เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย

ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย => เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง => ข้อความที่เริ่มโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 23 มกราคม 2010, 21:37:26



หัวข้อ: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 23 มกราคม 2010, 21:37:26
เรื่องมันก็มีอยู่ว่า... เมืองเชียงแสนเป็นศูนย์กลางการปกครองและเศรษฐกิจของแคว้นสุวรรณโคมคำ แคว้นโยนกนาคพันธ์ และแคว้นหิรัญนครเงินยาง ตามลำดับ หลังการสถาปนาเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.1839 โดยพญามังราย กษัตริย์แห่งเมืองเงินยาง เมืองเงินยางจึงถูกปล่อยให้รกร้าง

กระทั่ง พญาแสนภู กษัตริย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่ 3 พระราชนัดดา (หลาน) ของพญามังราย ทรงฟื้นฟูเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ.1871 โดยสร้างขึ้นบนเมืองเก่าที่ร้างไปแล้ว คาดว่าเป็นการสร้างทับเมืองเงินยางในอดีต ทำให้บางครั้งเราได้ยินคนพูดถึงชื่อเมืองนี้ว่า เมืองเงินยางเชียงแสน หรือ หิรัญนครเงินยาง ทั้งนี้ก็หมายถึง เมืองเชียงแสน นั่นเอง

เมื่อสร้างเมืองเสร็จ พญาแสนภูก็ประทับที่เชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพ เป้าหมายที่แท้จริงของการสร้างเชียงแสนคือการวางยุทธศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางตอนบนและป้องกันข้าศึกทางด้านทิศเหนือ โดยเฉพาะพวกมองโกล ช่วงเวลานั้นเมืองเชียงแสนถูกยกระดับให้มีความสำคัญเหนือเมืองเชียงใหม่อีกด้วย

ในสมัยราชวงศ์มังราย เมืองเชียงแสนเป็นสมรภูมิรบในสงครามสำคัญหลายครั้งของล้านนา เช่น ศึกกับราชวงศ์หมิง 2 ครั้ง ศึกพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง เป็นต้น

ในปี พ.ศ.2101 ล้านนาตกอยู่ใต้การปกครองของพม่า เมืองเชียงแสนกลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญของพม่าในล้านนาตอนบน กระทั่ง พ.ศ.2346 เมืองเชียงใหม่และพันธมิตรจึงขับไล่พม่าออกไปจากเชียงแสนได้สำเร็จ ส่งผลให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้าง เนื่องจากราษฎรถูกผู้ชนะกวาดต้อนลงไปอยู่ทางใต้ เช่น บ้านช่างฆ้อง บ้านลอยเคราะห์ บ้านเชียงแสน เมืองเชียงใหม่, บ้านปงสนุก เมืองลำปาง, บ้านคูบัว เมืองราชบุรี, บ้านเสาไห้ เมืองสระบุรี เป็นต้น

จนถึงปี พ.ศ.2423 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้านครเชียงใหม่ จึงให้เจ้าอินต๊ะ (ราชบุตรเจ้าบุญมา เจ้านครลำพูน) นำราษฎรเมืองลำพูนราว 1,500 ครอบครัว (ส่วนใหญ่เป็นคนยอง) ขึ้นมาตั้งรกราก “ปักซั้งตั้งถิ่น” อยู่ที่เมืองเชียงแสนจวบจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่บ้านแม่คำสบเปิน บ้านห้วยน้ำราก จนถึงเวียงเชียงแสน

กำแพงเมืองเชียงแสนที่เราเห็นในเวลานี้ สันนิษฐานว่าสร้างสมัยพญาแสนภู ผังเมืองเชียงแสนมีลักษณะคล้ายรูปสี่เหลียมผืนผ้า ไม่สม่ำเสมอ ขนาดกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา เนื้อที่ประมาณ 1,240 ไร่ กำแพงเมืองมี 2 ชั้นคั่นด้วยคูน้ำ (บางตำนานกล่าวว่ามี 3 ชั้น) ทอดตัวล้อมรอบเมือง ด้านทิศตะวันออกใช้แม่น้ำโขงเป็นปราการธรรมชาติ มีประตูเมือง 11 ประตู ดังนี้


            1. ประตูยางเทิง ทางเหนือ

            2. ประตูหนองมูต ทางตะวันตก

            3. ประตูเชียงแสน หรือ ประตูป่าสัก ทางตะวันตก เป็นเส้นทางหลักเข้าสู่ตัวเมือง

            4. ประตูทัพม่าน ทางตะวันตก

            5. ประตูดินขอ ทางใต้

            6. ประตูท่าอ้อย ทางตะวันออก ริมแม่น้ำโขง

            7. ประตูท่าเสาดิน ทางตะวันออก ริมแม่น้ำโขง

            8. ประตูท่าหลวง ทางตะวันออก ริมแม่น้ำโขง

            9. ประตูท่าวิสุกรรม ทางตะวันออก ริมแม่น้ำโขง

            10. ประตูท่าคราว ทางตะวันออก ริมแม่น้ำโขง

            11. ประตูท่ารั้วปีก ทางตะวันออก ริมแม่น้ำโขง

แนวกำแพงและประตูเมืองทางด้านทิศตะวันออก (หมายเลข 6-11) ถูกแม่น้ำโขงพัดเซาะพังทลายลงในน้ำ โดยเมื่อประมาณ 60-70 ปีก่อน ยังปรากฏให้เห็นประตูท่าคราวอยู่ ปัจจุบันคงเหลือแต่แนวกำแพงและประตูทางด้านทิศเหนือ ด้านทิศใต้ และด้านทิศตะวันตก เท่านั้น

เมืองเชียงแสนมีป้อมทั้งหมด 7 ป้อม มีลักษณะเป็นป้อมรูปโค้งครึ่งวงกลมคล้ายเกือกม้า ได้แก่ ป้อมประตูยางเทิง ป้อมประตูหนองมูต ป้อมประตูเชียงแสน (มี 2 ป้อม) ป้อมประตูทัพม่าน และป้อมแจ่งหัวริน ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

นอกจากนี้ ภายในเวียงเชียงแสนและนอกเมืองยังมีโบราณสถานที่น่าไปเยี่ยมชมอีกหลายแห่ง เช่น วัดเจดีย์หลวง วัดพระธาตุจอมกิตติ เป็นต้น ใครสนใจก็ไปเที่ยวได้เน้อ


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: Red Shirts ที่ วันที่ 23 มกราคม 2010, 21:47:11
อยากไค่ฮู้ว่า...สมัยก่อน พ่อขุนเม็งราย
ใช้วิธีไหนเอาคนเชียงแสนไปตั้งเมืองเชียงใหม่
คัดเลือก รับอาสา หรือว่ากวาดต้อนไปครับ.....

ที่เหลืออยู่เชียงรายเพราะอะไรถึงไม่ได้ไป
หรือว่าเลือกที่จะอยู่ ?


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 23 มกราคม 2010, 21:49:16
อยากไค่ฮู้ว่า...สมัยก่อน พ่อขุนเม็งราย
ใช้วิธีไหนเอาคนเชียงแสนไปตั้งเมืองเชียงใหม่
คัดเลือก รับอาสา หรือว่ากวาดต้อนไปครับ.....

ที่เหลืออยู่เชียงรายเพราะอะไรถึงไม่ได้ไป
หรือว่าเลือกที่จะอยู่ ?



ตี้อู้มาแม่นหมดครับ เปิ้นใจ๊หลายวิธี
ที่อยู่เจียงฮาย ก็แบ่งไว้พ่อง ป้องกั๋นคนตี๋ตลบหลัง+ปลูกข้าว
เพราะที่ราบเจียงฮายกว้างใหญ่กว่าเมืองฝางตี้เปิ้นย้ายไปอยู่ต่อจากเจียงฮาย เมื่อ พ.ศ.1816

ส่วนจะสมัครใจ๋ก่อ อันนี้บ่าฮู้ครับ
แต่ต๋ามความเชื่อเรื่องศักดินา+ศาสนา ในรัฐโบร๊าณโบราณ
คนที่เปิ้นเกิดเป๋นเจ้าเป๋นกษัตริย์ได้ ต้องเป๋นคนมีบุญญาธิก๋าน
ส่วนเฮามันคนบาปเกิดเป๋นไพร่ ต่ำต้อย
ไพร่รับใช้เจ้า เจ้าก็ดูแลไพร่เยี่ยงลูกเยี่ยงหลาน
เพราะฉะนั้นคนมีบุญเปิ้นใจ๊หยังเฮาก็ต้องเยียะ
เพื่อตอบแทนบุญคุณของเปิ้น (ซึ้งซาบ)

พญามังรายเยียะได้อยู่แล้ว
เรื่องย้ายบ้านย้ายเมืองมอกอี้ สบายมากครับ


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: Red Shirts ที่ วันที่ 23 มกราคม 2010, 22:03:39
อยากไค่ฮู้ว่า...สมัยก่อน พ่อขุนเม็งราย
ใช้วิธีไหนเอาคนเชียงแสนไปตั้งเมืองเชียงใหม่
คัดเลือก รับอาสา หรือว่ากวาดต้อนไปครับ.....

ที่เหลืออยู่เชียงรายเพราะอะไรถึงไม่ได้ไป
หรือว่าเลือกที่จะอยู่ ?



ตี้อู้มาแม่นหมดครับ เปิ้นใจ๊หลายวิธี
ที่อยู่เจียงฮาย ก็แบ่งไว้พ่อง ป้องกั๋นคนตี๋ตลบหลัง+ปลูกข้าว
เพราะที่ราบเจียงฮายกว้างใหญ่กว่าเมืองฝางตี้เปิ้นย้ายไปอยู่ต่อจากเจียงฮาย เมื่อ พ.ศ.1816

ส่วนจะสมัครใจ๋ก่อ กษัตริย์เปิ้นคงบ่ลงมาถามไพร่หรอกครับ

คนตี้ถูกคัดไป ก็อย่างเก๊า ทั้งนั้น ใจ่ก่อ
เช่น ป่อครูสล่า ป่อครูเพลง ป่อครูดาบ ฯลฯ
ส่วนตี่เหลือล่ะไว้เจียงแสนก็คือ คนที่แกว่นเยี่ยะนา ใจ่ก่อครับ ?


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 23 มกราคม 2010, 22:11:41

คนตี้ถูกคัดไป ก็อย่างเก๊า ทั้งนั้น ใจ่ก่อ
เช่น ป่อครูสล่า ป่อครูเพลง ป่อครูดาบ ฯลฯ
ส่วนตี่เหลือล่ะไว้เจียงแสนก็คือ คนที่แกว่นเยี่ยะนา ใจ่ก่อครับ ?


แม่นครับ


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 28 กรกฎาคม 2010, 23:15:29
up


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: ละอ่อนโบราณ ที่ วันที่ 01 สิงหาคม 2010, 21:48:53
ไปเจียงใหม่ยังแควน
ปี้น้องเฮาบางพ่องได้ไปอยู่ราชบุรี สระบุรี ไกล๋บ่ไจ่ใกล้ๆ


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: Robert ที่ วันที่ 02 สิงหาคม 2010, 12:24:56
มีประวัติมายาวนานน่าดู


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: mandymolee ที่ วันที่ 03 พฤศจิกายน 2014, 15:55:02
เป็นประวัติยาวนานที่มีความรู้มากเลยคะ ขอบคุณนะคะที่ให้ความรู้
 ;)  :D  ;D



Secon Security Services (http://www.secon-security.com/) is a private security affiliation offering security associations to customers the country over. Experienced, skilled security officers.


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: WH_Y ที่ วันที่ 03 พฤศจิกายน 2014, 20:56:46
  ยินดีเจ้าสำหรับข้อมูลความฮู้เกี่ยวกับกำแปงเมืองเจียงแสนเจ้า.. :)


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: tongclub18 ที่ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2014, 15:53:40
อยากไปเที่ยวจัง สวยมากคับ

sbobet (https://www.sbobet168.com/)
gclub royal (https://www.gclubtg.com/)


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: lomsai ที่ วันที่ 05 พฤษภาคม 2015, 10:06:26
ทุกวันนี้คนเชียงรายก็ยังเป็นเมืองขึ้น คนเชียงใหม่ บอกลูกหลานปลดแอ็กกันได้แล้วครับ


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: LingJakJak ที่ วันที่ 06 พฤษภาคม 2015, 10:41:08
ทุกวันนี้คนเชียงรายก็ยังเป็นเมืองขึ้น คนเชียงใหม่ บอกลูกหลานปลดแอ็กกันได้แล้วครับ

เพื่อ??

จะปลดแอกไปหาสันมุยอะหยัง?? (ขออนุญาติอู้กำสุด)

ถ้าไม่มีมายาคติเรื่อง 'จังหวัดนิยม' จนหน้ามืดตามั่วหรือจิตใจคับแคบจนเกินไปก็จะมองออกว่า การแบ่งเขตการปกครองสมัยใหม่ เป็นจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน มันพึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นาน หลังการเกิด modern state ที่มีการขีดเส้นพรมแดนในสมัย ร.5 เป็นต้นมา โดยเริ่มมาจากการผนวกดินแดนประเทศราชรวบอำนาจสู่ส่วนกลางและจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ก่อนจะพัฒนากลายมาเป็นการแบ่งเขตจังหวัดในปัจจุบัน

แต่เดิมผู้คนในล้านนาก็โยกย้ายถ่ายเทโยงใยเป็นญาติกันทั้งหมด ยุคสร้างบ้านแปงเมืองก็มีการโยกย้ายทรัพยากร และกำหนดยุทธศาสตร์ลำดับขั้นการปกครอง เป็นแคว้น เป็นเมือง เป็นพันนา เติบโตเป็นอาณาจักร แต่ละหัวเมืองชุมชนน้อยใหญ่มีความสำคัญและสัมพันธ์โยงใยตามบทบาทหน้าที่ของตน

ฉายภาพแคบๆให้เห็นเมื่อไม่นานมานี้ ร้อยกว่าปีที่ผ่านมา หลังสมัย 'ฟื้นม่าน' เมืองเชียงราย เชียงแสน เป็นเวียงร้าง ก็ได้ผู้คนจากเมืองเชียงใหม่-ลำพูน(นำโดยเจ้าในวงศ์เจ้าเจ็ดตน)พากันดั้นด้นเดินทางโดยขบวนงัวล้อเป็นแรมเดือนเพื่อขึ้นมาฟื้นฟูเวียงเชียงราย(ร้าง) และเวียงเชียงแสน(กาสา) มาเติมประชากรและฟื้นฟูให้เป็นบ้านเป็นเมืองขึ้นมาอีกครั้ง ผู้เฒ่าผู้แก่บางท่านยังสามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังจากบรรพบุรุษยุคฟื้นฟูได้ดี

พวกเราทั้งหมดต่างเป็น 'ผีตัวเดียวกัน' คือร่วมโคตรร่วมบรรพบุรุษเดียวกัน อย่าให้เส้นบนแผนที่แบ่งเราออกจากกัน

ในอดีตสมัยปักปันดินแดนสยาม-อังกฤษ หากมีความเป็นไปได้ที่ครั้งหนึ่งจะใช้แม่น้ำกกเป็นเส้นแบ่งแดนแทนแม่น้ำสายหรือแม่น้ำรวก หรือกำหนดระยะถอยร่นจากแม่น้ำโขงร่วมร้อยกิโลเมตร หากเป็นเช่นนั้นในวันนี้เราอาจจะมีสะพานมิตรภาพข้ามน้ำกกเพื่อข้ามไปยังสหภาพเมียนมาร์ มีตลาดชายแดนท่าสุดแทนตลาดท่าขี้เหล็ก เมืองเชียงแสนใหม่(แม่จัน) เชียงแสนเก่า และอีกหลายเมืองก็จะตกอยู่ในสหภาพเมียนมาร์ ในเขตรัฐฉานตะวันออก มีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก

..เพียงเพราะเส้นที่เลือกขีดลงบนกระดาษเพียงเส้นเดียว..



หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: apiwattano ที่ วันที่ 07 พฤษภาคม 2015, 18:13:08
เห็นด้วย กับท่าน LJJ.
ขอกด LIKE ให้ครับ
วิญญาณปู่จะร้อง  ไอ้ลูกหลานโหลน.....จร..  นะครับ
สามัคคีคือพลัง


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: apiwattano ที่ วันที่ 07 พฤษภาคม 2015, 20:41:17
ท่านlomsai
ลองมาเรียนอ่านเขียนภาษาล้านนา
และศึกษาประวัติศาสตร์ของล้านนาให้ถ่องแท้กันดูมั๊ย
จะได้รู้รากเหง้าและความเป็นล้านนา
หรือจังหวัดนิยมอะไรของท่านนั่น


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: lomsai ที่ วันที่ 18 พฤษภาคม 2015, 11:57:38
 ;D ขอบคุณครับ สำหรับข้อแนะนำ ผมก็คิดแบบคนรุ่นใหม่ที่รักเชียงราย รักประวัติศาสตร์ที่บริสุทธิ์ของเชียงราย หากไม่ถูกใจใครบ้างก็ขออภัย แต่เอาคำพูดของผมไปคิดให้ดีๆ ก็แล้วกัน อย่าเอาแต่ตัวกูเป็นที่ตั้ง ขอให้สุขภาพแข็งแรงนะครับ


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: apiwattano ที่ วันที่ 19 พฤษภาคม 2015, 12:29:57
;D ขอบคุณครับ สำหรับข้อแนะนำ ผมก็คิดแบบคนรุ่นใหม่ที่รักเชียงราย รักประวัติศาสตร์ที่บริสุทธิ์ของเชียงราย หากไม่ถูกใจใครบ้างก็ขออภัย แต่เอาคำพูดของผมไปคิดให้ดีๆ ก็แล้วกัน อย่าเอาแต่ตัวกูเป็นที่ตั้ง ขอให้สุขภาพแข็งแรงนะครับ

ไม่รู้ว่า เรื่องกำแพงเมืองเชียงแสน เข้ามาสู่เรื่องนี้ได้งัย
ขอใช้ สิทธิ์พาดพิง นะครับ  ตัวผมเป็นคนชอบทำตัว ไม่ควํ่าแก้ว อยู่เสมอๆ  ไม่มีอัตตา หรือเอาตัวเองเป็นที่ตั้งแต่อย่างไร  พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นและความรู้ไม่เคยหยุด  ......ขอบพระคุณที่ชี้แนะ

ลองมาดูเกร็ดประวัติศาสตร์ล้านนาสักนิด ถึงที่มาของ สกุลเชื้อเจ็ดตน
ผู้ครองเมืองทางล้านนายุคหลัง ๆ อ่านดูแล้วช่วยวิพากษ์ด้วยครับ

                     เกร็ดประวัติศาสตร์ล้านนา  โดย....วิทยา ยะเปียง   /ลำปาง

          ในช่วงปลายของกรุงศรีอยุธยา นครเชียงใหม่และอาณาจักรล้านนาเป็นเมืองขึ้นของพม่า ส่วนลำปางเป็นนครรัฐอิสระ กระทั่งท้าวหนานมหายศ เจ้าเมืองลำพูนยกทัพมาตีชนะเมืองลำปาง และตั้งศูนย์บัญชาการที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ส่วนทางเชียงใหม่มีเจ้า องค์ดำ (องค์นก) พยายามรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่า แต่ทางลำปางนั้นยังไม่มีเจ้าเมืองปกครองมีแต่ ขุนเมืองรักษาเมืองไว้ 4 คน คือ แสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือนและจเรน้อย ขุนเมืองทั้ง 4 ไม่มีความสามารถจะต่อสู้กับพม่า เพราะมุ่งแต่จะแก่งแย่งอำนาจกัน ความเดือดร้อนต่างๆ ของราษฎร

          ร้อนถึงพระภิกษุเจ้าซึ่งในสมัยนั้นถือว่าพระภิกษุมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและเป็นผู้มีความรู้ ประชาชนให้ความเลื่อมใสนับถือเป็นอย่างมาก ได้แก่ พระภิกษุวัดนายาง (นายาบ อยู่ในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) พระภิกษุรูปนี้กล่าวกันว่าแกร่งกล้าด้วยวิทยาคมมีความรู้ทางไสยศาสตร์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ท่านมีลูกศิษย์ที่เลื่อมใสจำนวนมาก จึงได้เข้าร่วมกับพระภิกษุวัดสามขา วัดบ้านฟ่อนโดยการลาสิกขาออกมาเพื่อกู้บ้านกู้เมืองจากพม่า แล้วรวบรวมผู้คนตั้งตนเป็นอิสระซึ่งขุนเมืองทั้ง 4 ที่รักษาเมืองลำปางอยู่ไม่สามารถจะปราบปรามได้

          ครั้นข่าวตั้งตนเป็นอิสระเป็นเหล่าเพื่อต่อสู้พม่าทราบไปถึงท้าวมหายศ ซึ่งเป็นชาวพม่าที่มาครองเมืองลำพูน ก็ได้ยกกองทัพมายังนครลำปาง เพื่อจะมาปราบปรามพระภิกษุที่ลาสิกขาบทออกมารวมทั้งพรรคพวก เมื่อทราบข่าวการศึกสมภารวัดนายาง วัดสามขา และวัดบ้านฟ่อน จึงได้คุมสมัครพรรคพวกออกต่อสู้กองทัพท้าวมหายศ เมืองลำพูนโดยมิได้ย่อท้อ

          การรบครั้งนั้นดุเดือดจนถึงขั้นตะลุมบอน ที่ตำบลป่าตัน กองกำลังฝ่ายสมภารวัดนายาง สู้กองทัพท้าวมหายศไม่ได้ก็แตกหนีไปที่วัดพระธาตุลำปางหลวง พม่าตามไปล้อมไว้ ครั้นเวลาค่อนรุ่งสมภารวัดนางยางได้รวบรวมสมัครพรรคพวกที่เหลืออยู่หนีออกจากวัดลำปางหลวงไปทางทิศใต้ กองทัพท้าวมหายศไล่ติดตามไปทันจึงเกิดต่อสู้กันอีกสมภารวัดนายางถูกกระสุนปืนของชาวลำพูนตรงระหว่างคิ้วล้มลง เสนาซ้ายขวาเข้าประคองก็ถูกกระสุนปืนล้มลงทั้งคู่

          เสนาวัดบ้านฟ่อนถูกกระสุนปืนที่หางตา เสนาวัดสามขาถูกที่หัวเข่า ถึงแก่กรรมทั้ง 3 ท่านส่วนราษฎรที่เหลือ เมื่อเห็นหัวหน้าเกิดอันตรายจึงพากันหลบหนีไป พวกที่หนีไม่ทันก็ถูกทหาร ท้าวมหายศฆ่าตายจำนวนมาก เมื่อได้รับชัยชนะแล้วท้าวมหายศก็ยกทัพเข้ามาตั้งอยู่ในวัดพระธาตุลำปางหลวง แล้วจึงมีบัญชาให้ทหารออกไปเรียกเก็บเงินภาษีชาวบ้าน บังคับเอาข้าวของทรัพย์สินเงินทองเสบียงอาหาร เพื่อนำไปบำรุงกองทัพใครขัดขวางก็ลงโทษอย่างทารุณ

          ส่วนผู้หญิงถูกฉุดคร่าไปเป็นนางบำเรอของทหารและแม่ทัพนายกอง ต่อมาท้าวมหายศหาทางเข้าปกครองเมืองลำปาง โดยการคิดหาอุบายฆ่า ขุนเมืองลำปางทั้ง 4 คน ดังนั้นจึงใช้ให้หาญฟ้าแมบ หาญฟ้าง้ำ และหาญฟ้าฟื้น นายทหารเอกซ่อนอาวุธเข้าไปเจรจาความเมืองกับขุนเมืองทั้ง 4 ของเมืองลำปาง คือ แสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือง และจเรน้อย รวมทั้งท้าวขุนทั้งหลาย พวกขุนเมืองที่รอดมาได้คือ ท้าวลิ้นก่าน จเรน้อย นายน้อยธรรม และชาวบ้านได้หนีไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น ประตูผา เมืองลอง เมืองจีบ เมืองต้า เมืองเมาะ เมืองจาง

          เมืองลำปางครั้งนั้นจึงเป็นเมืองร้าง หาคนอยู่อาศัยไม่มีเพราะเกรงข้าศึกพม่าจะมาทำร้าย ในเวลาต่อมามีพระมหาเถรรูปหนึ่งอยู่วัดพระแก้วชมพู (วัดพระแก้วดอนเต้า) ขออาสาเข้าปราบพม่าจึงได้ปรึกษาหารือกับญาติโยม และสานุศิษย์ ทางญาติโยมทั้งหลายก็ขอนิมนต์ให้ท่านอยู่วัดก่อน และให้ดูตำราไสยศาสตร์ เพื่อหาคนที่มีความรู้ความสามารถเป็นหัวหน้าชาวบ้านแทน

          พระมหาเถรวัด พระแก้วชมพูมองเห็นหนานทิพย์ช้างเป็นชาวบ้านคอกวัว มีอาชีพเป็นพรานป่า อยู่แถบข้างวัดศรีล้อม จังหวัดลำปาง (บางฉบับว่าเป็นชาวบ้านปงยางยก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง) เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด กล้าหาญ มีกำลังฝีมือเข้มแข็ง ทั้งชำนาญในการใช้อาวุธปืนให้เป็นผู้นำกำลังเข้าต่อสู้พม่า

          แต่หนานทิพย์ช้างก็เกรงว่า ถ้าได้กู้บ้านเมืองแล้วจะมีปัญหาเรื่องการครองบ้านครองเมือง กับเจ้า ผู้ครองนครองค์เก่า จึงขอคำสัญญาจากชาวบ้านชาวเมืองและเจ้าผู้ครองนครองค์เก่าว่า ถ้าทำศึกชนะแล้วจะยกบ้านยกเมืองให้ครอง ชาวบ้านชาวเมืองก็พร้อมใจกันตกลง หนานทิพย์ช้างได้นำกำลังคน 300 คน ไปล้อมทัพท้าวมหายศที่วัดพระธาตุลำปางหลวง

          กองทัพเดินทางไปถึงก็เป็นเวลาดึกสงัดแล้ว หนานทิพย์ช้างจึงวางกำลังคนอยู่เฝ้าจุดสำคัญของพวกพม่าแล้วลอบเข้าทางท่อระบายน้ำทิศตะวันตกของวัดพระธาตุลำปางหลวง (ปัจจุบันนี้ยังมีอยู่) ปลอมตัวเป็นผู้ถือหนังสือจากเมืองลำพูนว่าเป็นหนังสือของชายาท้าวมหายศ และได้สืบถามจากทหารว่าท้าวมหายศเป็นผู้ใด ขณะนั้นท้าวมหายศ ทหารคนสนิทและนางบำเรอกำลังเล่นหมากรุกที่วิหารหลวง ในวัดพระธาตุลำปางหลวงอยู่

          หนานทิพย์ช้างจึงทำทียื่นหนังสือให้แล้วถอนมาพอระยะจึงใช้ปืนยิงท้าวมหายศ ตายคาวงหมากรุก ซึ่งลูกปืนทะลุไปถูกกรงเหล็กที่ล้อมวัดพระธาตุลำปางหลวงไว้ (ปัจจุบันนี้ยังมีรอยเหลืออยู่) ทัพท้าวมหายศแตกกระจัดกระจาย ทหารถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก หนานทิพย์ช้างกลับมา ออกท่อระบายน้ำทางเดิมอีกครั้ง
ชาวเมืองลำ
          ปางได้ตั้งชื่อให้เป็นเจ้าทิพเทพบุญเรือน เมื่อขับไล่ปราบกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้ว พระมหาเถรวัดพระแก้วชมพู พร้อมด้วยประชาราษฎร์ชาวเมืองนครลำปาง (เมืองลคอร) พร้อมใจกันตั้งพิธีสรงน้ำมุรธาภิเษกให้หนานทิพย์ช้าง เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง ใน พ.ศ.2275 (จุลศักราช 1094) มีนามว่า เจ้าพระยาสุลวฤาชัยสงคราม เจ้าพระยาสุลวฤาชัยสงคราม (ทิพย์ช้าง) ครองเมืองลำปางได้นาน 27 ปี พอปี พ.ศ.2302 (จุลศักราช 1121) ก็ถึงแก่ทิวงคตรวมอายุได้ 85 ปี มีโอรสธิดากับเจ้าแม่พิมพา (ปิมปา) รวมได้ 6 องค์คือ เจ้าอ้าย (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์) เจ้าชายแก้ว เจ้านางคำ เจ้านางคำปา เจ้าคำปอเฮือน (ตายในสนามรบ) และเจ้านางกม พระโอรสองค์สองคือ เจ้าฟ้าแก้ว ซึ่งเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวที่เหลืออยู่ จึงได้ครองราชย์ต่อจากพ่อเจ้าทิพย์ช้าง เจ้าฟ้าแก้วมีโอรส 7 องค์ธิดา 3 องค์ ได้แก่เจ้ากาวิละ เจ้าคำโสม เจ้าน้อยธรรมลังกา เจ้าดวงทิพย์ เจ้าศรีอโนชา เจ้าศรีวรรณ (ถึงแก่กรรม) เจ้าหมูล่า เจ้าคำฝั้น เจ้าศรีบุญตัน (ถึงแก่กรรม) เจ้าบุญมาในช่วงที่ เจ้าฟ้าแก้วครองเมืองลำปาง ช่วงนั้นพระองค์ได้ถูกเจ้าลิ้นก่าน (โอรสของเจ้าเมืองลำปางที่เสียเมืองให้แก่ท้าวมหายศ) เข้ายึดอำนาจเจ้าฟ้าแก้วได้หนีไปพึ่งเจ้าเมืองแพร่ เมืองลำปางก็อยู่ในปกครองของเจ้าลิ้นก่าน

          ต่อมาปี พ.ศ.2304 พม่าก็ได้มีอำนาจอีก ได้ส่งกองทัพมายึดหัวเมืองต่างๆ ในอาณาจักรล้านนาไทย หัวเมืองต่างๆ ยอมอ่อนน้อม และ พม่าได้จัดการปกครองลำปางใหม่และ ให้เจ้าฟ้าแก้ว ขึ้นปกครองเมืองลำปางทำให้เจ้าลิ้นก่านเกิดความไม่พอใจ พม่าจึงเข้ามาชำระความโดยการดำน้ำพิสูจน์ เจ้าลิ้นก่านแพ้ จึงถูกประหารชีวิต จากนั้นเจ้าฟ้าแก้วก็ปกครองเมืองลำปางตลอดมา และมีโอรสทั้ง 7 พระองค์สืบทอดเป็นเจ้าผู้ครองเมืองทางเหนือ เรียกว่า “เชื้อ เจ็ดตน” จังหวัดลำปางเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ที่มีการสู้รบในสมัยก่อนที่สร้างวีรกรรมอันดีงามปกป้องบ้านเมืองไม่ให้ข้าศึกมาปกครองยึดบ้านยึดเมืองดังนั้นลูกหลานคนลำปางจึงรำลึกถึงคุณงามความดีดังกล่าว และถือว่าเป็นเจ้าเมืองลำปางและถือเป็นต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตน และทุกปีจัดงานพิธีบวงสรวงพ่อเจ้าทิพย์ช้าง โดยมีกลุ่มลูกหลานสืบสานเชื้อสายเจ้าเจ็ดตน เพื่อรำลึกถึงพ่อเจ้าทิพย์ และทำติดต่อกันมากว่า 40 ปี ยังเป็นกิจกรรมได้ร่วมกันสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

         ปล. สิ่งที่ผมอยากสื่อ หมายถึง ลำปาง  แพร่  น่าน ลำพูน เชียงใหม่ และเชียงราย  ฯลฯ ตามที่ประวัคิศาสตร์ล้านนากล่าวถึง ล้วนแต่เป็นพี่น้องสายเลือดเดียวกันนะครับ ควรจะสามัคคีกันไว้ ให้สมกับที่บรรพชนได้ร่วมแรงร่วมใจกันขับไล่ผู้ที่มารุกรานเราแต่ครั้งอดีต


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: LingJakJak ที่ วันที่ 22 พฤษภาคม 2015, 10:13:11
... พระโอรสองค์สองคือ เจ้าฟ้าแก้ว ซึ่งเป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวที่เหลืออยู่ จึงได้ครองราชย์ต่อจากพ่อเจ้าทิพย์ช้าง เจ้าฟ้าแก้วมีโอรส 7 องค์ธิดา 3 องค์ ได้แก่เจ้ากาวิละ เจ้าคำโสม เจ้าน้อยธรรมลังกา เจ้าดวงทิพย์ เจ้าศรีอโนชา เจ้าศรีวรรณ (ถึงแก่กรรม) เจ้าหมูล่า เจ้าคำฝั้น เจ้าศรีบุญตัน (ถึงแก่กรรม) เจ้าบุญมา .....
[/quote



หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: LingJakJak ที่ วันที่ 22 พฤษภาคม 2015, 10:16:49
บุตรของเจ้าพระญาคำฝั้น(พระนามเต็มว่า "เจ้ามหาสุภัทรราชะ" เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2357 - 2358 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2365 - 2368) กับแม่เจ้าจันทา คือ พระยาธรรมลังกา หรือเจ้าหนานธรรมลังกา

เจ้าหนานธรรมลังกาท่านนี้ ได้มาเป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงรายองค์ที่ 1 ในสมัยฟื้นฟู และสืบการปกครองต่อมาถึงเจ้าน้อยคำแสน(พระยารัตนอาณาเขต)เป็นเจ้าเมืององค์สุดท้าย ก่อนเปลี่ยนการปกครองเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด

มีเกร็ดเรื่องเล่าจากเอกสารรายงานการตรวจราชการแผ่นดินนราว พ.ศ.2450 กล่าวกันว่า เจ้าปลัดคำตุ้ย ผู้สำเร็จราชการแทนเจ้าเมืองเชียงรายเมาเหล้าแล้วลวนลามช่างฟ้อนต่อหน้าข้าหลวงสยามที่มาตรวจราชการที่เชียงรายจึงถูกปลดพร้อมเนรเทศ แล้วยกเลิกระบบเจ้าเมืองในเชียงรายและตั้งข้าราชการมาเป็นผู้ว่าราชการ

จริงหรือเท็จประการใดไม่ทราบได้ หรืออาจเป็นเพียงการยกข้ออ้างในการยกเลิกระบบเจ้าในหัวเมืองประเทศราช ซึ่งได้มีการดำเนินการมาอย่างเป็นขั้นตอนตามสถานการณ์บ้านเมืองในยุคนั้น


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 04 มิถุนายน 2015, 22:05:46
บุตรของเจ้าพระญาคำฝั้น(พระนามเต็มว่า "เจ้ามหาสุภัทรราชะ" เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2357 - 2358 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2365 - 2368) กับแม่เจ้าจันทา คือ พระยาธรรมลังกา หรือเจ้าหนานธรรมลังกา

เจ้าหนานธรรมลังกาท่านนี้ ได้มาเป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงรายองค์ที่ 1 ในสมัยฟื้นฟู และสืบการปกครองต่อมาถึงเจ้าน้อยคำแสน(พระยารัตนอาณาเขต)เป็นเจ้าเมืององค์สุดท้าย ก่อนเปลี่ยนการปกครองเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด

มีเกร็ดเรื่องเล่าจากเอกสารรายงานการตรวจราชการแผ่นดินนราว พ.ศ.2450 กล่าวกันว่า เจ้าปลัดคำตุ้ย ผู้สำเร็จราชการแทนเจ้าเมืองเชียงรายเมาเหล้าแล้วลวนลามช่างฟ้อนต่อหน้าข้าหลวงสยามที่มาตรวจราชการที่เชียงรายจึงถูกปลดพร้อมเนรเทศ แล้วยกเลิกระบบเจ้าเมืองในเชียงรายและตั้งข้าราชการมาเป็นผู้ว่าราชการ

จริงหรือเท็จประการใดไม่ทราบได้ หรืออาจเป็นเพียงการยกข้ออ้างในการยกเลิกระบบเจ้าในหัวเมืองประเทศราช ซึ่งได้มีการดำเนินการมาอย่างเป็นขั้นตอนตามสถานการณ์บ้านเมืองในยุคนั้น

หลังจากเจ้าอุปราชคำตุ้ยถูกปลดแล้ว เชียงรายยังมีเจ้าหลวงสืบมาครับ


เมืองเชียงรายเคยเป็นเมืองร้าง ก่อนเชียงใหม่ส่งคนขึ้นมาฟื้นฟูในปี พ.ศ. 2386

เจ้าหลวงองค์แรก คือ เจ้าหลวงธรรมลังกา (พ.ศ. 2386 - 2407)
เจ้าหลวงองค์ที่ 2 คือ เจ้าหลวงอุ่นเรือน (พ.ศ. 2408 - 2419)

หลังจากเจ้าหลวงสุริยะ เจ้าหลวงเชียงราย องค์ที่ 3 (พ.ศ. 2421 - 2434) พิราลัย
รัฐบาลสยามชะลอการแต่งตั้งเจ้าหลวงองค์ใหม่
ในเวลานั้น เจ้าอุปราชคำตุ้ยและเจ้าองค์อื่นๆ จึงรักษาราชการไปก่อน

ต่อมา เจ้าอุปราขคำตุ้ยโดนถอดยศในปี พ.ศ. 2438
โดยข้อหาฉกรรจ์หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือฆ่าคนตายด้วยการผลักตกจากหลังช้าง

จากนั้นตำแหน่งเจ้าหลวงเชียงรายก็ว่างเว้นมาหลายปี
กระทั่งรัฐบาลสยามตั้ง เจ้าน้อยเมืองไชย เป็นเจ้าหลวงเชียงรายในปี พ.ศ. 2442
โดยเปลี่ยนเอาเจ้าเจ็ดตน "สายเชียงแสน" มากินตำแหน่งที่เชียงราย
ส่วนเจ้าเจ็ดตน "สายเชียงราย" ถูกลดบทบาทลง

เจ้าหลวงเมืองไชย (พระยารัตนาณาเขต์) เป็นเจ้าหลวงเชียงราย องค์ที่ 4 (พ.ศ. 2442 - 2452)
เจ้าหลวงเมืองไชย เป็นบุตรของเจ้าอินต๊ะ (พระยาราชเดชดำรง) เจ้าหลวงเชียงแสน

สมัยเจ้าหลวงเมืองไชย อำนาจการปกครองจริงๆอยู่ที่ข้าหลวงที่สยามแต่งตั้ง
(ต่อมาคือ ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด)

ในปี พ.ศ. 2447 รัฐบาลสยามตั้งเจ้าหลวงเมืองไชย
เป็นข้าหลวงผู้ช่วยประจำบริเวณเชียงใหม่เหนือ
(ต่อมาเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยข้าหลวงประจำจังหวัดพายัพเหนือ)
ขึ้นกับนครเชียงใหม่ ก่อนเจ้าเมืองไชยจะลาออกในปี พ.ศ. 2452

หลังจากเจ้าหลวงเมืองไชยแล้ว เชียงรายก็ไม่มีเจ้าหลวงอีก


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: LingJakJak ที่ วันที่ 05 มิถุนายน 2015, 10:20:01
เยี่ยมครับท่าน ขอบคุณสำหรับข้อมูล

เจ้านายในวงศ์เจ้าเจ็ดตน ทั้งสายเชียงแสนและสายเชียงราย ต่างก็ไม่ได้ขอรับพระราชทานนามสกุลเหมือนเจ้าเจ็ดตนในสาย ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง แต่ยังคงใช้นามสกุล 'เชื้อเจ็ดตน' อันเป็นต้นเคล้าตระกูล ราชวงศ์ทิพยจักร หรือทิพย์ช้าง


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: apiwattano ที่ วันที่ 05 มิถุนายน 2015, 14:19:47
เยี่ยมครับท่าน ขอบคุณสำหรับข้อมูล

เจ้านายในวงศ์เจ้าเจ็ดตน ทั้งสายเชียงแสนและสายเชียงราย ต่างก็ไม่ได้ขอรับพระราชทานนามสกุลเหมือนเจ้าเจ็ดตนในสาย ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง แต่ยังคงใช้นามสกุล 'เชื้อเจ็ดตน' อันเป็นต้นเคล้าตระกูล หรือราชวงศ์ทิพยจักร หรือทิพย์ช้าง
            ขอบพระคุณ ท่านเชียงรายพันธ์ุแท้ และท่านรักจริงๆ (ไม่รู้ผวนถูกหรือเปล่า) ที่ขยายความเรื่องประวัติศาสตร์ล้านนาที่เกี่ยวข้องกับเชียงราย  อยากให้คนที่อาจเข้าใจคลาดเคลื่อนบางท่านได้เข้าใจว่า
ประวัติศาสตร์ล้านนา ไม่มีเมืองไหนที่บริสุทธิ์ ล้วนแต่ต่อสู้แย่งชิง  สงบ  รบ พลัดพราก  ย้ายถิ่น  ถูกกวาดต้อน  ถูกแยก ถูกแย่งชิง ฯลฯ  จนมารวมกันเป็นชาติไทยปัจจุบัน ไม่แบ่งแยกกัน เราล้วนพูดภาษาเดียวกัน  ไม่ว่าภาคไหนล้วนเข้าใจภาษาที่สื่อสารกัน  สามัคคีกันไว้ครับ....สร้างชาติไว้ให้ลูกหลานกันต่อไป



หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: LingJakJak ที่ วันที่ 08 มิถุนายน 2015, 09:14:39
ในเหตุการณ์ร่วมสมัย ในคราวเดียวกันนั้นมีบ้านเมืองที่ได้รับการฟื้นฟูหรือบุกเบิกขี้นใหม่โดยการเติมประชากรจากเชียงใหม่-ลำพูน ให้เป็นบ้านเป็นเมืองหรือชุมชนขึ้นมาอีกครั้ง เช่น บ้านเฟยไฮ(อ.เวียงป่าเป้า) บ้านแม่ซ้วย(อ.แม่สรวย) เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน(ใหม่)(อ.แม่จัน)

โดยเหตุที่ต้องมีการย้ายเคล้าสนาม(ที่ทำการปกครอง)เมืองเชียงแสนในลักษณะถอยร่นมาตั้งที่ที่เป็นอ.แม่จันในปัจจุบันนั้น เนื่องด้วยตำแหน่งเมืองเชียงแสนเดิมมีความเสี่ยงที่จะตกไปอยู่ในเขตปกครองของจักรวรรดิ์อังกฤษในช่วงเจรจาปักปันเขตแดนสยาม-อังกฤษ การฟื้นฟูเมืองเชียงแสนจึงเต็มไปด้วยความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ที่สุดแล้วจึงเป็นการฟื้นฟูในลักษณะถอยร่นและตั้งรับ


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: LingJakJak ที่ วันที่ 08 มิถุนายน 2015, 15:52:34
แถมอันนี้ให้ฟังกันเรื่อยๆเพลินๆ ได้ความรู้และมุมมองดีๆ

https://www.youtube.com/watch?v=CQTGKJj9hxI



หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 10 มิถุนายน 2015, 00:03:46
ในเหตุการณ์ร่วมสมัย ในคราวเดียวกันนั้นมีบ้านเมืองที่ได้รับการฟื้นฟูหรือบุกเบิกขี้นใหม่โดยการเติมประชากรจากเชียงใหม่-ลำพูน ให้เป็นบ้านเป็นเมืองหรือชุมชนขึ้นมาอีกครั้ง เช่น บ้านเฟยไฮ(อ.เวียงป่าเป้า) บ้านแม่ซ้วย(อ.แม่สรวย) เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน(ใหม่)(อ.แม่จัน)

โดยเหตุที่ต้องมีการย้ายเคล้าสนาม(ที่ทำการปกครอง)เมืองเชียงแสนในลักษณะถอยร่นมาตั้งที่ที่เป็นอ.แม่จันในปัจจุบันนั้น เนื่องด้วยตำแหน่งเมืองเชียงแสนเดิมมีความเสี่ยงที่จะตกไปอยู่ในเขตปกครองของจักรวรรดิ์อังกฤษในช่วงเจรจาปักปันเขตแดนสยาม-อังกฤษ การฟื้นฟูเมืองเชียงแสนจึงเต็มไปด้วยความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ที่สุดแล้วจึงเป็นการฟื้นฟูในลักษณะถอยร่นและตั้งรับ


เจ้าอินต๊ะจากลำพูนขึ้นมาฟื้นฟูเมืองเชียงแสน (เวียงเก่า) พ.ศ. 2421 แต่โดนชาวเชียงตุงขับไล่
เพราะเกรงว่าฝ่ายสยาม (และล้านนา) จะใช้เมืองเชียงแสนเป็นฐานที่มั่นขยายอำนาจเข้าไปในเชียงตุง
(ก่อนหน้านี้เคยมีสงครามเชียงตุง 3 ครั้ง คือ
สยามกับล้านนายกทัพขึ้นไปตีเชียงตุงในปี พ.ศ. 2393, 2395 และ 2397 สมัย ร. 3 - ร.4)

เจ้าหลวงเชียงใหม่เลยส่งคนไปเจรจากับเจ้าฟ้าเชียงตุง จนสามารถตั้งเมืองเชียงแสนสำเร็จในปี พ.ศ. 2423
ตอนนั้นอังกฤษปกครองพม่าก็จริง แต่ไม่ได้ปกครองรัฐฉานโดยตรง หาแต่ให้เป็นรัฐในอารักขา
เจ้าฟ้าเมืองต่างๆ จึงมีอิสระในการบริหารบ้านเมือง

ส่วนเมืองเชียงแสนใหม่ (แม่จัน) ย้ายมาจากเวียงเก่าประมาณ พ.ศ. 2440
เนื่องจากสยามเสียอำนาจการปกครอง "ลาวฝั่งซ้าย" ให้ฝรั่งเศส พ.ศ. 2436
ในสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสระบุว่า
จากแม่น้ำโขงเข้ามา ในรัศมี 25 กิโลเมตร ห้ามสยามตั้งป้อมค่ายและมีกำลังทหาร
ทำให้สยามจำเป็นต้องย้ายเมืองเชียงแสน จากเวียงเก่าริมแม่น้ำโขงมายังแม่จันครับ

ดังนั้น การย้ายเมืองเชียงแสน จึงมีฝรั่งเศสเป็นต้นเหตุ ไม่ใช่อังกฤษครับ


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: LingJakJak ที่ วันที่ 11 มิถุนายน 2015, 15:54:50
เยี่ยมครับ ขอบคุณท่านหนำๆ


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: HARLEY DAVIDSON ที่ วันที่ 14 มิถุนายน 2015, 13:01:10
อยากไปแอ่ว บ่ได้ไปเมินละ 8)


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: mandymolee ที่ วันที่ 20 กรกฎาคม 2015, 15:08:05
อยากไปแอ่วเจียงราย จำได้ว่าเคยไปเมื่อสมัยเป็นเด็ก  :P


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: Aikaew ที่ วันที่ 09 กันยายน 2015, 15:29:51
จากไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน จนเป็นประชาชนคนธรรมดา ศึกษาประวัติศาสตร์ก็มีแต่เจ้านาย สงคราม ส่วนเรื่องทำมาหากินการพัฒนาประชาชนพลเมือง การค้าขาย หาดูยากแต๊ ที่จริงหากแยกเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาจากรากเหง้า ณ เวลาตี้ประชาชน 1 เสียงเท่ากัน เลือกคนของชุมชนพัฒนาความเป็นอยู่หื้อสะดวกสบายใกล้เคียงกัน พัฒนาไปพร้อมๆกันได้ จะม่วนมอกใด ส่วนไผจะสมัครใจ๋อย่างอื่นตี้คนบะเต้ากันโดยความเป็นคน ก็ฟังกำกึ๊ดคนอื่นพ่องก็ได้ครับ อิอิ


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: LingJakJak ที่ วันที่ 10 กันยายน 2015, 10:41:33
มันเป็นเรื่องของสภาพสังคมในมิติเวลาที่ต่างกัน

สมัยก่อนความเป็นปัจเจกชนมีน้อย สังคมเกิดจากการร่วมตัวกันเพื่อความอยู่รอดและบริหารผลประโยชน์ร่วมกัน มีการให้อำนาจและฟังผู้นำ เหตุการณ์บ้านเมืองจึงบันทึกผ่านผู้นำบ้านเมืองหรือทางศาสนาซึ่งมีศักยภาพในการจดบันทึกอย่างเป็นระบบ

สมัยใหม่ผู้คนมีความเป็นปัจเจกสูง มีอัตตามากขึ้น มีศักยภาพในตัวปัจเจกบุคคล เรียนรู้สิทธิมนุษยชน สิทธิในการปกครองตนเอง หลักประชาธิปไตย มีความเป็นเจ้าของร่วม ต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรผ่านตัวแทน(ผู้แทน) มีความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย

ทั้ง 2 มิติ ไม่มีผิดถูก เป็นไปตามเหตุปัจจัย เงื่อนไขเวลา


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: opporaa ที่ วันที่ 17 สิงหาคม 2016, 22:21:42
ขอบคุณสำหรับข้อมูลประวัติกำแพงเมืองเชียงแสน เป็นประโยชน์กับฉันอย่างมาก
http://www.sbobettrue.net/ (http://www.sbobettrue.net)


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: opporaa ที่ วันที่ 17 สิงหาคม 2016, 22:24:01
ว้าวสวย


หัวข้อ: Re: กำแพงเมืองเชียงแสน
เริ่มหัวข้อโดย: adrank888 ที่ วันที่ 06 ตุลาคม 2016, 14:27:13
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับผม




Gclub (https://gclubonline2016.wordpress.com/)