เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 09:27:27
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  การเกษตร,ฟาร์มสัตว์,ปศุสัตว์ (ผู้ดูแล: bm farm)
| | |-+  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันกันครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 [2] พิมพ์
ผู้เขียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันกันครับ  (อ่าน 3507 ครั้ง)
samson
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #20 เมื่อ: วันที่ 03 สิงหาคม 2011, 17:20:34 »

เราเอามาทำน้ำมันเองได้ไหมอ่ะ
ทำไม่ได้ครับเพราะไม่มีเครื่องอบหรือหม้อต้มให้ผลปาล์มหลุดจากทะลายแล้วก็หยุดปฏิกิริยาการเกิดกรดไขมันอิสระ เสร็จแล้วก็ต้องเข้าเครื่องแยกระหว่างเปลือกกับกะลา แล้วก็นำส่วนเปลือกไปหีบเอาน้ำมัน ส่วนกะลาก็ยังมีเมล็ดในก็จะนำไปหีบแยกอีกทีนึงครับ ผลที่ได้คือน้ำมันปาล์มดิบ (Crude palm oil) ก็ต้องผ่านกระบวนการกรองเอาสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ออก แล้วนำไปปั่นหรือเหวี่ยงให้เกิดการตกตะกอนแยกเอาตะกอนออกหลังจากนั้นก็จะได้น้ำมันปาล์มดิบที่ใช้ในการทำพวกสบู่หรืออุตสาหกรรมยางรถยนต์ แต่ก็ยังกินไม่ได้ต้องนำไปกลั่นที่โรงงานกลั่นอีกเพื่อจะได้แยกออกมาเป็นผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่างเช่น
อุตสาหกรรมด้านอาหาร
1.1 น้ำมันปรุงอาหาร ตามปกติน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิปกติมีการแยกออกเป็น 2 ส่วนคือน้ำมันใสหรือโอเลอีนมีประมาณ 66-70% และน้ำมันส่วนข้นหรือสเตียรีน มีประมาณ 30-35% น้ำมันปรุงอาหาร คือน้ำมันปาล์มโอเลอีนที่ทำได้โดยกระบวนการแยกส่วนน้ำมันบริสุทธิ์โดยแยกสเตียรีนออก

1.2 มาการีน มักจะทำมาจากน้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์มเนื่องจากมีคุณสมบัติมีลักษณะเป็นของเหลวปนของแข็งและมีคุณสมบัติพิเศษที่ละลายได้เร็วเมื่อสัมผัสลิ้นและสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน

1.3 น้ำมันสำหรับทอด มีบทบาทมากในอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันสำหรับทอดเนื่องจากมีราคาถูกและมีคุณสมบัติอยู่ตัวได้ดีกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นคือไม่ออกซิไดซ์กับอากาศเมื่อถูกความร้อน ทำให้ไม่หืนง่าย ควันน้อย สีน้ำมันไม่คล้ำ ไม่ทำให้วัตถุทอดติดกันและไม่ดูดซึมในวัตถุทอดมากเกินไปจึงนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการทอดหลายอย่างเช่นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันฝรั่งทอด ข้าวเกรียบทอดและอาหารว่างอื่นๆ

1.4 ไอศครีมและนมข้นหวาน นำยมใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบเนื่องจากไม่มีกลิ่นผิดปกติ

1.5 ขนมปังและเบเกอรี่ น้ำมันปาล์มในรูปของเนยขาว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำขนมปัง เช่น ทำไส้ขนมปัง เคลือบหน้าขนมปัง หรือผสมลงในแป้ง ทำให้ขนมปังมีเนื้อนุ่มและเก็ยได้นานโดยไม่มีกลิ่นหืน

1.6 คอฟฟี่เมทและนมเทียม ใช้น้ำมันเมล็ดในปาล์มและน้ำมันปาล์มเติมไฮโดรเจน เนื่องจากไม่มีกลิ่นหืน เก็บรักษาได้นานและที่สำคัญคือมีคอเลสเตอรอลต่ำกว่าไขมันสัตว์

1.7 อาหารสัตว์ โดยใช้ไขมันและวิตามินเป็นส่วนผสมมักใช้ปาล์มสเตียรีนผสมลงไปด้วย

อุตสาหกรรมโอลิโอเคมิคอล
นำน้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์มผ่านกระบวนการทางเคมีโดยผลิตกรดไขมันชนิดต่างๆเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท

2.1 กรดลอริก ใช้ทำเรซินในอุตสาหกรรมสี

2.2 กรดปาล์มมิติก ใช้ในการเลี้ยงเชื้อราเพื่อสกัดเป็นยาปฏิชีวนะ หรือนำไปผสมกับกรดสเตียริกเพื่อทำเทียนไข

2.3 กรดโอเลอิก ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

2.4 กรดลิโนเลอิก ใช้เป็นยาฉีดเพื่อลดไขมันในเส้นเลือด

นอกจากนี้ยังมีการใช้ำน้ำมันปาล์มเพื่อผลิตไบโอดีเซล โดยการทำปฏิกิริยาเคมีระหว่างน้ำมันปาล์มและเมทธิลแอลกอฮอล์ โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซดาไฟเป็นสาเร่งปฏิกิริยา มีผลพลอยได้มูลค่าสูงคือ กลีเซอรอล

อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือคู่มือการปลูกปาล์มน้ำมัน พิมพ์ซะเมื่อยมือเลย
IP : บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!