เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 20 เมษายน 2024, 11:08:41
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ตลาดกลางซื้อขายสินค้าออนไลน์
| |-+  ศูนย์รวมธุรกิจด้านการบริการ (ผู้ดูแล: CR.COM, B.E.)
| | |-+  ร้านสมบัติการเกษตร รับซื้อยางพาราแผ่นดิบและเศษยาง
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน ร้านสมบัติการเกษตร รับซื้อยางพาราแผ่นดิบและเศษยาง  (อ่าน 2449 ครั้ง)
Kantapon
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2010, 04:14:18 »


  - รับซื้อและจัดหายางพาราแผ่นดิบในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย ด้วยราคาที่ยุติธรรมครับ
  - จำหน่ายมีดกรีดยาง,หินลับมีด,ถ้วยรองน้ำยางเซรามิค
        
  ที่ตั้งร้าน: ตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย(ร้านอยู่แถวหน้าม.แม่ฟ้าหลวง)
               โทร.0-5370-6054 หรือ Email: kantapon.t@gmail.com

       *มาช่วยกันทำให้เชียงรายเป็นแหล่งส่งออกยางพาราที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานกันเถิดครับพี่ๆน้องๆ ยินดีเป็นคู่ค้ากับทุกๆท่านนะครับ/ เต้              

 

        
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 มีนาคม 2010, 04:21:29 โดย Kantapon » IP : บันทึกการเข้า
khonwan
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,062



« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 18 มีนาคม 2010, 22:29:17 »

เห็นชื่อแล้วรู้สึกคุ้นๆตา เพื่อนร่วมรุ่นNEC ของเรานี่เอง เอ้า...มาช่วยดันกระทู้อีกแรงค่ะ
IP : บันทึกการเข้า
chumpates
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 29 พฤศจิกายน 2010, 14:53:28 »

รับซื้อยางพารา  ราคาดี สนใจติดต่อ 081-9967133
IP : บันทึกการเข้า
kungluang_cri
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 04 ธันวาคม 2010, 10:44:43 »

                                     การปฏิบัติดูแลรักษา สวนยางพารา
                                                 รู้จักพืช
   บนโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตอยู่ 2 จำพวก ก็คือสัตว์และพืช คำว่า ”สิ่งมีชีวิต” ก็แสดงว่า มีความต้องการที่จะดำรงชีวิตให้อยู่ได้อย่างเช่น คนหรือสัตว์ ก็ต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ พืชก็เช่นกันก็ต้องการดำรงชีวิตและขยายพันธุ์โดยมีความต้องการอาหารเช่นเดียวกัน ซึ่งอาหารของพืช เราจะเรียกรวมๆ ว่า “ธาตุอาหาร”
พืชต้องการอะไร?
   ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีทั้งสิ้น 17 ธาตุ แยกเป็น
1.   ธาตุอาหารที่พืชได้รับจากน้ำและอากาศ (มี 3 ธาตุ)
•   คาร์บอน (C)
•   ไฮโดรเจน (H)
•   ออกซิเจน (O)
2.   ธาตุอาหารที่พืชได้รับจากดินในรูปของสารละลาย
      2.1 ธาตุอาหารหลัก (มี 3 ธาตุ)
•   ไนโตรเจน (N)
•   ฟอสฟอรัส (P)
•   โพแทสเซียม (K)
     2.2 ธาตุอาหารรอง (มี 3 ธาตุ)
•   แคลเซียม (Ca)
•   แมกนีเซียม (Mg)
•   กำมะถัน (S)
     2.3 ธาตุอาหารเสริม (มี 8 ธาตุ)
•   เหล็ก (Fe)
•   แมงกานีส (Mn)
•   ทองแดง (Cu)
•   สังกะสี (Zn)
•   โบรอน (B)
•   คลอรีน (C1)
•   โมลิบดินัม (Mo)
•   นิเกิล (Ni)
และธาตุอาหารอื่นๆ อีกประมาณ 5 ธาตุ ได้แก่
•   โซเดียม (Na)
•   ซิลิคอน (Si)
•   โคบอลต์ (Co)
•   ซิลิเนียม (Se)
•   อะลูมิเนียม (A1)
พืชนำธาตุอาหารไปไหน?
   ก่อนอื่นต้องทราบว่า พืชสามารถรับธาตุอาหารได้ทางใดบ้าง พืชมีความสามารถรับธาตุอาหารได้ 2 ทางใหญ่ๆ คือ
1.   ผ่านทางราก โดยการดูดซึมในรูปของสารละลาย
2.   ผ่านทางใบและลำต้น โดยการฉีดพ่นในรูปของสารละลาย
พืชเมื่อไดรับธาตุอาหารไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ก็จะนำไปสังเคราะห์ เพื่อสร้างเป็นอาหารสำหรับการดำรงชีพและสร้างผลผลิตตามกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช
และนอกจากนี้ธาตุอาหารต่างๆ จะถูกนำไปสร้างเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการชีวเคมีภายในต้นพืช โดยเฉพาะเป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำย่อย และระบบฮอร์โมน
ซึ่งกระบวนการพัฒนาความเจริญเติบโตของต้นพืช จะต้องเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญๆ อย่างน้อยๆ 3 องค์ประกอบ คือ
1.   อาหารที่พืชสร้างขึ้นมาได้
2.   น้ำย่อย
3.   ฮอร์โมน
ส่วนที่ 1 ใช้สำหรับการดำรงชีพในปัจจุบันและพัฒนาการเจริญเติบโต
ส่วนที่ 2 ใช้สำหรับสร้างผลผลิตและพัฒนาผลผลิต
     ดังนั้นสรุปได้ว่าพืชต้องได้รับธาตุอาหารตามความจำเป็นของพืชแต่ละชนิด และในเวลาเดียวกันจะต้องอยู่ในสภาพที่ครบถ้วนพร้อมๆ กัน ทุกธาตุ และมีความสมดุลในแต่ละธาตุ เพื่อนำไปสู่การสร้างอาหารได้อย่างเพียงพอและทำให้กระบวนการชีวเคมีภายในต้นพืชดำเนินไปเป็นปกติ
       หากกระบวนการสร้างอาหารเกิดขึ้นน้อย เพียงพอแค่การดำรงชีพและการพัฒนาการเจริญเติบโต นั่นก็แสดงว่า พืชก็มีอาหารเหลือน้อยหรือไม่เพียงพอต่อการนำไปสู่การสร้างผลผลิต ทำให้ผลผลิตที่ควรจะได้ก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย
พืชต้องการธาตุอาหารเมื่อไหร่?
ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์จะมีผลทำให้พืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร แคระแกร็น ผลผลิตตกต่ำ การใส่ธาตุอาหารเพิ่มลงไปจะช่วยยกระดับธาตุอาหารที่ขาดแคลนให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช
ระยะความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป แต่พอจะแบ่ง

ระยะความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิดได้เป็น 3 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 เริ่มตั้งแต่พืชเริ่มงอกหรือหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตในระยะแรก ความต้องการธาตุอาหารน้อยและช้าเพราะยังมีรากน้อยและต้นยังเล็ก

ช่วงที่ 2 พืชจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการสร้างใบแตกกิ่งก้านสาขาอย่างเต็มที่ และเริ่มสร้างตาดอก จะเป็นระยะที่มีความต้องการธาตุอาหารมาก

ช่วงที่ 3 เป็นช่วงที่พืชเจริญโตอย่างเต็มที่แล้ว เป็นระยะที่กำลังสร้างผลหรือสร้างเมล็ด ความต้องการของธาตุในระยะนี้จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั้งผลแก่และเมล็ดแก่พร้อมเก็บเกี่ยว
ดังนั้น ระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารในปริมาณมากและรวดเร็วคือ ช่วงที่ 2 เพราะเป็นช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโต ต้องการสะสมอาหารในต้นและใบให้เพียงพอ เพื่อสร้างผลและเมล็ดที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่ 3

การดูแลและเพิ่มผลผลิต ยางพารา
   การให้อาหารในสวนยางพาราสามารถแยกออกได้ 3 กรณี คือ
   กรณีที่ 1: สวนยางพาราก่อนเปิดกรีด (ตั่งแต่เริ่มปลูกจนถึงก่อนเปิดกรีดอายุ 0-7 ปี)
   กรณีที่ 2: สวนยางพาราหลังเปิดกรีด (ตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป)
   กรณีที่ 3: สวนยางพารามีปัญหา (ตายนึ่ง/หน้าแห้ง)

กรณีที่ 1: สวนยางพาราก่อนเปิดกรีด
   ใช้ไคโตซานเม็ด 4 กระสอบ (100 กก.) ผสมกับอินทรีย์ผง 1 กก. หรือาจผสมกับปุ๋ยเคมีตามที่เคยใช้ในอัตราส่วนของ ปุ๋ยเคมี:ไคโตซานเม็ด = 1:2 โดยแยกออกได้เป็น 2 ช่วง คือ
      ช่วงที่ 1 : อายุ 1-4 ปี อัตราการใช้ 0.25-1.00 กก. /ต้นโดยวิธีการโรยรอบทรงพุ่ม ทุกๆ 3 เดือน
      ช่วงที่ 2 : อายุ 4 ปีขึ้นไป อัตรา 50-100 กก./ไร่ โดยวิธีการหว่านในระหว่างแถวปลูกทุกๆ 3 เดือน

กรณีที่ 2: สวนยางพาราหลังเปิดกรีด
ใช้ไคโตซานเม็ด 4 กระสอบ (100 กก.) ผสมกับอินทรีย์ผง 1 กก. หรือาจผสมกับปุ๋ยเคมีตามที่เคยใช้ในอัตราส่วนของ ปุ๋ยเคมี:ไคโตซานเม็ด = 1:3 ถึง 1:4 โดยใช้ในอัตรา 100-150 กก./ไร่ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
สำหรับการดูแลรักษาหน้ายางที่เปิดกรีดแล้ว ควรฉีดพ่นด้วย
        ไคโตซาน           อัตรา 20-40 ซีซี   ต่อน้ำ 20 ลิตร
   อินทรีย์น้ำ           อัตรา 20-40 ซีซี   ต่อน้ำ 20 ลิตร
   สมุนไพร      อัตรา 20 ซีซี   ต่อน้ำ 20 ลิตร
   อินทรีย์ผง           อัตรา 1ช้อน           ต่อน้ำ 20 ลิตร
ฉีดพ่นทุก 15-30 วัน

กรณีที่ 3: สวนยางพารามีปัญหา
   ในกรณีต้นยางพาราที่ประสบปัญหาตายนึ่งหรือหน้ายางแห้ง ให้ หยุดการให้ปุ๋ยเคมี และอาหารจะหายช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาและเป็นมานานแค่ไหน โดยมีขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลรักษา ดังนี้
   ขั้นตอนที่ 1: การล้างดิน
   ให้ฉีดพ่นล้างดินด้วยไคโตซานพืช 1 ลิตร ผสมกับอินทรีย์ผง 1 กก. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่สวนยาง 1 ไร่
   ขั้นตอนที่ 2: การใส่ปุ๋ยทางดิน
   โดยใช้ไคโตซานเม็ด 4 กระสอบ (100 กก.) ผสมด้วยอินทรีย์ผง 1 กก. หว่านรอบทรงพุ่มอย่างน้อยต้นละ 3-5 กก.
   ขั้นตอนที่ 3: การฟื้นหน้ายางที่มีปัญหา
      ให้ใช้ดินทาหน้ายาง 1 ถุงและไคโตซาน 100 ซีซี ผสมน้ำแล้วนำไปทาหน้ายางที่ตายนึ่ง 15 วัน/ครั้ง
   และฉีดพ่นด้วย
        ไคโตซาน   อัตรา 20-40 ซีซี   ต่อน้ำ 20 ลิตร
   อินทรีย์น้ำ   อัตรา 40 ซีซี   ต่อน้ำ 20 ลิตร
   สมุนไพร   อัตรา 40 ซีซี   ต่อน้ำ 20 ลิตร
   อินทรีย์ผง   อัตรา 2ช้อน           ต่อน้ำ 20 ลิตร
   โดยฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน โดยทำซ้ำติดต่อกัน 3 ครั้ง แล้วหลังจากนั้นขยายการฉีดพ่นเป็น 15-30 วัน/ครั้ง ทำต่อเนื่องไปจนกว่าอาหารจะดีขึ้น

สอบถามเพิ่มเติม
โทร.082-0397633,088-4091752
mail : kungluang_cir@hotmail.com
www.cri-direct.com


* From kl 1.4.jpg (176.87 KB, 1040x720 - ดู 1115 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!