เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 19 เมษายน 2024, 16:28:25
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ชาวยองในเชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ชาวยองในเชียงราย  (อ่าน 9056 ครั้ง)
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:31:16 »

ชาวยอง หรือคน ยองดั้งเดิมมีถิ่นฐานอยู่แคว้นสิบสองปันนา  มณฑลยู นนานของประเทศจีน ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง มีเชียงรุ่งเป็นเมืองหลวง ซึ่งเป็นที่อยู่ดั้งเดิมของชาวไทลื้อ มีวัฒนธรรม ประเพณี มีอักษรและภาษาพูดเป็นของตนเอง มีลักษณะคล้ายอักษรล้านนาหรือไทยยวนเป็นอย่างมาก

                จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในเมืองยองคือกลุ่มชนชาติไทลื้อ จากสิบสองปันนา จึงเรียกชาวไทลื้อที่เข้ามาในเมืองยองว่าไทยอง ดังนั้นชาวไทยอง หรือคนยองกับไทลื้อจึงเป็นชนชาติกลุ่มเดียวกัน

                เมืองยองหรือมหิยังครัฐ ตั้งอยู่ในรัฐฉาน ปัจจุบันเมืองยองมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของรัฐฉานในประเทศพม่า มีระยะทางจากเมืองท่าขี้เหล็ก ด้านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย   ไปทางทิศเหนือถึงเมืองพยาก ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร แล้วแยกขวาไปเมืองยองอีกประมาณ ๗๕ กิโลเมตร รวมระยะทางจากเมืองท่าขี้เหล็กถึงเมืองยอง ประมาณ ๑๕๕ กิโลเมตร

                ในปี พ.ศ.๒๓๔๗ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทำให้สภาพบ้านเมืองในเวลานั้นรกร้างว่างเปล่าผู้คน หลังจากที่เชียงใหม่และล้านนาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเป็นเวลา ๒๔๖ ปี (พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๔๗) พระเจ้ากาวิละจึงได้สร้างบ้านแปงเมืองขึ้นมาใหม่ได้รวบรวมคนไทยกลุ่มต่าง ๆ จากหลายท้องที่ให้เข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และเชียงราย และโปรดให้เจ้าอุปราชธรรมลังกา(น้อยธรรมลังกา) ยกทัพไปตีหัวเมืองต่าง ๆ ของแคว้นสิบสองปันนา โดยเจ้าคำฝั้นหรือเศรษฐีคำฟั่นอนุชาของพระเจ้ากาวิละ ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าบุรีรัตน์เมืองเมืองเชียงใหม่ได้ช่วยเจ้าอุปราชธรรมลังกา ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยอง โดยกองทัพจากเชียงใหม่ได้ยึดเอาเมืองยองเป็นที่มั่นในการรบพุ่งกับเมืองต่าง ๆ เมืองจะสามารถยึดครองเมืองเหล่านั้นเป็นเมืองขึ้น คือเมืองยู้ เมืองหลวย เมืองพยาก เมืองเลน เมืองเชียงขาง เมืองแล เมืองฮาย เมืองท่าล้อ เมืองม้า เมืองมาง เป็นต้น

                รุ่งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๔๘ จึงได้อพยพผู้คนจากเมืองยองและหัวเมืองต่าง  ๆ ให้มาบูรณะเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และเชียงราย ให้รุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งยุคนี้เรียกว่ายุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากที่บ้านเมืองในล้านนาได้รกร้างว่างเปล่าคราวสงครามกับพม่าดังกล่าว ข้างต้น ส่วนเมืองลำพูนมีเจ้าคำฟั่นหรือเจ้าหลวงเศรษฐีคำฟั่น บุตรลำดับที่ ๘ ของเจ้าชายแก้วแห่งเมืองลำปาง เป็นเจ้าเมืองลำพูนคนแรก (พ.ศ.๒๓๔๘-๒๓๕๙) และเป็นต้นสกุล ณ ลำพูน
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:31:39 »

การเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมือง ลำพูนของกลุ่มชาวยอง เป็นการยกเข้ามาทั้งโครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยเจ้าเมือง บุตรภรรยา ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์ตลอดจนไพล่พลจำนวนมาก ในระหว่างปี พ.ศ.๒๓๔๘-๒๓๕๖ การตั้งถิ่นฐานของผู้คนจากเมืองยองมักจะกระจุกตัวตามบริเวณที่ราบฝั่งแม่น้ำ หรือที่ราบลุ่มเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร และเป็นแหล่งอาหาร หมู่บ้าน หรือห่างไกลออกไปตามสภาพภูมิประเทศและความจำเป็นในการประกอบอาชีพบริเวณที่ ตั้งของหมู่บ้านหลักเหล่านี้ ได้แก่

                บนฝั่งแม่น้ำกวง มีบ้านเวียงยอง บ้านตอง บ้านยู้ บ้านหลวย บ้านวังไฮ บ้านหลุก บ้านสันดอนรอม เป็นต้น

                บนฝั่งแม่น้ำปิง มีบ้านริมปิง บ้านป่าม่วง(ประตูป่าป บ้านหลุก บ้านหัวยาง บ้านบัว บ้านบาน เป็นต้น

                บนฝั่งแม่น้ำทา มีบ้านป่าซาง บ้านฉางข้าวน้อย บ้านแซม บ้านสะปุ๋ง บ้านหวาย บ้านดอน เป็นต้น

                การอพยพผู้คนจากเมืองยอง เข้ามาในช่วงปี พ.ศ.๒๓๕๖-๒๓๙๕ มีปรากฏหลักฐานอยู่๒ ครั้ง คือ ในปี พ.ศ.๒๓๕๖ และในปี พ.ศ.๒๓๙๕ การอพยพเข้ามาสองครั้งหลังนี้ น่าจะเป็นหมู่บ้านชาวยองในอำเภอบ้านธิ เพราะมีชื่อบ้านเมืองยองเป็นชื่อหมู่บ้านในแถบนี้ด้วย ส่วนในพื้นที่ของอำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เขตติดต่อจังหวัดลำพูน มีหมู่บ้านชาวยองปรากฏอยู่ เช่น บ้านกอสะเลียม  แม่ทา ห้วยไวบวกค้าง ออนหลวย เมืองลวง เป็นต้น

                คนยองในปัจจุบัน ควรรำลึกถึงเรื่องราวในอดีตเมื่อราว ๒๐๐ ปี กว่าที่บรรพบุรุษได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนมีบทบาทสำคัญการสร้างบ้าน แปงเมือง การบันทึกและการศึกษาถึงประวัติศาสตร์เมืองลำพูน คนยองถูกกล่าวถึงน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ คนยองควรภูมิใจในความเป็นคนยอง อู้กำยองควรเรียนรู้ตัวเมือง รักษาสืบสานจารีตประเพณีของจาวยอง โดยเฉพาะภาษายองเป็นมรดกที่มีคุณค่ายิ่ง ลูกหลานควรรักษาและสืบทอด เพราะภาษาเป็นสื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ และเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ได้ ก่อนที่เอกลักษณ์ของคนยองจะสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:31:58 »

คนยองในจังหวัดเชียงราย

ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี  ยกทัพมาปราบปรามขับไล่ข้าศึกพม่าทางหัวเมืองฝ่าย เหนือ  แต่ไม่สำเร็จเด็ดขาด  ครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช  แห่งราชวงศ์จักรี  พ.ศ.  2347  กรมหลวงเทพหริรักษ์และพระยา ยมราช  ยกกองทัพขึ้นมาขับไล่พม่าออกจากเชียงแสนได้สำเร็จ  ให้เผาเมืองเสีย สิ้น  กวาดต้อนเอาผู้คนพลเมือง  23,000  ครอบครัว  แบ่งเป็น  5  ส่วน  โดย ให้ไปอยู่เมืองเชียงใหม่  นครลำปาง  นครน่าน  เมืองเวียงจันทน์  และลงมายัง กรุงเทพฯ บางส่วนให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ เมืองสระบุรี เมืองราชบุรี บ้าง12

หลังจากที่ได้กวาดต้อนเอาผู้คนพลเมืองให้ไปอยู่ตามเมืองต่างๆ แล้ว  เชียงแสนจึงกลายเป็นเมืองร้าง  จึงทำให้นับแต่นั้นมา  หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองเชียงแสนได้ขาดหายไประยะหนึ่ง  ส่วนใหญ่แล้วมัก จะกล่าวถึงเมืองเชียงใหม่ที่เป็นศูนย์กลางของล้านนาในยุคนั้น  โดยมีตระกูล เจ้าเจ็ดตนปกครอง  ซึ่งจะเกี่ยวพันกับการทำศึกสงครามกับพม่า  บางครั้งก็ถูก พม่ารุกราน  บางครั้งก็ยกทัพไปตีเขตหัวเมืองขึ้นของพม่าและกวาดต้อนเอาผู้คน ลงมาด้วย  อันได้แก่  พวกไทยใหญ่  ไทยเขิน  เป็นต้น
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:32:17 »

พ.ศ.  2386  ในรัชกาลที่  3  ได้มีการจัดตั้งเมืองเชียงรายฟื้นคืนให้เป็น บ้านเมืองขึ้นมาใหม่  เพื่อเป็นกำลังช่วยเหลือเชียงใหม่ป้องกันภัยจากพม่า โดยมีฐานะเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่  พระเจ้ามโหตรประเทศ  เจ้าเมือง เชียงใหม่  ได้ให้ญาติพี่น้อง  อันมีเจ้าหลวงธรรมลังการเป็นเจ้าหลวงเมือง เชียงราย  เจ้าอุ่นเรือนเป็นพระยาอุปราช เจ้าคำแสนเป็นพระยาราชวงศ์ เจ้าชายสามเจ้าพูเกี๋ยง เป็นพระยาราชบุตร  และพระยาบุรีรัตน์  มีราษฎรที่ถูกกวาดต้อนมาจากหัวเมือง ขึ้นของพม่า  ในสมัย “เก็บผักใสซ้า  เก็บข้าใส่เมือง”  พร้อมด้วยพ่อค้าที่เป็นคนพื้นเมืองของ ไพร่เมือง  4  เมือง  คือ  เมืองเชียงตุง  เมืองพยาก  เมืองเลน  และเมือง สาด  ประมาณ 1,000  ครอบครัวขึ้นมาตั้งสร้างบ้านเมือง  เมืองเชียงรายในยุคนี้ได้มีการ ก่อกำแพงสร้างประตูเมืองต่างๆ  เพิ่มเติมในส่วนที่เคยเป็นเมืองเก่ามาแต่สมั
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:32:36 »

พญามังรายให้เป็นเมือง “พันธุมติรัตนอาณาเขต”  มีสะดือเมืองอยู่ที่วัดจันทโลก  (ปัจจุบันคือวัด กลางเวียง)  ในสมัยนั้นเมืองเชียงใหม่มีชื่อว่า  เมืองรัตตนติงสาวภิวน บุรี  การปกครองเมืองเชียงรายในฐานะเป็นเมืองบริวารของเมืองเชียงใหม่ในสมัย นี้  เป็นยุคที่เรียกว่า เจ้าขัน 5 ใบ ซึ่งเป็นเชื้อสายในตระกูลเจ้าเจ็ดตนที่ได้รับการแต่งตั้งจากเมืองเชียงใหม่ มาเป็นคณะปกครองเมืองเชียงรายประกอบด้วย เจ้าหลวง  (มีฐานะเป็นเจ้าเมือง)  และผู้ช่วยอีก 4 ตำแหน่ง  คือ  พระยาอุปราช  พระยาราชวงศ์  พระยาราชบุตร  พระยาบุรีรัตน์13
พ.ศ.  2413  ในสมัยรัชกาลที่ 5  เจ้าอุปราช  เจ้าราชวงศ์  นครเชียงใหม่  มีใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพฯ ว่า  พม่า  ลื้อ  เขิน  เมืองเชียงตุง  ประมาณ  300  ครอบครัว  มาอยู่เมือง เชียงแสนตั้งตัวเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของไทย จึงให้อุปราชแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยจากราชอาณาจักรถ้าอยากจะตั้งอยู่ให้อยู่ ในบังคับบัญชาเมืองเชียงรายและนครเชียงใหม่  แต่ก็ไม่ได้ผล  เพราะพวกนั้น ไม่ยอมออกไป  พ.ศ.  2417  เจ้าอินทวิไชยยานนท์  เจ้านครเชียงใหม่เกณฑ์กำลัง จากเชียงใหม่  นครลำปาก  เมืองลำพูน  มีไพร่ทั้งสิ้น 4,500  คน  ยกจากเชียงใหม่มาเชียงรายและเชียงแสน  ไล่ต้อนพวกนั้นออกจาก เชียงแสน  จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้างไประยะหนึ่ง  จวบจนถึง ปี  พ.ศ.  2423  จึงได้ให้  เจ้าอินต๊ะ  บุตรเจ้าบุญมา  (เจ้าบุญมาเป็นน้อง ของเจ้ากาวิละ  เจ้านครเชียงใหม่)  เจ้าผู้ครองเมืองลำพูน เป็นหัวหน้า นำราษฎรเมืองลำพูน  เชียงใหม่  ประมาณ  1,500  ครอบครัว  ขึ้นมาตั้งรกราก “ปักซั้งตั้งถิ่น”  อยู่เมืองเชียงแสน  นับเป็นการ  สร้างบ้านแป งเมือง  ครั้งใหญ่ของเมืองเชียงแสน  กลุ่มที่อพยพมารุ่นแรกได้มาตั้งถิ่นฐาน ทำกินอยู่เรียงรายตามลำแม่น้ำแม่คำ  ตั้งแต่บ้านแม่คำ  บ้านห้วยน้ำราก  จน ถึงเขตเชียงแสน  ตลอดถึงบ้านกว๊านบุญเรือง  ในเขตประเทศลาวปัจจุบัน
ต่อมา  เจ้าอินต๊ะ  ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร  เป็นพระยาราชเดช ดำรง  ตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงแสน  สมัยนั้นการปกครองล้านนาเฉพาะมณฑลพายัพ เหนือ  มีเจ้าเมืองบริเวณหัวเมืองมี  5  ชื่อ  ประจำเมืองต่าง ๆ คือ
                   พระยาประเทศอุตรทิศ                         เจ้าเมืองพะเยา
                   พระยามหิทธิวงศา                             เจ้าเมืองฝาง
                   พระยารัตนเขตต์                               เจ้าเมืองเชียงราย
                   พระยาราชเดชดำรง                            เจ้าเมืองเชียงแสน
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:33:25 »

อำเภอที่มีชาวยองอาศัยมากที่สุดก็จะมี อำเภอแม่จัน รองลงมาแม่สาย และเชียงแสน กับเมืองพานครับ ตะก่อนเปิ่นบอกว่ามากับเจ้าอิ๊นต๊ะแห่งละพูนร้อยกว่าปีที่แล้ว กับชาวยองละพูนที่จะกลับไปฟื้นเมืองยองแต่ไปบ่าผด เลยลงตั้งเหียที่ราบเชียงแสนแม่จันตราบจนปัจจุบันนี้  ดังนั้น ประเพณี ภาษาอู้จะไปคล้ายกับคนทางหละปูนเป็นส่วนมาก และก็มีเชียงใหม่ด้วย ซึ่งจะต่างกับเชียงรายในอำเภออื่นที่จะมีจารีตแบบเชียงราย พะเยา อย่างเช่นการกิ๋นสลาก งานปอยหลวง งานศพ ซึ่ง เขตแม่จัน เชียงแสน มักจะมีสล่าปราสาทศพเยอะมากที่สุดในเชียงราย แลัราคาก็ย่อมเยาด้วย

ปัจจุบันนี้ คนเฒ่าเก่าๆเปิ่นก็ยังเตียวไปหาญาติพี่น้องทางหละปูนกันอยู่ครับ บ่ว่าจะมีงานศพ ก็ดี งานจะหลอง(ปอยหลวง) ก็ดี ก็มักจะหันญาติพี่น้องสายหละปูนมากันเป็นลำรถ แล้วคนละปูนก้จะเรียกคนที่มาจากเขตนี้ว่า  จาวเจียงแสน ครับ บ่าว่าจะมาจากแม่จันก็ดี แม่สายก็ดี เจียงแสนก็ดี ก็จะฮ้องรวมๆว่า จาวเจียงแสนครับ


* 1006201318448fe4e5c07b006f.jpg.thumb.jpg (115.33 KB, 424x500 - ดู 1559 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:34:18 »

วิถีคนยอง


* 100616174578700a0907744d90.jpg.thumb.jpg (159.48 KB, 500x375 - ดู 1513 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:34:58 »

ต่อครับ


* 1006171221fe4c07169bd9f0c4.jpg.thumb.jpg (178.08 KB, 376x500 - ดู 1519 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:36:30 »

ปั่นด้าย


* 1006171221703b93d829274b6e.jpg (70.54 KB, 400x300 - ดู 1456 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:37:06 »

ตอผ้าตอตุง


* 10061712219587be3c015cd31b.jpg (79.66 KB, 400x300 - ดู 1443 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 20 กรกฎาคม 2010, 12:37:44 »

พระธาตุจอมยอง


* 1006161742cb6f67c958a1d00e.jpg.thumb.jpg (113.54 KB, 375x500 - ดู 1454 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
SUWANSRI
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 21 กรกฎาคม 2010, 11:42:25 »

อู้ถึงคนยอง ชาติพันธุ์นี้ถ้าจะนักสุดในแผ่นดินล้านนาละน่อเจ้า ผ่อตังหละปูน ร้อยละ 90 น่าจะเป๋นคนยองหมดนาเจ้า สรียินดีจั๊ดนักเจ้า
IP : บันทึกการเข้า
cr_yong
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 117



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 30 กรกฎาคม 2010, 21:28:30 »

สมัยนั้นเป๋นฮ้องว่า ยุค เก็บผักใส่ส้าเก็บข้าใส่เมืองครับ เพราะก่อนหน้านั้นพม่าก็ได้กวาดต้อนพลเมืองของล้านนาไปไว้ที่ อังวะและพุกาม เป็นจำนวนมากอยู่เหมือนกัน
IP : บันทึกการเข้า
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 31 กรกฎาคม 2010, 01:30:36 »

ยองในเชียงรายถือว่า้ป็นยุคหลังเก็บผักใส่ซ้าครับ เพราะระเวลาประมาณ๑๓๐ ปีมานี้คิอราวๆ ๒๔๒๓ ครับ สทัยที่เจ้าอินทะหละพูนนำชาวละพูนมาฟื้นเชียงแสน ครับ ส่วนมากที่มาในรุ่นนั้นมักจะเปนชาวยองลำพูน
IP : บันทึกการเข้า
AKKCHA
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 254


เลี้ยงงูพิษ ดีกว่าคบคนไม่ซื่อ


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2010, 22:23:43 »

ขอบคุณคับ สำหรับความรู้ดีๆเกี่ยวกับชาวยองๆวันหลังมีเรื่องเกี่ยวกับชาวยองมาแบ่งปันกันหน่อยคับ
ยอง     แม่เปินครับ
IP : บันทึกการเข้า

ผู้ที่ยืน เขย่งบนปลายเท้า เพียงเพื่อจะให้อยู่เหนือผู้อื่น
                  ย่อมยืนอยู่ไม่ได้นาน
           จุดยืนของเราทุกคนอยู่ที่  ส้นตีน
danai_nat
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 05 สิงหาคม 2010, 21:37:26 »

สมัยตะก่อนนั้น เมิงพานนั้นปินเมิงขึ้นของหละปูนครับ เป็นอาณาเขตของเวียงละพูนครับก็เลยมียองเคลื่อนย้านมาอยุ่ครับสมัยใกล้เคียงกันกับทางเชียงแสนแม่จันครับ
IP : บันทึกการเข้า
tanachote
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11


0856886227


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 02 กันยายน 2010, 20:21:33 »

ขอบคุณนักๆกับความฮู้ดีๆครับ เกี่ยวกับจาวยองเฮา
  ลูกคนยอง บ้านหวาย อ.ป่าซาง จ.หละปูนครับ
                           
IP : บันทึกการเข้า

เมื่อใจรัก....ก้อไม่ยากนักที่จะไข่วคว้า.....
150 cc.
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 309


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 04 กันยายน 2010, 01:46:08 »

อุ๊ยผมก่เป๋นยองครับ  อยู่บ้านป่าป๋วยลำพูนครับ  ผมก่เลยกลายเป๋นลูกครึ่งไปเลยครับ  อิอิ
IP : บันทึกการเข้า
>:l!ne-po!nt:<
~: ดาบราชบุตร :~
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,257

~>: แขกดอย :<~


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 06 กันยายน 2010, 20:41:57 »

หยักในสมองเพิ่มแหม ๑ เส้น  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

!!!!!  กว่า ๑,๑๐๐ กม.จากยอดดอยสู่ทะเล...ตะวันออก  !!!!!

www.facebook.com/1100kilometer

||||| ธรรมชาติสร้างอากาศบริสุทธิ์    ส่วนมนุษย์นั้นสร้างอาวุธเพื่อทำลาย |||||
ngaidai
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 371



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 07 กันยายน 2010, 13:45:05 »

ขอบคุณครับ ข้อมูลเเน่นดีครับ ชาวยองแยกย้ายไปหลายที่
IP : บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!