เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 05:10:25
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  งานบ้านงานครัว คลีนิค ถามหมอ เรื่องสุขภาพ (ผู้ดูแล: แชทซาโนย่า กอยุ่ง~*-., ©®*)
| | |-+  ทำความเข้าใจโรคซึมเศร้า พร้อมแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ทำความเข้าใจโรคซึมเศร้า พร้อมแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี  (อ่าน 83 ครั้ง)
northerntraveller
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9


« เมื่อ: วันที่ 14 มีนาคม 2024, 21:08:27 »


จากผลสำรวจพบว่าในช่วง 1- 2 ปีที่ผ่านมาช่วงอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 1.5 ล้านคนภายในประเทศไทย และในปี 2566 ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขั้นทำร้ายร่างกายตนเอง

ซึ่งจากผลสำรวจข้างต้นนี้สะท้อนถึงปัญหาของโรคซึมเศร้า ที่ผู้ป่วยต้องประสบพบเจอกับตนเอง ผู้ป่วยบางคนยังไม่ทราบ หรือไม่รู้ว่าตนเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ แต่ถึงอย่างไรก็ตามหมั่นสังเกตอาการตัวเอง และคนใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นของโรคซึมเศร้า

สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร

โรคซึมเศร้าสาเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

1. พันธุกรรม
 
• หากพบว่าคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคซึมเศร้าจะมากกว่าครอบครัวที่ไม่เคยมีประวัติโรคซึมเศร้า
• ความผิดปกติของยีนบางชนิดที่ทำให้รู้สึกอ่อนไหวมากกว่าคนอื่น

2. ชีวภาพ

• สารเคมีในสมองมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สารเคมีในสมองจึงมีความผิดปกติ สารเคมีในสมองที่สำคัญ ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) มีการลดลง จึงทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
• โครงสร้างการทำงานของระบบประสาทในสมองผิดปกติ มาจากการติดยาเสพติด ได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่สมอง และ อื่น ๆ เป็นสิ่งที่ไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท จึงเกิดความผิดปกติ
• โรคทางกายบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ โรคหัวใจ

3. สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว

• เหตุการณ์ หรือ ประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นทำให้เกิดการฝังใจ จำจดอยู่ตลอดเวลา เช่น สูญเสียคนในครอบครัวหรือคนรัก ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกคุกคามทางเพศ  และเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เป็นตัวกระตุ้น หรือสาเหตุของโรคซึมเศร้า
• เกิดความเครียดสะสม เช่น การทำงาน เรียนหนังสือ การเข้าสังคมกับผู้อื่นไม่ได้ สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีปัญหากับครอบครัว มีปัญหาเรื่องการเงิน เป็นต้น
• ความเป็นอยู่ เช่น อยู่ในครอบครัวที่กดดัน สภาพแวดล้อมที่วุ่นวาย และเศรษฐกิจที่ย่ำแย่

อาการโรคซึมเศร้ามีอะไรบ้าง

อาการโรคซึมเศร้าสามารถสังเกตจากพฤติกรรม ความคิด อารมณ์ สภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงเหมือนกัน รวมถึงความรุนแรงอาการของโรคซึมเศร้าจะขึ้นอยู่แต่ละบุคคล โดยอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมี ดังต่อไปนี้

พฤติกรรม
 
• นอนไม่ค่อยหลับ หรืออาจจะนานมากกว่าปกติ
• เบื่ออาหาร หรืออาจจะกินอาหารมากกว่าปกติ
• ไม่อยากทำกิจกรรมที่ค่อยชอบ
• ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าสังคม
• ทำร้ายร่างกายตัวเอง และพยายามฆ่าตัวตาย

ความคิด

• มองโลกในเชิงลบ
• ชอบคิดแต่โทษตัวเอง
• ตัดสินใจแก้ปัญหาได้ยากลำบาก
• ความจำเสื่อม
• สมาธิสั้น จิตใจไม่อยู่เนื้อกับตัว
• คิดแต่สิ่งที่มีผลกระทบต่อจิตใจบ่อย ๆ ครั้ง
• คิดอยากฆ่าตัวตาย

อารมณ์

• รู้สึกเบื่อ ท้อแท้ สิ้นหวัง
• ไร้อารมณ์ ไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิต
• หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย
• เศร้า เสียใจ ร้องไห้ง่าย
• รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีความสามารถ

สภาพร่างกาย

• ปวดหัว ปวดท้อง
• หายใจติดขัด แน่นหน้าอก
• อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
• น้ำหนักเพิ่ม หรือน้ำหนักลดลง

ประเภทของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า คือโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองจนเกิดผลกระทบงต่อพฤติกรรม อารมณ์ ความคิด และร่างกายของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ประเภทของโรคซึมเศร้าจะแบ่งออกเป็น ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. Major Depressive Disorder (MDD) เป็นประเภทที่พบเจอบ่อยจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทำให้เกิดอาการที่รุนแรงส่งผลกระทบต่อการทำงาน เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และการใช้ชีวิตประจำวัน อาการของ MDD ได้แก่ รู้สึกเศร้า หดหู่ สูญเสียในสิ่งที่ตัวเองชอบทำกิจกรรมต่าง ๆ อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง เบื่ออาหาร รู้สึกไร้ค่า โทษแต่ตัวเอง คิดอยากตาย และอาจรุนแรงถึงขั้นฆ่าตาย

2. Persistent Depressive Disorder (PDD) เป็นประเภทของโรคซึมเศร้าเรื้อรังที่มีอาการน้อยกว่า MDD แต่มีอาการป่วยที่ยาวนานกว่า PDD หรืออาการจะอยู่กับผู้ป่วย 2 ปีขึ้นไป โดยอาการป่วยโรคซึมเศร้า PDD จะเหมือนกับ MDD แต่จะมีอาการ และความรู้สึกเรื้อรัง

3. Bipolar Disorder เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนอย่างสุดขั้ว จากอารมณ์สูงไปเป็นอารมณ์ต่ำ ลักษณะของอาการอาจจะเกิดภาพหลอน และมีอาการซึมเศร้ารุนแรง

4. Postpartum Depression โรคซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นในผู้หญิงหลังคลอด มีอาการที่รุนแรง และอาจจะยาวนานเป็นปี ซึ่งอาการจะแสดงออกในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด อาการที่แสดงออกมา ได้แก่ ร้องได้บ่อย รู้สึกโกรธ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า เป็นต้น

วิธีรักษาโรคซึมเศร้ามีอะไรบ้าง


วิธีรักษาโรคซึมเศร้ามีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี แต่ละวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

1. จิตบําบัดโรคซึมเศร้า เป็นการพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อแก้ไขความคิดและพฤติกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ หลังจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารักษาอาการจะดีขึ้น

2. ยารักษาโรคซึมเศร้า แพทย์อาจสั่งยาต้านเศร้าเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ยาเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการเศร้า วิตกกังวล และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

การป้องกันโรคซึมเศร้าด้วยวิธีใดบ้าง

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นควรรักษากับแพทย์เท่านั้น การป้องกันโรคซึมเศร้า ได้แก่

• พูดคุยกับคนในรอบคอบ ระบายความรู้สึกให้เพื่ออื่นฟัง
• หากิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น ฝึกสมาธิ โยคะ ฟังเพลง อ่านหนังสือ
• ทานอาหารที่มีประโยชน์
• ออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที
• นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

หากมีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า ควรทำอย่างไร

เมื่อพบว่าคนใกล้ตัวเป็นซึมเศร้า สิ่งที่ควรทำกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คือการให้กำลังใจ พูดคุย คอยรับฟัง ไม่ตำหนิ ไม่ว่าร้าย ไม่สร้างความกดดันให้กับผู้ป่วย พยายามให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าอยู่กับเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเขา ดูแลผู้ป่วยใก้กินยาเป็นประจำตามที่แพทย์สั่ง และพาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

โรคซึมเศร้า รีบรักษาก่อนอาการรุนแรง

โรคซึมเศร้าหากผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเครียด ความกดดดันถึงขั้นคิดจะทำร้าย หรือฆ่าตัวตายได้ ดังนั้นแล้วผู้ป่วยควรรีบเข้ารักษาเมื่อรู้ว่าตนเองมีอาการเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า โดยรับการรักษาจากจิตแพทย์ หรือหากพบว่าคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อีกหนึ่งสิ่งสำคัญของการรักษา คือกำลังใจ และให้ความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดอย่างเอาใจใส่ เพื่อให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นนั่นเอง
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!