เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 02:38:58
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 [3] 4 5 พิมพ์
ผู้เขียน คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ  (อ่าน 18526 ครั้ง)
corolado4
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,835


บ้านสวน ดอยพระบาท11 (ธารน้ำกรณ์2)


« ตอบ #40 เมื่อ: วันที่ 12 มิถุนายน 2012, 08:48:02 »

ห้วงนี้ก็มีงานสำคัญด้วยนะครับ สังเกตุตามท้องถนนจะมีตุง โคมติดเรียงรายไปทั่วเมือง
11-15 มิ.ย.55   MTF 2012  การประชุม  Mekong Tourism Forum 2012   
ประชุมโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
มีประเทศสมาชิกมาร่วมหกประเทศมาร่วม  (กัมพูชา  จีนยุนนาน ลาว เมียนมาร์ เวียตนาม)
ภาครัฐของแต่ล่ะประเทศก็มีผู้แทนมาร่วม ยอดประมาณ 450 คน
12 ผู้เข้าร่วมประชุม เดินทางเข้าพื้นที่ เข้าพัก ดุสิตไอร์แลนด์ฯ  เลี้ยงต้อนรับที่ ไร่แม่ฟ้าหลวง
13 พิธีเปิด ผวจ ชร กล่าวต้อนรับ  , ปาฐกถาพิเศษ โดย มรว ดิศนัดดา ฯ ,ชมนิทรรศการฯ
    บรรยาย Protecting the Jewels of the Mekong , Comunity Base Tourism by Inter
    nationale Reserch for Development Centre (CBT-IRDC)
    บรรยาย Mekong Tourism, Then and  Now  , แนวโน้มการท่องเที่ยวจากตะวันตก
14 การเสวนา Positioning the Mekong in the Global Travel Market , Mapping the
    Future of Mekong Tourism , Team rotation and cross discussions  ,
    New Directions  in Responsible Tourism Development in Myanmar , Voice of the
    Future - Where  Do  We  Go from Here?  ,  สรุปผลการประชุม
15  นำแขกต่างชาติเที่ยวทัวร์เชียงราย
...แจ้งมาให้ทุกท่านทราบ เพื่อการต้อนรับที่ดี ให้ภาพเชียงราย(ที่ดีที่สุด) ให้เขานำไปชักพา
คนของเขามาเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ...ละเว้นสิ่งไม่ดีไว้หน่อยนึง...อดเอา...
IP : บันทึกการเข้า

Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #41 เมื่อ: วันที่ 13 มิถุนายน 2012, 22:30:56 »

ห้วงนี้ก็มีงานสำคัญด้วยนะครับ สังเกตุตามท้องถนนจะมีตุง โคมติดเรียงรายไปทั่วเมือง
11-15 มิ.ย.55   MTF 2012  การประชุม  Mekong Tourism Forum 2012  
ประชุมโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
มีประเทศสมาชิกมาร่วมหกประเทศมาร่วม  (กัมพูชา  จีนยุนนาน ลาว เมียนมาร์ เวียตนาม)
ภาครัฐของแต่ล่ะประเทศก็มีผู้แทนมาร่วม ยอดประมาณ 450 คน
12 ผู้เข้าร่วมประชุม เดินทางเข้าพื้นที่ เข้าพัก ดุสิตไอร์แลนด์ฯ  เลี้ยงต้อนรับที่ ไร่แม่ฟ้าหลวง
13 พิธีเปิด ผวจ ชร กล่าวต้อนรับ  , ปาฐกถาพิเศษ โดย มรว ดิศนัดดา ฯ ,ชมนิทรรศการฯ
    บรรยาย Protecting the Jewels of the Mekong , Comunity Base Tourism by Inter
    nationale Reserch for Development Centre (CBT-IRDC)
    บรรยาย Mekong Tourism, Then and  Now  , แนวโน้มการท่องเที่ยวจากตะวันตก
14 การเสวนา Positioning the Mekong in the Global Travel Market , Mapping the
    Future of Mekong Tourism , Team rotation and cross discussions  ,
    New Directions  in Responsible Tourism Development in Myanmar , Voice of the
    Future - Where  Do  We  Go from Here?  ,  สรุปผลการประชุม
15  นำแขกต่างชาติเที่ยวทัวร์เชียงราย
...แจ้งมาให้ทุกท่านทราบ เพื่อการต้อนรับที่ดี ให้ภาพเชียงราย(ที่ดีที่สุด) ให้เขานำไปชักพา
คนของเขามาเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ...ละเว้นสิ่งไม่ดีไว้หน่อยนึง...อดเอา...
ขอบคุณครับลุงโด้ ที่มาแจมกัน ยิงฟันยิ้ม
เพิ่มอีก ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
-ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดีเนื่องจาก จะมีขยะจำนวนมากขึ้น ปัญหาการแบ่งชนชั้นถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างชาติที่ด้อยกว่า อาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้ อาจมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น เช่น อาจมี พม่าทาวน์ ลาวทาวน์ กัมพูชาทาวน์ ปัญหาอาชญากรรมจะรุนแรง สถิติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นมาก จากชนชั้นที่มีปัญหา คึนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย

(เครดิต กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 21:47:36 โดย CK 401 » IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #42 เมื่อ: วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 21:46:43 »

ต่ออีกหน่อย อิอิ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
การขนส่งที่เปลี่ยนแปลง East West Economic Corridor(ZEWEC )
-จะมีการขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม. อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียดนาม 84 กม.
 เส้นทางเริ่มที่เมืองท่า ดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านเมืองเว้ เมืองลาวบาว ผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในประเทศลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัด มุกดาหาร ผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุดเขตที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นเข้าไปยังประเทศพม่าไปเรื่อยๆถึงอ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำใยหรือ มะละแหม่ง เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่อินเดีย
 มันจะมีผลดีคือ การขนส่ง logistic ในAECจะพัฒนาอีกมาก และจากการที่ไทยอยู่ตรงกลาง จะทำให้เราขายของได้มากขึ้น เพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางซ้ายก็ได้ทางขวาก็ได้ ที่ดินบริเวณดังกล่าวในไทยเตรียมขึ้นราคาได้้เลย
 และพม่ายังมี mega project ทวาย (ศูนย์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ท่าเรือขนาดใหญ่)ที่เส้นทางสอดคล้องกับ East Economic Corridor โดยทะวายจะกลายเป็น 1 ทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญต่ออาเซี่ยน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้อง
ใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปร์เจกต์ทวายนี้ ยังเป็นต้นทางรับสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรป และตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าช ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรฯเคมี ในพื้นที่ โปรเจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยไปยังประเทศอินโดจีน เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา  และไปสิ้นสุดปลายทางที่ท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเซ๊ยตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม



เครดิต กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #43 เมื่อ: วันที่ 15 มิถุนายน 2012, 20:43:42 »

ตกอีกแระ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
corolado4
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,835


บ้านสวน ดอยพระบาท11 (ธารน้ำกรณ์2)


« ตอบ #44 เมื่อ: วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 11:37:06 »

http://www.chiangraifocus.com/news/details.php?id=2166
  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดจะจัดสัมมนา
“เตรียมความพร้อมท่องเที่ยวไทย ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community: AEC)
เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีความรู้
และความเข้าใจในยุทธศาสตร์การส่งเสริมการตลาด การลงทุน การพัฒนาสินค้าและบริการ แ
ละมาตรการต่างๆ สำหรับเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และเตรียมความพร้อมรองรับ
การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ ห้องดอยตุง
โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์รีสอร์ท เชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย
การจัดสัมมนาในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจาก ๘ จังหวัดในภาคเหนือด้วยกัน
ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน ตาก และจังหวัดน่าน
ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมประมาณ ๒๕๐ คน

...กำหนดการอยู่ในลิงค์...เข้าไปมีส่วนร่วมกันเยอะๆนะครับ...
..ดันไว้จนกว่าจะถึงปี ๒๕๕๘...
IP : บันทึกการเข้า

boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #45 เมื่อ: วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 19:13:26 »

วันนี้ไปฟังเสวนา เรื่องเปิดมิติ เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่พม่า : ที่มา ที่ไป และที่เป็น ของสถาบันเอเซียศึกษา จุฬาฯ
โดยมี พลเอกนิพนธ์ ทองเล็ก ผู้อำนวยการสำนำนักนโยบายและแผนกกลาโหม กระทรวงกลาโหม.. ซึ่งพลเอกนิพนธ์ท่านสนิทสนมกับท่านนายพลตานฉวย กว่า 13 ปี ท่านมองว่า เหตุผลที่สำคัญที่พม่าย้ายเมืองหลวง ทำให้ลูกหลาน ถ้าสหรัฐ มีวอชิงตันดีซี มาเลเซียมีเมืองหลวงใหม่ พม่าก็มีศูนย์ราชการใหม่เป็นศูนย์กลางราชการได้เหมือนกัน ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีความคิดย้ายเมืองหลวงไปที่เพชรบูรณ์เหมือนกันสมัย จอมพล ป. เพื่อความมั่นคงภายใน ป้องกันจอมตีจากภัยคุกคาม



พลเอกนินธ์ ท่านเล่าพร้อมกับฉายภาพ เมืองหลวงใหม่ของพม่าสถานที่ต่างๆ พร้อมกับบรรยายความยิ่งใหญ่ของเมืองหลวงใหม่แห่งนี้...

เมืองหลวงใหม่ของพม่า สิ่งที่ขาดไม่ได้คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง คือ เจดีย์เลียนแบบมหาเจดีชเวดากอง แต่เจดีย์นี้มีความสูงน้อยกว่า 1 ฟุต ชื่อเจดีย์..อุปสันติ

่ท่านเล่าว่า วันหนึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้าเมืองเนปิดอว์ เพื่อมาแวะเวียนชมไม่ต่ำกว่า 3000 คน ซึ่งบ้านเมืองแห่งนี้ศูนย์ราชการ ถนนหนทางโอ่อ่า สวยงามและมีอัตลักษณ์ศิลปะพม่า...โดยสถานที่ที่คนส่วนใหญ่ไปเยี่ยมชมพร้อมกัยท่านฉายภาพให้ดู..ในงานเสวนา คือ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ทำเนียบประธานาธิบดี ลานสวนสนาม (วันที่4 ม.ค.วันชาติพม่า) สนามบินแห่งใหม่...ทางด่านจากย่างกุ้ง ซึ่งนานๆครั้งกว่าจะมีรถผ่าน (ท่านเล่าติดตลก)

ส่วนนโยบายท่าที ของนโยบายของพม่า ต่อโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ การประชุม
Shangri La dialogue ที่สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพประชุม..
็Hha min กล่าวว่า ท่าทีบนเวที สังคมโลกตะวันตกสัมพันธ์กับพม่า-เกาหลีเหนือ การที่พม่าลดระดับความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ โดยมีประเด็นเรื่องความเกี่ยวพันธ์กับนิวเคลียร์ โดยพม่ายอมรับว่าที่ผ่านมามีการเริ่มเจริง ในสมัยก่อน แต่มันเป็นไปเพื่อการพัฒนาความรู้ ...
การปาฐกถา ครั้งนี้เป็นการเปิดเผยตัวตนของพม่า เพื่อเปิดประเทศ อย่างแท้จริง...

ผมขอทานข้าวก่อน แล้วจะมาเขียนต่อ จากนักวิชาการที่ผมนั่งฟัง 3 ท่านที่เชี่ยวชาญเรื่องพม่า
รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ท่านเล่าถึงสาเหตุของการย้ายเมืองหลวงแต่ละสมัย..(อ.สุเนตรท่านเป็นผอ.สถาบันเอเซียศึกษาและเชียวชาญเรื่องพม่า และเขียนหนังสือตำนานสมเด็จพระนเรศวร ที่เราดูๆกัน)
คนที่สอง คุณเกียรติชัย พงษ์พาณิชณ์ เป็นสื่ออิสระ..ท่านพูดเกี่ยวกับเนปิดอว์ถึงประชาคมอาเซียน..
คนที่สามเจ้าของหนังสือเล่มนี้..ซึ่งท่านจะมาเล่าเรื่องเนปิดอว์แบบเจาะลึก ทฤษฎีทางภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิยุทธศาสตร์ เรื่องราวการเมืองแรงกดดัน สาเหตุแห่งการย้ายเมืองหลวง

ผมไปทานข้าว และอ่าน สังเคราะห์เนื้อหา ผมได้มาวันนี้วันแรกผมอ่านใกล้จบแล้ว..สนุก มีเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย..^^

IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #46 เมื่อ: วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 19:18:26 »

เชียงราย - ชำแหละศักยภาพ “ไทย” ใน AEC พบน่าห่วงสุด เทียบเม็ดต่อเม็ดแล้วมีดีแค่ “ความสะดวกในการลงทุน” ที่ล่าสุดเปิดให้ทุน ตปท.ถือหุ้นในกิจการขนส่งได้ถึง 70% หรือเป็นเจ้าของได้แล้ว ส่วนเรื่องภาษา-ทรัพยากรธรรมชาติ-โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ตกสำรวจหมด แถมนโยบายค่าแรง 300 บาทต่อวันกระหน่ำซ้ำ ทำ SMEs แบกเพิ่ม 2.7 หมื่นล้าน
       
       วันนี้ (19 มิ.ย.) กรมส่งเสริมการส่งออกและศูนย์เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการสัมมนาแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและย่อม หรือ SMEs ภายใต้ชื่อ “เปิดโลกการค้ายุคใหม่สู่ AEC ฉบับ SMEs” ที่ห้องเรือนตุง โรงแรมอิมพิเรียล ริเวอร์เฮ้าส์ อ.เมืองเชียงราย
       
       โดยมีนายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิด และมีวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิร่วมขึ้นเวทีหลายคน ได้แก่ นายกรกฎ ผดุงจิตต์ รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, Mr.Craig Anczelowitz นักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับสากล, ดร.ชลฤทธิ์ เหลืองจินดา ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบมหาวิทยาลัยศิลปากร, ดร.สุเทพ นิ่มสาย ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
       
       นายกรกฎกล่าวว่า ไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) 10 ประเทศในปี 2558 เป็นต้นไป ซึ่งต่อไปการมองภาคเศรษฐกิจต้องมองเป็นองค์รวมไม่ใช่แค่ประเทศที่มีประชากร 64 ล้านคนอีกต่อไป แต่คือกลุ่มประเทศที่มีประชากรรวมกันกว่า 580 ล้านคน
       
       นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมอีก 6 ประเทศ คือ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจะทำให้มีประชากรรวมกันกว่า 3,300 ล้านคน หรือเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรโลกทีเดียว
       
       กรณีของอีก 6 ประเทศก็สำคัญเช่นกัน เพราะทันทีที่กลุ่ม AEC ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2558 ไทยก็จะลดภาษีกับออสเตรเลียเหลือ 0% ในสินค้าถึง 98% ของสินค้าทั้งหมด และค่อยๆ ทำกับประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย ในปี 2561 เป็นต้น
       
       นายกรกฎกล่าวอีกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วภาคเอกชนต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ขณะที่ภาครัฐจะเป็นฝ่ายสนับสนุน โดยเฉพาะด้านการออกกฎหมายรองรับภายในประเทศและเจรจากับต่างประเทศ เช่น ข้อตกลงอาเซียน-จีน ที่ให้รถบรรทุกเข้าออกผ่าน อ.เชียงของ จ.เชียงราย ไปจีนตอนใต้ ซึ่งมีการค้าขายกันเป็นประจำได้ 500 คัน ซึ่งก็มีเพียงข้อตกลงกัน แต่สิ่งอำนวยความสะดวกและกฎระเบียบอื่นๆ ยังต้องดำเนินการต่อไป ทั้งเรื่องการประกันภัยและอื่นๆ เป็นต้น
       
       รวมทั้งยังต้องดูเรื่องภาษีระหว่างประเทศ เพราะการลดภาษีเป็น 0% หรือ FTA (Free Trade Area) แท้ที่จริงเป็นเสรีหลอกตา เพราะยังมีเงื่อนไขอีกมากก่อนที่จะเอื้อให้สามารถทำการค้าการลงทุนให้สะดวก โดยเฉพาะแต่ละประเทศยังมีสินค้าอ่อนไหวสูง เช่น อินโดนีเซียกำหนดให้ข้าวเป็นสินค้าอ่อนไหวสูง จึงให้ลดภาษีจากเดิม 30% เป็น 20% มาเลเซียลดจาก 40% เป็น 20% ส่วนฟิลิปปินส์ อยู่ระหว่างเจรจากับไทย หลังจากเดิมกำหนดจัดเก็บ 40% และกำหนดโควตานำเข้า 350,000 ตัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสินค้าอ่อนไหวของแต่ละประเทศอีกเป็นจำนวนมากด้วย
       
       นายกรกฎกล่าวต่อว่า ด้านมาตรฐานสินค้าก็สำคัญ เช่น ปัจจุบันพบว่าผลิตภัณฑ์ตำรับยาพื้นบ้านของอินโดนีเซียจดทะเบียนสินค้ามากกว่าของไทยเสียอีก และถ้าเปิดตลาดกันก็จะมีสินค้าในทะเบียนของอินโดนีเซียอยู่เต็ม จึงจำเป็นที่ภาครัฐของไทยจะต้องเร่งดำเนินการ ไม่เช่นนั้นจะแย่หนัก
       
       ด้านลอจิสติกส์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมประเทศไทยเปิดให้คนไทยถือหุ้นในธุรกิจลอจิสติกส์ได้ 51% และต่างชาติ 49% แต่ปัจจุบันจะเปลี่ยนให้ต่างชาติถือหุ้นได้กว่า 70% ซึ่งตามหลักก็คือ เป็นเจ้าของธุรกิจที่ทำธุรกรรมต่างๆ ได้นั่นเอง ดังนั้น ลอจิสติกส์จึงเป็นธุรกิจของอาเซียนลำดับแรกๆ ไปแล้ว
       
       “ส่วนอาชีพที่เกรงกันว่าจะเปิดเสรีกันหมดทั้ง AEC นั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะแท้ที่จริงเปิดเสรีแค่ 7 อาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ และนักบัญชี ซึ่งการจะทำงานข้ามประเทศก็ต้องมีการสอบกันด้วย โดยเฉพาะเรื่องภาษา และกรณีของไทยก็อาจจะยากขึ้นมาหน่อยเพราะต้องสอบได้ภาษาไทยด้วย" นายกรกฎ กล่าว
       
       เขายังระบุถึงศักยภาพของแต่ละประเทศใน AEC ว่า ประเทศไทยถือว่าน่าเป็นห่วงและต้องปรับตัวยกใหญ่ เพราะเมื่อเทียบหลายๆ เรื่องถือว่าด้อยกว่าทุกประเทศ เช่น ภาษาที่ใช้สื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ พบว่า สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน มีศักยภาพมากที่สุด, ทรัพยากรพบว่า พม่ามีมากที่สุด, เทคโนโลยี สิงคโปร์มีมากที่สุด โครงสร้างพื้นฐาน สิงคโปร์ มาเลเซีย มีศักยภาพมากที่สุด, อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา มีมากที่สุด, ขนาดตลาดในประเทศ พบว่าฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มีมากที่สุด, ต้นทุนการส่งออก พบว่าสิงคโปร์ และมาเลเซียมีมากที่สุด
       
       ขณะที่ไทย มีเพียงความสะดวกในการตั้งธุรกิจเท่านั้นที่มีมาก แต่ก็อยู่ในระดับเดียวกับสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนความสะดวกในสินเชื่อและ SMEs ก็ยังสู้ประเทศอื่นๆ ไม่ได้เช่นกัน
       รองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวด้วยว่า ยังมีอีกหลายเรื่องที่จะต้องศึกษาใน AEC ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายอาจจะยังไม่รู้ เช่น ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในอาเซียนคือภาษาบาซา โดยใช้มากที่สุดในอินโดนีเซียที่มีประชากร 280 ล้านคน มาเลเซีย 40 ล้านคน และยังใช้ในสิงคโปร์ บรูไน และภาคใต้ของไทย ปัจจุบันประเทศเวียดนามเริ่มให้เรียนภาษานี้กันแล้ว
       
       ส่วนการค้าการลงทุนก็พบว่าเริ่มเห็นผลบ้างแล้ว โดยพบว่ากลุ่มทุนของมาเลเซียเข้าไปลงทุนผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอในประเทศกัมพูชา โดยนำเข้าวัตถุดิบจากไทย หรือจีน และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออก เพราะที่กัมพูชามีต้นทุนค่าแรงต่ำแค่วันละ 2 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 80 บาท ส่วนไทยกลับเพิ่มค่าแรงเป็นวันละ 300 บาทเสียอีก ซึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากนโยบายนี้คือกลุ่ม SMEs เพราะค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 36,000 ล้านบาท กลุ่ม SMEs ต้องจ่ายถึง 27,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นของกลุ่มทุนใหญ่

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000075001
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
~KT 2 U~
สมาชิกลงทะเบียน
ระดับ :ป.โท
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,601


♥ แม่ค้าออนไลน์ ผู้ซึ่งเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ♥


« ตอบ #47 เมื่อ: วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 19:39:08 »

อยากเป็นนักธุรกิจ ต้องกล้าได้ กล้าเสี่ยง กล้าเสีย แต่ถ้ากล้ามากไป ก็จะเสียเอาง่ายๆ ก็ขอให้ผู้ใหญ่ศึกษาและตรองเกี่ยวกับระบบ สัญญาอะไรต่างๆ ให้ดีก่อนแล้วกันค่ะ

คงไม่ยากเกินไปถ้าไทยจะอัพเกรด ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

Temujin
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,998


** แบ่งปัน ไม่แบ่งแยก..แตกต่าง ไม่แตกแยก แตกหัก **


« ตอบ #48 เมื่อ: วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 19:54:14 »

  เรื่องค่าแรง   สำหรับผมไม่ถือว่าเป็นปัญหาสำหรับ  AEC กลับเป็นผลดีเสียอีกที่กระดุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ไม่ต้องพึ่งการส่งออกอย่างเดียว

จะธุรกิจ SMEs หรือธุรกิจอะไร ก็ต้องปรับตัวให้อยู่ได้   ดูอย่าง พี่สิงห์  พี่เสือ เราซิ  ค่าแรงมากกว่าเราตั้งหลายเท่ายังอยู่ได้เลย

และพร้อมสำหรับการแข่งขันนี้  ไม่เห็นเขาออกมาบ่นเลย  มันเป็นข้อแก้ตัวสำหรับคนที่เสียประโยชน์ มักง่าย และไม่รับผิดชอบมากกว่า


ปล. ไปเปิดดูผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนไตรมาศแรกดู  ว่ากำไรเท่าไหร่  จะกดกันไปถึงไหน...? รวมทั้งรัฐก็ลดภาษีให้แล้ว ..
IP : บันทึกการเข้า

สัตว์มีสัญชาตญาณ   มนุษย์มีวิตจารณญาณ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ (หลัก กาลามสูตร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3)
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #49 เมื่อ: วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 21:38:11 »

ขอบคุณทุกท่าน ลุงโด้ น้องโก น้องแต ท่านเตมูจิน ที่เข้ามาแจมกันครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #50 เมื่อ: วันที่ 21 มิถุนายน 2012, 19:12:42 »

ชียงราย - พาณิชย์โหมเปิดเวทีปลุกคนไทยเตรียมพร้อมรับ AEC และ FTA เผยวันนี้ยังมีเพียงทุนใหญ่ได้ประโยชน์ ขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยยังไม่สนใจเท่าที่ควร รับคนไทยน่าห่วงเรื่องภาษามากที่สุด
       
       วันนี้ (21 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมโรงแรมโพธิ์วดล รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.เชียงราย นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ผอ.สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “ส่งออกสดใสภายใต้ FTA : อาเซียน จีน และเปรู” และมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมการค้าต่างประเทศร่วมให้ข้อมูล โดยมีภาคธุรกิจ นักศึกษา และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
       
       นายพิทักษ์ระบุว่า ปัจจุบันไทยยังมีการส่งออกสินค้าปีละกว่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 60-70% ของรายได้ประชาชาติ ตลาดใหญ่ที่สุดคือ กลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งมีประชากรกว่า 580 ล้านคน ขณะที่กลุ่มอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC (ASEAN Economic Community) ตั้งแต่ปี 2558 หรืออีกเพียง 3 ปีนับจากนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก รวมทั้งอาเซียนยังจัดทำเขตการค้ากับกลุ่มประเทศอื่นๆ 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ด้วย
       
       โดยเฉพาะกับจีนมีข้อตกลงที่มีผลไปแล้วตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลทำให้มีการลดภาษีเป็น 0% มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 55 ที่ผ่านมาสินค้าที่ส่งออกจากประเทศสมาชิกอาเซียนกว่า 200 รายการ เช่น ยานยนต์และอุปกรณ์ เครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ฯลฯ มีการยกเว้นภาษีเป็น 0% แล้ว
       
       นอกจากอาเซียนบวก 6 ดังกล่าวแล้ว อาเซียนยังทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศเปรูในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2554 ทำให้สินค้าไทยได้ลดภาษีเป็น 0% ทันที 3,400 รายการ ซึ่งสามารถใช้เปรูเป็นประตูสู่กลุ่มประเทศอื่นๆ ในทวีปดังกล่าวอีกด้วย
       
       อย่างไรก็ตาม ประโยชน์จากข้อตกลงต่างๆ จะได้รับมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ และขั้นตอนการใช้สิทธิทางการค้า ดังนั้น กรมการค้าต่างประเทศจึงเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสัมมนาในครั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลแก่ภาคเอกชนและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยจะทำหน้าที่เป็นโค้ชหรือผู้ให้การช่วยเหลือภาคเอกชนที่จะส่งออกสินค้า เพราะเมื่อเอกชนผลิตสินค้าออกมาแล้วก็อาจจะมองไม่ออกว่าสินค้าใดเหมาะสมกับประเทศในกลุ่มข้อตกลง และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไรภายใต้ 3 หน่วยงานที่ทำงานร่วมกันของกระทรวงพาณิชย์ คือ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก และกรมการค้าต่างประเทศดังกล่าว
       
       นายพิทักษ์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการส่งเสริมกลุ่มประชาชนไปแล้วหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มสับปะรดนางแล ซึ่งสามารถส่งเสริมสินค้าที่ได้คุณภาพและส่งออกไปถึงประเทศญี่ปุ่น กลุ่มลิ้นจี่ จ.พะเยา เป็นต้น
       
       ด้านนางสุภาวดี ไชยานุกุลกิตติ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญพิเศษ สำนักงานสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ข้อตกลงที่ใกล้ตัวคนไทยมากที่สุดในปัจจุบันคือ AEC เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านของไทย แต่จากข้อมูลจากหลายฝ่ายรวมทั้งสื่อมวลชนทำให้ทราบว่าผู้ที่มีความเข้าใจยังคงเป็นบรรษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆ แต่ประชาชนหรือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไปยังต้องปรับตัวยกใหญ่ จึงไม่น่าแปลกใจที่ในช่วงนี้จะมีหน่วยงานองค์กรต่างๆ จัดการประชุมสัมมนาเรื่อง AEC กันอย่างต่อเนื่อง
       
       “ที่สำคัญข้อมูลจากหลายฝ่ายที่พบและน่าเป็นห่วงยังคงเป็นเรื่องภาษา”
       
       นางสุภาวดีบอกอีกว่า หลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีการลงนามข้อตกลงกันไปแล้วว่าให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ปรากฏว่าคนไทยมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นอันดับท้ายๆ ของอาเซียน น้อยกว่าสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และ สปป.ลาว ผลการศึกษายังพบว่า นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านเมื่อเรียนจบแล้วอยากจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยด้วย ทำให้มีการเรียนภาษาไทยกันยกใหญ่ รวมทั้งได้ติดตามสื่อโทรทัศน์ของไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนกลุ่มนี้ได้ 3 ภาษา คือ ภาษาถิ่นของตัวเอง ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ดังนั้นประเทศไทยเราจึงต้องปรับตัวให้มากขึ้น
       
       นางสุภาวดีกล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องการค้าการลงทุนแล้วหน่วยงานต่างๆ ถือว่ามีความพร้อมในการให้บริการภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องความรู้และข้อมูลต่างๆ เช่น กรณีภาษี 0% ใน AEC ยังยกเว้นสินค้าอ่อนไหวมาก เช่น ข้าว น้ำตาล ฯลฯ แต่จะใช้การเจรจาระหว่างสองประเทศที่เป็นคู่ค้ากัน โดยไทยจะเสียเปรียบมากที่สุดเพราะเคยส่งออกสินค้าหลายอย่างไปประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะน้ำตาลไปอินโดนีเซีย แต่อินโดนีเซียกำหนดเป็นสินค้าอ่อนไหวมาก จึงตกลงให้นำเข้าได้ปีละ 5.5 แสนตัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสินค้าอ่อนไหวแต่ก็ถือว่าลดภาษีลงมากจนไม่เกิน 5% แล้ว
       
       รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การสัมมนายังจัดให้มีการให้ความรู้เรื่อง FTA อาเซียน-จีน : โอกาสการค้าในตลาดจีน, เพิ่มโอกาสของสินค้าไทยในตลาดเปรูด้วยสิทธิ FTA, อภิปรายสารพันปัญหาที่พบบ่อย และกองทุน FTA ก่อนจะมีการจัดคลินิกไขข้อข้องใจการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000076129
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #51 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2012, 19:14:32 »

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ตั้งเป้านักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเชียงราย 4 ล้านคน ก่อนเปิดเออีซี ปี 2558

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ระบุ ตั้งเป้าผลักดันนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเชียงราย 4 ล้านคน ก่อนเปิดเออีซีปี 2558
นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จุดแข็งของจังหวัดเชียงรายในการเปิด เออีซี ปี 58 ที่มีความแตงต่างจากจังหวัดอื่นคือ การเป็นประตูเชื่อมต่อของ 3 ประเทศ คือ พม่า ลาวและจีนตอนใต้(ยูนาน) ซึ่งถือเป็นยุทธ์ศาสตร์สำคัญที่จะเชื่อมต่อเดินทางไปยังประเทศต่างๆในอาเซียน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเขมรตอนใต้ (ญวน) ซึ่งนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางต้องผ่านเชียงราย โดยใช้ถนน R3A และ R3B ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการดึงคนและสินค้าบริการเข้าประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเชียงรายเฉลี่ยปีละ 2 ล้านคน สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่ปีละ 50,000 ล้านบาท ส่วนรายได้รองมาจากการเกษตร และการค้าชายแดน อย่างไรก็ตาม จะกระตุ้นนักท่องท่องเที่ยวให้เกิดการเดินทางเพิ่มเป็น 4 ล้านคน ช่วงก่อนเปิด เออีซี ซึ่งจะทำให้เพิ่มเม็ดเงินทางการท่องเที่ยวเป็น 2 เท่า ขณะที่สัดส่วนนักท่องเที่ยวคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางมาเชียงรายแบ่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 นายธานินทร์ กล่าวอีกว่า การเปิด AEC ปี 2558 หากมีการเชื่อมต่อเส้นทางกับตอนใต้ของมณฑลจีนยูนาน ซึ่งมีประชากรกว่า 200 ล้านคน จะสามารถผลักดันให้เกิดการเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวจีน เตรียมประสานงานกงศุลใหญ่ของจีนเข้ามาเปิดสำนักงานทำวีซ่าที่จังหวัดเชียงรายด้วย
    
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : สุภาภรณ์ สุขันทอง / สวท.   Rewriter : คณิต จินดาวรรณ / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th


 วันที่ข่าว : 25 มิถุนายน 2555
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #52 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2012, 19:47:45 »

ทางจังหวัดติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน แถวอิสาน
เขาตื่นตัวเรื่องนี้กันมาก พูดกันจะแทบทุกวงการเลยครับ
ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
คนหัวง้ม...
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143



« ตอบ #53 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2012, 22:08:17 »

ดูเล่นๆ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
http://jorkawteun.spokedark.tv/20120622/61-s-got-talent-18/
IP : บันทึกการเข้า

...อนาคตหัวง้ม...
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #54 เมื่อ: วันที่ 26 มิถุนายน 2012, 20:36:02 »

ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #55 เมื่อ: วันที่ 29 มิถุนายน 2012, 22:29:54 »

ตลาด CLMV : โอกาสส่งออกไทยใน AEC … คาดปี 2555 เติบโตโดดเด่นถึง 20%


วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2012 เวลา 16:18 น.    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย    ข่าวรายวัน    - ข่าวใน
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "ตลาด CLMV : โอกาสส่งออกไทยใน AEC … คาดปี 2555 เติบโตโดดเด่นถึง 20%"ระบุว่า  ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโรโซน ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรปแล้วนั้น ภูมิภาคอาเซียนจึงเป็นความหวังสำคัญของธุรกิจไทยในการขยายฐานตลาดสินค้า ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในระยะสั้นจากการพึ่งพาตลาดหลักเดิมอย่างกลุ่มประเทศ G-3 อันประกอบไปด้วย สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่นเท่านั้น แต่การวางแผนการตลาดสำหรับภูมิภาคอาเซียนยังนับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่หลายธุรกิจกำลังเตรียมการเพื่อรองรับโอกาสจากการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจ (Business Landscape) ของไทย ที่จะสลายเส้นแบ่งพรมแดนการตลาดในขอบเขตของประเทศ มาเป็นการมองตลาดในระดับภูมิภาคอาเซียนในฐานะตลาดร่วมตลาดเดียว (Single Market)
 
จุดสนใจของธุรกิจไทย ณ เวลานี้กำลังพุ่งเป้าหมายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ที่มีผืนแผ่นดินเชื่อมต่อกับไทย หรือที่เรียกกันว่ากลุ่ม CLMV ได้แก่ กัมพูชา (Cambodia)
สปป.ลาว (Laos) พม่า (Myanmar) และเวียดนาม (Vietnam) ซึ่งจากข้อมูลตามฐานศุลกากรในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 นี้ การส่งออกของไทยไป CLMV มีการเติบโตโดดเด่นถึงร้อยละ 16.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การส่งออกโดยรวมหดตัวร้อยละ 1.5 และการส่งออกไปยังยูโรโซนหดตัวถึงร้อยละ 11.8 นอกจากนี้ การเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องของตลาด CLMV ยังหนุนให้สัดส่วนตลาด CLMV ขึ้นแซงยูโรโซนมาอยู่ที่ร้อยละ 7.8 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 (จากร้อยละ 6.8 ในปี 2554) ในขณะที่สัดส่วนของตลาดยูโรโซนลดต่ำลงมาเป็นร้อยละ 6.8 (จากร้อยละ 7.3 ในปี 2554) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าช่วยชดเชยผลกระทบจากความอ่อนแอลงของตลาดยูโรโซนไว้ได้ระดับหนึ่ง
 
ตลาดประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มนี้มีความน่าสนใจเนื่องจากผู้บริโภคมีความนิยมต่อสินค้าไทย โดยมองว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และผู้บริโภคมีการรับรู้ต่อตราสินค้าของไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะใน 3 ประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยโดยตรง หรือ CLM คือ กัมพูชา สปป.ลาว และพม่า 
ความต้องการสินค้าไทยมีหลากหลาย ตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ รวมไปจนถึงสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกลการเกษตรและเครื่องจักรอุตสาหกรรม
 
ถ้าพิจารณาเป็นรายประเทศ ตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555) คือเวียดนาม ตามมาด้วยกัมพูชา สปป.ลาว และพม่า แต่หากมองถึงอัตราการขยายตัว ตลาดที่เติบโตสูงที่สุดในปีนี้ได้แก่
• กัมพูชา ขยายตัวร้อยละ 51.8 แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปและทองคำ (ที่ยังไม่ขึ้นรูป) ออกไปเป็นมูลค่าสูงมาก อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังกัมพูชาที่ไม่รวมน้ำมันสำเร็จรูปและทองคำก็ยังขยายตัวสูงร้อยละ 44.8
• สปป.ลาว ขยายตัวร้อยละ 45.0 แม้ สปป.ลาว มีประชากรน้อยที่สุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน หรือเพียงประมาณ 6.4 ล้านคน แต่ สปป.ลาว มีความต้องการสินค้าจากไทยสูงเนื่องจากสินค้าหลายชนิดไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศ
• พม่า ขยายตัวร้อยละ 15.6 แม้ปัจจุบันยังมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่น แต่การเปิดประเทศของพม่าเป็นก้าวย่างที่น่าจะก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับธุรกิจไทยที่สนใจขยายตลาดไปยังพม่า ซึ่งมีประชากรกว่า 60 ล้านคน ที่จะมีกำลังซื้อสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่เห็นการลงทุนจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าไปยังพม่าอีกจำนวนมาก
• สำหรับการส่งออกไปยังเวียดนามหดตัวลงร้อยละ 8.4 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากอุทกภัยในไทย ซึ่งอุตสาหกรรมในเวียดนามส่วนหนึ่งพึ่งพาวัตถุดิบและชิ้นส่วนจากไทย อีกทั้งมีผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจเวียดนามเอง จากทั้งปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ และผลกระทบจากเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเวียดนามเป็นประเทศที่พึ่งพาตลาดส่งออกในยูโรโซนสูงประมาณร้อยละ 13 ของการส่งออกรวม
 ทั้งนี้ หากไม่นับรวมเวียดนาม ซึ่งการส่งออกหดตัวในช่วง 5 เดือนแรกนั้น การส่งออกไปยังเพื่อนบ้าน 3 ประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย หรือ CLM ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 37.2
 

การส่งออกของไทยไปยัง CLMV รายประเทศ


การส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกทางชายแดนเป็นหลัก ยกเว้นเวียดนามที่ไม่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ช่องทางการส่งออกหลักจึงเป็นการส่งออกทางทะเล สำหรับการส่งออกไปยังแต่ละประเทศ CLMV มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

พม่า

การส่งออกของไทยไปยังพม่าส่วนใหญ่เป็นการส่งออกผ่านชายแดนเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 75 ของการส่งออกรวมจากไทยไปพม่า โดยช่องทางการส่งออกที่สำคัญคือ การส่งออกทางชายแดนจังหวัดตาก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของการส่งออกชายแดนไทย-พม่า  ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของไทยไปพม่าที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค รวมถึงสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ  ก็มีการขยายตัวโดดเด่น (ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 การส่งออกเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของไทยไปพม่ามีอัตราขยายตัวถึงกว่า 3 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันในปีก่อน)  ทั้งนี้เป็นอานิสงส์จากการเร่งพัฒนาโครงสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐานในประเทศพม่า โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ที่พม่าจะเป็นเจ้าภาพในปี 2556 ณ นครเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า ผนวกกับการเปิดประเทศและพัฒนาการทางการเมืองของพม่าที่มีทิศทางดีขึ้นเป็นลำดับ ยังเป็นแม่เหล็กดึงดูดความสนใจเข้ามาลงทุนและเดินทางมาท่องเที่ยวในพม่ามากขึ้น ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนให้กิจกรรมเศรษฐกิจในพม่าคึกคัก และเป็นโอกาสขยายการส่งออกสินค้าไทยรองรับความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
 

สปป.ลาว
 การส่งออกสินค้าของไทยไป สปป.ลาว เป็นการส่งออกผ่านชายแดนเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 98 ของการส่งออกไป สปป.ลาว โดยรวม  นับเป็นสัดส่วนสูงสุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะด่านชายแดนระหว่างไทยกับ สปป.ลาว มีความเชื่อมโยงและเข้าถึงพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของ สปป.ลาว โดยตรง ทำให้สินค้าไทยค่อนข้างเข้าถึงตลาดผู้บริโภคใน สปป.ลาว ได้ง่าย  สำหรับช่องทางการส่งออกสำคัญคือ จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นช่องทางส่งออกสำคัญราวร้อยละ 57 ของการส่งออกทางชายแดนไทย-สปป.ลาว รองลงมาคือ มุกดาหาร อุบลราชธานี และเชียงราย โดยสินค้าสำคัญที่ไทยส่งไป สปป.ลาว ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่อง และสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างที่เติบโตรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน สปป.ลาว  ทั้งนี้ แม้ประชากร สปป.ลาว ส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อไม่สูงนัก แต่มีพฤติกรรมการบริโภคที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับคนไทยทำให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักคุ้นเคยและได้รับการยอมรับในตลาด สปป.ลาว เป็นอย่างดี  ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รับการถ่ายทอดพฤติกรรมการบริโภคของไทยผ่านสื่อโทรทัศน์ด้วยและการเดินทางผ่านชายแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว เป็นไปโดยสะดวกและคล่องตัว


กัมพูชา
 การส่งออกของไทยไปกัมพูชามีสัดส่วนการส่งออกผ่านชายแดนราวร้อยละ 57 ของการส่งออกไปกัมพูชาโดยรวม อย่างไรก็ดี แนวโน้มการส่งออกของไทยโดยรวมของไปกัมพูชามีทิศทางเติบโตดี โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 การส่งออกโดยรวมของไทยไปกัมพูชาขยายตัวถึงร้อยละ 51.8 (YoY) ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวสูงสุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ทั้งนี้ การเชื่อมโยงช่องทางการส่งออกทางชายแดนที่สำคัญของไทยไปกัมพูชา คือ จังหวัดสระแก้ว ราวร้อยละ 60 ของการส่งออกทางชายแดนไทยไปกัมพูชา เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีชายแดนเป็นแนวยาวถึง 165 กิโลเมตร ช่วยให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าถึงตลาดกัมพูชาผ่านจังหวัดบันเตียเมียนเจย ซึ่งเป็นจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกัมพูชา รองลงมาคือจังหวัดตราดและจันทบุรีที่มีพรมแดนติดกับจังหวัดพระตะบองและจังหวัดเกาะกงซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการขยายตัวของกัมพูชาเช่นกัน


เวียดนาม
 การส่งออกของไทยไปเวียดนามค่อนข้างต่างจากการส่งออกไปประเทศ  CLM  ทั้งในแง่ช่องทางการส่งออกที่เป็นการส่งออกทางทะเลเป็นหลัก มีการส่งออกผ่านแดนค่อนข้างน้อย  รวมทั้งความแตกต่างในแง่กลุ่มสินค้าซึ่งสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ค่อนข้างกระจุกตัวในกลุ่มสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางเพื่อใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรม  ส่วนหนึ่งเนื่องจากเวียดนามค่อนข้างมีการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและรองรับความต้องการในประเทศที่เข้มข้นกว่าประเทศ CLM  ทั้งนี้ ตลาดเวียดนามนับเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการขยายการส่งออกสินค้าไทย  เนื่องจากชาวเวียดนามเริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้น  มีความเป็นเมืองที่กระจายตัวมากขึ้น  จึงนับเป็นโอกาสสำหรับสินค้าไทยซึ่งค่อนข้างเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพและตราสินค้า อย่างไรก็ดี พฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนามค่อนข้างหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละโซนพื้นที่ ผู้ส่งออกไทยจึงควรศึกษาและวางกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดอย่างเหมาะสม


โดยสรุป ตลาด CLMV เป็นตลาดที่มีอนาคตค่อนข้างสดใสสำหรับธุรกิจไทยในการรุกเปิดตลาดและขยายช่องทางกระจายสินค้าให้กว้างขวางขึ้น โดยอาศัยปัจจัยสนับสนุนหลานด้าน อาทิ
 ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีพรมแดนเชื่อมต่อกันทางบก ผ่านเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจภูมิภาค (Economic Corridors) ที่ปัจจุบันมีความสะดวกยิ่งขึ้น และน่าจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปิดประตูการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต 
 การเปิดเสรีมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดย CLMV มีกำหนดที่จะลดภาษีศุลกากรลงเป็น 0% ในปี 2558 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเริ่มต้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยนอกจากการเปิดตลาดเสรีในด้านสินค้าแล้ว อาเซียน 10 ประเทศมีเป้าหมายที่จะลดมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีลง (Non-Tariff Barriers) รวมทั้งเปิดเสรีมากขึ้นในสาขาการบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะ และการเคลื่อนย้ายเงินทุน
 รายได้ประชากรในประเทศเพื่อนบ้านขยายตัวสูง ขณะที่การเติบโตของธุรกิจบริการในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การท่องเที่ยว จะทำให้ความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น
 จากโอกาสทางการตลาดดังกล่าว ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกไปยัง CLMV อาจขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20 ในปี 2555 มีมูลค่าประมาณ 18,700 ล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 570,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ช่วยให้การส่งออกของไทยโดยรวมในปีนี้อาจขยายตัวในระดับประมาณร้อยละ 10 (กรอบคาดการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 7-15) ท่ามกลางความยืดเยื้อของวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
 

ทั้งนี้ ภายใต้กรอบประมาณการปัจจุบัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนน่าจะประสบภาวะถดถอย (โดยอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วงหดตัวร้อยละ 0.8 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.2) อย่างไรก็ดี หากปัญหาในยูโรโซนลุกลามถึงขั้นนำไปสู่วิกฤตการณ์เศรษฐกิจและการเงินอย่างรุนแรง จนฉุดให้ภาพรวมการส่งออกของไทยอาจถลำลงสู่แดนติดลบได้นั้น (ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้น) สำหรับตลาดส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน พม่า สปป.ลาว และกัมพูชา (CLM) คาดว่าจะยังสามารถรักษาการขยายตัวเป็นบวกได้ แม้จะเป็นอัตราที่ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระบุไว้ข้างต้น เนื่องจากความต้องการสินค้าจากไทยของประเทศกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่นำไปใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ และตอบสนองโครงการลงทุนระยะยาว
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #56 เมื่อ: วันที่ 04 กรกฎาคม 2012, 07:35:00 »

มรช.ร่วมมหาวิทยาลัยภูมิภาคลุ่มน้ำโขงรับอาเซียน

วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผศ.ดร.มาณพ ภาษิตวิไลธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (มรช.) นอกจากจะมีบทบาทในการผลิตบัณฑิต และบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นแล้ว ยังมีการประสานงานติดต่อกับมหา วิทยาลัยในต่างประเทศ โดยเฉพาะในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา เปิดสอนหลักสูตรภาษาไทย-ภาษาจีน แลกเปลี่ยนอาจารย์ การทำศึกษาวิจัย การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี โท และเอกร่วมกัน เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน



อธิการบดี มรช. กล่าวว่า สำหรับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่มรช. ร่วมมือในการผลิตบัณฑิตสาขาต่างๆ ได้แก่ สถาบันการศึกษาในมณฑลยูนนาน จีน 9 แห่ง ประกอบด้วย สถาบันอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีสิบสองปันนา, วิทยาลัยอาชีวศึกษาซือเหมา, มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ซือเหมา, มหาวิทยาลัยครุศาสตร์วี่ซี, มหาวิทยาลัยต้าลี่, มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ฉู่ฉง, วิทยาลัยทรัพยากรที่ดินแห่งมณฑลยูนนาน, มหาวิทยาลัยชนชาติแห่งมณฑลยูนนาน และมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งมณฑลยูนนาน นอกจากนี้ ยังมีสถาบันการศึกษาในมณฑลกว่างซี 5 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยชนชาติแห่งมณฑลปกครองตนเองกว่างซีจ้วง, วิทยาลัยแห่งเมืองหนานหนิง, วิทยาลัยพลศึกษาแห่งมณฑลกว่างซี, วิทยาลัยศิลปะแห่งมณฑลกว่างซี และมหาวิทยาลัยเหอฉือ สถาบันการศึกษาในมณฑลเสฉวน 1 แห่ง คือมหาวิทยาลัยคมนาคมแห่งภาคตะวันตกเฉียงใต้ สถาบันการศึกษาในมณฑลเหอเป่ย 1 แห่ง คือมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ถางชาน และสถาบันการศึกษาในกรุงปักกิ่ง 1 แห่ง คือมหาวิทยาลัยประชาชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนสถาบันการศึกษาในลาว จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยครูหลวงพระบาง, วิทยาลัยครูหลวงน้ำทา และวิทยาลัยประชาบัณฑิต

หน้า 23

http://www.khaosod.co.th
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
Ck 401
"....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,267


...งานหนักไม่เคยฆ่าคน...


« ตอบ #57 เมื่อ: วันที่ 04 กรกฎาคม 2012, 19:01:18 »

ตกอีกแระ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"....คณะเรา ไม่ยอมให้ด้อยถอยลง ต่ำเราต้องค้ำชูให้สูงจรุงศรี....."
....เมื่อเห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา  ก็ไม่มีอะไรมาทำให้ทุกข์ได้อีก...."
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #58 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2012, 21:35:20 »

ที่ดินริมโขงบูม ทุนท้องถิ่นตื่นผุดพลาซา-โรงแรมตรึม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   5 กรกฎาคม 2555 10:46 น.   

   


       เชียงราย - ที่ดินชายแดนเชียงแสนเริ่มบูม โดยเฉพาะพื้นที่ริมน้ำโขง นักลงทุนแห่ผุดโครงการตรึม รอรับผลจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทั้งในประเทศ และเพื่อนบ้าน
       
       รายงานข่าวจาก จ.เชียงรายแจ้งว่า ขณะนี้มีกลุ่มทุนต่างๆ ทยอยเข้าปักหลักลงทุนพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงชายแดนไทย-สปป.ลาวมากขึ้น รองรับผลการพัฒนาระบบคมนาคมต่างๆ ทั้งกรณีที่กระทรวงคมนาคมได้ก่อสร้างถนนโครงข่ายไปสู่ท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสน แห่งที่ 2 และสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ รวมทั้งถนนสี่ช่องจราจรเชียงแสน-แม่จัน และเชียงราย-เชียงของ นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ เช่น กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง หรือจีเอ็มเอส ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ฯลฯ



       ขณะที่กลุ่มทุนจีนยังคงเดินหน้าลงทุนในฝั่ง สปป.ลาว โดยกลุ่มดอกงิ้วคำได้ดำเนินโครงการ Kings Romans of Laos Asian & Tourism Development Zone โดยสร้างโรงแรม บ่อนกาสิโน เขตการค้า ท่าเรือ เขตพาณิชยกรรม อุตสาหกรรมแปรรูป พื้นที่การเกษตร ฯลฯ ที่เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว บริเวณสามเหลี่ยมทองคำซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
       
       นายชยกฤษณ์ นิสสัยสุข นายกเทศมนตรี ต.เวียงเชียงแสน กล่าวว่า แต่เดิมพื้นที่ชายแดนด้าน อ.เชียงแสน แม้จะเป็นจุดการค้าชายแดนที่สำคัญ แต่ก็เป็นเพียงธุรกิจค้าชายแดน หรือมีโรงแรมที่เน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวเกรดสูงเข้าไปพัก ยังไม่มีกิจการที่บ่งชี้ถึงความเจริญทางเศรษฐกิจและการค้าในท้องถิ่นมากนัก แต่ขณะนี้มีปัจจัยหลายอย่างเอื้อให้เกิดการลงทุน
       
       ดังนั้น ในช่วง 1-2 ปีมานี้จึงเริ่มเห็นการลงทุนมากขึ้น เช่น โรงแรมสยามไทรแองเกิล ฯลฯ นอกจากนี้มีโรงแรม ห้องพัก อาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก ฯลฯ เริ่มเกิดขึ้นทั้งในตัวเมืองเชียงแสน และพื้นที่ติดถนนสายแม่สาย-เชียงแสน, แม่สาย-แม่จัน, เชียงแสน-เชียงของ คาดว่าในอนาคตก็จะมีมากขึ้นตามการพัฒนาของบ้านเมือง



       นอกจากนี้ ในปัจจุบันได้มีโครงการโขงวิว พลาซ่า ของเอกชนไปตั้งเป็นพลาซาขนาดใหญ่อยู่บริเวณสามแยกบายพาสในเขต ต.เวียง ติดกับเทศบาล ต.เวียงเชียงแสนด้วย ซึ่งถือเป็นโครงการพลาซาขนาดใหญ่แห่งแรกของ อ.เชียงแสน และคาดว่าจะเป็นสัญญาณว่ากลุ่มทุนต่างๆ เริ่มขยายธุรกิจจากเดิมเกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนและการบริการนักท่องเที่ยว ไปสู่ศูนย์การค้าซึ่งเชื่อมโยงกับการค้าและการท่องเที่ยวได้ด้วย โดยเฉพาะพลาซาดังกล่าวสามารถเชื่อมการพัฒนาเทศบาล ต.เวียงเชียงแสน กับเทศบาล ต.เวียง อ.เชียงแสน ได้เป็นอย่างดี
       
       ขณะเดียวกันท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 ที่เทศบาลเข้าไปดูแลเป็นท่าเรือท่องเที่ยว ก็มีเอกชนเข้าไปพัฒนาเป็นร้านค้าปลอดภาษี หรือดิวตี้ฟรีอีกด้วย
       
       ด้านนายวชิระ รัศมีจันทร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เคที พร็อพเพอร์ตี้ วัน จำกัด ตั้งอยู่ อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งดำเนินโครงการโขงวิว พลาซ่า เปิดเผยว่า บริษัทจะลงทุนพัฒนาพื้นที่ 8 ไร่ 22 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 18329 ริมติดสายแยกบายพาสเชียงแสน ม.8 ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ติดแม่น้ำโขง ทำให้สามารถเห็นทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงได้อย่างสวยงาม โดยสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และให้แล้วเสร็จภายใน มิ.ย. 2556 เพื่อรองรับความเจริญทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในอีก 2-3 ปีข้างหน้า



       “โขงวิวพลาซ่า” แบ่งออกเป็น 3 ส่วน พื้นที่ส่วนในสุดติดแม่น้ำโขง เป็นอาคารพาณิชย์สูง 3 ชั้น ภายในประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องพักผ่อน ที่จอดรถ ทิวทัศน์แม่น้ำโขง ฯลฯ ด้านหน้าอาคารกว้าง 4 เมตร และลึกเข้าไปด้านหลังอีกถึง 12 เมตร เหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยหรือปรับปรุงเป็นธุรกิจได้ มีทั้งหมด 32 คูหา
       
       โครงการส่วนที่ 2 เป็นอาคารพาณิชย์ อยู่ถัดออกไปจากส่วนแรกเหมาะต่อการพาณิชยกรรม หรือค้าขาย มีขนาด 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ และห้องโถงใหญ่เพื่อธุรกิจด้วย โดยอาคารแต่ละหลังจะสร้าง 9 คูหา และแยกออกจากกันตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ ด้านหน้าจะมีถนนกั้นไว้กว้างขวาง
       
       ส่วนที่ 3 เรียกว่า บูทให้เช่า จะอยู่ถัดจากถนนสายดังกล่าวขนานไปกับอาคารพาณิชย์ โดยจัดให้มีบูทขายสินค้ารองรับกว่า 110 บูท แต่ละบูทมีพื้นที่ขาย 3 ตารางเมตร โดยมีแนวทางจะเปิดให้จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง สินค้าต่างประเทศ ของที่ระลึก ฯลฯ บริเวณโดยรอบจะมีลานจอดรถส่วนบุคคลได้กว่า 100 คัน รถบัสอีกกว่า 10 คัน
       
       นายวชิระบอกว่า ทางโครงการได้เปิดให้จองโดยกำหนดราคาอาคารพาณิชย์ส่วนที่ 1 และ 2 ซึ่งมีขนาดที่ดิน 19 ตารางวา และพื้นที่ใช้สอย 144 ตารางเมตร ในราคาขาย 3.5 ล้านบาท จอง 50,000 บาท ทำสัญญา 150,000 บาท และผ่อนดาวน์เดือนละ 200,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน รวมเงินดาวน์ 1,200,000 บาท ก็สามารถอยู่อาศัยหรือทำธุรกิจในทำเลทองติดกับแม่น้ำโขงได้ทันที ที่เหลือ 2,300,000 บาทสามารถใช้เงินกู้จากธนาคาร

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000082315
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
boondham
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,112


« ตอบ #59 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2012, 21:50:59 »

กสิกรไทยคาดมูลค่าจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ขยายตัวร้อยละ 6.3-8.0 ในปี 2555


วันพฤหัสบดีที่ 05 กรกฏาคม 2012

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "ธุรกิจโลจิสติกส์ครึ่งหลังปี 2555: ปัจจัยบวกจากการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค…รองรับ AEC" ตั้งแต่ต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ธุรกิจโลจิสติกส์กลับมามีความคึกคักมากขึ้น เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

ที่ได้กลับมาเร่งผลิตและเร่งกระจายสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าขาดแคลน นอกจากนี้ การเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ยังได้รับปัจจัยหนุนเฉพาะของธุรกิจที่มาจากการพัฒนาระบบเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางที่สำคัญ สำหรับเส้นทางที่มีกิจกรรมการขนส่งที่คึกคักนั้น จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เส้นทาง R3A ที่เชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน เส้นทาง R8 R9 และ R12 ที่เชื่อมโยงไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน เป็นต้น เห็นได้จากสถิติการค้าชายแดน และจำนวนรถยนต์ที่ผ่านชายแดนตามเส้นทางดังกล่าวเติบโตเพิ่มสูงขึ้น

 

ทั้งนี้ ภาครัฐมีแผนการขยายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะการคมนาคมทั่วประเทศ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็วและรองรับปริมาณขนส่งระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านที่น่าจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจากการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 ซึ่งการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะช่วยเสริมโอกาสในการขยายตลาดของธุรกิจไทย รวมทั้งกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ที่มีเส้นทางคมนาคมตัดผ่าน นอกจากนี้ จะเป็นการลดปัญหาคอขวดที่มีอยู่ เช่น ศักยภาพในการให้บริการของท่าเรือและสนามบิน อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการแข่งขันของธุรกิจไทยในด้านต่างๆได้อย่างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ โอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ที่จะได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาเครือข่ายระบบขนส่งสาธารณะ ดังนี้

โครงข่ายคมนาคมส่งเสริมศักยภาพธุรกิจโลจิสติกส์...เร่งพัฒนาสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน

การพัฒนาเส้นทางคมนาคมในประเทศได้นำพาความเจริญและส่งเสริมเศรษฐกิจในภาคต่างๆของไทย อีกทั้งประเทศไทยต้องการผลักดันบทบาทในการเป็นศูนย์กลาง (Hub) ด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน จากจุดแข็งในด้านทำเลที่ตั้งซึ่งที่เป็นเส้นทางผ่านที่เชื่อมไปถึงเกือบทุกประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน

ด้วยความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์นี้ ส่งผลให้ไทยมีบทบาทสูงในด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย รวมทั้งสามารถส่งต่อไปยังประเทศข้างเคียง เช่น เวียดนามและมณฑลตอนใต้ของประเทศจีน ผ่านด่านชายแดนสำคัญที่กระจายตัวอยู่ตามขอบชายแดนในภาคต่างๆ ของไทย เห็นได้จากรายงานของด่านศุลกากรในหลายๆ จังหวัด พบว่า สถิติการค้าชายแดนของไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดที่มีโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคจะมีอัตราการขยายตัวที่โดดเด่น



แนวโน้มการค้าชายแดนยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดที่มีสะพานข้ามแม่น้ำ อาทิ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร และหนองคาย อีกทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อ. เชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้า ซึ่งจังหวัดเหล่านี้เป็นประตูตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น เส้นทาง R3A ที่เชื่อมการคมนาคมระหว่างประเทศ ไทย ลาว และจีน และเส้นทาง R1 R9 R12 ที่จะมีความสำคัญมากขึ้นในการขนส่งระหว่างประเทศอาเซียนตามแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านตะวันออกและตะวันตก และเป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่าในอนาคต

นอกจากโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพแล้ว การผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการคมนาคมขนส่งข้ามพรมแดน ภายใต้กรอบ AEC ก็จะยิ่งเอื้ออำนวยให้การไหลเวียนของโลจิสติกส์ในภูมิภาคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาธุรกิจขนส่งทางถนนเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีปริมาณการขนส่งระหว่างประเทศเติบโตเกือบสองเท่าในช่วงเวลาเพียง 2 ปี (จาก 11.2 ล้านตัน ในปี 2550 เป็น 21.3 ล้านตัน ในปี 2552) ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการค้าชายแดนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามชายแดน

สำหรับโอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ของไทย จะได้รับผลดีจากความต้องการใช้บริการโลจิสติกส์ผ่านเส้นทางทางบกที่เพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของการค้าและการลงทุนภายใต้ AEC แต่ขณะเดียวกัน ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยก็จำเป็นต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากหลายๆด้าน โดยเฉพาะแรงกดดันจากการแข่งขันที่จะสูงขึ้น เมื่อต้องเผชิญคู่แข่งที่เป็นธุรกิจต่างชาติที่มีเงินทุนและเทคโนโลยีที่เพรียบพร้อม ซึ่งกลยุทธ์ในการปรับตัวอาจมีหลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับเป้าหมายทางธุรกิจและทรัพยากรของผู้ประกอบการแต่ละราย โดยแนวทางที่เป็นไปได้ เช่น การหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อที่จะเติมเต็มช่องว่างในการบริการให้สามารถให้บริการธุรกิจได้อย่างครบวงจรในระดับเดียวกับบริษัทต่างชาติ หรืออาจวางตำแหน่งการตลาดสร้างความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการการบริการเฉพาะด้าน เช่น การขนส่งและจัดเก็บเคมีภัณฑ์ หรือสินค้ามีมูลค่าสูง รวมไปถึงการรับช่วงให้บริการกับบริษัทโลจิสติกส์รายใหญ่หรือบริษัทต่างชาติ

แนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์ในครึ่งหลัง ปี 2555

 
ธุรกิจโลจิสติกส์ในครึ่งปีหลังน่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนจากความต้องการใช้บริการขนส่งในภาคการเกษตร ก่อสร้าง และค้าปลีก ขณะเดียวกัน แม้ว่าอุปสงค์ในต่างประเทศมีแนวโน้มอ่อนแรงลง แต่ในแง่อัตราการขยายตัวก็อาจยังอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งธุรกิจประสบปัญหาอุทกภัยรุนแรง นอกจากนี้ ธุรกิจโลจิสติสก์ยังได้รับปัจจัยเสริมจากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง แต่อย่างไรก็ดีธุรกิจโลจิสติกส์ก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 40 และการบริหารจัดการคนขับรถ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ ณ ราคาปีปัจจุบัน จะมีแนวโน้มเติบโตได้ดีขึ้น โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.3-8.0 ในปี 2555 (สูงขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปี 2554) และจากการที่ภาครัฐที่มีนโยบายการลงทุนในระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาคต่างๆ อาทิ การจัดตั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างประเทศตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำโขง เป็นต้น ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดใช้การได้ตามแผนการที่ภาครัฐวางไว้จะสามารถช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการได้มากขึ้น

จากแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ ด้านการพัฒนาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในปี 2555-2559 ได้เน้นลงทุนในด้านสาขาการขนส่งกว่าร้อยละ 70 และส่วนใหญ่จะเป็นในด้านการขนส่งทางบก ซึ่งจะส่งเสริมการขนส่งทางบก ที่มีอัตราส่วนกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณการขนส่งสินค้าในประเทศทั้งหมด ประกอบกับโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ในไทยที่เป็น SMEs เป็นสัดส่วนสูงถึง 99.9 (และเป็นขนาดเล็กถึง 99.5 ของผู้ประกอบการทั้งหมด) ซึ่งอยู่ในธุรกิจขนส่งทางรถยนต์กว่าร้อยละ 80 โดยการขนส่งผู้โดยสารทางถนนมีสัดส่วนรวมร้อยละ 59.4 และการขนส่งสินค้าทางถนนมีสัดส่วนร้อยละ 20.5 ของผู้ประกอบการในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ทั้งหมด

หากแผนพัฒนาด้านลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นไปตามนโยบายจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการขนส่ง จากการใช้วิธีการขนส่งรูปแบบเดียว เช่น ใช้รถยนต์ขนส่งไปยังท่าเรือเพื่อส่งออก เปลี่ยนมาเป็นการใช้หลายรูปแบบในการขนส่ง (Intermodal Transportation) เช่น การขนส่งโดยใช้รถยนต์แล้วเปลี่ยนเป็นทางรถไฟ ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไปยังท่าเรือ ซึ่งในปัจจุบันการส่งด้วยวิธีทางรถไฟยังไม่มีประสิทธิภาพพอ แต่หากได้มีการปรับปรุงและก่อสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง อาจทำให้คนหันมาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำลงกว่าเดิมมาก และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความสามารถให้บริการหลายรูปแบบดังกล่าวจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อตอบสนองการลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่งของภาคธุรกิจต่างๆ

เพิ่มศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาคต่างๆมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญในการใช้เพื่อลดต้นทุนในการเก็บสินค้าและขนส่งสินค้า และยังช่วยตอบสนองต่อการขยายตัวของความต้องการในภูมิภาคต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น การขยายตัวของการค้าชายแดนจะทำให้ความต้องการสินค้าที่สูงขึ้น ซึ่งถ้ามีศูนย์กระจายสินค้าย่อยในการกระจายสินค้าในภาคต่างๆ จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและความต้องการจากประเทศเพื่อนบ้านได้ แม้ว่าธุรกิจคลังสินค้าในบริเวณที่ประสบอุทกภัยชะลอตัวลง แต่โดยรวมธุรกิจให้บริการคลังสินค้ามีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากอุทกภัย อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

ธุรกิจโลจิสติกส์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยสนับสนุนทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศ ได้รับผลบวกจากการลงทุนจากต่างประเทศ การขยายฐานการผลิตและศูนย์กระจายสินค้าสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งการขยายตัวของความเป็นเมือง และการท่องเที่ยวที่มีความคึกคักมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่มีแผนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ จะช่วยเสริมให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศมากยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งภาครัฐวางแผนที่จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงให้เหลือร้อยละ 13 ภายในปี 2560 จากร้อยละ 15.2 ในปี 2553
 
สำหรับปัจจัยภายนอกประเทศ คาดว่ามีแรงสนับสนุนมาจากผลของการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความร่วมมือในกรอบ ASEAN Plus กับประเทศพันธมิตรนอกอาเซียน เช่น ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งจะส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ตลอดจนความร่วมมือในด้านอื่นๆ ระหว่างกันภายในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าชายแดนที่จะเติบโตขึ้นอย่างมาก
 
ทั้งนี้ แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2555 นี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากอุปสงค์ในตลาดโลกอ่อนแรงลง จากปัญหาวิกฤตหนี้ในยูโรโซน ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและอินเดีย แต่จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมทั้งปัจจัยบวกที่มีต่อธุรกิจโลจิสติกส์ดังที่กล่าวมาข้างต้น อาจช่วยผลักดันธุรกิจโลจิสติกส์ให้เติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในปี 2555 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า มูลค่าจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นเป็น 569,774-578,732 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 6.3-8.0 จาก 536,059 ล้านบาท ในปี 2554

นอกจากนี้ ในปี 2556 จะมีการเปิดเสรีสาขาบริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาบริการที่มีการเร่งรัดเปิดเสรีภายในกรอบ AEC จากการที่จะมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางอาเซียน ดังนั้น นอกเหนือการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังจะมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคโดยใช้เส้นทางผ่านไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนมีแนวโน้มขยายตัวสูงนับจากนี้และหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาคที่จะพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน จะไม่เพียงแต่สนับสนุนการเชื่อมโยงภายในภูมิภาคในด้านการค้าเท่านั้น แต่ยังจะสนับสนุนการเชื่อมโยงของแหล่งอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการลงทุนในอนาคต

 
ที่มา : http://www.thanonline.com
IP : บันทึกการเข้า

กลุ่มคุยแลกเปลี่ยน เรื่องการพัฒนา สิ่งปลูกสร้าง เรื่องราวต่างๆของเชียงราย https://www.facebook.com/groups/273622956012759/
หน้า: 1 2 [3] 4 5 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!