เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 18 เมษายน 2024, 21:46:10
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  นักลงทุน การเงิน การธนาคาร
| | |-+  !!!!! พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 !!!!!
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน !!!!! พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 !!!!!  (อ่าน 30047 ครั้ง)
Cupid
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,941


Experience is the best teacher.


« เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม 2012, 09:39:53 »

เรื่อง พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527

          หากถามถึงกฎหมายการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน  หลายคนคงจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็น
กฎหมาย ที่เอาผิดกับการกู้เงินที่เราเห็นกันทั่วไป หรืออาจจะสงสัยว่ามีกฎหมายดังกล่าวด้วยหรือ
กฎหมายกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือ เรียกอย่างเป็นทางการว่า พระราชกำหนดการกู้ยืม
เงิน  ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน  พ.ศ. 2527 เป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างออกไปจาก
กฎหมายทั่วไป โดยมีหลักการและวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ คุ้ม
ครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง โดยการเอาผิดกับบุคคลและ
กลุ่มบุคคลที่มีเจตนาหลอกลวง ซึ่งใช้วิธีการระดมเงินทุนจากประชาชน อ้างว่าจะจ่ายผลตอบแทนให้
ในอัตราที่สูง โดยที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้ใช้วิธีการจัดคิวเงินโดยนำเงิน
จากผู้ลงทุนรายใหม่ไปจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้กับผู้ลงทุนรายเก่าหมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ เมื่อไม่มี
ผู้ลงทุนรายใหม่ ในที่สุดต้องเลิกล้มไป ทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและเป็นภัยต่อเศรษฐกิจ
ของประเทศโดยได้บัญญัติ ความหมายของคำว่า “การกู้ยืมเงิน“, “ผลประโยชน์ตอบแทน” และการ
ฉ้อโกงประชาชน  ไว้ดังนี้
         
          การกู้ยืมเงิน  คือ  ผู้กู้ยืมเงินรับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด การรับในที่นี้หมายถึงได้
รับ หรือส่งมอบให้แล้ว ส่วนลักษณะของการกู้ยืมเงินนั้น จะทำในลักษณะใดก็ได้ เช่น การรับฝาก การ
กู้ การยืม การจำหน่ายบัตร การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้าลงทุน ฯ พูดง่ายๆ ก็คือ มิจฉาชีพเหล่านี้จะ
ใช้วิธีหลอกลวงให้มาสมัครสมาชิก หรือ ให้นำเงินมาลงทุน โดยให้หรือสัญญาว่าจะเงินปันผล
ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ ก็ตาม ที่สูงเกินจริง โดยได้มีการโฆษณา หรือประกาศต่อ
ประชาชน หรือกระทำด้วยวิธีใดก็ตามให้ปรากฏแก่บุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการชักชวน การโฆษณา
ทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือพิมพ์ใบปลิวแจก เพื่อมีเจตนาเพื่อให้ปรากฏแก่ประชาชนทั่วไป
         
          ตัวอย่างการกู้ยืมเงิน ตามความในพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ.2527   การขายหุ้นหรือทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไป  โดยตกลงซื้อคืน
เป็นงวดรายเดือนและให้กำไร เป็นการซื้อหรือทำสัญญาที่มุ่งจะขายคืนเพื่อต้องการกำไรโดยไม่ต้อง
ร่วมในการขาดทุน ดังนั้นการขายหุ้นและทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินก็คือการรับเงินโดยผู้กู้ยืม
จ่ายผลประโยชน์ตอบแทน หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืม หรือ  กำหนดให้
มาสมัครเป็นสมาชิกแล้วซื้อขายลงหุ้นกับผู้ให้กู้ยืม จากนั้นก็จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ผู้ให้กู้
ยืมกำหนดไว้อาจเป็น รายวัน รายสัปดาห์หรือ รายเดือน ตัวอย่างที่เป็นคดีที่หลายๆ คนรู้จักก็เช่น แชร์
น้ำมัน หรือที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ก็จะเป็นประเภทอ้างสินค้าอุปโภค บริโภคต่างๆ เช่น  แชร์ข้าวสาร
บางครั้งก็อ้างสิ่งที่เราๆ ท่านๆ อาจนึกไม่ถึงว่าจะอุปโลคมาอ้างได้ เช่น แชร์กะปิ แชร์แคบหมู เป็นต้น 
         
          ผลประโยชน์ตอบแทน   หมายถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคล
อื่นจ่ายหรือจะจ่าย ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อการที่จะได้กู้เงินนั้นมา  โดยส่วนมากมักจะใช้เงินก้อนโต หรือ
รถยนต์ มาเป็นแรงจูงใจให้เร่งการทำยอด สะสมแต้ม หรือเร่งซื้อรหัส เมื่อหาคนมาสมัครต่อจากตนไม่
ทัน ก็ต้องใช้วิธีการซื้อเอง ไม่ต้องพูดถึงสินค้า เพราะเป็นแค่สิ่งที่เอามาบังหน้าเท่านั้น 
         
          การฉ้อโกงประชาชน หมายถึง ผู้ใดโฆษณาชักชวนประชาชนตั้งแต่สิบคนขึ้นไปให้นำเงินมาลง
ทุนโดยอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตกลงว่าจะจ่าย ผลประโยชน์ตอบ
แทน ในอัตราสูงกว่าปกติ โดยที่มิได้ประกอบธุรกิจใดๆ ที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำ
มาจ่ายในอัตรานั้นได้ พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง
ประชาชน
         
          นอกจากนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน พระราชกำหนดฉบับนี้ยัง ได้กำหนดให้
รัฐเท่านั้นมีอำนาจฟ้องคดีได้และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการยึดทรัพย์สินของผู้ต้องหาไว้ก่อน
ได้ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ต้องหามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายล้มละลาย ก่อนส่งเรื่องให้
พนักงานอัยการฟ้องผู้ต้องหาเป็นคดีล้มละลายต่อไป ในส่วนของบทลงโทษตามพระราชกำหนดฯ นี้ ก็
มีอัตราโทษหนักกว่าประมวลกฎหมายอาญา คือ  ผู้กระทำความผิดเรื่อง เรื่องการฉ้อโกงประชาชน ได้
ระวางโทษผู้กระทำความผิดไว้เพียง จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่อัตราโทษของผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ.2527 นี้ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท และยังมี
การปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่

โดย นายทิวนารถ ดำรงยุทธ
กลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ  สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง


เครดิตจาก   http://www.1359.in.th/fincrime2004/index.php?option=com_content&task=view&id=47&Itemid=72

IP : บันทึกการเข้า
Cupid
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,941


Experience is the best teacher.


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 16 มีนาคม 2012, 13:05:33 »


มาดูว่ากฎหมายการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. ๒๕๒๗ มีบัญญัติรายละเอียดไว้อย่างไรพระราชกำหนด
การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗
                   
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗
เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗”
 
มาตรา ๒พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
มาตรา ๓ ในพระราชกำหนดนี้
“กู้ยืมเงิน”หมายความว่า รับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การจำหน่ายบัตรหรือสิ่งอื่นใด การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้าร่วมลงทุน การรับเข้าร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคลอื่นจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเองหรือรับในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงินหรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายเงิน ทรัพย์สินผลประโยชน์อื่นใด หรือผลประโยชน์ตอบแทนนั้นจะกระทำด้วยวิธีการใด ๆ
“ผลประโยชน์ตอบแทน” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงิน หรือบุคคลอื่นจ่ายหรือจะจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อการกู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผล หรือลักษณะอื่นใด
“ผู้กู้ยืมเงิน” หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงิน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย
“ผู้ให้กู้ยืมเงิน” หมายความรวมถึง บุคคลซึ่งผู้ให้กู้ยืมเงินระบุให้เป็นบุคคลที่ได้รับต้นเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้กู้ยืมเงิน
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้
 
มาตรา ๔ ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไปผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
ผู้ใดไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดำเนินการ หรือให้พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลใดดำเนินการโฆษณาประกาศหรือชักชวนประชาชนให้ลงทุน โดย
(๑) ซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งหรือหลายสกุล หรือ
(๒) เก็งกำไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย
 
มาตรา ๕ ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้
(๑) ในการกู้ยืมเงินหรือจะกู้ยืมเงิน
(ก) มีการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป หรือโดยการแพร่ข่าวด้วยวิธีอื่นใด หรือ
(ข) ดำเนินกิจการกู้ยืมเงินเป็นปกติธุระ หรือ
(ค) จัดให้มีผู้รับเงินในการกู้ยืมเงินในแหล่งต่าง ๆ หรือ
(ง) จัดให้มีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไปชักชวนบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้มีการให้กู้ยืมเงิน หรือ
(จ) ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเกินสิบคนซึ่งมีจำนวนเงินกู้ยืมรวมกันตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันมิใช่การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และ
(๒) ผู้นั้น
(ก) จ่าย หรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าว หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน จะพึงจ่ายได้ หรือ
(ข) ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือกิจการของผู้นั้นตามที่ผู้นั้นได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ ไม่ปรากฏหลักฐานพอที่จะเชื่อได้ว่า เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินทั้งหลาย
ผู้นั้นต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา ๔ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้นจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า กิจการของตนหรือของบุคคลที่ตนอ้างถึงนั้น เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายตามที่ตนได้กล่าวอ้าง หรือหากกิจการดังกล่าวไม่อาจให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียง ก็จะต้องพิสูจน์ได้ว่ากรณีดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผิดปกติอันไม่อาจคาดหมายได้ หรือมีเหตุอันสมควรอย่างอื่น
 
มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราผลประโยชน์ตอบแทนตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินได้จ่ายหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่มิใช่เป็นตัวเงิน ให้คำนวณมูลค่าของผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวออกเป็นจำนวนเงิน
ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงินไม่เปิดช่องให้คำนวณผลประโยชน์ตอบแทนเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ ให้ประมาณการจากอัตราผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่คาดว่าผู้ให้กู้ยืมเงินจะได้รับ หากจะมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนนั้น
 
มาตรา ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือกระทำการตามมาตรา ๕ (๑) หรือ (๒) (ก) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือเรียกให้ผู้นั้นหรือบุคคลใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบถึงการกู้ยืมเงิน มาให้ถ้อยคำ
(๒) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) รายงานสภาพกิจการของตนตลอดจนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของตน
(๓) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินมาตรวจสอบ
(๔) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อทำการตรวจสอบหรือค้นบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นของบุคคลดังกล่าวตาม (๑) ในการนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้นให้ปฏิบัติการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือค้น ตามควรแก่เรื่อง และให้มีอำนาจยึดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานเหล่านั้นมาตรวจสอบได้
การเรียกหรือการสั่งตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสือเรียกหรือคำสั่ง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบหรือค้นตาม (๔) แล้วถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ จะกระทำการต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้
 
มาตรา ๘ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้กู้ยืมเงินผู้ใดที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สินและเห็นสมควรให้มีการดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนได้ แต่จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้เกินกว่าเก้าสิบวันไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ ให้คำสั่งยึดหรืออายัดดังกล่าวยังคงมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น
เมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ใดไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สิน แต่ยังไม่สมควรสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา ๑๐
การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินมาใช้บังคับโดยอนุโลม
 
มาตรา ๙ เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีอาญาแก่ผู้ใดในความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ถ้าผู้ให้กู้ยืมเงินร้องขอ ให้พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกต้นเงินคืนให้แก่ผู้นั้นได้ และจะเรียกผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายให้แก่ผู้นั้นด้วยก็ได้ ในการนี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
 
มาตรา ๑๐ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน ให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ เป็นบุคคลล้มละลายได้ เมื่อ
(๑) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สินได้
(๒) เป็นหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินรายหนึ่งหรือหลายรายเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนบาท และ
(๓) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
การฟ้องคดีล้มละลายตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย โดยให้ถือว่าพนักงานอัยการมีฐานะ และสิทธิหน้าที่เสมือนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ และให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าฤชาธรรมเนียม หรือการต้องวางเงินประกันต่าง ๆ ตามกฎหมายดังกล่าว
ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด
ในการพิพากษาคดีล้มละลายตามมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับส่วนแบ่งทรัพย์สินของเจ้าหนี้ในลำดับ (๘) ของมาตรา ๑๓๐ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยให้คำนึงถึงผลประโยชน์ตอบแทนที่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเงินแต่ละรายได้รับมาแล้วก่อนมีการดำเนินคดีล้มละลายประกอบด้วย
 
มาตรา ๑๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
มาตรา ๑๑/๑ ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้ผู้แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดมีสิทธิได้รับเงินสินบนและให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดมีสิทธิได้รับเงินรางวัล โดยให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลสั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลจากค่าปรับที่ผู้กระทำความผิดได้ชำระต่อศาลเมื่อคดีถึงที่สุด
การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้จ่ายเป็นจำนวนรวมกันแล้วร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล
หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับเงินสินบนและเงินรางวัล การกำหนดส่วนแบ่งในระหว่างผู้มีสิทธิหลายราย และการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
 
มาตรา ๑๒ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
 
มาตรา ๑๓ ผู้ใดขัดขวาง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๔) หรือมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
 
มาตรา ๑๔ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน และปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
 
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคล ซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย
 
มาตรา ๑๕/๑ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ถ้าได้กระทำความผิดนั้นซ้ำอีกในระหว่างรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษอยู่ก็ดี หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกหนึ่งเท่าของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง
 
มาตรา ๑๕/๒ ในกรณีคนต่างด้าวต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้เนรเทศผู้นั้นออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ถ้าผู้นั้นจะต้องรับโทษก็ให้รับโทษก่อน
 
มาตรา ๑๖ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญาก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และการกระทำของผู้นั้นมีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับ
 
มาตรา ๑๗ การกู้ยืมเงินที่มีลักษณะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ซึ่งมีสัญญาหรือข้อตกลงการกู้ยืมเงินที่ได้กระทำไว้ก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวเท่าที่มีผลผูกพันได้โดยชอบด้วยกฎหมายยังคงมีผลใช้ได้ต่อไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด ให้สัญญาหรือข้อตกลงนั้นมีผลผูกพันได้ต่อไป และให้สิ้นสุดลงเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือชำระหนี้หรือบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น
(๒) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงนั้นสิ้นสุดลงตามที่ได้สัญญาหรือตกลงไว้นั้น เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้น หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น
(๓) ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลาสิ้นสุดภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ เว้นแต่คู่สัญญาจะมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสองภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ก็ให้ข้อสัญญาหรือข้อตกลงนั้นสิ้นสุดลงตามที่ได้จดทะเบียนไว้ อย่างไรก็ตามไม่เป็นการตัดสิทธิคู่สัญญาที่จะตกลงกันให้สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงก่อนกำหนดนั้นหรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงตามสิทธิของตนก่อนกำหนดนั้น
หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนสัญญาหรือข้อตกลงตาม (๓) ของวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในกรณีที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนโดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว พนักงานเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนให้ได้ต่อเมื่อได้มีหนังสือสอบถามไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้ให้ความยินยอมและยอมรับข้อความในสัญญาหรือข้อตกลงที่นำมาขอจดทะเบียนนั้นแล้ว
ในการรับจดทะเบียน ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าสัญญาหรือข้อตกลงใดกระทำขึ้นหลังวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งปฏิเสธการจดทะเบียนพร้อมทั้งให้เหตุผลต่อผู้ขอจดทะเบียน ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่เห็นด้วย ให้มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ศาลมีคำวินิจฉัยแสดงว่าสัญญาหรือข้อตกลงนั้นได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
บทบัญญัติมาตรานี้ มีผลใช้บังคับในทางแพ่งและไม่มีผลเป็นการลบล้างความผิดอาญาแต่อย่างใด
 
มาตรา ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร
รองนายกรัฐมนตรี



หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากขณะนี้ปรากฏว่ามีการกู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนให้สูงเกินกว่าประโยชน์ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินจะพึงหามาได้จากการประกอบธุรกิจตามปกติ โดยผู้กระทำได้ลวงประชาชนที่หวังจะได้ดอกเบี้ยในอัตราสูงให้นำเงินมาเก็บไว้กับตนด้วยการใช้วิธีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงเป็นเครื่องล่อใจ แล้วนำเงินที่ได้มาจากการกู้ยืมหรือรับฝากเงินรายอื่น ๆ มาจ่ายเป็นดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินรายก่อน ๆ ในลักษณะต่อเนื่องกัน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการฉ้อโกงประชาชน เพราะเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่า ในที่สุดจะต้องมีประชาชนจำนวนมากไม่สามารถได้รับต้นเงินกลับคืนได้ และผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินกับผู้ที่ร่วมกระทำการดังกล่าวจะได้รับประโยชน์จากเงินที่ตนได้รับมา เพราะผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินไม่สามารถบังคับหรือติดตามให้มีการชำระหนี้ได้ อนึ่ง กิจการดังกล่าวนี้มีแนวโน้มจะขยายตัวแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว หากปล่อยให้มีการดำเนินการต่อไปย่อมจะก่อให้เกิดผลร้ายแก่ประชาชนทั่วไป และจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ สมควรที่จะมีกฎหมายเพื่อปราบปรามการกระทำดังกล่าว กับสมควรวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
 
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ. ๒๕๓๔
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่ามีบุคคลประกอบกิจการโดยวิธีชักจูงให้ผู้อื่นส่งเงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ตน และให้ผู้นั้นชักจูงผู้อื่นตามวิธีการที่กำหนด และแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเข้าใจว่า ถ้าได้ปฏิบัติตามจนมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเข้าร่วมต่อ ๆ ไปจนครบวงจรแล้วผู้ถูกชักจูงจะได้รับกำไรมากกว่าเงินหรือประโยชน์ที่ผู้นั้นได้ส่งไว้ ดังเช่นที่บางคนเรียกว่า แชร์ลูกโซ่ ในที่สุดการดำเนินการเช่นนั้นจะมิได้เป็นไปตามคำชักจูง แต่กลับจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้หลงเชื่อ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้ครอบคลุมถึงการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการหลอกลวงประชาชนให้นำเงินเข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศหรือเก็งกำไร ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนที่ถูกหลอกลวงแล้วยังเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง แต่บทบัญญัติของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ในปัจจุบันไม่อาจใช้บังคับครอบคลุมแก่การกระทำดังกล่าวได้ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และกำหนดให้การโฆษณา หรือประกาศ หรือการกระทำใด ๆ ให้ประชาชนนำเงินเข้ามาร่วมลงทุนลักษณะดังกล่าว เป็นความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย ประกอบกับสมควรเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนความรับผิดของพนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลผู้กระทำความผิด ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้นเมื่อมีการกระทำความผิดซ้ำ และการเนรเทศผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นคนต่างด้าว รวมทั้งให้มีการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลเพื่อให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
IP : บันทึกการเข้า
สมพร1962
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 468



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2012, 12:28:40 »

จัีดเต็มเลยนะครับ
IP : บันทึกการเข้า

ลูกค้าให้ความไว้วางใจ ครอบครัวอยู่รอด
Cupid
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,941


Experience is the best teacher.


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2012, 13:11:56 »

บทความต่อไปนี้ จะทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ถึงวิวัฒนาการของแชร์ลูกโซ่ ที่หลากหลายขึ้น
กลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

ธุรกิจการจัดคิวเงิน

โดย วรัญญา บัวกรด
กลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

ถ้าพูดถึงอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบการระดมเงินที ่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ในระยะ 20
กว่าปีที่ผ่านมา หลายคนคงนึกถึง แชร์แม่ชม้อยแชร์แม่นกแก้ว หรือแชร์ชาร์เตอร์ ที่ใช้การให้หรือ
สัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ ตอบแทนที่สูงและต่อเนื่องในอัตรา ร้อยละ 5- 10 ต่อเดือน หรือ 60 -
120% ต่อปี โดยอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนในกิจการต่างๆ แล้วแต่จะอ้าง แต่ความจริงแล้ว ไม่ได้
ประกอบกิจการใดๆ ที่จะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากมายขนาดนั้น แต่ได้ใช้วิธีการ “จัดคิวเงิน"
หรือ การนำเอาเงินลงทุนของผู้ลงทุนรายใหม่มาจ่ายให้ รายเก่าหมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ หากระดมเงินได้
มากพอ หรือหาผู้ลงทุนรายใหม่ไม่ได้ก็จะปิดกิจการหอบเงินหลบ หนีไปในที่สุด ซึ่งอาชญากรรม
เศรษฐกิจทางการเงินในลักษณะดังกล่าวได้สร้างความเดือดร้อนให้กับ ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อในแต่
ละปีเป็นจำนวนไม่น้อย และสร้างผลกระทบให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเป็นอย่างมาก

ต่อมาในช่วงปลายปี พ.ศ. 2527 กระทรวงการคลังได้ออกพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็ นการฉ้อโกง
ประชาชน เพื่อยับยั้งและป้องกันไม่ให้ธุรกิจ ”การจัดคิวเงิน” ในลักษณะของ แชร์แม่ชม้อย แชร์ แม่นก
แก้ว หรือแชร์ชาร์เตอร์ ลุกลามและขยายตัวออกไปมากขึ้น และอีกเหตุผลหนึ่งของการรออกพระราช
กำหนดการกู้ยืมเงิ นที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน เป็นเพราะว่ากฎหมายเดิมที่นำมาบังคับใช้กับการ
กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าว ในขณะนั้นมีอัตราโทษที่เบาเกินไปเมื่อเทียบกับเสียหา ยโดยรวมที่
เกิดขึ้น อีกทั้งยังไม่คลอบคลุมถึงการกระทำความผิดต่อสาธารณชน ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง

แต่ดูเหมือนว่าปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจการเงินในรูปแบบดังกล่าว กลับยิ่งพัฒนาปรับเปลี่ยน
รูปแบบและแอบอ้างว่าเป็นธุร กิจที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือพยายามให้ใกล้เคียงกับธุรกิจที่ถูกต้องตาม
กฎหมายมากที่สุด โดยอาศัยกลไกต่างๆ ให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น อาศัยอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัย
ใหม่ การตกแต่งสำนักงานให้ใหญ่โต หรืออาศัยชาวต่างชาติเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทั้งนี้
เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประชาชนทั่วไปหรือนักลงทุนให้นำเงินมาลงทุน แต่ที่แท้จริงแล้วกลุ่ม
มิจฉาชีพเหล่านี้ ไม่ได้ประกอบธุรกิจใดๆ ตามที่กล่าวอ้าง แต่มีเป้าประสงค์หลัก คือการหลอกลวง
ประชาชน โดยการโฆษณาชักชวนประชาชนให้นำเงินมาลงทุนในรูปแบบต่ างๆ เช่น ธุรกิจซื้อขาย
สินค้าเกษตรล่วงหน้า (Commodity) ธุรกิจการจัดสรรวันพักผ่อน (Time sharing) ธุรกิจการซื้อขายเงิน
ตราต่างประเทศฯ (Forex) และธุรกิจขายตรงหลายชั้นแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่
โดยใช้สินค้าบังหน้า
เป็นต้น ซึ่งลักษณะการหลอกลวงและวิธีการกระทำดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับ ประชาชนและ
นักลงทุนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และเข้าข่ายกระทำความผิดตามพระราช
กำหนดการกู้ยืมเงิน ที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน

กระทรวงการคลังได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง และได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมพระราช
กำหนดการกู้ยืมเ งินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชนพ.ศ. 2527 รวม 2 ครั้ง เพื่อให้กฎหมายครอบคลุมการ
กระทำความผิดและมีความชัดเ จนมากขึ้น

การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นการควบคุม กลุ่ม บุคคลที่ใช้วิธีการชักจูงให้ผู้อื่นส่ง
เงิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่นให้ และให้ไปหาสมาชิกใหม่มาลงต่อกันไปเรื่อยๆ โดยอ้างว่าจะได้
กำไรมากกว่าเงินหรือประโยชน์ที่ผู้นั้นได้ลงไว้ หรือ ที่เรียกกันว่า แชร์ลูกโซ่ และเมื่อไม่สามารถหา
สมาชิกใหม่มาลงทุนเพิ่มได้ ก็จะไม่มีเงินมาจ่ายให้สมาชิกรายก่อน ในที่สุด ก็ต้องล้มไป ซึ่งสามารถลด
ความรุนแรงของ แชร์ลูกโซ่ ลงได้ในระดับหนึ่ง

แก้ไข ครั้งที่สอง พ.ศ. 2545 เหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้ เนื่องจากได้มีการหลอกลวงประชาชน
ให้นำเงินเข้ามาร่วม ลงทุนในธุรกิจซื้อขายหรือ เก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(FOREX)
ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้หลงเชื่อและเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก จึงได้แก้ไข
เพิ่มเติมให้การโฆษณา ประกาศ หรือการกระทำใดๆ ให้ประชาชนนำเงินเข้ามาร่วมลงทุนในลักษณะดัง
กล่าวเป็นความผิด นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มความรับผิดของพนักงานหรือ ลูกจ้างของนิติบุคคลผู้
กระทำความผิด การเพิ่มโทษกับผู้กระทำความผิดซ้ำ ตลอดจนการเนรเทศผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นคน
ต่างด้าว รวมทั้งให้มีการจ่ายเงินสินบนและรางวัล เพื่อให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น

ผลจากการปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนดดังกล่าวนี้ ทำให้บริษัทที่ทำธุรกิจ FOREX ลดความรุนแรงลงไปมาก

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกเผยแพร่ความรู้ให ้กับประชาชนในพื้นที่ ต่างๆ ทั่ว
ประเทศ เพื่อให้ประชาชน รู้ทัน เล่ห์เหลี่ยมกลโกงรูปแบบต่างๆ ได้มากขึ้น และป้องกันไม่ให้ประชาชน
ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ อีกต่อไป

กลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลัก
ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้อ งกัน ติดตาม กำกับ ดูแล ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนที่ตกเป็น
เหยื่อของกลุ่มม ิจฉาชีพเหล่านี้ รวมทั้งร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ เพื่อนำตัวผู้กระทำ
ความผิด มาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

หากท่านใดสงสัย ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับธุรกิจ”การจัดคิวเงิน ” โปรด
ติดต่อ ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สายด่วนโทร. 1359 หรือ ส่งจดหมายมาได้ที่ ตู้ป.ณ.1359 ปณจ.
บางรัก กรุงเทพฯ 10500

ที่มา : เวิลวายเว็บดอท mof.go.th/fincrime2004/index.php?option=com_content&task=view&id=13&Itemi d=27
IP : บันทึกการเข้า
สมพร1962
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 468



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2012, 06:56:13 »

ธุรกิจการจัดสรรวันพักผ่อน (Time sharing) เป็นลักษณะโครงสร้างธุรกิจไหนครับ รูปแบบการดำเนินการยังไงครับ 
IP : บันทึกการเข้า

ลูกค้าให้ความไว้วางใจ ครอบครัวอยู่รอด
Cupid
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,941


Experience is the best teacher.


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2012, 07:48:00 »

ธุรกิจการจัดสรรวันพักผ่อน (Time sharing) เป็นลักษณะโครงสร้างธุรกิจไหนครับ รูปแบบการดำเนินการยังไงครับ 

ลองศึกษาดูตามนี้ครับ ยิ้มเท่ห์

http://www.1359.in.th/fincrime2004/index.php?option=com_content&task=view&id=126&Itemid=78

http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2007/06/E5500681/E5500681.html
IP : บันทึกการเข้า
สมพร1962
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 468



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 21 มีนาคม 2012, 21:42:12 »

ขอบคุณครับ ผมส่วนตัวแล้วได้รับอีเมล์ลักษณะนี้มาตลอด เกือบใจอ่อนเข้ารวมก็หลายครั้ง แต่กลับมานั่งคิดความน่าจะเป็นแล้ว มันไม่น่าจะเป็นไปได้ ถึงปัจจุบันผมยังไม่คิดจะลงทุนด้วยสักที....
IP : บันทึกการเข้า

ลูกค้าให้ความไว้วางใจ ครอบครัวอยู่รอด
Ironmaiden
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,531



« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 01 มิถุนายน 2012, 10:50:17 »

ขอถาม...กรณีที่มีการรวมกลุ่มเก็บค่า ชาปณกิจ ...เข้าข่ายไหมครับ...เพราะเห็นเคยมีคดี
ลักษณะนี้ แต่นั่นก็เป็นหลอกลวง  แล้วไอ้ที่มีอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆนี่ มันยังไง เข้าข่ายระดมเงินไหม
IP : บันทึกการเข้า
Cupid
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,941


Experience is the best teacher.


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 01 มิถุนายน 2012, 11:16:03 »

ขอถาม...กรณีที่มีการรวมกลุ่มเก็บค่า ชาปณกิจ ...เข้าข่ายไหมครับ...เพราะเห็นเคยมีคดี
ลักษณะนี้ แต่นั่นก็เป็นหลอกลวง  แล้วไอ้ที่มีอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆนี่ มันยังไง เข้าข่ายระดมเงินไหม

ค่าฌาปนกิจศพ เป็นการเก็บจากสมาชิกแต่ละหน่วยสังคม เพื่อช่วยเหลือจัดการศพของสมาชิกที่ถึงแก่
ความตาย เพื่อให้ทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ได้มีเงินจัดการศพตามประเพณี ซึ่งมีกฎหมายรองรับอยู่ ซึ่งถ้า
ปฏิบัติตามกฎหมายที่รองรับดังกล่าว ก็ไม่เข้าข่ายการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงครับ

กฎหมายว่าด้วยการฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นได้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ตามนี้ครับ

http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538973720&Ntype=19
 



IP : บันทึกการเข้า
Ironmaiden
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,531



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 01 มิถุนายน 2012, 11:20:42 »

ขอถาม...กรณีที่มีการรวมกลุ่มเก็บค่า ชาปณกิจ ...เข้าข่ายไหมครับ...เพราะเห็นเคยมีคดี
ลักษณะนี้ แต่นั่นก็เป็นหลอกลวง  แล้วไอ้ที่มีอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆนี่ มันยังไง เข้าข่ายระดมเงินไหม

ค่าฌาปนกิจศพ เป็นการเก็บจากสมาชิกแต่ละหน่วยสังคม เพื่อช่วยเหลือจัดการศพของสมาชิกที่ถึงแก่
ความตาย เพื่อให้ทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ได้มีเงินจัดการศพตามประเพณี ซึ่งมีกฎหมายรองรับอยู่ ซึ่งถ้า
ปฏิบัติตามกฎหมายที่รองรับดังกล่าว ก็ไม่เข้าข่ายการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงครับ

กฎหมายว่าด้วยการฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นได้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ตามนี้ครับ

http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538973720&Ntype=19
 
อ๋อ...ขอบคุณมากครับ...แสดงว่ากรณีที่เกิดมีคดีขึ้นเกิดจากการปฏิบัติไม่ตรงตามที่กฏหมายกำหนดไว้...คือมีเจตนาหลอกลวงว่างั้น..ใช่ไหมครับ..
IP : บันทึกการเข้า
Cupid
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,941


Experience is the best teacher.


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 01 มิถุนายน 2012, 11:32:10 »


กรณีที่เกิดขึ้นตามที่ท่านกล่าวถึงนั้น ผมไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร อาจจะไม่ได้มีการ
จดทะเบียนตามกฎหมาย หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทุจริต หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ได้ครับ
IP : บันทึกการเข้า
Ironmaiden
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,531



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 05 มิถุนายน 2012, 09:26:48 »

2554
03
มี.ค.
ชาวเชียงรายโวยสมาคมผี โกงเงินฌาปนกิจ 10 ล้าน
จาก นากว้างดอทคอม
ข่าวเด่น




ชาวเชียงรายกว่า 200 คน ชุมนุมประท้วง 2 สมาคมฌาปนกิจ ระบุ หลอกเก็บเงินเข้าสมาคมฯ กว่า 10 ล้านบาทแล้ว รองผู้ว่าฯสั่งให้แจ้งความกับตำรวจเป็นหลักฐาน ก่อนยอมสลายตัว...
 

เมื่อเวลา 10.30 น. 3 มี.ค. ที่ศาลากลางจ.เชียงราย 750 ปี มีชาวบ้านสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์เมืองเชียงราย และสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมใจ ประมาณ 200 คน พากันไปชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือขอร้องให้ทางจังหวัดช่วยเหลือพร้อมนำเอกสารเป็นข้อความเดือดร้อน และการเป็นสมาชิกสมาคมฯจำนวนหลายกล่องไปประกอบคำร้องด้วย ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้านมีนายเอกรินทร์ รักพงศ์ เป็นแกนนำ โดยระบุว่าสมาคมดังกล่าวตั้งมาได้ประมาณ 2 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่เสียชีวิต มีกรรมการ 7 คน ซึ่งที่ผ่านมา สมาคมฯแจ้งให้ประชาชนทั่วไปทราบว่า ผู้ที่เป็นสมาชิกจะต้องช่วยเหลือกรณีมีสมาชิกเสียชีวิตรายละ 25 บาท หากครอบครัวใดมีผู้เข้าเป็นสมาชิกมากก็ต้องจ่ายเงินมากตามจำนวนคน และกรณีมีการเสียชีวิตจะได้รับเงินทันที 40,000 บาทนายเอกรินทร์ ยังกล่าวอีกว่า เมื่อเกิดปัญหา ชาวบ้านจึงไปตรวจสอบรายชื่อกรรมการสมาคมฯ ปรากฎว่าทั้ง 2 สมาคมฯเป็นคนกลุ่มเดียวกัน และมีการแจ้งให้สมาชิกจ่ายเงินกรณีอ้างว่ามีการเสียชีวิต 5 ช่องทางคือ จ่ายด้วยตัวเองที่สำนักงานสมาคม ต.ท่าสุด โอนเข้าบัญชีธนาคารในนามสมาคมฯ และที่น่าสงสัยคือ ให้มีการโอนเงินเข้าบัญชีกรรมการผู้หญิงคนหนึ่งถึง 3 บัญชีธนาคาร ต่อมาชาวบ้านก็พบพิรุธว่า สมาคมฯได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบว่า มีตัวเลขสมาชิกที่เสียชีวิตไม่ตรงกับข้อเท็จจริง แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะจ่ายเงินไปหมดแล้ว ยกตัวอย่างเช่น มีสมาชิกเสียชีวิต 100 ราย แจ้งให้สมาชิกจ่ายเงินและโอนไปตามช่องทางดังกล่าว โดยระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 200 ราย เป็นต้น หากนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมฯ ประชาชนได้ส่งเงินเข้าสมาคมฌาปนกิจทั้ง 2 แห่ง ประมาณ 10 ล้านบาทแล้วต่อมานายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผวจ.เชียงราย ไปรับเรื่องเรียนพร้อมแจ้งให้ชาวบ้านทราบว่า เรื่องนี้เป็นคดีอาญา คงจะต้องให้ชาวบ้านผู้เสียหายไปแจ้งความดำเนินคดีกับคณะกรรมการบริหารสมาคมทั้ง 2 แห่ง ในข้อหาฉ้อโกงทั้งทางอาญาและแพ่งร่วม ทั้งเอาผิดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดำเนินการจดทะเบียนสมาคมให้กับกลุ่มผลประโยชน์ทั้ง 2 ด้วย เนื่องจากมิใช่อำนาจของท้องถิ่น เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนโดยตำแหน่ง ทำให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดเดินทางไปที่สภ.เมืองเชียงราย เพื่อยื่นหนังสือต่อ พ.ต.อ.มงคล สัมภวะผล ผกก.สภ.เมืองเชียงราย แจ้งความดำเนินคดีกับกรรมการสมาคมของทั้ง 2 แห่ง และจะประสานไปยังฝ่ายปกครอง อ.เมือง เพื่อตั้งคณะกรรมการตรวจสอบควบคู่ไปกับการดำเนินคดีทางอาญาด้วย ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายตัวไปในที่สุด




ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์


ตัวอย่างคดีเก่าๆน่ะครับ...แสดงว่าเจ้าหน้าที่ที่เรี่ยไรทำการ...เข้าข่ายหลอกลวง...(จริงเท็จแค่ไหนก็ไม่ได้ติดตามดูนะครับ)



IP : บันทึกการเข้า
Kontae_ki
อนาคต..เราสร้างเองได้
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 399


ลูกชาวนา 100%


« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 27 ตุลาคม 2012, 15:08:41 »



ขอบคุณสำหรับความรู้ เป็นประโยชน์มากเลย
IP : บันทึกการเข้า

i-happy
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,089


ชีวิตยังไม่สิ้น ก็ดิ้นกันต่อไป


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 09 ตุลาคม 2014, 15:36:36 »

เยอะมาก ตาลายไปเลย
IP : บันทึกการเข้า
พิมพ์พลอย
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47


จะเก็บใจไว้ เก็บเพื่อรอ


« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 05 มิถุนายน 2015, 22:02:07 »

ขอบคุณสำหรับความรู้ เป็นประโยชน์มากเลย แต่ๆๆ โดนไปละ 8 แสน ฮรี่ๆๆๆ
IP : บันทึกการเข้า

อยากรวย ส่งหวยสองตัว/90 สามตัว/750 สามตัวโต๊ด/130 ใครที่เป็นเจ้ามือส่งหวยทางนี้ รับรองส่วนต่างเยอะมากคร้า รวยๆๆค่ะ สมัครเลย สอบถามได้ค่ะ
http://www.lot500.com/fb.php?b_id=53&code=AF8906
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!