เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันที่ 28 มีนาคม 2024, 17:02:21
หน้าแรก ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก



  • ข้อมูลหลักเว็บไซต์
  • เชียงรายวันนี้
  • ท่องเที่ยว-โพสรูป
  • ตลาดซื้อขายสินค้า
  • ธุรกิจบริการ
  • บอร์ดกลุ่มชมรม
  • อัพเดทกระทู้ล่าสุด
  • อื่นๆ

ประกาศ !! กรุณาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ : https://forums.chiangraifocus.com/index.php?topic=1025412.0

+  เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย
|-+  ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย
| |-+  นักลงทุน การเงิน การธนาคาร
| | |-+  Fundamental analysis ;; ปูพื้นฐานหุ้น สำหรับนักลงทุนมือใหม่ ...
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 4 พิมพ์
ผู้เขียน Fundamental analysis ;; ปูพื้นฐานหุ้น สำหรับนักลงทุนมือใหม่ ...  (อ่าน 71449 ครั้ง)
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2011, 13:16:33 »

.

มีเสียงเรียกร้องแม้แต่เสียงเดียา ผมก็จัดให้ เพราะผมเป็นคนบ้าเวบบอร์ด หุหุ

"การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลประกอบการในอดีตไม่สามารถนำมาทำนายผลประกอบการในปัจจุบันได้"

------------------------------------

หุ้น คืออะไร......??


สมมติว่า ท่านมีความคิดที่จะเปิดร้านหมูกระทะ ต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 1 ล้านบาท

แต่ท่านมีเงินเพียง 500,000.-บาท

ท่านไม่ชอบกู้เงิน ท่านจะทำอย่างไรครับ??

ทางเลือกหนึ่งที่ทำได้คือ .... หาเพื่อนมา 5 คน เอามันมาร่วมลงทุนด้วย

เพื่อน 5 คน ลงทุนคนละ 1แสนบาท

รวมกับเงินของท่าน อีก 500,000 บาท เป็น 1 ล้านบาทพอดี

ท่านสามารถเปิดร้านหมูกระทะได้แล้ว

และแน่นอนว่า ท่านไม่ใช่เจ้าของร้านแต่เพียงผู้เดียว เพราะเพื่อนของท่าน ต่างมีเงินลงทุนร่วมด้วย

ถ้าแบ่งร้านหมูกระทะออกเป็น 10 ส่วน .....  ท่านเป็นเจ้าของ 5 ส่วน เพื่อนท่านเป็นเจ้าของอีก คนละ 1 ส่วน

ถ้าแบ่งร้านหมูกระทะออกเป็น 100 ส่วน .....  ท่านเป็นเจ้าของ 50 ส่วน เพื่อนท่านเป็นเจ้าของอีก คนละ 10 ส่วน

ถ้าแบ่งร้านหมูกระทะออกเป็น 1,000 ส่วน .....  ท่านเป็นเจ้าของ 500 ส่วน เพื่อนท่านเป็นเจ้าของอีก คนละ 100 ส่วน

ถ้าแบ่งร้านหมูกระทะออกเป็น 10,000 ส่วน .....  ท่านเป็นเจ้าของ 5,000 ส่วน เพื่อนท่านเป็นเจ้าของอีก คนละ 1,000 ส่วน

ถ้าแบ่งร้านหมูกระทะออกเป็น 1ล้าน ส่วน .....  ท่านเป็นเจ้าของ 500,000 ส่วน เพื่อนท่านเป็นเจ้าของอีก คนละ 100,000 ส่วน

--------------------------

ไอ้เจ้า "ส่วนความเป็นเจ้าของ"  นี่แหละครับ ที่เรียกว่า หุ้น

และแน่นอน ว่ามันสามารถซื้อขายกันได้

ทันทีที่ท่านซื้อหุ้น....นั่นหมายความว่าท่านเป็นเจ้าของธุรกิจ

หากท่านเป็นเจ้าของธุรกิจที่ดี .... ก็ดีไป

แต่ถ้าท่านเข้าไปเลือกซื้อหุ้นบริษัทที่ไม่ดี....นำไปสู่การขาดทุน

ท่านต้องเข้าไปมีความเสี่ยงต่างๆของธุรกิจนั้น มีโอกาสได้กำไร และ ขาดทุน ทันที

ดังนั้น จึงมีคำเตือนว่าการลงทุนมีความเสี่ยงนั่นเอง

----------------------------

คราวหน้ามาต่อกันเรื่อง ทำไมหุ้นถึงขึ้นและลง

.

..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2012, 17:10:50 โดย วัยทองคะนองรัก » IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
vee48
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 23 มิถุนายน 2011, 13:21:34 »

ขอบคุณอย่างสูงค่ะ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
moojangjang
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 328



« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 24 มิถุนายน 2011, 14:49:29 »

ได้รับความรู้ ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 09:31:49 »

.

เอาล่ะ....ในเมื่อเรารู้แล้วว่าหุ้นคืออะไร (หรือว่ายังไม่มีใครรู้ - -)

ทีนี้เราจะมาดูว่า อะไรทำให้หุ้นขึ้น หรือ ลง ครับ

มีอยู่แค่ 2 สาเหตุ ที่ทำให้หุ้นขึ้นและลง

1.) อุปสงค์ หรือ ความต้องการซื้อ  ----  หลักง่ายๆครับ อะไรที่คนอยากได้ อยากซื้อ มันก็ราคาแพง ดังนั้น ถ้าคนต้องการซื้อหุ้นนี้มากๆ หุ้นก็ราคาสูงขึ้น

2.) อุปทาน หรือความต้องการขาย --- เหมือนกัน ถ้าคนเทหุ้นขายมาเยอะๆ ของที่คนต้องการขาย ราคาก็จะ ถูกลง

-------------------

แล้วอะไรล่ะ ที่กำหนดให้คนต้องการซื้อหรือขายหุ้น

ความจริงมันมีปัจจัยมากมายที่สามารถกระทบต่อราคาหุ้นได้ จนนักวิเคราะห์บางคนเค้าบอกว่า หุ้นอ่อนไหวและเข้าใจยากกว่าผู้หญิง

ผมจะอธิบายแค่ปัจจัยหลักๆก็พอ คงไม่ต้องให้ผมเขียนหมด ไม่งั้น เมื่อยมือตายชัก

อันดับแรกสุดคือ

--- กำไรต่อหุ้น --- 
หุ้นไหนกำไรต่อหุ้นสูง ก็แปลว่าหุ้นนั้นดี พอหุ้นดี คนก็อยากได้ พอคนอยากได้ หุ้นก็ราคาแพงครับ
ในทางตรงข้าม หุ้นไหนขาดทุน คงไม่มีใครต้องการถือ พอคนไม่ต้องการถือ ก็เกิดการขายหุ้นลงมา เมื่อขายมากๆ ราคาก็ร่วงครับ


--- อัตราดอกเบี้ย ---
อัตราดอกเบี้ย หรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์อื่นๆ
ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เค้าบอกว่า ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูง หุ้นจะลง และถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำๆ หุ้นจะขึ้น
ยกตัวอย่างง่ายๆ
หุ้น ราคาตัวละ 100บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 10 บาท เท่ากับว่าหุ้นนี้มีอัตราผลตอบแทน 10% ต่อปี
แล้วสมมติว่า ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เท่ากับ 10% ต่อปีเช่นกัน
มีคำถามว่า ท่านจะเลือกถือหุ้น หรือฝากเงินครับ
เป็นผม ผมก็ฝากเงิน แหะๆ 10%เท่ากัน แต่ความเสี่ยงต่างกันเยอะเลย
ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เหมือนตัวอย่างขึ้น คนจะเทขายหุ้นออกมาเอาเงินมาฝาก จนราคาหุ้นลดลง


--- ความเสี่ยง ---
นักการเงินบอกว่า "ผลตอบแทนสูงจะมาคู่กับความเสี่ยงที่สูง"
หุ้นไหนมีความเสี่ยงสูง ราคาหุ้นจะลดลง จนทำให้ผลตอบแทนจากหุ้นตัวนั้นปรับสูงขึ้นมา
อ้าว!! งงใช่มั้ยครับ ราคาร่วงลง แต่ทำไมผลตอบแทนสูงขึ้น
ยกตัวอย่างให้ก็ได้
บริษัทA มีรายได้ผูกขาดจากการขายพลังงาน  ราคาหุ้นA ตัวละ 100 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 10บาท เท่ากับผลตอบแทน 10/100 = 10% ต่อปี
บริษัทB มีรายได้จากการขายสบู่ คู่แข่งเยอะ สินค้าเลียนแบบง่าย ราคาหุ้น B ตัวละ100 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 10บาท เท่ากับว่าหุ้นนี้ให้ผลตอบแทน 10/100 = 10% ต่อปี

มันไม่สามารถเป็นไปได้ เพราะว่าไม่มีนักลงทุน(ที่มีความรู้)คนไหนที่จะยอมรับผลตอบแทน 10% เท่ากันทั้ง 2 หุ้น
ใครที่จะถือหุ้น หุ้นA ควรมีผลตอบแทนน้อยกว่าหุ้น B
เพราะบริษัทA มีความมั่นคง มีความเสี่ยงน้อยกว่า บริษัทBดังนั้น สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นคือ
คนจะเทขายหุ้น B ทิ้ง แล้วจะซื้อหุ้น A มากขึ้น ทำให้ราคาหุ้นA จะเพิ่มขึ้น และราคา B จะลดลง

A ราคาจะขึ้นเป็น 120 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 10 บาท คิดเป็นผลตอบแทน 10/120 = 8.33%
B ราคาจะลดลงเป็น 60 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 10 บาท คิดเป็นผลตอบแทน 10/60 = 16.67%

ดังนั้น หหุ้นไหนความเสี่ยงสูง ราคาจะลดลง(ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น) หุ้นไหนที่ความเสี่ยงต่ำราคาเพิ่มขึ้น(ผลตอบแทนลดลง)


--- ปัจจัยอื่นๆ ---
เช่นการเมือง ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจ การคาดการณ์ ข่าว ฯลฯ ต่างมีผลต่อราคาหุ้นทั้งสิ้น

--------------------------------

พอละ ปวดมือ คราวหน้ามาว่ากันในเรื่องของงบการเงินเบื้องต้น

.


IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
singhato
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 697



« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 25 มิถุนายน 2011, 12:18:35 »

แหล่มเลยครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
Vanda dou
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 30 มิถุนายน 2011, 00:38:53 »

รอติดตามอยู่ค่ะท่าน ตกใจ ยิงฟันยิ้ม
IP : บันทึกการเข้า
marcus147
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 02 กรกฎาคม 2011, 01:49:39 »

เยี่ยมเลยครับ
เข้าใจง่าย ได้ความรู้
IP : บันทึกการเข้า
เพชรพลอยผ้าม่าน
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,928


เพชรพลอยผ้าม่าน


« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 03 กรกฎาคม 2011, 10:17:16 »

ปูพื้นแบบนี้แหละค่ะใช่เลย  เสร็จแล้ว

แล้วรบกวนต่อด้วยนะค่ะ

พวกตัวย่อภาษาอังกฤษต่าง ๆ

จะมาปูเสื่อรออาจารย์ค่ะ
IP : บันทึกการเข้า

บริการที่ดี และจริงใจคือสิ่งที่เพชรพลอยผ้าม่านจะมอบให้คุณ
088-2672602
Line-ID-0882672602
ติดตามผลงานได้ที่ facebook: เพชรพลอย ผ้าม่าน
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 04 กรกฎาคม 2011, 17:28:47 »

งบการเงิน (Financial Statement)
หมายถึง รายงานข้อมูลทางการเงินที่ได้จัดทำขึ้นจากข้อมูลทางการเงินที่กิจการได้จดบันทึกไว้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินการ ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะ

การเงินของกิจการในรอบระยะเวลานั้นๆ

งบการเงิน มีอยู่ 3แบบ คือ

1.) งบดุล
2.) งบกำไรขาดทุน
3.) งบกระแสเงินสด

งบดุล
คืองบที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง
งบดุล แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1.) สินทรัพย์ = สิ่งที่มีตัวตน และไม่มีตัวตน ซึ่งกิจการสามารถใช้หาผลประโยชน์ หรือมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น เงินสด สินค้าคงเหลือ หุ้นหรือตราสารที่กิจการซื้อไว้ ตึก อาคาร ลิขสิทธิ์ที่ซื้อไว้
สินทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1.1) สินทรัพย์หมุนเวียน  คือสินทรัพย์ที่ใช้แล้วหมดไปภายในเวลา 1 ปี เราจะเรียกว่าสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง ก็ได้
1.2) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ก็จะตรงข้ามกัน
2.) หนี้สิน = ภาระผูกพันที่กิจการจะต้องชดใช้ในอนาคต เช่น เจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงิน เงินกู้ธนาคาร หุ้นกู้ที่กิจการออกจำหน่าย เงินกู้ธนาคาร หนี้สินแบ่งออกเป็น 2ชนิด คือ
2.1) หนี้สินหมุนเวียน คือหนี้สินที่มีกำหนดชำระภายใน 1ปี
2.2) หนี้สินไม่หมุนเวียน คือหนี้สินที่มีกำหนดชำระเกิน 1ปี
3.) ทุน หรือ ส่วนของเจ้าของ = มูลค่าคงเหลือของกิจการหลังหักภาระผูกพันต่างๆออกหมดแล้ว เช่น หุ้นสามาญ กำไร(ขาดทุน)สะสม หุ้นบุริมสิทธิ์

สมการบัญชีขั้นต้นคือ

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

เอาง่ายๆละกันครับ

สมมติว่า ท่าซื้อรถยนต์มาคันนึง ราคา 1 ล้านบาท ดาวน์ 3แสนบาท แปลว่าท่านต้องผ่อนรถอีก 7แสนบาท

1ล้าน คือรถของท่าน เป็นสินทรัพย์
ซึ่ง รถราคา 1ล้านคันนี้ เป็นหนี้สิน 7 แสนบาท แลถท่านเป็นเจ้าของรถคันนี้จริงๆแค่ 3แสนบาท
หวังว่าคงเข้าใจนะครับ

เราสามารถนำงบดุลของกิจการมาประเมินถึงสถานะกิจการได้ในเรื่องของความเสี่ยง สภาพคล่อง ความมั่นคง ฯลฯ ตามแต่ความสามารถในการวิเคราะห์ของแต่ละคน ซึ่งผมจะไม่นำเสนอนะครับ ไม่งั้นเรื่องยาว

รูปแสดงงบดุลง่ายๆ



* BS.JPG (49.52 KB, 548x462 - ดู 8934 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 04 กรกฎาคม 2011, 22:18:59 โดย แมงมุม » IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
วายุ
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 650



« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 05 กรกฎาคม 2011, 15:27:45 »

เพิ่มเติมงบการเงิน
     จากตัวอย่างที่ให้ไว้  เงินสดเป็นสิ่งที่เราหยิบจับได้จริงๆ  มีตัวตนและมีอยู่จริง

-ส่วนลูกหนี้การค้า  เราก็ต้องดูด้วยว่า  ลูกหนี้ของบริษัทนั้น  มีประสิทธิภาพในการชำระหนี้แค่ไหน

-สินค้าคงเหลือ  เราต้องดูด้วยว่า  บริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร  ถ้าเป็นเหล็ก-ปูน-น้ำมัน  สินค้านั้นสามารถนำไปทำอะไรได้อีกเยอะ  เพราะฉะนั้นไม่ค่อยเสี่ยง  มันเสี่ยงก็แต่ราคาของมันว่าจะขึ้นหรือลง  แต่ถ้าสินค้านั้นเป็นพวกเกี่ยวกับของเทคโนโลยีไฮเทค  ซึ่งอุตสาหกรรมนี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก  แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า  สินค้าที่เหลืออยู่  มีราคาเท่าที่ลงไว้จริง  อันนี้ต้องสืบด้วยนะครับ  เพราะไม่แน่  สินค้าที่ค้างอยู่เพียงแค่ 6 เดือน  ก็อาจจะไม่มีใครซื้อแล้วก็ได้

-เครื่องใช้สำนักงานก็เหมือนกัน  ของที่ใช้แล้ว  ค่ามันจะลดลง  มันคงมีค่าไม่เท่ากับที่ลงไว้จริง

-ที่ดิน  ค่ามันอาจจะเพิ่มขึ้น

-ในด้านขวาของงบซึ่งเป็นหนี้สิน  อันนี้ไม่ใช้สตั๊น  เจ็บจริง  จ่ายจริง  ของแท้แน่นอนครับ  อย่าลืมหักลบกันให้ดีล่ะ
IP : บันทึกการเข้า

ถึงจะจน       พี่ก็จน      อย่างมีเกียรติ
ถึงจะเครียด  พี่ก็เครียด   อย่างมีหวัง
ถึงจะบ้า       พี่ก็บ้า       อย่างมีพลัง
ถึงจะพัง       พี่ก็พัง       อย่างมีฟอร์ม
bank007
ชั้นประถม
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 385


Life of Coffee Lovers ชีวิตของคนรักกาแฟ


« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 06 กรกฎาคม 2011, 16:07:47 »

ว้าว สุดยอดเข้ามากระทู้นี้ได้ความรุ้มากมาย จะรออ่านนะครับ เผื่อมีเงินจะได้ลงทุนเล่นหุ้นกับเขามั้ง ยิ้มเท่ห์
IP : บันทึกการเข้า
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 15 กรกฎาคม 2011, 09:24:49 »

ต่องบดุล ในส่วนด้านขวา

ด้านขวา ในทางการเงินเราเรียกว่า แหล่งเงินทุน

เพราะเราเอาเงินจากด้านขวาของงบ มาลงในด้านซ้ายของงบ

เช่น กู้เงินมาซื้อที่ดิน เป็นต้น

อย่าลืมว่า สัจธรรมบนโลกนี้คือ ไม่มีอะไรฟรี

ดังนั้น แหล่งเงินทุนจึงมีสิ่งที่เรียกว่า "ต้นทุนของเงินทุน" เสมอ

กิจการไหนที่ต้นทุนเงินทุนต่ำ และความเสี่ยงของเงินทุนต่ำ ก็มีโอกาสที่จะอยู่รอดปลอดภัยบนโลกธุรกิจใบนี้

ในทางตรงข้าม บริษัทไหนที่ต้นทุนเงินสูง ความเสี่ยงของแหล่งเงินทุนสูง ก็อาจจะล้มง่าย

อย่าลืมว่า ความเสี่ยงก็เป็นตัวกำหนดราคาหุ้นนะครับ หุหุ

ลองยกตัวอย่างต้นทุนของเงินทุนซิ.....ได้เลย

ถ้ากิจการมีแหล่งเงินทุนมาจากการกู้ยืม ต้นทุนของเงินกู้ก็คือ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้เจ้าหนี้
ถ้ากิจการไหนที่มีแหล่งเงินทุนมาจากส่วนของเจ้าของ เช่นการออกหุ้นทุน ต้นทุนของการออกหุ้นคือ ปันผลที่ต้องจ่ายให้ผู้ถือหุ้น

ความเสี่ยงของแหล่งเงินทุนคือ
ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจ่ายเงินคืนให้กับแหล่งเงินทุน เช่นกู้มาแล้วไม่มีความสามารถในการชำระ หรือ หมุนเงินไม่ทัน เลยจ่ายเงินปันผลไม่ได้ เป็นต้น

เอาล่ะ มาลงรายละเอียดเล้กน้อยของงบดุลฝั่งขวากัน

หนี้สิน คือภาระผูกพันที่กิจการต้องจ่ายชำระในอนาคต
หนี้สินหมุนเวียน คือหนี้สินที่ต้องมาชำระภายใน 1 ปี เช่น เจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงินจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย  แหล่งเงินทุนตัวนี้ ต้นทุนต่ำครับ แต่ความเสี่ยงสูง เพราะต้องจ่ายคืนภายในเวลาที่สั้น
หนี้สินไม่หมุนเวียน คือหนี้สินที่กิจการมีกำหนดชำระเกิน 1 ปี เช่น หุ้นกู้ เงินกู้ระยะยาว ตัวนี้ต้นทุนสูงขึ้นมาหน่อย แต่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำกว่า เพราะกำหนดการจ่ายเงินคืน ค่อนข้างนานกว่า

ส่วนของเจ้าของ ก็คือ ส่วนของสินทรัพย์ที่หักภาระหนี้สินต่างๆแล้ว

หลักๆก็มี หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นสามัญ และกำไร(ขาดทุน)สะสม
แหล่งเงินทุนตัวนี้ ต้นทุนสูงครับ สูงมากด้วย แต่ความเสี่ยงก็ต่ำ เพราะว่าถ้าบริษัทไม่มีกำไร ก็ไม่ต้องจ่ายปันผล แต่ในขณะที่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้อยู่

จบงบดุล มีไรถามมาได้นะ

----------------------------------

งบตัวสุดท้ายที่จะเอามาให้ดูคือ งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุน ชื่อก็บอกอยู่แล้ว ว่าแสดงถึงกำไรขาดทุนในแต่ละงวดบัญชี

งวดบัญชี ก็คือระยะเวลา ของการปิดบัญชีเป็นรอบๆ

บางบริษัท งวดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม บางบริษัทก็ 31เมษายน

แต่ส่วนใหญ่ ปีสิ้นสุดบัญชีก็คือ 31 ธันวาคม ง่ายๆ

องค์ประกอบของงบกำไรขาดทุน หลักๆเป็นดังนี้

ยอดขาย = คงไม่ต้องแปลว่ามันคืออะไร ยอดขายแบ่งออกเป็นทั้ง ยอดขายสด และยอดขายเชื่อ ... แน่นอนว่า ธุรกิจต่างๆย่อมต้องการยอดขายเป็นเงินสด เพราะสามารถทำเงินที่ได้ไปหมุนทำธุรกิจต่อ แต่ยอดขายเชื่อก็จำเป็น เนื่องจากมันใช้ล่อลูกค้าให้มาซื้อได้ ตัวเลขนี้บอกความสามารถของฝ่ายการตลาดของบริษัท

ต้นทุนสินค้า = นอกจากจะเป็นต้นทุนการผลิต หรือต้นทุนซื้อ ยังรวมถึงต้นทุนของเสีย ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง ค่าวัตถุดิบ ฯลฯ ตัวเลขต้นทุน บอกถึงความสามารถในการบริหารต้นทุนของฝ่ายผลิต

ค่าใช้จ่ายดำเนินการ = ค่าน้ำ ค่าไฟ เงินเดือนพนักงาน(ในฝ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต) เงินเดือนผู้บริหาร ค่าโฆษณา โบนัส  พูดง่ายๆคือ ค่าใช้จ่ายทางอ้อมต่างๆ ตัวเลขนี้บอกถึงความมีประสิทธิภาพของฝ่ายบริหาร

ดอกเบี้ย = บางครั้งธุรกิจมีการกู้ยืม ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย เป็นการวิเคราะห์ถึงความเสี้ยง และความสามารถในการจัดหาเงินทุนของบริษัท

ภาษี = คงไม่แปลนะครับ

ยอดขายเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว สุดท้ายคือ กำไรสุทธิ ตัวนี้แหละ ที่นักลงทุนคาดหวังว่าจะได้มากๆ เพราะ กำไรสุทธิจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรก จ่ายเป็นเงินปันผล ส่วนที่สอง เก็บไว้เป็นกำไรสะสมเอาไว้ใช้บริหารงานในปีต่อไป

ดูตัวอย่างงบกำไรขาดทุน

-----------จบ งบกำไรขาดทุน-----------

คราวหน้าต่อเรื่องอะไรดี....?? ยังนึกไม่ออก อยากให้ต่อเรื่องอะไรก็คอมเม้นท์มานะฮับ


* IS.JPG (39.17 KB, 407x374 - ดู 7270 ครั้ง.)
IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
Atermist
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 15 กรกฎาคม 2011, 10:29:52 »

ผมติดตาม ครับ ผมชอบมากครับ คุณแมงมุม เขียน ภาษาง่ายๆ และ เข้าใจได้เห็นภาพชัดเจน
IP : บันทึกการเข้า
Cupid
ระดับ :ป.โท
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,941


Experience is the best teacher.


« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 15 กรกฎาคม 2011, 11:29:45 »


นักลงทุนมือใหม่ หรือเก่า ก็ควรศึกษาไว้ครับ อ่านบ่อยๆจะได้เข้าใจ ผมเอง เมื่อก่อนเข้าตลาดฯ ก็อ่าน
จากหนังสือที่ซื้อมา และที่ห้องสมุดหลายรอบ ระยะหลังไม่ค่อยได้อ่าน ท่านแมงมุมมาเปิดกระทู้นี้ จึง
ได้เข้ามาอ่าน หนังสือที่มีอยู่ตอนนี้จึงไม่ค่อยได้เปิด

ท่านที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางบัญชีอย่างผม ต้องอ่านกันหลายรอบครับ
IP : บันทึกการเข้า
วายุ
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 650



« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 15 กรกฎาคม 2011, 15:51:32 »

งั้นท่านก็เอางบกระแสเงินสดมาเลยสิครับ  น้องๆจะได้รู้
IP : บันทึกการเข้า

ถึงจะจน       พี่ก็จน      อย่างมีเกียรติ
ถึงจะเครียด  พี่ก็เครียด   อย่างมีหวัง
ถึงจะบ้า       พี่ก็บ้า       อย่างมีพลัง
ถึงจะพัง       พี่ก็พัง       อย่างมีฟอร์ม
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« ตอบ #15 เมื่อ: วันที่ 15 กรกฎาคม 2011, 22:15:00 »

งบกระแสเงินสด ผมไม่เชี่ยวชาญนะครับ วิเคราะห์ไม่ค่อยออก เลยไม่กล้าเอามาลง กลัวผิด
IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
น้าวัยทองฯ
แฟนพันธ์แท้
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,913



« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 15 กรกฎาคม 2011, 22:52:47 »

เอามาลงเถอะครับ

ผิดถูกยังไง จะได้มาช่วยกันอธิบาย

ผมก็จะได้ศึกษาไปด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 ธันวาคม 2011, 22:18:40 โดย วัยทองคะนองรัก » IP : บันทึกการเข้า

วายุ
มัธยม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 650



« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2011, 19:47:54 »

ถึงท่านแมงมุม
     ผมอยากถามรายละเอียดเกี่ยวกับ  หุ้นบุริมสิทธิ์  กรุณาให้ความกระจ่างด้วย  อยากรู้ว่า  มันคืออะไร  มันมาได้อย่างไร  มีสิทธิ์อะไรมากกว่าหรือน้อยกว่าหุ้นสามัญอย่างไร  ขอบคุณครับ
IP : บันทึกการเข้า

ถึงจะจน       พี่ก็จน      อย่างมีเกียรติ
ถึงจะเครียด  พี่ก็เครียด   อย่างมีหวัง
ถึงจะบ้า       พี่ก็บ้า       อย่างมีพลัง
ถึงจะพัง       พี่ก็พัง       อย่างมีฟอร์ม
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2011, 20:09:39 »

.

หุ้นสามามัญ กับหุ้นบุริมสิทธิ์


สิ่งที่เหมือนคือ ผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ชนิด อยู่ในฐานะเจ้าของกิจการครับ เพราะได้รับเงินปันผลเหมือนกัน

ข้อแตกต่างคือ

ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ จะไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในการบริหาร พูดง่ายๆคือไม่มีสิทธิโหวต แต่สิ่งที่จะได้รับชดเชยก็คือ จะได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญครับ

พูดง่ายๆก็คือ พอได้กำไรสุทธิปั๊บ ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิก่อน เหลือเท่าไหร่ค่อยเอามาจ่ายปันผลหุ้นสามัญครับ

เท่าที่เห็นมา หุ้นบุริมสิทธิจะไม่ออกขายในตลาดหลักทรัพย์นะครับ แปลกดี

.

IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
แมงมุม
ระดับ ป.ตรี
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,889


« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 17 กรกฎาคม 2011, 20:11:26 »

.

ส่วนเรื่องงบกระแสเงินสด ไม่เอามาลงนะครับ ยากเกิน

-----------------

ต่อไปจะลงเรื่อง เริ่มต้นลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ละนะ...อาทิตย์หน้าเน้ออออ

.
IP : บันทึกการเข้า

...เงินดีงานเดิน...เงินเกินงานวิ่ง...Line=i6629
หน้า: [1] 2 3 4 พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

 
เรื่องที่น่าสนใจ
 

ข้อความที่ท่านได้อ่านบนกระดานข่าวแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศีลธรรม พาดพิง ละเมิดสิทธิบุคคอื่น ต้องการแจ้งลบ
กรุณาส่งลิงค์มาที่
เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกให้ทันที..."

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2013, Simple Machines
www.chiangraifocus.com

Valid XHTML 1.0! Valid CSS!