เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 เมษายน 2024, 06:05:26
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  ส่งเคราะห์-ส่งนาม โดย พนมกร นันติ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ส่งเคราะห์-ส่งนาม โดย พนมกร นันติ  (อ่าน 14580 ครั้ง)
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« เมื่อ: วันที่ 22 สิงหาคม 2012, 08:22:33 »



การส่งหรือพิธีกรรมในการสังเวยตามแบบล้านนา เมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น เช่น ความเจ็บป่วยที่รักษาไม่หาย ประสบเหตุ เช่นไฟไหม้บ้าน หรือมีเคราะห์ร้ายต่างๆ บ่อยครั้ง ซึ่งเชื่อกันว่าอาจมีมีสาเหตุเนื่องจากถูกผีหรืออำนาจอื่นกระทำ การแก้ไขอย่างหนึ่งคือ การส่งหรือการสังเวยแก่เทพหรือผีนั้นๆโดยตรงเพื่อจะได้พ้นจากสภาพที่เลวร้ายนั้น ๆ ได้ ซึ่งพิธีส่งมีหลายชนิด เช่น ส่งขึด ส่งกิ่ว ส่งผีส่งเทวดา ส่งเคราะห์ ส่งแถนเป็นต้น ซึ่งในพิธีกรรมการส่งจะมีเครื่องประกอบพิธีกรรมแและคำสังเวยแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของการส่ง โดยทั่วไปที่ต้องเตรียมมีดังนี้
๑. “เครื่องแสดงความยกย่อง” อันประกอบด้วย ข้าวตอกดอกไม้ ธูป เทียน
๒. เครื่องประกอบยศ ซึ่งมี ช่อ (ธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก) และ ทุง (ธงตะขาบ) ทั้งนี้อาจมีฉัตรด้วยก็ได้ เทียนค่าฅิง (เทียนสูงเท่ากับความสูงของเจ้าชาตา) สีสายหรือสายน้ำมันค่าฅิง (ไส้ประทีปยาวเท่าตัวเจ้าชาตา) ผ้าขาว ผ้าแดง ห่อเงิน ห่อคำ(ทอง) ฯลฯ



๓. อาหารและเครื่องขบเคียวอันประกอบด้วย แกงส้ม แกงหวาน ข้าว ขนม มะพร้าว กล้วย อ้อย หมาก พลู บุหรี่
๔. เครื่องสังเวยตามวัตถุประสงค์ เช่น ดินหรือแป้งที่ปั้นเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ
๕. เครื่องทานประกอบเช่น สัตว์สำหรับปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์ หน่อกล้วย หน่ออ้อย ไม้ค้ำต้นโพธิ์ เป็นต้น
๖. การจัดชุดและตำแหน่งของเครื่องสังเวย ตลอดถึงการจัดวางเครื่องบูชาเมื่อเสร็จพิธี
๗.คำโอกาสหรือคำกล่าวในการสังเวย เป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการสังเวยนั้น ๆ
๘. เครื่องคำนับครูของอาจารย์ผู้ประกอบพิธีซึ่งมักจะประกอบด้วยดอกไม้ธูปเทียน หมากพลู เมี่ยง บุหรี่ และเงินตามอัตรา ทั้งนี้การจัดอุปกรณ์ในพิธีอาจจัดวางบนจานสังกะสี ใส่พาน ใส่ฅวัก คือ กระทง ใส่สะทวง คือ กระบะบัตรพลีทำด้วยกาบกล้วยหรือวางบนตะแกรงไม้ไผ่สานก็ได้
 


เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วก็จะนำกระบะไปวางตามทางแยกหรือทางแพ่ง ซึ่งเชื่อเป็นสถานที่ที่มีผีมาชุมนุมกัน ชนิดของพิธีส่งเช่น ส่งพญานาค พิธีส่งพญานาคหรือขอที่ดินจากพญานาคนี้เป็นขั้นตอนหนึ่งในการปลูกเรือนของชาวล้านนากล่าวคือ เมื่อเจ้าของเรือนใหม่ได้เตรียมไม้เครื่องเรือนต่างๆ พร้อมแล้วก็จะขุดหลุมเพื่อจะลงเสาเรือนซึ่งก่อนที่จะขุดหลุมนั้น เจ้าของเรือนจะต้องทำพิธี ส่งพญานาค หรือขอที่ดินจากพญานาคเสียก่อนทั้งนี้เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของบุคคลในเรือนนั้น ๆ
ส่งไฟไหม้ หรือ ปูชาส่งไฟไหม้ เป็นพิธีกรรมที่ชาล้านนาจะทำขึ้นเมื่อเกิดไฟไหม้วัด บ้านยุ้งข้าวหรือกองข้าวในนา เป็นต้น เมื่อจัดพิธีนี้แล้วจึงจะสามารถปลูกสร้างอาคารในบริเวณไฟไหม้นั้นได้
ส่งแม่เกิด หรือบางแห่งเรียกว่า ส่งเกิด นี้เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสังเวยแก่แม่ซื้อ เมื่อเห็นว่าทารกหรือเด็กป่วยไข้กระเสาะกระแสะร้องไห้กวนโยเยบ่อย เชื่อกันว่าแม่เกิด หรือแม่ซื้อซึ่งเป็นวิญญาณนั้นจะมารับเอาเด็กไปอยู่ด้วย ดังนั้นการทำพิธีส่งแม่เกิดหรือสังเวยแก่แม่ซื้อนี้จึงเป็นการกระทำเพื่อให้แม่ซื้อพอใจและยุติการกระทำที่จะนำตัวเด็กไปอยู่ด้วยเสีย



ส่งวานเกิด หรือ ส่งพ่อเกิดแม่เกิด เป็นพิธีที่ทำขึ้นเมื่อเห็นว่าเด็กหรือทารกป่วยกระเสาะกระแสะ มีแนวโน้มว่า วานหรือญาติในปรภพจะมารับตัวเด็กนั้นให้กลับคืนไปอยู่ในสภาพวิญญาณเหมือนเดิม พิธีส่งวานเกิด นี้เป็นพิธีที่ทำต่อจากการส่งเกิดหรือส่งแม่เกิด กล่าวคือ จะมีการส่งแม่เกิดคือส่งแม่ซื้อในวันแรก และวันต่อมาจะมีการส่งวานเกิดวานเกิด ในที่นี้มีความหมายว่าญาติที่เกี่ยวข้องกับการเกิดของทารกดังจะเห็นได้จาก คำโอกาส หรือโองการสังเวยในพิธีนี้ ซึ่งผู้ที่เชิญมารับเครื่องสังเวยนั้นได้ถูกระบุว่าเป็น “เสี่ยว” “ยี่เสี่ยว”และ “เสี่ยวสหายทังสอง”ซึ่งแปลว่าผู้มารับเครื่องสังเวยนั้นเป็นเกลอกับบิดามารดาของเด็ก และในบางตอนก็เรียกเป็น “พ่อเกิดแม่เกิด” และ”พ่อยี่แม่ยี่” ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เมื่อทารกนั้นเติบโตขึ้นก็เกรงไปว่าบิดามารดาซึ่งอยู่ในสภาพของวิญญาณจะมารับตัวเด็กทารกนั้นไปจึงต้องมีเครื่องสังเวยต่างๆ เพื่อเอาใจ พร้อมกับอ้างว่าเด็กนั้นได้ระคนกับสิ่งที่น่าขยะแขยงเช่นกินเขียดแห้ง กินทาก กินตับของอีกาหรือดวงตาของอึ่งอ่าง เป็นต้น มาแล้ว เพื่อให้บิดามารดาในภาควิญญาณนั้นเกิดรังเกียจแล้วคลายความรักและผูกพันในเด็กนั้นไป

ส่งโลกาวุฑฒิ หรือโลกวุฒิเป็นพิธีส่งหรือการสังเวยเพื่อให้พ้นจากการกระทำที่เป็นโลกหาณีหรือการกระทำที่เกิดความเสื่อมแก่โลก ซึ่งจากข้อที่กำหนดไว้ในคัมภีร์ชื่อโลกสมมติราช พบว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับตำแหน่งที่ปลูกเรือนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากผู้ปลูกเรือนกระทำเข้าลักษณะดังกล่าวนั้น ย่อมจะเป็นที่ติฉินของผู้อื่น ดังนั้น การส่งโลกาวุฑฒิ จึงเป็นวิธีการที่จะแก้ไขความผิดดังกล่าวนั้นได้
ส่งหาบ พิธีส่งหาบนี้ทำขึ้นเมื่อเด็กที่มีอายุ ๑ปี ถึง ๑๐ ปี เป็นพยาธิ คือเจ็บไข้ได้ป่วยเนือง ๆ เช่นอาจเป็นเด็กพุงโรก้นปอด เป็นตานขโมย เป็นโรคผิวหนังมีผื่นคันไม่รู้จักหาย ร่างกายไม่แข็งแรงหรือขี้แยผู้เฒ่าผู้แก่หมอยา หรืออาจารย์ผู้ประกอบพิธีอาจแนะให้ ส่งหาบส่งคอน ส่งวานเกิดส่งแถนหรือส่งเทวดาแล้วแต่อาการเจ็บไข้นั้นๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม และในการส่งหาบนั้นจะใช้ กวยตีนช้าง(อ่าน”ก๋วยตี๋นจ๊าง”) ตะกร้าสานให้ตาห่างๆ มีลักษณะคล้ายเท้าช้าง เมื่อจะใช้ต้องเอาใบตองกรุด้านในเสียก่อน)ขนาดกว้างประมาณ  ๗ นิ้ว สูงประมาณ ๙ นิ้ว จำนวนสามหาบคือสามคู่ เพื่อทำพิธีส่งในตอนเย็นวันและหาบรวมสามวันแต่ละหาบบรรจุเครื่อง ๔ คือเครื่องสังเวยต่างๆ อันประกอบด้วยดอกไม้ธูปเทียนกล้วย อ้อยมะพร้าว ข้าวต้มขนมและอาหารตามกำหนดโดยเฉพาะจะต้องมีเงิน ๓ บาทห่อด้วยผ้าขาวมีดินจากจอมปลวกหรือขี้ผึ้งหรือแป้งปั้นเป็นรูปสัตว์เลี้ยงอย่างละ ๑ ตัวและให้มีรูปปั้นชายหญิง๑ คู่ อยู่ในหาบนั้น



ส่งหาบส่งหาม เป็นพิธีกรรมของพรานป่าเพื่อเลี้ยงผีป่าที่ดูแลรักษาสัตว์ป่าซึ่งพรานเรียกผีป่านี้ว่าพระยาแก้วพรานป่าจ่าเนื้อ พิธีส่งหาบส่งหามนี้บางแห่งก็เรียกว่าส่งหามส่งคอน พิธีส่งหาบส่งหามหรือส่งหาบส่งคอนจะทำก่อนที่พรานจะชำแหละเนื้อสัตว์แบ่งปันส่วนแบ่งกัน พิธีส่งหาบส่งหามหรือส่งหาบส่งคอนจะทำดังนี้ พรานจะตัดเอาเนื้อและเครื่องในสัตว์มาทำเป็นชิ้นหาบและชิ้นหาม หรือชิ้นคอน โดยนำเนื้อและเครื่องในสัตว์ทำเป็นพวงเล็ก ๆ ขนาดเท่ากับหัวแม่มือ ๒ พวงเสียบติดกับปลายไม้ไผ่เล็ก ๆ ยาวประมาณ ๑ คืบข้างละ ๑ พวงซึ่งเรียกว่า ชิ้นหาบ จากนั้นก็นำเนื้อและเครื่องในทำเป็นพวงเล็ก ๆ ขนาดหัวแม่มืออก ๑ พวง เสียบติดกับไม้ไผ่โดยให้พวงเนื้อนั้นอยู่ตรงกลางไม้ไผ่ซึ่งเรียกว่า ชิ้นหาม แต่ถ้าให้พวงเนื้อนั้นค่อนไปทางปลายไม้ข้างใดข้างหนึ่ง ก็จะเรียกว่า ชิ้นคอน หลังจากทำชิ้นหาบและชิ้นหามหรือชิ้นคอน เสร็จแล้วก็นำไปถวายแก่พระยาแก้วพรานป่าจ่าเนื้อ โดยใช้มีดถากต้นไม้แล้วเอาชิ้นหาบชิ้นหามหรือชิ้นคอนเหน็บติดกับต้นไม้นั้นพร้อมกับกล่าว คำถวาย
ส่งฮ่า แมลงเพลี้ยง แมลงบุ้ง นก หนู คนโบราณล้านนาในสมัยก่อน ถ้ามีสัตว์ต่างๆแมลงต่างๆ เป็นต้นว่านก หนู บุ้ง หรือเพลี้ยง ลงกินพืชพันธุ์ธัญญาหารในไร่ในนาข้าวกล้าหรือในไร่ในสวน ท่านว่าเป็นอุบาทว์ชนิดหนึ่งหรือบางแห่งก็ว่าฮ่า(หรือห่าลง) ก็มักจะกระทำพิธีส่งหรือบูชาเพื่อให้พ้นจากความเลวร้ายนั้น ๆ ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ใดก็ให้ทำพิธีส่งในที่เกิดเหตุ นั้น



ส่งอุบาทว์ ๘ ประการ หรือ อภิไทโภวิบาทว์ อุบาทว์คือสิ่งที่นำมาซึ่งความเป็นเสนียดจัญไรให้แก่ตัวเอง แก่ครอบครัวและแก่บ้านเมือง ซึ่งสิ่งที่เป็นอุบาทว์นี้หมายรวมทั้งความไม่ดีไม่งามต่าง ๆ ที่จะทำให้วิถีชีวิตของผู้ประสบพบเห็นยังลางร้ายต่าง ๆ เช่นเดียวกับขึด คือเป็นการแสดงให้เห็นเหตุกาลต่างๆ เรียกว่าลางสังหรณ์ ซึ่งอาจมาในรูปของสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์น้ำ สัตว์ปีกซึ่งถือกันว่าเทวดามาแสดงนิมิตให้เห็นเรียกว่า อุบาทว์ ทั้งนี้สิ่งที่เห็นนั้นอาจจะเห็นเป็นของแปลกพิสดารหรือที่ไม่เคยพบเคยเห็นก็ได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟังได้ฝัน ถือเป็นลางมาบอกเหตุล่วงหน้า เมื่อได้พบได้เห็นได้ยินได้ฟังแล้ว โบราณาจารย์ล้านนาท่านให้รีบหาทางแก้ไขเสียภายใน ๓-๕ วัน เมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้ในบ้านในเรือนเราท่านให้รีบจัดพิธี บูชาส่ง ถอน สะเดาะเคราะห์ หรือ รดน้ำมนต์เสีย เหตุการณ์ร้ายก็จะไม่เกิดขึ้น
ส่งเคราะห์ บุคคลที่ถูกใส่ความ ประสบอุบัติเหตุ เป็นไข้ ค้าขายขาดทุน ทำงานมักผิดพลาดหรือเกิดความเสียหายบ่อย ๆ ถือว่าบุคคลผู้นั้นมีเคราะห์มากระทบ การส่งเคราะห์จะทำให้เคราะห์ทั้งหลาย ตกไปได้
ส่งเคราะห์เรือน พิธีส่งเคราะห์เรือนนี้ถือกันว่าเป็นพิธีกรรมที่จัดทำขึ้นเมื่อเห็นว่ามีผู้ป่วยหนักจนอาจถึงแก่ชีวิต เมื่อทำพิธีนี้แล้วจะทำให้ผู้ป่วยนั้นพ้นจากความป่วยไข้หรืออุปัทวันตรายทั้งปวง และช่วยให้เกิดสิริมงคลแก่สมาชิกในเรือนหรือในครอบครัว ส่งขึด คือพิธีกรรมอย่างหนึ่งในการแก้ไขสภาพความอัปมงคลซึ่งตกแก่ผู้กระทำผิดจารีตของสังคม หรือที่เรียกว่า ต้องขึด ซึ่งจำเป็นจะต้องแก้ไขโดยการ ส่งขึด หรือ ถอนขึด




ส่งกิ่ว “กิ่ว” มีความหมายว่าชะตาชีวิต โชควาสนาหรือ “ดวง” ในกรณีที่บ้านเมืองเกิดมีอุบัติภัยหรือโรคภัยเช่นโรคระบาดต่างๆ หรือในกรณีที่บุคคลค้าขายขาดทุนหรือมีวิถีชีวิตลุ่มๆดอนๆโดยหาสาเหตุไม่พบการส่งกิ่วนี้จะช่วยให้ภาวะที่เลวร้ายดังกล่าวนั้นหมดไปได้
ส่งไข้ ส่งผีหรือ ส่งเทวดาพิธีส่งไข้นี้ บางแห่งบางท้องถิ่นก็จะเรียกว่า ส่งผีบ้าง ส่งเทวดาบ้าง แล้วแต่ผู้ประกอบพิธีแต่ละแห่งจะเรียกชื่อเอาเอง อย่างไรก็ตามพิธีนี้ก็มีที่มาอยู่ว่าบุคคลใดก็ดีมีธุระไปที่ไหนๆ มาแล้วไปได้รับความเจ็บไข้ได้ป่วยมาในวันนั้นหรือว่าเจ็บปวดป่วยไข้อย่างกะทันหันมักจะเรียกกันว่าไปถูกผีทักบ้าง ถูกเทวดาทักบ้าง ตามทิศต่างๆ ที่ไปมา
มีประเพณีความเชื่อของชาวล้านนาอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการส่งเคราะห์-ส่งนาม  ซึ่งผู้เขียนเองได้เห็นผู้เฒ่าผู้แก่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่เล็ก  นอกจากแต่ละบ้านแต่ละครอบครัวจะทำพิธีกันเองตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว  ในวันสำคัญวันหนึ่งที่ชาวล้านนามักนิยมส่งเคราะห์กันก็คือช่วงสงกรานต์  หรือปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนานั่นเอง  ในป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองนั้นเราคงรู้บ้างแล้วว่าประกอบไปด้วยวันสังขารล่อง ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี วันที่ ๑๔ เป็นวันเน่า หรือวันเนาในภาษาภาคกลาง  และวันที่ ๑๕ เป็นวันพญาวัน หรือวันเถลิงศกที่รู้จักกันทั่วไป  ที่เรียกว่าวันพญาวันนั้นในความหมายของชาวล้านนานั้น คำว่า “พญา” นั้นหมายถึงผู้เป็นใหญ่  ดังนั้นวันพญาวันจึงหมายถึงวันที่เป็นใหญ่กว่าวันทั้งหลาย  ซึ่งก็หมายถึงวันเถลิงศกหรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวล้านนานั่นเอง  น้อยคนนักที่ไม่ใช่คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนา  ที่จะรู้ว่าป๋าเวณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนานั้นไม่ได้สิ้นสุดหรือมีเพียงเฉพาะ ๓ วันนี้เท่านั้น  ซึ่งในหนังสือ บทความ หรือบันทึกต่างๆ จะกล่าววันเพียง ๓ วันดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น แต่หลังจากวันพญาวันไปชาวล้านนาจะเรียกว่าวันปากปี๋ วันปากเดือน ตามลำดับ  ในวันปากปี๋(ปี) นี้นอกจากจะมีเกร็ดความรู้ด้านประเพณีและขนบธรรมเนียนของชาวล้านนา  ซึ่งถ่ายถอดมาจากรุ่นสู่รุ่นมากกมายแล้ว  ประเพณีหนึ่งที่เกี่ยวข้องก็คือการส่งเคราะห์นั่นเอง  ผู้เขียนได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าประเพณีการส่งเคราะห์นั้นนอกจากจะทำกันคามบ้านเรือนทั่วไปแล้ว  ในวันปากปี๋นี้เองที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเห็นผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยก่อน  ได้จัดเตรียมข้าวของเพื่อนำไปประกอบพิธีส่งเคราะห์  ซึ่งโดยรวมแล้วจะกระทำพิธีนี้กันที่วัดโยพระสงฆ์

ในการประกอบพิธีส่งเคราะห์นี้  ชาวบ้านและผู้เฒ่าผู้แก่จะนำเอาเสื้อผ้าของตนเองและคนในครอบครัวใส่กระบุง  ด้านบนจะมีสะตวงวางทับอยู่ และน้ำขมิ้นส้มป่อยไปรวมกันที่วัด  เมื่อถึงเวลาพระสงฆ์ก็ตะเริ่มสวดคาถาพื้นเมืองซึ่งเป็นการส่งเคราะห์  เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้ว  ชาวบ้านก็จะหาบเอากระบุงนั้นออกมานอกวัดและอาสะตวงหรือกระทงเครื่องพลีกรรม  ไปวางตามทางแยกหรือใต้ต้นไม้ใหญ่เพื่อนบูชาเคราะห์กรรมหรือเจ้ากรรมต่างๆ จากนั้นแต่ละคนก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยหระพรมเสื้อผ้า  และเอาเสื้อผ้าออกมาสะบัด  เพื่อเป็นการสะบัดหรือปัดเอาเสนียดจัญไรและเคราะห์ต่างๆที่ติดตัวหรือติดมากับเสื้อผ้าอาภรณ์ออกไปให้หมด และที่ชาวล้านนาเลือกเอาวันปากปี๋นี้เป็นวันส่งเคราะห์เนื่องจากมีความเชื่อกันว่า  จะสามารถปัดเป่าเคราะห์ต่างๆ ให้ห่างหายไปได้ตลอดทั้งปีนั่นเอง
 นอกจากนี้ในบางปีผู้เขียนยังเห็นว่าที่วัดประจำหมู่บ้านนั้นมีพิธีส่งนพเคราะห์  หรือส่งดาวเคราะห์ทั้งเก้านั่นเอง  ซึ่งพิธีนี้มีลักษณะคล้ายกับการส่งเคราะห์หรือส่งแถนทั่วไป  ต่างกันที่ว่าเป็นพิธีที่มักทำในช่วงเทศกาลสำคัญๆ และมักทำกันเป็นกลุ่มหรือหมู่คณะใหญ่ๆ  เครื่องประกอบพิธีในการส่งนพเคราะห์ก็เป็นสะตวงหรือกระทงที่ใส่เครื่องพลีกรรม จำนวน ๙ อันด้วยกัน  แต่ละอันก้อจะปักช่อเล็กๆ ซึ่งมีสีตามดาวนพเคราะห์นั้นๆ  ส่วนผู้ที่เข้าร่วมพิธีก็จะเขียนชื่อ วัน เดือน และปีที่เกิดของตนใส่ในประดาษเล็ก  แล้วนำไปปักในสะตวงตามราศีเกิดหรือตามดาวนพเคราะห์นั้นๆ  เพื่อประกอบพิธีส่งนพเคราะห์หรือส่งเคราะห์ประจำปีเกิด  ให้เกิดความอยู่ดีมีสุข  ความรุ่งเรืองในชีวิตต่อไป

ข้อมูลอ้างอิง และจากคำบอกเล่า
ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณ
๑.   พระครูรัตนกิตติญาณ  เจ้าอาวาสวัดเกตุแก้ว  ตำบลเมืองพาน  อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
๒.   พระครูพิศาลธรรมมานุรักษ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเกตุแก้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
๓.   พระครูสมุห์นวัตถกรณ์ อริยเมธี เจ้าอาวาสวัดดงหนองเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
๔.   อาจารย์นิพนธ์  อ้ายชัย  อาจารย์พิเศษ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วัดพระแก้ว พระอารามหลวง จังหวัดเชียงราย

และปราชญ์ชาวล้านนา ผู้เฒ่าผู้แก่ ที่ได้ได้เอ่ยนามทุกท่าน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2016, 14:14:05 โดย maekok_14 » IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 22 สิงหาคม 2012, 12:42:21 »

ตกใจ ตกใจ :oขอบคุณความฮู้ดีๆครับ คนรุ่นหลังนี่ถ้าบ่าฮู้จักเหียละก้าหา ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
ทางบ้านผมฮ้องส่งสะตวงครับ(เจียงใหม่) ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
เกยได้ยินคนโดนด่า ว่า...ควายสะตวง...บ่าฮู้แปลว่าอะหยัง
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 22 สิงหาคม 2012, 14:04:09 »

ครับ  ควายสะตวง คือควายตี่เปิ้นปั้นใส่ไปในสตวง เอาดินดากมาปั้น  เปิ้นเลยเอามาด่าเปรียบเทียบคนน่ะครับ ว่าถ้าง่่วอย่างควายก็ยังมีดีตี่ว่า ฮู้ซ้ายฮู้ขวา เดินหน้าถอยหลัง  แต่ควายสะตวงบ่อฮู้หยังซักอย่าง ประมาณว่า ง่าวล้ำง่าวเหลือ หรือก็ง่าวเหลือควายน่ะครับ อิิอิ  อันนี้เปรียบเปรยน่ะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 15:09:20 โดย maekok_14 » IP : บันทึกการเข้า
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 22 สิงหาคม 2012, 19:42:59 »

ครับ  ควายสะตวง คือควยตี่เปิ้นปั้นใส่ไปในสตวง เอาดินดากมาปั้น  เปิ้นเลยเอามาด่าเปรียบเทียบคนน่ะครับ ว่าถ้าง่่วอย่างควายก็ยังมีดีตี่ว่า ฮู้ซ้ายฮู้ขวา เดินหน้าถอยหลัง  แต่ควายสะตวงบ่อฮู้หยังซักอย่าง ประมาณว่า ง่าวล้ำง่าวเหลือ หรือก็ง่าวเหลือควายน่ะครับ อิิอิ  อันนี้เปรียบเปรยน่ะครับ
  มาพิ-นาแล้ว ตามนั้นครับยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
@เชียงแสน
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


..ทุกลมหายใจคือการเปลี่ยนแปลง..


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 22 สิงหาคม 2012, 21:08:45 »

..ช่วงนี้ได้ความรู้ดีดีจากท่านเจ้าของกระทู้ หลาย ๆ กระทู้ครับ... ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 22 สิงหาคม 2012, 21:58:53 »

..ช่วงนี้ได้ความรู้ดีดีจากท่านเจ้าของกระทู้ หลาย ๆ กระทู้ครับ... ยิงฟันยิ้ม

ด้วยความยินดีครับ
IP : บันทึกการเข้า
chate
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,023


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 23 สิงหาคม 2012, 15:34:45 »

แล้วตี่เปิ้นเอาไม้จุ่มกั๋นแล้วเรานั่งอยู่กลาง เปิ้นฮ้องอะหยัง
มีพระ+พ่อหนานตวย
มีเครื่องประกอบ 108 อย่าง
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 23 สิงหาคม 2012, 15:56:30 »

แล้วตี่เปิ้นเอาไม้จุ่มกั๋นแล้วเรานั่งอยู่กลาง เปิ้นฮ้องอะหยัง
มีพระ+พ่อหนานตวย
มีเครื่องประกอบ 108 อย่าง

สืบชะตาครับ  อ่านได้ในบทความเรื่อง สืบชะตา มงคลแห่งชีวิตได้เลยครับ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 23 สิงหาคม 2012, 15:57:11 »

แล้วตี่เปิ้นเอาไม้จุ่มกั๋นแล้วเรานั่งอยู่กลาง เปิ้นฮ้องอะหยัง
มีพระ+พ่อหนานตวย
มีเครื่องประกอบ 108 อย่าง

สืบชะตาครับ  อ่านได้ในบทความเรื่อง สืบชะตา พิธีมงคลแห่งชีวิตได้เลยครับ
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=286087.0
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 14:53:53 »

ครับ  ควายสะตวง คือควยตี่เปิ้นปั้นใส่ไปในสตวง เอาดินดากมาปั้น  เปิ้นเลยเอามาด่าเปรียบเทียบคนน่ะครับ ว่าถ้าง่่วอย่างควายก็ยังมีดีตี่ว่า ฮู้ซ้ายฮู้ขวา เดินหน้าถอยหลัง  แต่ควายสะตวงบ่อฮู้หยังซักอย่าง ประมาณว่า ง่าวล้ำง่าวเหลือ หรือก็ง่าวเหลือควายน่ะครับ อิิอิ  อันนี้เปรียบเปรยน่ะครับ
เวลาพิมพ์คำว่า"ควาย" ตรวจทานตวยเน่อ อะหยังบ่ะฮู้แมนมาแตนควายบ้านเฮา ก๋ายเป๋นควายอีสานไปเหียแล้ว
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 15:10:05 »

ครับ  ควายสะตวง คือควยตี่เปิ้นปั้นใส่ไปในสตวง เอาดินดากมาปั้น  เปิ้นเลยเอามาด่าเปรียบเทียบคนน่ะครับ ว่าถ้าง่่วอย่างควายก็ยังมีดีตี่ว่า ฮู้ซ้ายฮู้ขวา เดินหน้าถอยหลัง  แต่ควายสะตวงบ่อฮู้หยังซักอย่าง ประมาณว่า ง่าวล้ำง่าวเหลือ หรือก็ง่าวเหลือควายน่ะครับ อิิอิ  อันนี้เปรียบเปรยน่ะครับ
เวลาพิมพ์คำว่า"ควาย" ตรวจทานตวยเน่อ อะหยังบ่ะฮู้แมนมาแตนควายบ้านเฮา ก๋ายเป๋นควายอีสานไปเหียแล้ว


555+
ลูกครึ่งเหนือ-อีสาน เอิ๊กๆ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Teeranan
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 30 พฤศจิกายน 2012, 13:03:04 »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่เป็นประเพณี เป็นพิธีกรรมบำบัดรักษาสุขภาพจิตของชาวล้านนาของเรานะคะ
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 30 พฤศจิกายน 2012, 21:52:46 »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่เป็นประเพณี เป็นพิธีกรรมบำบัดรักษาสุขภาพจิตของชาวล้านนาของเรานะคะ

ด้วยความยินดีครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!