เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย

ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย => เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง => ข้อความที่เริ่มโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 05 มีนาคม 2011, 16:32:00



หัวข้อ: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 05 มีนาคม 2011, 16:32:00
.


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: คำปันเกย ที่ วันที่ 05 มีนาคม 2011, 16:40:14
ขอบใจเน้อ 
ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลเป็นระบบระเบียบ



หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: natta2533 ที่ วันที่ 05 มีนาคม 2011, 20:10:38
ขอบคุณกำฮู้ดีๆๆๆคับอ้าย  แต่ขอเปลี่ยนน้อยได้ก่อ   ในเรื่องที่ว่ากบฏป้อพญาผาบขอเลี่ยงใจ้กำว่ากบฏเตอะคับ อ่านแล้วแสลงใจ๋


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 05 มีนาคม 2011, 20:44:36
ขอบคุณกำฮู้ดีๆๆๆคับอ้าย  แต่ขอเปลี่ยนน้อยได้ก่อ   ในเรื่องที่ว่ากบฏป้อพญาผาบขอเลี่ยงใจ้กำว่ากบฏเตอะคับ อ่านแล้วแสลงใจ๋

อั้นใจ้กำว่าอะหยังดีครับ


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 06 มีนาคม 2011, 09:12:08
ขอบคุณกำฮู้ดีๆๆๆคับอ้าย  แต่ขอเปลี่ยนน้อยได้ก่อ   ในเรื่องที่ว่ากบฏป้อพญาผาบขอเลี่ยงใจ้กำว่ากบฏเตอะคับ อ่านแล้วแสลงใจ๋

อั้นใจ้กำว่าอะหยังดีครับ
มันคงบ่ามีกำตี้ดีกว่านี้ละคับ
ที่มาที่ไปสืบหายาก ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: ละอ่อนเทิงพลัดถิ่น ที่ วันที่ 06 มีนาคม 2011, 09:56:03
ขอบคุณครับ ข้อมูลดีๆทั้งนั้น


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: natta2533 ที่ วันที่ 06 มีนาคม 2011, 10:04:53
สุมาเน้อคับ    เอาเปนเกิดจลาจลได้ก่อคับ
555555555555


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: >:l!ne-po!nt:< ที่ วันที่ 07 มีนาคม 2011, 16:55:54
มาเสาะหาความรู้


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: T Nakamura ที่ วันที่ 08 มีนาคม 2011, 17:09:17
ขยันดีแต้น่อครับ  ;)


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: nansom ที่ วันที่ 10 พฤษภาคม 2011, 22:43:47
คึขนาด ถ้าเสริม Timeline ในเอเชียจะดีแฮ๋มเนาะ


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: แมงคอลั่น ที่ วันที่ 11 พฤษภาคม 2011, 19:11:22
ขอบคุณกำฮู้ดีๆๆๆคับอ้าย  แต่ขอเปลี่ยนน้อยได้ก่อ   ในเรื่องที่ว่ากบฏป้อพญาผาบขอเลี่ยงใจ้กำว่ากบฏเตอะคับ อ่านแล้วแสลงใจ๋

อั้นใจ้กำว่าอะหยังดีครับ
มันคงบ่ามีกำตี้ดีกว่านี้ละคับ
ที่มาที่ไปสืบหายาก ;D ;D ;D

ลองอ่านผ่อแล้วเซาะกำอู้ที่เปิงใจ๋มาผ่อกันน่อ
ในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าหลวงผู้ครองเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ ๗
(ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๓-๒๔๔๐)
กบฏพญาปราบสงครามเกิดขึ้นเมื่อ
วันที่ ๓ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๒ ในตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย
        มูลเหตุเกิดมาจาก น้อยวงษ์เป็นเจ้าภาษีนายอากรผูกขาด ภาษีหมาก ภาษีพลู มะพร้าว
ข้าวเปลือก และ วัวควาย ในแขวงเมืองเชียงใหม่ในอัตราปีละ ๔๑๐๐๐รูปี (สี่หมื่นหนึ่งพันรูปี)
ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเจ้าเดิมถึง ๑๖๐๐๐รูปี ดังนั้น
จึงทำหื้อน้อยวงษ์ต้องเก็บภาษีพืชผลการเกษตรเอากับชาวบ้านอย่างเข้มงวดละเอียดถี่ยิบ
เพื่อให้ได้เงินจนคุ้มทุนและคุ้มกำไรในการดำเนินการผูกขาดสัมปทานภาษีในครั้งนี้

ชาวบ้านชาวเมืองเดือดร้อนกันไปหมดทุกหย่อมหญ้า จ๋นปอมีกำอู้ที่ว่า
จะเกี้ยวหมากสักกำ ต้องหลบหลี้ดีๆ เดียวน้อยวงษ์จะหัน มันจะมาเก็บก๊อก
(ก๊อก เป็นกำเมือง แปลว่า ภาษี ) ในที่สุดความอดทนของชาวบ้านก็ถึงจุดสิ้นสุด
ในเช้าของวันที่ ๓ กันยายน ๒๔๓๒ มีชาวบ้านหนองจ๊อม ๔ คน บ่อมีเงินเสียภาษี
จึงเอาผลิตผลกล้วยอ้อยมาเสียแทนเงิน น้อยวงษ์บ่ายอม ได้จับชาวบ้านทั้งสี่คนใส่ขื่อคาน
แล้วเอามาประจานที่กลางข่วงบ้านป้อแค่วน (บ้านกำนัน) ทำให้พญาปราบสงคราม
ตำแหน่งแม่ทัพเมืองเชียงใหม่ ปกครองแค่วนหนองจ๊อม แค่วนแม่คือ แค่วนกอก
เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมากที่น้อยวงษ์มันมาข่มเหงรังแกคนในปกครองของท่าน
พญาปราบสงคราม โกรธขนาดหนัก ประกอบกับชาวบ้านก็ทนไม่ไหวแล้วเหมือนกัน
เลยบุกเข้าปลดขื่อคาหิ้อชาวบ้านที่ถูกจับทั้งสี่คนออกทันที

และพร้อมใจกันไล่พวกที่มาเก็บภาษีออกไปจากพื้นที่ แถมยังประกาศไปว่า
ต่อไปนี้ห้ามเข้ามาเก็บภาษีในเขตปกครองเด็ดขาด
น้อยวงษ์ ไปฟ้องเจ้าหลวง ชาวบ้านก็รวมตัวกันได้สอง-สามพันคน อาวุธครบมือ
จึงได้ทำพิธีสาบานดื่มน้ำสัจจะกันที่วัดฟ้ามุ่ย บ้านหนองจ๊อม
หลังจากนั้นก็ได้ตกลงยกพญาปราบขึ้นเป็นเจ้าเมืองสันทราย (แข็งเมือง) หมู่ป้อแค่วน
แก่บ้าน ป้อหลวงบ้าน หลายบ้านหลายจองก็มาร่วมสมทบเป็นกองทัพใหญ่
จากเริ่มต่อต้านการเก็บภาษี ก็ลามไปเป็นการแข็งเมือง
ต่อต้านเจ้าหลวงและต่อต้านกรุงเทพในที่สุด พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์
ข้าหลวงพิเศษ ทรงออกคำสั่งลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๓๒
ให้พญาปราบเข้ามอบตัวภายใน ๕ วัน

พญาปราบฯ ไม่ยอม ซ้ำยังวางแผนเข้าตีเมืองเชียงใหม่อีกต่างหาก
เช้าวันที่ ๑๘ จะเข้าตีเมือง
โดยมุ่งหมายสังหารข้าราชการจากส่วนกลางและเจ้าภาษีชาวจีนในฐานะผู้สร้างความเดือดร้อน
โดยเฉพาะน้อยวงษ์นั้นจะเอามาใส่ครกตำให้แหลก
แต่แผนการล้มเหลว เพราะก่อนจะเข้าตีเมือง คืนนั้นฝนตกหนัก น้ำท่วมสันทราย
ชาวบ้านก็เลยแตกทัพกลับไปบ้านไปช่วยเมียขนข้าวขนของหนีน้ำ

ดังนั้น ในวันที่ ๒๑ กันยายน เจ้าอุปราช เจ้าบุรีรัตน์
จึงออกปราบปรามจับกุมชาวบ้านและหัวหน้ากบฏได้โดยง่าย
ส่วนตัวพญาปราบหนีไปได้พร้อมลูกเมีย หัวหน้า ๑๒ คนโดนประหาร ชาวบ้านลูกสมุน
หลายร้อย โดนเฆี่ยนคนละ ๙๐ หวายพ่อง ๖๐ หวายพ่อง เบาสุด ๓๐ หวาย แล้วปล่อยตัวไป
พญาปราบหนีไปเพิ่งเจ้าเมืองเชียงตุง และ เข้ายึดเอาเมืองฝางใน วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๓
หนานอินต๊ะ เจ้าเมืองฝาง ยอมแต่โดยดี ยกเมืองฝางหื้อพญาปราบขึ้นปกครองแทน
พญาปราบได้รวบรวม ชาวเขา ชาวไทใหญ่ ชาวฮ่อ และหมู่ลูกสมุนเก่าๆตั้งตนแข็งเมืองแหมรอบ
ประกาศแยกเมืองฝางเป็นอิสระ

กองทัพลำปางที่เจ้าหลวงลำปางส่งมาช่วยเจ้าหลวงเชียงใหม่ปราบกบฏในครั้งนี้ก็
เลยยกทัพไปเมืองฝาง ไปปะทะกับกองทัพเมืองฝางใน วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๓๓ ไปเจอกันที่
ผานกกิ่ว เขตเมืองพร้าว กองทัพฝางแตกพ่ายไป ลูกชาย ๒ คน
ของพญาปราบฯ ตายในสนามรบ พญาปราบฯ หนีไปอยู่เชียงตุงอีกครั้ง
เจ้าเมืองเชียงตุงจึงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองโก

กบฏพญาปราบสงครามในครั้งนี้ ทำให้กรุงเทพหวาดระแวงและเริ่มไม่ไว้ใจ
พระเจ้าประเทศราชฝ่ายเหนือมากขึ้น เพราะมีความรู้สึกว่า พระเจ้าเมืองเชียงใหม่
ไม่ค่อยจะกระตือรือร้นในการเข้าจัดการปราบปรามกบฏซักเท่าไหร่
เนื่องจากตอนแรกพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้ออกคำสั่งให้ เจ้าอุปราช
(ซึ่งต่อมา คือ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์) นำทัพออกไปปราบพญาปราบ
ซึ่งเป็นแม่ทัพในปกครองของเจ้าอุปราช
เจ้าอุปราชถึงกับมีหนังสือตอบคำสั่งไปว่า
" หากมีการศึกใด จักไปให้ แต่ศึกพญาปราบ ไม่ไป "



ครั้งนั้นทางการบ้านเมืองได้ออกกฎหมายให้เก็บภาษี ต้นหมาก(ภาษีสมพัตร) แต่ไม่ได้เก็บด้วยตนเองปล่อยให้ นายอากร เป็นผู้รับเหมาเก็บจากราษฎรอีกต่อหนึ่ง นายอากรผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการก็ออกสำรวจสวนหมากทุกๆแห่งในเมืองเชียงใหม่เรื่อย
ไป จนถึงอำเภอสันทรายซึ่งเป็นถิ่นของพญาผาบ เป็นนายแคว้นหนองจ๊อม(ผาบ แปลว่า ปราบ)  นายอากรผู้รับอาสามาสำรวจสวนหมาก ได้ทำการสำรวจมาถึงท้องที่อำเภอสันทรายอันเป็นท้องที่บ้านของพญาผาบ ท่านมาถึงท้องที่อำเภอสันทรายอันเป็นท้องที่บ้านของพญาผาบ ท่านพญาได้สังเกตเห็นวิธีการสำรวจของนายอากรคือ เอาเส้นตอกไปมัดต้นหมากไว้ทุกต้นแล้วแก้ออกนับดูจำนวนตอกว่าจะมีสักกี่สิบเส้น ตามกำหนดก็ต้องใช้ตอกมัดต้นละหนึ่งเส้นเท่านั้น แต่นายอากรสมัยนั้นกลับเล่นลวดลายเอากับราษฎรคือ แทนที่จะใช้ตอกเส้นหนึ่งต่อหมากต้นหนึ่ง กลับกลายเป็นว่าต้นหมากต้นหนึ่งมีเส้นตอกมัดไว้หลายเส้น ซึ่งหมายความว่าประชาชนผู้เป็นเจ้าของต้นหมาก จะต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้นจากที่ควรเสีย เพราะ จำนวนตอกกับจำนวนเส้นตอกของนายอากรเกิดไม่ตรงกัน
           พญาผาบเห็นกลโกงของนายอากรก็กล่าวทักท้วงขึ้นทันทีแต่นายอากรก็ไม่ยอมฟังเสียงทักท้วง มุ่งแต่จะทำตามที่ตนมุ่งหวังท่าเดียว พญาผาบขัดใจก็นำความเข้ากราบทูลพ่อเจ้าชีวิตให้ทรงทราบ แต่ครั้งนั้นกิจการบ้านเมืองและอำนาจส่วนใหญ่ได้ถูกลิดรอนไปมากแล้ว การปกครองบ้านเมืองมีทั้งตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑล และอุปราช พ่อเจ้าชีวิตก็อ้ำอึ้งอึดอัดพระทัย ไม่สามารถจะช่วยให้ความเป็นธรรมแก่ท่านพญาได้
          ดังนั้น พญาผาบ บุรุษผู้กล้าหาญแห่งสันทราย ก็บ่ายหน้าไปหาสหายรักที่ชื่อว่า  พญาคูหา  ปรึกษาหารือกันถึงเรื่องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเก็บภาษีต้นหมากซึ่งกำลังเดือดร้อนทุกครัวเรือน 
         “เราจะปล่อยให้อ้ายพวกนี้มากดขี่พวกเราน่ะไม่ได้หรอก ท่านพญา เราจะต้องร่วมมือกันต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม” พญาผาบว่า
“ข้าก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน” พญาคูหาตอบคำปรารภของสหายรักอย่างหนักแน่น “เราจะต้องแข็งข้อไม่ยอมมัน เอาละเราต้องไปป่าวประกาศบอกราษฎรให้ช่วยกันประท้วงการกระทำของนายอากรครั้งนี้”
“แต่เราจะทำการประท้วงด้วยวิธีใดล่ะ ท่านพญา” พญาคูหาถามภายหลังจากนิ่งไปครู่หนึ่งแล้วพญาผาบก็ยังมิได้ต่อคำเพราะกำลังให้หัวคิดตรึกตรองอย่างเคร่งเครียดพอพญาคูหาถามขึ้นเช่นนั้น ท่านพญาผาบก็ตกลงใจได้ในทันที
“ข้าว่าเอาอย่างนี้ดีไหม ในเมื่อพ่อเจ้าชีวิตก็ช่วยอะไรไม่ได้ เราจะรวบรวมกำลังคนออกไปทำการปิดเส้นทางระหว่าง อำเภอสันทรายนี้เสีย ไม่ยอมให้พวกในเวียงมันล่วงล้ำเข้ามาในเขตอำเภอสันทรายได้”
พญาคูหามองตาพญาผาบอย่างยกย่องในความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว การขัดอาญาอันหมายถึงคำสั่งเจ้านายสมัยนั้นมีโทษหนักนัก แต่ด้วยความเป็นลูกผู้ชาย พญาคูหาก็มิได้ย่อท้อกลัวตายเมื่อสหายพญาว่าดังนั้นก็พยักหน้าหงึก
“เอาเลย ท่านพญาผาบ ข้าเองจะเป็นคนออกป่าวประกาศร้องให้ราษฎรยกหมู่ไปปิดกั้นแดน แล้วส่งคนไปเจรจากับทางการบ้านเมืองแถมครั้งหนึ่ง แต่เราจะกำหนดเอาที่ตรงไหนเป็นที่มั่นกันเล่า”
“อ๋อ ข้าตกลงว่าจะเอาตรงลำน้ำแม่คาวนั่นหละท่านพญา” พญาผาบตอบ “เราจะถือเอาลำน้ำแม่คาวเป็นแดนเส้นขนาน ไผจักล่วงล้ำเข้ามามิได้” ด้วยประการฉะนี้  ชายฉกรรจ์ทุกหมู่บ้านในเขตอำเภอ สันทราย ต่างก็ยกกันมาปิดกั้นแดนระหว่างอำเภอสันทรายจนแน่นขนัดไปหมดทุกคนต่างก็มีมีดพร้ากะท้า
ขวานตามมีตามเกิด แต่ส่วนใหญ่ก็ดาบยาวอันเป็นอาวุธประจำมือของแต่ละคน มีพญาผาบเป็นหัวหน้าพญาคูหาเป็นรอง หากเจรจาไม่สำเร็จก็จะพากันแข็งข้อ ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าการทำเช่นนั้นไม่ผิดกับการเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง แต่พญาทั้งสองกับประชาชนชาวสันทรายก็มิได้ย่อท้อ แต่ผลการเจรจากลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่ามิหนำซ้ำยังถูกกล่าวหาว่า “พญาผาบเป็นกบฏ” เสียอีก
บุรุษใจเพชรแห่งสันทราย หมายพึ่งความยุติธรรมไม่ได้แล้วความหวังเพื่อสันติสุขของประชาชนถูกมองผิด ก็เสียใจเป็นอันมาก เมื่อทางฝ่ายบ้านเมืองส่งไพร่พลมาทำการ “ปราบกบฏ” พญาผาบก็พาพวกพ้องของตนต่อสู้กับพวกที่มา “ปราบ” แต่กำลังคนกำลังอาวุธมีไม่เพียงพอ อีกอย่างหนึ่งก็ไม่ได้คิดหมายความว่าจะตั้งตนเป็นกบฏดังกล่าวหา พญาผาบเห็นท่าจะสู้กับฝ่ายบ้านเมืองไม่ได้ก็สู้พลางถอยพลาง เพราะมาจินตนาการว่า หากสู้ไปก็จะพาชาวบ้านทั้งหมดล้มตายไปโดยไร้ประโยชน์ทั้งเป็นการผิดต่อบ้านเมือง แทนที่จะเข้าใจว่าการกระทำของตนเป็นเพียงการประท้วงขอความเห็นใจ ไม่ใช่จะเป็นการคิดกบฏต่อบ้านเมืองก็หามิได้ แต่เมื่อทางฝ่ายบ้านเมืองไม่พยายามเข้าใจ ไม่ยอมสืบสวนหาข้อเท็จจริงที่นายอากรเป็นฝ่ายคดโกงไม่เป็นไปโดยซื่อ เมื่อประท้วงไปก็มาต้องข้อหาว่าเป็นกบฏดังนั้น พญาผาบผู้รักราษฎรยิ่งกว่าตนเองก็ตัดสินใจที่จะรับผิดเสียคนเดียว
พญาผาบผู้กล้าหาญ ผู้ต่อสู้กับฝ่ายบ้านเมือง เพื่อขอความเป็นธรรมเมื่อประสบกับความผิดหวังก็มิได้คิดจะเอาตัวรอดกลับก้มหน้ารับผิดเสียคนเดียว ในที่สุดก็ยอมพลีชีพเพื่อเป็นการป้องกันประชาชนมนท้องถิ่นของตนทั้งหมดด้วยน้ำใจของชายชาติเสือ
การตายของท่านนั้นไม่เป็นการตายเปล่าเพราะต่อมาไม่นานนักทางการก็ได้ประกาศเลิกเก็บภาษีต้นหมากทั่วไป แต่ท่านพญาผาบก็ได้ตายไปแล้ว ตายเพราะการต่อสู้เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมจนวาระสุดท้าย...........


น่านับถือยิ่งนัก


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: แมงคอลั่น ที่ วันที่ 14 พฤษภาคม 2011, 08:46:26
--นักสู้ลุ่มน้ำคาว
--วีรชนคนสันทราย


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: Yim sri ที่ วันที่ 14 พฤษภาคม 2011, 13:32:46
สุดยอด  อ่านซ้ำหลายเที่ยวแล้ว บอกได้คำเดียวว่าสุดยอด สุดยอด
ไปสรรหา มาจากไหนคะนี่ ทึ่งจริง จริง


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: khao e to ที่ วันที่ 14 พฤษภาคม 2011, 21:03:08
พ.ศ.2317 เชียงใหม่ สวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสิน
พ.ศ.2432 เชียงใหม่เกิดเหตุการณ์กบฏพระยาปราบสงคราม
พ.ศ.2435 การปฏิรูปการปกครอง โยงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
พ.ศ.2442 รัฐบาลสยามผนวกล้านนาและประกาศจัดตั้งมณฑลพายัพ

กบฎพญาผาบ (ปราบสงคราม)

 สาเหตุเพราะเจ้านายฝ่ายเหนือเสียผลประโยชน์ ซึ่งเดิมก่อนที่พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากรจะทรงปฏิรูปการปกครองล้านนาระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๓๒
นั้น เจ้านายฝ่ายเหนือเคยได้รับผลประโยชน์จากภาษีเต็มที่ แต่พอจัดระบบภาษีใหม่แล้ว ผลประโยชน์ต้องแบ่งเป็น ๓ ส่วนคือ ส่วนแรกเงินเดือนข้าหลวงฝ่ายไทยและใช้ใน
ราชการ ส่วนที่ ๒ สำหรับพระเจ้าเชียงใหม่และบุตรหลาน ส่วนที่ ๓ คือส่วนที่เหลือทั้งหมดส่งไปยังรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ การขาดผลประโยชน์ดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่
เจ้านายฝ่ายเหนือไม่พอใจวิธีแบ่งผลประโยชน์ของรัฐบาลหัวหน้ากบฎคือพญาผาบ อายุประมาณ ๕๐ ปี สาเหตุกบฎเนื่องจากใน พ.ศ. ๒๔๓๒ น้อยวงษ์ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้า
ภาษีต้นหมาก มะพร้าว พลู ที่เมืองเชียงใหม่ ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน น้อยวงษ์และบริวารไปเก็บภาษี ราษฎร ๔ คนไม่มีเงินเสียภาษีจึงถูกจับกุมใส่ขื่อที่มือและเท้าทิ้ง
ตากแดด ตากฝนอยู่ ๔-๕ วัน ราษฎรในหมู่บ้านแคว้นจ๊อม (ปัจจุบัน คือตำบลหนองจ๊อม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่) โกรธแค้นมาก ได้นำเรื่องไปปรึกษาพญาผาบที่
ชาวบ้านนับถือในหมู่บ้านสันป่าสักซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน พญาผาบจึงรับเป็นหัวหน้ากำจัดเจ้าภาษี ได้รวบรวมผู้คนประมาณ ๒,๐๐๐ คน มีข้าราชการพื้นเมืองระดับหัวหน้าตำบล
ร่วมมือด้วย ผลที่สุดขุนนางไทยในเมืองเชียงใหม่ปราบได้ พญาผาบหนีไปเมืองเชียงตุง การที่พวกพญาผาบทำร้ายและฆ่าเฉพาะเจ้าหน้าที่ข้าราชการไทย และคนจีน
อาจได้รับการสนับสนุนจากเจ้านายฝ่ายเหนือด้วยเพราะไม่พอใจข้าราชการไทยที่ขึ้นมาปกครองหัวเมืองล้านนาและการจัดแบ่งผลประโยชน์  
สำหรับคนจีนที่ต้องฆ่าเพราะเข้ามากอบโกยทางการค้าขาย เป็นเจ้าภาษีนายอากรและเป็นนายทุน นายหน้า


 สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ภาษีอากร มีลักษณะเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือมีจังกอบ ส่วย อาการและฤชา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3(พ.ศ. 2367 - 2394) พระองค์ทรงสนพระทัยที่จะปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศ ในยุคนั้นทางราชการ
มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินมากกว่าในแผ่นดินก่อนๆ ทรงพยายามหาวิธีเพิ่มรายได้แผ่นดินด้วยการให้ผูกขาดการเก็บภาษีอากร โดยอนุญาตให้เจ้าภาษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
ชาวจีนในประเทศไทยเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง ในแต่ละปีเจ้าภาษีจะเสนอรายได้สูงสุดในการจัดเก็บภาษีอากรแต่ละชนิดให้แก่รัฐบาล
เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแล้ว เจ้าภาษีจัดแบ่งส่งเงินรายได้แก่รัฐบาลเป็นรายเดือนจนครบกำหนดที่ได้ประมูลไว้เป็นการเริ่มระบบเจ้าภาษีนายอากรนับแต่นั้นมา

ระบบเจ้าภาษีนายอากรไม่มีประสิทธิภาพ ตามที่รัฐบาลได้ให้เจ้าภาษีนายอากรรับผูกขาดการเก็บภาษีอากรชนิดต่างๆ และนำเงินส่งรัฐเพื่อเป็นรายได้นำมาทำนุบำรุงประเทศ
นั้น ปรากฏว่าในระยะแรกเจ้าภาษีนายอากรก็นำเงินส่งราชการเต็มตามจำนวนและตรงเวลา แต่เมื่อนานวันไปเจ้าภาษีนายอากรมักบิดพลิ้วผัดผ่อน ไม่ส่งเงินตามกำหนดและ
ส่งให้ไม่ครบตามจำนวน อีกทั้งยังทำการรีดนาทาเร้นราษฎรให้ได้รับความเดือดร้อน เกิดระบบการยักยอก ฉ้อโกงเงินหลวงของเจ้าหน้าที่และเจ้าภาษีนายอากร  
จำนวนเงินที่รัฐควรจะได้ก็ไม่ครบตามจำนวนที่พึงได้ เป็นผลกระทบต่อเงินรายจ่ายของแผ่นดิน จนเกือบจะไม่พอใช้ในกิจการต่างๆ

จนกระทั่งเมื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย มาเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (พ.ศ. 2439-2449)
ทรงทราบเรื่อง จึงมีพระประสงค์จะปรับปรุงแก้ไขวิธีการเก็บภาษีอากร  จากระบบเจ้าภาษีนายอากร มาเป็นทางราชการเป็นผู้เก็บเอง โดยในช่วงแรกได้ทดลองให้
เทศาภิบาลบางแห่งจัดเก็บภาษีอากรเอง ปรากฏว่าได้ผลดี สามารถจัดเก็บภาษีอากร ได้เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จึงโปรดให้เลิกวิธีการเรียกประมูลรับเหมาผูกขาดเก็บ
ภาษีอากรจากราษฎรโดยสิ้นเชิง และให้เทศาภิบาลเก็บเองเหมือนกันหมดทุกมณฑล




หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: khao e to ที่ วันที่ 14 พฤษภาคม 2011, 21:08:23
พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่
 ให้เป็นไปตามอย่างอารยะประเทศในโลกตะวันตก โดยทรงตั้งกระทรวงขึ้นใหม่ 12 กระทรวง และโอนการปกครองหัวเมืองทั้งหมดให้มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย
โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้นดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ) เป็นองค์ปฐมเสนาบดี

เมื่องานการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยแล้ว การจัดการปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาลจึงได้เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2437
โดยแบ่งระดับการปกครองจากสูดสุงไปหาต่ำสุดเป็นมณฑล, เมือง (เทียบเท่าจังหวัด), อำเภอ, ตำบล และหมู่บ้าน มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้กำกับดูแลมณฑล
การก่อตั้งมณฑลนั้นจะเป็นไปตามลำดับโดยขึ้นอยู่กับความเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ด้วย วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดการปกครองเช่นนี้ ก็เพื่อให้ส่วนกลาง
สามารถควบคุมดูแลหัวเมืองและจัดการผลประโยชน์แผ่นดินได้อย่างใกล้ชิด และริดลอนอำนาจและอิทธิพลของเจ้าเมืองในระบบเดิมลงอย่างสิ้นเชิง

การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองดังกล่าว ทำให้ขุนนางท้องถิ่นที่ต้องการรักษาฐานอำนาจและอิทธิพลของตนไว้ ก่อการกบฏต่อต้านอำนาจรัฐ
ในบางภูมิภาค เหตุการณ์กบฎครั้งสำคัญคือกบฏผู้มีบุญอีสาน (หรือ "กบฎผีบาปผีบุญ") ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2445 โดยอาศัยความเชื่อเรื่องยุคพระศรีอาริยเมตไตรย
เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านอำนาจรัฐ ขบวนการผู้มีบุญได้เคลื่อนไหวตามทั่วภาคอีสาน แต่ที่เป็นเหตุใหญ่ที่สุดอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งกลุ่มกบฎได้ก่อการถึงขั้นเผาเมืองเขมราฐและบังคับให้เจ้าเมืองเขมราฐร่วมขบวนการ แต่ที่สุดแล้วกบฏครั้งนี้ก็ถูกปราบปรามลงในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา

สรุปได้ว่าการรวมอำนาจการปกครองได้ส่งผลให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็จริง คือ ก่อให้เกิดรัฐชาติ มีเอกภาพในการบังคับบัญชา แต่ก็ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่
ผู้เสียผลประโยชน์ทั้งทางอำนาจในการปกครองและการเงินจึงทำให้เกิดกบฎขึ้นดังกล่าว



หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: khao e to ที่ วันที่ 14 พฤษภาคม 2011, 21:30:47
.


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: แมงคอลั่น ที่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2011, 09:00:15
           ไม่มีผู้ใดเขียนประวัติของตัวเองให้เป็นผู้ร้าย


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: khao e to ที่ วันที่ 25 พฤษภาคม 2011, 21:18:42
ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ขึ้นครองนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๑๖ - พ.ศ. ๒๔๔๐

ในสมัยนี้บริษัททำป่าไม้ ซึ่งทะยอยเข้ามาประกอบกิจการในเชียงใหม่เช่นบริษัทบริติชบอร์เนียว (British Borneo) เข้ามาในราว พ.ศ. ๒๔๐๗ บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (Bombay Burma) เข้ามาในราว พ.ศ. ๒๔๓๒ และ บริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest) เป็นต้น ได้นำเอาลูกจ้างชาวพม่า กะเหรี่ยง และชาวพื้นเมืองอื่น ๆ เข้ามาทำงานในกิจการดังกล่าว ดังนั้นจึงมีชาวอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษเข้ามาในล้านนามากขึ้นตามลำดับ และในการทำป่าไม้ได้เกิดปัญหาถึงขั้นฟ้องศาลที่กรุงเทพหลายคดี จากหลักฐานพบว่ามีคดีความจำนวน ๔๒ เรื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๑-๒๔๑๖ ตุลาการตัดสินยกฟ้อง ๓๑ เรื่อง ส่วนอีก ๑๑ เรื่องพบว่าเจ้านายทำผิดจริง จึงตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายรวม ๔๖๖,๐๑๕ รูปี หรือ ๓๗๒,๘๑๒ บาท เจ้าเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้นคือพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯได้ขอชำระเพียงครึ่ง เดียวก่อน ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน ๖ เดือน แต่กงสุลอังกฤษไม่ยอมรับ บังคับให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ชำระทั้งหมด หรือมิฉะนั้นต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย ซึ่งราชสำนักกรุงเทพฯก็ไม่ยินยอม ดังนั้น เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงจ่ายค่าเสียหาย ๑๕๐,๐๐๐ รูปี (๑๒๐,๐๐๐ บาท) ราชสำนักกรุงเทพฯให้ยืมเงิน ๓๑๐,๐๐๐ รูปี (๒๔๘,๐๐๐ บาท) โดยต้องชำระคืนภายใน ๗ ปี พร้อมทั้งดอกเบี้ยในรูปไม้ขอนสัก ๓๐๐ ท่อนต่อปี
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเหตุหนึ่ง ให้ต้องมีการปฏิรูปการปกครองในมณฑลพายัพในเวลาต่อมา โดยเริ่มตั้งแต่ส่งพระนรินทรราชเสนี (พุ่ม ศรีไชยยันต์) ปลัดบัญชีกรมพระกลาโหมไปเป็นข้าหลวงสามหัวเมือง ประจำอยู่ที่เชียงใหม่ มีหน้าที่ควบคุมดูแลและแนะนำให้พระเจ้าเชียงใหม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญา เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๑๖ และ โปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงพิเศษ มาจัดการแก้ไขปัญหาชายแดนและดำเนินการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ.๒๔๒๗ ส่งผลให้เกิดปฏิกริยาเป็นกบฎผญาปราบสงคราม ในพ.ศ.๒๔๓๒ หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว รัฐบาลกลางได้ยอมผ่อนปรนบางประการ เช่น ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ อนุญาตให้พระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯยกเลิกเสนาผู้ช่วย ๖ ตำแหน่งตามที่เสนอไป แต่ก็ดำเนินการปฏิรูปการปกครองตามระบบมณฑลเทศาภิบาลต่อไปจนสำเร็จ จัดตั้งเป็นมณฑลลาวเฉียง (พ.ศ.๒๔๓๖ - ๒๔๔๒) และมณฑลพายัพ (พ.ศ.๒๔๔๒-๒๔๗๖) อยู่ภายใต้การกำกับราชการของข้าหลวงเทศาภิบาล


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: bottomblues ที่ วันที่ 26 พฤษภาคม 2011, 16:20:21
good job


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: ALPHA1 ที่ วันที่ 05 มิถุนายน 2011, 14:40:15

    "ที่ใด?ไม่มีความยุติธรรม ที่นั้นต้องมีวีรชนเช่น พญาผาบครับ"


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: Aikaew ที่ วันที่ 10 กันยายน 2011, 14:20:46
เสียดายบะมีอ้างอิงหื้อสืบค้นต่อง่ายๆเนาะ ไผเป๋นคนเขียนก็ละความบะดีของตั๋วเก่า เพิ่มความเข้าท่าหื่อหมู่ต๋น


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: แสนฝาง๒ ที่ วันที่ 13 กันยายน 2011, 18:18:54
เคยอ่านเจอหนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา ที่หอสมุดเชียงใหม่ อ่านผ่านๆ เจอผู้หญิงชื่อ บัวจำ ณ น่าน ซึ่งมีประวัติน้อยมาก เพราะถูกตัดจากเครือพระญาติ เนื่องจากประพฤติตนไม่ดี และลูกหลานของแม่บัวจำ ก็ห้ามใช้นามสกุล ณ น่าน ด้วยใช่ไม่ คุณแฟนพันธ์แท้เชียงราย พอมีข้อมูล แม่บัวจำ ณ น่าน หรือไม่


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: deenaA ที่ วันที่ 05 ตุลาคม 2011, 11:59:51
ิอิอิ


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: p@nyai design ที่ วันที่ 06 ตุลาคม 2011, 17:15:45
ตวยมาอ่าน


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: Nick_Marine ที่ วันที่ 31 ตุลาคม 2011, 03:54:12
ขอบคุณมากๆครับ..


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: Tokio ที่ วันที่ 02 ธันวาคม 2011, 17:56:17
ขอบคุณครับ ข้อมูลดีขนาด  ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: darkmany ที่ วันที่ 23 ธันวาคม 2011, 11:39:25
ไม่บอกนี้ไม่รู้นะนี้


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: chate ที่ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2012, 18:25:24
ก๊าย..ความบ่ยุติธรรม >:(


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: pojput ที่ วันที่ 20 มีนาคม 2012, 13:47:53
 :)


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: HARLEY DAVIDSON ที่ วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 20:01:33
ย้อนอดีต  ;D


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: khao e to ที่ วันที่ 25 กันยายน 2012, 00:52:23

พศ.๒๓๒๕  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๓๐   ศึกพม่าที่นครลำปางและป่าซาง

สงครามครั้งที่ ๓
คราวพม่าตีเมืองนครลำปางและเมืองป่าซาง

เรื่องสงครามนี้ เนื้อความในหนังสือพระราชพงศาวดารกับพงศาวดารพม่าแตกต่างกันตอนปลาย แต่ข้างตอนต้นยุติต้องกันว่า ตั้งแต่พม่ายกกองทัพใหญ่เข้ามาแตกพ่ายไปจากเมืองไทยสองคราวติดๆกัน พระเจ้าปดุงก็เข็ดขยาดฝีมือไทยไม่ยกมารบอีก

แต่เมื่อกิตติศัพท์เลื่องลือแพร่หลายไปว่า ไทยมีชัยชนะพระเจ้าปดุง พวกหัวเมืองประเทศราชลื้อเขินซึ่งเป็นเมืองขึ้นพม่าอยู่ข้างเหนือ มีเมืองเชียงรุ้งและเมืองเชียงตุงเป็นต้น ก็กันกระด้างกระเดื่องขึ้น พระเจ้าปดุงเกรงหัวเมืองลื้อเขินจะมาเข้ากับไทยไปเสียหมด จึงให้กองทัพใหญ่ยกมาปราบปรามหัวเมืองที่กระด้างกระเดื่อง เมื่อปีมะเเม พ.ศ. ๒๓๓๐

กองทัพพม่าที่ยกมาครั้งนี้ ในพงศาวดารพม่าว่าพระเจ้าปดุงให้หวุ่นยีมหาชัยสุระเป็นแม่ทัพ ถือพล ๔๕,๐๐๐ ยกลงมาทางหัวเมืองไทยใหญ่ ครั้นถึงเมืองนาย หวุ่นยีมมหาชัยสุระจึงแงกองทัพออกเป็นหลายกอง ให้แยกกันไปเที่ยวปราบปรามหัวเมืองลื้อเขินที่กระด้างกระเดื่อง และให้จอข่องนรทาคุมพลกองหนึ่งมีจำนวน ๕,๐๐๐ ยกลงมามปราบปรามหัวเมืองในแว่นแค้นลานนา

ในหนังสือพระราชพงศาวดารจึงกล่าวถึงแต่จึงกล่าวถึงแต่เฉพาะกองทัพจอข่องนรทานี้ ว่ายกลงมาตีเมืองฝาง ซึ่งอยู่ตอนลุ่มแม่น้ำโขง ข้างเหนือเมืองเชียงใหม่ ครั้นได้เมืองฝางแล้วก็ตั้งกองทัพทำนาหาเสบียงอาหารอยู่ที่นั่น กำหนดว่าจะลงมาตีเมืองนครลำปางต่อฤดูแล้ง

ในเวลานั้นเมืองเชียงใหม่ร้างอยู่ โปมะยุง่วนพม่าซึ่งเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่อยู่แต่ก่อนนั้น หลบหนีไทยไปอยู่เมืองเชียงแสนเดิมมีกำลังประมาณ ๓,๐๐๐ แต่ไพร่พลล้มตายหลบหนีไปเสียมาก เหลืออยู่ไม่ถึงพัน ก็ได้แต่รักษาเมืองเชียงแสนอยู่ ไม่กล้ากลับเข้ามาตั้งที่เมืองเชียงใหม่ และเมื่อจอข่องนรทามาตีเมืองฝางนั้น สั่งให้โปมะยุง่วนคุมกองทัพพม่าที่รักษาเมืองเชียงแสนไปสมทบด้วย โปมะยุง่วนรวบรวมกำลังได้ไปแต่ ๕๐๐ คน ด้วยไพร่พลรอยหรอเสียมากดังกล่าวมาแล้ว จะเป็นเพราะจอข่องนรทาแบ่งเอาคนไว้เสียบ้าง หรือจะไปล้มตายหายจากอีกอย่างใดอย่างหนึ่ง ครั้นพม่าได้เมืองฝางแล้ว โปมะยุง่วนกลับมาเมืองเชียงแสนมีจำนวนไพร่พลพม่าเหลือเป็นกำลังรักษาเมืองลดน้อยลงไปอีก

ขณะนั้นเจ้าเมืองในแว่นแค้นลานนาซึ่งต้องอยู่ในอำนาจพม่าด้วยจำใจ เห็นได้ท่วงที พระยาแพร่ชื่อมังชัยกับพระยายอง จึงรวบรวมพลเมืองเข้าเป็นกองทัพยกไปตีเมืองเชียงแสน โปมะยุง่วนสู้ไม่ได้หนีเข้ามาหมายจะอาศัยเมืองเชียงราย พระยาเชียงรายนั้นก็ไม่พอใจจะอยู่ในอำนาจพม่าเหมือนกัน จึงจับตัวโปมะยุง่วนส่งให้พระยาแพร่มังชัย พระยาแพร่มังชัยกับพระยายองก็คุมตัวโปมะยุง่วนเข้ามาให้พระยากาวิละ ณ เมืองนครลำปาง พระยากาวิละจึงบอกส่งลงมากรุงเทพฯ ทั้งพระยาแพร่มังชัยพระยายองและโปมะยุง่วนนายทัพพม่า โปรดให้ซักถามคำให้การโปมะยุง่วน โปมะยุง่วนให้การว่ากองทัพพม่าจะมาตีเมืองนครลำปางในฤดูแล้ง และจะมาตั้งรักษาเมืองเชียงใหม่ต่อไป(๑)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงทราบความคิดพม่า ที่จะกลับมาปกครองแว่นแคว้นลานนา อย่างเมื่อครั้งกรุงเก่า ทรงพระราชดำริ ที่พม่ามาตีเมืองไทยได้แต่ก่อนก็ด้วยอาศัยเสบียงและพาหนะในแว่นแคว้นลานนาเป็นกำลังทุกคราว จะปล่อยให้พม่ามาตั้งอยู่เมืองเชียงใหม่ไม่ได้

จึงโปรดให้พระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปาง แบ่งครอบครัวพลเมืองจากนครลำปางขึ้นไปตั้งเมืองเชียงใหม่ ส่วนที่เมืองนครลำปางให้นายคำโสมน้องชายพระยากาวิละเป็นเจ้าเมือง แต่เมืองลำพูนนั้นต้องทิ้งให้ร้างอยู่ ด้วยผู้คนยังไม่พอจะให้กลับไปตั้งเมืองได้ พระยากาวิละขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ผู้คนที่มีไปเป็นกำลังยังน้อยนัก จึงตั้งอยู่ที่เมืองป่าซาง ซึ่งเป็นเมืองเดิมอยู่ใต้เมืองเชียงใหม่ลงมา(๒)

ในปีมะแม พ.ศ. ๒๓๓๐ นั้น โปรดให้กองทัพเมืองสวรรคโลกและเมืองกำแพงเพชร ยกขึ้นไปช่วยพระยากาวิละรักษาเมืองป่าซาง แต่ผู้ใดจะเป็นแม่ทัพขึ้นไปหาปรากฏไม่ ครั้นถึงฤดูแล้งหวุ่นยีมหาชัยสุระแม่ทัพพม่าทางเหนือ ยกกองทัพลงมาจากเมืองเชียงตุงตีได้เมืองเชียงแสนเชียงราย แล้วสมทบกับกองทัพจอข่องนรทาที่ตั้งอยู่ ณ เมืองฝาง ยกลงทางเมืองพะเยามาตีเมืองนครลำปาง

ในขณะนั้นพระเจ้าปดุงให้กองทัพพม่าอีกทัพหนึ่งเลตะละสีหะสิงครันเป็นแม่ทัพ มีจำนวนพล ๓๕,๐๐๐ ยกมาจากเมืองเมาะตะมะทางท่าตาฝั่งแขวงเมืองยวม ตรงมาตีเมืองป่าซางด้วยพร้อมกัน พระยากาวิละกับกองทัพเมืองกำแพงเพชรเมืองสวรรคโลกยกออกตีกองทัพพม่า พม่าไม่แตกไปจึงตั้งมั่นรักษาเมืองไว้

ฝ่ายกองทัพหวุ่นยีมหาชัยสุระซึ่งยกมาจากทางเหนือ มาถึงเมืองนครลำปางก็เข้าตี พระยานครลำปางคำโสมต่อสู้ป้องกันเมืองเป็นสามารถ พม่ายกเข้าปล้นเมืองป่าซางและเมืองนครลำปางหลายครั้งก็ไม่ได้เมือง จึงตั้งค่ายล้อมไว้ทั้ง ๒ แห่ง หวังจะตัดเสบียงอาหารให้คนในเมืองอดอยาดระส่ำวะสายเสียก่อน จึงจะยกเข้าหักเอาเมืองต่อภายหลัง

ในขณะนั้นที่กรุงเทพมหานคร กำลังเตรียมกองทัพหลวงจะเสด็จไปตีเมืองทวาย ดังจะปรากฏเรื่องราวต่อไปในตอนข้างหน้า ครั้นได้ข่าวว่าพม่ายกกองทัพมาตีเมืองป่าซางอีกทัพหนึ่ง และกองทัพพม่าที่ยกลงมาตีเมืองนครลำปาง ก็เป็นทัพใหญ่ยิ่งกว่าที่มาตีเมืองฝาง ดังได้ทรงทราบข่าวอยู่แต่ก่อน จึงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯเสด็จยกกองทัพหลวง มีจำนวนพล ๖๐,๐๐๐ ขึ้นไปช่วยเมืองนครลำปางและเมืองป่าซาง

กองทัพกรมพระราชวังบวรฯเสด็จขึ้นไปถึงเมืองนครลำปางเมื่อเดือน ๔ ในพงศาวดารพม่าว่าพอไทยยกกองทัพขึ้นไปถึงก็เข้าตั้งค่ายโอบพม่าที่ตั้งล้อมเมือง และให้กองทัพไปสกัดทางมิให้แม่ทัพใหญ่ส่งกำลังมาช่วยกองทัพที่ล้อมเมืองได้ แล้วให้สัญญากับพวกในเมืองนครลำปางพร้อมกันระดมตีค่ายพม่า รบกันอยู่ ๓ คืนกับ ๔ วัน ถึงเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ กองทัพพม่าต้านทานไม่ได้ก็แตกหนีกลับไปเมืองเชียงแสน

ครั้นไทยมีชัยชนะพม่าที่เมืองนครลำปางแล้ว ก็ยกขึ้นไปยังเมืองป่าซาง เข้าตีกองทัพพม่าที่มาตั้งล้อมเมืองอยู่ ฝ่ายพระยากาวิละเห็นกองทัพไทยยกขึ้นไปช่วย ก็ยกออกตีพม่าจากในเมืองอีกทางหนึ่ง กองทัพพม่าที่มาล้อมเมืองป่าซางนั้นก็แตกหนีกลับไปเหมือนกัน ครั้นเสร็จการสงคราม กรมพระราชวังบวรฯเสด็จกลับ จึงโปรดให้เชิญพระพุทธรูปอันทรงพระนามว่า "พระพุทธสิหิงค์" ลงมากรุงเทพฯด้วยในคราวนี้


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: Herewego ที่ วันที่ 26 ตุลาคม 2012, 14:08:40
55 ในระหว่างที่เราวุ่นวายกับการทำสงคราม ฝรั่งเปิ้นคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ได้ตั้งหลายอย่าง


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: godone108 ที่ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2012, 15:11:22
ขอบคุณคับ


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: maimai ei ei ที่ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2012, 08:32:02
ขอบคุณคับสำหรับข้อมูลดีๆๆ น่าจะหื้อลูกหลานของเฮา มาศึกษาเฮียนฮู้ผ่องคับ


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: ผีอี่ฅ้อญ ที่ วันที่ 02 กุมภาพันธ์ 2015, 12:14:13
สุดยอดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


หัวข้อ: Re: ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติศาสตร์โลก
เริ่มหัวข้อโดย: pipomas44 ที่ วันที่ 12 พฤษภาคม 2017, 16:32:24
 ;Dhttp://zeantoeball.com/ (http://zeantoeball.com/)