และชีวภาพ
-         มีเทคนิคการทำนาที่ใช้ในเชิงระบบนิเวศน์ เช่นการปลูกห่างและใบโปร่ง เพื่อกำจัดเพลี้ยและราสนิม โดยวิธีสร้างบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวย

-         ตรวจดูรวงข้าว เมล็ดเต็ม ไม่ลีบ จำนวนเมล็ดมาก จำนวนกอมีกี่ต้น ต้นละกี่รวง รวงละกี่เมล็ด
-         การกระจายความหนาแน่นต้นข้าวและรวงข้าว ในแต่ละไร่ ของแปลงนาว่าสม่ำเสมอ หรือแตกต่าง  สามารถอธิบายสาเหตุและผลได้
-         อธิบายธรรมชาติของนกกินหอย และแมลงศัตรูพืชได้ ในแง่โทษและประโยชน์พฤติกรรม นิสัย ที่สอดคล้องกับการควบคุมป้องกัน จำนวนประชากรแมลงไม่ให้มากถึงขั้นเสียหาย

คุณชัยพร พรหมพันธุ์ เป็นชาวนาที่ทำเกษตรอินทรีย์มามากกว่า 20 ปี มาแล้ว อาศัยที่ตัวเองเป็นช่างเทคนิค เป็นคนชอบสังเกตุ ชอบคิดใหม่ทำใหม่ คิดปรับปรุงงานให้ทำงานน้อยลง ตัดงานบางอย่าง อย่างไรโดยการรวมงาน การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องทุนแรง มาช่วยลดแรงคน การดัดแปลงเครื่องมือที่มีอยู่แล้ว มาทำหน้าที่หว่านเมล็ดข้าวและปุ๋ยเม็ดได้ การทำอุปกรณ์สูบข้าวดีดอย่างง่ายๆ ราคาถูก การยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำเอง ใช้จ่ายประหยัด ใช้สารสมุนไพรไล่แมลงแทนเคมีฆ่าแมลง รู้จักธรรมชาติของนกในการลงนา การที่มีอุปนิสัยดี ที่ชอบสอนด้วย และมีแนวคิดกุศโลบายในการจูงใจตนเอง ให้ทำงานอย่างไร โดยไม่พึ่งคนอื่นมากนัก  การเป็นนักลดต้นทุนอยู่เป็นนิสัยรากฐาน  หากซื้อก็ซื้อน้อยที่สุด หากเป็นเครื่องจักรราคาแพงก็จะซื้อรถเก่า เช่น รถเกี่ยวข้าว รถใหม่ราคา 2  ล้านบาท ก็จะรอหาที่คนร้อนเงิน ขายรถเก่า ราคา 5 แสนบาท  1  ปี ก็ถอนทุนแล้ว เพราะไปรับจ้างเกี่ยวข้าวด้วย  การลดเวลาป้ายข้าวดีด โดยการเอาถังน้ำยาสะพายติดหลัง  คนเดียวกันทำได้  ไม่ต้องใช้ 2 คน แบบคนอื่น และไม่ต้องเดินย้อนไปมา  เดินเที่ยวเดียวไปทั่วไป งานจึงเสร็จเร็วและไม่เหนื่อย

ที่มา http://www.monmai.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2012, 13:11:41 โดย ubuntuthaith » IP : บันทึกการเข้า
ดรีม ขี้เหล้าน้อย
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,176



« ตอบ #317 เมื่อ: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2012, 13:11:00 »

คูโบต้าก็เอารถอักฟางมาสาธิตให้ดูด้วยเจ้า

เครื่องอัดฟางราคาเต้าใดครับนี่ น่าสนใจดี  แต่รถเกี่ยวบ่าไหวคนแถวบ้านซื้อมาใช้งานขายปอจะบ่าตันเพราะนาแถวบ้านส่วนใหญ่จะหล่มกั๋นนัก ตีนตะขาบมันเล็กเกินไปมันติดท้องรถจะต้องได้เอา
แบคโฮลากออก แต่บางที่ก็เห็นมีใช้กันอยู่หนาที่นาบ่าหล่ม แต่ถ้าซื้อทั้งทีก็น่าจะเอารถที่สามารถใช้งานได้ทุกสภาพพื้นที่ดีกว่าครับ..




สามแสนปลาย ตอนแรกดรีมเข้าใจว่า มันจะตัดตอฟางแล้วอัดออกมา ที่แท้มันเอาฟางจากรถเกี่ยว แต่ฟางเป็นกองก็ทำได้ ดรีมว่ามันแพงล้ำไปอะเจ้า คูโบต้าเขาจะมาสาธิตแหมกำตอนดำนาปรัง เจ้า
IP : บันทึกการเข้า
กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #318 เมื่อ: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2012, 13:29:33 »

ใกล้เริ่มทำนาปรังกันแล้วมาทบทวนความรู้กันหน่อย...จะได้เตรียมตัวได้ทัน...  ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ

ชัยพร พรหมพันธุ์ นาข้าวอินทรีย์ต้นทุนต่ำ



ชัยพร พรหมพันธ์  เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2538 บ้านเลขที่ 31 หมู่ 1 ต.บางใหญ่ อ.บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี 72450 ห่างจาก อ. บางปลาม้าประมาณ  5 กิโลเมตร

การลดต้นทุนทำนาของคุณชัยพร พรหมพันธ์ มีดังนี้

- ต้นทุนแรงงาน ทำเอง ให้คนอื่นทำ เหยียบข้าวล้มหมด จึงต้องเอาไม้แหวกต้นข้าวไว้เดิน หากตัวเองทำตะแคงฝ่าเท้าเดินอย่างสบายๆ เอายาฆ่าหญ้าลูบข้าวดีด ก็ไม่ไปถูกข้าวดี เหมือนจ้างเขา คนอื่นทำเสียเงิน 600 บาท ทำเองแค่  3 ชั่วโมงก็เสร็จก็จะได้ประหยัดไปแล้ว 600 บาท
- ต้นทุนค่าเช่านา ไม่มี เพราะซื้อเป็นเจ้าของเอง แรกๆ อาจเช่า พอมีเงินก็ซื้อเลย
- ต้นทุนค่าปุ๋ย ใช้ปุ๋ยขี้หมู มาหมักอีเอ็มใส่ขี้หมู 4-5 กระสอบ/ไร่ กระสอบละ 20 กก. ซื้อมาใส่รถกระบะปิกอัพของตัวเอง เที่ยวละ 50 ลูก ต้นทุนแค่ 1,000 บาท ใส่ได้ 10 ไร่ ตกต้นทุนปุ๋ย 100 บาท/ไร่ ใส่ปุ๋ยขี้หมูแห้งก่อนทำเทือก หรือ พร้อมๆ กับทำเทือก โดยวิธีใส่กระบุ้งลงบนรถอีโกร่ง ปาดนาให้เรียบพร้อมๆกับหว่านปุ๋ยแห้งลงไปด้วย
- ต้นทุนปุ๋ยน้ำหมักและฮอร์โมน  ก็ทำปุ๋ยน้ำหมักเอง ทำหัวเชื้ออีเอ็มเอง เอามาจากป่าห้วยขาแข็ง นอกจากนี้ยังทำฮอร์โมนไข่  และฮอร์โมนนมสดใช้งานเองด้วย
- ต้นทุนยาสมุนไพรไล่แมลง ทำเองที่บ้าน ก็ปลูกต้นบอระเพ็ดด้วย ให้ขึ้นตามต้นมะม่วง ไม่ต้องดูแลมาก
- ต้นทุนปลูกข้าว ใช้วิธีแช่น้ำข้าวเปลือกพันธุ์ 1 คืน พองอก ผสมไตรโคเดอร์ม่า แล้วเอาไปทิ้งเป็นจุดๆ เตรียมหว่านโดยวิธีพ่นกระจายทั้งนา หากทำเองไม่ทัน ต้นข้าวก็ไม่เป็นรากเน่า
- ต้นทุนพันธุ์ข้าว ให้พันธุ์ข้าวสุพรรณ 60 เมล็ดพันธ์ก็เลือกเกี่ยว เอาต้นที่มีรวงเมล็ดมากๆ ไว้ทำพันธ์ เอามาผึ่งแดดลมให้แห้ง โดยใส่กระสอบปุ๋ยโป่งๆ ให้ล้มระบายได้อย่างน้อยๆ  45 วัน จึงจะปลูกได้ ตอนใช้งานช่วยแช่น้ำไตรโดเคอม่า  จะปาดเอาข้าวลีบเบาลอยน้ำออกไปขาย ไม่เอาทำพันธุ์
- ต้นทุนไถนา ซื้ออีโกร่ง มาใช้งานเอง ช่วงวิ่งบนถนนก็ เอายางนอกรถยนต์หุ้มไว้เวลาลงนาก็ถอดออก การไถนาจะทำทีเดียว ถึงทำเทือกเลย ไม่มีไถดะก่อน



การทำนาหมักปุ๋ยขี้หมู เลี้ยงต้นกล้าข้าวอ่อน  18 วัน

สูตรการทำนี้หมักจุลินทรีย์ขี้หมู
ขี้หมูแห้ง                           1        ส่วน   (20 กก.)
น้ำธรรมดา                         10      ส่วน   (180 ลิตร)
ใส่อีเอ็มห้วยขาแข็ง              0.5     ส่วน   (1 ลิตร)
แช่น้ำ                                         2-3     คืน     (200 ลิตร)
ไม่ต้องใส่น้ำตาล

สูตรการใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ขี้หมู
น้ำหมัก                                       1        ลิตร
น้ำธรรมดา                         20      ลิตร
ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เมื่อข้าวอายุได้ประมาณ 18 วัน

การทำฮอร์โมนนมเลี้ยงต้นอ่อน 18 วัน

สูตรการทำหมักฮอร์โมนนม
บีทาเก็นหรือยาคูลน์ (นมเปรี้ยวจุลินทรีย์)   1 ขวด
นมจืด                                             1 กระป๋อง
แป้งข้าวหมาก                                  1  ลูก
หมัก  3 วัน จนมีกลิ่นหอม
สูตรการใช้
นำน้ำสมุนไพรไล่แมลงผสมน้ำหมักฮอร์โมนนม  ฉีดบำรุงต้นข้าว และไล่แมลงไปพร้อมๆ กันจนได้ไม่เปลืองแรงงาน

เร่งดอกออกรวงด้วยฮอร์โมนไข่ (ข้าว 45 วัน)
สูตรการทำ ฮอร์โมนไข่
- ไข่ไก่หรือรกวัวแทน           5  กก. (ไข่ประมาณ  100 ฟอง)
- กากน้ำตาล                      5  กก.
- ลูกแป้งข้าวหมาก              1  ลูก
- ยาคูลน์ หรือบีทาเก็น หรือนมเปรี้ยว  1 ขวด
วิธีการทำ
นำไข่ไก่ทั้งฟอง ปั่นให้ละเอียดแล้ว แล้วนำไปใส่ภาชนะ ผสมการน้ำตาลคลุกเคล้าให้เข้ากัน ต่อจากนั้นบดแป้งข้างหมากให้ละเอียดแล้วผสมกับยาคูลน์และนมเปรี้ยว แล้วนำไปบรรจุใส่ถังพลาสติก แล้วคนให้เข้ากัน แล้วปิดฝาหมักทิ้งไว้ 14 วัน โดยจะต้องเปิดคนทุกวัน จึงนำไปใช้ได้ ถ้าหมักนานเกินไป จะทำให้แห้งจะต้องเติมน้ำมะพร้าวอ่อน ที่มีเนื้อเป็นวุ้น  2 ลูก
สูตรการใช้งาน
เมื่อข้าวอายุ 45 วัน จะเริ่มตั้งท้อง  100 ไร่ ใช้ฮอร์โมนประมาณ  5 กก. โดยใช้  30 ซซ. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
หลังออกรวงแล้ว จะฉีดฮอร์โมนไข่ อีกครั้งก็ได้ การฉีดพ่น  10-15 วันต่อครั้ง และควรฉีดพ่นขณะแดดอ่อน หรือในช่วงเช้า เพราะกลัวว่าจุลินทรีย์จะตายจากความร้อน

การทำเทือก

ลูบเพื่อกดให้ระดับเรียบ นามีน้ำ ให้ไล่ดินก่อนแล้วลาก ตั้งระดับได้ มีกระดานลูบหลังเสมอเลย  หากท้องนาเสมอเรียบ จะใช้น้ำเข้านาน้อย ไม่เปลืองน้ำค่าสูบน้ำ คุมน้ำคุมหญ้าได้ง่าย และป้องกันน้ำแห้งเป็นจุดๆ ในที่ดอน
น้ำเข้านาวันที่ 7-25   ของวันปลูกข้าว  หลังจากวันที่ 25  แล้ว  ปล่อยให้น้ำในนาแห้งเอง

การหว่านข้าว
เอาข้าวเปลือกแช่ลงไปในน้ำในปลอกบ่อที่เตรียมไว้ใส่น้ำ  70% ที่ใส่เชื้อไตรโคเดอร์ม่าไว้แล้ว เอาข้าวเปลือกลอยๆ ออกทันที เพราะเป็นข้าวเบาข้าวล้ม ไม่มีน้ำหนักแช่ไว้  1 คืน แล้วตักใส่กระสอบปุ๋ย เอาไปค้างที่นาได้เลย วางกระสอบไว้เป็นจุดๆ ทั่วแปลง

การหว่านใช้วิธีหว่านเครื่อง เป็นเครื่องพ่นหว่านโดยถอดลิ้นให้ล้มลง เอาตัวกันน้ำออก
เครื่องหว่านเหมือนกัน 2  เครื่อง เอาไว้หว่านปุ๋ยแห้งปุ๋ยเม็ด และเอาไว้หว่านข้าว  1 เครื่อง
อีกเครื่องลิ้นปิด ก็จะพ่นปุ๋ยน้ำ พ่นน้ำหมัก พ่นน้ำสมุนไพร น้ำฮอร์โมนได้
พ่นเครื่องหนึ่งๆ  ห่างจากตัวผู้พ่นประมาณ  7 เมตร อัตราการใช้ข้าวเปลือก  2.5  ถัง/ไร่
หว่านไม่หมดก็ไม่เป็นไร หากไม่แช่เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ข้าวเปลือกจะขึ้นรา  ข้าวที่แช่แล้ว  1 คืน วางทิ้งไว้ในกระสอบชื้น จะเกิดตุ่มตา หากความชื้นหมด ตาจะหด จะใช้อีกก็จะนำกระสอบข้าวเปลือกแช่น้ำอีก เรียกตุ่มตาใหม่ก่อนเอาไปใช้งาน
จำไว้ข้าวล้มให้เอาออกเลย เอาไว้ไม่ดีเพราะอาหารน้อยมีแค่ครึ่งเมล็ด เติบโตไม่ดีแล้ว เมล็ดลีบก็จะออกลูกเป็นเมล็ดลีบเช่นกัน
การแช่น้ำ แค่น้ำเปล่าก็พอ ไม่ต้องใช้น้ำเกลือเพราะแค่น้ำเปล่าก็คัดเมล็ดนั้นออกไปมากแล้ว ต้องรีบตักข้าวลอยน้ำออก เพราะทิ้งไว้นาน ๆ ข้าวจะจมลงเพราะอุ้มน้ำเต็มที

แก้ปัญหาเพลี้ยไฟในนาข้าว
ใช้สมุนไพรไล่แมลง ก็จะเหลือตัวห้ำตัวเบียน คอยกินเพลี้ย
อีกเทคนิคหนึ่งคือ อย่าหว่านข้าวหนาไป  จากเดิม  4-5 ถัง/ไร่ หนาไป ลดเหลือ  2.5 ถัง/ไร่ ก็พอดี หากต้นข้าวหนา แดดจะร่ม มีร่มเงามาก เพลี้ยชอบความชื้นและร่มเงา หากหว่านให้บาง  เพลี้ยจะหมดไป
เป็นชาวนาต้องหมั่นเป็นนักสังเกตุ เคยทำนา  3 แปลง ทำแปลงต้นน้ำก่อน แล้วไล่น้ำลงมาแปลงสองและไปแปลงสาม

บังเอิญข้าวงอกครึ่งเดียว ทั้งๆ ที่หว่านหนาคิดว่าจะรื้อนา หว่านใหม่ แต่ทำใจไหนๆ ก็ไหนๆ ก็เลยปล่อยไปแบบข้าวนาดำ แรกๆ ดูข้าวบางๆ ไม่เต็มนา รู้สึกเบาๆ ไม่มั่นใจ ว่าข้าวต้องได้น้อยแน่ แต่ตรงกันข้ามหว่านไว้หนา กลับได้ข้าวถัง/ไร่ น้อยกว่าหว่านบางอีก ก็เลยหันมาหว่านแบบบางๆ  ตั้งแต่นั้นมา

ต้นทุนทำนา
เดิมทีมีแค่  30 ไร่  พอต้นทุนต่ำก็มีกำไรมาก ก็ขยายนา ซื้อไปเรื่อยๆ จนได้ 107 ไร่

ต้นทุนปี 2550 ประมาณ 2,000 บาท/ไร่  ปี 2551 ประมาณ 2,500 บาท/ไร่ เพราะราคาน้ำมันขึ้น   ต้นทุนนี้ไม่รวมค่ารถเกี่ยวข้าว (รถอุ้ม) กำไรไร่ละ 10,000 บาท หากปีไหนได้ผลผลิตมากกว่า 100 ถัง/ไร่ จะซื้อเครื่องประดับให้กำลังใจตัวเอง ในส่วนที่เกิด 100 ถัง/ไร่

ทำนา  10 ไร่ เท่ากับเงินเดือน 5,000-10,000 บาท/เดือน ทำ 2 รอบ/ปี ที่สุพรรณบุรี ดังนี้
รอบแรก         ธันวาคม-เมษายน
รอบสอง        พฤษภาคม-กันยายน
พักให้น้ำท่วม  ตุลาคม-พฤศจิกายน

การรักษาดินนา
ให้ตรวจดินดูโดยการเดินย่ำนา หากนุ่มเท้าดินจะดี เพราะประกอบด้วยฟางจุลินทรีย์มากมาย   หากเป็นดินแย่ จะแข็งกระด้าง เดินไม่สบายเท้า มักเกิดจากการเผานาแบบรุนแรง คือ เผาขณะลมนิ่ง
ยามจำเป็นต้องเผาฟาง  จะใช้เทคนิคการเผาฟางแบบลอกผ่าน โดยเลือกช่วงลมแรงๆ ไฟจะเผาฟางแบบผ่านๆ เผาไม่หมด

การทำเทือกโดยวิธีควักดิน

รถควัก ทำงาน  10 ไร่/วัน ดินนิ่มและยกเท้าเปื้อน ข้าวอายุ 45 วัน  เปิดน้ำทิ้งก่อนปลายข้าวเหลืองให้แห้งก่อน
รถทำเทือกแบบที่ขายกัน จะตัดดินจนเละ  ดินข้างใต้ถูกตัดเสมอกันหมด  และพื้นแข็ง    สู้ควักเป็นจุด จะดีกว่า

ใส่ปุ๋ยขี้หมูช่วงข้าวอายุ 45 วัน
ช่วง 45 วัน หากข้าวออกรวงช้า ให้เอาขี้หมูแห้งใส่กระสอบวางขวางน้ำเข้านา ให้น้ำชะล้าง ละลายออกไป ใช้ประมาณขี้หมู  1  กระสอบ/ไร่
หนที่ 2 อายุข้าว 50-55 วัน ใส่ปุ๋ยอีก
หากเมล็ดข้าวเล็กไป ให้บำรุงเมล็ดข้าวโดยฉีดฮอร์โมน
- ฉีดพ่นฮอร์โมนก่อนข้าวออกรวง     1 ครั้ง
- หลังออกรวงแล้ว ฉีดพ่นฮอร์โมน    1 ครั้ง
เกสรตัวเมียข้าวจะเปิดปากช่วง  9 โมงเช้าถึงบ่าย  2 ช่วงนี้  ห้ามฉีดพ่นฮอร์โมนหรือปุ๋ยใดๆ เพราะเมล็ดข้าวจะอมสารเข้มข้นเข้าไป เมล็ดจะแตก

ทำนาข้าวไร้สารเคมีฉีดแล้วเทียวต่อได้
ทำนาข้าวไร้สารเคมี ไร้พิษภัยอันตรายฉีดเสร็จก็ไปช่วยงานสังคมได้ต่อเลย

ปราบหอยเชอรี่ด้วยนก
หอยเชอรี่ไม่มี เพราะนกกินหมด หลังจากทำเทือกแล้ว ปล่อยน้ำแห้ง นกจะลงมากินหอยในนา นกกินหลังทำเทือกเลย  กิน 1- 2 วัน หอยก็หมด แล้วนกจะไม่มาลงนาอีก เพราะอาหารหมด หากในนามีหอยอยู่ มีต้นกล้าอ้วน นกจะเดินย่ำกล้าอ่อน ทำให้ต้นกล้าตายได้ พอนกกินหอยหมด ก็จะไม่มาลงนาอีก เพราะรู้ว่าอาหารหมดแล้ว จากนั้นก็ค่อยหว่านข้าวลงนา
การแหวกร่องน้ำ บางคนนิยมสวยงามดี ใช้แหวกเป็นเส้นคู่ขนานไปเลย ในทางประหยัดแรงงาน  ก็ไปดูว่าน้ำขังอยู่ตรงไหน ก็ลากแหวกเฉพาะตรงนั้นให้น้ำระบายออกไป ไม่เน้นความสวยงาม เน้นหน้าที่ร่องน้ำ ปลูกข้าวขึ้นหมดก็จะปกคลุมบังมิด ไม่เห็นร่องน้ำแล้ว

ดูแลแมลงศัตรูข้าว
มีแมลงมีหนอน ช่วงแรก หนอนจะห่อใบข้าว และมีเพลี้ยกระโดด ในนาข้าวอินทรีย์มีแมลงบ้าง แต่ไม่เสียหายใบหักไปบ้างไม่เป็นไร อย่ามากินรวงข้าว ก็แล้วกัน เพราะเราทำนาเองรวงข้าวเมล็ดข้าว  ไม่ใช่เอาใบข้าว
หนอนกินใบลงนามากๆ นกจะรู้ แล้วลงมาหาหนอน  กินแล้วนกจะเหยียบรวงข้าวหัก
ต้องฉีดสมุนไพร ได้ผลแน่นอนอยู่ที่ใจว่ามั่นใจในสมุนไพรไล่แมลง สมุนไพรต้องเก็บสะสม   ที่ใช้บ่อยๆ ก็มี บอระเพ็ด ผักคูณ สะเดา ยาสูบ (ยาฉุน) หางไหล (โลตั๋น)

จงทำใจเมื่อทำนาอินทรีย์
คนเริ่มทำนาอินทีรย์ใหม่ๆ จะมีปัญหามาก มีชาวนาอยุธยา จะโทรมาถามถึงคุณชัยพรบ่อยๆ   พอติดปัญหาก็โทรมาถาม แล้วก็เอาไปปฏิบัติ ได้ผลเกินคาดจริงๆ
ทำนาอินทรีย์ ต้องทำใจให้ได้ หากต้นข้าวไม่งามใบไม่เขียว ปุ๋ยเคมีพอช่วยได้บ้างในช่วงแรกๆ แต่อย่ามาก เพราะชาวนาจะชินต่อการทำให้ใบข้าวเขียว แต่สารเคมีฆ่าแมลงให้ห้ามเด็ดขาด
ข้าวใบงามเกินไป เมล็ดลีบ  ให้สังเกตุดู เขาเรียกว่าบ้าใบ หรือวัวพันธุ์เนื้อตัวใหญ่แต่น้ำนมน้อย  แต่วัวพันธุ์นม ตัวจะเล็กกว่า แต่ให้น้ำนมมากกว่า ข้าวใบรวงสั้น เมล็ดจะแกร่ง เมล็ดจะเต็มเปลือก

ใบข้าวนาอินทรีย์ใบจะคมบาดขาลายไปหมด

แนวคิดจูงใจตัวเองให้ทำเองดีกว่าจ้าง
ทำนาทั้งปี  2   ครั้ง ช่วง  3  ว่าง 3  เดือน รอน้ำท่วม นับวันแต่ละรอบทำนา วันทำงานจริง 30 วัน  นั้นคือ ทำงานทั้งปี แค่ 60 วัน/ปี วันว่างมีมาก เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงแต่ขี้เกียจทำ ไปจ้างเขาหมด ลองทำเองบ้าง
ไปจ้างเขาฉีดพ่นปุ๋ยใบ  10 ไร่ เขามา 2 คน ทำแค่ 2  คน หมดไป 500 บาท ลองมาทำเองเสียเวลาแค่  3   ชั่วโมง ครึ่งวัน ประหยัดได้  500  บาท
เราทำเองอาจเร็วกว่า เพราะเราทำไปคิดไปว่าจะลดขั้นตอนงานให้น้อยลงอย่างไร สำรวจแปลงนาไปด้วย ประสิทธิภาพมากกว่า ระมัดระวังมากกว่า เพราะเป็นเจ้าของเอง การเดินก็ไม่เหยียบต้นกล้า จนเสียหาย คนอื่นเขาระวังน้อยกว่า
การบนไว้กับตัวเองและภรรยา ว่าหากเกิน 100  ถัง/ไร่ (1 เกวียน/ไร่) จะขอส่วนเกินไปซื้อเครื่องประดับทองคำมาแต่งตัวแล้ว หากทำไม่ถึงก็อด ท้าท้ายตัวเอง หากจ้างคนอื่น ไม่มีทางทำได้มาก ต้องทำเอง จึงเกิดพลังใจในการทำงาน  มากกว่าจ้าง
ชาวบ้านเพื่อนบ้านไม่เชื่อว่า ทำนาได้มากกว่า  100  ถัง/ไร่ ต้องเก็บกากตั๋วขายข้าวมาให้ดู
แนวคิดเรื่องปุ๋ยเคมี  มีพนักงานขายมากระตุ้นให้ชาวนาซื้อมากๆ แล้วมีชิงรางวัลเลี้ยงโต๊ะจีนพาไปดูงานต่างประเทศ  อย่าใจอ่อน ให้ทำเองใช้เกษตรอินทรีย์ อยากเที่ยว ก็ให้เก็บเงินไปเที่ยวเอง เขาต้องกำไรมากๆ มิเช่นนั้นเขาจะเอาโต๊ะจีนมาเลี้ยงได้อย่างไร ต้องคิดว่าเขาฟันเรา จะได้มีฤทธิ์สู้ ไม่ให้ใครมาเอาเปรียบ ซึ่งต้องตอบโต้  โดยการต่อสู้  ทำปุ๋ยใช้เอง  ไม่ยอมซื้อเด็ดขาด

แรงดลใจให้เป็นชาวนาอินทรีย์

ตอนนี้เป็นชาวนาเกษตรอินทรีย์ไปแล้ว รับนักศึกษาเกษตรมาฝึกงาน โดยไม่คิดเงินเลย เลี้ยงอยู่เสร็จ มาจากมหาวิทยาลัยเกษตรบางแสน และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แรงดลใจ  มีดังนี้
-         มีอาจารย์ด้านเกษตรมาช่วยสอนเรื่องทำนาให้
-         คนโบราณยังไม่เห็นใช้ยาเคมีเลย ยังทำนาได้
-         นาปรังบอกว่าทำนาไม่พอกิน ลองไม่ทำอะไรเลย ก็เห็นได้ผลผลิตออกมาพออยู่ได้
-         ข้าวนาเพลี้ยลง บางคนถึงกับถอดใจ เอาน้ำออกจนนาแห้ง  ปรากฏว่าข้าวรอด เพราะเพลี้ยอยู่ไม่ได้ เพราะร้อนและขาดความชื้น
-         ลองฉีดสมุนไพรดู ปรากฏว่าข้าวเต็มเมล็ดดี
-         ทำใจได้ อยากลองดู เพราะเป็นคนช่างคิดช่างสังเกตุ มีนิสัยเป็นนักทดลองอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว

ลองทำนาอินทรีย์ดู
ทำนาอินทรีย์มาแล้ว ประมาณ  25 ปีมาแล้ว แรกๆ ก็ทดลองน้อยๆ ก่อน  8  ไร่เป็น
นาอินทรีย์ ที่เหลือ 14 ไร่ เป็นนาเคมี ปรากฏกว่านาเคมีมีเพลี้ยมาก นาเคมีกับนาอินทรีย์
เป็นคนละเลนกัน ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง จุลินทรีย์ในนาอินทรีย์ พอกับมาที่นาเคมี จุลินทรีย์ถูกสารเคมีก็ตายหมด
เชื่อราที่ใช้  ก็มี
-         เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (ราเขียว) ใช้ตรวจเมล็ดพันธุ์ และฉีดพ่นฆ่าเชื้อราสนิมใบข้าว
-         เชื้อจุลินทรีย์ห้วยขาแข้ง (อีเอ็ม)  เพาะหัวเชื้อจุลินทรีย์เอง โดยไปเอาจากป่าห้วยขาแข้ง อุทัยธานี ลักษณะนุ่มเป็นแผ่น หอมคล้ายเห็ด  อีเอ็มนี้มาทำเป็นอีเอ็มผงก่อน เก็บเอาไว้ โดยใช้ไปขอบบ่อเอาฟางคลุม เอาฝาปิดอีกที แล้วเอาไปใช้เป็นอีเอ็มน้ำ ใช้มาหลายปีแล้ว ยังไม่หมดเลย  ใครมาขอก็ยกให้ฟรีๆ อีเอ็มเราหมักไว้ย่อยฟางข้าวในนา และหมักขี้หมู และสมุนไพรไล่แมลง

การทำแผนนาอินทรีย์
แรกๆ เราใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ เราใส่ปุ๋ยอะไรบ้าง มีไร่แล้วค่อยๆลดลง
การทำนาอินทรีย์มี  2  วิธี คือ
-         ทำนาอินทรีย์บางส่วนสัก 5-10% ของพื้นที่ที่เหลือเป็นนาเคมี แล้วค่อยๆ  ขยาย พื้นที่นาอินทรีย์จนเต็มแปลงภายในกี่ปี ตามที่แผนเรากำหนดไว้
-         ทำนาอินทรีย์ทั้งหมดทั่วพื้นที่ โดยกระบวนการ ลดเคมีฆ่าแมลงก่อน แล้วมาใช้สมุนไพรแทน จากนั้นก็ค่อยๆ ลงปริมาณปุ๋ยเคมีลง โดยทดแทนตัวปุ๋ยอินทรีย์และจุลินทรีย์ชีวภาพ ให้มาก
พื้นที่ทำนาเคมีเสียและเสื่อมโทรมมากๆ ก็จะฟื้นยากหน่อย จะปรับตัวไม่เท่ากัน อีกอย่างนี้เคมีจากแปลงอื่นใกล้เคียงก็ไหลเข้ามา เพราะมีการถ่ายน้ำนาจากแปลงโน่นไปใส่แปลงนี้ หรือใช้คลองห้วยร่วมกัน ให้ลองเอาดินและน้ำไปตรวจดูสารปนเปื้อนโลหะหนักมีพิษ  เคมีฆ่าแมลง
ให้เลิกใช้เคมียูเรียเลย เพราะมีแต่ใบและเป็นโรคง่าย ให้ใช้สูตรเคมี 16-20-0 ไปก่อนแล้วค่อยๆ ลดลง

สมุนไพรฆ่าแมลงตัวเก่ง
เมล็ดมันแกว   :- ฤทธิ์แรงฆ่าแมลงได้เร็ว ฆ่าหนอน บดแล้วให้สุนัขกิน อาจตายได้
กลอย            :- จะมีฤทธิ์เมา ฆ่าแมลงและหอยได้

ชาวนาต้องเก่งเครื่องจักรจึงจะลดต้นทุนได้
เคยมีอาชีพหล่อเสาปูนขาย มีรถบรรทุกสิบล้อวิ่งข้าว เคยเป็นช่างอู่ จึงมีความรู้เรื่องช่าง
หากทำเองมีพื้นที่มาก ทำไม่ทันฤดูกาลและเวลาที่ให้ จะจ้างก็แพง ปกติทำนาเขาจะจุดไฟตอซังก่อนแล้วไถ  เห็นว่าไม่ดีก็เปลี่ยนวิธีใหม่
เริ่มจากการทำแบบไถกลบฟาง  เห็นข้าวงามดี เพราะมีปุ๋ยจากฟาง ก็เลยประดิษฐ์รถควัก วิ่ง  3  ที ก็เสร็จแล้ว ทุ่นแรงเครื่องมือทำแรง
วิธีการทำเทือกที่รวดเร็วลดงาน
1.     หลักการ
-         จุดเลี้ยวพื้นจะไม่เสมอ เนื่องจากล้อบิดเป็นแอ่งลึก หากเลี้ยวเป็นวงแคบ ดังนั้นการเลี้ยวต้องเป็นวงกลม
-         ใช้คลื่นน้ำ กระแทกดินที่เป็นเลนพอดีๆ เรียบเอง ใช้หลักธรรมชาติช่วยทำงานให้
2.     วิธีการทำ
-         เริ่มจากแบ่งพื้นที่เป็น 2 ซีก
-         วิ่งผ่ากลางแปลง จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ใช้แนวตรง
-         เมื่อชนสุด ให้เลี้ยวขวา (ด้านขวาแปลง) ตั้งฉากไปจนสุดแปลงนาแล้ววิ่งกลับมาใช้เส้นเดิม
-         พอเจอเส้นกลางก็ทำเทือกทางขวาของเส้นกลาง
-         วิ่งมาสุดอีกด้านของเส้นผ่ากลาง ก็เลี้ยวไปทางขวา (ด้านซ้ายแปลง)
-         วิ่งสุดก็วิ่งกลับมาจนเส้นกลาง
-         แล้วทำเทือกด้านซ้ายเส้นกลาง
-         แล้วทำซ้ำๆ ในลักษณะตัวเอส-ฉาก
-         เส้นกลางก็จะเป็นพื้นที่ขยายไปซ้ายขาวเรื่อยๆ
-         ดินเทือกก็จะถูกกระแทกไปเรื่อยๆ จนเรียบ
-         สุดท้ายให้ทำเทือกเรียบโดยวิ่งตามกรอบ รอบแปลงนา

สูตรน้ำสกัดสมุนไพรป้องกันและกำจัดแมลงและศัตรูข้าว
สมุนไพรจำเป็นแต่ละชนิดอย่างละ  5   กก. ดังนี้
ยาสูบหัวกลอย หนอนตายอยาก บอระเพ็ด หางไหลแดง เปลือกมังคุด เมล็ดมันแกว ขมิ้นชัน ไพล เปลือกสะเดา สมุนไพรเหล่านี้ สามารถปลูกเองได้รอบๆบ้าน จะได้ไม่ต้องซื้อหา
สมุนไพร (หากมี) แต่ละชนิดอย่างละ 5 กก. ดังนี้
ตะไคร้หอม  ว่านน้ำ ลูกมะกรูด เถามะระขี้นก ฝักคูณแก่
ใช้กากน้ำตาล  10  กก. หัวเชื้ออีเอ็ม 1 ลิตร หากกากน้ำตาลต้องซื้อ ก็ปลูกอ้อยสัก  1 งาน ก็สามารถใช้แทนกากน้ำตาลได้
วิธีทำ  สับส่วนประกอบทั้งหมดให้ละเอียดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้ละเอียด (ยกเว้นกากน้ำตาลและหัวเชื้ออีเอ็ม) นำไปบรรจุในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด ใส่กากน้ำตาล อีเอ็มและน้ำ  โดยให้ท่วมส่วนผสมขึ้นมาประมาณ 15  ซม. คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิทแล้วเปิดคนกวนทุกวัน เป็นเวลา 14 วัน จึงจะนำไปใช้ได้
การใช้ อัตรา 100-150   ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร การฉีดพ่น ควรทำในช่วงเช้า จึงจะมีประสิทธิภาพสูง ส่วนกากที่เหลือ จากการคั่นน้ำหมดแล้ว ให้นำไปเทลาดเวลาสูบน้ำเข้านา

การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ชนิดสด
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มาใช้ตอนแช่ข้าวพันธุ์ก่อนปลูก และรักษาโรคเพลี้ย  โรครากเน่าได้ ตลอดจนเพิ่มฟอสเฟตในดินได้
การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ มีดังนี้
-         หุงปลายข้าวด้วยหม้ออุ่นข้าวไฟฟ้า ไม่นิ่มไม่แข็ง พอข้าวสุก ก็ใช้ทัพพีซุบขณะร้อน
-         ตักปลายข้าวสุกขณะร้อน ระวังเชื้ออื่นเข้าใส่ในถุงพลาสติกทนร้อน 8X12 นิ้ว หรือ 250  กรัม/ถุง
-         กดข้าวให้แบนพับปากถุง รอจนข้าวอุ่นเกือบเย็น
การใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์ม่า
-         ใช้เหยาะหัวเชื้อลงในถุงข้าวในที่ลมสงบ 2-3  ครั้ง หรือประมาณ 1 กรัม/ถุง
-         รัดยางตรงปากถุงให้แน่น เขย่าหรือบีบเบาๆ ให้เชื้อกระจายทั่วถุง
-         สวมถุงให้ปากถุงพองอากาศ แล้วใช้เข็มแหลมแทงบริเวณรอบๆ ปากถุงที่ยางรัดไว้
การบ่มเชื้อราไตรโคเดอร์มา
-         กดข้าวในถุงให้แน่น ห้ามวางถุงซ้อนทับกัน ดึงกลางถุงให้พองออก ไม่ให้ถุงติดข้าว ให้อากาศเข้าได้
-         บ่ม 2 วัน โดยวางถุงในห้องที่ปราศจากมด ไร และ สัตว์อื่น ๆ อากาศไม่ร้อน ไม่ถูกแสงแดด แต่มีแสงสว่าง  
6-10 ชั่วโมง/วัน หากแสงไม่พอใช้หลอดนีออนช่วยแทน
-         ครบ  2  วัน บีบเขย่าข้าวที่มีเส้นใยให้แตก วางถุงในที่เดิม ดึงถุงให้อากาศเข้าอีกเหมือนเดิม
-         บ่มต่ออีก  4-5 วัน บีบดึงถุงอีก
-         ครบ 15 วัน จึงนำไปใช้

ปัญหาที่พบ
-         เชื้อขึ้นขาวแต่ไม่เขียว ข้างแฉะไป ต้องลดน้ำหุ้งข้าว
-         ปากถุงราเขียวก้นถุงราขาว อากาศไม่พอแสงไม่พอ ให้เจาะรูเพิ่มให้ใช้ไฟนีออนช่วย
-         เกิดหยดน้ำในถุง วางถุงข้าวในที่ร้อน ให้วางในที่เย็น
-         เชื้อดำเสียในถุงข้าว มีจุลินทรีย์ปนเปื้อน ต้องทิ้งถุงข้าวโดยไม่ต้องแกะ
-         เชื้อเขียวแล้วกลายเป็นเชื้อขาว เชื้ออายุเกิน 7 วัน ให้บ่มเชื้อครบ 7 วัน แล้วเก็บถุงเชื้อในตู้เย็น
-         เกิดการปนเปื้อน เชื้อราไตรโคเคอร์ม่ากลายพันธุ์

วิธีการดูว่าเป็นนาอิทรีย์แล้ว
1.     สัมภาษณ์ แนวคิดชาวนา
-         มีความรู้เรื่องจุลินทรีย์ ทำนาอินทรีย์
-         ตอบปัญหาได้ในมุมของเกษตรอินทรีย์ จุลินทรีย์ชีวภาพได้ ในเรื่องลดต้นทุนปุ๋ย ยาฆ่าแมลง วัชพืช เนื้อดิน
-         สามารถบอกเวลาข้าวปิดเปิดเกสรตัวเมียได้
-         ค้นหาวิธีการลดงานลงโดยวิธีการตัดหรือรวมขั้นตอนการทำนา
-         วิธีการทำนาในแต่ละขั้นตอนสอดคล้อง
-         ผลงาน ผลผลิต
2.     เยี่ยมบ้านชาวนา
-         พบตุ่ม ไห ถังหมักจุลินทรีย์ ถุงปุ๋ยอินทรีย์
-         มีการปลูกพืชสมุนไพรใกล้บ้าน
-         มีการทำน้ำฮอร์โมนพืช
-         มีการทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมัก ใช้เอง หรือเลือกซื้อได้
-         มีถังข้าวแช่น้ำจุลินทรีย์
-         มีรถไถนาขนาดเล็ก, และอุปกรณ์ทำนา เชิงระบบนิเวศน์
-         มีอุปกรณ์ตรวจสอบต่างๆ เช่น ทดสอบดินและน้ำ
3.     ตรวจนาอินทรีย์ภาพสนาม สถานที่ทั่วไป
-         มีเสียงกบเขียดร้อง
-         พบตัวหำตัวเบียน  มวลเพชรฆาต  แมงมุม ตามระยะเวลาการปลูกข้าว
-         ดินนาร่วนซุ่ย เดินแล้วนิ่ม ไม่แข็งกระด้าง ดินมีกลิ่นหอม ไม่เหม็น มีแก๊สบริสุทธิ์ ไม่มีแก๊สมีเทน หรือแก๊สไข่เน่า
-         น้ำสะอาดใส่ ไม่เน่าดำ เอาน้ำไปวิเคราะห์ไม่พบโลหะหนัก หรือมีน้อยมาก
-         มีซากอินทรีย์ ตอซังข้าว ที่มีลักษณะเป็นฮิวมัสแล้ว
-         เอาดินจากนา มาลอยเพาะเชื้อจุลินทรีย์ดู โดยการทดสอบกับน้ำผสมน้ำตาล จะมีแก๊สหอมชื้น
-         พบวิธีการทำนา เช่น การวางกระสอบปุ๋ยคอกวางขวางทางน้ำ
-         พบวิธีการ ฆ่าแมลงทางกล และชีวภาพ
-         มีเทคนิคการทำนาที่ใช้ในเชิงระบบนิเวศน์ เช่นการปลูกห่างและใบโปร่ง เพื่อกำจัดเพลี้ยและราสนิม โดยวิธีสร้างบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวย

-         ตรวจดูรวงข้าว เมล็ดเต็ม ไม่ลีบ จำนวนเมล็ดมาก จำนวนกอมีกี่ต้น ต้นละกี่รวง รวงละกี่เมล็ด
-         การกระจายความหนาแน่นต้นข้าวและรวงข้าว ในแต่ละไร่ ของแปลงนาว่าสม่ำเสมอ หรือแตกต่าง  สามารถอธิบายสาเหตุและผลได้
-         อธิบายธรรมชาติของนกกินหอย และแมลงศัตรูพืชได้ ในแง่โทษและประโยชน์พฤติกรรม นิสัย ที่สอดคล้องกับการควบคุมป้องกัน จำนวนประชากรแมลงไม่ให้มากถึงขั้นเสียหาย

คุณชัยพร พรหมพันธุ์ เป็นชาวนาที่ทำเกษตรอินทรีย์มามากกว่า 20 ปี มาแล้ว อาศัยที่ตัวเองเป็นช่างเทคนิค เป็นคนชอบสังเกตุ ชอบคิดใหม่ทำใหม่ คิดปรับปรุงงานให้ทำงานน้อยลง ตัดงานบางอย่าง อย่างไรโดยการรวมงาน การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องทุนแรง มาช่วยลดแรงคน การดัดแปลงเครื่องมือที่มีอยู่แล้ว มาทำหน้าที่หว่านเมล็ดข้าวและปุ๋ยเม็ดได้ การทำอุปกรณ์สูบข้าวดีดอย่างง่ายๆ ราคาถูก การยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำเอง ใช้จ่ายประหยัด ใช้สารสมุนไพรไล่แมลงแทนเคมีฆ่าแมลง รู้จักธรรมชาติของนกในการลงนา การที่มีอุปนิสัยดี ที่ชอบสอนด้วย และมีแนวคิดกุศโลบายในการจูงใจตนเอง ให้ทำงานอย่างไร โดยไม่พึ่งคนอื่นมากนัก  การเป็นนักลดต้นทุนอยู่เป็นนิสัยรากฐาน  หากซื้อก็ซื้อน้อยที่สุด หากเป็นเครื่องจักรราคาแพงก็จะซื้อรถเก่า เช่น รถเกี่ยวข้าว รถใหม่ราคา 2  ล้านบาท ก็จะรอหาที่คนร้อนเงิน ขายรถเก่า ราคา 5 แสนบาท  1  ปี ก็ถอนทุนแล้ว เพราะไปรับจ้างเกี่ยวข้าวด้วย  การลดเวลาป้ายข้าวดีด โดยการเอาถังน้ำยาสะพายติดหลัง  คนเดียวกันทำได้  ไม่ต้องใช้ 2 คน แบบคนอื่น และไม่ต้องเดินย้อนไปมา  เดินเที่ยวเดียวไปทั่วไป งานจึงเสร็จเร็วและไม่เหนื่อย

ที่มา http://www.monmai.com

สุดยอดแห่งความรู้
IP : บันทึกการเข้า
bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #319 เมื่อ: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2012, 18:07:59 »

คูโบต้ามาสาธิตรถเกี่ยวข้าวที่โรงเรียนชาวนาท่าสาย เจ้า

 ยิ้มกว้างๆ....แม่เลี้ยงเสื้อม้อฮ้อมหุ่นบึกบึนใช้ได้....
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
หน้า: 1 ... 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 [16] 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!