เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 29 มีนาคม 2024, 03:13:26
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  นักลงทุน การเงิน การธนาคาร
| | |-+  Fundamental analysis ;; ปูพื้นฐานหุ้น สำหรับนักลงทุนมือใหม่ ...
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 [3] 4 พิมพ์
ผู้เขียน Fundamental analysis ;; ปูพื้นฐานหุ้น สำหรับนักลงทุนมือใหม่ ...  (อ่าน 71452 ครั้ง)
....คนหน้าแหลม....
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,535


..........................


« ตอบ #40 เมื่อ: วันที่ 15 สิงหาคม 2011, 10:10:42 »

จอเทรดกิมเอ็ง ดูสวยครับ
IP : บันทึกการเข้า
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« ตอบ #41 เมื่อ: วันที่ 15 สิงหาคม 2011, 10:20:10 »

.

ก็หมดแล้วนะครับ สำหรับเนื้อหาที่ผมจะเอามาลงในกระทู้นี้

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามมาโดยตลอดครับ

มีปัญหาอยากถามเรื่องพื้นฐานทั่วไป โพสท์ถามที่นี่เลยนะครับ
.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 15 สิงหาคม 2011, 10:23:28 โดย แมงมุม » IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
Temujin
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,998


** แบ่งปัน ไม่แบ่งแยก..แตกต่าง ไม่แตกแยก แตกหัก **


« ตอบ #42 เมื่อ: วันที่ 24 สิงหาคม 2011, 17:37:53 »

ถึงท่านแมงมุม
     ผมอยากถามรายละเอียดเกี่ยวกับ  หุ้นบุริมสิทธิ์  กรุณาให้ความกระจ่างด้วย  อยากรู้ว่า  มันคืออะไร  มันมาได้อย่างไร  มีสิทธิ์อะไรมากกว่าหรือน้อยกว่าหุ้นสามัญอย่างไร  ขอบคุณครับ

ไม่ได้ค่อยเข้ามาอ่านเท่าไหร่ครับช่วงนี้ ขอตอบคำว่า  หุ้นบุริมสิทธิ์ แล้วกันครับ

หุ้นตัวนี้คือหุ้นที่จะได้รับชำระก่อนถ้าขาดทุนหรือเจ้งขึ้นมา ถ้าใครถือก็จะได้สิทธิก่อนคนถือหุ้นอื่น

ส่วนสิทธิการออกเสียง ฯลฯ ก็จะเหมือนๆ หุ้นสามัญครับ ถ้าเปรียบกับการจำนองก็คนที่รับจำนองเจ้าแรกนั่นแหละครับ

จะได้เงินก่อนถ้าถูกบังคับจำนองหรือขายทอดตลาด ถึงไม่ได้ฟ้องก็ตาม นี่เป็นความรู้ตอนเรียนกฎหมาย (ยังไม่จบ) อิอิ

ส่วนตอนนี้ผมอยากจะเป็นเจ้าบุริมสิทธิ์หัวใจใครสักคนอยู่เหมือนกัน...ว่าไปเรื่อย.. ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

พอจะถูกบ้างมั้ยลุงคิวฯ ในฐานะที่ท่านเป็นทนายความ..ส่วนผมพอเป็นทแนะความหรือไม่ได้ความช่วยแถลง..อิอิ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 24 สิงหาคม 2011, 17:42:00 โดย Temujin » IP : บันทึกการเข้า

สัตว์มีสัญชาตญาณ   มนุษย์มีวิตจารณญาณ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ (หลัก กาลามสูตร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3)
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« ตอบ #43 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2011, 07:40:48 »

.

หุ้นบุริมสิทธ์จะออกเสียงบริหารงานไม่ได้ครับ

มีแต่หุ้นสามัญที่ทำได้

.
IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,913



« ตอบ #44 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2011, 10:07:30 »

แต่ที่แน่ๆ ได้เงินก่อนเราใช่ไหมครับ เหอๆๆ
IP : บันทึกการเข้า

Temujin
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,998


** แบ่งปัน ไม่แบ่งแยก..แตกต่าง ไม่แตกแยก แตกหัก **


« ตอบ #45 เมื่อ: วันที่ 25 สิงหาคม 2011, 11:11:44 »


หุ้นบุริมสิทธ์จะออกเสียงบริหารงานไม่ได้ครับ

มีแต่หุ้นสามัญที่ทำได้


ตามนั้นครับ... ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

สัตว์มีสัญชาตญาณ   มนุษย์มีวิตจารณญาณ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ (หลัก กาลามสูตร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3)
น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,913



« ตอบ #46 เมื่อ: วันที่ 31 สิงหาคม 2011, 20:25:51 »

หุ้นหลายเด้ง


นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จสูงในระยะยาว หนีไม่พ้นที่ต้องมีหุ้นที่ทำกำไรสูงมากเป็นหลายๆ เท่าตัวจากต้นทุนที่เขาซื้อมา
ในวงการนักลงทุนเรียกว่า "หุ้นหลายเด้ง"  นอกจากกำไรเป็นหลายเท่าตัวแล้ว หุ้นหลายเด้งที่ว่านั้น ต้องมีจำนวนเป็นเม็ดเงินอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ใช่มีเพียง 200-300 หุ้น ซึ่งไม่มีความหมายต่อขนาดของพอร์ตโฟลิโอ ตรงกันข้าม หุ้นหลายเด้ง ต้องมีขนาดพอสมควรที่ทำให้ผลตอบแทนรวมของพอร์ตสูงกว่าปกติต่อเนื่องกันหลายปี พูดง่ายๆ ถ้าตัดหุ้นตัวนี้ออก ผลตอบแทนรวมของพอร์ตอาจจะดูธรรมดามาก หรือหุ้นหลายเด้ง เป็นหุ้นที่สร้างความแตกต่างระหว่าง "เซียน" กับนักลงทุนธรรมดา ดังนั้น เราจึงควรมาดูกันว่าเราจะหาหุ้นหลายเด้งได้อย่างไร
 
ข้อแรก ที่ผมคิดว่าสำคัญ ก็คือ หุ้นที่จะเติบโตขึ้นมาหลายๆ เท่าตัวได้ในระยะเวลาไม่นาน เช่น ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 3-5 เท่าตัวในเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยที่หุ้นตัวนั้นไม่ได้ถูก "ทำราคา" หรือ "ปั่น" มักจะอยู่ใน หุ้น 3 กลุ่มใหญ่ๆ  คือ กลุ่มที่หนึ่ง เป็นหุ้นที่ อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีวัฏจักรขึ้นลงรุนแรง เช่น ธุรกิจเดินเรือ ปิโตรเคมี แร่ธาตุที่หายาก หรือสินค้าเกษตรที่ต้องใช้เวลาในการปลูกยาวนานเช่นยางพารา เป็นต้น
 
การที่จะทำกำไรได้หลายเด้งในหุ้นกลุ่มนี้ วิธีที่ได้ผลมากที่สุด คือ ซื้อหุ้นในยามที่หุ้นอยู่ในช่วงที่อุตสาหกรรมตกต่ำสุด และไม่มีคนสนใจและพูดถึงเลย และเรารู้ หรือมั่นใจว่าอุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัวและการฟื้นตัวนั้น จะฟื้นแรงด้วยเหตุผลที่ชัดเจนถูกต้อง และเมื่อสิ่งที่เราคาดไว้ถูกต้อง หุ้นปรับตัวขึ้นแล้วในรอบแรก เราต้องถือหุ้นต่อไปจนกว่าวัฏจักรจะเป็นขาขึ้นเต็มตัว ซึ่งราคาหุ้นก็จะปรับตัวตามไปเรื่อยๆ เราจะขายต่อเมื่อทุกอย่าง "ดูดีหมด" โบรกเกอร์เกือบทุกสำนักจะเชียร์หุ้นตัวนั้น นักลงทุนแทบจะทุกกลุ่มต่าง ก็ดูว่าเป็น หุ้น "สุดยอด" เพราะ "กำไรดีมาก" ผู้บริหาร "คาดการณ์แม่นมีวิสัยทัศน์" บริษัท "ขยายตัวต่อเนื่อง" และที่สุดยอด ก็คือ "เงินสดเพียบและไม่มีหนี้เลย" เมื่อเกิดภาวการณ์แบบนี้ อย่ารอที่จะขายหุ้นทิ้ง อย่ารอให้เห็นว่าเป็นวัฏจักรขาลงแล้ว เพราะนั่นจะไม่ทันกาล
 
กลุ่มที่สอง ที่มีโอกาสเป็นหุ้นหลายเด้ง คือ "หุ้นฟื้นตัว" นี่คือหุ้นที่ประสบปัญหาการดำเนินงานจนแทบจะเอาตัวไม่รอด หลายๆ บริษัทต้องเข้าแผนฟื้นฟู บางบริษัทหุ้นถูกพักการซื้อขาย ราคาหุ้นจะตกต่ำมาก ดูจาก Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นทั้งบริษัท จะต่ำมากเทียบกับยอดขาย แม้บริษัทจะขาดทุนหนัก และติดต่อกันมานาน แต่กิจการยังดำเนินต่อไป และแข่งขันกับคู่แข่งได้ ยี่ห้อสินค้าของบริษัท ยังเป็นที่ยอมรับของลูกค้า ที่สำคัญ คือ ทรัพย์สินบริษัท เช่น โรงงานและอุปกรณ์ต่างๆ ยังมีค่าและมีคนต้องการ
 
ที่สำคัญประเด็นสุดท้าย คือ หนี้ของบริษัทไม่มากเกินไปเมื่อเทียบกับทรัพย์สินที่มีอยู่ตามราคาตลาด  การซื้อหุ้นแบบนี้  บางครั้งก็ทำได้ยากเพราะปริมาณการซื้อขายหุ้นมีน้อยมากเนื่องจากบริษัทมีขนาดเล็กมากในแง่ของมูลค่าหุ้น  อย่างไรก็ตาม  ถ้าบริษัทเริ่มฟื้นจริงๆ  ราคาหุ้นก็มักจะปรับตัวขึ้นไปสูงและเร็วมาก  บางครั้งปรับตัวเกินพื้นฐานไปด้วยเนื่องจากแรงเก็งกำไรของนักลงทุน  ดังนั้น  เราอาจจะขายทิ้งไปเมื่อหุ้นกำลัง "ร้อนจัด" ดีกว่าที่จะรอซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อฟื้นแล้วบริษัทจะกำไรดีหรือเปล่า
 
หุ้น กลุ่มสุดท้าย ที่จะเป็นหุ้นหลายเด้งได้ คือ "หุ้นโตเร็ว" นี่คือ หุ้นที่เติบโตต่อไปได้ยาวนานไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยโตได้เป็นสองหลักทั้งรายได้และกำไร โดยกำไรจะโตมากกว่ารายได้ เช่น รายได้อาจโต 15% ต่อปี  ขณะที่กำไรจะโตถึง 20% ต่อปีโดยเฉลี่ย ประเด็นสำคัญในการมองหาหุ้นในกลุ่มนี้ คือ การวิเคราะห์คาดการณ์การเติบโต และคุณสมบัติของตัวกิจการ คือ บริษัทต้องโตอย่างแท้จริง เมื่อรายได้และกำไรโตขึ้นแล้ว ต้องไม่ลดลง หรือ "โตอย่างถาวร" ความเสี่ยงที่รายได้และกำไรจะลดลงในอนาคตมีน้อยมาก 
 
ประการต่อมา การโตของบริษัท ไม่ควรต้องลงทุนในสินทรัพย์มาก ถ้าโตได้โดยที่ "แทบไม่ต้องลงทุนเลย" ก็ยิ่งดี แต่ถ้าโตโดยที่ต้องลงทุนมากก็จะเป็นการเติบโตที่ "ไม่มีประโยชน์" เพราะกิจการอาจไม่สามารถจ่ายปันผลได้เพิ่มเติมเนื่องจากเวลามีกำไร จะต้องเอาเงินนั้นไปลงทุนต่อ เงินนั้นไม่มาถึงผู้ถือหุ้นเท่าไรนัก วิธีที่จะดูว่าเป็นการโตที่มีประโยชน์หรือไม่ ก็คือ ดูว่าค่า ROE หรือกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทสูงแค่ไหน ถ้าต่ำกว่า 10% ผมก็คิดว่าเป็นการโตที่ไม่มีประโยชน์ ถ้าสูงกว่า 20% ผมคิดว่าเป็นการโตที่ดีมาก  ข้อมูลอีกตัวหนึ่ง ก็คือ บริษัทที่จะโต ไม่ควรมีหนี้เงินกู้มาก ถ้าจะให้ดีไม่ควรเกิน 1 เท่าของเงินทุนของบริษัท ถ้าโตโดยไม่มีหนี้เลยก็ยิ่งดีใหญ่
 
การซื้อหุ้นบริษัทที่โตเร็ว ควรซื้อยามที่ราคาหุ้นไม่แพง เมื่อซื้อแล้วและราคาหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้นไป อย่ารีบขาย ถือไปเรื่อยไม่ต่ำกว่า 2-3 ปีขึ้นไป ที่จริง 5 ปีขึ้นไปยิ่งดี แต่จุดขายจริงๆ จะเป็นช่วงเวลาที่เติบโตเริ่มชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ หรือบริษัทเริ่มเผชิญกับคู่แข่งที่น่ากลัว การขายหุ้นโตเร็ว ความจำเป็นที่จะต้องขายอย่างรีบเร่งน่าจะน้อยกว่าหุ้นวัฏจักร หรือหุ้นฟื้นตัวมาก เพราะหุ้นโตเร็ว ราคาหุ้นเมื่อการเติบโตเริ่มช้าลง จะค่อยๆ ปรับตัวลงตามช้าๆ มากกว่าจะดิ่งลงเหมือนหุ้นกลุ่มอื่น
 
การเล่นหุ้นหลายเด้ง แม้จะทำให้เรามีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง แต่ความเสี่ยงก็มีอยู่ไม่น้อย ประเด็นก็คือ เราอาจคาดการณ์ผิด เราไม่รู้หรือไม่เข้าใจจริง ที่สำคัญ เราไปฟังการวิเคราะห์ของคนอื่น และเชื่อว่าสิ่งที่เขาพูดถูกต้อง โดยสิ่งที่ทำให้เชื่อ นอกจากเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมและตัวบริษัท ก็คือ ราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นไปแรงพร้อมๆ กับปริมาณการซื้อขายหุ้นที่มากเกินปกติ ลักษณะนี้ แม้สิ่งที่คาดการณ์ไว้เกี่ยวกับกิจการจะเป็นเรื่องจริง แต่ก็จะไม่ได้หุ้นหลายเด้ง ถ้าโชคดี อาจจะได้กำไรบ้าง บางทีอาจจะได้หนึ่งเด้ง แต่ถ้าโชคร้าย  อาจขาดทุนหนักเหมือนกัน คนที่จะได้กำไรหลายเด้ง ต้องเป็นคนที่ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำมาก ก่อนที่หุ้นจะเป็นข่าว หรือเป็นที่กล่าวขวัญถึง และนี่คือ "เซียน" ตัวจริง
 
ผมคงจะจบบทความไม่ได้ถ้าไม่ได้พูดว่า เราไม่ควรคิดลงทุนเฉพาะหุ้นที่อาจจะกลายเป็นหุ้นหลายเด้ง เพราะการทำแบบนั้น เป็นเรื่องอันตราย เพราะจะทำให้พอร์ตมีความเสี่ยงสูงเกินไป อย่าไปคิดว่า จะคาดการณ์ได้ถูกต้อง ที่จริงเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ หรือหาหุ้นหลายๆ เด้งได้ถูกต้อง บ่อยครั้งเราเห็นหุ้นที่กลายเป็นหุ้นหลายเด้งแล้ว จึงมาสรุปถึงเหตุผล แล้วก็คิดว่ารู้ตั้งแต่วันแรก ประสบการณ์ของผม คือ หุ้นหลายเด้งส่วนใหญ่ที่ผมได้ ในวันที่ผมซื้อ ผมไม่รู้และไม่ได้คิดว่า ได้กำไรถึงขนาดนั้น ผมซื้อเพราะกิจการดี และมีราคาที่เหมาะสม น่าจะทำให้ผมกำไรซักปีละ 10-15% ในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่บังเอิญมา "เด้ง" ทีหลัง ผมอยากเรียกว่า เป็นโชคดีที่เกิดจากการทำสิ่งที่ดีมากกว่า

Tags : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
IP : บันทึกการเข้า

กระเจียว
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 721



« ตอบ #47 เมื่อ: วันที่ 30 พฤศจิกายน 2011, 10:23:03 »


  เข้ามาอ่านได้ความรู้มากมายครับ อ่านแล้วสนใจอยากลองเล่นดูมั่งแต่ต้องศึกษาข้อมูลอีกเยอะ ขอใช้ห้องนี้เป็นห้องสมุดเล่นหุ้นละกันนะครับ ขอบคุณพี่ๆมากเลยครับ
IP : บันทึกการเข้า
สมพร1962
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 468



« ตอบ #48 เมื่อ: วันที่ 14 ธันวาคม 2011, 08:24:25 »

ขอบคุณท่านแมงมุมครับ ห้องนี้ได้อัตถรสในการอ่านทุกตอนเลยครับ มีทั้งด้านการลงทุนในหุ้น ทั้งการธนาคารด้านบัญชี ผู้ที่จะเตรียมตัวกู้ธนาคารก็อ่านได้ ผู้ที่จะคิดลงทุนในหุ้นก็อ่านดี สาระความรู้คับห้องนี้จริงๆ

ขอบคุณท่านวัยทองคะนองนาด้วยนะครับ ถามได้ดีมากครับ

ผมไม่ได้วิเคราห์กระทู้นะครับ แต่เป็นคำชื่นชมจากใจจริงๆครับ ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า

ลูกค้าให้ความไว้วางใจ ครอบครัวอยู่รอด
loging
เตรียมอนุบาล
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3



« ตอบ #49 เมื่อ: วันที่ 19 ธันวาคม 2011, 01:39:27 »

ปูพื้นแบบนี้แหละค่ะใช่เลย  เสร็จแล้ว

แล้วรบกวนต่อด้วยนะค่ะ

พวกตัวย่อภาษาอังกฤษต่าง ๆ

จะมาปูเสื่อรออาจารย์ค่ะ

ดีเลยคร๊าบดูไม่เป็นเหมือนกันสงสัยมานานละ ไม่รู้ดูไง ลายตาไปหมด  ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

"คนที่ไม่เคยผิดพลาด คือคนที่ไม่ทำอะไรเลย"
ryo_sakhu
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #50 เมื่อ: วันที่ 16 มกราคม 2012, 10:02:39 »

ขอบคุณครับ อ่านเข้าใจง่ายดี
IP : บันทึกการเข้า
CoffeebyKaewkao
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #51 เมื่อ: วันที่ 07 มีนาคม 2012, 12:47:21 »

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ที่ฉันอยากรู้มานานแล้ว
IP : บันทึกการเข้า
Temujin
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,998


** แบ่งปัน ไม่แบ่งแยก..แตกต่าง ไม่แตกแยก แตกหัก **


« ตอบ #52 เมื่อ: วันที่ 08 มีนาคม 2012, 20:41:08 »

 "หุ้น" ในบางครั้งทฤษฎี กับภาคปฏิบัติมันต่างกันนะครับ อย่าง " หุ้นบุริมสิทธิ์ " ที่ว่าออกเสียงไม่ได้ แต่เอากันจริงๆ

เขาไม่ฟังผู้ถือหุ้นสามัญหรอก ทั้งๆ ทฤษฎี มันใช่ ในบางครั้งผมก็จะคิดว่าเป็นการ " ถือ " ไว้เท่านั้น หรือที่เค้าว่า โฮล ไว้

โอกาสเหมาะแล้วค่อยปล่อย  ในการวิเคราะห์หุ้นบางตัวนั้น ถ้าจะถือยาวๆ อย่าลืมเช็คประวัติผู้บริหารด้วยว่าเค้าเหล่านั้น

มีธรรมมาภิบาลดีพอหรือไม่ ซึ่งต่อให้หุ้นนั้นดีขนาดไหน แต่ถ้ามีการทุจริตกันแล้ว ผู้ถือหุ้นสามัญอย่างเราๆ จะพลอยลำบากกัน

ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ ต้องทำงานหนักหลายเท่าครับ...ต้องทำตัวเป็นต้นอ้อเข้าไว้ในบางครั้งถ้าจำเป็น  ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า

สัตว์มีสัญชาตญาณ   มนุษย์มีวิตจารณญาณ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ (หลัก กาลามสูตร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3)
MRTARS
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #53 เมื่อ: วันที่ 30 มีนาคม 2012, 21:03:00 »


อยู่ในตลาดหุ้น เราทำได้ 2 อย่างครับ

1.) ลงทุนในหุ้น
2.) เก็งกำไร หรือที่เรียกว่า เล่นหุ้น

สองตัวนี้ ดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่ความจริงแล้ว แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

การลงทุนในหุ้น คือการซื้อหุ้นเพื่อคาดหวังเงินปันผล และจะถือหุ้นตัวนั้นยาวไปตลอดจนกว่าพื้นฐานของบริษัทจะเปลี่ยนแปลงไป (ออกแนว VI) ซึ่งการลงทุนในหุ้น เราจะใช้ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ส่วนการเล่นหุ้น คือการซื้อเพื่อคาดหวังส่วนต่างราคาหุ้นเพื่อทำกำไรในระยะสั้นๆ โดยไม่สนใจพื้นฐานของบริษัท จะใช้ การคาดการณ์ เทคนิค เป็นหลัก

ท่านเไหนที่เป็นนักลงทุนในหุ้น ขอแนะนำให้ศึกษาปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่แต่ละท่านในห้องนี้นำมาแบ่งปัน โดยอย่าไปสนใจกับปัจจัยทางเทคนิคมากนัก
และท่านไหนที่เป็นนักเล่นหุ้น ขอให้แนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค

----------------------------------------------------------

หากท่านต้องการซื้อหุ้นของ PTT .....

ท่านไม่สามารถเดิมดุ่มๆไปที่ปั๊มปตท. หรือขึ้นแท็กซี่ไปลงบริษัทPTT ที่อยู่ใกล้ๆกับหมอชิต2 แล้วบอกว่า ขอซื้อหุ้น PTT 10 หุ้น ได้

และเช่นเดียวกัน ท่านไม่สามารถลงรถไฟใต้ดินไปลงที่สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ แล้วโผล่ไปที่ "ที่ทำการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" แล้วบอกว่า ขอซื้อหุ้น PTT 10 หุ้น ได้

สิ่งที่ท่านต้องทำคือ ท่านต้องไป "เปิดบัญชีซื้อขายหุ้น" ก่อน และบัญชีซื้อขายหุ้นนั้น ท่านต้องไปเปิดกับ "บริษัทหลักทรัพย์" หรือที่เราเรียกว่า โบรกเกอร์ ชื่อเล่นว่า "โบรค"

ดังนั้น ตอนนี้ท่านทราบแล้วว่า "ตลาดหลักทรัพย์" กับ "บริษัทหลักทรัพย์" นั้น ไม่ใช่อันเดียวกัน จำไว้นะ ขอย้ำว่ามันไม่ใช่อันเดียวกัน อย่าบ้านนอก...ขอร้อง

ท่านต้องส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นไปที่ บริษัทหลักทรัพย์ แล้วบริษัทหลักทรัพย์ จะส่งคำสั่งของท่านต่อไปยัง ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำคำสั่งซื้อขายของท่านไปเข้าคิวตามกระบวนการซื้อขาย ซึ่งเขียนง่ายๆก็คือ




ก็อาจจะพูดได้ว่าการ  ลงทุนในหุ้น ก็หมายถึงการฝากเงินใช้ไหมครับ (โดยคำนึงถึง technique การทำ port เพื่อกระจายความเสียงมากที่สุด)  ทั้งนี้ผลกำไรที่คาดหวังว่าจะได้ก็ควรจะมากกว่าการลงทนในธนบัตรหรือการฝากเงินในธนาคาร


ส่วนการเล่นหุ้นก็คือการหาส่วนต่าง (Capital Gain) ใช่ไหมครับ



งั้นที่ผมเคยได้ยินมาว่า


Total Yield = Capital Gain Yield + Dividend Yield ก็ไม่มีความหมายสำหรับนักเก็งกำไรใช่ไหมครับ ? เพราโดยนัยยะก็คือนักเก็งกำไรไม่สนใจ Dividend Yield แต่มองแค่ Capital Gain Yield ?

งี้ก็ขัดกับหลัก Econ ที่เด็กๆเขาเรียนสิครับว่าการเก็งกำไร (speculation) เป็นสิ่งไม่ดี
หรือที่ John M. Keynes พูดว่า animal spirit

ตลาดหุ้นที่ทางวิชาการมองว่าเป็นสถานที่ๆคนที่มี excess fund มามองหา required return ก็ไม่จริง เพราะตลาดหุ้นไม่เสถียรในระยะยาวหรอครับ ?



IP : บันทึกการเข้า
วายุ
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 650



« ตอบ #54 เมื่อ: วันที่ 31 มีนาคม 2012, 15:06:42 »

ตอบคุณ  MRTARS
     คุณเข้าใจผิดตั้งแต่แรกแล้วนะครับว่า

ลงทุนในหุ้น ก็หมายถึงการฝากเงินใช้ไหมครับ   การลงทุนก็คือการลงทุนครับ  มันไม่เหมือนการฝากเงินหรอก

ส่วนการเล่นหุ้นก็คือการหาส่วนต่าง (Capital Gain) ใช่ไหมครับ  อันนี้ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ  หากำไรนั่นเอง

ส่วนทฤษฏีที่อีรุงตุงนังเป็นภาษาต่างประเทศข้างล่างนั้น  ผมไม่เข้าใจหรอกครับ  ช่วยอธิบายให้เป็นภาษาไทยด้วยนะครับ  เพราะผมเรียนมาน้อย  ไม่เก่งภาษาอังกฤษครับ  ไม่ได้ยั่วนะครับ  แต่ผมพูดจริงๆ
IP : บันทึกการเข้า

ถึงจะจน       พี่ก็จน      อย่างมีเกียรติ
ถึงจะเครียด  พี่ก็เครียด   อย่างมีหวัง
ถึงจะบ้า       พี่ก็บ้า       อย่างมีพลัง
ถึงจะพัง       พี่ก็พัง       อย่างมีฟอร์ม
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« ตอบ #55 เมื่อ: วันที่ 02 เมษายน 2012, 19:11:17 »


อยู่ในตลาดหุ้น เราทำได้ 2 อย่างครับ

1.) ลงทุนในหุ้น
2.) เก็งกำไร หรือที่เรียกว่า เล่นหุ้น

สองตัวนี้ ดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่ความจริงแล้ว แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

การลงทุนในหุ้น คือการซื้อหุ้นเพื่อคาดหวังเงินปันผล และจะถือหุ้นตัวนั้นยาวไปตลอดจนกว่าพื้นฐานของบริษัทจะเปลี่ยนแปลงไป (ออกแนว VI) ซึ่งการลงทุนในหุ้น เราจะใช้ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ส่วนการเล่นหุ้น คือการซื้อเพื่อคาดหวังส่วนต่างราคาหุ้นเพื่อทำกำไรในระยะสั้นๆ โดยไม่สนใจพื้นฐานของบริษัท จะใช้ การคาดการณ์ เทคนิค เป็นหลัก

ท่านเไหนที่เป็นนักลงทุนในหุ้น ขอแนะนำให้ศึกษาปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่แต่ละท่านในห้องนี้นำมาแบ่งปัน โดยอย่าไปสนใจกับปัจจัยทางเทคนิคมากนัก
และท่านไหนที่เป็นนักเล่นหุ้น ขอให้แนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค

----------------------------------------------------------

หากท่านต้องการซื้อหุ้นของ PTT .....

ท่านไม่สามารถเดิมดุ่มๆไปที่ปั๊มปตท. หรือขึ้นแท็กซี่ไปลงบริษัทPTT ที่อยู่ใกล้ๆกับหมอชิต2 แล้วบอกว่า ขอซื้อหุ้น PTT 10 หุ้น ได้

และเช่นเดียวกัน ท่านไม่สามารถลงรถไฟใต้ดินไปลงที่สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ แล้วโผล่ไปที่ "ที่ทำการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" แล้วบอกว่า ขอซื้อหุ้น PTT 10 หุ้น ได้

สิ่งที่ท่านต้องทำคือ ท่านต้องไป "เปิดบัญชีซื้อขายหุ้น" ก่อน และบัญชีซื้อขายหุ้นนั้น ท่านต้องไปเปิดกับ "บริษัทหลักทรัพย์" หรือที่เราเรียกว่า โบรกเกอร์ ชื่อเล่นว่า "โบรค"

ดังนั้น ตอนนี้ท่านทราบแล้วว่า "ตลาดหลักทรัพย์" กับ "บริษัทหลักทรัพย์" นั้น ไม่ใช่อันเดียวกัน จำไว้นะ ขอย้ำว่ามันไม่ใช่อันเดียวกัน อย่าบ้านนอก...ขอร้อง

ท่านต้องส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นไปที่ บริษัทหลักทรัพย์ แล้วบริษัทหลักทรัพย์ จะส่งคำสั่งของท่านต่อไปยัง ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำคำสั่งซื้อขายของท่านไปเข้าคิวตามกระบวนการซื้อขาย ซึ่งเขียนง่ายๆก็คือ




ก็อาจจะพูดได้ว่าการ  ลงทุนในหุ้น ก็หมายถึงการฝากเงินใช้ไหมครับ (โดยคำนึงถึง technique การทำ port เพื่อกระจายความเสียงมากที่สุด)  ทั้งนี้ผลกำไรที่คาดหวังว่าจะได้ก็ควรจะมากกว่าการลงทนในธนบัตรหรือการฝากเงินในธนาคาร
การลงทุนในหุ้นก็คือการลงทุนในหุ้นครับ ....
การฝากเงินก็คือการฝากเงินครับ ....
แต่ทั้งสองอย่าง คือ วิธีการ "ลงทุน" เหมือนกัน...


ส่วนการเล่นหุ้นก็คือการหาส่วนต่าง (Capital Gain) ใช่ไหมครับ  ใช่ครับ



งั้นที่ผมเคยได้ยินมาว่า


Total Yield = Capital Gain Yield + Dividend Yield ก็ไม่มีความหมายสำหรับนักเก็งกำไรใช่ไหมครับ ? เพราโดยนัยยะก็คือนักเก็งกำไรไม่สนใจ Dividend Yield แต่มองแค่ Capital Gain Yield ?
สำหรับนักเก็งกำไร (ระยะสั้น) Total Yield = Capital Gain Yield ครับ เพราะ เขาไม่ได้ถือหุ้นนานพอจนได้รับเงินปันผล จึงไม่เกิด Dividend Yield ขึ้นมา

งี้ก็ขัดกับหลัก Econ ที่เด็กๆเขาเรียนสิครับว่าการเก็งกำไร (speculation) เป็นสิ่งไม่ดี
หรือที่ John M. Keynes พูดว่า animal spirit
นั่นคือมุมมองของเขาครับ ดีหรือไม่ดี ใครตัดสินครับ และตัดสินที่ตรงไหน



ตลาดหุ้นที่ทางวิชาการมองว่าเป็นสถานที่ๆคนที่มี excess fund มามองหา required return ก็ไม่จริง เพราะตลาดหุ้นไม่เสถียรในระยะยาวหรอครับ ?
มันยังเป็นความจริงครับ ถ้าคุณได้อ่านถึงขั้นรู้ว่า John M. Keynes ให้ความเห็นว่า การเก็งกำไรคือ animal spirit ของมนุษย์ คุณน่าจะรู้ว่าการลงทุนทุกชนิดมีความเสี่ยง แม้แต่การฝากเงินก็ตาม

แม้แต่ชีวิตคนเรายังหาความมั่นคงจริงๆไม่ได้ แล้วจะไปคาดหวังกับความนิ่งของตลาดทุนเหรอครับ







-------------------

ตามนั้นครับ


.
IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
MRTARS
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #56 เมื่อ: วันที่ 02 เมษายน 2012, 20:04:10 »


อยู่ในตลาดหุ้น เราทำได้ 2 อย่างครับ

1.) ลงทุนในหุ้น
2.) เก็งกำไร หรือที่เรียกว่า เล่นหุ้น

สองตัวนี้ ดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่ความจริงแล้ว แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

การลงทุนในหุ้น คือการซื้อหุ้นเพื่อคาดหวังเงินปันผล และจะถือหุ้นตัวนั้นยาวไปตลอดจนกว่าพื้นฐานของบริษัทจะเปลี่ยนแปลงไป (ออกแนว VI) ซึ่งการลงทุนในหุ้น เราจะใช้ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ส่วนการเล่นหุ้น คือการซื้อเพื่อคาดหวังส่วนต่างราคาหุ้นเพื่อทำกำไรในระยะสั้นๆ โดยไม่สนใจพื้นฐานของบริษัท จะใช้ การคาดการณ์ เทคนิค เป็นหลัก

ท่านเไหนที่เป็นนักลงทุนในหุ้น ขอแนะนำให้ศึกษาปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่แต่ละท่านในห้องนี้นำมาแบ่งปัน โดยอย่าไปสนใจกับปัจจัยทางเทคนิคมากนัก
และท่านไหนที่เป็นนักเล่นหุ้น ขอให้แนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค

----------------------------------------------------------

หากท่านต้องการซื้อหุ้นของ PTT .....

ท่านไม่สามารถเดิมดุ่มๆไปที่ปั๊มปตท. หรือขึ้นแท็กซี่ไปลงบริษัทPTT ที่อยู่ใกล้ๆกับหมอชิต2 แล้วบอกว่า ขอซื้อหุ้น PTT 10 หุ้น ได้

และเช่นเดียวกัน ท่านไม่สามารถลงรถไฟใต้ดินไปลงที่สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ แล้วโผล่ไปที่ "ที่ทำการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" แล้วบอกว่า ขอซื้อหุ้น PTT 10 หุ้น ได้

สิ่งที่ท่านต้องทำคือ ท่านต้องไป "เปิดบัญชีซื้อขายหุ้น" ก่อน และบัญชีซื้อขายหุ้นนั้น ท่านต้องไปเปิดกับ "บริษัทหลักทรัพย์" หรือที่เราเรียกว่า โบรกเกอร์ ชื่อเล่นว่า "โบรค"

ดังนั้น ตอนนี้ท่านทราบแล้วว่า "ตลาดหลักทรัพย์" กับ "บริษัทหลักทรัพย์" นั้น ไม่ใช่อันเดียวกัน จำไว้นะ ขอย้ำว่ามันไม่ใช่อันเดียวกัน อย่าบ้านนอก...ขอร้อง

ท่านต้องส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นไปที่ บริษัทหลักทรัพย์ แล้วบริษัทหลักทรัพย์ จะส่งคำสั่งของท่านต่อไปยัง ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำคำสั่งซื้อขายของท่านไปเข้าคิวตามกระบวนการซื้อขาย ซึ่งเขียนง่ายๆก็คือ




ก็อาจจะพูดได้ว่าการ  ลงทุนในหุ้น ก็หมายถึงการฝากเงินใช้ไหมครับ (โดยคำนึงถึง technique การทำ port เพื่อกระจายความเสียงมากที่สุด)  ทั้งนี้ผลกำไรที่คาดหวังว่าจะได้ก็ควรจะมากกว่าการลงทนในธนบัตรหรือการฝากเงินในธนาคาร
การลงทุนในหุ้นก็คือการลงทุนในหุ้นครับ ....
การฝากเงินก็คือการฝากเงินครับ ....
แต่ทั้งสองอย่าง คือ วิธีการ "ลงทุน" เหมือนกัน...


ส่วนการเล่นหุ้นก็คือการหาส่วนต่าง (Capital Gain) ใช่ไหมครับ  ใช่ครับ



งั้นที่ผมเคยได้ยินมาว่า


Total Yield = Capital Gain Yield + Dividend Yield ก็ไม่มีความหมายสำหรับนักเก็งกำไรใช่ไหมครับ ? เพราโดยนัยยะก็คือนักเก็งกำไรไม่สนใจ Dividend Yield แต่มองแค่ Capital Gain Yield ?
สำหรับนักเก็งกำไร (ระยะสั้น) Total Yield = Capital Gain Yield ครับ เพราะ เขาไม่ได้ถือหุ้นนานพอจนได้รับเงินปันผล จึงไม่เกิด Dividend Yield ขึ้นมา

งี้ก็ขัดกับหลัก Econ ที่เด็กๆเขาเรียนสิครับว่าการเก็งกำไร (speculation) เป็นสิ่งไม่ดี
หรือที่ John M. Keynes พูดว่า animal spirit
นั่นคือมุมมองของเขาครับ ดีหรือไม่ดี ใครตัดสินครับ และตัดสินที่ตรงไหน



ตลาดหุ้นที่ทางวิชาการมองว่าเป็นสถานที่ๆคนที่มี excess fund มามองหา required return ก็ไม่จริง เพราะตลาดหุ้นไม่เสถียรในระยะยาวหรอครับ ?
มันยังเป็นความจริงครับ ถ้าคุณได้อ่านถึงขั้นรู้ว่า John M. Keynes ให้ความเห็นว่า การเก็งกำไรคือ animal spirit ของมนุษย์ คุณน่าจะรู้ว่าการลงทุนทุกชนิดมีความเสี่ยง แม้แต่การฝากเงินก็ตาม

แม้แต่ชีวิตคนเรายังหาความมั่นคงจริงๆไม่ได้ แล้วจะไปคาดหวังกับความนิ่งของตลาดทุนเหรอครับ







-------------------

ตามนั้นครับ


.




ขอบคุณทั้งสองท่านมากครับที่ช่วยให้ความรู้กับผม  คือผมยอมรับเลยว่าไม่ได้จบมาทางนี้มา เลยไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ ก็เลยลองให้ผู้รู้ช่วยตรวจสอบว่าผมเข้าใจถูกรึปล่าว


พอดีเวลาก็ผ่านมานานนนมากกก พอผมอ่านกระทู้นี้เลยได้คิดอะไรบางอย่างที่คิดข้างไว้เมื่อนานมาแล้ว


จริงๆที่ผมถามเกี่ยวกับเรื่องของความคล้ายคลึงระหว่างการลงทุนแบบ portfio กับ saving ก็เพราะผมมองว่า ความเสี่ยงกับผลตอบแทนมีความสัมพันธ์ในทางบวกซึ่งกันและกัน กล่าวคือ high risk high return ใช่ไหมครับ   ดังนั้นถ้าตั้งสมมุติฐานว่าเราทำ port  จนกระทั่งสามารถเข้าสู่ non-diversiable risk ได้ก็หมายความว่า ความเสี่ยงของหุ้นนั้นก็จะใกล้กับตลาดหุ้นมาก กล่าวคือต่ำซะจนให้ return ต่ำ แต่ก็มีความเสี่ยงต่ำเช่นเดียวกัน  ซึ่งถ้าพูดอย่างงี้ก็มีความคล้ายกับธนาคาร ซึ่งเป็นที่ๆคนหวัง required return โดยมองว่าความเสี่ยงต่ำกว่า  บางทีการลงทุนในกองทุนก็ใช้หลักการเดียวกันก็คือทำ port ดีๆเพื่อการันตี return ให้ลูกค้า compensate กับความเสี่ยงของเขา อันนี้ผมพอจะเข้าใจถูกไหมครับ ?

อาจจะจำกัดความได้ว่า การถ่ายโอนเงินไปที่ใดที่หนึ่งที่มีความเสี่ยง และความเสี่ยงนี้ก็ถูกทดแทนโดยผลตอบแทนก็คือการลงทุนใช่ไหมครับ ขออ้างคำพูดที่คุณแมงมุมบอกว่าแม้แต่การฝากเงินก็คือรูปแบบหนึ่งของการลงทุน  งั้นถ้ามองกลับกันทำไมการลงทุนถึงไม่ใช่รูปแบบหนึ่งของการฝากเงินล่ะครับ เพราะการฝากเงินก็มีความเสี่ยงและผลตอบแทนเช่นเดียวกันใช่ป่าวครับ ซึ่งทั้งสองกรณีมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ(เพราะหุ้นในperfect portfolio มีแค่nondiversiable risk)?

แต่รูปแบบหนึ่งที่ผมว่าไม่ใช่การฝากเงินอย่างแน่นอนก็คือการเก็งกำไร  เพราะการเก็งกำไรมีความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่จะอยู่ในกรอบคำจำกัดความของการฝากเงิน  กล่าวคือการเก็งกำไรนั้นไม่เสถียรเพราะไม่แน่นอน  ที่คุณแมงมุมถามว่าใครตัดสินความดีหรือไม่ดี ถ้าตัดสินผ่านกรอบความเสถียรภาพ  การspeculate ย่อมไม่ดีเพราะทำให้ nondiversiable risk ของคนที่ประสงค์จะลงทุนนั้นกว้างขึ้น เนื่องจากทำให้ตลาดทั้งตลาดในภาพรวมไม่เสถียร
อีกนัยยะก็คือ สร้างความเสี่ยงให้ทั้งตนและผู้คนรอบข้าง เพื่อหวังให้ return ของตนเพิ่มขึ้น


ไม่ได้คาดหวังอะไรกับความนิ่งของตลาดทุนหรอกครับ  แต่มนุษย์เราเกิดมาก็ต้องการหลักแหล่งและความสงบ  สิ่งเหล่านี้ถึงแม้ในความเป็นจริงเราไม่สามารถที่จะหามาได้เลย แต่อย่างน้อยเราก็ควรที่จะทำให้ดีที่สุดครับ  
 




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 02 เมษายน 2012, 20:14:19 โดย MRTARS » IP : บันทึกการเข้า
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« ตอบ #57 เมื่อ: วันที่ 03 เมษายน 2012, 07:51:52 »


ขอบคุณทั้งสองท่านมากครับที่ช่วยให้ความรู้กับผม  คือผมยอมรับเลยว่าไม่ได้จบมาทางนี้มา เลยไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ ก็เลยลองให้ผู้รู้ช่วยตรวจสอบว่าผมเข้าใจถูกรึปล่าว


พอดีเวลาก็ผ่านมานานนนมากกก พอผมอ่านกระทู้นี้เลยได้คิดอะไรบางอย่างที่คิดข้างไว้เมื่อนานมาแล้ว


จริงๆที่ผมถามเกี่ยวกับเรื่องของความคล้ายคลึงระหว่างการลงทุนแบบ portfio กับ saving ก็เพราะผมมองว่า ความเสี่ยงกับผลตอบแทนมีความสัมพันธ์ในทางบวกซึ่งกันและกัน กล่าวคือ high risk high return ใช่ไหมครับ   ดังนั้นถ้าตั้งสมมุติฐานว่าเราทำ port  จนกระทั่งสามารถเข้าสู่ non-diversiable risk ได้ก็หมายความว่า ความเสี่ยงของหุ้นนั้นก็จะใกล้กับตลาดหุ้นมาก กล่าวคือต่ำซะจนให้ return ต่ำ แต่ก็มีความเสี่ยงต่ำเช่นเดียวกัน  ซึ่งถ้าพูดอย่างงี้ก็มีความคล้ายกับธนาคาร ซึ่งเป็นที่ๆคนหวัง required return โดยมองว่าความเสี่ยงต่ำกว่า  บางทีการลงทุนในกองทุนก็ใช้หลักการเดียวกันก็คือทำ port ดีๆเพื่อการันตี return ให้ลูกค้า compensate กับความเสี่ยงของเขา อันนี้ผมพอจะเข้าใจถูกไหมครับ ?
ถูกครับ

อาจจะจำกัดความได้ว่า การถ่ายโอนเงินไปที่ใดที่หนึ่งที่มีความเสี่ยง และความเสี่ยงนี้ก็ถูกทดแทนโดยผลตอบแทนก็คือการลงทุนใช่ไหมครับ
ใช่ครับ

ขออ้างคำพูดที่คุณแมงมุมบอกว่าแม้แต่การฝากเงินก็คือรูปแบบหนึ่งของการลงทุน  งั้นถ้ามองกลับกันทำไมการลงทุนถึงไม่ใช่รูปแบบหนึ่งของการฝากเงินล่ะครับ
การฝากเงิน เป็นหนึ่งในหลายๆวิธีในการลงทุน
คล้ายๆกับ อำเภอเมืองเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย นั่นคือ จังหวัดเชียงรายไม่ได้มีแค่อำเภอเมือง ครับ


เพราะการฝากเงินก็มีความเสี่ยงและผลตอบแทนเช่นเดียวกันใช่ป่าวครับ ซึ่งทั้งสองกรณีมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ(เพราะหุ้นในperfect portfolio มีแค่nondiversiable risk)?
ใช่ครับ

แต่รูปแบบหนึ่งที่ผมว่าไม่ใช่การฝากเงินอย่างแน่นอนก็คือการเก็งกำไร  เพราะการเก็งกำไรมีความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่จะอยู่ในกรอบคำจำกัดความของการฝากเงิน  กล่าวคือการเก็งกำไรนั้นไม่เสถียรเพราะไม่แน่นอน  ที่คุณแมงมุมถามว่าใครตัดสินความดีหรือไม่ดี ถ้าตัดสินผ่านกรอบความเสถียรภาพ  การspeculate ย่อมไม่ดีเพราะทำให้ nondiversiable risk ของคนที่ประสงค์จะลงทุนนั้นกว้างขึ้น เนื่องจากทำให้ตลาดทั้งตลาดในภาพรวมไม่เสถียร
อีกนัยยะก็คือ สร้างความเสี่ยงให้ทั้งตนและผู้คนรอบข้าง เพื่อหวังให้ return ของตนเพิ่มขึ้น
ถ้าไปตัดสินในมุมมองของความเสี่ยง การเก็งกำไรย่อมไม่ดีครับ


ไม่ได้คาดหวังอะไรกับความนิ่งของตลาดทุนหรอกครับ  แต่มนุษย์เราเกิดมาก็ต้องการหลักแหล่งและความสงบ  สิ่งเหล่านี้ถึงแม้ในความเป็นจริงเราไม่สามารถที่จะหามาได้เลย แต่อย่างน้อยเราก็ควรที่จะทำให้ดีที่สุดครับ  
ดังนั้น จึงไม่ต้องคาดหวังว่าตลาดการเงินจะเสถียรครับ
 






----------------------

การฝากเงิน หมายความว่า การฝากเงินธนาคารครับ

.
IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
วายุ
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 650



« ตอบ #58 เมื่อ: วันที่ 05 เมษายน 2012, 15:47:42 »

เข้ามาเสริมท่านแมงมุมหน่อย

ในความเห็นของผมแล้ว  ผมว่า  การฝากเงินคือรูปแบบหนึ่งของการลงทุนครับ  เพราะเราหวังผลตอบแทนจากเงินที่เรามีอยู่

แต่การลงทุน  มันมิใช่การฝากเงินครับ  เพราะเราไม่สามารถรับประกันได้ว่า  ท้ายที่สุดแล้ว  เราจะได้รับเงินเต็มจำนวนเท่ากับตอนที่เราเอามาลงทุนเหมือนกับการฝากเงิน
IP : บันทึกการเข้า

ถึงจะจน       พี่ก็จน      อย่างมีเกียรติ
ถึงจะเครียด  พี่ก็เครียด   อย่างมีหวัง
ถึงจะบ้า       พี่ก็บ้า       อย่างมีพลัง
ถึงจะพัง       พี่ก็พัง       อย่างมีฟอร์ม
Temujin
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,998


** แบ่งปัน ไม่แบ่งแยก..แตกต่าง ไม่แตกแยก แตกหัก **


« ตอบ #59 เมื่อ: วันที่ 06 เมษายน 2012, 19:53:30 »

  สำหรับการฝากเงินกับธนาคารนั้น ตอนนีั้ก็เริ่มมีความเสี่ยงกันบ้างแล้ว เพราะสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

จะมีการคุ้มครองเงินที่ฝากน้อยลง ๆ  กระทั่งเหลือ ๑ ล้านบาทในอีกไม่กี่เพลาอันใกล้นี้ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้

และถ้าเศรษฐกิจโลกและของเรากลับมาเป็นเหมือนปี ๓๙-๔๐ รับรองหายแน่ๆ จะนำบัญชีไปเบิกที่ธนาคารกรุงไทยอีกไม่ได้แล้ว... ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 เมษายน 2012, 07:53:03 โดย Temujin » IP : บันทึกการเข้า

สัตว์มีสัญชาตญาณ   มนุษย์มีวิตจารณญาณ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ (หลัก กาลามสูตร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3)
หน้า: 1 2 [3] 4 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!