เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 18 เมษายน 2024, 12:22:22
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  ศาสนา กิจกรรมทางวัด (ผู้ดูแล: ap.41, ลุงหนาน)
| | |-+  ท้าวทั้งสี่ ปฐมบทแห่งความเป็นมงคล
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ท้าวทั้งสี่ ปฐมบทแห่งความเป็นมงคล  (อ่าน 10019 ครั้ง)
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« เมื่อ: วันที่ 20 สิงหาคม 2012, 14:49:33 »



ในวิถีชีวิตของชาวล้านนานับแต่อดีตถึงปัจจุบัน  ยังคงอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ที่บรรพบุรุษสั่งสมมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน  ถึงแม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปมากก็ตาม  ในการดำเนินชีวิตของชาวล้านนาหรือสังคมไทยในปัจจุบันยังคงให้ความสำคัญ ความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องของความเป็นสิริมงคลกับชีวิตเป็นอย่างมาก  ในการประกอบพิธีการมงคลต่างๆ หรือแม้กระทั่งการที่จะเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างหนึ่งของชาวล้านนา  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้าน เปิดกิจการ ทำบุญบ้าน งานฉลองสมโภชต่างๆ นอกจากจะดูเรื่องของเวลาและฤกษ์ที่เป็นมงคลแล้ว  ก่อนการเริ่มต้นของงานต่างๆ เหล่านั้นจะมีพิธีกรรมหนึ่งที่ชาวบ้านยึดถือและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน  นั่นก็คือพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่  ซึ่งผู้เขียนเองได้เห็นพิธีกรรมเช่นนี้มาตั้งแต่เด็ก  จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังคงสืบทอดและยึดถือปฏิบัติกันอยู่ พิธีนี้มีความสำคัญอย่างไรกับวิถีชีวิตของชาวล้านนา
   ไม่ว่าจะทำประกอบพิธีอะไรที่เกี่ยวกับงานที่เป็นมงคลทุกครั้ง ชาวล้านนามักจะเริ่มต้นจากการบอกกล่าวอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิให้รับรู้รับทราบ  และเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมาปกป้องคุ้มครองให้กิจการงานนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  ด้วยพิธีกรรมที่เรียกว่า “ขึ้นท้าวทั้งสี่” ขึ้น หมายถึงการเริ่มขึ้น หรือเริ่มต้นพิธีกรรมอันเป็นมงคลนั่นเอง



“ท้าวทั้งสี่” หมายถึงอะไร  ผู้เขียนขออธิบายขยายความตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ถ่ายทอดให้ฟังดังนี้ ท้าวทั้งสี่หมายถึง มหาเทพทั้ง ๔ พระองค์ ซึ่งทำหน้าที่คอยดูแลโลก และคอยปกป้องคุ้มครองและป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ตลอดจนอำนวยความสุขความเจริญแก่มนุษย์ ดังนั้นท้าวทั้งสี่ในภาษากลาง ก็หมายถึง ท้าวจตุโลกบาลนั่นเอง(ชาวล้านนาออกเสียงว่า ต๊าวตังสี่)  ซึ่งเทพทั้ง ๔ พระองค์นี้จะประจำอยู่ในทิศทั้งสี่ของศูนย์กลางของจักรวาล คือเขาพระสุเมรุซึ่งในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ มหาเทพทั้งสี่พระองค์จะคอยตรวจตราโลกด้วยตนเอง และทรงเป็นหัวหน้าของเทพในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิก แต่ละพระองค์มีอายุกำหนด ๕๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งท้าวทั้งสี่พระองค์นี้ได้แก่ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวธตรฐะ ท้าววิรุฬหกะ และท้าววิรูปักข์



ท้าวกุเวร หรือเวสสุวัณณ์ หรือไพสรพณ์ บางทีก็เรียกท้าวไพศพ เป็นหัวหน้าของพวกยักษ์ทั้งหลาย ไทยเราถือว่าเป็นนายของพวกภูตผีปีศาจทั้งหมดทั้งมวลอีกต่างหาก มีหน้าที่รักษาโลกอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ
ท้าวธตรฐะ เป็นใหญ่ในพวกคันธัพพะ หรือพวกคนธรรพ์ที่ชอบร้อง รำ และดีดสี ตี เป่า มีหน้าที่รักษาโลกอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
ท้าววิรุฬหกะ หรือท้าววิรุฬหก เป็นใหญ่ในพวกกุมภัณฑ์ ซึ่งเป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง ในทางวิชาการระดับเข้มข้น ท่านจัดไว้ต่างหากจากพวกยักษ์  มีหน้าที่รักษาโลกอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ
ท้าววิรูปักขะ เป็นใหญ่ในพวกนาค อย่างที่ปรากฏในบทสวดแผ่เมตตาแก่ งู ทั้งหลายว่าวิรูปักเขหิเม เมตตัง...นั่นเอง ชื่อว่าวิรูปักข์หรือวิรูปปักขะ นอกจากจะเป็นชื่อของท่านแล้ว ยังเป็นชื่อของงูใหญ่ตระกูลหนึ่งด้วย มีหน้าที่ดูแลโลกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
ท้าวทั้งสี่หรือเทพทั้ง ๔ พระองค์นี้มีสวรรค์เป็นของตัวเอง เรียกชื่อว่า จาตุมหาราชิก เป็นสวรรค์ชั้นแรกสุดในจำนวนสวรรค์หกชั้นของไทย ตามตำราบอกว่าอยู่บนยอดเขา ยุคันธร หรือบางทีก็เรียกว่า ยุคนธร ซึ่งเป็นเทือกเขาชั้นในสุดที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุหรือภูเขาหลักโลก หรือแกนกลางของจักรวาล



ในการประกอบพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่แบบล้านนานั้น นอกเหนือจากจะกล่าวถึงเทพทั้งสี่ดังกล่าวแล้ว ยังมีการกล่าวอันเชิญพระอินทร์และพระแม่ธรณีอีกด้วย ซึ่งชาวล้านนาเชื่อกันว่าพระอินทร์ซึ่ง “กินสองสวัรค์” คือ เป็นอธิบดีของสวรรค์ ทั้งชั้นดาวดึงส์และจาตุมหาราชิก   ส่วนพระแม่ธรณีนั้นปรากฏในแง่ของผู้ที่คอยเป็นสักขีพยานและรับรู้ถึงการกระทำการอันเป็นกุศลบุญทั้งหลาย ซึ่งเราจะเห็นได้หว่าหลังจากที่เราทำบุญทุกครั้งเราจะกรวดน้ำ  และนำน้ำนั้นไปเทลงบนแผ่นดินเพื่อให้พระแม่ธรณีได้รับรู้ถึงการทำบุญทั้งปวง
ในการประกอบการมงคลต่างๆ ที่ผู้เขียนได้กล่าวมาตั้งแต่ตอนต้นแล้วเช่น การปลูกบ้านใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ งานฉลองถาวรวัตถุในศาสนา หรือแม้แต่เทศกาลตรุษสงกรานต์ต่างๆ ถือว่าต้องทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ เพื่อบอกกล่าวและอันเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลและเพื่อป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ทุกครั้ง  วัดบางแห่งทางภาคเหนือจะมีการสร้างแท่นเพื่อบูชาท้าวทั้งสี่ไว้ภายในบริเวณวัด  และเมื่อมีกิจกรรมหรืองานบุญในประเพณีวันสำคัญๆ ต่างๆ ชาวบ้านมักจะไปไหว้และบอกกล่าวท้าวทั้งสี่เพื่อความเป็นสิริมงคล  ซึ่งวัดที่ผู้เขียนมีความผูกพันมาตั้งแต่เด็กก็จะเห็นมีแท่นท้าวทั้งสี่มาตั้งแต่จำความได้  และในวันสำคัญๆ ต่างๆ ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียวไปวางตามมุมต่างๆ ของแท่นพร้อมทั้งจุดเทียนเพื่อเป็นการบูชาซึ่งใช้แทนสะตวงหรือเครื่องบัตรพลีด้วย  
ผู้เขียนจะอธิบายวัสดุอุปกรณ์และข้าวของเครื่องใช้ที่มีความจำเป็นในการประกอบพิธีดังกล่าว  โดยเริ่มจาก



สะตวง หรือ กระทง  ชาวล้านนาจะทำสะตวงสี่เหลี่ยมจากกาบของต้นกล้วย จะใส่เครื่องบูชาสังเวยท้าวทั้งสี่ลงไป  ซึ่งจะประกอบไปด้วยอาหารคาว-หวาน หมาก เมี่ยง บุหรี่ ขนมและผลไม้ต่างๆ จำนวนทั้งหมด ๖ สะตวง(ใช้เป็นเครื่องสังเวยท้าวทั้งสี่ ๔ สะตวง ใช้เป็นเครื่องสังเวยพระอินทร์ ๑ สะตวง และใช้เป็นเครื่องสังเวยพระแม่ธรณี ๑ สะตวง)  แต่ละมุมของสะตวงจะมี “ตุงจ้อ” หรือ “ช่อ” ซึ่งมีลักษณะคล้ายตุงชัย แต่ตุงจ้อมีขนาดเล็กกว่า หรือบางแห่งจะทำเป็นรูปร่มกระดาษเล็กๆ ปักไว้ทั้ง ๔ มุม  มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการปักตุงจ้อทั้ง ๔ มุม ของสะตวงนี้  ซึ่งจะมีอยู่ ๒ ตำราด้วยกัน
โดยตำราหนึ่งจะใช้ตุงจ้อสีขาวทั้งหมด  เพราะเชื่อว่าเทพทุกองค์จะมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่แล้ว  ดังนั้นสัญลักษณ์ที่แทนองค์เทพทุกองค์จะเป็นสีขาว  แต่ในอีกตำราหนึ่งจะใช้ตุงจ้อที่มีสีแตกต่างกันไปเช่นตุงจ้อสีเขียวปักสะตวงด้านบนสุดสำหรับบูชาพระอินทร์  ตุงจ้อสีแดงบูชาท้าววิรุฬหกะ ตุงจ้อสีฟ้าบูชาท้าวธตรฐะ ตุงจ้อสีดำบูชาท้าววิรูปักขะ ตุงจ้อสีหม่นหรือเทาบูชาท้าวกุเวร และตุงจ้อสีขาวบูชาพระแม่ธรณี ซึ่งถือตามสีกายของเทพองค์นั้นๆ ซึ่งแต่ละตำราและแต่ละครูจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละคนจะร่ำเรียนและสืบทอดมา
ปราสาทหรือแท่นบูชาท้าวทั้งสี่ ในพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่จะมีการจัดเตรียมแท่นสำหรับวางเครื่องบัตรพลีหรือเครื่องสังเวย ซึ่งมักทำจากเสาไม้หรือต้นกล้วยที่มีคานยื่นออกไปทั้งสี่ทิศ ปลายเสาและปลายคานจะมีแผ่นไม้ไว้เป็นแท่นรองรับสะตวง หรือกระทงเครื่องสังเวย ซึ่งขณะประกอบพิธีจะวางสะตวงไว้บนแท่น เพื่อบูชาพระอินทร์และท้าวทั้งสี่ตลอดจนวางบนดินส่วนโคนเสาติดกับพื้นดินเพื่อบูชาพระแม่ธรณี
   และที่ขาดไม่ได้ก็คือขั้นตั้งที่ผู้เขียนได้อธิบายไว้แล้วในฉบับก่อนหน้านี้  พร้อมทั้งน้ำขมิ้นส้มบ่อย เพื่อใช้ประพรมเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลกับผู้เข้าร่วมพิธี เวลาที่ประกอบพิธี ส่วนใหญ่มักทำในตอนเย็นก่อนหน้างานหนึ่งวัน หากไม่ทันก็อาจทำในเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ต้องให้เสร็จก่อนจะเริ่มงานโดยทิ้งระยะเวลาพอสมควร  และทิศที่ประกอบพิธีส่วนใหญ่มักเลือกเอาทิศตะวันออกของสถานที่นั้นๆ เพราะชาวล้านนาถือว่าเป็นทิศที่เป็นมงคลกับชีวิต



ผู้รวบรวม-เรียบเรียง นายพนมกร  นันติ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
๑.    พระครูรัตนกิตติญาณ(ศรีชุ่ม กิตติญาโณ) เจ้าอาวาสวัดเกตุแก้ว อ.พาน จงเชียงราย
๒.    พระคณุพิศาลธรรมานุรักษ์  รองเจ้าอาวาสวัดเกตุแก้ว อ.พาน จงเชียงราย
๓.    พระครูสมุห์นวัตถกรณ์ อริยเมธี เจ้าอาวาสวัดดงหนองเป็ด อ.เมือง จ.เชียงราย
๔.    อาจารย์นิพนธ์  อ้ายไชย อาจารย์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 20 สิงหาคม 2012, 16:36:04 โดย maekok_14 » IP : บันทึกการเข้า
@เชียงแสน
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


..ทุกลมหายใจคือการเปลี่ยนแปลง..


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 20 สิงหาคม 2012, 18:19:52 »

...ขอบคุณความรู้ดีดีครับผม..
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 20 สิงหาคม 2012, 22:06:18 »

...ขอบคุณความรู้ดีดีครับผม..

ด้วยความยินดีและเต็มใจย่งครับ
IP : บันทึกการเข้า
jirapraserd
midafXD
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 691


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 21 สิงหาคม 2012, 16:18:23 »

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 16 กันยายน 2012, 19:22:37 โดย jirapraserd » IP : บันทึกการเข้า

maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 21 สิงหาคม 2012, 16:42:30 »

เราเป็นคนรุ่นใหม่ คิดอย่างมีเหตุมีผล ความหมายที่แท้จริงของคำว่า ล้านนา คืออะไร
ล้านนา คือ มีนามากมาย

ล้านนา มีภาษาบาลีกำกับ โดยในท้ายคัมภีร์ใบลานจากเมืองน่านและที่อื่นที่พบจำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่งว่า “ ทสลกฺเขตฺนคร ” ซึ่งแปลว่าเมืองสิบแสนนำ หมายถึงดินแดนที่มีจำนวนที่นานับล้าน คือมี ที่นาเป็นจำนวนมากเป็นคำคู่กับเมืองหลวงพระบางที่ชื่ออาณาจักร “ ล้านช้าง ” คือดินแดนที่มีช้างนับล้านตัว ซึ่งมีภาษาบาลีกำกับว่า “ สตนาคนหุต ” หรือช้างร้อยหมื่น

ซึ่งหมายรวมถึง 8 จังหวัด ที่รวบเข้าเป็นล้านนา
สรุป ตรงนี้ คือ เกิดไม่ทัน และไม่เคยเห็น อาจจะเห็นแต่ลืม

ว่าด้วยเรื่องท่านเทพ คนละกรณีกับเจ้าของกระทู้ เพราะของท่านเป็นท่านท้าว หรือยักษ์
การสักการะท่านเทพ ต้องสักการะด้วยเครื่อง บรรณาการที่สูงส่ง
ต้องเคลือบภาชนะด้วยทองคำและเงิน ไม่ใช่ กาบกล้วย ใบตอง โลกเราพัฒนา โลกของ
ท่านหรือในมิติของท่านต้องพัฒนากว่าเราอีกหลายเท่า ขนาดคนธรรมดาอย่างเรายังใช้
ช้อนใช้จานอย่างดี และอาหารชั้นเลิศ  ท่านเป็นเทพ หมาก พลู ไม่เป็นการลบลู่หรืออย่างไร
และรู้ได้อย่างไรว่า หรือมีหลัีกฐานอะไรยืนยันว่า ท่านเสพสิ่งเหล่านี้เป็นอาหารของท่าน
ท่านเหล่านี้อยู่ด้วยความเป็นทิพย์  เชื่ออย่างแน่นอนว่า ท่านไม่เสพสิ่งเหล่านี้

แต่ด้วยความไม่เข้าใจ อนูโลมเอา  ท่านก็คงอนุโมทนา ในความเคารพที่มีต่อท่าน

สรุปความเหมือนกับ ขับรถผ่านต้นไม้ ผ่านศาล ต่าง ๆ บีบ แตร ร้อยคันผ่านบีบแตร
เป็นคนธรรมดาคงย้ายบ้านหนี อะไรครับ จะเคารพกัน หรือว่า ทักทายเหมือนเพื่อน
แค่บีบแตร เอาให้เป็นกาละเทศะ จอดรถลงมาไหว้ อะไรก็ว่ากันไป

ลองหาเหตุหาผลให้ดี ว่า เพื่ออะไร  ปราสาทเขาวิหารสร้างเพื่ออะไร ปิรามิดสร้างเพื่ออะไร
กำแพงเมืองจีนสร้างเพื่ออะไร  เพื่อให้คน ๆ เดียวเมื่อจากไปแล้วได้ไปจุติยังสรวงสวรรค์
หรืออย่างไร
 


อ่านแล้วแอบงงนิดๆ ครับ กำลังจะบอกอะไรหรือครับ  แต่ที่เอามาเผยแพร่มันมันขนบธรรมเนีบย ประเพณี วิถีชีวิตของคนเมือง ที่สืบทอดกันมาน่ะครับ
IP : บันทึกการเข้า
☺ (ต้นฟ้า1 อิดเหนื่อย) ☺
มีเงินล้นฟ้า ไม่เท่าค่าของคน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,194


** ความสุขเล็กๆ **


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 21 สิงหาคม 2012, 16:55:08 »

เราเป็นคนรุ่นใหม่ คิดอย่างมีเหตุมีผล ความหมายที่แท้จริงของคำว่า ล้านนา คืออะไร
ล้านนา คือ มีนามากมาย

ล้านนา มีภาษาบาลีกำกับ โดยในท้ายคัมภีร์ใบลานจากเมืองน่านและที่อื่นที่พบจำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่งว่า “ ทสลกฺเขตฺนคร ” ซึ่งแปลว่าเมืองสิบแสนนำ หมายถึงดินแดนที่มีจำนวนที่นานับล้าน คือมี ที่นาเป็นจำนวนมากเป็นคำคู่กับเมืองหลวงพระบางที่ชื่ออาณาจักร “ ล้านช้าง ” คือดินแดนที่มีช้างนับล้านตัว ซึ่งมีภาษาบาลีกำกับว่า “ สตนาคนหุต ” หรือช้างร้อยหมื่น

ซึ่งหมายรวมถึง 8 จังหวัด ที่รวบเข้าเป็นล้านนา
สรุป ตรงนี้ คือ เกิดไม่ทัน และไม่เคยเห็น อาจจะเห็นแต่ลืม

ว่าด้วยเรื่องท่านเทพ คนละกรณีกับเจ้าของกระทู้ เพราะของท่านเป็นท่านท้าว หรือยักษ์
การสักการะท่านเทพ ต้องสักการะด้วยเครื่อง บรรณาการที่สูงส่ง
ต้องเคลือบภาชนะด้วยทองคำและเงิน ไม่ใช่ กาบกล้วย ใบตอง โลกเราพัฒนา โลกของ
ท่านหรือในมิติของท่านต้องพัฒนากว่าเราอีกหลายเท่า ขนาดคนธรรมดาอย่างเรายังใช้
ช้อนใช้จานอย่างดี และอาหารชั้นเลิศ  ท่านเป็นเทพ หมาก พลู ไม่เป็นการลบลู่หรืออย่างไร
และรู้ได้อย่างไรว่า หรือมีหลัีกฐานอะไรยืนยันว่า ท่านเสพสิ่งเหล่านี้เป็นอาหารของท่าน
ท่านเหล่านี้อยู่ด้วยความเป็นทิพย์  เชื่ออย่างแน่นอนว่า ท่านไม่เสพสิ่งเหล่านี้

แต่ด้วยความไม่เข้าใจ อนูโลมเอา  ท่านก็คงอนุโมทนา ในความเคารพที่มีต่อท่าน

สรุปความเหมือนกับ ขับรถผ่านต้นไม้ ผ่านศาล ต่าง ๆ บีบ แตร ร้อยคันผ่านบีบแตร
เป็นคนธรรมดาคงย้ายบ้านหนี อะไรครับ จะเคารพกัน หรือว่า ทักทายเหมือนเพื่อน
แค่บีบแตร เอาให้เป็นกาละเทศะ จอดรถลงมาไหว้ อะไรก็ว่ากันไป

ลองหาเหตุหาผลให้ดี ว่า เพื่ออะไร  ปราสาทเขาวิหารสร้างเพื่ออะไร ปิรามิดสร้างเพื่ออะไร
กำแพงเมืองจีนสร้างเพื่ออะไร  เพื่อให้คน ๆ เดียวเมื่อจากไปแล้วได้ไปจุติยังสรวงสวรรค์
หรืออย่างไร
 

ต้องการสื่ออะไร
IP : บันทึกการเข้า

รับซื้อ-ขายมือถือ มือ 2 ทุกรุ่น ราคามิตรภาพ Line id = spphone  อิดเหนื่อย
สบายแมน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,485



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 21 สิงหาคม 2012, 18:41:44 »

ท้าวทั้งสี่ เป็นเทพในชั้นจาตุมหาราชิกาแม่นก่อครับ อยู่รอบๆเชิงเขาพระสุเมนทร์
มีพระอินทร์เป็นประมุข เคยได้ยินมาอย่างนี้ครับ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 21 สิงหาคม 2012, 20:17:29 »

แม่นละครับ รักษาเขาพระสุเมรุทั้ง 4 ทิศ อันเป็นแกนแห่งจักรวาล ท้าวทั้งสี่ หรือเรียกอีกอย่างว่าท้าวจตุโลกบาลครับ
IP : บันทึกการเข้า
แมงคอลั่น
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,451



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 21:58:35 »

ด้วยความเคารพต่อความคิดเห็นของทุกท่าน
-ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา ย่อมเป็นที่เคารพของแต่ละคน แต่การที่คนบางกลุ่ม เขาทั้งนับถือ พุทธศาสนา แต่ก็อาจจะมีความเชื่อในสิ่งที่ลี้ลับหรือเรื่องราวต่าง ๆที่หาเหตุผลไม่ได้ ก็ย่อมจะเป็นสิทธิของเขา
-เจ้าของกระทู้มีเจตนาที่จะเล่าเรื่องราวและความเชื่อที่ชาวล้านนาเคยปฏิบัติกันมายาวนาน มิได้มีประโยคใดที่จะขอร้อง,บังคับให้ทำ หรือสาบแช่ง ผู้ที่ไม่กระทำ แต่อย่างใด ใครเชื่อหรือทำแล้วสบายใจก็ทำไป ถ้าไม่เชื่อก็ไม่ต้องทำ แค่นั้นเอง ค่าใช้จ่ายก็ไม่กี่บาทเอง  เหมือนการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย ถามว่าคนตายได้รับหรือไม่ ก็ไม่มีใครรู้ แต่ทำแล้วสบายใจก็ทำไป อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่าผู้ที่ตายไปแล้วยังมีคนรำลึกถึงอยู่
ท่านใดที่เห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระก็อ่านผ่าน ๆไปเสียก็หมดเรื่อง
-ถ้าคิดว่าบุคคลใดที่ไม่เชื่อถือ หรือไม่ยึดแบบอย่างที่เป็นแก่นแท้ของพุทธศาสน์ มีให้ตำหนิได้มากมาย เอาง่าย ๆก็คือ บุคคลในศาสนาอื่น ๆ หรือคนที่มีบัตรประชาชนระบุว่านับถือศาสนาพุทธ แต่ไม่เคยรู้เรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาเลยก็มีมากมาย
ส่วนผม รู้ว่า พระพุทธองค์ ท่านต้องการเพียง ให้คนทั้งโลก กระทำความดี ละเว้นกระทำชั่ว ทำใจให้บริสุทธิ์  การกระทำใดใดให้ยึดทางสายกลาง


ผู้ตั้งกระทู้ "มีน้ำใจครับ"
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 26 สิงหาคม 2012, 18:16:30 »

ด้วยความเคารพต่อความคิดเห็นของทุกท่าน
-ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา ย่อมเป็นที่เคารพของแต่ละคน แต่การที่คนบางกลุ่ม เขาทั้งนับถือ พุทธศาสนา แต่ก็อาจจะมีความเชื่อในสิ่งที่ลี้ลับหรือเรื่องราวต่าง ๆที่หาเหตุผลไม่ได้ ก็ย่อมจะเป็นสิทธิของเขา
-เจ้าของกระทู้มีเจตนาที่จะเล่าเรื่องราวและความเชื่อที่ชาวล้านนาเคยปฏิบัติกันมายาวนาน มิได้มีประโยคใดที่จะขอร้อง,บังคับให้ทำ หรือสาบแช่ง ผู้ที่ไม่กระทำ แต่อย่างใด ใครเชื่อหรือทำแล้วสบายใจก็ทำไป ถ้าไม่เชื่อก็ไม่ต้องทำ แค่นั้นเอง ค่าใช้จ่ายก็ไม่กี่บาทเอง  เหมือนการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย ถามว่าคนตายได้รับหรือไม่ ก็ไม่มีใครรู้ แต่ทำแล้วสบายใจก็ทำไป อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่าผู้ที่ตายไปแล้วยังมีคนรำลึกถึงอยู่
ท่านใดที่เห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระก็อ่านผ่าน ๆไปเสียก็หมดเรื่อง
-ถ้าคิดว่าบุคคลใดที่ไม่เชื่อถือ หรือไม่ยึดแบบอย่างที่เป็นแก่นแท้ของพุทธศาสน์ มีให้ตำหนิได้มากมาย เอาง่าย ๆก็คือ บุคคลในศาสนาอื่น ๆ หรือคนที่มีบัตรประชาชนระบุว่านับถือศาสนาพุทธ แต่ไม่เคยรู้เรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาเลยก็มีมากมาย
ส่วนผม รู้ว่า พระพุทธองค์ ท่านต้องการเพียง ให้คนทั้งโลก กระทำความดี ละเว้นกระทำชั่ว ทำใจให้บริสุทธิ์  การกระทำใดใดให้ยึดทางสายกลาง


ผู้ตั้งกระทู้ "มีน้ำใจครับ"

ลึกซึ้งครับ ที่กล่าวมาถูกต้องด้วยประการทั้งปวง ขอบคุณหลายๆครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
maekok_14
คือคนของพระราชา คือข้าของแผ่นดิน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,253



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 18 เมษายน 2014, 17:22:30 »

ไหว้สา พระธัมม์ สายบุญ

ผู้ใด ต้องการอานุภาพ ของ เท้าทั้งสี่  หรือ ต้องการเสวนาเรื่อง ของท่าน สมควรมาศึกษาหัวข้อนี้

ผมกราบขออนุญาต  ฟื้น ธัมมทานนี้มาเสวนากันอีกครับ

บุญกุศลพึงมี จงมีแด่ เท้ามหาราชทั้งสี่ แล สายบุญทุกดวงจิต ในจักรวาล ฮอด อนันตจักรวาลด้วยเถิดพระเจ้าข้า ฯ

สาธุ ๆ ๆ  อนุโมทามิ

จาก  หนานธง

สาตุ๊ครับ
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!