เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 16 เมษายน 2024, 18:53:06
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง
| | |-+  เกยสงสัยก่อคับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน เกยสงสัยก่อคับ  (อ่าน 1594 ครั้ง)
Vip007
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 149


« เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2012, 17:47:14 »

เจียงฮายแป๋งก่อนเจียงใหม่ แล้วเจียงใหม่เยี้ยะใดเจริญเหลือเจียงฮาย จะไปบอกเน้อว่าเพราะประเทศไทยมีนายกจื้อทักษิณกับยิ่งลักษ์ (อันหลังนี้ขำๆเน้อ) :-):-D;-)
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2012, 18:28:28 »

เจียงฮายแป๋งก่อนเจียงใหม่ แล้วเจียงใหม่เยี้ยะใดเจริญเหลือเจียงฮาย จะไปบอกเน้อว่าเพราะประเทศไทยมีนายกจื้อทักษิณกับยิ่งลักษ์ (อันหลังนี้ขำๆเน้อ) :-):-D;-)

ใคร่ฟังแต้กาครับ เรื่องมันยาวหนา
IP : บันทึกการเข้า
Vip007
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 149


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2012, 18:53:36 »

จัดมาเลยครับ :-):-):-D:-D
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2012, 19:00:30 »

จัดมาเลยครับ :-):-):-D:-D

ก่อนอื่นขอนิยามกำว่า "เจริญ" ของท่าน จขกท. ก่อนครับ
ผมจะได้เล่าหื้อถูกประเด็นน่อครับ


จากประโยคของท่าน จขกท.
"เจียงฮายแป๋งก่อนเจียงใหม่ แล้วเจียงใหม่เยี้ยะใดเจริญเหลือเจียงฮาย
จะไปบอกเน้อว่าเพราะประเทศไทยมีนายกจื้อทักษิณกับยิ่งลักษ์
(อันหลังนี้ขำๆเน้อ) :-):-D;-)"
IP : บันทึกการเข้า
Vip007
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 149


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2012, 20:00:45 »

หมายถึงความมีจื้อเสียงหรือเวลามีก๋านมีงานหยั๋งก็จัดตึ้กเจียงใหม่อะหยั๋งประมาณเนี้ยครับ
IP : บันทึกการเข้า
สบายแมน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,485



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2012, 20:36:23 »

เจียงใหม่มีรถไฟครับ. ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2012, 22:01:47 »

หมายถึงความมีจื้อเสียงหรือเวลามีก๋านมีงานหยั๋งก็จัดตึ้กเจียงใหม่อะหยั๋งประมาณเนี้ยครับ

ฮับทราบครับ
IP : บันทึกการเข้า
เชียงรายพันธุ์แท้
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,024



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 20 มีนาคม 2012, 22:44:28 »

ก็อปเปิ้นมาแหมกำ ลองอ่านผ่อเน่อครับ

ตี้มา
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=17465

จากเอกนครสู่เมืองหลัก วงจรปัญหาการพัฒนาเมืองของประเทศไทย
              
ในช่วงหลายทศษวรรตที่ผ่านมา การพัฒนาในประเทศไทยมีจุดเน้นการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจ และการลงทุนขนาดใหญ่ จนในยุคหนึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
ถูกขนานนามว่า เสือตัวที่ห้าของเอเชีย สิ่งที่ตามมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจคือ การกลาย
เป็นเมืองเอกนครของเมืองหลวงของไทย

เอกนครคืออะไร

เมืองที่ลักษณะการกระจายตัวของประชากรในเมืองอันดับที่หนึ่งมีอัตราส่วนประชากรที่อยู่อาศัย
ต่อประชากรทั้งประเทศที่สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองที่มีขนาดรองลงไปมีขนาดใหญ่กว่า
หลายเท่า หรือไม่เป็นไปตามกฎตำแหน่งเมือง-ขนาดประชากร ของจอร์จ ซิพฟ์
(George K.Zipf) และภายในประเทศจะมีเพียงเมืองขนาดใหญ่ที่สุด
ไม่มีเมืองขนาดใหญ่รองลงไป แต่จะมีเพียงเมืองขนาดเล็กเท่านั้น
ซึ่งจะพบว่าในประเทศไทยความเป็นเอกนครของกรุงเทพมหานครที่ชัดเจนมาก

กระบวนการกลายเป็นเอกนครของกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมักถูกกล่าวขานเสมอว่าเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างของประเทศไทย
หรือที่กล่าวว่า “กรุงเทพคือประเทศไทย หรือ ประเทศไทยคือกรุงเทพ
"ความเป็นเอกนครของกรุงเทพมหานคร อาจจะไม่ได้เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผลทั้งต่อ การขยายตัวของกรุงเทพมหานคร แต่อาจเกิดปัจจัยต่างๆร่วมกัน
ซึ่งอาจพิจารณาหาจากปัจจัยทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม
และการเมือง

ในเชิงประวัติศาสตร์ การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นจุดเริ่มต้นที่มีการบังคับใช้บริเวณ
กรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองท่าขนส่งสินค้าในยุคอาณานิคม เป็นที่ตั้งทางธุรกิจที่สำคัญของ
พวกพ่อค้าชาวยุโรป และชาวจีน นอกจากนั้นยังมีการสร้างสาธารณูปโภคด้านการขนส่งเพื่อ
รองรับการค้ากับต่างชาติ ซึ่งสังเกตุได้จากการสร้างรถไฟ และถนนหนทางที่มุ่งเข้าสู่
กรุงเทพมหานครเพื่อขนส่งสินค้าจากพื้นที่ต่างๆภายในประเทศให้กับต่างประเทศ อีกปัจจัยหนึ่ง
ที่เกื้อหนุนคือทางด้านภูมิศาสตร์ กรุงเทพมีทำเลที่ตั้งใกล้ทะเล ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของ
พื้นที่รอบๆกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพเป็นพื้นที่สำคัญต่อระบบการค้าพาณิชนิยมจนมาถึง
ระบบทุนนิยมในปัจจุบัน

ในเชิงการเมือง ระบบการเมืองการปกครองของประเทศไทยเป็นลักษณะการปกครองแบบรวม
ศูนย์ตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมา แม้ระบอบการปกครองเปลี่ยนแปลง
ไปแนวคิดรวมศูนย์การปกครองที่มีการสั่งการจากส่วนกลางยังคงดำรงอยู่ ซึ่งเห็นได้จากบทบาท
และหน้าที่ของการวางแผนพัฒนามักมาจากส่วนกลางหรือกรุงเทพมหานคร ทำให้แผนพัฒนา
ประเทศหลายฉบับจึงมีแนวโน้มเอื้อประโยชน์แก่ชนชั้นนำในกรุงเทพมหานคร

การกลายเป็นเมืองที่ไม่แท้จริงของกรุงเทพมหานคร

การกลายเป็นเมืองในสังคมอุตสาหกรรม ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมือง
ดังนั้นการขยายตัวของเมือง จึงเชื่อมโยงกับเพิ่มประชากรและการกลายเป็นอุตสาหกรรม
แต่ในประเทศโลกที่สาม ไม่มีความสัมพันธ์ทั้งสามอย่างเสมอไป ทฤษฎีทันสมัยมักถือว่า
เมืองเป็นศูนย์กลางของการเติบโตของประชากร และเป็นแรงผลักดันสำหรับการพัฒนา
นำไปสู่สังคมสมัยใหม่ หรือการผลิตรูปแบบใหม่ทางวัฒนธรรม ในกรณีของประเทศไทย
กรุงเทพมหานครนั้นขยายจากการย้ายถิ่นเข้าจากชนบท การกลายเป็นอุตสาหกรรมไม่ใช้เงื่อนไข
ที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง แต่เกิดจากการเป็นศูนย์กลางการค้าและการบริการ

การเติบโตของกรุงเทพมหานครจะแตกต่างไปจากประเทศอุตสาหกรรมตะวันตกในศตวรรษที่ 19
เพราะกรุงเทพมหานครเติบโตโดยอิทธิพลของระบบอาณานิคม ทำหน้าที่เป็นเมืองส่งสินค้าจาก
พื้นที่ด้านในไปยังประเทศเมืองแม่ กรุงเทพมหานครเติบโตขึ้นเพื่อรับใช้นักลงทุนจากระบบ
อาณานิคม และจำลองเป็นบ้านหลังที่สองให้แก่ชาวยุโรป ที่ดำรงวิถีชีวิตของตนเองโดยสุงสิงกับ
วัฒนธรรมของคนพื้นเมือง ดังนั้นในทางวัฒนธรรม เมืองเหล่าจึงโดดเดี่ยวจากบริเวณโดยรอบ
และเหล่าอาณานิคมต้องเพียงลักษณะเมืองที่สามารถรองรับการส่งออกวัตถุดิบและนำเข้าสินค้า
จากยุโรป ซึ่งสังเกตได้จากถนน ทางรถไฟ การคมนาคมต่างๆเพื่อรองรับการลงทุนในประเทศ
(ชูศักดิ์, 2542 )

ระบบเศรษฐกิจ การเมืองในยุคอาณานิคมมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองที่บิดเบี้ยว
ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีการแพร่กระจายหรือทฤษฎีความทันสมัยที่คาดการณ์ไว้
ผลที่ตามมาคือสภาวะเติบโตที่เกินขนาดของเมือง ลักษณะการขยายตัวเมืองของ
กรุงเทพมหานครจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. การอพยพจากชนบทสู่เมือง จากการศึกษาของประภา คงปัญญา (2543)
พบว่าลักษณะเขตที่อยู่อาศัยเดิมของย้ายถิ่น 5 ปีในกรุงเทพมหานครเกิดมากจากพื้นที่ชนบท
ส่วนใหญ่ ซึ่งเกิดจากความไม่มั่นคงในวิถีชีวิตการเกษตรในชนบทเพราะที่ดินราคาแพงและต้อง
พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น อันเนื่องจากการปฏิวัติเขียว ต้นทุนการผลิตการเกษตรสูงขึ้น
เกษตรกรไม่สามารถยืนอยู่บนระบบทุนนิยมได้ บางกลุ่มจึงต้องอพยพเข้าเมืองเพื่อหางานทำ
ดังนั้นการเติบโตของเมืองในประเทศจึงเป็นไปอย่างไม่พึ่งประสงค์

2. ตลาดของสินค้าจากประเทศไทยมักเป็นตลาดต่างประเทศ ในขณะที่ผู้บริโภคภายในประเทศ
อดอยากหรือต้องซื้อของแพง การเกษตรที่มุ่งรับใช้ผลประโยชน์ภายนอกประเทศมากกว่าที่จะ
สนับสนุนการพัฒนาในประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากการค้าในกรุงเทพมหานคร โดยมากจะเป็น
วัตถุดิบเพื่อการส่งออก ธุรกิจการค้าในเมืองมักตกอยู่ภายใต้การควบคุมของบรรษัทข้ามชาติเป็น
ส่วนใหญ่ และการขยายตัวของภาคธุรกิจของเมืองส่วนใหญ่เป็นการเติบโตในภาคธุรกิจบริการที่
ไม่เป็นทางการ

3. สภาพแวดล้อมทางประชากร การเติบโตของเมืองในประเทศโลกที่สามมักจะก่อให้เกิดการ
ขาดแคลนที่อยู่อาศัย เกิดชุมชนแออัด หรือคนเร่ร่อนไร้ที่อยู่ ในกรุงเทพมหานครปี 2543 จาก
การสำรวจของการเคหะแห่งชาติพบจำนวนชุมชน 1,226 ชุมชน  จำนวนครัวเรือน 249,822 หรือ
มีจำนวนประชากร 1,124,199 คน หากเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร
คิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดในกรุงเทพฯ (ประชากรจากทะเบียนราษฎรปี 2543
มีจำนวน 5,680,380 คน)

การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันกับการย้ายถิ่น

จากข้อมูลสำมะโนประชากร ปี 2523 และ ปี 2543 จำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพมหานครยังคงมี
การเพิ่มจำนวน จากการอพยพในภาคต่างๆ โดยคิดเป็นอัตราการย้ายถิ่นเกิดเข้าจาก
ปี พ.ศ. 2523 โดย 19.6 เพิ่มขึ้นเป็น 32.3 ในปี2543 ต่อประชากรถิ่นปลายทาง 1000 คน
จำนวนผู้ย้ายถิ่นเพิ่มจาก1,188,757 ในปี 2523 เป็นจำนวน 2,084,256 คนหรือมีการเพิ่มเกือบ
สองเท่าในระยะเวลา 20 ปีแต่อย่างไรก็ตามสัดส่วนการย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพมหานครในปี 2543
ลดลงจากการขยายการพัฒนาพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ทำให้แนวโน้มการย้ายถิ่นในปี 2543.
ลดลง แต่เพิ่มสูงขึ้นในกรุงเทพมหานคร

ปัจจัยด้านความแตกต่างของการพัฒนาโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองและชนบทจะส่ง
ผลต่อการย้ายถิ่นมากที่สุด ตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการย้ายถิ่น การย้ายถิ่นจะเกิด
ขึ้นเมื่อมีโอกาศทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ต้นทางและปลายทาง ไม่ว่าจะเป็น
ในแง่ของรายได้ โอกาศการมีงานทำ ซึ่งพิจารณาจากอุปทานและอุปสงค์ของตลาดแรงงาน
หรือแม้แต่ในด้านอื่นๆดังเห็นได้จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจในเขตชนบทต่างจากเขตเมือง
ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งรวมของการพัฒนาและการย้ายถิ่น
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ขยายตัวขึ้นจากการเพิ่มจำนวนประชากรย้ายถิ่นจากชนบทมาสู่เมือง
อันเนื่องจากการเน้นการลงทุนเฉพาะพื้นที่ ผลกระทบการพัฒนาประเทศในลักษณะดังกล่าว
ทำให้เกิดความแตกต่างของระดับการพัฒนา และส่งผลทำให้เกิดปัญหาตามมาของการย้ายถิ่น
เข้าอย่างมหาศาลของประชาชนในชนบท ทั้งปัญหาที่ต้นทางการย้ายถิ่นและปลายทาง
การย้ายถิ่น ในส่วนปัญหาของเมืองหรือปลายทางการย้ายถิ่น เช่น การขาดแคลนที่พักอาศัย
การบริการด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้กับผู้ย้ายถิ่น และยังส่งผลให้เกิดภาวะว่างงาน

เมืองหลัก : แนวทางการกระจายการพัฒนาของรัฐบาลไทย

จากปัญหาการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันข้างต้น ทำให้รัฐบาลไทยความพยายามที่จะลดความ
เหลื่อมล่ำระหว่างเมืองหลวงและภูมิภาคลง โดยส่งเสริมให้มีการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจใน
เมืองหลักแต่ละภูมิภาคเพื่อสกัดกั้นการอพยพของประชากรในชนบทสู่กรุงเทพฯ โดยได้รับ
แนวคิดทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาเมืองหลัก

การพัฒนาแนวคิดเสาหลักการพัฒนาเริ่มจากการศึกษาของ Perroux (1950, 1971)
ได้กล่าวถึงประเด็นปฎิสัมพันธ์ระหว่างภาคอุตสาหกรรมด้วยกัน ซึ่งเชื่อว่าการเติบโตทาง
เศรษฐกิจถูกสร้างขึ้นมาจากภาคการผลิตทางเศรษฐกิจที่เด่นๆซึ่งธุรกิจที่เป็นพลังหักนี้มักมีขนาด
ใหญ่และรวมกลุ่มกัน ทำให้มีอิทธิพลต่อทั้งผู้ส่งวัตถุดิบและผู้ซื้อ ดังนั้นเสาหลักความเจริญในที่
นี้จึงเป็นเรื่องของภาคการผลิตทางเศรษฐกิจ และเป็นการนำเอาแนวคิดเรื่องการเชื่อมโยงภาค
อุตสาหกรรมต่างๆเข้าด้วยกัน ซึ่งส่งผลถึงความเติบโตด้านอื่นๆที่ตามมาในลักษณะของ
multiplier effects ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของแนวคิดนี้ในประเทศไทย ได้แก่โครงการพัฒนา
อุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก (eastern seaboard)
ซึ่งมีภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญ (Perroux ,1950 1971อ้างใน ชูศักดิ์, 2542)

Boudeville (1966) และคนอื่นๆได้พยายามประยุกต์เอาแนวคิดเสาหลักมาใช้ในเรื่องการพัฒนา
พื้นที่ ซึ่งกลายเป็นแนวคิดที่เรียกว่า ศูนย์กลางความจริญ (growth center ) กิจกรรมที่เป็นหลัก
ของความเจริญกลายเป็นกิจกรรมต่างๆที่ตั้งอยู่โดยรอบกิจกรรมที่เป็นพลังพลักดัน การพัฒนา
ทางพื้นที่และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จึงมารวมตัวกันอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การเติบโตของเมือง
ซึ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมบางอย่าง และเน้นการเติบโตของอุตสาหกรรมในเขตเมือง
อันจะนำไปสู่การพัฒนาโดยรวม (Boudeville ,1966 อ้างใน ชูศักดิ์ , 2542)

สาเหตุที่ทำให้แนวคิดเรื่อง growth center ได้รับความสนใจในการเป็นยุทธศาสตร์พัฒนาภูมิภาคมี 3 ประการ คือ

1. ยุทธศาสตร์ศูนย์กลางความเจริญมีความเหมาะสมในการลงทุทั้งภาครัฐและเอกชน
ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเฉพาะ ดีกว่าการกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ

2. เป็นแนวคิดที่เกิดจากประสบการณ์การพัฒนาที่พบเห็นได้ในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก
ที่ซึ่งารขยายตัวเมืองและการขยายตัวอุตสาหกรรมเกิดควบคู่กันไป และมีความสำคัญต่อการ
พัฒนาทุนนิยม

3. แนวคิด growth center เกิดจากสาขาวิชาหลักทางเศรษฐศาตร์ จึงได้รับการขานรับอย่างเต็ม
กำลังจากระบบราชการและการเมือง

การพัฒนาเมืองหลักจึงกลายเป็นแนวคิดการพัฒนาประเทศหลักที่รัฐบาลประเทศไทยเริ่มใช้มา
ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนที่ 3 (พ.ศ.2514-2519)
และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) เป็นต้นมา ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างความเป็นธรรม
และการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคดังนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายพัฒนาเมืองหลักและ
เมืองรองเพื่อพัฒนาภูมิภาคต่างๆซึ่งได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ เป็นเมืองหลักของ
ภาคเหนือ  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี และนครราชสีมา ในภาคตะวัน
ออก ได้แก่ ชลบุรี และภาคใต้ ได้แก่ สงขลา หาดใหญ่ ภูเก็ต และสุราษฏร์ธานี  ส่วนในภาคการ
ปฏิบัติเมืองหลักเหล่านี้ได้ถูกพัฒนาอย่างจริงจังในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ
ที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529)

การพัฒนาเมืองหลัก: กรณีศึกษา นครเชียงใหม่

นครเชียงใหม่เป็นหนึ่งในเมืองหลักที่ได้รับเลือกให้พัฒนา เนื่องจากความพร้อมในหลายด้าน
ทั้งขนาดของเมือง ประชากร ประวัติการก่อตั้งที่ยาวนานรวมทั้งเคยเป็นเมืองหลวงของล้านนา
ในอดีต มีความพร้อมด้านประเพณีและทรัพยากรทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งดึงดูดทางการท่อง
เที่ยว โดยเชียงใหม่ได้ถูกกำหนดให้ มีบทบาทเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การบริการ
และการท่องเที่ยวของภาคเหนือตอนบน และมุ่งหวังให้เกิดการสร้างงานและรายได้
แก่ประชาชนในภูมิภาคเหนือตอนบนและลดการอพยพเข้ามาหาโอกาสการทำงานในเมืองหลวง

แม้ว่าการพัฒนาเมืองหลักเชียงใหม่จะได้เริ่มดำเนินการมาแล้วอย่างจริงจังนับตั้งแต่การใช้แผน
พัฒนาฯฉบับที่ 5 ใน ปี พ.ศ.2525 เป็นต้นมารวมระยะเวลาถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2549) 24 ปี โดยมี
การพัฒนาเมืองอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ ก็ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแนวคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
การแพร่กระจายความเจริญออกมีน้อยมาก(spread effect) และในบางกรณีก็มีผลเสียมากกว่า
ผลดี ในแง่ที่ทำให้เกิดการไหลย้อยกลับของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (backwash effects)
และเกิดคำถามอื่นๆ สำหรับแนวทางการพัฒนาเมืองหลัก เช่น แนวคิดการพัฒนาเมืองหลักที่เชื่อ
ว่าช่วยกระจายความเจริญและรายได้สู่พื้นที่โดยรอบจริงหรือไม่ อีกทั้งศักยภาพของการพัฒนา
เมืองหลักเชียงใหม่ที่จะสามารถสกัดกั้นการย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองหลวง ส่งผลมากน้อยเพียงใดต่อ
การระดับการย้ายถิ่นสู่กรุงเทพมหานครและต่อการย้ายถิ่นเข้าสู่เชียงใหม่

ผลลัพท์การพัฒนาเมืองหลัก: การย้ายถิ่น

จากข้อมูลสำมะโนประชากรปี 2543 อัตราการย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพมหานครของภาคเหนือยังคง
เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2523 โดยเพิ่มขึ้นจาก 19.6 เป็น 32.3 ต่อประชากรถิ่นปลายทาง 1000 คน
(ตารางที่ 1-2 ภาคผนวก) ซึ่งแสดงว่ากรุงเทพมหานครยังคงมีศักยภาพการแข่งขันที่สูงกว่า
และที่สำคัญคือ ความสามารถในการดึงดูดประชากรอพยพที่ยังคงสูงในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการพัฒนาเมืองหลักภูมิภาค ส่งผลทำให้มีการย้ายถิ่นเข้านครเชียงใหม่เพิ่ม
ขึ้นจากในอดีต ซึ่งเป็นตามแนวคิดการย้ายถิ่นของ ลี (Lee) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
ปริมาณการย้ายขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ผลัก ปัจจัยดึง ปัจจัยแทรกกลาง ทั้งในถิ่นต้นทางและถิ่นปลาย
ทาง ปริมาณการย้ายถิ่นผันแปรไปตามการขึ้นลงของระบบเศรษฐกิจและโอกาสทางเศรษฐกิจ
ของพื้นที่ปลายทางอีกทั้งระยะทางของถิ่นปลายทางที่ลดลง ตามกฎการย้ายถิ่นของราเวนสไตร์
ได้เสนอไว้ในปี 1885 กล่าวว่าลักษณะการย้ายถิ่นที่สำคัญของปริมาณการย้ายถิ่นที่มีความ
สัมพันธ์ทางลบกับระยะทางกล่าวคือ ปริมาณของผู้ย้ายถิ่นจะลดลงเมื่อปลายทางการย้ายถิ่นมี
ระยะห่างจากต้นทางมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ จรูญ เฉลิมทอง(2530)
ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการพัฒนากับอัตราการย้ายถิ่นเข้าจังหวัดของ
ประชากร โดยใช้สหสมพันธ์เชิงเส้นแบบเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยรายได้ต่อหัวของประชากร
มีความสัมพันธ์กับอัตราการย้ายถิ่นเข้าเมืองหลัก อาจกล่าวได้ว่า การย้ายถิ่นของประชากรใน
ประเทศไทย เป็นปรากฎการณ์ที่มีลักษณะนวกรรม คือ เป็นการย้ายถิ่นเพื่อให้ผู้ย้ายถิ่นมีชีวิต
และความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
และสังคม

ผลลัพท์การพัฒนาเมืองหลัก : ความหนาแน่นของประชากร

จากข้อมูลสำมะโนประชากรปี 2543 จังหวัดเชียงใหม่มีเนื้อที่ประมาณ 20,088  ตร.กม.
มีการปกครอง 22 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ ลักษณะการกระจายตัวของประชากรมีลักษณะ
กระจุกตัว ซึ่งเมื่อพิจารณาตามแผนที่แสดงความหนาแน่นประชากรหรือจำนวนประชากร
ต่อตารางกิโลเมตร พบว่าจังหวัดเชียงใหม่มีการกระจุกตัวของประชากรเฉพาะบริเวณเมือง
เชียงใหม่และอำเภอรอบข้างเช่น อำเภอสารภี อำเภอสันทราย อำเภอสันป่าตอง อำเภอหางดง
โดยเมืองเชียงใหม่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด 1,646 ต่อตารางกิโลเมตร
และอำเภอสารภี 684ต่อตารางกิโลเมตร อำเภอสันป่าตอง 429 ต่อตารางกิโลเมตร
สันกำแพง 307 ต่อตารางกิโลเมตรอำเภอสันทราย 260 ต่อตารางกิโลเมตร อำเภอ
และอำเภอหางดง 241 ต่อตารางกิโลเมตร

ความหนาแน่นของประชากรในอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีแนวโน้มสูงขึ้น จากข้อมูลปี 2533
และ 2543  หรือในระยะเพียง 10 ความหนาแน่นของประชากรเพิ่มจาก
1,491 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็น 1,646 คนตารางกิโลเมตร (ตารางที่ 2 ภาคผนวก)
การกระจุกตัวของพื้นที่หนาแน่นประชากรสูงยังคงเป็นพื้นที่อำเภอรอบนครเชียงใหม่
โดยเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของเมืองที่เพิ่มสูงขึ้น  แนวโน้มกระจายตัวของประชากรนี้
อาจกล่าวได้ว่าเกิดจากปัจจัยความพร้อม ทั้งในด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว ทำเลที่ตั้ง
และประวัติการก่อตั้งที่ยาวนานรวมทั้งเคยเป็นเมืองหลวงของล้านนาในอดีต
ส่งผลต่อการขยายตัวของนครเชียงใหม่ แต่การพัฒนาของภาครัฐทั้งงบประมาณ
และโครงต่างๆที่ทุ่มพัฒนาเหมือนการตอกย่ำสภาพความไม่เท่าเทียมกันของระดับการพัฒนา

ผลลัพท์การพัฒนาเมืองหลัก : ชุมชนแออัด

จากการขยายตัวของเมืองหลักเชียงใหม่ ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากการขยายตัวของกรุงเทพมหานครในอดีต
กล่าวคือการขยายตัวเมืองมิได้หมายถึงการนำความมั่งคั่งรุ่งเรือง
สู่ประชการส่วนใหญ่ หรือก่อให้ชนชั้นกลางมากขึ้น ไม่มีการขยายตัวของงานแบบทันสมัย
(Formal secter)ไปพร้อมๆกับการขยายตัวของเมือง แต่ความยากจนในชนบทและ
ความแตกต่างระดับการพัฒนาส่งผลให้มีการย้ายถิ่นเข้าสู่เมือง ผู้อพยพส่วนใหญ่
เป็นแรงงานด้อยฝีมือ มีการศึกษาระดับต่ำ เข้ามาทำงานระดับล่างหรือที่ไม่เป็นทางการ
สิ่งที่ตามมาคือการแพร่กระจายความยากจนในเขตเมือง สัญญาหลักของเอกนครของประเทศ
โลกที่สามที่สำคัญคือชุมชนแออัด(เสนห์ ญานสาร,2547)

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย และการชุมชนบุกรุกเป็นปัญหาที่ตามเสมอเมืองขยายตัว
อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดินและที่อยู่อาศัยในเมืองราคาสูงขึ้นอีกทั้งความสามารถในการรองรับ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้อพยพในเมือง ทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ต่างๆทั้งที่รกร้าง
และพื้นที่สาธารณะ ปัญหานี้เป็นสาเหตุหนึ่งของการพัฒนาเมืองหลักต่างในภูมิภาค
เพื่อลดการอพยพประชากรจากภาคต่างๆ แต่ในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันปัญหา
ชุมชนแออัด ยังคงมีอยู่ในกรุงเทพมหานคร

จากความมุ่งหมายการลดปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร
ในทางกลับกันกลับทำให้นครเชียงใหม่มีปัญหาชุมชนแออัดเกิดขึ้น
จากการสำรวจของการเคหะแห่งชาติในปี 2540 จังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนชุมชนชนแออัดถึง
91 ชุมชน ตัวอย่าง ชุมชนแออัดในเมืองเชียงใหม่ เช่น ชุมชนย่านกำแพงดิน
(การเคหะแห่งชาติ,2540)

ผลลัพท์การพัฒนาเมืองหลัก : การกระจายรายได้

ผลกระทบการพัฒนาประเทศในลักษณะดังกล่าว ทำให้เกิดความแตกต่างของระดับการพัฒนา
และส่งผลทำให้เกิดปัญหาตามมาของการย้ายถิ่นเข้าอย่างมหาศาลของประชาชนในชนบท
ทั้งปัญหาที่ต้นทางการย้ายถิ่นและปลายทางการย้ายถิ่น ในส่วนปัญหาของเมืองหรือปลาย
ทางการย้ายถิ่น อาทิเช่น การขาดแคลนที่พักอาศัย การบริการด้านสาธารณูปโภคและ
สาธารณูปการให้กับผู้ย้ายถิ่น และยังส่งผลให้เกิดภาวะว่างงาน อย่างไรก็ตามแนวคิดภาวะ
ทันสมัยถือว่าเป็นเพียงช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนา ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจะ
ปรับตัวให้ทันสมัยมากขึ้นตามลำดับเทคโนโลยีต่างๆจะแพร่กระจายไปสู่ชนบท
และจะเกิดความผสมผสานการพัฒนาของเมืองและชนบท ปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน
ของการพัฒนาระหว่างเมืองและชนบทจะลดลง มีผลทำให้การย้ายถิ่นลดลง
(Kasarda and Crenshaw,1991อ้างใน เกื้อ วงศ์บุญสิน,2536)
แต่แนวคิดนี้ไม่ได้บอกเงื่อนไขของเวลา บริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน
ของแต่ละประเทศ หรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมอะไรบ้างที่จะแพร่กระจาย
ความทันสมัยจะเริ่มแพร่ไปสู่พื้นที่โดยรอบ

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2530  ประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
และสังคมจากการพัฒนาเมืองเชียงใหม่  โดยผลการวิจัยพบว่า การใช้จ่ายของโรงงานใน
ตัวเมืองเชียงใหม่ทำให้เกิดรายได้กับคนในตัวเมืองมากที่สุด และเกิดรายได้ที่กรุงเทพมหานคร
มากเป็นอันดับสอง แต่ทำให้เกิดรายได้ในชนบทน้อยมาก เช่นเดียวกับและ
การใช้จ่ายของผู้ประกอบการค้า ส่วนการใช้จ่ายของประชากรที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง
ทำให้เกิดรายได้ในตัวเมืองเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่
แต่ก่อให้เกิดรายได้ในชนบทน้อยมาก เช่นกัน เมื่อพิจารณาลักษณะการจ้างงานของโรงงาน
ในตัวเมืองเชียงใหม่ โรงงานได้จ้างคนงานที่มาจากพื้นที่ชนบทรอบเมืองเชียงใหม่ร้อยละ 51.85
ของจำนวนแรงงานทั้งหมด เทียบกับร้อยละ 42.0 ที่เป็นคนงานจากตัวเมืองเชียงใหม่
ในส่วนผลกระทบทางสังคมของมืองเชียงใหม่ ในมีส่วนในการบริการสังคม ได้แก่ การศึกษา
การรักษาพยาบาล การพักผ่อน หย่อนใจ การได้รับข่าวสารการเกษตร การวางแผนครอบครัว
และการติดต่อทางสังคม แต่ความคิดของคนในชนบทยังคงยึดมั่นในความเชื่อเดิมอยู่มาก

นครเชียงใหม่ : ลำดับศักดิ์เมืองในภูมิภาค

จากการพิจารณาลำดับศักดิ์ความเป็นเมืองของภาคเหนือตอนบนนครเชียงใหม่มีขนาดใหญ่
ที่สุด มากกว่านครเชียงรายซึ่งเป็นเมืองที่มีขนาดรองลงมา 2.2 เท่า และใหญ่กว่าเมือง
ระดับสามและสี่ ประมาณสองเท่าตัวเช่นกัน ซี่งลักษณะของการกระจายตัวประชากรใน
เขตเมืองของภาคเหนือ มีลักษณะค่อนข้างใกล้เคียงกฎตำแหน่งเมือง-ขนาดประชากร
ของจอร์จ ซิพฟ์ (George K.Zipf) กล่าวคือ มีเมืองขนาดใหญ่ที่สุดเพียงหนึ่งเมือง
แต่ภาคเหนือตอนบนมีเมืองขนาดรองลงมา มีขนาดใกล้เคียงกันจำนวน 3 เมือง คือ
นครเชียงราย นครลำปาง และเมืองเขลางค์นคร ซึ่งเกิดจากในระยะหลังการค้าชายแดน
เติบโตมากขึ้น รวมทั้งรัฐบาลมีแผนพัฒนาในชุมชนการค้าชายแดนทำให้นครเชียงรายมีการพัฒนา
เพื่อรองรับการขยายตัว และส่งผลต่อการอพยพย้ายถิ่นเข้าในนครเชียงรายด้วย

แม้ว่าความแตกต่างประชากรไม่แตกต่างกันมากนักถึงขนาดการกลายเป็นเอกนครของ
ภูมิภาค แต่แนวโน้วความแตกต่างระหว่างขนาดประชากรน่าจะเพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากข้อจำกัดนับจำนวนการย้ายถิ่นเข้านครเชียงใหม่ทั้งการย้ายถิ่นเข้าของคนไทย
ทั้งที่จดทะเบียนย้ายเข้าและไม่ได้จดทะเบียน รวมทั้งการย้ายถิ่นของชาวต่าชาติ
ทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยากต่อการประมาณหรือการนับได้ทั้งหมด

แม้ในปัจจุบันจะไม่มีแผนการพัฒนาเมืองหลักอย่างชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แต่ในทางปฏิบัติยังคงทุ่มงบประมาณและโครงการต่างด้วยเงินมหาศาล
เพื่อหวังการเติบโตละความเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค ดังจะเห็นได้จากโครงขนาดใหญ่
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งโครงการสะพานรอดในทุกแยกหลักของนครเชียงใหม่
โครงการพัฒนาศูนย์กลางอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การพัฒนาศูนย์กลางทางการบินของ
อนุภูมิ โครงการเหล่านี้ล้วนทำให้นครเชียงใหม่เติบโตขึ้น แต่ไม่ใช้การขยายตัวจาก
ความสัมพันธ์ของการขยายตัวของเมือง เพิ่มประชากรและการกลายเป็นอุตสาหกรรม
หรือการเติบโตของนวกรรม แต่นครเชียงใหม่เติบโตตัวจำนวนประชากรเพียงอย่างเดียว
ที่มาจากการอพยพของแรงงานทั้งจากในประเทศไทย กลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูง
และแรงงานข้ามชาติ  ดังจะเห็นได้ว่าการขยายตัวของนครเชียงมีลักษณะเช่นเดียวกับ
กรุงเทพฯ ทั้งกระบวนการและปัญหาที่ไม่แตกต่างจากกรุงเทพมหานครในอดีต

หากไม่มีการวางแผนจัดการที่มีประสิทธินครเชียงใหม่ในอนาคตคงไม่ต่างจากกรุงเทพมหานคร
ในปัจจุบัน


* การกระจายตัวประชากร ปี 2533.jpg (91.45 KB, 1100x771 - ดู 285 ครั้ง.)

* การกระจายตัวประชากรเชียงใหม่ ปี 2543.jpg (89.86 KB, 1100x771 - ดู 280 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 20 มีนาคม 2012, 23:20:00 โดย เชียงรายพันธุ์แท้ » IP : บันทึกการเข้า
สบายแมน
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,485



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2012, 21:04:52 »

เอาปัจจุบันนี้ก่อปอครับเดือนหน้าจะเล่นน้ำปี๋ใหม่ละตี้เจียงใหม่เตรียมความพร้อมทำความสะอาดคูเมืองน้ำใส่น้ำพุเย็นสดชื่น หละปูนก็น้ำใส่สะอาด ไปดูในห้องสังคมเชียงรายดันแล้วดันอีกบ่ะฮู้ว่าคูเมืองเจียงฮายจะใส่ละยัง มองเอาเรื่องเล็กๆก่อนถ้าทำได้ก้อยขยับขยายไปล่ะกั๋น......
IP : บันทึกการเข้า
Toy88
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,730


โลกจะสงบสุขถ้าทุกคนมอบความรักให้แก่กัน


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 23 มีนาคม 2012, 01:05:51 »

ก็เชียงรายมันมีแต่วัวกับขี้ และขยะเกลื่อนเมือง น่ะสิ ขยิบตา
IP : บันทึกการเข้า

เหนือฟ้ายังมีฟ้่า เหนือคนยังมีคน
 แต่ไม่มีอะไรเหนือกฎแห่งกรรม
๛หนูแหม่ม_ฮ่าๆๆ—”๏”
เรียนอยู่ระดับ
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,756


"ความรักไม่มีจริง...."


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 26 มีนาคม 2012, 18:58:18 »

เจียงฮายแป๋งก่อนเจียงใหม่ แล้วเจียงใหม่เยี้ยะใดเจริญเหลือเจียงฮาย จะไปบอกเน้อว่าเพราะประเทศไทยมีนายกจื้อทักษิณกับยิ่งลักษ์ (อันหลังนี้ขำๆเน้อ) :-):-D;-)

ใคร่ฟังแต้กาครับ เรื่องมันยาวหนา

ยาวแต้ๆเนี่ยเจ้า
IP : บันทึกการเข้า

"บนท้องฟ้ายังมีดวงดาว ชีวิตคนเรายังมีหวัง ยังยืนได้แม้เพียงลำพัง หัวใจยังมีฝันเรายังยิ้มได้"

Line ID : mam.88
Very sabai
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,400


ทําแล้วเสียใจ ยังดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทํา


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 28 มีนาคม 2012, 18:38:43 »

เจียงฮายแป๋งก่อนเจียงใหม่ แล้วเจียงใหม่เยี้ยะใดเจริญเหลือเจียงฮาย จะไปบอกเน้อว่าเพราะประเทศไทยมีนายกจื้อทักษิณกับยิ่งลักษ์ (อันหลังนี้ขำๆเน้อ) :-):-D;-)

ใคร่ฟังแต้กาครับ เรื่องมันยาวหนา

ยาวแต้ๆเนี่ยเจ้า

ย๊าว ยาว นะคะ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

หน้าเป็นสิว หน้าเขรอะ อยากหน้าเนียนใส  ทักมาจ้า (สวยและปลอดภัยในแบบของตัวเอง )ติดตามชมหน้าสด โนแอ๊พ ของแม่ค้าได้ที่ https://www.facebook.com/BeautySheryn

**รับแปลเอกสาร+พิมพ์งาน **ราคาต่อรองได้
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!