เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 11:40:24
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  ขายไก่ต่อ ตัวล่ะ 1200
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ขายไก่ต่อ ตัวล่ะ 1200  (อ่าน 16051 ครั้ง)
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« เมื่อ: วันที่ 28 มีนาคม 2012, 18:59:58 »

ไก่ป่าเนี้ย ขายหรือแลกก่อได้ มีสี่ห้าตัว

ใคร๋ได้ ไก่งวง  ไก่ฟ้า  หรือแมงอะหยั๋งแปลกๆ ก้อเสนอมาเน้อ

0859127669

การต่อไก่ป่ามีหลายวิธีด้วยกัน
1.ต่อด้วยไก่ต่อตัวผู้ จะใช้ครุน มีลักษณะเป็นบ่วงทำด้วยหวายต่อปลายด้วยเชือก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าศรีษะคนเล็กน้อย (เขาวัดกันอย่างนั้นจริงๆ โดยให้ลองเอาศรีษะคนต่อใส่ดูว่าเข้าได้หรือไม่)ประมาณ 10 นิ้ว และมีหลักทำจากไม้ไผ่ตงหรือไผ่สีสุก ยาวเท่าผ่าเท้า ประมาณ 8 -9 นิ้ว ในหนึ่งหลักจะมี 2 บ่วง ครุนหนึ่งหัวจะมีทั้งหมด 11 หลัก จะมีเชือกร้อยหลักเข้าด้วยกัน เวลาต่อให้บักครุนหันหน้าไปทางไก่ป่าในลักษณะเอน 60 องศา เป็นวงกลมหรือครึ่งวงกลมก็ได้ แล้วเอาไก่ต่อปักไว้ตรงกลางวงไม่ให้ถึงบ่วงครุน
2.ต่อด้วยไก่ต่อตัวเมีย จะใช้ครุน มีลักษณะเป็นบ่วงทำด้วยหวายต่อปลายด้วยเชือก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากำปั้นและมีหลักทำจากไม้ไผ่ตงหรือไผ่สีสุก ยาวหนึ่งคืบ ประมาณ 5 นิ้ว ในหนึ่งหลักจะมี 2 บ่วง ครุนหนึ่งหัวจะมีทั้งหมด 11 -25 หลัก จะมีเชือกร้อยหลักเข้าด้วยกัน เวลาต่อให้บักครุนหันหน้าไปทางไก่ป่าในลักษณะเอน 60 องศา เป็นวงกลมหรือครึ่งวงกลมก็ได้ แล้วเอาไก่ต่อปักไว้ตรงกลางวงไม่ให้ถึงบ่วงครุน และบักครุนในแนที่คาดว่าไก่ป่าจะเดินมา ห่างจากไก่ต่อประมาณ 5 - 10 เมตร อีกสักสองหรือสามแห่ง
3.ต่อด้วยไก่เยีย ใช้ครุนเหมือนไก่ต่อตัวผู้และไก่ต่อตัวเมีย
 ไก่เยีย คือไก่ที่เป็นไก่ตัวผู้แต่มีขนและลักษณะต่างๆของร่างกายเป็นไก่ตัวเมืย แต่มีการขันและผสมพันธุ์มีลูกได้(อาจจะเรียกว่าไก่ประเภทสองก็ได้)

ไก่เยีย  สำหรับผู้ที่เคยเห็นครั้งแรกจะเห็นเป็นไก่ตัวเมีย แต่เมื่อได้ยินเสียงขัน และไล่บี้กดไก่เมีย นี่มันไก่ตัวผู้นี่หว่า สักพักมันก็ร้องแบบไก่ตัวเมียตอนอาจหรือร้องเรียกไก่ตัวผู้ หรือว่าเป็นไก่ตัวเมียกันแน่ เหมือนเราเห็นสาวประเภทสองนั่นแหละครับ แยกไม่ค่อยออก เดี๋ยวผมว่างแล้วจะหาโอกาสถ่ายรูปส่งเข้าประกวดในเวปน่ะครับ ว่าไก่งามเพราะขนหรือไม่

มาพูดเรื่องไก่ต่อครับ
ไก่ต่อ เป็นไก่แจ้แต่ไม่ใช่ไก่เตี้ยครับ  เป็นเหล่าไก่ที่ต้องเก็บรักษาสายพันธ์เป็นอย่างดีเหมือนไก่ชน เซียนไก่ต่อจะผสมพันธุ์ไก่ไว้ต่อเอง มีการดูลักษณะคล้ายไก่ชน แต่มีข้อห้ามและวิธีการเลือกที่มากกว่า

การเลี้ยงไก่ต่อ
  การเลี้ยงไก่ต่อไม่ใช่ว่าจะไปจับไก่แจ้ตัวไหนมาเลี้ยงก็ได้ จะต้องดูลักษณะว่าถูกต้องตามตำรา ให้คุณให้โทษหรือไม่ เลี้ยงแล้วคนต่ออาจะได้รับอันตรายจากการนำไก่ตัวนั้นออกไปต่อได้
จะต้องดู
1.ลักษณะให้คุณให้โทษ ในเรื่อง  สีขน เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้ว เดือย เล็บ หงอน ปาก ตา จมูก สร้อย หู คอ ลำตัว ขนปีก ขนลำตัว ขนพัด ขนหาง ขนยอดอุด ขนลาน  ความสูงต่ำของลำตัว
2.เสียงขัน เช่นจำนวนพะยางค์ ความดัง กระชาก ขนาดของเสียงเล็กหรือใหญ่
3.ที่สำคัญที่สุดคือ เหล่าหรือตระกูลจะต้องเป็นไก่ต่อ คือพ่อแม่เป็นเหล่าไก่ต่อ ที่เคยต่อไก่ป่าได้มาแล้วหรือไก่ป่าผสมไก่ต่อ
4.ความคึก จะต้องเป็นไก่ที่สู้และขันเก่ง ขันทั้งวัน ตีปีกเก่งและท้าทายเมื่อไก่ป่าเข้ามาจะต้องไม่แพ้
5.หว้า เป็นลักษณะอาการของไก่เมื่อเจอกับไก่ตัวอื่นว่าจะแสดงอาการอย่างไร เช่น ยกปีกขึ้นทั้งสองปีกแล้วขนหัวฟองหรือตั้ง หมายถึงการยอมแพ้หรือเรียกว่า แพ้หว้า หรือหว้าไม่ดี

การดูลักษณะไกต่อ
1. ปากไก่ จะต้องมีร่องน้ำทั้งสองข้าง หรือเรียกว่าไก่สามปาก สีดำสนิท ไม่บิด หรือปิดไม่สนิท
2. จมูกไก่  จะต้องไม่แคบหรือกว้างเกินไป และนูนนิดหน่อยเหมือนจมูกนกเขา
3. หงอนไก่ เป็นหงอนแบบไก่แจ้ เป็นแผ่นหนา ตั้งตรง แดงสดใส มันลื่นไม่หยาบ มีจักรหรือหยัก ตั้งแต่สามจักร ขึ้นไป รอยจักรจะต้องลึกและใหญ่ ถ้าปลายจักรมีลักษณะเป็นง่ามถือว่าดี ปลายหงอนกดถึงท้ายหัวไม่บิดงอหรือเชิดขึ้น สีของหงอนไก่เมื่อเอานิ้วบีบแล้วปล่อยจะต้องไม่ซีดนาน 
4. หัวไก่ มีลักษณะเรียวยาวไม่โตเกินไปและรับกับหงอนได้พอดี ขนที่หัวไก่จะต้องขึ้นเต็มหนา หัวไม่ล้าน และขนจะต้องไม่งอไปด้านหน้า
5. ตาไก่ มีลักษณะยาวรีเหมือนตาเหยี่ว สีเดียวกันทั้งสองข้าง และสีเดียวกับสร้อยคอ
6. หน้าไก่ สีแดงสดใสไม่มีขนขึ้น
7. หูไก่ จะต้องมีขนขึ้นแน่นและปิดเกินรูหู
8. ติ่งหู สีแดงสดใสไม่เล็กหรืใหญ่เกินไปรับกับใบหน้า
9. ติ่งใต้คาง สีแดงสดใสไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ช่องระหว่างติ่งสองข้างจะต้องปิดสนิทไม่ห่างกัน ทั้งสองข้างต้องมีขนาดเท่ากัน
10. ลำคอ ข้อต่อของคอจะต้องแน่นไม่ห่าง ไม่ยาวหรือสั้นเกินไปรับพอดีกับลำตัว
11. สร้อยคอ สร้อยยาวรอบคอ สร้อยไม่สั้น  สีของสร้อยจะต้องเป็นสีเดียวกันกับสร้อยลำตัวสร้อยปีก  ขนสร้อยคอจะต้องมีสีดำเป็นเส้นอยู่ตรงกลางยาวเกือบตลอดทั้งเส้น สร้อยคอจะต้องเริ่มจากหลังหัวไปถึงกลางหลังและต่อกับสร้อยหลังเป็นแนวเดียวกัน
12. สร้อยหลัง สีเหมือนสร้อยคอยาวจนถึงโคนหางต่อเป็นแนวเดียวกับสร้อยสะโพก
13. สร้อยสะโพก สีเข้มกว่าสร้อยหลังนิดหน่อยแต่อยูในโทนสีเดียวกัน จะต้องยาวลงไปปิดท้องไก่ หรือยาวจรดดิน ดีมาก
14. ปีกไก่ ต้องมีขนครบทุกเส้น ขนปีกนอกสิบเส้นขึ้นไป ขนปีกยาวจนถึงกันทั้งสองด้าน ขนปีกนอกจะต้องมีสีแดงหรือน้ำตาลเข้ม เรียกว่าปีกนกคูด อยางน้อยหนึ่งด้านของเส้นขน ถ้าแดงทั้งสองด้านดีมาก
15. ขนลำตัว สีขนลำตัวสีดำ หรือมีขนสร้อยแซมบ้างเล็กน้อย แต่ต้องสีเดียวกับสร้อคอ
16. ขนพัด คือขนเส้นใหญ่ที่หาง จะต้องมีอย่างน้อยข้างละ 6 เส้นมีมากกว่า 6 เส้นดีมาก ขนจะต้องยาวและใหญ่
17. ขนหาง หรือขนกะลวย อย่างน้อยต้อมีสองเส้นยาวเท่ากันโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม หรือยาวจรดดิน หรือหางลากดิน ขนหางมีตั้งแต่สี่เส้นขึ้นไปดีมาก
18. ขนลูกกะลวย หรือขนที่ปกคลุมหางพัดจะต้องยาวคลุมหางพัด ไม่สั้น และมีอย่างน้อยแปดเส้น
19. อุดไก่ จะต้องตรงไม่บิดงอ มีขวดน้ำมันอันเดียว และที่ปลายขวดน้ำมันจะต้องมีขนขึ้นแน่นเต็ม
20. ตะเกียบก้น ชิดแน่นไม่กว้าง ไม่บิดงอ
21. ขนท้อง จะต้องมีขนปุกปุยขึ้นแน่นไม่มีที่ว่าง
22. ขาไก่ ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป มีขนขึ้นเต็ม ที่ข้อต่อมีขนสร้อยขึ้น
23. แข้งไก่ กลมตรง ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป
24. เกล็ดแข้ง สีดำ สีเทา สีเขียวแก่ หรือสีกระ เป็นเกล็ดร่วง เกล็ดกำไล ไม่มีเกล็ดขัด ถ้ามีเกล็ดเหน็บจะต้องมีทั้งสองข้าง
25. นิ้วไก่ มีนิ้วครบ 8 นิ้ว ไม่เกล็ดนิ้วแตก ถ้ามีเกล็ดแตกจะต้องมีทั้วสองข้าง
26. เล็บไก่ มีเล็บครบทุกนิ้ว ไม่หยิกงอ สีดำสนิท
27. เกล็ดข้างแข้ง หรือเกล็ดลำเท็ง จะต้องมีสีแดง 1 - 3 แถว ทั้งสองแข้ง
28. ฝ่าเท้า จะต้องหยาบไม่ละเอียด ถ้ามีเกล็ดที่ผ่าเท้าถือว่าสุดยอดไก่ต่อ(เกล็ดเทวดาเหยีบกรวด)
29.ขนลาน คือขนที่อยู่ระหว่างสะโพกถึงอุดไก่ จะต้องแน่นไม่มีที่ว่าง

การจับไก่แจ้มาทำไก่ต่อ

การจับไก่แจ้(เหล่าไก่ต่อ)ที่เลี้ยงไว้มาล่ามทำไก่ต่อ นั้นไม่ใช่ว่าจะจับไก่ตัวไหนก็ได้ จะต้องดูไก่ที่เข้าตำราไก่ต่อ และงามที่สุดในฝูง   วิธีการจับไก่ จะต้องใช้ไก่ต่อด้วยกันมาจับและใช้ครุนจับแบบต่อไก่ป่า จะได้รู้ว่าขณะที่จับนั้นไก่มีท่าทีอย่างไร สู้ไก่หรือไม่ เข้าตีไก่ด้านไหนของครุน เสียงขันของไก่เป็นอย่างไร ท้าทายไก่ตัวอื่นให้ตีหรือไม่

หลังจากที่จับไก่ได้แล้วจะต้องใช้หลักไก่ต่อ ล่ามไก่แล้วขังกรงที่เตรียมไว้ขังไก่ต่อโดยเฉพาะ ให้ข้าวเปลือก น้ำ ข้าวโพด และอาหารเสริมบำรุงกำลังเหมือนไก่ชน แล้วถ่ายพยาธิ

หลักไก่ต่อ  มีลักษณะคล้ายที่เจาะกระดาษ  มีหัวหลักทำด้วยไม้หรือโลหะ ขนาดยาวประมาณ 5 ซ.ม. พอใช้มือกำรอบ และถนัดมือขณะใช้ปักดิน หัวหลักไก่ต่อมีหลายรูปแบบแล้วแต่ถนัด ส่วนมากจะทำเหมือนสากกระเบือขนาดเล็กและมีร่องแนวขวางตรงกลางด้ามขนาด 0.3 ซ.ม. ไว้สำหรับผูกเชือก  ต่อจากหัวหลักเป็นเหล็กหรือโลหะขนาด 0.5 ซ.ม. ยาว 15 - 20 ซ.ม. ปลายแหลม ไว้สำหรับปักดิน
 เชือกล่ามไก่ต่อ ทำด้วยเชือกที่เหนียวและทนไม่นิ่มจนเกินไป ส่วนมากจะใช้สายเชือกที่ใช้ทำสายพานรถไถนา หรือเชือกไนลอน จะถักสนับแข้งเป็นวงกลมใหญ่กว่าแข้งไก่เล็กน้อยด้วยด้ายดิบ สามารถถอดเข้าออกได้ตอนล่ามไก่และปล่อยไก่   เชือกที่ล่ามไก่ยาวประมาณ 15 -20 ซ.ม. แล้วต่อด้วยลูกหมุน(ลูกวิน) ไว้เพื่อไม่ให้เชือกคลายเกลียวหรือม้วนเป็นขด ลูกหมุนทำด้วยเขาควาย นำมาเจาะรู 2 รู ติดกัน แล้วเหลาให้เล็กเท่าปลายก้อย ไว้สำหรับร้อยเชือกได้หลวมนิดหน่อย  และต่อด้วยเชือกอีกด้านยาวประมาณ 15 ซ.ม. ไปผูกกับหลักไก่ ไม่ให้แน่นจนเกินไปสามารถหมุนได้
  กรงขังไก่ต่อ จะขังไก่ต่อกรงละ  1 ตัว กรงทำด้วยไม้หรือไม้ไผ่ ขนาดประมาณ 80x80x80 มีประตูขนาด 40x40  ไว้เปิดเพื่อจับไก่เข้าออกได้สะดวก พื้นกรงต้องมีช่องสำหรับระบายมูลไก่ทิ้ง
ภายในกรงจะต้องมี ถ้วยข้าว ถ้วยน้ำ แต่ไม่ต้องมีคอนให้ไก่เกาะ  การวางกรงไก่ตามความเชื่อของเซียนไก่ต่อ จะวางไว้สูงจากพื้นอย่างน้อยอยู่ระดับสะเอวเจ้าของไก่  หันประตูกรงไก่ไปทางทิศตะวันออกหรือทิศใต้ และจะตั้งกรงไก่ไว้ใกล้ห้องครัวหรืออยู่ในห้องครัว ถ้าขังไก่หลายตัวจะต้องไม่ให้ไก่มองเห็นกันได้
  หลังจากขังไก่ต่อได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็เริ่มฝึกโดยการนำไก่มาอุ้มสร้างความคุ้นเคยจนไก่จำเจ้าของได้ เพราะจะต้องอุ้มไก่ไปต่อ ถ้าไม่เชื่องไก่จะดิ้นไม่สามารถต่อไก่ป่าได้ ฝึกปักหลักจนไก่คุ้ยเคยกับหลักไม่ดิ้นหนีหรือบิน เมื่อไก่เริ่มขัน ให้ลองพาไก่ไปปักใกล้ไก่ต่อตัวอื่นดูว่าไก่ขันตีปีกสู้หรือไม่ ถ้าไม่สู้จะแสดงอาการยกปีกก้มหัวขนหัวตั้งและไม่ขัน ให้นำไก่ออกห่างทันที ถ้าไก่สู้ขัน ตีปีก ลองเอาเข้าใกล้ดูว่าไก่ตีไก่ตัวอื่นหรือไม่ ถ้าไก่ตีให้ถอยออกมาอย่าให้ถึงกันมากเกินไปไก่จะได้รับบาดเจ็บได้ ต่อจากนั้นก็เริ่มฝึกต่อที่สนามหญ้าข้างบ้านก่อนไก่จะได้คุ้นเคยกับครุน ไม่เข้าติดครุนเสียเอง  จากเริ่มจับไก่ถึงตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 - 3  เดือน

การเลือกเสียงไก่
  การเลือกเสียงไก่มีวิธีการฟังหลายรูปแบบแล้วแต่ใครชอบเสียงแบบไหน  เสียงขันของไก่ต่อ จะมีสี่พยางค์  ไก่ที่ขันไม่ถึงสี่พยางค์จะไม่นำมาทำไก่ต่อ มีความเชื่อแฝงอยู่มากมายแล้วแต่ใครจดจำมาจากเซียนไก่ต่อคนไหน จะกล่าวไว้ที่พอจะทราบน่ะครับ  ซึ่งทั้งหมดเป็นความเชื่อส่วนบุคคลครับไม่มีหลักฐานการอ้างอิงที่แน่นอน การฟังเสียงของไก่ต้องใช้ความสามารถพอสมควร

แบ่งตามประเภทเสียง
1.เสียงเล็ก  ไก่เสียงเล็กจะต่อไก่ป่าเสียงกลางถึงเสียงใหญ่ได้
2.เสียงกลาง ไก่เสียงกลางจะต่อไก่ป่าเสียงใหญ่กับเสียงเล็กได้
3.เสียงใหญ่ ไก่เสียงใหญ่จะต่อไก่ป่าเสียงเล็กได้
ไก่ป่าส่วนมากจะเป็นไก่เสียงกลางถึงเสียงใหญ่

เปรียบเสียงขันของไก่ต่อกับความหมายคล้ายคลึง ขณะที่ไก่ต่อขันจะตีความหมายเป็นภาษาของคนตามจังหวะทีละพยางค์
1.แกง-ไก่-เถื่อน-เถอะ  หมายถึงไก่ตัวนี้ถ้านำไปต่อแล้วจะได้ไก่ป่ามาแกง
2.แกง-ไก่- ต่อ -เถิด     หมายถึงไก่ตัวนี้ถ้านำไปต่อแล้วจะไม่ได้ไก่ป่าจะต้องเอาไก่ต่อมาแกงเสียเอง
3.ครก - กระ - เบือ -เอือด หมายถึงไก่ตัวนี้ถ้านำไปต่อแล้วจะได้ไก่ป่ามาแกงทุกวันจนครกกระเบือไม่แห้ง
4.ยก - กระ - โหลก - ครอบ หมายถึงไก่ตัวนี้ถ้านำไปต่อแล้วจะได้ไก่ป่าโดยง่ายเหมือนครอบด้วยกระโหลกไว้แล้ว
5.แกง - ก้อ - แกง - เถิด  หมายถึงไก่ตัวนี้ถ้านำไปต่อแล้วจะไม่ได้ไก่ป่าจะต้องเอาไก่ต่อมาแกงเสียเอง
6.สาก - กระ - เบือ - เอือด  หมายถึงไก่ตัวนี้ถ้านำไปต่อแล้วจะได้ไก่ป่ามาแกงทุกวันจนสากกระเบือไม่แห้ง

เสียงของไก่ต่อที่นิยมเป็นเสียงเล็ก พยางค์หน้าสั้น พยางค์ที่สองสั้น พยางค์ที่สามยาวและก้อง พยางค์ที่สี่สั้นและแน่น  เซียนบางท่านเน้นเสียงไก่มากกว่ารูปร่างลักษณะบางท่านก็เน้นลักษณะมากกว่าเสียงขันแล้วแต่ความชอบครับ

ไก่ต่อมีลักษณะต้องห้ามเหมือนกันครับ

1.ปากเหม็น (ความเชื่อเหมือนนกเขาขวาครับ) ไก่ที่ปากเหม็นจะไม่นำมาทำไก่ต่อจะให้โทษต่อผู้เลี้ยงครับ
2.ขนสร้อยหน้าอกและท้อง ไก่ที่มีขนสร้อยที่หน้าอกและท้องจำนวนมากจะเป็นไก่ที่ขึ้นสัตว์ เมื่อนำไก่ออกไปต่อจะเจอสัตว์ใหญ่ เช่นเสือ หมูป่า ช้างป่า งูใหญ่ กวาง กระทิง  แต่สัตย์เหล่านี้จะหายากแล้วครับในป่าปัจจุบัน  เซียนไก่ต่อบางท่านก็ชอบเพราะเอาปืนไปด้วย
3.หงอนเหิน คือหงอนไก่ที่ไม่กดกระหม่อม เมื่อต่อไก่ป่าติดแล้ว ไก่ป่าจะดิ้นทำให้ครุนขาดได้
4.ไก่ทีขี้ใส่เจ้าของ  คือขณะอุ้มไก่ออกไปต่อไก่ขี้ใส่เจ้าของไก่หรือเสื้อผ้า จะทำให้เจ้าของไก่ถูกงูกัดได้ขณะออกต่อไก่
5.ไก่ที่ขันในเสื้อ หรือไก่ที่ขันขณะอุ้ม จะทำให้ไก่ป่ามองเห็นคนต่อก่อนที่จะได้ต่อไก่
6.ไก่ที่มีเกล็ดขัด คือไก่ทีมีเกล็ดแข้งและเกล็ดนิ้วทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน
7.ไก่ที่ไม่มีขนลาน คือขนที่อยู่ระหว่างสะโพกถึงก้นไก่ หมายถึงไก่ตัวนี้จะต้องถางป่าบริเวณที่จะต่อไก่ป่าก่อนที่จะได้ต่อไก่ทำให้ไก่ป่าหนีหมด
8.ไก่ที่ขี้ไม่เป็นก้อนหมายถึงไก่ไม่สมบูรณ์จะทำให้เจ้าของเจ็บป่วยได้


 
 


* ไก่ต่อ.jpg (165.29 KB, 720x960 - ดู 20952 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 29 มีนาคม 2012, 16:52:58 โดย civilroom » IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 28 มีนาคม 2012, 20:12:22 »


การออกต่อไก่ครั้งแรก

อุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมเวลาที่ออกต่อไก่ป่า

1.ไก่ต่อต้องสมบูรณ์
2.ครุน
3.ชุดพลางแบบทหาร หมวก
4.รองเท้าที่กันหนามหรือกันงูกัดได้(รองเท้าบู๊ทเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน)
5.มีดสั้น
6.น้ำดื่ม
7.ข้าวห่อ(ถ้าไปต่อไก่ป่าไกลๆ)
8.เชือกมัดไก่ป่า
9.ไม้ขีดไฟ
10.ของใช้อื่นๆที่จำเป็นส่วนตัว

    การออกต่อไก่ครั้งแรก ถ้าเป็นลูกศิษหัดใหม่ จะไปพร้อมกับครูหรือเซียนไก่ต่อที่ต่อไก่ป่าได้มาแล้ว จะสอนวิธีการฟังเสียงไก่ป่า กะระยะความห่างของเสียงไก่กับที่เราอยู่ว่าไกลขนาดไหนหรือต้องเข้าใกล้ไก่ป่าอีกถึงจะปักครุนต่อไก่ได้ สอนวิธีการปักครุนต่อไก่การเว้นระยะห่างของครุนแต่ละอัน ระยะห่างของครุนกับไก่ต่อ ดูแนวการเข้าตีของไก่ป่าว่าจะมาทางไหน การปักหลักไก่ต่อในวงครุนให้พอดีกับเชือกล่ามไก่ต่อ  การซุ่มหลบไก่ป่า การเรียกไก่ต่อให้ขันท้าไก่ป่า การเรียกไก่ป่า และถ้าต่อไก่ป่าได้จะสอนวิธีการเข้าจับไก่ป่าที่ติดครุน ไม่ให้หลุดหรือขาดได้ เมื่อจับไก่ป่าได้แล้วจะสอนเกี่ยวกับการมัดไก่ป่าไม่ให้ดิ้น และการถอนขนการชำแหละไก่ป่า

  การชำแหละไก่ป่ามีข้อต้องห้ามที่สำคัญ ห้ามเชือดคอไก่ ห้ามลวกไก่ด้วยน้ำร้อน ห้ามใช้มีดเชือดหรือตัดเอาอวัยวะภายในของไก่ออกมา  ให้ใช้ไม้ตีหัวไก่หรือจับไก่ฟาดกับไม้แทนการเชือดคอ และถอนขนไก่ป่าโดยไม่ต้องลวกน้ำร้อนเสร็จแล้วลนไฟขนอ่อน และลนไฟที่ท้องไก่ให้สุกแล้วใช้มือฉีกท้องไก่ควักอวัยวะถายในโดยไม่ใช้ของมีคม  หลังจากดึงเอาอวัยวะภายในออกแล้วให้ชำแหละไก่ป่าด้วยของมีคมได้ จะสับต้มแกงอย่างไรแล้วแต่ชอบ  ตามความเชื่อการใช้มีดหรือของมีคมชำแหละไก่ป่าจะทำให้เชลยขาด หมายถึงจะต่อไก่ป่าไม่ได้อีกต้องฝึกหัดไก่อีกนานกว่าจะต่อไก่ป่าได้อีก หรือต่อไม่ได้อีกเลยในปีนั้น
  ถ้าจะให้ไก่ป่าที่ต่อมาได้แก่ผู้อื่นจะต้องชำแหละตามวธีการข้างต้นให้เรียบร้อยก่อนจึงจะให้ไปได้ ยกเว้นให้ไก่ป่าที่ยังมีชีวิตเพื่อเอาไปเลี้ยง

การหลอนไก่ต่อ คือการเอาไก่ต่อตัวนั้นออกต่อครั้งแรก จะต้องดูวันออกต่อไก่ให้เป็นวัน เสาร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี และห้ามออกหลอนไก่ต่อวัน ศุกร์ ตามความเชื่อว่า วันศุกร์จะให้ทุกข์แก่สัตว์ ไก่ต่อหรือเจ้าของไก่จะได้รับอันตรายขณะออกต่อไก่ได้
ถ้าหลังจากออกหลอนไก่ต่อแล้วไม่สามารถต่อไก่ป่าได้ จะต้องออกหลอนไก่ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะต่อไก่ป่าได้แล้วที่นี้จะออกต่อไก่ป่าวันไหนก็ได้ แล้วแต่สะดวก

การเรียกไก่ให้ขัน

การเรียกไก่ให้ขันทำได้หลายวิธี
1. ใช้ไก่ตัวเมียล่อ  ไก่ตัวเมียที่อาจหรือใกล้จะไข่ จะร้องเรียกไก่ตัวผู้ เมื่อไก่ตัวผู้ได้ยินจะขันและตีปีกวิ่งเข้าหาทุกตัวครับ

2. ใช้วิธีการเป่าเสียงไก่ตัวเมียด้วยมือ  เป็นวิธีการที่จะต้องฝึกก่อนออกต่อไก่ป่า โดยกำมือให้แน่น หายใจเข้าให้เต็มปอด แล้วใช้มือที่กำมาปิดที่ปากให้แน่นโดยเป่าลมออกมาระหว่างนิ้วชี้และหัวแม่มือเป็นจังหวะ เหมือนไก่ตัวเมียร้อง วิธีนี้เซียนไก่เก่าๆจะทำเป็นทุกคน และใช้เรียกไก่ป่าได้ด้วย

3.ใช้อุปกรณ์ช่วยครับ บางท่านใช้ใบไม้ มาเป่าเป็นเสียงไก่ เป่าได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย  และอุปกรณ์อีกอย่างคือ ต้อย  เป็นเครื่องเป่าสำหรับต่อไก่ป่าโดยเฉพาะทำด้วยโลหะทองเหลืองหรือแสตนเลส ผลิตมาจากภาคเหนือหรือภาคอีสานของไทย ปัจจุบันเซียนไก่ในภาคใต้บางท่านนำมาเลียนแบบทำใช้บ้างแล้ว  เสียงของต้อย จะเหมือนเสียงไก่ตัวเมีย และง่ายต่อการใช้ เสียงไม่เพี้ยนไก่ป่าไม่ตกใจ สามารถได้ยินไปไกล  จึงเป็นอุปกรณ์อีกอย่างที่คนต่อไก่รุ่นหลังชอบใช้กันมาก

 จากการประกวดไก่ต่อที่จังหวัดชุมพร จะมีการแข่งเป่าเสียงไก่ตัวเมียด้วยมือ อีกรายการหนึ่ง เป็นที่ชื่นชอบของเซียนไก่ต่อรุ่นเก่ามาก บางท่านเป่าจนเป็นลม หมดแรง ก็มี เพราะต้องกลั้นหายใจขณะเป่าเสียงจึงจะดังและก้อง

ฤดูต่อไก่

ฤดูต่อไก่ ไก่ป่าจะเริ่มขันตั้งแต่เดือน ตุลาคม ถึง เดือนมิถุนายน ถ้าคิดเป็นเดือนแบบไทยจะเริ่มจาก วันแรม 1 ค่ำเดือน 11  ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 หลังจากนั้นจะเข้าช่วงฤดูฝนไก่ป่าจะหยุดขัน
เวลาที่ออกต่อไก่  จะออกต่อไก่ป่าตั้งแต่ตี 5 จะใช้เวลาเดินทางโดยรถไม่เกินครึ่งชั่วโมง และเดินด้วยเท้าเข้าป่าอีกครึ่งชั่วโมง จะถึงที่ไก่อยู่ ประมาณ 6.00 น.  จะเป็นเวลาที่ไก่ป่าขันตอนเช้าพอดี เมื่อได้ยินเสียงไก่ป่าขันก็จะเข้าไปต่อไก่ก่อนที่ไก่จะลงจากต้นไม้ เสร็จแล้วก็เข้าซุ่มตามต้นไม้ไม่ไกลนัก  ไก่ป่าบางตัวขันท้า 2- 3 ชั่วโมง บางตัวไม่เกิน 15 นาทีก็เข้าตีไก่ต่อแล้ว  ถ้าไก่ป่าไม่เข้าตี หรือต่อไก่ป่าได้แล้ว ถ้าไก่ป่าตัวอื่นยังขันก็สามารถไปต่อไก่ป่าตัวอื่นได้อีก  แต่ส่วนมากไก่ป่าจะหยุดขันตอนเที่ยง จะเริ่มขันอีกตอนห้าโมงเย็น  ถ้าจะมาต่อไก่ป่าตอนเย็นอีกก็ได้ แต่ถ้าไก่ไม่เข้าตีจะมืดก่อน

ลักษณะไก่ป่า

    เนื่องจากมีผู้คนที่อาศัยอยู่ตามป่าเขาเพื่อประกอบอาชีพการเกษตร และมีการเลี้ยงไก่แจ้ไว้เป็นอาหาร เนื่องจากเลี้ยงง่าย ไม่ต้องให้อาหารไก่จะออกหากินตามป่าเขาและจะกลับมานอนตามต้นไม้ใกล้บ้านเรือน เวลาออกต่อไก่ป่าจะต้องแยกลักษณะของไก่แจ้ ไก่ต่อ หรือไก่ป่า ให้ออกไม่เช่นนั้นจะโดนข้อหาลักทรัพย์ ติดตารางเล่นๆสักหกเดือนถึงสองปี (อาจจะนำไก่ลักษณะไม่ดีไปต่อหรือคนต่อไก่ลักษณะไม่ดีก็ไม่ทราบได้)

การดูลักษณะและนิสัยของไก่ป่า
  1. จะต้องนอนบนต้นไม้ ในป่า ไม่อยู่ใกล้บ้านเรือน
  2. เสียงขันแหบแห้ง ไม่เหมือนไก่แจ้หรือไก่ต่อ   พยางค์ท้ายจะยาวและสั่นเคลือ ไม่สั้นเหมือนไก่ต่อ
  3. จะปราดเปรียวว่องไว เห็นคนแล้วจะบินหนีไปไกล บางครั้งบินข้ามภูเขาได้
  4. ได้ยินเสียงคนแล้วจะเงียบไม่ขัน
  5. ขณะที่คุ้ยเขี่ยหากิน จะระแวดระวังทุกครั้งก่อนจะกินอาหาร ไม่ก้มหน้าก้มตากิน
  6. ถ้าต่อได้ไก่ป่าจะดิ้นอย่างเดียวไม่ร้อง ถ้าร้องส่วนมากจะเป็นไก่แจ้หรือไก่ต่อ
  7. ขนของไก่ป่าจะมีสีที่ไม่กลมกลืนกันทั้งตัวเหมือนไก่ต่อ ขนจะหลุดง่าย
  8. ตาของไก่ป่าจะกว้างกลม ลูกตาจะนูนออกนอกเป้าตา
  9. หงอนไก่ป่า ตอนที่อยู่ในป่าจะแดงและใหญ่ หลังจากต่อได้จะเล็กลงและดำคล้ำทันที
10. เกล็ดแข้งไก่ป่าจะเป็นเกล็ดแตกตลอดแข้งไม่มีเกล็ดพัด เกล็ดบางและเรียบ สีดำ - เทา
11. หางกะลวยของไก่ป่าจะมีไก่เกินสองเส้น ปลายมนไม่แหลม
12. หางพัดจะสั้นเสมอกันเกือบทุกเส้น
13. หางลูกกะลวยจะสั้นปลายมนและมีน้อยเส้น
14. กระดูกไก่ป่าจะบางและกรอบ หากจับแรงๆกระดูจะหักได้ง่าย
15. ถ้าจับมาเลี้ยงไก่ป่าจะดิ้น เอาหัวชนกรงขังทั้งวันและไม่กินอาหาร

  ลักษณะของไก่ป่าในแต่ละภาคของไทยมีความแตกต่างกันบ้างจะต้องศึกษาในถิ่นนั้นๆว่าดูจากลักษณะโดยรวมแล้วเป็นอย่างไร

ไก่ป่าที่ผ่านการเพาะเลี้ยงแล้วจะเชื่องกว่าไก่ป่าจริงๆ แต่ยังคงลักษณะหลายประการไว้
สามารถศึกษาลักษณะของไก่ป่าได้ตามรูปในเวป
http://www.thaifeed.net/board/view.asp?id=579
http://www.chiangmaizoo.com/animal/pg-an056.asp
http://www.zoothailand.org/animals/birds_th.asp?id=2
http://www.forest.go.th/re_wildlife/wildlife/breeding/preasant.html

ไก่ป่าต้องแกงป่ากับมะละกอครับ แกงน้ำน้อยๆเผ็ดๆ หรือจะต้มขมิ้นก็อร่อย ครับ

หลังจากต่อไก่ป่าได้แล้ว จะมีส่วนที่เซียนไก่ต่อนิยมเก็บไว้ 2 อย่าง คือ หางกระลวยไก่ป่า และแข้งไก่ป่า(ตีนด้วย)  หางไว้นับว่าปีนี้ต่อไก่ป่าได้กี่ตัว(ไก่ป่าจะมีหางกระลวย 2 เส้น) แข้งไก่ไว้ทำยา (ความเชื่อของคนโบราณ จะนำแข้งไก่ป่าไปเผาไฟแล้วนำมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ให้เด็กที่กำลังหัดเดิน(ตั้งไข่) กินเพื่อให้เดินได้เร็วขึ้น) เนื่องจากการสังเกตุเห็นลูกไก่ป่าหลังจากออกจากไข่ ตอนเข้าตอนบ่ายๆจะเดินตามแม่ไปหากินได้เลยไม่ต้องให้แม่ฟักอีกสองสามวันเหมือนไก่บ้านที่ขาไม่แข็งแรง วันที่สามจะกระโดดขึ้นนอนบนต้นไม้ต่ำได้ หนึ่งสัปดาห์ จะบินขึ้นนอนบนกิ่งไม้ได้

ไก่ป่าที่ต่อได้มา ต้องขังไว้ตลอดครับ ปล่อยไม่ได้ หนีเข้าป่าทันที ส่วนมากไก่ป่าที่ได้มาจะแกงทุกตัว เพราะ ขังไว้แล้วจะดิ้นจนหัวถลอกไม่กินอาหารหอมแห้งแรงน้อย จนตายในที่สุด  เคยเลี้ยงไว้ตัวหนึ่งอยู่ได้ปีเดียว ตาย 

สำหรับไข่ไก่ป่าเคยนำมาฟักกับไก่ต่อตัวเมีย พอโตเริ่มบินได้หนีเข้าป่าหมดเลย ถ้าจะเลี้ยงไก่ป่าต้องทำกรงขังขนาดใหญ่  พื้นดิน มีต้นไม้หรือต้นไผ่อยู่ข้างใน ไม่มีคนไปรบกวน

เคยฟังเสียงต้อยที่ใช้เวลาไปต่อไก่ป่าไหมครับ
http://download.yousendit.com/429F2CEA286797A9






ตัวเมียกะลูกๆ


* ไก่ป่าตัวเมีย.jpg (111.23 KB, 720x960 - ดู 11024 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 29 มีนาคม 2012, 17:01:09 โดย civilroom » IP : บันทึกการเข้า
cornertown
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 29 มีนาคม 2012, 03:09:45 »

ลดได้อีกมั้ย
IP : บันทึกการเข้า
civilroom
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,113



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 29 มีนาคม 2012, 09:28:28 »

แกงป่า มีหลายแบบครับ จะแนะนำสักสองแบบแล้วกันที่ผมพอจะแกงเป็นน่ะครับ คือแกงป่าที่แกงในป่าจริงๆและแกงป่าที่แกงที่บ้าน

เครื่องแกง ประกอบด้วย พริก 3 ส่วน พริกไทย 1 ส่วน กระเทียม 1 ส่วน หอมแดง 1 ส่วน ข่า 3 ส่วน ตะไคร้ 5 ส่วน กระชาย 1 ส่วนขมิ้น  1 ส่วน  ผิวมะกรูด 1 ส่วน เกลือ 1/2 ส่วน   ถ้าเป็นแกงป่าที่แกงที่บ้านจะนำของทั้งหมดมาตำเกือบละเอียด แต่ถ้าเป็นแกงป่าที่แกงในป่าระหว่างเดินป่าจะไม่มีครกตำพริแกง จะต้องหั่นแล้วทุบให้แตกด้วยมีดหรือไม้ แล้วใส่กะปิ 1 ส่วน โขลกให้เข้ากันหลังจากตำพริกแกงเสร็จ

เริ่มแกงโดยนำพริกแกงมาละลายน้ำพอท่วมเครื่องแกง(ไม่ใส่น้ำมาก ใส่น้ำมากแล้วรสจะไม่จัด) ตั้งไฟพอน้ำแกงเดือดแล้วใส่ไก่ป่าที่สับเรียบร้อยแล้ว คนให้เครื่องแกงเข้ากับเนื้อไก่ พอสุกใส่มะละกอสับ(สับแบบเดียวกับที่ใช้ตำส้มตำ) ปรุงรส แล้วใส่ใบมะกรูด หรือ ใบยี่ร่า ใบอ่อนส้มแป้น ใบกระเพรา แล้วแต่ชอบ ใส่พริกใหญ่หั่นหนาๆ  ใส่พริกไทยอ่อนเป็นช่อสั้นๆ   พอเดือดแล้วตักใส่ถ้วน ตักข้าวร้อนๆ (ข้าวเหนียวก็ได้)
ถ้าแกงระหว่างเดินป่าก็ตั้งน้ำแกงแล้วใส่เครื่องแกงที่ทุบแล้ว(แต่จะต้องใช้น้ำพอสมควรเนื่องจากเครื่องแกงจะไม่เข้ากับเนื้อไก่และผัก)ถ้าเครื่องแกงมีไม่ครบก็ใส่เท่าที่หาได้ ถ้าไม่มีมะละกอ ก็ใช้ผักที่พอจะหาได้ในป่ามาใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ในปัจจุบันจะมีเครื่องแกงสำเร็จขายแล้วหรือจะเตรียมไปจากบ้านก็ได้

แกงจะเผ็ดมากถึงมากที่สุดและเผ็ดแบบไม่มีคำบรรยาย กินแล้วหูจะอื้อ ลิ้นชา ปากปลิ้น น้ำมูกน้ำตาไหล เป็นที่ชื่นชอบของคอเหล้าขาว แต่ถ้าใครที่ไม่เคยกินมาก่อนจะต้องกินแบบข้าวคำน้ำคำทีเดียว คนใต้ส่วนมากจะใช้ผักหลายๆชนิดมากินสดๆร่วมกันแกงด้วยเพื่อบรรเทาความเผ็ดแบบไม่มีคำบรรยาย  ขนาดที่ผมแกงกินเองกินเสร็จไม่รู้ว่าอิ่มน้ำ หรืออิ่มข้าว หรือผักกันแน่  ฟังแล้วพอจะบรรยายแทนกลิ่นที่ส่งไปไม่ได้ ได้หรือปล่าวครับ



ขอบคุณคุณ chang209 จากเวปhttp://www.nokkhao.com คับ



ลดได้อีกมั้ย

"ไก่ต่อ"  ไปผ่อแล้วก่อต่อรองราคาได้เลย ^ ^
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 29 มีนาคม 2012, 17:03:21 โดย civilroom » IP : บันทึกการเข้า
พระรามเดินดง
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2014, 15:08:24 »

มีตัวไม่เกินหนึ่งพันไหม ส่งมาเชียงใหม่สักตัวครับอ้าย
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!