เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 10:25:58
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  นักลงทุน การเงิน การธนาคาร
| | |-+  ออมอย่างไรให้มั่งคั้ง....(update จบบริบูรณ์แล้วจ้า.. ^_^)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน ออมอย่างไรให้มั่งคั้ง....(update จบบริบูรณ์แล้วจ้า.. ^_^)  (อ่าน 3755 ครั้ง)
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« เมื่อ: วันที่ 01 สิงหาคม 2011, 13:09:06 »

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ก่อนอื่นผมแนะนำตัวก่อนน่ะครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่ครับ  วันนี้มีสาระดีๆเกี่ยวกับการออมมาฝากครับ
 เรื่องออมอย่างไรให้มั่งคั้ง   (ขอลงเป็นตอนๆนะครับเพราะมันยาว)
ลองจิตนาการไปในชีวิตอนาคตข้างหน้าว่าจะดีแค่ไหนหากเราไม่ต้องทำงานแต่สามารถมีเงินใช้โดยไม่ต้องเดือนร้อน และมีชีวิตที่มีคุณภาพ ตามธรรมชาติของมนุษย์นั้น ความต้องการด้านความสุขจะไม่มีวันหมด แต่เงินนั้นถึงมีมากแค่ไหนมันก็ยังมีวันหมดไป หากผู้ที่กำลังมีเงินอยู่ในมือมากๆ ไม่เข้าใจข้อนี้ ไม่ว่าจะมีเงินสักเท่าไหร่ก็ตามเขาหรือเธอผู้นั้นก็ไม่มีทางมีอิสรภาพทางการเงินหรอก คนเราต้องออมไว้เพื่อ  “อิสรภาพทางการเงิน” ในวันข้างหน้า ในยามที่ไม่ต้องทำงานแล้วก็ยังมีเงินกินเงินใช้ไม่เดือดร้อนต้องหาอีก  
   คำว่า อิสรภาพทางการเงิน หรือ Financial Freedom ไม่ได้แปลว่าเราจะต้อง “รวยเงินรวยทองมหาศาล” แต่หมายถึงว่าเราต้องมีหลักประกันทางการเงินที่มั่นคง เพียงพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบายสมควรแก่อัตภาพ และไม่ต้องหวาดผวากับปัญหาเรื่องเงินๆทองๆในการใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตอย่ามีคุณภาพและไร้กังวล
   การออมจึงเป็นหลักวิธีที่สำคัญที่จะสร้างพื้นฐานของความเป็นผู้มั่งมีหรือร่ำรวย อย่าลืมและระลึกไว้เสมอว่า เราออมไว้เพื่อให้มีใช้เพียงพอ ไม่ใช่ออมไว้เพื่อบอกคนอื่นว่า เรา “ร่ำรวย”  
    แนวคิดการออมที่ได้ผล มีทั้งหมด 4 ข้อดังนี้
1.ปรับทัศนคติเรื่องการออมใหม่
คนส่วนใหญ่จะมีทัศนคติการออมเป็น รายได้-รายจ่าย=เงินออม ซึ่งทัศนคติแบบนี้เป็นทัศนคติที่ผิด เพราะต่อให้มีเงินมากแค่ไหนหากตั้งตนด้วยการใช้แล้วค่อยเก็บรับประกันได้ว่าเราจะมีเงินเก็บน้อยมาก หรือไม่มีเลย ที่ถูกควรเป็น รายได้-เงินออม=ค่าใช้จ่าย ที่บอกแบบนี้บางท่านอาจเถียงว่า แค่หากินหาใช้ไปวันๆยังลำบากอยู่แล้ว แล้วจะเอาไหนมาเก็บออมเพราะทุกอย่างดูเหมือนจะจำเป็นต้องจ่ายไปทั้งหมด  แต่เราไม่มองกลับดูตัวเองว่า ที่เราบ่นว่าจน ไม่มีเงินใช้ หรือเงินขาดทุกเดือนแต่เรากลับไม่โดนไล่ออกจากห้องเช่าที่เราเช่าอยู่ เราไม่โดนตัดมือถือเพราะต้องเติมเงินหรือจ่ายรายเดือนให้ค่ายโทรศัพท์ต่างๆ และเรายังต้องมีเงินซื้อข้าวกินทุกมื้อไม่ยอมให้อด….เพราะเหตุใด?
   คำตอบคือ เราทุกคนทราบอยู่แล้วว่าสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งจำเป็น และเราต้องหาเงินมาจ่ายกับสิ่งเหล่านี้เป็นจำนวนเท่าใด เมื่อเราทราบอย่างนี้ก็ต้องมองว่าการออมเป็นสิ่งจำเป็นและเก็บเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินออมบ้าง(เดี๋ยวจะบอกวิธีคำนวณในช่วงท้ายครับ)

2.หา “กระปุก” เงินที่ดีเอาไว้ใส่เงินออม
หากเป็นวัยเด็กควรเป็นกระปุกที่มีแต่ทางเข้าไม่มีทางออก เพราะหากมีทางออกแล้วก็จะทำให้เด็กอยากแกะเอาเงินออกไปใช้ เพราะเด็กก็คือเด็ก เดี๋ยวก็อยากได้ไหน อยากกินนี้ ยิ่งยุคนี้ถ้าติดเกมส์รับรองไม่เหลือ(ตอนเด็กๆทำบ่อย ^_^) ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็ควรมีบัญชีออมทรัพย์แบบไม่มี ATM ถ้าอยากได้ต้องถอดสมุดอย่างเดียว ควรตั้งชื่อเท่ๆให้ตัวเองบ้าง เช่น บัญชีเพื่ออนาคต บัญชีเศรษฐี บัญชีเพื่อลูกเพื่อเมีย ฯลฯ แล้วแต่ท่านจะตั้งครับ พอเงินเดือนออกก็กันออกมาฝากไว้ก่อนเลย เริ่มจากน้อยๆ สบายๆ ก่อนแต่ต้องสม่ำเสมอน่ะ เช่นขั้นต่ำครั้งละ 500 หากได้โบนัสก็อาจเพิ่มเป็น 1000 แต่เราต้องฝากสม่ำเสมอ ปละเงินส่วนนี้ห้ามใช้ในเวลาปัจจุบันเป็นอันขาดจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม
3.แบ่งเงินค่าใช้จ่ายที่เหลือจากเงินรายได้ลบเงินออมนั้นใส่กระเป๋า 4 ใบ
อันนี้ก็ตามแนวของพระพุทธเจ้าเลยครับ ที่พระองค์ทรงแนะนำฆาราวาสเรื่องการใช้ทรัพย์เมื่อหามาได้ ผมขอนำมาปรับเพื่อให้เข้าใจง่าย ส่วนใครสนใจในรายละเอียดก็หาอ่านเพิ่มเติมครับ    http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=6324.0 หรือลิ้งค์อื่นๆ (จบตอนที่ 1ครับ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 23:34:07 โดย เมฆพัตร » IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 01 สิงหาคม 2011, 13:12:06 »

ใครไม่อยากรอ   หาอ่านได้จากหนังสือ “Money Revolution How to manage your money well ทำอย่างไรถึงจะเรียกว่า บริหารเงินเป็น”  ส่วนคนที่อยากประหยัด อิอิ รออ่านได้ครับ.... ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ





>>>>อยากให้สังคมออนไลน์ เชียงรายโฟกัส เป็นสังคมแห่งคุณภาพครับ<<<<
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 01 สิงหาคม 2011, 13:57:18 »

เพิ่มรูปหนังสือครับ....^_^


* IMG_2719.jpg (161.83 KB, 600x800 - ดู 390 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,912



« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 01 สิงหาคม 2011, 16:10:57 »

ผมรออ่านในนี้ดีกว่า หุหุ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

IP : บันทึกการเข้า

เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 02 สิงหาคม 2011, 18:18:30 »

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ สวัสดีครับทุกท่าน ***แก้ไขข้อตั้งกระทู้ใหม่ ขอบคุณครับ ^_^
ตอนนนี้เราจะมากล่าถึง กระเป๋า 4 ใบครับ
        *************************************************
3.แบ่งเงินค่าใช้จ่ายที่เหลือจากเงินรายได้ลบเงินออมนั้นใส่กระเป๋า 4 ใบ
อันนี้ก็ตามแนวของพระพุทธเจ้าเลยครับ ที่พระองค์ทรงแนะนำฆาราวาสเรื่องการใช้ทรัพย์เมื่อหามาได้ ผมขอนำมาปรับเพื่อให้เข้าใจง่าย ส่วนใครสนใจในรายละเอียดก็หาอ่านเพิ่มเติมครับ    http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=6324.0 หรือลิ้งค์อื่นๆ
3.1กระเป๋าใบที่1 กระเป๋าจ่ายหนี้ หมายความว่าต้องใช้หนีก่อน จะได้ไม่ทุกร้อนในภายหลัง เมื่อเรามีหนี้ก็ใช้ให้ครบ บางคนหากโชคดีไม่มีหนีสิน ก็อย่าลืมหนีบุญคุณพ่อแม่ บุพการีผู้มีพระคุณต่างๆอันนี้เราก็ต้องทดแทนหนีบุญคุณท่านตามโอกาสและเห็นสมควรครับ อาจจะไม่ได้เป็นตัวเงินก็อาจเป็นสิ่งของ ตามโอกาสต่างๆ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันครู เป็นต้น
3.2 กระเป๋าใบที่ 2 เงินใช้จ่ายในครอบครัว คือแบ่งส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายทุกอย่างในครอบครัวทั้งที่บ้านและที่ทำงาน
3.3 กระเป๋าใบที่ 3 เงินทำบุญครับ คำว่าบุญนั้นถือเป็น “ต้นทุน” ชีวิตอย่างหนึ่ง เพราะบุญคือบาทฐานแห่งการลงทุนเพื่ออนาคตที่ดีเสมอ ไม่มีใครร่ำรวยหรือโชคดีได้ถ้าไม่มีบุญคอยสนับสนุนค้ำจุน
   ยกตัวอย่างเศรษฐีระดับโลกอย่าง Warren Buffett, Bill Gate, Steven Jobs ถ้าหากศึกษาประวัติแล้วจะพบว่าคนเหล่านี้จะเชื่อเรื่องกรรมมาก และเขาเหล่านี้มักทำบุญบริจาคทานอย่าสม่ำเสมอ ตั้งแต่ยังตั้งตัวสร้างรากฐานในวัยหนุ่ม พวกเขามักสอนคนรุ่นใหม่เสมอว่า จงรีบทำบุญสร้างบุญเสียตั้งแต่วัยหนุ่มสาวหรือตอนที่ยังมรแรงดีอยู่ ก่อนจะไม่มีแรงไปสร้างบุญ แต่หากเป็นของเมืองไทยเอง ก็พอยังมีอยู่บ้าง คนแรกคือ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ซึ่งได้สละเงินของตนเองก่อตั้งเป็นมูลนิธิอมตะ โดยใช้เงินไปมากมายเพื่อกิจกรรมในการสร้างสรรค์พัฒนาศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรางวัลวรรณกรรมที่มอบให้กับเหล่านักเขียนรุ่นใหญ่ที่ทำงานเพื่อสังคมมาตลอดชีวิต เรียกรางวัล “นักเขียนอมตะ”  นอกจากนี้ยังมี คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี คุณธนินท์ เจียรวนนท์ คุณวิลเลี่ยม ไฮเนกี้ ซึ่งท่านทังหลายเหล่านี้ในปีหนึ่งๆล้วนบริจาคเงินเพื่อการกุศลหลายร้อยล้านบ้านทั้งที่เปิดเผยและปิดทองหลังพระ
3.4 กระเป๋าใบที่ 4 นำเงินส่วนหนึ่งกันไว้เตรียมเป็นเงินลงทุน  ซึ่งข้อนี้ก็คล้ายกับข้อ 3 แต่เป็นเงินที่เตรียมนำไปลงทุนในตลาดเงิน ในทางวิชาเศรษฐศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ เพราะคนเราไม่สามารถใช้แรงแลกเงินไปตลอดชีวิต จำเป็นต้องใช้เงินต่อเงินหรือใช้เงินทำงานนั้นเอง เงินที่ใช้นี้ต้องเป็นเงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายไม่ใช่เงินออม  อ่านอีกครั้ง  เป็นเงินที่เหลือจากค่าใช้จ่าย ไม่ใช่เงินออม ที่ให้เตรียมเงินลงทุนไว้ในส่วนนี้ ไม่ให้เอาเงินออมมาลงทุนเพราะการลงทุนมีความเสียง เสียงด้วยปัจจัยดังนี้
1.ขาดทุน คือสภาวะที่เราใช้เงินไปทำกิจกรรมต่างที่ต้องใช้แรงหาเงิน ไม่ว่าจะเปิดร้านขายของ ลงทุนในตลาดหุ้นทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีโอกาสขาดทุนได้ทั้งสิ้นอาจจะมากหรือน้อยแล้วแต่บุคคล ซึ่งข้อนี้จะนำไปสู่ข้อ สอง
2.เงินจม แปลว่ามีเงินอยู่แต่ไม่สามารถนำออกมาใช้ได้เพราะถูกนำไปแปลรูปให้อยู่ในลักษณะอื่นต้องรอเวลา คือต้องรอขายทรัพย์ที่ถูกแปรสภาพก่อนเพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน เช่น    ซื้อหุ้นแต่ติดดอย ซื้อของมาขายแต่ขายยังไม่ออก
3.ขายไม่ออก หากเป็นการลงทุนในตลาดหุ้นหรือตราสารเงินก็คือภาวะ “รอผู้ซื้อ” เกิดในหุ้นที่มีสภาพคล้องต่ำ ถึงแม้ราคาหุ้นที่เราซื้อมาจะมีกำไรพอที่จะขายได้ แต่รอทั้งวันก็ไม่มีคนซื้อ
4. WORST CASE คือการสูญเสียที่ร้ายแรงที่สุด เช่น ซื้อหุ้นไว้แล้ว หุ้นของบริษัทที่เราซื้อบริษัทเกิดความเสียหาย หรือถูกฟ้องล้มละลาย ใบหุ้นที่ซื้อไว้ก็จะกลายเป็นเศษกระดาษทันที่ เช่น หุ้น ITV   หรือที่ดินที่ซื้อไว้ โดนราชการทวงคืนเพราะกลายเป็นที่ลุกล้ำอุทยาน เช่น แถววังนำเขียว เขาใหญ่ในตอนนี้ ก็ต้องคืนเขาไป โดยไม่ได้อะไรเลย
   ด้วยเหตุนี้การกันเงินค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินลงทุน จึงเป็นคนละส่วน กับเงินออม ถ้าหากใครสับสนเอาเงินลงทุนกับเงินออมไปใช้รวมกันแล้ว ก็ต้องถามตัวเองอีกหลายๆครั้งว่า ถ้าเงินลงทุนสูญหายหรือเสียหาญไปหมดแล้ว  เรายังมีเงินเก็บ โดยไม่เดือดร้อนใช่หรือไม่ ดังนั้นห้ามเอาเงินเก็บกับเงินลงทุนมาเกี่ยวกันโดยเด็ดขาด
   อย่างไรก็ตามอย่าได้เข้าใจผิดคิดว่าพออ่านตรงนี้เสร็จแล้วต้องเอาเงินมาแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน ซึ่งไม่ใช่เช่นนั้น เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจอย่างนั้นจึงบอกกับตัวเองว่า
   “ฉันจะมีเงินเก็บได้อย่างไร แค่ค่าใช้จ่ายกับใช้หนี ยังชักหน้าไม่ถึงหลังเลย” พอทัศนะคติผิดๆเกิดขึ้น เลยไมมีความเพียรในการเก็บเงิน สุดท้ายก็ไม่มีเงินเก็บ คำว่าแบ่งนั้นให้แบ่งเป็น 4 ส่วนโดยไม่ต้องแบ่งให้เท่ากันแต่ต้องแบ่งให้มีความเหมาะสม
   ยกตัวอย่างเช่น กรณีนายร่ำรวย เงินเดือน 10,000 บ. ก็ทำตามสูตรโดย STD ออม 20% ใช้ 80% ก็จะได้ 10,000 – 2,000 = 8,000 บาท   ที่เหลือ 8,000 ก็จะเป็นรายได้สุทธิที่เราจะเอามาบริหารค่าใช้จ่าย ก็จะแบ่งเป็น
จาก 8,000 บาท
1.ใช้หนี้ 50% = 4,000 บ. (เลี้ยงดูพ่อแม่บุพการี+ใช้หนีสินส่วนตัว)
2.ใช้จ่ายส่วนตัว 45% =3,600 บ.
3.ไว้ทำบุญในทุกรูปแบบ 3% =240 บ.
4.เงินเตรียมไว้ลงทุน 2% = 160 บ. (อันนี้ละครับที่เรียกว่าเงินเย็น….เฆคพัตร)
   รวมแล้วก็จะครบ 8,000 พอดี เมื่อบริหารการแบ่งเงินที่เหลืออยู่จากเงินเก็บได้แบบนี้แล้ว ต่อๆ ไปการเงินของเราก็จะเริ่มมีระบบมากขึ้น และอัตราส่วนของเงินค่าใช้จ่ายนี้ก็จะเริ่มเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แม้แต่เศรษฐีส่วนใหญ่ก็ยังมีหนี้สิ้นที่ต้องจ่ายเช่นเดี๋ยวกับเรา อย่างไรก็ตามตัวเลขข้างต้นเป็นเพียงการสมมุติ อาจปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพชีวิตของแต่ละคนอย่างไรก็ตามเมื่อบริหารจัดการได้ดังนี้แล้วอย่างสม่ำเสมอ อัตราส่วนในเงินค่าใช้จ่ายอาจกลับข้างหรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นใช้หนี 10% รายจ่าย 30% เงินทำบุญ 20% และเงินลงทุน 40%  ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปชีวิตเริ่มสะดวกสบายมากขึ้นหรือรายได้มากขึ้นอัตราส่วนของการใช้หนี้และรายจ่ายก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะหนี้ที่มีอยู่ย่อมหมดไป (ยกเว้นเรื่องดูแลบุพการี) และเงินจะไปหนักอยู่ที่เงินลงทุนและเงินทำบุญมากขึ้น
4.บริหารเงินออมที่เก็บไว้ (ขอเอาไว้ต่อ ภาค 3 น่ะ ครับ ^_^)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 02 สิงหาคม 2011, 18:58:53 โดย เมฆพัตร » IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 02 สิงหาคม 2011, 18:21:36 »

ท่านใดที่เข้ามาเยี่ยมชม หากถูกใจหรือ จะเสริมเพิ่มเติมได้น่ะครับ หรือให้รอยยิ้ม  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ  แบบนี้สักหน่อยก็ดีเพื่อเป็นกำลังใจกับผมครับ ^L^ .....ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า
น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,912



« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 02 สิงหาคม 2011, 18:34:57 »

ผมว่านะครับ เอาไปลงที่กระทู้แรกอ่ะดีแล้วครับ

จะได้ไม่ต้องตามไปหาหน้าอื่นๆถ้าท่านตั้งใหม่เรื่อยๆ

ถ้ามี 100 หน้า ก็จะมี 100 กระทู้ คงตามอ่านกันให้วุ่นเลยครับ

สามารถดูหน้าแรก ถึงหน้าสุดท้าย ได้ในกระทู้เดียว

น่าจะเหมาะสมกว่านะครับ

ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า

Cupid
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,941


Experience is the best teacher.


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 02 สิงหาคม 2011, 18:50:12 »

ผมว่านะครับ เอาไปลงที่กระทู้แรกอ่ะดีแล้วครับ

จะได้ไม่ต้องตามไปหาหน้าอื่นๆถ้าท่านตั้งใหม่เรื่อยๆ

ถ้ามี 100 หน้า ก็จะมี 100 กระทู้ คงตามอ่านกันให้วุ่นเลยครับ

สามารถดูหน้าแรก ถึงหน้าสุดท้าย ได้ในกระทู้เดียว

น่าจะเหมาะสมกว่านะครับ

ขอบคุณครับ

ควรเป็นอย่างที่ท่านวัยทองฯได้ให้ความเห็นไว้นี้ เพราะเนื้อหาเดียวกัน  ผมได้รวมกระทู้เข้าด้วยกันแล้ว

ท่านเจ้าของกระทู้กรุณาปฏิบัติให้เป็นไปตามกติกาของเว็บด้วยครับ...ขอบคุณครับ... ยิ้ม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 02 สิงหาคม 2011, 18:53:45 โดย cupid » IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 02 สิงหาคม 2011, 18:53:39 »

ok ครับ......ตามนั้นครับ   ^_^ ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า
HipHopJaa
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 250


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 02 สิงหาคม 2011, 18:56:48 »

กระทู้ดีมากคับ.....ใครอยากรวยควรมีระเบียบวินัย และซื้อสัตย์ต่อตนเองด้วยจะช่วยให้รวยเร็วขึ้นอีกนิดคับ
IP : บันทึกการเข้า

คนไทยไม่ควร"แยกสี"....เพราะเป็นหน้าที่ของ"โรงพิมพ์"
Ole :)
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 817



« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 11:02:20 »

เงินไม่เหลือใช้ในแต่ละเดือนเลยท่าน ต้องหาอาชีพเสริม ลดรายจ่าย เงินออมแทบไม่มี  ยิ้มเท่ห์
ว่างๆจะหาหนังสือเล่มนี้อ่านดู
IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 11:35:09 »

สวัสดีครับ วันพุธ-สีเขีว (แต่ set ณ ตอนนี้แดงน่ะ ^_^ )  วันนี้ขอลงเอาให้หมดน่ะครับ แต่ก็แบ่งเป็นตอนๆ ต่อเลยน่ะครับ
****************************************************
หลักจากที่เราแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆแล้วเราก็มาดูกันว่า เงินออมที่เรากันไวในช่วงแรกนั้นเราต้องไปทำอะไรกับมันบ้าง....
4.บริหารเงินออมที่เก็บไว้
ถึงตอนนี้ให้ย้อนกลับมาดูเงินออมที่เรากันไว้ 20% เพื่อเก็บออมเพียงอย่างเดียว ซึ่งเงินจำนวนนี้ไม่ใช่เอาเงินทั้งก้อนไปฝากบัญชีไว้แล้วปิดตายไว้เพียงอย่างเดียวเราต้องนำเงินเหล่านี้ไปบริหารให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม
   เราจะแยกเงินส่วนนี้ออกมาใส่สามตุ่ม คือ A B C โดยจะไล่ตักเงินใส่ตุ่ม A>B>C  ไปตามลำดับ เหตุที่ต้องบริหารเงินเก็บใส่ตุ่มแบบนี้ ก็ย้อนไปถึงคำถามที่ว่า “เราเก็บเงินไปเพื่ออะไร” คำตอบมีมากมายหลายประการพอแยกออกเป็น 3 ข้อดังนี้
1.เอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน คือยามเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเกิดเหตุไม่คาดฝันต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนครั้งละมากๆ เช่น รถเสียต้องยกเครื่องใหม่
2.ประกันความเสี่ยง คือเผื่อเกิดเหตุร้ายจนถึงขั้นทำงานไม่ได้หรือเสียชีวิต แล้วพ่อมี ลูกเมีย ที่อยู่ขางหลังจะได้ไม่เดือดร้อน
3.เก็บเพื่อความรวยมีกินมีใช้ เพราะคงไม่มีใครใช้แรงทำงานแลกเงินไปจนตายอย่างมากก็แค่เกษียน แล้วหลังจากนั้นล่ะ???  หากเรียงลำดับความสำคัญแล้วความร่ำรวยคงอยู่ขอสุดท้าย ดังนั้นอย่าคิดว่าเงินออมจะเก็บเพื่อใช้สร้างความร่ำรวย เพียงแต่เก็บไว้เพื่อให้มีกินมีใช้ก็พอ
   ที่นี้เรามาดูความหมายของแต่ละตุ่มหมายความว่าไง
ตุ่ม A = เงินสดเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
   ตุ่มนี้เรียกได้ว่าสำคัญที่สุด เราจำเป็นต้องเติมตุ่มนี้ให้เต็มก่อน ถ้ายังไม่เต็มก็อย่าเพิ่งเอาเงินไปใส่ตุ่มอื่นหรือเอาไปทำอย่างอื่น ซึ่งคำว่าฉุกเฉินในที่นี้จะหมายถึงเหตุการณ์ที่เราเกิดอุบัติจนไม่สามารถทำงานได้หรือถูกเลิกจ้าง ต้องพักรักษาตัวหรือหางานใหม่ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เป็นอย่างช้า เมื่อกลับไปทำงานแล้วต้องรอเงินเดือนอีก 1 เดือน รวมเป็น 7 เดือน ที่มาคำนวณหาจำนวนเงินนี้ ก็เอาค่าใช้จ่ายต่อเดือนของเราจากข้อ 3 มาคูณด้วย 7 ก็จะได้จำนวนเงิน  
ดังนี้
8,000 X 7=56,000 บ.  
อ่านดูอาจเป็นจำนวนมากและอาจจะทำเกิดการท้อใจได้ง่าย เพราะหากคำนวณเป็นระยะเวลาแล้ว เมื่อเก็บเดือนละ 2,000 บาท ก็จะเป็น เวลา 28 เดือนพอดี ถึงจะบรรลุเป้าหมาย การตั้งเป้าหมายไว้ก่อนทำให้เราทราบถึงจุดหมายปลายทาง ซึ่งอาจจะปรับเปลี่ยนอัตราส่วนนี้ได้ตามความเหมาะสม ยิ่งถ้าเราไม่มีหนี้สินแล้วยิ่งทำได้เร็วและไว ทั้งนี้ก็ควรเก็บให้ถึงเป้าหมายซึ่งเปรียบเหมือนการผ่อนมอเตอร์ไซด์ซักคัน ตามระยะเวลา 2 ปี 4 เดือน
   เมื่อเก็บตุ่มนี้ได้เต็มแล้วก็ควรปิดและเก็บไว้ให้ดี โดยวิธีการคือเปิดบัญชีที่ไม่มีบัตร ATM เพื่อให้ถอนได้ยาก ยกเว้นเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินคอขาดบาดตายถึงเอาออกมาใช้เพื่อให้สมกับเป็นตุ่มฉุกเฉินจริงๆ
ตุ้ม B=เงินประกันเพื่อความเสี่ยงขั้นวิกฤติ
เมื่อเราเก็บเงินตุ่ม A เต็มแล้วเงินที่เหลือ (ก็คือเงินออมนั้นละที่เก็บก่อนใช้นั้นเอง) เราก็จะเอามาเก็บใน ตุ่ม B ซึ่งตุ่มนี้ก็คือการประกันความเสี่ยงแผนสำรอง หากเจอเหตุที่หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าตุ่ม A เรียกได้ว่าเป็นการป้องกันเงินออมจากตุ่ม A ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นนั้นคือ “การทำประกันภัย”
ประกันภัย แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ ประกันทรัพย์สิน และ ประกันชีวิตและสุขภาพ
ประกันทรัพย์สิน ก็มีหลากหลายแต่ที่ใกล้ตัวก็จะเป็น บ้าน และ รถยนต์
ประกันรถยนต์ (ในกรณีที่เรามีรถ….เมฆพัตร) เป็นสิ่งที่ต้องทำเอาไว้ เพราะอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าเราไม่ไปชนเขา เขาก็มาชนเรา แม้เราจะมีสติเต็มและไม่ประมาทก็ตาม เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้วเราต้องถามตัวเองขึ้นมาอีกว่า “เราจะเอาเงินจากตุ่มไหนไปจ่ายค่าซ่อมรถของเราเอง และอาจรวมถึงคู่กรณีหากเราเป็นคนทำผิดกฎจราจร”  ซึ่งยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้นอีก(จะกล่าวถึงในส่วนประกันชีวิต อุบัติเหตุและสุขภาพ)  การทำประกันเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้เป็นตัวเงินสดกลับคืนมา แม้บางครั้งเบี้ยประกันอาจค่อนข้างแพง แต่ถ้าคำนวณแล้วก็ประมาณ 2% ของมูลค่ารถ เช่น ซื้อ รถมามูลค่าประมาณ  800,000 บาท ซื้อประกันชั้น 1 เบี้ย 14,000 บาท  ก็ประมาณ1.75% ของมูลค่าของรถคันนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะทำให้เราต้องสูญเสียรถยนต์ไปทั้งคันเมื่อเกิดอุบัติเหตุหนักๆ แทนที่เราจะเสียเงินจากตุ่ม A มาทั้งหมด แต่นี้เราไม่ต้องไปควักเงินแม้แต่บาทเดียว
ประกันที่อยู่อาศัย บ้านถือเป็นรากฐานของชีวิต เราควรซื้อประกันไว้ด้วย เพราะหากไม่มีรถเรายังมีบ้านไว้พักอาศัย แต่ถ้าบ้านเกิดอัคคีภัยหรือเสียหายเราคงไปพักอาศัยในรถไม่ได้ ปัจจุบันการซื้อประกันภัยก็ควรครอบคลุมทั้งในเรื่องอัคคีภัยและภัยธรรมชาติต่างๆด้วย หากคิดในมุมมองที่บ้านเราเกิดไฟไหม้ หรือเสียหายจากภัยธรรมชาติต่างๆ แทนที่เราจะควักเงินจากตุ่ม A มาใช้ เราก็อาศัยเงินจากประกันแทนเป็นการป้องกันเงินจากตุ่ม A ออกด้วย หากคิดมูลค่าบ้านไม่รวมที่ดินแล้ว โดยเฉลี่ย(ของเชียงราย) ก็น่าจะไม่เกิน 1 ล้านบาท หากเราจ่ายเบี้ยประกันต่อปี คิดเป็นมูลค่าเทียบกับบ้าน ก็อยู่ประมาณ 0.08-0.1%   
ประกันชีวิต  ถือว่าเป็นประกันอย่างแรกและสำคัญควรทำเพราะหากเกิดอุบัติเหตุหรือพิการคนที่อยู่ข้างหลังลูกเมียจะได้มีเงินใช้จ่ายเมื่อเราไม่อยู่หรือทำงานไม่ได้
   ดังนั้นเราจึงควรทำประกันชีวิตเอาไว้เพื่อให้ได้วงเงินเหมาะสมที่จะคุ้มครองเราและคนข้างหลังเราได้อย่างเพียงพอ
   นอกจากประกันชีวิตแล้วเราควรทำประกันสุขภาพที่เป็นสัญญารองที่บริษัทประกันชีวิตเสนอควบคู่ไปด้วย เพราะปัจจุบันด้วยการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อมต่างๆทำให้เรามีโอกาสเกิดโรคได้ แบบนิยม ก็เบาหวาน มะเร็ง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ในการทำประกันนั้นควรมุ้งเน้น “เพื่อความคุมครองชีวิต รวมถึงคุ้มครองสุขภาพและอุบัติเหตุเป็นหลัก” อย่าได้มองที่ผลตอบแทนที่เป็นการลงทุนเพื่อหวังเอากำไรโดยเด็ดขาด เพราะเราต้องการ ประกันความเสี่ยง ไม่ใช่การหวังเพียงแค่ผลกำไร (เทคนิคการซื้อประกันจะกล่าวอีกทีหนึ่ง....เมฆพัตร)
   ตุ่ม B นี้ เป็นตุ่มที่ประกันความเสียงโดยเฉพาะ ไม่ได้หวังที่จะได้เงินคืน เรียกได้ว่า ส่งแล้วส่งเลย หรือดีหน่อยก็นำมาหักลดหย่อนภาษี (ผมใช้อยู่...เมฆพัตร) ดังนั้นควรเลือกซื้อประกันที่มีลักษณะการคุ้มครองดังต่อไปนี้
1.คุ้มครองชีวิตหรือมีอายุยืนยาว คือคุ้มครองถึงอายุ 60 หรือตลอดชีวิต
2.เบี้ยประกันถูกและปัจจุบันมีชำระแบบรายเดือนได้ด้วย
   หลายๆท่านอาจสงสัยว่าในเมื่อแบ่งเงิน ไว้ในตุ่ม A แล้ว ทำไมต้อง นำมาเก็บไว้ใน ตุ่ม B อีก คำตอบก็คือการประกันชีวิตหรืออุบัติเหตุนั้น เป็นการ “บรรเทาความเสียหาย” ไม่ได้ชดเชยให้ได้ทั้งหมด เช่น รถเกิดอุบัติเหตุต้องซ่อม 50,000 แต่ประกันจ่ายแค่ 40,000 เราก็ไปเอาจากตุ่ม A 10,000 บาท เงินในตุ่ม A ก็จะเหลือ 46,000 บาท แต่ถ้าเราไม่เก็บเงินไว้ในตุ่ม B เลย เราก็ต้องไปควักจากตุ่ม A มา 50,000 บาท ก็จะเหลือ แค่ 6,000 บาท (แทนที่จะเสียแค่ 14,000 บาท/ปี เมื่อซื้อประกัน) ส่วนเรื่องประกันสุขภาพนั้นก็ควรทำเพราะบางคนอาจเถียงว่ามีประกันสังคมแล้ว หรือมีสวัสดิการแล้วไม่จำเป็นต้องทำ ก็เหมือนกับกรณีประกันรถยนต์ครับ จ่ายแค่บ้างส่วน ส่วนต่างเราออกเอง แต่ถ้าเรามีประกันสุขภาพด้วยวงเงินคุ้มครองเราก็ไม่ต้องไปออกเพิ่มแม้แต่บาทเดียว
   ตุ่ม B จึงเปรียบเหมือนเสาหลัก ส่วนตุ่ม A เป็นเงินสำรอง ที่ให้เก็บตุ่ม A ก่อน เพราะตุ่ม A มีสภาพคล้องมากกว่า ตุ่ม B เนื่องจากตุ่ม B ไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ นั้นเอง


ตุ่ม C = เงินออมเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข  
จากที่กล่าวมาเราจะเห็นได้ว่า ตุ่ม A เป็นเงิน ร้อนที่สุด จำนำมาใช้ได้เมื่อถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น ส่วนตุ่ม B นั้นก็เป็นเงินเช่นกันแต่เอามาใช้ในสถานการณ์ร้อนแต่ไม่มีสภาพคล้อง ส่วนตุ่ม C นี้เป็นเงินเย็นเพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์ที่เย็นๆ เพื่อสร้างความสุขในชีวิต เงินตุ่มนี้จึงต้องมีลักษณะที่มีแต่ทางเข้าจะถอนออกไม่ได้หรือต้องใช้ระยะเวลานานเพื่อให้ผลตอบแทนจึงควรเก็บไว้ในรูปแบบ เงินฝากประจำ ที่ได้ดอกเบี้ยสูงตามแต่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งกำหนด สลากออมสินรัฐบาล พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
   สมมุติว่าเราฝากประจำทุกเดือนๆละ 2, 000 บาท พอสิ้นปีเราก็จะมีเงิน 24,000 บาท ไล่ไปจนถึงปีที่ 20 ก่อนที่จะเกษียน ก็จะมีเงินเก็บ 480,000 บาท โดยไม่รวมดอกเบี้ยเงินต้น ทั้งนี้การลงทุนของตุ่ม C ต้องมีการคุ้มครองเงินต้น
   ตุ่มเงินทั้ง 3 ตุ่มนี้จึงต้องมีการเก็บเงินเข้าไว้โดยเรียงลำดับความสำคัญไปตามลำดับดังที่กล่าวมา อย่ารีบร้อนและตื่นตระหนกกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงๆ หากถูกเสนอขายเงินออมเงินฝากในรูปแบบต่างๆ โดยเราต้องนึกถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงว่า เราออมเงินเพื่อให้มีกินมีใช้ไม่ลำบาก ไม่ใช่ออมเพื่อร่ำรวยระยะสั้นแล้วนำเงินอนาคตมาใช้ในปัจจุบันเพียงเพื่อสนองความต้องการของตนเอง
**********
ตอนหน้าจะเป็นตอนเกี่ยวกับการสร้างเงิน ออม เพราะตอนนี้หากท่านใดที่ได้อ่านมา ก็คิดเหมือนกันว่า รู้แล้วครับจะออมอย่างไร แต่มันติดตรงไม่มีเงินจะออมนี้ซิครับ ก็ให้อ่านอีกรอบครับ จะเห็นว่าเราคิดว่าเงินออมไม่ใช่สิ่งจำเป็น นั้นคือทัศนคติของเรายังไม่ถูกต้อง ต่อไปผมจะเอา "วิธีการสร้างเงินออม" ก็คือ ตอน 4 นั้นเอง ...^_^
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 11:55:04 โดย เมฆพัตร » IP : บันทึกการเข้า
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 11:40:14 »

ความคุ้มครองที่ผมได้ใช้ T_T ไม่ได้อยากจะใช้เลย แล้วปีหน้าเขาคงบวกเบี้ยผมเพิ่มแน่เลย ชนตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค.    ปีที่แล้วผมทำ 3+  ปีนี้เปลี่ยนเป็น ชั้น 1 แต่ก็ไม่ได้อยากจะใช้น่ะ T_T  (.....ใครก็ได้ช่วยบอกผมที จะลงรูปแบบเล็กๆทำไงครับ = ='


* Photo-0019.jpg (305.91 KB, 1280x960 - ดู 337 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 11:57:12 โดย เมฆพัตร » IP : บันทึกการเข้า
Temujin
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,998


** แบ่งปัน ไม่แบ่งแยก..แตกต่าง ไม่แตกแยก แตกหัก **


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 11:55:10 »

อย่าลืมออมด้วย คุ้มครองความเสี่ยงด้วย จะเป็นการดีสำหรับผู้เริ่มต้นครับ เด็กก็เหมือนกันควรปลูกฝังครับ

เช่นหยอดกระปุ๋ก พอสิ้นเดือนนำไปจ่ายประกันฯ..ปลูกฝังไว้แต่เด็กครับ..โตไปจะได้ไม่ใช้ชีวิตแบบเสี่ยงๆ และเสี้ยงด้วย... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

สัตว์มีสัญชาตญาณ   มนุษย์มีวิตจารณญาณ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ (หลัก กาลามสูตร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3)
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 12:01:31 »

ด้านท้าย....T_T


* 1Photo-0021.jpg (365.65 KB, 1280x960 - ดู 327 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,890


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 12:08:21 »

.

นี่คือประโยชน์ของการทำประกันครับ อิอิ

.
IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 12:29:52 »

คันนี้ที่มาชนท้ายรถผมครับ...   เค้าทำแค่พรบ.ธรรมดา ไม่ได้ทำภาคสมัครใจ  ก็สงสารเขาน่ะ ไม่รู้เขาต้องใช้รถประกอบอาชีพด้วยเหรือเปล่า ไม่งั้นทั้งซ้อมรถเอง และเสียโอกาสประกอบอาชีพอีก แย่เลย...(จิตใจดีงามจังเรา ^_^)   ของผมขับไปทำงานอย่างเดียวไม่เป็นไร ขึ้นรถเมลย์เอา ตอนนี้รถเข้าซ้อมที่อู่เทคนิค.....


* 264222_1841708214853_1605015736_31567678_7385728_n.jpg (18.85 KB, 200x147 - ดู 312 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
ttyy
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,952


ซ่อม/ซื้อ/ขาย มือถือทุกรุ่น


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 13:32:11 »

ลงชื่อว่าเข้ามาอ่าน และขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
 ยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

รับซื้อ-ขาย-ฝาก-ขายฝากคอมพิวเตอร์ PC Notebook โทรศัพท์มือถือ nokia iPhone samsung ทีวี LCD เครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดราคาสูง รุ่นเก่า รุ่นใหม่ โทรมาคุยกันได้ครับ
น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,912



« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 15:33:55 »

ความคุ้มครองที่ผมได้ใช้ T_T ไม่ได้อยากจะใช้เลย แล้วปีหน้าเขาคงบวกเบี้ยผมเพิ่มแน่เลย ชนตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค.   
ปีที่แล้วผมทำ 3+  ปีนี้เปลี่ยนเป็น ชั้น 1 แต่ก็ไม่ได้อยากจะใช้น่ะ T_T  (.....ใครก็ได้ช่วยบอกผมที จะลงรูปแบบเล็กๆทำไงครับ = ='

วิธีย่อรูป ไปดูที่กระทู้ผมได้เลยครับ

http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=116042.0
IP : บันทึกการเข้า

เมฆพัตร
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,027



« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 23:19:02 »

ตอน#4
               *****************************************
การสร้างเงินออมนั้น มีอยู่สองวิธี คือ “อุดรอยรั่ว” และ “สร้างรายได้เพิ่ม” และเมื่อเกิดรายได้มาเพิ่มเราต้องออม 80% ที่เหลืออีก 20% ที่เกิดจากรายได้นั้นค่อยตัดไปเพิ่มสู่กระเป๋าค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการจ่ายเงินให้มากยิ่งขึ้น
การออมนั้นเราต้องออมแบบทางสายกลาง ไม่เข้มงวดจนเดือนร้อนตัวเองเพื่อตั้งหน้าตั้งตาออมอย่างเดียว แต่ก็ไม่หย่อนจนเคยตัว เพียงแต่เราต้องจัดระเบียบวินัยในการใช้เงินให้เป็นระเบียบมากขึ้นแล้วเราจะพบว่ามีเงินเพิ่มขึ้นอย่างไม่หน้าเชื่อ
การอุดรอยรั่ว เหมือนเป็นการตรวจสอบตุ่มน้ำใบหนึ่งว่ามีรอยรั่วเท่าใด หากมีรอยรั่วต่อให้เราตักน้ำใส่ตุ่มมากเท่าใด ก็ไม่มีวันเต็ม ดีไม่ดีหากเป็นรูใหญ่อาจจะแห้งเหือดไปได้ในพริบตา ชีวิตก็เหมือนกันหากเรารู้จักประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัดเราก็จะอุดรอยรั่วได้มากเท่านั้น
วิธีการตรวจสอบรอยรั่ว
1.การทำบัญชีใช้จ่ายในแต่ละวันเป็นเวลา 3 เดือน สาเหตุทีให้ทำเพราะเราจะได้รู้ว่าเฉลี่ยต่อเดือนเพื่อความอยู่รอดแล้วเราต้องมีรายจ่ายเท่าไร  สำหรับคนที่ขี้รำคาญและขี้เกียจขอให้อดทนจดครับแล้วเราจะรู้ว่ารอยรั่วต่างๆจะแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันตรงไหน เช่น เราจำเป็นไหมที่ต้องซื้อ น้ำหวาน กาแฟ แก้วล่ะ 20 บาท ทุกครั้งหลังอาหารเที่ยง  จำเป็นไหมที่เราต้องสูบบุหรี่ทุกครั้งหลังอาหารเที่ยง จำเป็นไหมที่เราต้องเที่ยวกลางคืนทุกอาทิตย์ จำเป็นไหมที่เราต้องโหลด app ใหม่ๆ ทุกสัปดาห์ จำเป็นไหมที่เราต้องไปดูหนังทุกเสาร์ อาทิตย์ (วันธรรมดา 60-80 เองน่ะเธอ……เมฆพัตร^_^)
   หลังจากนั้นเราก็ต้องมาดูเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายโดยเฉพาะคุณผู้หญิงทั้งหลาย เช่น เราจำเป็นไหมที่เราต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆทุกสัปดาห์ ทั้งที่มีอยู่ก็ล้นตู้ออกมาแล้ว เรามีรองเท้ากี่คู่ และกี่คู่แล้วที่เราไม่ได้ใส่มา 3 เดือนแล้ว
   นอกจากนั้นยังเกี่ยวกับเทคโนโลยี่ด้วย เช่น เรามี laptop อยู่แล้วจำเป็นไหมที่เราต้องซื้อ i pad เรามีมือถืออยู่แล้วจำเป็นไหมที่ต้อง ใช้ i phone 3 G หรือไม่
   ที่ให้จดอย่างน้อย 3 เดือนเพราะถ้าหากจดแค่เดือนเดียวเราจะไม่ทราบรอยรั่วที่แท้จริงเพราะบางเดือนอาจมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเกิดขึ้นและยังไม่สามารถประเมินผลได้ชัดเจน แต่หากจดบันทึกไปอย่างน้อย 3 เดือน เพียงเดือนที่ 2 เราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขด้านค่าใช้จ่ายลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว (ขนาดบริษัทใหญ่ๆเขายังมีบันทึกรายจ่ายเลย แล้วตัวเราเองจะไม่มีได้ไง…จริงไหม)
เมื่อเกิดการเปรียบเทียบตัวเลขกันขึ้น ก็จะทำให้เห็นความแตกต่างมากขึ้นจะทำให้เรามีกำลังใจและวินัยที่จะรักษาค่าใช้จ่ายให้คงตัวอยู่เสมอ


2.ฝึกการจัดระเบียบชีวิตก่อนใช้จ่าย
หากใครเป็นคนที่หาอะไรไม่ค่อยเจอจะใช้อะไรหาไม่เจอต้องไปซื้อมาใหม่พอซื้อมาเสร็จดันหาเจอ นั้นละครับถึงเวลาแล้วที่ท่านต้องจัดระเบียบชีวิต วิธีง่ายๆและสากลทั่วไปก็คือ 5ส หรือ 5s (ต้นตำคือญี่ปุ่นครับ)
1.สะสาง(เซริ) คือแยกของที่ไม่ต้องการ(ขยะ)ออกจากของที่ต้องการ แล้วเราจะรู้ว่าขยะในบ้านในห้องเรามากแค่ไหนจากนั้นก็เอาไปขาย อย่าลืม รายได้ที่เกิดขึ้น ออม 80% ใช้ 20% 
2.สะดวก(เซตัน) เป็นการจัดวางสิ่งของต่างๆให้อยู่ในที่สะดวกง่ายต่อการใช้งานและเป็นระเบียบเรียบร้อย สำนวนไทย หยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูก็งามตา(ของผมกรรไกรตัดเล็บหายบ่อยมาก พอซื้อมาใหม่ อ้าวอันเก่าอยู่นี้เองตอนนี้มีอยู่ 10 อันๆละ 30 บาท 300 บาท *O* นี้เราเสียแบบไม่ควรเสียเลย)  เมื่อใช้เสร็จก็นำมาเก็บที่เดิมเพื่อถ้า สิ่งในหมดหรือยังเหลือเราจะได้รู้ เพื่อจัดหามาเพิ่มเติมต่อไป
3.สะอาด (เซโซ) คือทำความสะอาด ปัด กวาด บำรุงรักษาเพื่อให้สิ่งของต่างๆ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และเมื่อใช้งานก็ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.สุขลักษณะ (เซเก็ตสึ) ในแง่การใช้งานสิ่งของ หมายถึงใช้ให้ถูกประเภทของงาน เช่น กรรไกรตัดกิ่งไม้ไม่ควรนำไปตัดหญ้า   มีดทำครัวที่ใช้หั่นผักไม่ควรนำไปสับกระดูกเพราะจะเสียคม
5.สร้างนิสัย (ชิทซึเกะ) คือการอบรมเมื่อเราฝึกปฏิบัติแล้วควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความเคยชินและติดเป็นนิสัยในที่สุด แล้วเราจะมีเงินเพิ่มขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ (สำหรับผม อย่างน้อยก็ 270 ล่ะ)
3.จดบันทึกรายการที่เราจะต้องจ่ายในแต่ละครั้ง
 เพื่อให้เรามีเป้าหมายในการใช้จ่ายในแต่ละครั้งไม่ใช่ไปนึกเอาข้างหน้า(กลับไปอ่าน 5 ส ข้อที่ 5 อีกรอบ) ซึ่งจะทำให้เราวอกแวกเมื่อไปถึงห้างหรือร้านค้า
4.จัดลำดับความสำคัญในการซื้อของ
การจดบันทึกสิ่งของเป็นหมวดหมู่จะช่วยให้เราไม่หลงลืมและประหยัดเวลาเมื่อไปซื้อ เพราะเวลาถือว่าเป็นต้นทุนชีวิตอีกอย่างนึก และถ้าหากเราลืมก็จะทำให้ต้องกลับไปซื้อใหม่ทำให้เสียเวลาและเสียเงินค่าน้ำมันโดยใช่เหตุ  การจัดลำดับความสำคัญของการซื้อของควรจัดดังนี้
4.1.สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว ซื้อเป็นลำดับแรก เช่น สบู่ ยาสีฟัน แชมพู เพราะสิ่งของเหล่านี้เราต้องใช้เป็นประจำ โดยกะให้พอเพียงกับตัวเองใน 1 เดือน
4.2.สิ่งของที่จำเป็นสำหรับครอบครัว ซื้อเป็นลำดับที่สอง เช่น ผงซักผ้า น้ำยาล้างจาร เครื่องใช้ในครัว กะปิ น้ำปลา น้ำตาล ต่างๆ โดยกะปริมาณให้พอใน 1 เดือน โดยไม่ต้องซื้อหาบ่อยๆ
4.3.สิ่งของเพื่อการบันเทิง ซื้อเป็นลำดับสาม เช่น ซีดีเพลง ภาพยนตร์ เครื่องเสียง โทรศัพท์
4.4.สิ่งของที่เป็นของฟุ่มเฟือย ซื้อเป็นลำดับสุดท้าย สิ่งของฟุ่มเฟือยเหล่านี้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่รวมความแล้วหมายถึงสิ่งที่ทำให้เรานั้นเบื่อง่าย เช่นรองเท้าใส่เล่น เสื้อสกรีนเท่ๆต่างๆ
5.หลีกเลี่ยงการซื้อของเงินผ่อน  เพราะของเงินผ่อนทุกอย่างล้วนแต่บวกดอกเบี้ยไว้แล้วทั้งสิ้น หากจำเป็นจริงๆควรพิจารณาด้วยคำถามเหล่านี้ก่อนค่อยซื้อ
1.จำเป็นจริงๆแล้วใช่หรือไม่?  เช่น ทีวี เราจำเป็นจริงแล้วใช่ใหม่ถึงจะซื้อ ทีวี LED ทั้งที่ทีวีที่บ้านก็ยังใช้ได้เป็นปกติอยู่ หากจำเป็นจริงๆ เช่น ทีวีเสียบ่อย ไม่คุ้มค่าก็ค่อยตัดสินใจอีกทีหนึ่ง
2.มีอะไรทดแทนให้เราไม่ต้องซื้อสิ่งนั้นหรือไม่ เช่น รถยนต์หากในหมู่บ้านที่เราอาศัย มีรถรับส่งก็ควรชะลอการซื้อไว้ก่อน เพราะหลายคนซื้อมาแล้วพบว่าไม่คุ้มค่ากับการใช้เลย ต้องเสียค่าภาษี เช็คระยะ พรบ ประกัน และค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น(เจอกับตัว T_T) สุดท้ายก็ต้องจอดไว้บ้าน
3.ซื้อแล้วเงินจะขาดมือหรือไม่? ถือว่าเป็นคำถามสำคัญเพราะบางท่านอาจคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็น หากเราไม่มีเงินพอ สุดท้ายก็ไปกู้หนียืมสิน อดมื้อกินมื้อ เป็นการสร้างความลำบากซ้ำซ้อนให้แก่ชีวิต  และแน่นอนสิ้นค่าที่มีราคาสูงย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเลือกใช้วิธีการผ่อน แน่นอนย่อมบวกดอกเบี้ยเขาไปด้วย
แต่หากจำเป็นจริงๆต้องผ่อนต้องซื้อ ก็ควรเลือกแบบดอกเบี้ย 0%  หรือ งวด สั้นเพื่อป้องกันการเสียเงินไปกับดอกเบี้ย.
6.ซื้อของด้วยเงินสดอย่าใช้บัตรเครดิต
เพราะเราจะเคยตัวเพราะตอนซื้อเราไม่เห็นคุณค่าของเงินไม่ได้จับตัวเงิน ซื้อเอามันอย่างเดียว พอส่งบิลมาก็แทบหน้ามืด แต่ถ้าใครมีวินัยในการใช้เงินสูงก็ควรใช้ เพราะปลอดดอกเบี้ยหากชำระหมดตามวงเงินที่เราใช้ไปในแต่ละเดือน (สำหรับผมเข็ดแล้วครับ T_T เป็นหนี้ เขาอยู่)
7.ลดต้นทุนในการซื้อของ หากเราหาแหล่งซื้อของเราก็ควรไปซื้อซ้ำเพราะจะทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งนี้ต้องคำนึงถึงคุณภาพสิ่งของที่ซื้อด้วย ตัวอย่างที่ชัดคือ การซื้อของตามตลาดสด หากเราซื้อของเป็นขาประจำเขาจะลดราคาให้เรา
8.อย่าให้มือว่างขณะจับจ่าย เพราะโดยธรรมชาติหากเรามือว่างและไม่จดรายการไปก่อนเราก็จะหยิบนั้น โน้น ไปเรื่อย แต่หยิบมากแค่นั้นก็เท่าที่มือเราถือได้ ซึ่งตามศูนย์การค้าต่างๆที่มีบริการรถเข็ญหรือตะกร้าให้ก็ถือเป็นเทคนิคส่งเสริมการขายแบบหนึ่งถ้าหากไม่จดรายการไปก่อนเราก็หยิบไปเรื่อย พอตอนคิดเงินนี้ซิ = _=’ ดังนั้นเราจึงควรทำรายการไปก่อนและซื้อเท่าที่เราจดรายการไป.
9.หลีกเลี่ยงการเดินเตร็ดเตร่เข้าสู่สิ่งเย้ายวน หมายถึงสิ่งที่ทำให้เราเสียเงินได้ง่าย เช่น กระเป๋า รองเท้า
10.รู้จักการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ถ่านที่ชาร์ตไฟใหม่ได้ กับ แบบใช้แล้วทิ้ง   นอกจากนี้ยังรวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งต่างๆที่ใช้นานๆครั้ง เช่น ป้ายปีใหม่ (ไม่เก็บสีซีดตายเลย)
11.การปิดน้ำและไฟในบ้าน ควรฝึกให้เป็นนิสัย เปิดเมื่อใช้ ปิดเมื่อเลิกใช้
12.ยกเลิกบริการประจำบางอย่างที่จำใจรับหรือไม่ตั้งใจให้เกิด เช่น SMS ดูดวงต่างๆ บริการเสริมต่างๆ
13.สำรวจขยะก่อนทิ้ง เพราะบางอย่างสามารถนำไปขายได้ บางอย่างสามารถนำมาใช้อย่างอื่นได้ เช่น แปรงสีฟัน สามารถนำมาขัดซอกเล็กๆของรองเท้าได้
14.หลีกเลี่ยงอบายมุกทุกชนิด เช่น การพนันต่าง สุรายาเมา ยาเสพติด บุหรี่ การเที่ยวกลางคืน เพราะสิ่งเรานี้ทำให้เสียเงินและสุขภาพ
   เมื่อเราทราบแล้วเราก็อุดรอยรั่วเหล่านี้เสีย ก่อนที่เงินออมเพื่อความมั่งคั่งของเราจะไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์
บทต่อไปเราจะพูดถึงเงินที่เราเก็บไว้คือเงินที่เราแบ่งไว้ลงทุนในส่วนของค่าใช้จ่าย ที่เรากันเงินออมออกไปแล้ว (จบภาค # 4)

พักสายตา


* _________________Subaru_KTC_master_card__23_.jpg (43.93 KB, 300x452 - ดู 293 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!