เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 24 เมษายน 2024, 05:30:53
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  บ้านใครปลูกข้าว ทำนา หรือให้เช่าที่ทำนา...ดูแนวโน้มด้วยนะ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 4 พิมพ์
ผู้เขียน บ้านใครปลูกข้าว ทำนา หรือให้เช่าที่ทำนา...ดูแนวโน้มด้วยนะ  (อ่าน 5894 ครั้ง)
Angellaz
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 128


« เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 15:48:40 »

http://www.economist.com/node/21558633

เสียแชมป์ส่งออกข้าวให้อินเดียกะเวียดนามเพราะนโยบายจำนำข้าว...

ก็ดูๆไว้ว่าลู่ทางต่อไปจะทำยังไง...เฮ้อ

IP : บันทึกการเข้า
ohio888
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 782



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:19:07 »

http://www.economist.com/node/21558633
เสียแชมป์ส่งออกข้าวให้อินเดียกะเวียดนามเพราะนโยบายจำนำข้าว...
ก็ดูๆไว้ว่าลู่ทางต่อไปจะทำยังไง...เฮ้อ

อ่านดูแล้วเนื้อหาเขาไม่ได้มุ่งตรงไปที่เสีย champ นะครับ อย่าอ่านแค่หัวข่าว หรืออ่านไม่กี่บรรทัดแล้วสรุป แนะนำให้ใช้ google translate จะได้เข้าใจ

เนื้อหาคือรัฐบาลต่อตรงกับชาวนาเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด
เพื่อที่จะตัดพ่อค้าคนกลาง โดยให้ราคาไว้สูงและชาวนาก็พอใจกับราคานั้น
ราคาดีกว่าเมื่อก่อนแน่นนอนครับ เพื่ออะไรรู้ใหม เพื่อให้เกิดกำลังซื้อ
เมื่อเกิดกำลังซื้อ ชาวนาก็มีเงินหมุนเวียน ธุรกิจรถก็ได้ขาย เสื้อผ้าก็ได้ขาย ส่งลูกเรียนได้สบายขึ้น ในส่วนที่เสียแชมป์ก็คือว่า ราคามันแพงขึ้น แต่เราควรเป็นคนเริ่มตั้งราคาให้ได้ราคา ไม่ใช่ว่าขายแสนถูก เอาข้าวเป็นตันแลก iphone ได้เครื่องเดียว มันต้องคิดใหม่ทำใหม่
ที่ผ่านมาชาวนายากจน ไม่มีแม้แต่เงินซื้อปุ๋ย ต้องไปขอกู้จากเงินนอกระบบ แต่เดี๋ยวนี้ เขาจะมีบัตรเกษตรไว้คอยช่วยเหลือแล้วหละ กองทุนหมู่บ้านก็มี ไม่เหมือนเมื่อก่อนสมัยก่อนหรอก แล้วสมัยก่อนทำไมคุณไม่ออกมาพูด ยุคก่อนๆ อะ หรือกำลังหัดเป็นนักวิเคราห์เนี่ย...
IP : บันทึกการเข้า

อย่าคลั่งชาติจนมากไป
ประเทศไทยยังมีขอทาน
(อย่าโลกสวย)
Angellaz
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 128


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:24:25 »

อ่านแล้วต้องวิเคราะห์ต่อนะคะ...ไม่ใช่แค่ใช้ตัว translate ...

อ่านอย่างเดียวใครก็อ่านได้ แต่คิดต่อยอดด้วยว่ากรณีแบบนี้ ช่วยชาวนาหายใจได้ระยะสั้น

ระยะยาวเรามีผลกระทบแน่...ข้าวคุณภาพของเราเดี๋ยวนี้สูสีกับเวียดนาม อินเดีย แต่ราคาเราสูงกว่า

เราโดนแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปจนเสียแชมป์...น่าคิด น่ากังวล น่าติดตาม

ใช่สักแต่อ่านแล้วผ่านไป
IP : บันทึกการเข้า
louis
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:29:16 »

ช่วงนี้เป็นนาทีทองของชาวนา
ขอให้ชาวนาได้รับผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย
ลืมตาอ้าปากได้เสียที
IP : บันทึกการเข้า

อย่าเอามีดไปฟันหิน
นอกจากจะไร้ค่า
ยังทำให้มีดเสียคม
Angellaz
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 128


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:36:16 »

หวังว่าอย่างนั้น
IP : บันทึกการเข้า
Mylovesss
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 376



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:37:33 »

ชาวนาส่วนใหญ่พอใจกับราคารับจำนำ  เรื่องส่งออกข้าวเป็นเรื่องของพ่อค้า
IP : บันทึกการเข้า
ohio888
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 782



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:40:16 »

อ่านแล้วต้องวิเคราะห์ต่อนะคะ...ไม่ใช่แค่ใช้ตัว translate ...

อ่านอย่างเดียวใครก็อ่านได้ แต่คิดต่อยอดด้วยว่ากรณีแบบนี้ ช่วยชาวนาหายใจได้ระยะสั้น

ระยะยาวเรามีผลกระทบแน่...ข้าวคุณภาพของเราเดี๋ยวนี้สูสีกับเวียดนาม อินเดีย แต่ราคาเราสูงกว่า

เราโดนแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปจนเสียแชมป์...น่าคิด น่ากังวล น่าติดตาม

ใช่สักแต่อ่านแล้วผ่านไป

ผมว่าในระยะยาวดีนะคือ (จะอธิบายอีกรอบก็เอา)
ชาวนาพอมีกำไรกำลังซื้อสูงขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมผลิตส่วนอื่น รถยนต์ น้ำปลา ตู้เย็น มียอดขายเพิ่มขึ้น ธุรกิจมวลรวมดีขึ้น เพราะเกษตรกรคือกำลังซื้อสำคัญ

แล้วเมื่อคนกลางมีบทบาทน้อยลง กำไรก็มีเหลือให้ชาวนา เข้ารัฐ ผมว่าเป็นอะไรที่ยอดมาก ที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินหรือ ว่าพ่อค้าคนกลางแสบแค่ใหน

คุณไม่เคยกินข้าวอินเดียกะเวียดนามหรอก มันคนละแบบ (คิดในใจ เคยไปเมืองนอกใหมเนี่ย...) ยิ่งข้าวออสเตเลีย อะเมริกา ไม่ต้องพูดถึง ไม่อร่อยหรอก เวียดนามข้าวเขาหักมากกว่าเรา อินเดียก็ข้าว บาสมาติ ไม่อร่อยเท่าเรา เราก้าวข้ามพ่อค้าคนกลาง domestic ก่อน เดี๋ยวก็จะก้าวข้าม Singapore middle man ไปได้ เพราะตลอดมา พวกเขาทำกำไรกับชาวนาไทย ทั้งๆ ข้าวสักต้นเขายังปลูกไม่เป็น ช่วงแรกๆ เขาจะหันไปหาของถูก แต่อย่าลืมนึกถึง demand ของ jasmine rice อีกหน่อยก็มาซื้อตรงกะรัฐบาลไทย ได้เงินเข้ารัฐอีก

ผมหวังว่า ที่เขียนมาจะพอเข้าใจ เพราะไม่อยากเขียนยาวมาก
ในส่วนของน้ำมัน ผมถามว่า รัฐบาลเขาคุม ปตท. ได้ใหม... หุหุ

อะ ตาคุณวิเคราะห์บ้าง
IP : บันทึกการเข้า

อย่าคลั่งชาติจนมากไป
ประเทศไทยยังมีขอทาน
(อย่าโลกสวย)
louis
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:45:16 »

ลดราคาต้นทุนจากส่วนอื่นก็น่าจะได้
ส่วนราคาข้าว  ราคานี้ควรใ้ชาวนาได้ขายนะ
ไม่เคยมีเลยที่จะมีคนอยากเป็นชาวนาเหมือนสมัยนี้
IP : บันทึกการเข้า

อย่าเอามีดไปฟันหิน
นอกจากจะไร้ค่า
ยังทำให้มีดเสียคม
deakdue
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:47:43 »

อ่านแล้วต้องวิเคราะห์ต่อนะคะ...ไม่ใช่แค่ใช้ตัว translate ...

อ่านอย่างเดียวใครก็อ่านได้ แต่คิดต่อยอดด้วยว่ากรณีแบบนี้ ช่วยชาวนาหายใจได้ระยะสั้น

ระยะยาวเรามีผลกระทบแน่...ข้าวคุณภาพของเราเดี๋ยวนี้สูสีกับเวียดนาม อินเดีย แต่ราคาเราสูงกว่า

เราโดนแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปจนเสียแชมป์...น่าคิด น่ากังวล น่าติดตาม

ใช่สักแต่อ่านแล้วผ่านไป

ผมว่าในระยะยาวดีนะคือ (จะอธิบายอีกรอบก็เอา)
ชาวนาพอมีกำไรกำลังซื้อสูงขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมผลิตส่วนอื่น รถยนต์ น้ำปลา ตู้เย็น มียอดขายเพิ่มขึ้น ธุรกิจมวลรวมดีขึ้น เพราะเกษตรกรคือกำลังซื้อสำคัญ

แล้วเมื่อคนกลางมีบทบาทน้อยลง กำไรก็มีเหลือให้ชาวนา เข้ารัฐ ผมว่าเป็นอะไรที่ยอดมาก ที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินหรือ ว่าพ่อค้าคนกลางแสบแค่ใหน

คุณไม่เคยกินข้าวอินเดียกะเวียดนามหรอก มันคนละแบบ (คิดในใจ เคยไปเมืองนอกใหมเนี่ย...) ยิ่งข้าวออสเตเลีย อะเมริกา ไม่ต้องพูดถึง ไม่อร่อยหรอก เวียดนามข้าวเขาหักมากกว่าเรา อินเดียก็ข้าว บาสมาติ ไม่อร่อยเท่าเรา เราก้าวข้ามพ่อค้าคนกลาง domestic ก่อน เดี๋ยวก็จะก้าวข้าม Singapore middle man ไปได้ เพราะตลอดมา พวกเขาทำกำไรกับชาวนาไทย ทั้งๆ ข้าวสักต้นเขายังปลูกไม่เป็น ช่วงแรกๆ เขาจะหันไปหาของถูก แต่อย่าลืมนึกถึง demand ของ jasmine rice อีกหน่อยก็มาซื้อตรงกะรัฐบาลไทย ได้เงินเข้ารัฐอีก

ผมหวังว่า ที่เขียนมาจะพอเข้าใจ เพราะไม่อยากเขียนยาวมาก
ในส่วนของน้ำมัน ผมถามว่า รัฐบาลเขาคุม ปตท. ได้ใหม... หุหุ

อะ ตาคุณวิเคราะห์บ้าง

อ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ให้สัมภาษณ์พิเศษ"กรุงเทพธุรกิจ"วิพากษ์นโยบายจำนำข้าวหลังติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเตือนว่านโยบายดังกล่าวกำลังจะสร้าง "ความหายนะ" โดยแลกกับผลประโยชน์ทางการเมืองระยะสั้น

เขากล่าวว่า นโยบายรับจำนำข้าวกำลังจะสร้างความหายนะให้แก่โครงสร้างภาคเกษตรของไทย และสร้างภาระให้แก่งบประมาณจำนวนมหาศาลเนื่องจากรัฐต้องนำเงินไปใช้ในการจำนำ “นโยบายรับจำนำ หากราคาจำนำใกล้เคียงกับราคาตลาด จะช่วยเกษตรกรได้ แต่หากราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดมาก จะทำให้รัฐกลายเป็นผู้ซื้อรายเดียวในตลาด ซึ่งขณะนี้ใช้เงินไปแล้วกว่าแสนล้านบาท ซึ่งไม่รวมถึงค่าโกดัง ค่าเสื่อม ขณะที่เราใช้เงินรับจำนำเกวียนละ 15,000 บาท แต่เราส่งออกเกวียนละ 750 บาท ดังนั้นเราไม่เห็นภาพการขยายตัวของการส่งออก”

เขากล่าวว่า รัฐบาลอ้างว่าจะเก็บสต็อกเอาไว้ระบายออกในช่วงที่ราคาสูง โดยหวังว่าเมื่อรัฐบาลซื้อข้าวเก็บในสต็อกมากๆ แล้ว ข้าวในตลาดจะหายไปและจะทำให้ราคาสูง แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือราคาข้าวในตลาดโลกไม่ปรับขึ้นตามที่คาดไว้ แต่ปรับขึ้นระดับหนึ่ง หากรัฐบาลจะระบายก็จะขาดทุน

“ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นขณะนี้ ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ อย่างเวียดนาม ขณะที่ไทยยังเก็บสต็อกไว้ เพราะราคาจำนำสูงเกิน ระบายออกไม่ได้ นโยบายจำนำของไทยจึงเป็นการอุดหนุนราคาผู้ส่งออกข้าวรายอื่น ขณะที่ประเทศอื่นได้ประโยชน์จากราคาข้าวที่เพิ่มขึ้น”

 เขากล่าวว่า ปีนี้ การส่งออกข้าว 5% เราสูญเสียตลาดไปแล้ว ที่ไทยยังส่งออกได้ขณะนี้คือข้าวนึ่ง ซึ่งเรากำลังเจอกับคู่แข่งใหม่คืออินเดีย

อัดคนในรัฐบาลไม่เข้าตลาดโลก

เขากล่าวว่า รัฐบาลหวังว่าราคาข้าวจะสูงกว่าราคาจำนำ แต่ความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งคนในรัฐบาลเข้าใจตลาดข้าวของโลกน้อยเกินไป เพราะความเป็นจริงแล้วผลผลิตข้าวในตลาดโลกออกทุก 3 เดือน เนื่องจากข้าวมีช่วงเก็บเกี่ยวสั้น เมื่อราคาข้าวเริ่มปรับขึ้น หลายๆ ประเทศก็เริ่มผลิตขึ้นมาส่งออก ทำให้เวลานี้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาด

อย่างกรณีล่าสุด บราซิล กำลังเร่งขยายพื้นที่ผลิต แม้แต่ในเอเชียเองก็กำลังเร่งผลิตเช่นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ดังนั้นความหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นโดยคิดว่าผลผลิตไม่เพียงพอนั้น "ไม่เป็นความจริง" การค้าข้าวของโลกปี 2554 มีประมาณ 35 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3 ล้านตันจากปี 2553 ขณะที่การผลิตมีจำนวน 453 ล้านตันข้าวสาร และการบริโภค 448 ตันข้าวสาร หากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่เพิ่มกำลังการผลิต ข้าวในตลาดก็จะราคาตกลง

“กรณีเดียวที่จะทำให้ข้าวราคาสูงกว่าราคาจำนำของรัฐบาลคือเกิดภัยแล้งรุนแรงทั่วโลกเท่านั้น”

หากราคาไม่ปรับขึ้นมากกว่าราคาจำนำ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลจำเป็นต้องระบายสต็อกออกในราคาที่ต่ำเพราะไม่สามารถเก็บสต็อกได้ ซึ่งถึงเวลานั้นจะขาดทุนมหาศาลจากนโยบายนี้

บิดเบือนโครงสร้างภาคเกษตร

นอกจากนี้ เขาบอกว่าเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเกษตรของไทย ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นระยะยาวและมองไม่เห็นระยะสั้น นั่นคือ นโยบายจำนำราคาสูง จำให้เกิดการบิดเบือนโครงสร้างการปลูกพืชในประเทศ เพราะเกษตรกรจะหันไปปลูกข้าวเนื่องจากได้ราคาดีกว่า

“นอกจากจะทำให้สต็อกข้าวยิ่งเพิ่มขึ้นแล้ว การหันไปปลูกข้าวเพิ่มขึ้น ก็เท่ากับว่าดึงปัจจัยการผลิตที่ใช้ปลูกพืชอื่นไปปลูกข้าว”

เขากล่าวว่า การบิดเบือนโครงสร้างเกษตรจากนโยบายรัฐบาลนี้เอง ทำให้พืชผลอื่นเริ่มหายไปจากท้องตลาดหรือให้ผลผลิตออกมาน้อย ขณะนี้คนไทยเริ่มซื้อผักผลไม้อื่นๆ ราคาแพงขึ้น และมีแนวโน้มที่แพงขึ้นเรื่อยๆ “ในระยะสั้น เป็นความสำเร็จของรัฐบาล แต่ระยะยาว จะกระทบราคาอาหารจะแพงขึ้น”

บีบรายเล็กออกจากระบบ

 เขากล่าวว่า จากการลงพื้นที่หลายแห่งในพื้นที่ภาคกลาง พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ของเกษตรกร และที่จะส่งผลกระทบมากยิ่งขึ้นก็คือ นโยบายรับจำนำเอื้อประโยชน์กับเกษตรกรรายใหญ่เท่านั้น และต่อไปจะเห็นว่าเกษตรกรที่เหลืออยู่เป็นเกษตรกรรายใหญ่หรือเป็นนักลงทุนที่เข้าไปลงทุนจากนโยบายรับจำนำ เพราะได้ผลตอบแทนสูง เนื่องจากต้นทุนอยู่ที่ 4,500 บาทต่อเกวียน ขณะที่ขายได้ 15,000 บาท ทั้งนี้ เกษตรกรรายเล็กเข้าถึงนโยบายจำนำไม่ได้ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการขนส่ง ดังนั้น จึงเห็นว่ามีคนเดินใบประทวน หรือคนกลางรับซื้อจากเกษตรรายย่อยเพื่อมาส่งโรงสีที่เข้าโครงการจำนำ

“ขณะนี้เราเห็นว่าเกษตรกรรายย่อยถูกไล่ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ต้องขายที่ดินให้รายใหญ่เข้ามาทำนาหรือขอเช่าที่ดิน เมื่อมีรายใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ค่าเช่านาสูงขึ้น ตอนนี้เราเห็นชัดแถวสุพรรณบุรี มี 'คนเดินนา' เป็นอาชีพรับจ้างการดูแลทำนาขนาดใหญ่”

กลไกตลาดพังพินาศ

เขายังกล่าวถึงกลไกตลาดข้าวในประเทศที่ใช้เวลาพัฒนามานานจะพังลง โดยเฉพาะธุรกิจโรงสีและตลาดกลางทางเกษตรที่เคยมีบทบาทสำคัญในการค้าข้าวของไทย ตลาดกลางค้าข้าวขนาดใหญ่ในพื้นที่ปลูกข้าวภาคกลางได้สูญหายไปพร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของนโยบายอุดหนุนราคาของรัฐบาลตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากชาวนานำข้าวไปขายให้รัฐบาลจนไม่จำเป็นต้องพึ่งพาตลาดกลาง

“ตลาดกลางหลายแห่งหมดสภาพไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตลาดข้าวกำนันทรง ที่นครสวรรค์ หรือกรณีตลาดสหกรณ์ศรีประจันต์ ที่เคยเป็นตลาดข้าวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ขณะนี้กลายสภาพไปเป็นตลาดนัดขายของ”

นอกจากการสูญหายของตลาดกลางทางการเกษตรแล้ว ธุรกิจโรงสีก็จะสูญหายไปด้วย ยกเว้นโรงสีขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมนโยบายจำนำของรัฐบาลเท่านั้น “หากกลไกตลาดไม่ดี ผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับคนบางกลุ่ม หากดูไม่ดี การทุจริตคอร์รัปชันก็จะตามมา ใครจะรับผิดชอบ”

เตือนบัตรเครดิต-พักหนี้สร้างปัญหา

เขายังกล่าวถึงนโยบายบัตรเครดิตเกษตรกรและนโยบายพักชำระหนี้ว่า เป็นตัวอย่างของความล้มเหลวนโยบายด้านเกษตรไทย นโยบายบัตรเครดิตมีส่วนดีทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง แต่ปัญหาก็คือทำให้เกษตรกรพึ่งพาพันธุ์ข้าวและปุ๋ยเคมีมากขึ้น ซึ่งเสี่ยงอย่างมากเรื่องมาตรฐานของพันธุ์ข้าวและคุณภาพปุ๋ยเคมีที่เข้าร่วมโครงการ ขณะนี้เกษตรกรไทยมีปัญหามากเรื่องคุณภาพพันธุ์ข้าว หากเป็นสมัยก่อน เกษตรกรจะเลือกสายพันธุ์เอง คัดสายพันธุ์จากแปลงเพาะปลูก แต่เมื่อมีนโยบายจำนำ เกษตรกรก็ไม่สนใจพัฒนาคุณภาพ มุ่งแต่ปลูกเพื่อขายในราคาจำนำและใช้ปุ๋ยเคมีมากยิ่งขึ้นเพื่อเร่งผลผลิต “นโยบายบัตรเครดิตและพักหนี้ ทำให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบจำนำมากยิ่งขึ้น จะส่งผลกระทบทั้งระบบ”

เชื่อรัฐไม่มีปัญญาขายข้าว

ผลกระทบสุดท้ายต่อระบบค้าข้าวของไทยคือผู้ส่งออก ซึ่งซื้อข้าวแข่งกับภาครัฐไม่ได้ เนื่องจากราคาจำนำสูงกว่าตลาดโลก ดังนั้นจะเห็นว่าแนวโน้มการส่งออกของไทยจะลดลง เนื่องจากรัฐบาลใช้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เข้ามามีบทบาทแทน เขาเห็นว่า อคส.ไม่มีศักยภาพจำหน่ายข้าวในตลาดโลก และความสามารถมีไม่มากพอ อีกทั้งการระบายข้าวจากสต็อกรัฐจะล่าช้ามาก ซึ่งอาจส่งผลต่อการระบายข้าวจากสต็อกรัฐที่นับวันเพิ่มขึ้นตามฤดูเพาะปลูก เขาย้ำอีกว่า หากนโยบายนี้ล้มเหลว ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศยากจนยิ่งขึ้น เพราะรัฐจะนำเงินไปจำนำแต่ละปีจำนวนมหาศาล หากประเมินจากปีนี้กว่าแสนล้านบาท และหากใช้นโยบายนี้ 4 ปี ก็จะเป็นเงินกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินมหาศาล “หากผลผลิตข้าวโลกสูงเพิ่มขึ้น เราจะเจ็บหนัก”

Tags : จำนำข้าว • สมพร อิศวิลานนท์
IP : บันทึกการเข้า
pom_9963
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,742


โปรแกรมสำเร็จรูปให้เช่า Line >> itsmypoodle


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:48:10 »

.. ชาวนา ชาวสวนยางได้ราคาดีเมื่อไหร่ ทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ก็จะปรับขึ้นๆ
IP : บันทึกการเข้า
ohio888
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 782



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:49:13 »

ชาวนาส่วนใหญ่พอใจกับราคารับจำนำ  เรื่องส่งออกข้าวเป็นเรื่องของพ่อค้า

+1
จขกท. เขาอ่านแล้วคิดว่าชาวนากำลังเดือดร้อน เห็นหัวข้อเธอแล้วก็พอเดาได้ว่า คงอ่านแค่พาดหัวข่าว แล้วก็คงไม่รู้เรื่องบ้านนอกหรอก เพราะเธออยู่เมืองกรุง
IP : บันทึกการเข้า

อย่าคลั่งชาติจนมากไป
ประเทศไทยยังมีขอทาน
(อย่าโลกสวย)
>> A.P.COMPUTER <<
ผู้ดูแลบอร์ด
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,387


เธอทำให้ฉันรู้และเข้าใจคำว่าสองเรา


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:52:07 »

ส่งออกเป็นที่เท่าไหร่ผมไม่ว่า

ใครเป็นรัฐบาลก็ช่าง

ขอให้พ่อแม่ ญาติพี่น้องของผม ที่ทำนา ขายข้าวได้แพงๆ ก็พอ....

อย่าลดราคาชาวนา แล้วเอาข้าวไปขายได้กำไรเยอะเพื่อพ่อค้าคนกลางเลยคับ...

รับซื้อข้าวจากชาวนา ราคาสูง แล้วเอาข้าวมาขายในประเทศราคาพองามก็พอ

ส่งออกสำคัญแต่สิ่งที่สำคัญคือกำลังใจของชาวนา ขายข้าวได้ตังเยอะ ก็มีรอยยิ้ม

ขายข้าวได้ตังน้อย รอยยิ้มหาย....
IP : บันทึกการเข้า

ติดตั้งจานดาวเทียมเริ่มต้นเพียง 1,650 บาท
เลขบัญชี ธ.กรุงเทพฯ 511-031-7764 อภิชิต เรือนศ
louis
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 17:53:45 »

อ่านแล้วต้องวิเคราะห์ต่อนะคะ...ไม่ใช่แค่ใช้ตัว translate ...

อ่านอย่างเดียวใครก็อ่านได้ แต่คิดต่อยอดด้วยว่ากรณีแบบนี้ ช่วยชาวนาหายใจได้ระยะสั้น

ระยะยาวเรามีผลกระทบแน่...ข้าวคุณภาพของเราเดี๋ยวนี้สูสีกับเวียดนาม อินเดีย แต่ราคาเราสูงกว่า

เราโดนแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปจนเสียแชมป์...น่าคิด น่ากังวล น่าติดตาม

ใช่สักแต่อ่านแล้วผ่านไป

ผมว่าในระยะยาวดีนะคือ (จะอธิบายอีกรอบก็เอา)
ชาวนาพอมีกำไรกำลังซื้อสูงขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมผลิตส่วนอื่น รถยนต์ น้ำปลา ตู้เย็น มียอดขายเพิ่มขึ้น ธุรกิจมวลรวมดีขึ้น เพราะเกษตรกรคือกำลังซื้อสำคัญ

แล้วเมื่อคนกลางมีบทบาทน้อยลง กำไรก็มีเหลือให้ชาวนา เข้ารัฐ ผมว่าเป็นอะไรที่ยอดมาก ที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินหรือ ว่าพ่อค้าคนกลางแสบแค่ใหน

คุณไม่เคยกินข้าวอินเดียกะเวียดนามหรอก มันคนละแบบ (คิดในใจ เคยไปเมืองนอกใหมเนี่ย...) ยิ่งข้าวออสเตเลีย อะเมริกา ไม่ต้องพูดถึง ไม่อร่อยหรอก เวียดนามข้าวเขาหักมากกว่าเรา อินเดียก็ข้าว บาสมาติ ไม่อร่อยเท่าเรา เราก้าวข้ามพ่อค้าคนกลาง domestic ก่อน เดี๋ยวก็จะก้าวข้าม Singapore middle man ไปได้ เพราะตลอดมา พวกเขาทำกำไรกับชาวนาไทย ทั้งๆ ข้าวสักต้นเขายังปลูกไม่เป็น ช่วงแรกๆ เขาจะหันไปหาของถูก แต่อย่าลืมนึกถึง demand ของ jasmine rice อีกหน่อยก็มาซื้อตรงกะรัฐบาลไทย ได้เงินเข้ารัฐอีก

ผมหวังว่า ที่เขียนมาจะพอเข้าใจ เพราะไม่อยากเขียนยาวมาก
ในส่วนของน้ำมัน ผมถามว่า รัฐบาลเขาคุม ปตท. ได้ใหม... หุหุ

อะ ตาคุณวิเคราะห์บ้าง

อ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ให้สัมภาษณ์พิเศษ"กรุงเทพธุรกิจ"วิพากษ์นโยบายจำนำข้าวหลังติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเตือนว่านโยบายดังกล่าวกำลังจะสร้าง "ความหายนะ" โดยแลกกับผลประโยชน์ทางการเมืองระยะสั้น

เขากล่าวว่า นโยบายรับจำนำข้าวกำลังจะสร้างความหายนะให้แก่โครงสร้างภาคเกษตรของไทย และสร้างภาระให้แก่งบประมาณจำนวนมหาศาลเนื่องจากรัฐต้องนำเงินไปใช้ในการจำนำ “นโยบายรับจำนำ หากราคาจำนำใกล้เคียงกับราคาตลาด จะช่วยเกษตรกรได้ แต่หากราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดมาก จะทำให้รัฐกลายเป็นผู้ซื้อรายเดียวในตลาด ซึ่งขณะนี้ใช้เงินไปแล้วกว่าแสนล้านบาท ซึ่งไม่รวมถึงค่าโกดัง ค่าเสื่อม ขณะที่เราใช้เงินรับจำนำเกวียนละ 15,000 บาท แต่เราส่งออกเกวียนละ 750 บาท ดังนั้นเราไม่เห็นภาพการขยายตัวของการส่งออก”

เขากล่าวว่า รัฐบาลอ้างว่าจะเก็บสต็อกเอาไว้ระบายออกในช่วงที่ราคาสูง โดยหวังว่าเมื่อรัฐบาลซื้อข้าวเก็บในสต็อกมากๆ แล้ว ข้าวในตลาดจะหายไปและจะทำให้ราคาสูง แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือราคาข้าวในตลาดโลกไม่ปรับขึ้นตามที่คาดไว้ แต่ปรับขึ้นระดับหนึ่ง หากรัฐบาลจะระบายก็จะขาดทุน

“ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นขณะนี้ ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ อย่างเวียดนาม ขณะที่ไทยยังเก็บสต็อกไว้ เพราะราคาจำนำสูงเกิน ระบายออกไม่ได้ นโยบายจำนำของไทยจึงเป็นการอุดหนุนราคาผู้ส่งออกข้าวรายอื่น ขณะที่ประเทศอื่นได้ประโยชน์จากราคาข้าวที่เพิ่มขึ้น”

 เขากล่าวว่า ปีนี้ การส่งออกข้าว 5% เราสูญเสียตลาดไปแล้ว ที่ไทยยังส่งออกได้ขณะนี้คือข้าวนึ่ง ซึ่งเรากำลังเจอกับคู่แข่งใหม่คืออินเดีย

อัดคนในรัฐบาลไม่เข้าตลาดโลก

เขากล่าวว่า รัฐบาลหวังว่าราคาข้าวจะสูงกว่าราคาจำนำ แต่ความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งคนในรัฐบาลเข้าใจตลาดข้าวของโลกน้อยเกินไป เพราะความเป็นจริงแล้วผลผลิตข้าวในตลาดโลกออกทุก 3 เดือน เนื่องจากข้าวมีช่วงเก็บเกี่ยวสั้น เมื่อราคาข้าวเริ่มปรับขึ้น หลายๆ ประเทศก็เริ่มผลิตขึ้นมาส่งออก ทำให้เวลานี้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาด

อย่างกรณีล่าสุด บราซิล กำลังเร่งขยายพื้นที่ผลิต แม้แต่ในเอเชียเองก็กำลังเร่งผลิตเช่นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ดังนั้นความหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นโดยคิดว่าผลผลิตไม่เพียงพอนั้น "ไม่เป็นความจริง" การค้าข้าวของโลกปี 2554 มีประมาณ 35 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3 ล้านตันจากปี 2553 ขณะที่การผลิตมีจำนวน 453 ล้านตันข้าวสาร และการบริโภค 448 ตันข้าวสาร หากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่เพิ่มกำลังการผลิต ข้าวในตลาดก็จะราคาตกลง

“กรณีเดียวที่จะทำให้ข้าวราคาสูงกว่าราคาจำนำของรัฐบาลคือเกิดภัยแล้งรุนแรงทั่วโลกเท่านั้น”

หากราคาไม่ปรับขึ้นมากกว่าราคาจำนำ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลจำเป็นต้องระบายสต็อกออกในราคาที่ต่ำเพราะไม่สามารถเก็บสต็อกได้ ซึ่งถึงเวลานั้นจะขาดทุนมหาศาลจากนโยบายนี้

บิดเบือนโครงสร้างภาคเกษตร

นอกจากนี้ เขาบอกว่าเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเกษตรของไทย ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นระยะยาวและมองไม่เห็นระยะสั้น นั่นคือ นโยบายจำนำราคาสูง จำให้เกิดการบิดเบือนโครงสร้างการปลูกพืชในประเทศ เพราะเกษตรกรจะหันไปปลูกข้าวเนื่องจากได้ราคาดีกว่า

“นอกจากจะทำให้สต็อกข้าวยิ่งเพิ่มขึ้นแล้ว การหันไปปลูกข้าวเพิ่มขึ้น ก็เท่ากับว่าดึงปัจจัยการผลิตที่ใช้ปลูกพืชอื่นไปปลูกข้าว”

เขากล่าวว่า การบิดเบือนโครงสร้างเกษตรจากนโยบายรัฐบาลนี้เอง ทำให้พืชผลอื่นเริ่มหายไปจากท้องตลาดหรือให้ผลผลิตออกมาน้อย ขณะนี้คนไทยเริ่มซื้อผักผลไม้อื่นๆ ราคาแพงขึ้น และมีแนวโน้มที่แพงขึ้นเรื่อยๆ “ในระยะสั้น เป็นความสำเร็จของรัฐบาล แต่ระยะยาว จะกระทบราคาอาหารจะแพงขึ้น”

บีบรายเล็กออกจากระบบ

 เขากล่าวว่า จากการลงพื้นที่หลายแห่งในพื้นที่ภาคกลาง พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ของเกษตรกร และที่จะส่งผลกระทบมากยิ่งขึ้นก็คือ นโยบายรับจำนำเอื้อประโยชน์กับเกษตรกรรายใหญ่เท่านั้น และต่อไปจะเห็นว่าเกษตรกรที่เหลืออยู่เป็นเกษตรกรรายใหญ่หรือเป็นนักลงทุนที่เข้าไปลงทุนจากนโยบายรับจำนำ เพราะได้ผลตอบแทนสูง เนื่องจากต้นทุนอยู่ที่ 4,500 บาทต่อเกวียน ขณะที่ขายได้ 15,000 บาท ทั้งนี้ เกษตรกรรายเล็กเข้าถึงนโยบายจำนำไม่ได้ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการขนส่ง ดังนั้น จึงเห็นว่ามีคนเดินใบประทวน หรือคนกลางรับซื้อจากเกษตรรายย่อยเพื่อมาส่งโรงสีที่เข้าโครงการจำนำ

“ขณะนี้เราเห็นว่าเกษตรกรรายย่อยถูกไล่ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ต้องขายที่ดินให้รายใหญ่เข้ามาทำนาหรือขอเช่าที่ดิน เมื่อมีรายใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ค่าเช่านาสูงขึ้น ตอนนี้เราเห็นชัดแถวสุพรรณบุรี มี 'คนเดินนา' เป็นอาชีพรับจ้างการดูแลทำนาขนาดใหญ่”

กลไกตลาดพังพินาศ

เขายังกล่าวถึงกลไกตลาดข้าวในประเทศที่ใช้เวลาพัฒนามานานจะพังลง โดยเฉพาะธุรกิจโรงสีและตลาดกลางทางเกษตรที่เคยมีบทบาทสำคัญในการค้าข้าวของไทย ตลาดกลางค้าข้าวขนาดใหญ่ในพื้นที่ปลูกข้าวภาคกลางได้สูญหายไปพร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของนโยบายอุดหนุนราคาของรัฐบาลตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากชาวนานำข้าวไปขายให้รัฐบาลจนไม่จำเป็นต้องพึ่งพาตลาดกลาง

“ตลาดกลางหลายแห่งหมดสภาพไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตลาดข้าวกำนันทรง ที่นครสวรรค์ หรือกรณีตลาดสหกรณ์ศรีประจันต์ ที่เคยเป็นตลาดข้าวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ขณะนี้กลายสภาพไปเป็นตลาดนัดขายของ”

นอกจากการสูญหายของตลาดกลางทางการเกษตรแล้ว ธุรกิจโรงสีก็จะสูญหายไปด้วย ยกเว้นโรงสีขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมนโยบายจำนำของรัฐบาลเท่านั้น “หากกลไกตลาดไม่ดี ผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับคนบางกลุ่ม หากดูไม่ดี การทุจริตคอร์รัปชันก็จะตามมา ใครจะรับผิดชอบ”

เตือนบัตรเครดิต-พักหนี้สร้างปัญหา

เขายังกล่าวถึงนโยบายบัตรเครดิตเกษตรกรและนโยบายพักชำระหนี้ว่า เป็นตัวอย่างของความล้มเหลวนโยบายด้านเกษตรไทย นโยบายบัตรเครดิตมีส่วนดีทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง แต่ปัญหาก็คือทำให้เกษตรกรพึ่งพาพันธุ์ข้าวและปุ๋ยเคมีมากขึ้น ซึ่งเสี่ยงอย่างมากเรื่องมาตรฐานของพันธุ์ข้าวและคุณภาพปุ๋ยเคมีที่เข้าร่วมโครงการ ขณะนี้เกษตรกรไทยมีปัญหามากเรื่องคุณภาพพันธุ์ข้าว หากเป็นสมัยก่อน เกษตรกรจะเลือกสายพันธุ์เอง คัดสายพันธุ์จากแปลงเพาะปลูก แต่เมื่อมีนโยบายจำนำ เกษตรกรก็ไม่สนใจพัฒนาคุณภาพ มุ่งแต่ปลูกเพื่อขายในราคาจำนำและใช้ปุ๋ยเคมีมากยิ่งขึ้นเพื่อเร่งผลผลิต “นโยบายบัตรเครดิตและพักหนี้ ทำให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบจำนำมากยิ่งขึ้น จะส่งผลกระทบทั้งระบบ”

เชื่อรัฐไม่มีปัญญาขายข้าว

ผลกระทบสุดท้ายต่อระบบค้าข้าวของไทยคือผู้ส่งออก ซึ่งซื้อข้าวแข่งกับภาครัฐไม่ได้ เนื่องจากราคาจำนำสูงกว่าตลาดโลก ดังนั้นจะเห็นว่าแนวโน้มการส่งออกของไทยจะลดลง เนื่องจากรัฐบาลใช้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เข้ามามีบทบาทแทน เขาเห็นว่า อคส.ไม่มีศักยภาพจำหน่ายข้าวในตลาดโลก และความสามารถมีไม่มากพอ อีกทั้งการระบายข้าวจากสต็อกรัฐจะล่าช้ามาก ซึ่งอาจส่งผลต่อการระบายข้าวจากสต็อกรัฐที่นับวันเพิ่มขึ้นตามฤดูเพาะปลูก เขาย้ำอีกว่า หากนโยบายนี้ล้มเหลว ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศยากจนยิ่งขึ้น เพราะรัฐจะนำเงินไปจำนำแต่ละปีจำนวนมหาศาล หากประเมินจากปีนี้กว่าแสนล้านบาท และหากใช้นโยบายนี้ 4 ปี ก็จะเป็นเงินกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินมหาศาล “หากผลผลิตข้าวโลกสูงเพิ่มขึ้น เราจะเจ็บหนัก”

Tags : จำนำข้าว • สมพร อิศวิลานนท์

จำนำ15000ขาย750 ข้อมูลนี้ถูกต้องไหม  ทำไมห่างกันมากมาย
IP : บันทึกการเข้า

อย่าเอามีดไปฟันหิน
นอกจากจะไร้ค่า
ยังทำให้มีดเสียคม
~SmR~
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 347



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 18:00:30 »

ระยะสั้นผมว่าส่งผลดีกับชาวนาโดยตรงกับราคาที่สูงขึ้นมาก ทำเหนื่อยแทบตายก็ได้ราคาสมน้ำสมเนื้อ แต่อนาคตถามว่าราคาข้าวจะลงไหมก็คงไม่เพราะชาวนาเองก็คงรับไม่ได้ก็ได้เห็นประท้วง บลา ๆ ชาวนามีกำลังซื้อมากขึ้น เกิดการหมุนเวียนของเงินมากขึ้นกระจายไปส่วนต่าง ๆ นี่เป็นสิ่งที่ดี ไม่มีข้อโต้แย้ง
แต่ระยะยาวผมว่าผลเสียมีเยอะพอสมควรนะ คือ กำลังการผลิตข้าวของเราเองมีผลผลิตปริมาณมากในแต่ละปี ถ้าดูจากการบริหารของรัฐบาลเองผมว่าห่วย เอื้อผลประโยชน์เอกชนมากเกินไป รัฐเสียผลประโยชน์เต็มๆ โรงสีใหญ่รอให้ข้าวมันอืดมันตันระบายออกยากค่อยช้อนซื้อคืน เอกชนพวกนี้เขาวางแผนไว้ค่อนข้างจะแน่นโดยเฉพาะรายใหญ่ๆ การที่รับประกัน จำนำข้าวในราคาที่สูง รัฐเองก็ต้องหาทางระบายออกโดยมีฐานราคาที่สูงซึ่งอำนาจการแข่งขันมันก็ลดลง และอย่าลืมว่า ใช่อยู่ที่ปัจจุบันข้าวหอมมะลิประเทศเพื่อนบ้านเราคุณภาพยังสู้เราไม่ได้แต่เขาก็พัฒนาข้าวตัวเองมาตลอด จากอดีตถึงปัจจุบันคุณภาพดีขึ้นมากซึ่งเขายังคงพัฒนาต่อไป แต่ไทยเรากลับชะล่าใจว่าของเราดีคนอื่นทำไม่ได้นี่แหละคือสิ่งที่จะพลาด และปริมาณผลผลิตข้าวของแต่ละประเทศเองก็เพิ่มสูงขึ้น อนาคตเราคงเจอปัญหาโควต้าที่ลดลง ให้ประชาชนชาวไทยกินกันเ้องจะเอาอะไรมาหมด ข้าวก็ล้นภายในประเทศอะไรจะเกิดก็น่าคิืด ถึงเวลานั้นผมว่าทั้งรัฐบาลและชาวนาตาดำๆนี่แหละที่จะเจอปัญหาปวดหัว..
คนซื้อก็อยากซื้อได้ถูก ถ้าคุณภาพพอได้ราคาต่ำกว่าเยอะ พ่อค้าท้งหลายก็คงเลือกสิ่งที่ทำกำไรเขาได้มากกว่านะ  คนขายก็อยากขายได้แพง แพงแต่ถูกกว่า ขายง่ายกว่านะ ..

ป.ล. ความเห็นคนความรู้ ม.6 นะผิดถูกขออภัย
IP : บันทึกการเข้า
ลูกหลานพญานารา
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237


Together chiang rai united.


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 18:05:20 »

ขอแชร์ความรู้สึกส่วนตัวครับ..ที่ผมมีงานทำอยู่ทุกวันนี้มาจากเงินพ่อแม่ที่ทำนา..และก็อยากกลับไปสานต่ออาชีพนี้ต่อไป..จะดีจะร้ายก็มีข้าวกินครับ ไม่ใช่ว่าไม่สนใจโลกจะหมุนไปอย่างไร แต่อยู่ตามคำสอนของพ่อหลวงครับ...
IP : บันทึกการเข้า
louis
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ ป.ตรี
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,477



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 18:06:33 »

ระยะสั้นผมว่าส่งผลดีกับชาวนาโดยตรงกับราคาที่สูงขึ้นมาก ทำเหนื่อยแทบตายก็ได้ราคาสมน้ำสมเนื้อ แต่อนาคตถามว่าราคาข้าวจะลงไหมก็คงไม่เพราะชาวนาเองก็คงรับไม่ได้ก็ได้เห็นประท้วง บลา ๆ ชาวนามีกำลังซื้อมากขึ้น เกิดการหมุนเวียนของเงินมากขึ้นกระจายไปส่วนต่าง ๆ นี่เป็นสิ่งที่ดี ไม่มีข้อโต้แย้ง
แต่ระยะยาวผมว่าผลเสียมีเยอะพอสมควรนะ คือ กำลังการผลิตข้าวของเราเองมีผลผลิตปริมาณมากในแต่ละปี ถ้าดูจากการบริหารของรัฐบาลเองผมว่าห่วย เอื้อผลประโยชน์เอกชนมากเกินไป รัฐเสียผลประโยชน์เต็มๆ โรงสีใหญ่รอให้ข้าวมันอืดมันตันระบายออกยากค่อยช้อนซื้อคืน เอกชนพวกนี้เขาวางแผนไว้ค่อนข้างจะแน่นโดยเฉพาะรายใหญ่ๆ การที่รับประกัน จำนำข้าวในราคาที่สูง รัฐเองก็ต้องหาทางระบายออกโดยมีฐานราคาที่สูงซึ่งอำนาจการแข่งขันมันก็ลดลง และอย่าลืมว่า ใช่อยู่ที่ปัจจุบันข้าวหอมมะลิประเทศเพื่อนบ้านเราคุณภาพยังสู้เราไม่ได้แต่เขาก็พัฒนาข้าวตัวเองมาตลอด จากอดีตถึงปัจจุบันคุณภาพดีขึ้นมากซึ่งเขายังคงพัฒนาต่อไป แต่ไทยเรากลับชะล่าใจว่าของเราดีคนอื่นทำไม่ได้นี่แหละคือสิ่งที่จะพลาด และปริมาณผลผลิตข้าวของแต่ละประเทศเองก็เพิ่มสูงขึ้น อนาคตเราคงเจอปัญหาโควต้าที่ลดลง ให้ประชาชนชาวไทยกินกันเ้องจะเอาอะไรมาหมด ข้าวก็ล้นภายในประเทศอะไรจะเกิดก็น่าคิืด ถึงเวลานั้นผมว่าทั้งรัฐบาลและชาวนาตาดำๆนี่แหละที่จะเจอปัญหาปวดหัว..
คนซื้อก็อยากซื้อได้ถูก ถ้าคุณภาพพอได้ราคาต่ำกว่าเยอะ พ่อค้าท้งหลายก็คงเลือกสิ่งที่ทำกำไรเขาได้มากกว่านะ  คนขายก็อยากขายได้แพง แพงแต่ถูกกว่า ขายง่ายกว่านะ ..

ป.ล. ความเห็นคนความรู้ ม.6 นะผิดถูกขออภัย

+100เลย
ชาวนาไม่เสียงดังได้เลย
IP : บันทึกการเข้า

อย่าเอามีดไปฟันหิน
นอกจากจะไร้ค่า
ยังทำให้มีดเสียคม
~SmR~
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 347



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 18:14:38 »

ผมว่าสิ่งที่ควรทำควรดูตอนนี้

ชาวนา : วิธีการทำที่จะลดต้นทุนได้มากที่สุด
รัฐบาล : ลงมาดูแลเรื่อง ปัจจัยการผลิตทั้งหลายเช่น ปุ๋ย ยา บลา ๆๆๆ

ถึงจะทำให้ชาวนาได้และรัฐก็ได้ จะไปสู้กับชาวบ้านก็ได้อีก .. แต่ในความเป็นจริงแล้วคงจะยากที่จะเป็นไปได้ .. ผลประโยชน์ทั้งนั้น  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
ohio888
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 782



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 18:18:52 »

อ่านแล้วต้องวิเคราะห์ต่อนะคะ...ไม่ใช่แค่ใช้ตัว translate ...

อ่านอย่างเดียวใครก็อ่านได้ แต่คิดต่อยอดด้วยว่ากรณีแบบนี้ ช่วยชาวนาหายใจได้ระยะสั้น

ระยะยาวเรามีผลกระทบแน่...ข้าวคุณภาพของเราเดี๋ยวนี้สูสีกับเวียดนาม อินเดีย แต่ราคาเราสูงกว่า

เราโดนแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปจนเสียแชมป์...น่าคิด น่ากังวล น่าติดตาม

ใช่สักแต่อ่านแล้วผ่านไป

ผมว่าในระยะยาวดีนะคือ (จะอธิบายอีกรอบก็เอา)
ชาวนาพอมีกำไรกำลังซื้อสูงขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมผลิตส่วนอื่น รถยนต์ น้ำปลา ตู้เย็น มียอดขายเพิ่มขึ้น ธุรกิจมวลรวมดีขึ้น เพราะเกษตรกรคือกำลังซื้อสำคัญ

แล้วเมื่อคนกลางมีบทบาทน้อยลง กำไรก็มีเหลือให้ชาวนา เข้ารัฐ ผมว่าเป็นอะไรที่ยอดมาก ที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินหรือ ว่าพ่อค้าคนกลางแสบแค่ใหน

คุณไม่เคยกินข้าวอินเดียกะเวียดนามหรอก มันคนละแบบ (คิดในใจ เคยไปเมืองนอกใหมเนี่ย...) ยิ่งข้าวออสเตเลีย อะเมริกา ไม่ต้องพูดถึง ไม่อร่อยหรอก เวียดนามข้าวเขาหักมากกว่าเรา อินเดียก็ข้าว บาสมาติ ไม่อร่อยเท่าเรา เราก้าวข้ามพ่อค้าคนกลาง domestic ก่อน เดี๋ยวก็จะก้าวข้าม Singapore middle man ไปได้ เพราะตลอดมา พวกเขาทำกำไรกับชาวนาไทย ทั้งๆ ข้าวสักต้นเขายังปลูกไม่เป็น ช่วงแรกๆ เขาจะหันไปหาของถูก แต่อย่าลืมนึกถึง demand ของ jasmine rice อีกหน่อยก็มาซื้อตรงกะรัฐบาลไทย ได้เงินเข้ารัฐอีก

ผมหวังว่า ที่เขียนมาจะพอเข้าใจ เพราะไม่อยากเขียนยาวมาก
ในส่วนของน้ำมัน ผมถามว่า รัฐบาลเขาคุม ปตท. ได้ใหม... หุหุ

อะ ตาคุณวิเคราะห์บ้าง

อ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ให้สัมภาษณ์พิเศษ"กรุงเทพธุรกิจ"วิพากษ์นโยบายจำนำข้าวหลังติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเตือนว่านโยบายดังกล่าวกำลังจะสร้าง "ความหายนะ" โดยแลกกับผลประโยชน์ทางการเมืองระยะสั้น

เขากล่าวว่า นโยบายรับจำนำข้าวกำลังจะสร้างความหายนะให้แก่โครงสร้างภาคเกษตรของไทย และสร้างภาระให้แก่งบประมาณจำนวนมหาศาลเนื่องจากรัฐต้องนำเงินไปใช้ในการจำนำ “นโยบายรับจำนำ หากราคาจำนำใกล้เคียงกับราคาตลาด จะช่วยเกษตรกรได้ แต่หากราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดมาก จะทำให้รัฐกลายเป็นผู้ซื้อรายเดียวในตลาด ซึ่งขณะนี้ใช้เงินไปแล้วกว่าแสนล้านบาท ซึ่งไม่รวมถึงค่าโกดัง ค่าเสื่อม ขณะที่เราใช้เงินรับจำนำเกวียนละ 15,000 บาท แต่เราส่งออกเกวียนละ 750 บาท ดังนั้นเราไม่เห็นภาพการขยายตัวของการส่งออก”

เขากล่าวว่า รัฐบาลอ้างว่าจะเก็บสต็อกเอาไว้ระบายออกในช่วงที่ราคาสูง โดยหวังว่าเมื่อรัฐบาลซื้อข้าวเก็บในสต็อกมากๆ แล้ว ข้าวในตลาดจะหายไปและจะทำให้ราคาสูง แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือราคาข้าวในตลาดโลกไม่ปรับขึ้นตามที่คาดไว้ แต่ปรับขึ้นระดับหนึ่ง หากรัฐบาลจะระบายก็จะขาดทุน

“ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นขณะนี้ ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ อย่างเวียดนาม ขณะที่ไทยยังเก็บสต็อกไว้ เพราะราคาจำนำสูงเกิน ระบายออกไม่ได้ นโยบายจำนำของไทยจึงเป็นการอุดหนุนราคาผู้ส่งออกข้าวรายอื่น ขณะที่ประเทศอื่นได้ประโยชน์จากราคาข้าวที่เพิ่มขึ้น”

 เขากล่าวว่า ปีนี้ การส่งออกข้าว 5% เราสูญเสียตลาดไปแล้ว ที่ไทยยังส่งออกได้ขณะนี้คือข้าวนึ่ง ซึ่งเรากำลังเจอกับคู่แข่งใหม่คืออินเดีย

อัดคนในรัฐบาลไม่เข้าตลาดโลก

เขากล่าวว่า รัฐบาลหวังว่าราคาข้าวจะสูงกว่าราคาจำนำ แต่ความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งคนในรัฐบาลเข้าใจตลาดข้าวของโลกน้อยเกินไป เพราะความเป็นจริงแล้วผลผลิตข้าวในตลาดโลกออกทุก 3 เดือน เนื่องจากข้าวมีช่วงเก็บเกี่ยวสั้น เมื่อราคาข้าวเริ่มปรับขึ้น หลายๆ ประเทศก็เริ่มผลิตขึ้นมาส่งออก ทำให้เวลานี้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาด

อย่างกรณีล่าสุด บราซิล กำลังเร่งขยายพื้นที่ผลิต แม้แต่ในเอเชียเองก็กำลังเร่งผลิตเช่นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ดังนั้นความหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นโดยคิดว่าผลผลิตไม่เพียงพอนั้น "ไม่เป็นความจริง" การค้าข้าวของโลกปี 2554 มีประมาณ 35 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3 ล้านตันจากปี 2553 ขณะที่การผลิตมีจำนวน 453 ล้านตันข้าวสาร และการบริโภค 448 ตันข้าวสาร หากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่เพิ่มกำลังการผลิต ข้าวในตลาดก็จะราคาตกลง

“กรณีเดียวที่จะทำให้ข้าวราคาสูงกว่าราคาจำนำของรัฐบาลคือเกิดภัยแล้งรุนแรงทั่วโลกเท่านั้น”

หากราคาไม่ปรับขึ้นมากกว่าราคาจำนำ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลจำเป็นต้องระบายสต็อกออกในราคาที่ต่ำเพราะไม่สามารถเก็บสต็อกได้ ซึ่งถึงเวลานั้นจะขาดทุนมหาศาลจากนโยบายนี้

บิดเบือนโครงสร้างภาคเกษตร

นอกจากนี้ เขาบอกว่าเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเกษตรของไทย ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นระยะยาวและมองไม่เห็นระยะสั้น นั่นคือ นโยบายจำนำราคาสูง จำให้เกิดการบิดเบือนโครงสร้างการปลูกพืชในประเทศ เพราะเกษตรกรจะหันไปปลูกข้าวเนื่องจากได้ราคาดีกว่า

“นอกจากจะทำให้สต็อกข้าวยิ่งเพิ่มขึ้นแล้ว การหันไปปลูกข้าวเพิ่มขึ้น ก็เท่ากับว่าดึงปัจจัยการผลิตที่ใช้ปลูกพืชอื่นไปปลูกข้าว”

เขากล่าวว่า การบิดเบือนโครงสร้างเกษตรจากนโยบายรัฐบาลนี้เอง ทำให้พืชผลอื่นเริ่มหายไปจากท้องตลาดหรือให้ผลผลิตออกมาน้อย ขณะนี้คนไทยเริ่มซื้อผักผลไม้อื่นๆ ราคาแพงขึ้น และมีแนวโน้มที่แพงขึ้นเรื่อยๆ “ในระยะสั้น เป็นความสำเร็จของรัฐบาล แต่ระยะยาว จะกระทบราคาอาหารจะแพงขึ้น”

บีบรายเล็กออกจากระบบ

 เขากล่าวว่า จากการลงพื้นที่หลายแห่งในพื้นที่ภาคกลาง พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ของเกษตรกร และที่จะส่งผลกระทบมากยิ่งขึ้นก็คือ นโยบายรับจำนำเอื้อประโยชน์กับเกษตรกรรายใหญ่เท่านั้น และต่อไปจะเห็นว่าเกษตรกรที่เหลืออยู่เป็นเกษตรกรรายใหญ่หรือเป็นนักลงทุนที่เข้าไปลงทุนจากนโยบายรับจำนำ เพราะได้ผลตอบแทนสูง เนื่องจากต้นทุนอยู่ที่ 4,500 บาทต่อเกวียน ขณะที่ขายได้ 15,000 บาท ทั้งนี้ เกษตรกรรายเล็กเข้าถึงนโยบายจำนำไม่ได้ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการขนส่ง ดังนั้น จึงเห็นว่ามีคนเดินใบประทวน หรือคนกลางรับซื้อจากเกษตรรายย่อยเพื่อมาส่งโรงสีที่เข้าโครงการจำนำ

“ขณะนี้เราเห็นว่าเกษตรกรรายย่อยถูกไล่ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ต้องขายที่ดินให้รายใหญ่เข้ามาทำนาหรือขอเช่าที่ดิน เมื่อมีรายใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ค่าเช่านาสูงขึ้น ตอนนี้เราเห็นชัดแถวสุพรรณบุรี มี 'คนเดินนา' เป็นอาชีพรับจ้างการดูแลทำนาขนาดใหญ่”

กลไกตลาดพังพินาศ

เขายังกล่าวถึงกลไกตลาดข้าวในประเทศที่ใช้เวลาพัฒนามานานจะพังลง โดยเฉพาะธุรกิจโรงสีและตลาดกลางทางเกษตรที่เคยมีบทบาทสำคัญในการค้าข้าวของไทย ตลาดกลางค้าข้าวขนาดใหญ่ในพื้นที่ปลูกข้าวภาคกลางได้สูญหายไปพร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของนโยบายอุดหนุนราคาของรัฐบาลตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากชาวนานำข้าวไปขายให้รัฐบาลจนไม่จำเป็นต้องพึ่งพาตลาดกลาง

“ตลาดกลางหลายแห่งหมดสภาพไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตลาดข้าวกำนันทรง ที่นครสวรรค์ หรือกรณีตลาดสหกรณ์ศรีประจันต์ ที่เคยเป็นตลาดข้าวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ขณะนี้กลายสภาพไปเป็นตลาดนัดขายของ”

นอกจากการสูญหายของตลาดกลางทางการเกษตรแล้ว ธุรกิจโรงสีก็จะสูญหายไปด้วย ยกเว้นโรงสีขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมนโยบายจำนำของรัฐบาลเท่านั้น “หากกลไกตลาดไม่ดี ผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับคนบางกลุ่ม หากดูไม่ดี การทุจริตคอร์รัปชันก็จะตามมา ใครจะรับผิดชอบ”

เตือนบัตรเครดิต-พักหนี้สร้างปัญหา

เขายังกล่าวถึงนโยบายบัตรเครดิตเกษตรกรและนโยบายพักชำระหนี้ว่า เป็นตัวอย่างของความล้มเหลวนโยบายด้านเกษตรไทย นโยบายบัตรเครดิตมีส่วนดีทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง แต่ปัญหาก็คือทำให้เกษตรกรพึ่งพาพันธุ์ข้าวและปุ๋ยเคมีมากขึ้น ซึ่งเสี่ยงอย่างมากเรื่องมาตรฐานของพันธุ์ข้าวและคุณภาพปุ๋ยเคมีที่เข้าร่วมโครงการ ขณะนี้เกษตรกรไทยมีปัญหามากเรื่องคุณภาพพันธุ์ข้าว หากเป็นสมัยก่อน เกษตรกรจะเลือกสายพันธุ์เอง คัดสายพันธุ์จากแปลงเพาะปลูก แต่เมื่อมีนโยบายจำนำ เกษตรกรก็ไม่สนใจพัฒนาคุณภาพ มุ่งแต่ปลูกเพื่อขายในราคาจำนำและใช้ปุ๋ยเคมีมากยิ่งขึ้นเพื่อเร่งผลผลิต “นโยบายบัตรเครดิตและพักหนี้ ทำให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบจำนำมากยิ่งขึ้น จะส่งผลกระทบทั้งระบบ”

เชื่อรัฐไม่มีปัญญาขายข้าว

ผลกระทบสุดท้ายต่อระบบค้าข้าวของไทยคือผู้ส่งออก ซึ่งซื้อข้าวแข่งกับภาครัฐไม่ได้ เนื่องจากราคาจำนำสูงกว่าตลาดโลก ดังนั้นจะเห็นว่าแนวโน้มการส่งออกของไทยจะลดลง เนื่องจากรัฐบาลใช้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เข้ามามีบทบาทแทน เขาเห็นว่า อคส.ไม่มีศักยภาพจำหน่ายข้าวในตลาดโลก และความสามารถมีไม่มากพอ อีกทั้งการระบายข้าวจากสต็อกรัฐจะล่าช้ามาก ซึ่งอาจส่งผลต่อการระบายข้าวจากสต็อกรัฐที่นับวันเพิ่มขึ้นตามฤดูเพาะปลูก เขาย้ำอีกว่า หากนโยบายนี้ล้มเหลว ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศยากจนยิ่งขึ้น เพราะรัฐจะนำเงินไปจำนำแต่ละปีจำนวนมหาศาล หากประเมินจากปีนี้กว่าแสนล้านบาท และหากใช้นโยบายนี้ 4 ปี ก็จะเป็นเงินกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินมหาศาล “หากผลผลิตข้าวโลกสูงเพิ่มขึ้น เราจะเจ็บหนัก”

Tags : จำนำข้าว • สมพร อิศวิลานนท์

นักวิชาการเหล่านี้ มองแค่จุดเดียว ควรเตรียมตัวเข้าพิภิฑพันธ์ได้แล้ว พวกนี้มองแค่แค่กำไร กะ ขาดทุน เขาไม่รู้หรอก ว่าโลกขาดอาหารเพียงใหน แต่การที่รัฐบาลมาอุ้มชาวนาถือว่าเป็นกุศลยิ่ง ย้อนกลับไปเรื่องน้ำมันที่คุณ angellaz ถามว่าทำไมไม่ตรึงราคาน้ำมัน ตรึงราคาคืออะไร ก็คือเอาเงินภาษีไปอุด ผมเลยถามกลับว่า เฮ้ย เอาไปหนุนชาวนาโครงการจำนำข้าวดีกว่า เงินแค่ 4 แสนล้าน เอามาอุ้มชาวนา อยู่รอดปลอดภัยตั้ง 4 ปี ถือว่าสุดยอด เพราะงบประมาณภาษีเก็บได้เป็นล้านๆๆ แล้วถามว่าภาษาีมาจากใหน ก็มาจากผลประกอบการที่ดีขึ้นจากอุตสาหกรรมต่างๆ เพราะกำลังซื้อสูงขึ้น จาก VAT จากยอดซื้อที่เพิ่มขึ้นดีกว่าเอาไปซื้ออาวุธ ดีกว่าเอาไปขุดลอกแม่น้ำแล้วก็ทรายก็ใหลกลับลงแม่น้ำ ดีกว่าเอาไปซื้อ gt200 หรือเรือเหาะที่ใช้การไม่ได้ ได้โปรดเถอะ อย่าให้ชาวนาต้องขายข้าวถูกกว่าทุนอีกเลย แม่เจ้า....  ขอให้ได้เป็นรัฐบาลตลอดไป สาธุ
IP : บันทึกการเข้า

อย่าคลั่งชาติจนมากไป
ประเทศไทยยังมีขอทาน
(อย่าโลกสวย)
deakdue
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 18:27:00 »

อ่านแล้วต้องวิเคราะห์ต่อนะคะ...ไม่ใช่แค่ใช้ตัว translate ...

อ่านอย่างเดียวใครก็อ่านได้ แต่คิดต่อยอดด้วยว่ากรณีแบบนี้ ช่วยชาวนาหายใจได้ระยะสั้น

ระยะยาวเรามีผลกระทบแน่...ข้าวคุณภาพของเราเดี๋ยวนี้สูสีกับเวียดนาม อินเดีย แต่ราคาเราสูงกว่า

เราโดนแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปจนเสียแชมป์...น่าคิด น่ากังวล น่าติดตาม

ใช่สักแต่อ่านแล้วผ่านไป

ผมว่าในระยะยาวดีนะคือ (จะอธิบายอีกรอบก็เอา)
ชาวนาพอมีกำไรกำลังซื้อสูงขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมผลิตส่วนอื่น รถยนต์ น้ำปลา ตู้เย็น มียอดขายเพิ่มขึ้น ธุรกิจมวลรวมดีขึ้น เพราะเกษตรกรคือกำลังซื้อสำคัญ

แล้วเมื่อคนกลางมีบทบาทน้อยลง กำไรก็มีเหลือให้ชาวนา เข้ารัฐ ผมว่าเป็นอะไรที่ยอดมาก ที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินหรือ ว่าพ่อค้าคนกลางแสบแค่ใหน

คุณไม่เคยกินข้าวอินเดียกะเวียดนามหรอก มันคนละแบบ (คิดในใจ เคยไปเมืองนอกใหมเนี่ย...) ยิ่งข้าวออสเตเลีย อะเมริกา ไม่ต้องพูดถึง ไม่อร่อยหรอก เวียดนามข้าวเขาหักมากกว่าเรา อินเดียก็ข้าว บาสมาติ ไม่อร่อยเท่าเรา เราก้าวข้ามพ่อค้าคนกลาง domestic ก่อน เดี๋ยวก็จะก้าวข้าม Singapore middle man ไปได้ เพราะตลอดมา พวกเขาทำกำไรกับชาวนาไทย ทั้งๆ ข้าวสักต้นเขายังปลูกไม่เป็น ช่วงแรกๆ เขาจะหันไปหาของถูก แต่อย่าลืมนึกถึง demand ของ jasmine rice อีกหน่อยก็มาซื้อตรงกะรัฐบาลไทย ได้เงินเข้ารัฐอีก

ผมหวังว่า ที่เขียนมาจะพอเข้าใจ เพราะไม่อยากเขียนยาวมาก
ในส่วนของน้ำมัน ผมถามว่า รัฐบาลเขาคุม ปตท. ได้ใหม... หุหุ

อะ ตาคุณวิเคราะห์บ้าง

อ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ให้สัมภาษณ์พิเศษ"กรุงเทพธุรกิจ"วิพากษ์นโยบายจำนำข้าวหลังติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเตือนว่านโยบายดังกล่าวกำลังจะสร้าง "ความหายนะ" โดยแลกกับผลประโยชน์ทางการเมืองระยะสั้น

เขากล่าวว่า นโยบายรับจำนำข้าวกำลังจะสร้างความหายนะให้แก่โครงสร้างภาคเกษตรของไทย และสร้างภาระให้แก่งบประมาณจำนวนมหาศาลเนื่องจากรัฐต้องนำเงินไปใช้ในการจำนำ “นโยบายรับจำนำ หากราคาจำนำใกล้เคียงกับราคาตลาด จะช่วยเกษตรกรได้ แต่หากราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดมาก จะทำให้รัฐกลายเป็นผู้ซื้อรายเดียวในตลาด ซึ่งขณะนี้ใช้เงินไปแล้วกว่าแสนล้านบาท ซึ่งไม่รวมถึงค่าโกดัง ค่าเสื่อม ขณะที่เราใช้เงินรับจำนำเกวียนละ 15,000 บาท แต่เราส่งออกเกวียนละ 750 บาท ดังนั้นเราไม่เห็นภาพการขยายตัวของการส่งออก”

เขากล่าวว่า รัฐบาลอ้างว่าจะเก็บสต็อกเอาไว้ระบายออกในช่วงที่ราคาสูง โดยหวังว่าเมื่อรัฐบาลซื้อข้าวเก็บในสต็อกมากๆ แล้ว ข้าวในตลาดจะหายไปและจะทำให้ราคาสูง แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือราคาข้าวในตลาดโลกไม่ปรับขึ้นตามที่คาดไว้ แต่ปรับขึ้นระดับหนึ่ง หากรัฐบาลจะระบายก็จะขาดทุน

“ราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นขณะนี้ ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ อย่างเวียดนาม ขณะที่ไทยยังเก็บสต็อกไว้ เพราะราคาจำนำสูงเกิน ระบายออกไม่ได้ นโยบายจำนำของไทยจึงเป็นการอุดหนุนราคาผู้ส่งออกข้าวรายอื่น ขณะที่ประเทศอื่นได้ประโยชน์จากราคาข้าวที่เพิ่มขึ้น”

 เขากล่าวว่า ปีนี้ การส่งออกข้าว 5% เราสูญเสียตลาดไปแล้ว ที่ไทยยังส่งออกได้ขณะนี้คือข้าวนึ่ง ซึ่งเรากำลังเจอกับคู่แข่งใหม่คืออินเดีย

อัดคนในรัฐบาลไม่เข้าตลาดโลก

เขากล่าวว่า รัฐบาลหวังว่าราคาข้าวจะสูงกว่าราคาจำนำ แต่ความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งคนในรัฐบาลเข้าใจตลาดข้าวของโลกน้อยเกินไป เพราะความเป็นจริงแล้วผลผลิตข้าวในตลาดโลกออกทุก 3 เดือน เนื่องจากข้าวมีช่วงเก็บเกี่ยวสั้น เมื่อราคาข้าวเริ่มปรับขึ้น หลายๆ ประเทศก็เริ่มผลิตขึ้นมาส่งออก ทำให้เวลานี้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาด

อย่างกรณีล่าสุด บราซิล กำลังเร่งขยายพื้นที่ผลิต แม้แต่ในเอเชียเองก็กำลังเร่งผลิตเช่นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ดังนั้นความหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นโดยคิดว่าผลผลิตไม่เพียงพอนั้น "ไม่เป็นความจริง" การค้าข้าวของโลกปี 2554 มีประมาณ 35 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3 ล้านตันจากปี 2553 ขณะที่การผลิตมีจำนวน 453 ล้านตันข้าวสาร และการบริโภค 448 ตันข้าวสาร หากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่เพิ่มกำลังการผลิต ข้าวในตลาดก็จะราคาตกลง

“กรณีเดียวที่จะทำให้ข้าวราคาสูงกว่าราคาจำนำของรัฐบาลคือเกิดภัยแล้งรุนแรงทั่วโลกเท่านั้น”

หากราคาไม่ปรับขึ้นมากกว่าราคาจำนำ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลจำเป็นต้องระบายสต็อกออกในราคาที่ต่ำเพราะไม่สามารถเก็บสต็อกได้ ซึ่งถึงเวลานั้นจะขาดทุนมหาศาลจากนโยบายนี้

บิดเบือนโครงสร้างภาคเกษตร

นอกจากนี้ เขาบอกว่าเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเกษตรของไทย ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นระยะยาวและมองไม่เห็นระยะสั้น นั่นคือ นโยบายจำนำราคาสูง จำให้เกิดการบิดเบือนโครงสร้างการปลูกพืชในประเทศ เพราะเกษตรกรจะหันไปปลูกข้าวเนื่องจากได้ราคาดีกว่า

“นอกจากจะทำให้สต็อกข้าวยิ่งเพิ่มขึ้นแล้ว การหันไปปลูกข้าวเพิ่มขึ้น ก็เท่ากับว่าดึงปัจจัยการผลิตที่ใช้ปลูกพืชอื่นไปปลูกข้าว”

เขากล่าวว่า การบิดเบือนโครงสร้างเกษตรจากนโยบายรัฐบาลนี้เอง ทำให้พืชผลอื่นเริ่มหายไปจากท้องตลาดหรือให้ผลผลิตออกมาน้อย ขณะนี้คนไทยเริ่มซื้อผักผลไม้อื่นๆ ราคาแพงขึ้น และมีแนวโน้มที่แพงขึ้นเรื่อยๆ “ในระยะสั้น เป็นความสำเร็จของรัฐบาล แต่ระยะยาว จะกระทบราคาอาหารจะแพงขึ้น”

บีบรายเล็กออกจากระบบ

 เขากล่าวว่า จากการลงพื้นที่หลายแห่งในพื้นที่ภาคกลาง พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ของเกษตรกร และที่จะส่งผลกระทบมากยิ่งขึ้นก็คือ นโยบายรับจำนำเอื้อประโยชน์กับเกษตรกรรายใหญ่เท่านั้น และต่อไปจะเห็นว่าเกษตรกรที่เหลืออยู่เป็นเกษตรกรรายใหญ่หรือเป็นนักลงทุนที่เข้าไปลงทุนจากนโยบายรับจำนำ เพราะได้ผลตอบแทนสูง เนื่องจากต้นทุนอยู่ที่ 4,500 บาทต่อเกวียน ขณะที่ขายได้ 15,000 บาท ทั้งนี้ เกษตรกรรายเล็กเข้าถึงนโยบายจำนำไม่ได้ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการขนส่ง ดังนั้น จึงเห็นว่ามีคนเดินใบประทวน หรือคนกลางรับซื้อจากเกษตรรายย่อยเพื่อมาส่งโรงสีที่เข้าโครงการจำนำ

“ขณะนี้เราเห็นว่าเกษตรกรรายย่อยถูกไล่ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ต้องขายที่ดินให้รายใหญ่เข้ามาทำนาหรือขอเช่าที่ดิน เมื่อมีรายใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ค่าเช่านาสูงขึ้น ตอนนี้เราเห็นชัดแถวสุพรรณบุรี มี 'คนเดินนา' เป็นอาชีพรับจ้างการดูแลทำนาขนาดใหญ่”

กลไกตลาดพังพินาศ

เขายังกล่าวถึงกลไกตลาดข้าวในประเทศที่ใช้เวลาพัฒนามานานจะพังลง โดยเฉพาะธุรกิจโรงสีและตลาดกลางทางเกษตรที่เคยมีบทบาทสำคัญในการค้าข้าวของไทย ตลาดกลางค้าข้าวขนาดใหญ่ในพื้นที่ปลูกข้าวภาคกลางได้สูญหายไปพร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของนโยบายอุดหนุนราคาของรัฐบาลตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากชาวนานำข้าวไปขายให้รัฐบาลจนไม่จำเป็นต้องพึ่งพาตลาดกลาง

“ตลาดกลางหลายแห่งหมดสภาพไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตลาดข้าวกำนันทรง ที่นครสวรรค์ หรือกรณีตลาดสหกรณ์ศรีประจันต์ ที่เคยเป็นตลาดข้าวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ขณะนี้กลายสภาพไปเป็นตลาดนัดขายของ”

นอกจากการสูญหายของตลาดกลางทางการเกษตรแล้ว ธุรกิจโรงสีก็จะสูญหายไปด้วย ยกเว้นโรงสีขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมนโยบายจำนำของรัฐบาลเท่านั้น “หากกลไกตลาดไม่ดี ผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับคนบางกลุ่ม หากดูไม่ดี การทุจริตคอร์รัปชันก็จะตามมา ใครจะรับผิดชอบ”

เตือนบัตรเครดิต-พักหนี้สร้างปัญหา

เขายังกล่าวถึงนโยบายบัตรเครดิตเกษตรกรและนโยบายพักชำระหนี้ว่า เป็นตัวอย่างของความล้มเหลวนโยบายด้านเกษตรไทย นโยบายบัตรเครดิตมีส่วนดีทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง แต่ปัญหาก็คือทำให้เกษตรกรพึ่งพาพันธุ์ข้าวและปุ๋ยเคมีมากขึ้น ซึ่งเสี่ยงอย่างมากเรื่องมาตรฐานของพันธุ์ข้าวและคุณภาพปุ๋ยเคมีที่เข้าร่วมโครงการ ขณะนี้เกษตรกรไทยมีปัญหามากเรื่องคุณภาพพันธุ์ข้าว หากเป็นสมัยก่อน เกษตรกรจะเลือกสายพันธุ์เอง คัดสายพันธุ์จากแปลงเพาะปลูก แต่เมื่อมีนโยบายจำนำ เกษตรกรก็ไม่สนใจพัฒนาคุณภาพ มุ่งแต่ปลูกเพื่อขายในราคาจำนำและใช้ปุ๋ยเคมีมากยิ่งขึ้นเพื่อเร่งผลผลิต “นโยบายบัตรเครดิตและพักหนี้ ทำให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบจำนำมากยิ่งขึ้น จะส่งผลกระทบทั้งระบบ”

เชื่อรัฐไม่มีปัญญาขายข้าว

ผลกระทบสุดท้ายต่อระบบค้าข้าวของไทยคือผู้ส่งออก ซึ่งซื้อข้าวแข่งกับภาครัฐไม่ได้ เนื่องจากราคาจำนำสูงกว่าตลาดโลก ดังนั้นจะเห็นว่าแนวโน้มการส่งออกของไทยจะลดลง เนื่องจากรัฐบาลใช้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เข้ามามีบทบาทแทน เขาเห็นว่า อคส.ไม่มีศักยภาพจำหน่ายข้าวในตลาดโลก และความสามารถมีไม่มากพอ อีกทั้งการระบายข้าวจากสต็อกรัฐจะล่าช้ามาก ซึ่งอาจส่งผลต่อการระบายข้าวจากสต็อกรัฐที่นับวันเพิ่มขึ้นตามฤดูเพาะปลูก เขาย้ำอีกว่า หากนโยบายนี้ล้มเหลว ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศยากจนยิ่งขึ้น เพราะรัฐจะนำเงินไปจำนำแต่ละปีจำนวนมหาศาล หากประเมินจากปีนี้กว่าแสนล้านบาท และหากใช้นโยบายนี้ 4 ปี ก็จะเป็นเงินกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินมหาศาล “หากผลผลิตข้าวโลกสูงเพิ่มขึ้น เราจะเจ็บหนัก”

Tags : จำนำข้าว • สมพร อิศวิลานนท์

นักวิชาการเหล่านี้ มองแค่จุดเดียว ควรเตรียมตัวเข้าพิภิฑพันธ์ได้แล้ว พวกนี้มองแค่แค่กำไร กะ ขาดทุน เขาไม่รู้หรอก ว่าโลกขาดอาหารเพียงใหน แต่การที่รัฐบาลมาอุ้มชาวนาถือว่าเป็นกุศลยิ่ง ย้อนกลับไปเรื่องน้ำมันที่คุณ angellaz ถามว่าทำไมไม่ตรึงราคาน้ำมัน ตรึงราคาคืออะไร ก็คือเอาเงินภาษีไปอุด ผมเลยถามกลับว่า เฮ้ย เอาไปหนุนชาวนาโครงการจำนำข้าวดีกว่า เงินแค่ 4 แสนล้าน เอามาอุ้มชาวนา อยู่รอดปลอดภัยตั้ง 4 ปี ถือว่าสุดยอด เพราะงบประมาณภาษีเก็บได้เป็นล้านๆๆ แล้วถามว่าภาษาีมาจากใหน ก็มาจากผลประกอบการที่ดีขึ้นจากอุตสาหกรรมต่างๆ เพราะกำลังซื้อสูงขึ้น จาก VAT จากยอดซื้อที่เพิ่มขึ้นดีกว่าเอาไปซื้ออาวุธ ดีกว่าเอาไปขุดลอกแม่น้ำแล้วก็ทรายก็ใหลกลับลงแม่น้ำ ดีกว่าเอาไปซื้อ gt200 หรือเรือเหาะที่ใช้การไม่ได้ ได้โปรดเถอะ อย่าให้ชาวนาต้องขายข้าวถูกกว่าทุนอีกเลย แม่เจ้า....  ขอให้ได้เป็นรัฐบาลตลอดไป สาธุ
อหืมๆๆๆ  คุยกันเรื่องข้าวครับ  ไม่ใช่สีเสื้อ    แนวโน้มมาชัด  แบบว่าไปตั้งกระัทูั้้เสื้อสีเหอะครับ   แ่ค่ความคิดเห็น  ขอภัยหากขัดใจ
IP : บันทึกการเข้า
์Nate4paul
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 18:30:04 »

http://www.economist.com/node/21558633
เสียแชมป์ส่งออกข้าวให้อินเดียกะเวียดนามเพราะนโยบายจำนำข้าว...
ก็ดูๆไว้ว่าลู่ทางต่อไปจะทำยังไง...เฮ้อ

อ่านดูแล้วเนื้อหาเขาไม่ได้มุ่งตรงไปที่เสีย champ นะครับ อย่าอ่านแค่หัวข่าว หรืออ่านไม่กี่บรรทัดแล้วสรุป แนะนำให้ใช้ google translate จะได้เข้าใจ

เนื้อหาคือรัฐบาลต่อตรงกับชาวนาเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด
เพื่อที่จะตัดพ่อค้าคนกลาง โดยให้ราคาไว้สูงและชาวนาก็พอใจกับราคานั้น
ราคาดีกว่าเมื่อก่อนแน่นนอนครับ เพื่ออะไรรู้ใหม เพื่อให้เกิดกำลังซื้อ
เมื่อเกิดกำลังซื้อ ชาวนาก็มีเงินหมุนเวียน ธุรกิจรถก็ได้ขาย เสื้อผ้าก็ได้ขาย ส่งลูกเรียนได้สบายขึ้น ในส่วนที่เสียแชมป์ก็คือว่า ราคามันแพงขึ้น แต่เราควรเป็นคนเริ่มตั้งราคาให้ได้ราคา ไม่ใช่ว่าขายแสนถูก เอาข้าวเป็นตันแลก iphone ได้เครื่องเดียว มันต้องคิดใหม่ทำใหม่
ที่ผ่านมาชาวนายากจน ไม่มีแม้แต่เงินซื้อปุ๋ย ต้องไปขอกู้จากเงินนอกระบบ แต่เดี๋ยวนี้ เขาจะมีบัตรเกษตรไว้คอยช่วยเหลือแล้วหละ กองทุนหมู่บ้านก็มี ไม่เหมือนเมื่อก่อนสมัยก่อนหรอก แล้วสมัยก่อนทำไมคุณไม่ออกมาพูด ยุคก่อนๆ อะ หรือกำลังหัดเป็นนักวิเคราห์เนี่ย...



ผมเห็นด้วยนะ เราควรมามุ่งสนใจการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ได้คุณภาพสูง ไม่ใช่เอาไปขายๆๆ ของไม่มีคุณภาพ ไม่อร่อย แถมอย่าลืมคู่แข่งเราเยอะ จีน อินเดีย เวียดนาม พม่า ลาว เขมร ไม่ใช่มีชาติเราชาติเดียวปลูกข้าวเป็น อย่าลืม ที่เป็นแชมป์น่ะแน่ใจแล้วเหรอว่าประเทศเค้ามีข้าวพอกิน อินเดียลองไปดูสิ ทำไมมีสลัม มีย่านสกปรก น่ากัวกว่าไทยอีก เวียดนามทำไมยังตามหลังเราทั้งๆที่เค้าส่งข้าวแซงเราไปได้แล้ว เลิกเอาแต่ส่งๆๆ แล้วหันมาดูคนในชาติเรา เราอิ่มท้อง อิ่มปาก แล้วมีเหลือพอส่งไปขายเอาเข้าประเทศหรือยัง? ไม่ใช่เราไปเลี้ยงชาติอื่นอย่างเดียว แล้วก็มาบ่นว่าข้าวแพงๆ ผมเบื่อที่ชาติที่ถูกยกย่องว่าเป็นชาติดินดี น้ำอุดม ข้าวปลาธัญญาหารมีมากล้น แต่ทำไมคนในชาติเราต้องซื้อข้าวกินแพง ทีIphone ไอแพด เครื่องหมื่นสองหมื่น ซื้อเข้าไปได้ ถามหน่อย ซื้อมานี้มันทำเงินคืนให้คุณได้เท่าไหร่ มันทำให้คุณมีรายจ่ายหรือมีรายได้ แล้วฐานะคุณสมควรมีมันหรือเปล่า อย่าเอาแต่อ้างว่าความสุขฉัน อย่ามายุ่ง เพราะผมเห็นว่าคนพวกนี้เห็นแก่ตัวมาก ไม่ใช่พวกนี้เหรอที่ชอบมาด่ามาว่าของแพง ข้าวแพง ทั้งๆที่พวกคุณไม่เคยสนใจจะยกระดับชีวิตคนในชาติ แต่กลับเอาของตัวเองไปถวายให้คนอื่นเพื่อแลกกับไอโฟน ของแบรนเนมแสนแพง แต่กลับไม่มีข้าวจะกินไปวันๆ เลิกนิสัยสิ้นเปลืองดีกว่าคับ แล้วมาช่วยคนในชาติให้รอดก่อนไปช่วยคนชาติอื่น ทำได้แบบนี้ คำว่าร่ำรวยมันไม่มีหนีไปไหนหรอก
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!