เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 16:37:55
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  คนเชียงราย สังคมเชียงราย (ผู้ดูแล: bm farm, [ตา-รา-บาว], zombie01, ۰•ฮักแม่จัน©®, ⒷⒼ*, ตาต้อม, nuifish, NOtis)
| | |-+  กลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 พิมพ์
ผู้เขียน กลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย  (อ่าน 12174 ครั้ง)
ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« เมื่อ: วันที่ 19 กันยายน 2009, 12:50:16 »

พื้นที่ของ จ.เชียงรายมีกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบลุ่ม และบนดอยสุง ซึ่งแต่ละชนแต่ละกลุ่มก้จะมีศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมแตกต่างกันไป
โดยประชากรในเชียงรายสามารถจำแนกออกเป้นชนชาติต่างๆดังนี้
๑  คนเมือง
๒ ไทยลื้อ
๓ ไทยเขิน
๔ ไทยใหญ่
๕  อีก้อ
๖  มูเซอ
๗  เย้า
๘  กะเหรี่ยง
๘  ลีซอ
๑0 แม้ว
๑๑ จีนฮ้อ
เดี๋ยวมาเพิ่มเติมอีกครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 19 กันยายน 2009, 12:52:31 โดย ap.41 » IP : บันทึกการเข้า

ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 19 กันยายน 2009, 19:16:26 »

 คนเมือง..
เป้นกลุ่มชนที่ใหญ่ที่สุด หรือเรียกว่าไทยยวน หรือ ลาวพุงดำ ผู้ชายมีรูปร่างโปร่งบางกว่าคนไทยภาคกลางเล็กน้อย ส่วนผู้หญิงมีรูปร่าง ผิวพรรณ และหน้าตางดงาม ชาวไทยยวนมีภาษาพูดต่างจากภาษาไทยภาคกลางเล็กน้อย และมีตัวหนังสือเฉพาะ อาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่ยกใต้ถุนสูง หน้าจั่วมีไม้ไขว้สลักลวดลายสวยงามเรียกว่า กาแล ชาวไทยยวนส่วนมากประกอบอาชีพเกษตร แต่มีฝีมือทางการช่างและหัตถกรรม
IP : บันทึกการเข้า

WEBMASTER
เจ้าสำนักใหญ่
Administrator
แฟนพันธ์แท้
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,523

บุคคลทั่วไป


« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 19 กันยายน 2009, 20:40:23 »

 ;)ถ้าเป็นชาวเขาหรือชนเผ่าต่างๆ สามารถดูข้อมูลจากที่เพิ่มเติมได้ครับ http://www.hilltribe.org/thai/
IP : บันทึกการเข้า

ติดตามข่าวสารได้ที่เพจ :  https://www.facebook.com/crfocus
ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 19 กันยายน 2009, 20:46:48 »

ครับม่านเว็บมาสเตอร์ พอดีผมอ่านหนังสือเจอเลยเอามาโพสครับเผื่อเป็นประโยชน์บ้าง
IP : บันทึกการเข้า

WEBMASTER
เจ้าสำนักใหญ่
Administrator
แฟนพันธ์แท้
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,523

บุคคลทั่วไป


« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 19 กันยายน 2009, 20:48:49 »

ครับม่านเว็บมาสเตอร์ พอดีผมอ่านหนังสือเจอเลยเอามาโพสครับเผื่อเป็นประโยชน์บ้าง

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาเผยแพร่เช่นกันครับ
IP : บันทึกการเข้า

ติดตามข่าวสารได้ที่เพจ :  https://www.facebook.com/crfocus
ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 20 กันยายน 2009, 06:09:26 »

ต่อครับ
 ไทยลื้อ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และตอนกลางของแขวงไชยบุรีในลาว
 ไทยเขิน เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ริมแม่น้ำขิ่น รัฐฉานของพม่า แล้วอพยพมาอาศัยอยู่บริเวณดอยแม่สลองชื่อไทยเขินเพี้ยนมาจากไทยขึนหรือไทยขิ่นนั่นเอง
IP : บันทึกการเข้า

ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 20 กันยายน 2009, 06:15:11 »

 ไทยใหญ่
เรียกตัวเองว่าไต ส่วนคนเมืองเรียก เงี้ยว และชาวพม่าเรียกว่า ฉาน เพราะมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่รัฐฉาน ผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่ ผู้หญิ่งมีผิวคล้ำกว่าชาวพม่า มีภาษาพูดต่างจากคนเมืองและคนไทยภาคกลางเล็กน้อย และมีภาษาเขียนของตนเอง ชาวไทยใหญ่ทำนา ทำไร่ ค้าขาย มีฝีมือด้านหัตถกรรม ได้แก่ ทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา และแกะสลัก
IP : บันทึกการเข้า

ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 20 กันยายน 2009, 06:22:18 »

 อีก้อ
 อีก้อ เรียกตัวเองว่าอาข่า รูปร่างเล็ก แต่แข็งแรงล่ำสัน ผิวสีน้ำตาลอ่อน หยาบกร้าน มีภาษาพูดคล้ายภาษามูเซอและลีซอ ไม่มีตัวอักษรใช้
 ผู้หญิงนิยมไว้ผมยาวแต่รวบผมไว้ แล้วใส่หมวกทับ คอสวมเครื่องประดับ ใส่เสื้อผ้าสีดำ ผู้ชายโกนหัวไว้ผมเปีย ชาวอาข่านิยมตั้งบ้านเรือน อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,200 ม.ขึ้นไป ยังชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอย นับถือผี มีเสาชิงช้าและลานสาวกอด อยู่หน้าหมู่บ้าน
IP : บันทึกการเข้า

bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 21 กันยายน 2009, 17:34:49 »

 ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม...มาอัพเดทหน่อยครับ..ดูอยู่นะครับ..
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 21 กันยายน 2009, 18:31:55 »

ต่อครับ อิอิอิตามคำขอครับแบบว่าไม่ค่อยว่างเลยครับช่วงนี้
   มูเซอ เรียกตัวเองว่าลาหู่ มีรูปร่างสันทัด ผิวสีน้ำตาลอ่อน ชอบกินหมาก มีภาษาพูดเฉพาะครับ แต่ไม่มีตัวอักษรใช้  แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆหลายกลุ่มตามลักษณะการแต่กายของผู้หญิง ส่วนผู้ชายมูเซอไม่มีเครื่องแต่งกายประจำเผาแบบผู้หญิง ชาวมูเซออาศัยบนดอยสูง อยู่ในบ้านยกพื้นสูง ยังชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอย และเป็นชนเผ่าที่ชำนาญการล่าสัตว์เป็นอย่างมากครับ
IP : บันทึกการเข้า

ap.41
ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19,008


ไม่มีเทพไม่มีโปร..มีแต่เราที่จะก้าวไปพร้อมกัน...


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 21 กันยายน 2009, 18:42:13 »

 เย้า
      เรียกตัวเองว่าเมี่ยน รูปร่างวิวพรรณคล้ายกับคนจีนมาก ความสูงก็เท่าๆกับคนไทยทั่วๆไป มีความขยันแข็งแรงและอดทน มีภาษาพูดใกล้เคียงกับภาษาแม้ว เพราะได้รับอธิพลมาจากจีนเช่นเดียวกัน ไม่มีตัวอักษรใช้ต้องยืมภาษาจีนมาเขียนเป็นภาษาของตนเองแต่อ่านออกเสียงเป็นภาษาเย้า ชาวเย้ามักปลูกบ้านแปลงเรือนอยู่บนไหล่เขา ทำไร่ข้าวโพด ตีเหล็ก เย็บปักถักร้อย และทำเครื่องเงิน
IP : บันทึกการเข้า

bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 22 กันยายน 2009, 08:22:52 »

 ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
natza_zzzz
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87



« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 22 กันยายน 2009, 09:21:27 »

ชาวไทยล้านนา

ชาวเหนือมีผิวพรรณค่อนข้างขาว ใบหน้าและรูปร่างดี ประกอบกับมีนิสัยรักสงบและมีอัธยาศัยเป็นมิตร อ่อนโยนโอบอ้อมอารี ดินแดนภาคเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น ถิ่นไทยงาม โดยเฉพาะสาวเหนือได้ชื่อว่าเป็นสาวสวยและอ่อนหวาน สังคมชาวเหนือนิยมอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ บ้านเรือนมักสร้างด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา กระเบื้อง ไม้ และใบตองตึงมีไม้กาแลไขว้เป็นสัญลักษณ์อยู่ที่หน้าจั่ว
            ชาวเหนือมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง แบ่งได้ตามความแตกต่างของภูมิภาค คือ ภาคเหนือตอนบน ซึ่งภูมิประเทศประกอบ ไปด้วยทิวเขา สลับกับที่ราบระหว่างหุบเขาใหญ่น้อยนั้น แต่เดิมส่วนใหญ่เคยตกอยู่ในอาณาจักรล้านนาอันเก่าแก่ มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเองมีภาษาพูด ภาษาเขียน เรียกว่า "คำเมือง" นอกจากนั้น ยังได้รับอิทธิพลทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมจากพม่า ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มใน"วัฒนธรรมล้านนาไทย"ส่วนภาคเหนือตอนล่าง อยู่ถัดจากแนวทิวเขาลงมา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เดิมเคยอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับอาณาจักรล้านนา แต่ในระยะ หลังตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา อาณาจักรสุโทัยได้รวมเข้ากับกรุงศีรอยุธยาทั้งทางวัฒนธรรมและการเมืองทำให้มีวัฒนธรรมประเพณีส่วนใหญ่แบบไทยภาคกลาง
               ในแผ่นดินล้านนาไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งนั้นพระเข้ากาวิละได้กวานต้นผู้คนที่อยู่ตามป่าเขาให้ เข้ามาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งตีเมืองต่าง ๆ เช่น รัฐไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน และต้นผู้คนเหล่านั้นมา ทำให้ดินแดนภาคเหนือ มีชนพื้นเมืองเชื้อสาย ไทยใหญ่ ไทยเขิน ไทยลื้อ และพวกคนเมืองเรียกตัวเองว่าไทยยอง ซึ่งมาจากคำว่า โยนก ดินแดนตามเทือกเขาในภาคเหนือเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวเขาเผ่า ต่าง ๆ เช่น เผ่ามูเซอ ใน จ.ตาก เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าม้ง เผ่าเย้า เผ่าอีก้อ ใน จ.เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน แต่ละเผ่ามีความเป็นอยู่แตกต่างกัน มีอาชีพทำไร่ หาของป่า ทำเครื่องประดับเงินทอผ้าและปักผ้าด้วยลวดลายและสีสันสลับลายสวยงาม
IP : บันทึกการเข้า
natza_zzzz
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87



« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 22 กันยายน 2009, 09:23:32 »

            ไทยลื้อ   เดิมชาวไทลื้อมีถิ่นที่อยู่บริเวณหัวน้ำของ (น้ำโขง) เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า "ลือแจง" ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำของ (น้ำโขง) สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนาปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักร แจ่ลื้อ (จีนเรียกเซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง นาน 790 ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมือง ครองราชต่อมาในปี ค.ศ.1579-1583(พ.ศ.2122-2126) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อมาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบัน
เมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้
        1. ปันนาเชียงรุ่ง มี 2 เมือง คือเมืองเชียงรุ่ง, เมืองฮำ
        2. ปันนาเมืองแจ่ มี 3 เมือง คือเมืองอ๋อง, เมืองงาด, เมืองแจ่
        3. ปันนาเมืองหน มี 2 เมือง คือเมืองปาน, เมืองหน
        4. ปันนาเมืองเจียงเจื่อง มี 2 เมือง คือเมืองฮาย, เมืองเจื่อง
        5. ปันนาเจียงลอ มี 4 เมืองคือเมืองมาง, เมืองงาม, เมืองลางเหนือ, เมืองเจียงลอ
        6. ปันนาเมืองลวง มี 1 เมืองคือเมืองโลง
        7. ปันนาเมืองลา มี 2 เมือง คือเมืองบาง, เมืองลา
        8. ปันนาเมืองฮิง มี 2 เมืองคือเมืองวัง, เมืองฮิง
        9. ปันนาเมืองล้า มี 2 เมืองคือเมืองบาน, เมืองล้า
        10. ปันนาเมืองพง มี 2 เมืองคือเมืองหย่วน, เมืองพง อีกเมืองส่างกาง ส่างยอง
        11. ปันนาเมืองอู๋ มี 2 เมืองคือเมืองอู๋ใต้, เมืองอู๋เหนือ (ปันนานี้ตกเป็นเขตแดนลาวล้านข้าง สมัยฝรั่งเศสปกครองประเทศลาวถึงปัจจุบัน)
        12. ปันนาเจียงตอง มี 4 เมืองคือ เมืองบ่อล้า, เมืองอีงู, เมืองอีปัง, เมืองเจียงตอง
จึงเป็นที่มาของคำว่า "สิบสองปันนา"
        ในห้วงระหว่างปี ค.ศ.1782-1813 (พ.ศ. 2325-2356) ชาวไทลื้อได้ถูกพระยากาวิละทำการกวาดต้อนลงมาลักษณะเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
        ในปีค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) เหมาจูซี้ (เหมาเซตุง) ได้ยึดอำนาจการปกครอง และได้นำระบอบคอมมิวนิสต์มาใช้ มีการริดรอนอำนาจเจ้าฟ้า ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทำให้เจ้าหม่อมคำลือ เจ้าฟ้าในขณะนั้นต้องสูญสิ้นอำนาจลงในปี ค.ศ.1953 (พ.ศ.2496) ชาวไทลื้อในสิบสองปันนาจึงทยอยหลบหนีออกเมืองมาเรื่อย ๆ ต่อมาในปี 1958 (พ.ศ.2501) เหมาเซตุงได้ปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ ไทลื้อในสิบสองปันนาจึงหลบหนีออกเมืองมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
ชาวไทลื้อสิบสองปันนาที่หนีออกเมืองหลายทิศทางแยกออกได้นี้
        สายที่ 1 เข้าสู่เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า
        สายที่ 2 เข้าสู่เมืองยอง ประเทศพม่า
        สายที่ 3 เข้าสู่เมืองสิงห์ เมืองอู๋
        สายที่ 4 เข้าสู่ประเทศลาว และไทย
สาเหตุการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานชาวไทลื้อมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
        1. ถูกกวาดต้อน
        2. เหตุบ้านการเมือง การปกครอง
        3. ติดตามญาติพี่น้องที่มาก่อนแล้ว
        4. หาแหล่งทำกินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความสงบสุขร่มเย็น มีภูมิประเทศที่เหมาะสม
ในประเทศไทยมีไทลื้ออยู่หลายจังหวัด ดังนี้
        1.จังหวัดเชียงราย อ.แม่สาย, แม่จัน, เชียงแสน, เชียงของ, เวียงแก่น, แม่สรวย, เวียงป่าเป้า, แม่ฟ้าหลวง, เทิง, พาน
        2. จังหวัดเชียงใหม่ อ.สะเมิง, ดอยสะเก็ด, วังเหนือ, แม่อาย
        3. จังหวัดลำพูน อ.บ้านธิ, ป่าซาง, บ้านโฮ่ง, ลี้
        4. จังหวัดลำปาง อ.แม่ทะ, เมือง
        5. จังหวัดพะเยา อ.เชียงคำ, เชียงม่วน, จุน, ปง
        6. จังหวัดน่าน อ.ปัว, สองแคว, ทุ่งช้าง
        7. จังหวัดแพร่.............................
วิถีชีวิตความเป็นอยู่
        ที่ตั้งบ้านเรือน หรือหมู่บ้าน จะหาทำเลที่มีแม่น้ำลำคลองอยู่ใกล้หมู่บ้านและสะดวกในการเพาะปลูก ดำเนินชีวิตแบเรียบง่าย พอเพียง พึ่งพาตนเอง ชาวไทลื้อมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน การสร้างบ้านเรือนแต่ละหลังในหมู่บ้าน คนทั้งหมู่บ้านจะมาช่วยกัน เวลาเก็บเกี่ยวข้าวก็จะช่วยกันให้เสร็จไปทีละเจ้า แต่เจ้าของนานั้นต้องได้ไปช่วยเขามาก่อนแล้ว ถ้าหนุ่มสาวคนใดเกียจคร้าน พ่อแม่บ่าวสาวจะตั้งข้อรังเกียจ ไม่ยอมให้แต่งงานด้วย
นิสัยใจคอ
        ไม่ชอบความรุนแรง รักสงบ รักความสะอาด เรียบร้อย รักสวยรักงาม จิตใจเยือกเย็นสุขุม ซื่อสัตย์ สุจริต มุ่งมั่น ขยันอดทน มีความหมั่นเพียร อ่อนน้อมถ่อมตน อ่อนหวาน เคารพนับถือพ่อแม่ ผู้มีอาวุโส ปู่ย่า ตาทวด บรรพบุรุษ
IP : บันทึกการเข้า
natza_zzzz
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 22 กันยายน 2009, 09:28:24 »

ชนเผ่ากระเหรี่ยง

กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี พบมากที่ อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงโป พบที่ อำเภอ ขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย ชนเผ่า "ปกากะญอ" เป็นชนเผ่าที่บอกกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมานับร้อยนับพันเรื่อง เรียงร้อยเก็บไว้ในเเนวของนิทาน อาจจะไม่ใช่หลักฐานที่เเน่ชัด เเต่ก็พยายามที่จะเล่าสืบทอดให้ลูกหลานได้รู้ ถึงความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของตัวเอง เล่ากันตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าสร้างโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ คู่แรก คือ อดัม กับเอวา ทั้งสองคนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสวน (เอเดน) ที่พระองค์ได้สร้างไว้ ทั้งสองได้ทำ ผิดกฎ ของสวรรค์ จึงถูกเนรเทศลงมาใช้กรรมอยู่ในโลกจนกระทั่งมีลูกหลานสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้

ชนเผ่าม้ง

       ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา (คนป่าเถื่อน) จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318   ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ทางใต้และกระจายเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาวบริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมา
                    ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก

IP : บันทึกการเข้า
natza_zzzz
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87



« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 22 กันยายน 2009, 09:34:38 »

เผ่ามี้ยน (เย้า)

       เผ่าที่เรียกตนเองว่า "เมี้ยน" นี้มีชื่อที่ผู้คนเผ่าอื่น ๆ เรียกขานกันว่า "เย้า" ซึ่งสันนิษฐานกันว่าอาจจะกลายมาจากคำเต็มชื่อเผ่าว่า " อี - ยูเมี้ยน" ในเวียดนามมักเรียกเผ่านี้ว่า "ม้าน" ซึ่งกลายมาจากคำจีนที่มีความหมายว่า "คนป่าเถื่อน"เมี้ยนพูดภาษาในแขนงเมี้ยว-เย้าของตระกูลจีน-ธิเบต แต่ก็มีอิทธิพลภาษาจีนลาวและไทยอยู่อย่างชัดเจนเอกลักษณ์ของเผ่านี้คือภาษาเขียนซึ่งใช้อักษรจีน ชาวเมี้ยนรุ่นเก่าเรียนการอ่านเขียนจากบิดาหรือครูจีนประจำหมู่บ้าน และใช้ตัวหนังสือจีนบันทึกพิธีการศาสนาประวัติการสืบตระกูลสัญญาและจดหมายต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเยาวชนเมี้ยนก็หันมาเรียนภาษาไทยกันมากขึ้นทุกทีเป็นที่วิตกกังวลของผู้เฒ่าผู้แก่ว่าวัฒนธรรมเมี้ยนเห็นจะหมดอนาคตเสียเป็นแน่แม้นอกเหนือจากอักษรอักษรจีน ปัจจุบันมิชชันนารีได้คิดค้นอักษรโรมันและไทยมาใช้เขียนภาษาเมี้ยนด้วยเมี้ยนในประเทศไทยเป็นกลุ่มคนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พูดภาษาเดียวกันสำเนียงเดียวกันแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบเดียวกันและปฏิบัติตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน จะมีผิดแผกไปบ้างก็ระหว่างท้องถิ่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ลาหู่ (มูเซอ) Lahu
การเรียกชื่อ
ชาวจีนเรียกมูเซอว่า ล่อเฮ หรือ ยิวล่อ ชาวไทยลื้อ เรียก ข่าเลอะ ชาวไทยใหญ่และไทยเขิน เรียก มูเซอ แปลว่า นายพราน ชาวมูเซอเรียก ตัวเองว่า ลาฮู แปลว่า คน
ประวัติความเป็นมา
               มูเซอมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในประเทศธิเบต เมื่อถูกชาวจีนรุกรานก็ค่อยๆ ถอยร่นลงมาทางใต้ ในศตวรรษที่ 17 และ 18 พวก มูเซอได้ตั้งอาณาจักรอิสระของตนเองบริเวณเขตแดนพม่า-จีน มีหัวหน้าปกครองกันเอง เมื่อ พ.ศ. 2423-2433 มูเซอถูกจีน รุกรานอีก จึงอพยพลงมาทางใต้ บางพวกเข้าไปอาศัยในลาว รัฐฉาน และประเทศไทย ปัจจุบันมูเซอในจังหวัด กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์แม่ฮ่องสอน ลำปาง และพะเยา
ชาวมูเซอที่อพยพเข้าสู่ประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 พวก คือ
-   มูเซอแดง (Lahu Nyi) มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพวกมูเซอด้วยกัน เรียกตัวเองว่า ลาฮูยะ (Lahu-ya)
-   มูเซอดำ (Lahu Na) มีจำนวนเป็นที่สองรองจากมูเซอแดง เรียกตัวเองว่า ลาฮูนะ (Lahu Na) คนไทย   ภาคเหนือและไทยใหญ่เรียก มูเซอดำ
-   มูเซอซิ (Lahu Shi) มีจำนวนน้อยที่สุด คนไทยเรียก มูเซอกุย (Mussuh Kwi) หรือมูเซอเหลือง มี 2 เชื้อสายคือ   เชื้อสาย บาเกียว (Ba Kio) และบาลาน (Ba Lan)
-   มูเซอเชเล (Lahu Shehleh) มีจำนวนเป็นอันดับสามรองจากมูเซอดำ เรียกตัวเองว่า ลาฮูนาเมี้ยว (Lahu Na-Muey) พวกมูเซอแดงเรียกพวกนี้ว่ามูเซอเชเล

ชนเผ่าลีซู
ประวัติความเป็นมา

                 ลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลาย ๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวงใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก โม่เจ้ากรรมพอจะถึงตีนก็ไม่ยอมหยุดนิ่ง อุตสาห์กลิ้งอ้อมตีนเขาไปรวมกันเข้ารูปเดิมอย่างดิบดี ไม่ว่าจะลองเสี่ยงทายด้วยอะไรก็จะได้ผลแบบนี้ทั้งนั้น พี่ชายน้องสาวเห็นว่าพระเจ้ายินยอมพร้อมใจให้สืบพันธุ์แน่ ๆ จึงตั้งหน้าตั้งตาผลิต ทั้งลูกชายทั้งลูกสาวซึ่งจับคู่กันเป็นต้นเผ่า
ความหมายคำว่าลีซู
        ลีซูได้ชื่อว่าเป็นเผ่าที่แต่งกายมีสีสรรสดใส และหลากสีมากที่สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหมด ความกล้าในการตัดสินใจ และความเป็นอิสระชนสะท้อนออกมาให้เห็น จากการใช้สีตัดกันอย่างรุนแรงในการเครื่องแต่งกาย คนอื่นเรียกว่าลีซอ แต่เรียกตนเองว่า “ลีซู” (คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน”) มีความหมายว่ากลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง หากมองในแง่วัฒนธรรมและบุคลิกภาพแล้ว อาจกล่าวได้ว่าชาวลีซูเป็นกลุ่มชนที่รักอิสระ มีระบบจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมที่ยืดหยุ่น เป็นนักจัดการที่มีประสิทธิภาพ จะไม่ยอมรับสิ่งใหม่โดยไม่ผ่านการเลือกสรร และจะไม่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่แตกต่างโดยไม่แยกแยะ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวลีซูมีศักยภาพในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
ความเป็นมา
          ลีซู หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
       ลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลาย กับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำ จะอยู่ในประเทศจีน พม่า อินเดีย และไทย ในประเทศไทยมีชุมชนลีซูอาศัยอยู่ 9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และลำปาง ตระกูลดั้งเดิมของชาวลีซูเดิมมี 6 กลุ่ม คือ น้ำผึ้ง (เบี่ยซือวี) ไม้ (ซือผ่า) ปลา (งัวะผ่า) หมี แมลงข้าว สาลี และกัญชง ตระกูลน้ำผึ้งใหญที่สุด แตกออกเป็นอีก 3 กลุ่มย่อย มีอยู่ 9 สายตระกูล จากการแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวจีนฮ่อ เช่น ลี ย่าง ว่าง เหยา วู เขา โฮ จู และจ้าง ในกลุ่มนี้ ย่าง และลีเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด
          ชาวลีซูนับถือบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้าโดยมีผู้นำสองคน คือ ผู้นำทางด้านวัฒนธรรม (มือหมือผะ) และ ผู้ประกอบพิธีกรรม (หนี่ผะ)

ชนเผ่าอาข่า
1.   ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไป

       อาข่า เป็นแขนงหนึ่งของชนเผ่าธิเบต-พม่า รูปร่างเล็กแต่ล่ำสันแข็งแรง ผิวสีน้ำตาลอ่อนและกร้าน ผู้หญิงมีศีรษะกลม ลำตัวยาวกว่าน่อง และขา แขน และขาสั้นผิดกับผู้ชาย มีภาษาพูดมาจากแขนงชาวโล-โล คล้ายกับภู ภาษาลาหู่ (มูเซอ) และลีซู (ลีซอ) ไม่มีตัวอักษรใช้ วัฒนธรรมของคนอาข่าทำให้พวกเขามองชีวิตของคนในเผ่าเป็นการต่อเนื่องกัน เด็กเกิดมาเป็นประกันว่าเผ่าจะไม่สูญพันธุ์ พอโตขึ้นกลายเป็นผู้สร้างเผ่า และเป็นผู้รักษา “วีถีชีวิตอาข่า” ในที่สุดก็ตาย และกลายเป็นวิญญาณบรรพบุรุษคอยปกป้องลูกหลานต่อไป กฎต่าง ๆ เหล่านี้ครอบคลุมทุกคนในเผ่า ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นแนวทางสอน และแนะนำทุกคนในเรื่องของกฎหมายของเผ่า ประเพณี ศาสนา ยา และการรักษาโรค กสิกรรม สถาปัตยกรรม การตีเหล็ก และการทำของเครื่องใช้เครื่องนุ่งห่ม เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำเพาะ พวกเขาไม่มีตัวหนังสือใช้แม้จะไม่ได้มีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร อาข่าก็มีตำนาน สุภาษิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีการมากมาย ที่ทำให้หมายรู้ในเผ่าพันธุ์ และซาบซึ้งในความเป็นอาข่าของตน เขาสามารถสืบสาวรายงานบรรพบุรุษฝ่ายบิดาขึ้นไปได้ถึงตัว “ต้นตระกูล” และรู้สึกว่าท่านเหล่านั้น ก่อกำเนิดชีวิตเขามา และประทานวิชาความรู้ ในการเลี้ยงชีวิตมาโดยตลอด เพราะเหตุที่มองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโซ่สร้อยซึ่งร้อยมายาวนักหนา อาข่าจะอดทนผจญความยากเข็ญทั้งหลาย ดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป เพื่อว่าลูกหลานจะได้รำลึกบูชาเขา เช่น บรรพชนคนหนึ่งในวันข้างหน้า ตามตำนานของอาข่า ธรณี (อึ่มมา) และท้องฟ้า (อึ่มก๊ะ) นั้นเสกสรรค์ขึ้นมา โดยมหาอำนาจ อะโพว่หมิแย้ (บางครั้งแปลออกมาว่า “พระผู้เป็นเจ้า”) จากอึ่มก๊ะ สืบทอดเผ่าพันธุ์กันลงมา อีก 9 ชั่วเทพ คือกาเน เนซ้อ ซ้อสือ สือโถ โถม่า ม่ายอ ยอเน้ เน้เบ่ และเบ่ซุง พยางค์หลังชื่อบิดาจะกลายเป็นพยางค์หน้าของชื่อบุตร ดังนี้เรื่อยลงมาตามแบบแผนการตั้งชื่อของอาข่า ซึ่งยังทำกันอยู่จนทุกวันนี้ ตำนานนี้ ระบุว่า มนุษย์คนแรกเป็นบุตรของเบ่ซุง ชื่อ ซุ้มมิโอ ซึ่งเป็นบิดาของมนุษยชาติ สืบสายกันลงมาอีก 13 ชั่วโคตร จึงถึงโซตาป่า ซึ่งเป็นมหาบิดรของอาข่าทั้งปวง เวลาที่คนอาข่าล่ารายชื่อการสืบสายของตน จะมีชื่อต้นตระกูลของเขารวมอยู่ด้วยเสมอ การร่ายรายชื่อบรรพบุรุษจนครบองค์ ซึ่งมีอยู่กว่า 60 ชื่อนี้ มิได้ทำการพร่ำเพรื่อ จะทำก็ในพิธีใหญ่ เช่น งานศพ หรือในยามเกิดกลียุค ถึงต้องภาวนาขอความช่วยเหลือจากบรรพบุรุษเท่านั้น ตามธรรมดาอาข่าจะไม่ร่ายครบองค์ จะไล่ชั้นไปเท่าที่จำเป็น เช่น เมื่ออาข่าแซ่เดียวกันสององค์ อยากจะรู้ว่า เป็นญาติใกล้ชิดหรือห่างแค่ไหน และที่สำคัญเมื่อหนุ่มสาวจะแต่งงานหรืออยู่กินกันนั้น พ่อแม่ทั้งสองฝ่าย จะต้องไล่ชื่อบรรพบุรุษขึ้นไปให้แน่ใจว่า มิได้ร่วมบรรพบุรุษอย่างน้อย 7 ชั่วโคตรนอกจากจะทราบชัดเรื่องการสืบสายโลหิตของตน อาข่ายังทราบชัดว่าบรรพบุรุษ อพยพสืบทอดกันมา ตามเส้นทางจีน พม่า และไทย แม้ว่าภาพจะยิ่ง ลางเลือน ไร้รายละเอียด เมื่อไล่ขึ้นไป ไกลขึ้นๆ เราก็ได้คำให้การที่ตรงกันจากอาข่าที่พบในพม่า ไทย และลาว ซึ่งนับว่าเป็น ชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ แจ่มชัดอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ทั้งๆ ที่ไร้อักขระวิธี และกระจัดกระจาย ผลัดพรากกันไปไกลแสนไกล
IP : บันทึกการเข้า
WEBMASTER
เจ้าสำนักใหญ่
Administrator
แฟนพันธ์แท้
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,523

บุคคลทั่วไป


« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 22 กันยายน 2009, 09:36:21 »

ชนเผ่าจีนฮ่อ
    จีนฮ่ออาศัยอยู่ใน 5 จังหวัด 20 อำเภอ 71 หมู่บ้าน ประชากรรม 21,579 คน พวกจีนฮ่ออยู่ทางตอนใต้ของจีน พรมแดนระหว่างไทย ลาว อาศัยอยู่บนเทือกเขารู้จักในนาม Chinese hill farmer ชาวจีนฮ่อที่พบในประเทศไทย อพยพเข้ามาหลังการปฏิวัติระบบจักพรรติของจีนมาเป็น คอมมิวนิสต์โดยผู้นำการอพยพคือนายทหาร เข้ามาอยู่อาศัยในเขตติดต่อไทยพม่า ปัจจุบันพบจีนฮ่อในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน (บ้านสันติชน อำเภอปาย บ้านรักไทยบ้านรวมไทย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) ลำปาง และเยา ชาวจีนฮ่อในประเทศไทยถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาในลักษณะผู้ลี้ภัยทางการเมืองและเปรียบเสมือนแนวกันชนในการสกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์
    จีนฮ่อเป็นกลุ่มชนที่ในอดีตเคยเป็นทหารจีนคณะชาติ หนีการปราบปรามของฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาทางประเทศพม่า แล้วอพยพเข้ามาในประเทศไทยในระหว่าง ปี พ.ศ.2493 – 2499 อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของไทยในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่ต้องขออนุญาตจากจังหวัด กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งชาวจีนฮ่อในประเทศไทยออกเป็น 3 กลุ่มคือ
    อดีตทหารจีนคณะชาติ ได้แก่บุคคลตามบัญชีรายชื่อที่ทางทหารได้สำรวจและรวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรีและได้รับอนุมัติให้แปลงสัญชาติ และให้ฐานะเป็นคนต่างด้าว รวม 5 รุ่น จำนวน 13,738 คน ปัจจุบันทางราชการได้ผ่านผันให้อดีตทหาร
    จีนคณะชาติ และครอบครัวอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนรวม 8 อำเภอกับ 1 กิ่งอำเภอ
    จีนฮ่ออพยพ ได้แก่คนจีนที่เป็นครอบครัวของอดีตทหารจีนคณะชาติ เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2497 – 2504 โดยอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน การออกนอกเขตจังหวัดต้องขออนุญาตจากจังหวัด
    จีนฮ่ออิสระ ได้แก่ชาวจีนที่อ้างว่าเป็นญาติพี่น้องของอดีตทหารจีนคณะชาติ และจีนฮ่ออพยพ พลเรือนหลบหนีเข้าประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 – 2532 อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน การออกเขตนอกจังหวัดต้องขออนุญาตจากจังหวัด
    ชาวจีนฮ่อมีวัฒนธรรมดั้งเดิมในกลุ่มของตนเอง เพราะมีเชื้อสายจีน ภาษาที่ใช้คือ ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง การตั้งถิ่นฐานจะกระจายอยู่ในเขตพื้นที่ภูเขา หรือพื้นที่สูงทางภาคเหนือตอนบน
HAW จีนฮ่อ
    นักภาษาศาสตร์จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาจีน – ทิเบต (Sino-Tibetan Language Family) Synonyms : Ho จีนฮ่ออาศัยอยู่ใน 5 จังหวัด อพยพเข้ามาหลังการปฏิวัติระบบจักรพรรดิของจีน มาเป็น คอมมิวนิสต์ โดยผู้นำการอพยพคือนายทหาร เข้ามาอยู่อาศัยในเขตติดต่อไทยพม่า ปัจจุบันพบจีนฮ่อในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และพะเยา ชาวจีนฮ่อในประเทศไทยถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาในลักษณะผู้ลี้ ภัยทางการเมือง และเปรียบเสมือนแนวกันชนในการสกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ จีนฮ่อ ชื่อนี้ได้ยินกันมาตลอดแต่น้อยคนที่จะทราบว่าใครคือจีนฮ่อ จีนฮ่อคือ ชาวจีนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากมณฑยูนาน ลงมาภาคเหนือของประเทศไทย ในรูปลักษณะของพ่อค้าแร่ ที่ใช้ม้าต่างหรือ ฟัอเป็นพาหนะในการบรรทุกสินค้าผ่านมาทางฮ่องลึกหรือแดนแม่สาย เดินตามช่องมาทางนี้มาตั้งแต่โบราณ ช่องต่าง ๆ ตามทิวเขาแดนเลว ในแนวเหนือ – ใต้ ที่กั้นเขตแดนไทย – กับพม่าจะมีช่องทางต่าง ๆ และทิวเขาแนวนี้เป็นที่ตังของกองทหารจีนคณะชาตที่เราเรียกเหมาว่าจีนฮ่อคือ
    ช่องทางฮ่องลึก (ด้านท่าขี้เหล็กของพม่าติดต่อกับอำเภอแม่สาย)
    ช่องทางเมืองฝาง (น้ำกก)
    ช่องทางดอยลางดอยสันจุ๊
    ช่อทางหมูฮ่อ (ช่องกิ่วผาวอก) เชียงดาว
    ช่องทางหลักแต่ง (ช่องเมืองแหง)
ช่องทางนาป่าแปก (แม่ฮ่องสอน)
    ชาวจีนกลุ่มที่บรรทุกสินค้า (เช่นฝิ่น) เข้ามาทางฮ่องลึกไม่ใช่จีนแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นชาวจีนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทยเรียกว่า พวกจีนฮ่อ ชาวจีนฮ่อประมาณ 1 ใน 3 จะนับถือศาสนาอิศลาม ใช้ภาษาจีนกลาง ได้พากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย และกลายเป็นคนไทย เป็นคหบดีของเมืองเชียงใหม่เมืองลำพูนไปหมดแล้ว และถูกวัฒนธรรมของท้องถิ่นกลืน จนกลายเป็นคนไทยไปหมด ดังนั้นฮ่อ ที่เป็นรากศัพท์ของฮ่อที่เราเรียกกันในปัจจุบัน จะต้องถือว่าไม่มีแล้ว แต่มีฮ่อรุ่นใหม่ที่เราไม่รู้จะเรียกว่าอย่างไร ก็เลยเรียกว่าจีนฮ่อ จีนฮ่อรุ่นใหม่ซึ่งความจริงไม่ใช่ แต่เป็นทหารของกองทหารกองกำลังทหารจีนคณะชาติ ยังมีจีนฮ่อพลเรือน ซึ่งอพยพลี้ภัยสงครามเข้ามาอยู่ในรัฐฉาน สหภาพพม่า และอยู่มานานจนถูกกวาดอย่างจริงจังจากพม่า จึงทะลักเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทย จุดที่สำคัญที่สุดคือ ดอยตุง ดอยแม่สลอง ในจังหวัดเชียงราย และถ้ำง๊อบในจังหวัดเชียงใหม่
    เมื่อจีนคอมมิวนิสต์เข้าครอบครองแผ่นดินใหญ่ได้ทั้งหมด เป็นผลให้ จอมพล เจียงไคเช็ค ผู้นำจีนชาติต้องถูกไล่ตีตกทะเลไปอยู่ยังฟอร์โมชา หรือเกาะไต้หวันในปัจจุบัน จีนคอมมิวนิสต์เข้าครอบครองแผ่นดีใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 กองกำลังทหารจีนคณะชาติ “ก๊กมินตั๋ง” ที่สำคัญที่เรารู้จักกันในนามของ “กองพล 93” ซึ่งยืนหยัดอยู่ในพม่านั้น ก็ถูกกำลังของพม่ากวาดล้างเกือบจะสลาย ส่วนกองพล (ไม่ได้มีกำลังอัตรากองพล) และกองพลอื่น ๆ ก็เช่นกันถูกกวดล้างไปจนสูญสลาย ส่วนกองพล 93 นั้นไม่ได้ถึงกับสลายตัวทั้งกองพล และพอดีกับการที่สหรัฐอเมริกามีนโยบายยับยั้งการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จึงให้การช่วยเหลือทำให้กองพล 93 แปรสภาพเป็นกองทหารจีนกู้ชาติ มีกำลังนับหมืน แต่ในที่สุดสหประชาชาติ ก็ไม่ยินยอมให้กองพล 93 อยู่บนแผ่นดีไทย และอยู่ในแผ่นดินพม่า สหประชาชาติให้ย้ายกองพล 93 ผ่านประเทศไทย กลับไปอยู่ไต้หวัน เมื่อปี พ.ศ.2496 แต่ปรากฏว่าผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองพล และทหารในกองพลนี้ ระดับผู้บังคับบัญชาขึ้นมาใหม่ โดยได้ชาวจีนจากราษฎรอาสาสมัครชาวยูนาน ที่หนีภัยคอมมิวนิสต์ มาสมัครเป็นทหารจำนวนมาก คราวนี้ได้จัดกำลังใหม่เป็นรูป “กองทัพ” มีถึง 5 กองทัพ คือ ท.1 – 5 และยืนหยัดต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ต่อไป ในรัฐฉานของพม่า หาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้าง ลำเลียงฝิ่น เป็นกองคาราวาน โดยเดินทางลำเลียงระหว่างรอยต่อของไทย พม่าและลาว จนถูกขนานนามว่า “สามเหลี่ยมทองคำ” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 กองทัพก๊กมินตั๋ง ถูกกองทัพพม่าและจีนคอมมิวนิสต์ผลักดัน กวาดล้างอย่างรุนแรง จนไม่สามารถตั้งถิ่นฐานที่มั่นใจพม่าได้อีกต่อไป จนเริ่มทะลักเข้าสู่ประเทศไทย โดยกองทัพที่ 3 ของนายพล หลี่ เหวิน ฝาน ได้เข้ามาทางเชียงใหม่ อำเภอฝาง นายพลต้วน ซี เหวิน เข้ามาตั้งมั่นอยู่ในอำเภอแม่จัน จัวหวัดเชียงราย ที่ดอยตุง และดอยแม่สลอง และดอยแม่สลองนี้แหละ ที่เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพที่ 5 และส่วนส่งกำลังบำรุงอยู่อย่างเจ้าของพื้นที่เลยทีเทียว ในขณะนั้นผู้ผู้บัญชาการทองทัพทหารปืนใหญ่ที่ 7 ซึ่งกองพันตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2507 มีพื้นที่รับผิดชอบในการสนับสนุนการรบ ของทหารราบคือ กรมผสมที่ 7 ตลอดพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่อ่องสอน สำพูน และลำปาง เคยนำรถที่เรียกว่า รถจี๊บกลางของทหาร จะขึ้นไปสำรวจบนดอยแม่สลอง แต่ขึ้นไม่ได้เพราะกลายเป็นแผ่นดินที่ต้องห้ามสำหรับคนไทยทั้ง ๆ ที่เป็นแผ่นดินไทย และในปี พ.ศ.2508 พวกนี้พยายามทะลักลงมาสู่ที่ราบ เพื่อยึดครองพื้นที่ราบของอำเภอแม่จัน ในตอนนั้นผู้การกรมผสมที่ 7 ท่านให้ผู้บัญชาการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 ไปกับท่านนั่งเฮลิคอปเตอร์ตรวจการเคลื่อนย้ายของจีนฮ่อกลุ่มนี้ และพบกำลังเคลื่อนย้ายลงมาเป็นขบวนยาวเหยียด ต้องใช้เครื่องขยายเสียงประกาศ (ให้ล่ามจีนพูด) ให้ถอนกลับขึ้นไป มืฉะนั้นจะใช้ปืนใหญ่ยิง ความจริงแล้วขู่ไปอย่างนั้น เพราะปืนใหญ่ยังอยู่ที่อำเภอแม่ริม และสมัยนั้นถนนจากเชียงใหม่ไปลำปางไม่มี ถนนจากเชียงใหม่ผ่านดอยสะเก็ดมาเชียงรายไม่มี มีแต่ทางรถลากไม้ ซึ่งต้องเอารถจี๊บกลางบุกมาถึงเชียงราย แต่เขาก็เชื่อฟังดีจึงถอยกลับขึ้นไปบนเขา กองทัพ 5 ของนายพล ต้วน ตั้งมั่นอย่างมั่นคง มีกรมฝึกทหารใหม่ เพื่อเสริมกำลังให้แก่หน่วยที่ตั้งอยู่ทางพม่า มีโรงเรียนจีนที่นักเรียนจีนที่นักเรียนมีวินัยมาก มีการค้า การรับจ้างลำเลียงฝิ่น ต่อมาได้มีการให้อพยพกลับไปไต้หวันในรอบสองอีก แต่พวกนี้ไม่ยอมกลับ แต่ทั้ง ท.3 และ ท.5 ประกาศให้ความร่วมมือกับกองทัพไทยทุกรูปแบบ ยอมให้ปลดอาวุธ ยอมมอบฝิ่นที่อยู่ในครอบครองเป็นจำนวนประมาณ 40 ตัน (นำไปเผาที่หลังกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่) ยอมปลดอาวุธ ขออยู่ใต้กฎหมายไทย ขอตั้งถิ่นฐานอยู่ในไทยไม่ย้ายไปไหนอีก และกำลังติดอาวุธบางส่วนก็เข้าร่วมในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ กับทหารไทย ในการสู้รบเพื่อยึดเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทหารจีนชาติ หรือจีนฮ่อ ได้ทำการร่วมอย่างเข้มแข็ง บาดเจ็บ ล้มตายไม่ใช่น้อย และได้ชัยชนะ จนมีการสร้างอนุสาวรีย์เล็ก ๆ ของจีนฮ่อให้บนเขาค้อ ความจริงคือ อนุสาวรีย์ของทหารจีนชาติ อดีตทหารกองพล 93 และกลับมาเป็นกองทัพที่ 5 กำลังอีกพวกหนึ่ง ก็เข้ามาทำการรบชิงที่มั่น ผกค.ที่ดอยผาตั้ง ตอนนี้อยู่ในเมืองที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ไม่ไกลกันนักกับภูชี้ฟ้าที่อยู่ในเขตอำเภอเทิง ซึ่งพวกจีนฮ่อเหล่านี้ ชำนาญในภูมิประเทศมากกว่าทหารไทย เพราะ เขาตั้งฐานอยู่บนเขามาตลอด จึงชำนาญภูมิประเทศ แม้ว่าฝ่าย ผกค.จะมีทั้งพวก ลาว ไทย ญวน และ “ม้ง” ที่ชำนาญเขา แต่เมื่อสู้รบกันก็สู้จีนฮ่อไม่ได้ เราจึงได้แผ่นดีนผาตั้งที่เคยถูกประกาศว่า เป็นเขตปลดปล่อยกลับคืนมา กลายเป็นบ้านผาตั้งที่มีโรงแรมที่พัก มีร้านอาหารอร่อย “ขาหมู” หมั่นโถว” สรุปทหารจีนฮ่อที่เรียกกัน ความจริงแล้ว กองพล 83 ก็สลายไปหมดแล้ว ตั้งแต่ปี 2496 ทหารที่ยึดครองอยู่ที่ดอยตุง และดอยตุง และดอยแม่สลองคือ ทหารจีนชาติ ภายใต้การนำของนายพล ต้วน ซี เหวิน และเมื่อทางการเข้าควบคุม และกำกับดูแลตลอดจนจัดที่ทำกินให้ แล้วก็ให้มาอยู่รวมกันที่ดอยแม่สลองทั้งหมด และก่อตั้งเป็นหมู่บ้านสันติคีรี และทางกองบัญชาการทหารสูงสุด ก็ต้องตั้ง บก.04 ควบคุมดูแลส่งกำลังให้ พันเอก กาญจนะ ประกาศวุฒิสาร ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “ทหารจีนชาติ ก๊กมินตั๋งตกค้างภาคเหนือประเทศไทย” หนังสือนี้ไม่ได้วางขายตามแผงหนังสือทั่วไป พ.อ.กาญจนา ฯ ได้คลุกคลีอยู่ที่ บก.04 นานกว่า 20 ปี รู้จักดีกับ นายพลต้วน และเสธ.ทั้งหลายของจีนฮ่อพวกนี้
ต่อมามีชื่อเป็นไทยทุกคน เสธ.กู้ อยู่หมู่บ้านทางขึ้นดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่

ต้องไปเที่ยวบนดอยแม่สลองสักครั้ง ถึงจะสัมผัสได้กับชีวิตของชุมชนจีนฮ่อ ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 22 กันยายน 2009, 09:39:17 โดย เว็บมาสเตอร์ » IP : บันทึกการเข้า

ติดตามข่าวสารได้ที่เพจ :  https://www.facebook.com/crfocus
เทพมรณะ บังไค
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 81


สังคมมีทั้งคนดีและไม่ดี จงยึดคนดีเป็นที่ตั้ง


« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 22 กันยายน 2009, 09:41:22 »

หวัดดีคับพี่น้องชนเผ่าทั้หลาย......เด็กลีซอคับ
IP : บันทึกการเข้า

เทพมรณะ บังไค
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 81


สังคมมีทั้งคนดีและไม่ดี จงยึดคนดีเป็นที่ตั้ง


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 22 กันยายน 2009, 09:44:48 »

ภาษาลีซอ(ลีซู)วันละคำ

 สรรพนามแทนตัว

ฉัน - งัว
เธอ - นู (นา)
เขา - ยี้
คูมา - ครูผู้หญิง
คูผะ - ครูผู้ชาย
IP : บันทึกการเข้า

bm farm
หัวหมู่ทะลวงฟัน
ผู้ดูแลบอร์ด
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,575


canon eos


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 23 กันยายน 2009, 23:22:50 »

....Please wait.................................กรุณารอร้อรอ.............................อิอิ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 27 กันยายน 2009, 18:34:43 โดย bm5996 » IP : บันทึกการเข้า

ยิ้มกว้างๆ .....อ่านกฏ,กติกาการใช้งานเวบบอร์ดด้วยครับ.....
หน้า: [1] 2 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!