เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย

ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย => เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง => ข้อความที่เริ่มโดย: Siranoi ที่ วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 06:14:45



หัวข้อ: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน อำลาจอ .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 06:14:45
วันนี้วันที่ 14 มิถุนายน 2555
..................
(http://upic.me/i/ci/untitled-2_925.jpg) (http://upic.me/show/36582807)
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - เกิดอุบัติเหตุโป๊ะที่ท่าเรือพรานนก เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ล่มลงในแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากมีผู้โดยสารมากเกินขีดจำกัด เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 24 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
วันนี้เมื่อ พ.ศ. 2538  โป๊ะล่มที่ท่าเรือพรานนก มีผู้เสียชีวิตราว 29 คน
เกิดอุบัติเหตุโป๊ะรับส่งผู้โดยสารบริเวณท่าเรือพรานนกล่มลง เนื่องจากมีผู้โดยสารลงไปรอเรือบนโป๊ะจำนวนมาก ประกอบกับเป็นช่วงที่เรือเข้าเทียบท่า ทำให้มีคลื่นกระทบกับโป๊ะแล้วทำให้ทุ่นเอียงและมีน้ำเข้าไปในทุ่นจนไม่สามารถรับน้ำหนักต่อไปได้ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต ราว 29 คน  
(http://upic.me/i/hi/14_167small.jpg) (http://upic.me/show/36582814)
     วันนี้เมื่อ พ.ศ. 2530  ลี คยุงยุนได้รับตำแหน่งแชมป์โลกรุ่น 105 ปอนด์ คนแรกในประวัติศาสตร์วงการมวย
ลี คยุงยุน (Kyung Yun Lee) นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้ ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกรุ่น 105 ปอนด์ คนแรกในประวัติศาสตร์วงการมวย ในรุ่นมินิฟลายเวท IBF ที่ว่างโดยการชนะน๊อค มาซาฮารุ คาวาคามิ ในยกที่ 2 ที่ประเทศเกาหลีใต้
(http://upic.me/i/sj/untitled-1_small.jpg) (http://upic.me/show/36582818)
วันนี้เมื่อ พ.ศ. 2528  ผู้ก่อการร้ายชาวเลบานอนและกลุ่มฮิซโบลลาห์จี้เครื่องบิน
ผู้ก่อการร้ายชาวเลบานอนและกลุ่มฮิซโบลลาห์จี้เครื่องบินของสายการบิน TWA เที่ยวบิน 847 ซึ่งกำลังเดินทางจากกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ จะไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี ผู้ก่อการร้ายสังหารนักประดาน้ำกองทัพเรือสหรัฐ 1 คน และทิ้งศพลงไว้ที่ลานในท่าอากาศยาน

 


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 15 มิถุนายน 2012, 06:13:34
วันนี้วันที่ 15 มิถุนายน 2555
..................
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2310 (ค.ศ. 1767) – พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตีได้เมืองจันทบุรี หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ๒ เดือน
การกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (1)


      ในช่วงที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น พระยาวชิระปราการ (ตำแหน่งสุดท้ายของพระยาตาก) เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งถูกเรียกตัวมาช่วย
รักษากรุง เห็นว่าจะรักษากรุงไว้ไม่ได้ จึงรวบรวมผู้คนได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าแนวรบของทหารพม่าออกไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
เมื่อผ่านเมืองใดก็จะส่งทหารเข้าไปชักชวนให้เจ้าเมืองมาร่วมมือกัน ถ้าเมืองใดไม่ยอมก็จะใช้กำลังเข้าโจมตี ทำให้พระยาตากมีกำลังมากขึ้น
พระยาตากเห็นว่าการจะกู้ชาติบ้านเมืองให้สำเร็จนั้นจะต้องมีบารมีเป็นที่นับถือยำเกรงของคนทั้งหลาย จึงประกาศตั้งตนเป็นเจ้าที่เมืองระยอง
ด้วยความเห็นชอบของบรรดาทหารและประชาชน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังจันทบุรี แต่ได้รับการต่อต้าน พระเจ้าตากจึงทรงแสดงความ
สามารถใช้กลวิธีปลุกใจทหารและสร้างแรงบันดาลใจโดยให้ทหารทุบหม้อข้าวหม้อแกงก่อนเข้าตี หวังจะไปกินอาหารมื้อต่อไปในเมือง
ซึ่งได้ผลเพราะทหารเกิดกำลังใจที่จะต้องตีเมืองจันทบุรีให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีอาหารกิน การตีจันทบุรีจึงสำเร็จ และพระเจ้าตากสินจึง
ใช้เมืองจันทบุรีเป็นศูนย์กลางในการกู้เอกราช การยกทัพของพระเจ้าตากสินที่ตีฝ่าพม่าออกไปมีเส้นทางเดินทัพผ่านไปตามเมืองต่างๆ
ถ้าพิจารณาตามสถานที่ของจังหวัดในปัจจุบันก็จะผ่าน อยุธยา----นครนายก-----ปราจีนบุรี-----ฉะเชิงเทรา-----ชลบุรี-----ระยอง-----จันทบุรี

      เมื่อพระเจ้าตากสินมีกำลังไพร่พลมากขึ้น จึงได้ยกทัพมาตีธนบุรีเป็นด่านแรก ได้ปะทะกับกำลังของนายทองอิน คนไทยที่พม่าแต่งตั้ง
ให้เป็นผู้รักษากรุง พระยาตากสินชนะจับนายทองอินประหารชีวิต จากนั้นจึงเดินทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาในค่ำวันเดียวกันนั่นเอง

      ศึกกู้ชาติอย่างแท้จริงได้เริ่มขึ้นในเช้าวันเพ็ญเดือน 12  ตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ณ ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งอยู่เหนือ
กรุงศรีอยุธยาขึ้นไปเล็กน้อย  มีกองกำลังของพม่าคุมเชิงอยู่  มีสุกี้พระนายกองเป็นผู้บังคับบัญชา   พระเจ้าตากสินรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์
สามต้น   ซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชคืนจากพม่าได้สำเร็จโดยใช้เวลาเพียง  7  เดือนเศษเท่านั้นนับจากเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310
ปีต่อมาพระเจ้าตากได้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปอยู่ที่กรุงธนบุรีซึ่งมีชื่อเต็มว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” และได้ปราบดาภิเษก
ขึ้นเป็นกษัตริย์  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4

 
 ความรู้เพิ่มเติม......

      พิธีปราบดาภิเษก เป็นพิธีขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ผู้ซึ่งปราบเอาชนะผู้อื่น แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ ต่างจากพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นพิธีขึ้นครองราชย์ ของกษัตริย์ที่ได้รับสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา   

      เมื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แล้ว พระองค์ยังมิได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จครอบคลุมอาณาจักรไทยทั้งหมด เพราะว่าหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว
แผ่นดินว่างกษัตริย์ บ้านเมืองระส่ำระสาย คนไทยแตกแยกออกเป็นชุมนุมใหญ่น้อยมากมายแต่ละชุมนุมต่างรบราฆ่าฟันกันเองเพื่อแย่งชิงเสบียง
อาหารและปล้นสะดมทรัพย์สินหรือเสริมสร้างอำนาจ ซึ่งพระเจ้าตากได้ทรงวางแผนการที่จะรวบรวมชุมนุมต่างๆการปราบปรามชุมนุมต่างๆ
เป็นความจำเป็นทางการเมือง เพราะชุมนุมเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความได้เปรียบพระเจ้าตากทั้งสิ้น ทั้งนี้พิจารณาได้จากชาติกำเนิดอำนาจวาสนา
ของผู้นำชุมนุม นอกจากชุมนุมของสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว ยังมีชุมนุมขนาดใหญ่อีก 4 ชุมนุม ดังนี้

      1. ชุมนุมเจ้านคร ตั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช มีหลวงสิทธินายเวร(หนู) เป็นผู้นำหลวงสิทธินายเวรเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
มีอำนาจสิทธิขาดในเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ในภาคใต้ มีผู้คนมาก มีกำลังเข้มแข็งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกจึงถือโอกาสตั้งตัว
เป็นอิสระ
      2. ชุมนุมเจ้าพิมาย ตั้งอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ผู้นำคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งเป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
มีผู้คนมาเข้าด้วยเป็นอันมากเพราะถือว่าเป็นเจ้านายอาวุโสในราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นผู้ที่เหมาะสมจะขึ้นครองราชย์อย่างถูกต้อง
ตามทำนองครองธรรม
      3. ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ผู้นำชื่อ เรือง ปกครองหัวเมืองเหนือ พิษณุโลกเป็นชุมนุมใหญ่มีกำลังมาก
ผู้นำมีความสามารถในการรบ เป็นความหวังของคนทางเหนือว่าจะเป็นผู้นำในการกอบกู้บ้านเมือง ชุมนุมนี้จึงแข็งแกร่งกว่าชุมนุมใดๆ
      4. ชุมนุมเจ้าพระฝาง ตั้งอยู่ที่สวางคบุรี อุตรดิตถ์ ผู้นำเป็นพระชื่อ เรือน เป็นพระสังฆราชาเมืองสวางคบุรี อยู่ที่วัดพระฝาง
เชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์วิชาอาคม มีผู้คนศรัทธามาก จึงมีคนมาเข้าด้วยจำนวนมาก

      ทั้ง 4 ชุมนุมมีข้อได้เปรียบสมเด็จพระเจ้าตากสินตรงที่มีอำนาจอยู่ในหัวเมืองของตนเองอยู่แล้ว ผู้คนเคารพยำเกรงมาก่อนไม่ต้องแสดงความ
สามารถในการรบเพื่อสร้างศรัทธาเพียงแต่อาศัยชาติกำเนิดและอำนาจที่มีอยู่ และยังมีฐานที่มั่นที่มั่นคงแข็งแรง มีกำลังคนมากมายในขณะที่
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีชาติกำเนิดเป็นคนธรรมดาสามัญ ลูกครึ่งไทย-จีน ตำแหน่งเดิมเป็นพระยาตาก เจ้าเมืองตากซึ่งเป็นเมืองเล็กๆไม่สำคัญ
ฉะนั้นเมื่อคิดตั้งตนเป็นใหญ่ ก็ต้องแสดงความสามารถหลายด้านให้ประจักษ์ ทั้งการรบการตัดสินใจที่เด็ดขาดและวางแผนกลยุทธ์ต่างๆด้วย
ความสามารถโดยแท้เท่านั้น จึงจะทำให้ผู้คนมาเข้าด้วย แม้แต่ที่มั่นศูนย์อำนาจก็ต้องใช้ความสามารถในการตีหักเอาเมืองมา เช่น
ระยอง จันทบุรี และธนบุรี 

(http://upic.me/i/0j/imagescazler1lsmall.jpg) (http://upic.me/show/36608958)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 16 มิถุนายน 2012, 06:10:54
     วันนี้วันที่ 16 มิถุนายน 2555
.............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - วันสถาปนาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นสถาบันผลิตแพทย์ทหารแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ก่อตั้งเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 7 ของประเทศ จากกระแสพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก และดำรงสถานะสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้อนุมัติจัดตั้งโรงเรียนเสนารักษ์กองทัพบกขึ้น โดยเป็นหลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตร ระยะเวลาศึกษา 4 ปี 6 เดือน ดำเนินการผลิตแพทย์เพื่อรับใช้กองทัพจนถึงปี พ.ศ. 2490 รวมทั้งสิ้น 4 รุ่น แล้วหยุดไปเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรอาจารย์แพทย์และอุปกรณ์การเรียนการสอน อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมมีความตระหนักถึงภารกิจที่สำคัญของแพทย์ทหาร จึงได้หาแนวทางปฏิบัติต่างๆ อาทิ การรับแพทย์ภายในประเทศเข้ารับราชการ ตลอดจนให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนเตรียมทหารเข้าศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในระหว่างปีการศึกษา 2511 ถึงปีการศึกษา 2516 แล้วก็ต้องยุติไป เนื่องจากกระแสต่อต้านที่รุนแรงจากหลายฝ่าย ที่เกรงว่าจะทำให้ผลิตแพทย์ที่ไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่
 
พระราชวังพญาไท


วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 โดยกรมแพทย์ทหารบกได้เสนอเรื่องขอจัดตั้ง "โรงเรียนแพทย์ทหาร" เนื่องเกิดความขาดแคลนแพทย์ทหารอย่างมากในกองทัพ ทำให้มีการรื้อฟื้นแนวคิดในการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ทหารขึ้นมาอีกครั้ง และได้รับอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 แต่ต้องชะลอโครงการไว้ เนื่องจากไม่ได้รับสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ทหารได้เริ่มขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงพระราชทานจากกระแสพระบรมราโชวาทแก่นิสิตแพทย์ ณ หอประชุมราชแพทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 มีใจความสำคัญว่า "เดิมทางทหารมีความจำเป็นที่จะรับสมัครแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลทหารและกิจการของทหาร เพราะว่าเวลารับสมัครแล้วไม่มีใครสมัคร และทำไมไม่มีใครสมัคร ก็เข้าใจว่า เพราะว่าการเป็นแพทย์ทหารนั้นเหนื่อย การเป็นแพทย์นี้ก็เหนื่อยอยู่แล้ว คือต้องรักษาพยาบาลคนไข้ไม่เลือก มีงานในเวลาราชการแล้ว นอกเวลาราชการก็ต้องมีงานอีก นอกจากนั้นเป็นแพทย์ทหารก็ยังมีว่า ต้องออกไปปฏิบัติงานสนาม ซึ่งอาจต้องฝ่าอันตราย คนเราที่จะต้องฝ่าอันตรายก็อาจกลัวได้ อาจเสียวว่าอาจต้องเสียชีวิต หรือจะต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อไหร่ก็ได้ นอกจากนี้เวลาเป็นแพทย์ทหาร ไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็ต้องปฏิบัติงานของตน เครื่องมือเครื่องใช้ก็อาจจะไม่ครบถ้วน ก็เกิดความรู้สึกที่ท้อใจ เพราะว่าเรียนมาแล้วมีความรู้ดี ไม่สามารถที่จะเรียนต่อ ไม่สามารถที่จะค้นคว้า ไม่สามารถที่จะมีเครื่องมือ ที่ทันสมัยที่ใหญ่โต นอกจากนั้นก็มีอื่นๆ ก็คือเงินเดือนไม่มาก ทั้งการไปดูงานเมืองนอกก็ไม่ค่อยมีนัก ฉะนั้นก็ไม่มีใครอยากเป็นแพทย์ทหาร ก็มีความจำเป็นที่จะมีแพทย์ทหารทางราชการทหาร ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในด้านวิชานี้ ซึ่งก็มีเหตุผลอยู่เมื่อมีการแสดงความไม่พอใจ หรือไม่เห็นด้วยในการนี้ก็ทำตาม คือระงับการเรียนในมหาวิทยาลัย ก็เป็นอันว่าการวุ่นวายก็ได้ผลดีคือ ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ ซึ่งจุดประสงค์อันนี้ก็ไม่ต้องขอบอกว่า ไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง คิดเอาเอง ครั้นมาถึงเวลาที่บอกว่าไม่มาฝากแล้ว ทางราชการทหารจะตั้งโรงเรียนแพทย์เอง คือ โรงเรียน สำหรับแพทย์ทหาร ก็เกิดโวยวายขึ้นมาใหม่โวยวายว่า ทำไมทหารต้องมีแพทย์ทหาร มีโรงเรียนแพทย์ทหารตั้งขึ้นมาใหม่ ก็ในการที่ทหารมาฝากเรียนก็มากินที่คนอื่น เมื่อกินที่คนอื่นเขาก็ต้องทำที่ที่อื่น ไม่มาเบียดเบียน ทำไมเมื่อเขาตั้งโรงเรียนแพทย์ทหารขึ้นมาจะต้องโวยวาย อันนี้ก็ต้องมีเหตุผลในสมอง ไม่ขอผ่าสมองดูว่าคิดถูกหรือไม่ถูก หรืออาจเป็นคนละคนก็ได้ หรืออาจไม่ได้ทันคิดว่าคำพูดสองอย่างนี้มันขัดกัน ฉะนั้นก็ถึงขอร้องท่านทั้งหลายว่า ถ้าจะคิดอะไรหรือจะปฏิบัติการใดๆ ก็ขอให้คิดให้รอบคอบเสียก่อน ว่าจะเอาอะไรแน่ ถ้าเอาอะไรแน่แล้วก็ปฏิบัติไปจะได้ผลดี" อันเป็นผลสำคัญยิ่งให้สภาการศึกษาวิชาทหารได้ให้ความเห็นชอบ ในการจัดตั้งวิทยาลัยแพทย์ทหารเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2516

ต่อมาเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2517 กรมแพทย์ทหารบกได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเป็นชื่อของสถาบัน จึงขออนุมัติเปลี่ยนชื่อจาก "วิทยาลัยแพทย์ทหาร" เป็น "วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า" จนถึงปัจจุบัน

วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ในการประชุมร่วมระหว่างกองบัญชาการทหารสูงสุดและผู้แทนสามเหล่าทัพ ได้อนุมัติให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นหน่วยงานในความรับผิดชอบของกองทัพบก โดยให้กรมแพทย์ทหารบก มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการผลิตนักเรียนแพทย์ทหารปีละ 32 นาย ในโครงการจัดตั้ง 10 รุ่น (รุ่นที่ 1 จบปีการศึกษา 2524 ถึงรุ่นที่ 10 จบปีการศึกษา 2534)

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2518 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าได้รับอนุมัติเข้าสมทบกับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อประสาทปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต ทำให้การก่อตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้ามีความสมบูรณ์ กระทรวงกลาโหมจึงมีคำสั่งลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นหน่วยขึ้นตรงกรมแพทย์ทหารบก และอนุมัติให้เปิดดำเนินการได้ จึงถือเอาวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2518 เป็นวันสถาปนาวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าใช้หลักสูตรของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้เวลาในการศึกษา 7 ปี (เตรียมแพทย์ 2 ปี ปรีคลินิก 2 ปี คลินิก 2 ปี และแพทย์ฝึกหัด 1 ปี) แต่ปี พ.ศ. 2518 ถึงปี พ.ศ. 2523 จนมีการเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตเป็น 6 ปี (เตรียมแพทย์ 1 ปี ปรีคลินิก 2 ปี คลินิก 3 ปี) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ผู้บัญชาการทหารบกอนุมัติห้ผลิตนักเรียนแพทย์ทหารเพิ่มจาก 32 เป็น 65 นายต่อปี ประกอบกับในขณะนั้นรัฐบาลมีโครงการผลิตแพทย์เพิ่มให้พอกับความต้องการของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2544 จากนั้นชะลอโครงการประมาณ 2 ปีเนื่องจากสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ แต่ภายหลังในปี พ.ศ. 2547 จึงกลับมารับนักเรียนแพทย์ทหารเป็น 65 นายต่อ

ในปี พ.ศ. 2548 ความขาดแคลนแพทย์และศักยภาพของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขให้งบประมาณสนับสนุน รับนักเรียนแพทย์ทหารได้เป็น 100 นายต่อปี แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านกำลังพลของกองทัพ ไม่สามารถบรรจุแพทย์ทหารเข้ารับราชการได้ทุกนาย วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าจึงได้ทำข้อตกลงกับสถาบันพระบรมราชชนก ให้รับบัณฑิตแพทย์เข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ทำให้เกิดนโยบายการรับบุคคลเข้าศึกษา 100 คนแบ่งเป็น นักเรียนแพทย์ทหาร และนักศึกษาแพทย์ชาย-หญิง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน

เนื่องในโอกาสที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าก่อตั้งครบ 20 ปี จึงได้ก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ขึ้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานนามว่า "พระมงกุฎเกล้าเวชวิทยา" นอกจากนี้ยังทรงรับเป็นองค์อุปถัมถ์ "มูลนิธิเพื่อวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า" อีกด้วย
     วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าในปัจจุบันวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้ามีการพัฒนาทั้งทางด้านวิชาการและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน อาทิเช่น สนับสนุนการวิจัยให้แก่นักเรียนแพทย์ทหาร ตลอดจนอาจารย์แพทย์ทั้งชั้นปรีคลินิก และให้ทุนการศึกษาแก่ผู้มีผลการเรียนดีไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ การสนับสนุนการศึกษาต่อและดูงานต่างประเทศของอาจารย์และนักเรียนแพทย์ทหาร การก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ สระว่ายน้ำ อาคารหอพัก โรงประกอบเลี้ยงและซักรีด ทั้งยังหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อให้เพียงพอต่อการเรียนการสอน และการเรียนรู้ของนักเรียนแพทย์ทหาร เป็นต้น

จนถึงปี พ.ศ. 2552 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าได้ผลิตบัณฑิตแพทย์ทหารมาแล้ว 30 รุ่น ซึ่งได้จัดสรรให้แก่เหล่าทัพต่างๆ ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาการทหารสูงสุด รวมทั้งกระทรวงสาธารณุสข กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อช่วยเหลือกำลังพล ครอบครัว ตลอดจนประชาชนที่อยู่ห่างไกล หรือพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งเป็นการบรรเทาการขาดแคลนแพทย์ในกองทัพ และในชนบทของประเทศได้เป็นอย่างดี

(http://upic.me/i/02/imagescao4x3m1small.jpg) (http://upic.me/show/36631884)
(http://upic.me/i/g7/imagescasix2afsmall.jpg) (http://upic.me/show/36631885)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 16 มิถุนายน 2012, 21:21:07
 ;D ขอบคุณครับท่าน ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: poupoushop.com ที่ วันที่ 16 มิถุนายน 2012, 22:42:32

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ ^^


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: tonkla ที่ วันที่ 17 มิถุนายน 2012, 12:53:44
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ครับ


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: chate ที่ วันที่ 17 มิถุนายน 2012, 18:21:09
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ครับ
+1 คับ มีแห๋มก่อ ;D ;D


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 14:47:12
     วันนี้วันอังคารที่ 19  มิถุนายน  2555
............
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1623) – วันเกิดของ ออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ในประเทศพม่า
19 มิถุนายน พ.ศ. 2488  : วันเกิด ออง ซาน ซู จี ผู้นำการเรียกร้องเสรีภาพชาวพม่า

     19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 วันเกิด ออง ซาน ซู จี (Aung San Suu Kyi) หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy : NLD) ผู้นำการเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยด้วยสันติวิธี เกิดที่กรุงย่างกุ้ง เป็นบุตรของ นายพลออง ซาน (Aung San) ผู้นำในการเจรจาเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ และนายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่า ซึ่งถูกลอบสังหารขณะซู จูอายุเพียง 2 ขวบ วัย 15 ปี เธอตามมารดาไปรับตำแหน่งฑูตพม่าประจำประเทศอินเดีย และเรียนมัธยมที่นั่น และเรียนปริญญาตรีสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ พบรักและแต่งงานกับ ไมเคิล อริส (Michael Vaillancourt Aris) นักวิชาการวิชาอารยธรรมทิเบต ในปี 2515 ซู จีเริ่มงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิจัยกระทรวงการต่างประเทศพม่า ณ องค์การสหประชาชาติ ปี 2531 กลับพม่าเพื่อดูแลแม่ซึ่งป่วยหนัก ขณะนั้นบ้านเมืองกำลังร้อนระอุ นักศึกษาประชาชนกำลังต่อต้านรัฐบาลเผด็จการของ นายพลเน วิน (Ne Win) ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ซู จีเข้าร่วมปลุกเร้าประชาชนให้มีขวัญกำลังใจ เรียกร้องเอกราชคืนจากรัฐบาลเผด็จการ โดยใช้หลักอหิงสาเผชิญหน้ากับกระบอกปืนอย่างไม่เกรงกลัว ซู จีปราศรัยครั้งแรกต่อประชาชนนับหมื่นที่เจดีย์ชเวดากองเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2531 ก่อให้เกิด “พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย” หรือ “เอ็นแอลดี” และพรรคการเมืองอื่น ๆ จำนวนมาก เดือนกรกฎาคม 2532 ซู จีถูกทหารกักตัวไว้ที่บ้านพัก พฤษภาคม 2533 พรรคเอ็นแอลดีชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น แต่ทหารปฏิเสธการถ่ายโอนอำนาจแล้วกักบริเวณซู จี พร้อมจับกุมสมาชิกพรรคจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่คุกอินเส่งอันโหดร้ายทารุณ ทหารยื่นข้อเสนอให้เธอยุติบทบาททางการเมือง ออกนอกประเทศไปพร้อมครอบครัว แต่เธอปฏิเสธ และเลือกที่จะอยู่เป็นกำลังใจให้ประชาชนพม่าในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย วันที่ 14 ตุลาคม 2534 คณะกรรมการโนเบลประกาศชื่อออง ซาน ซู จีเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ อเล็กซานเดอร์และคิม บุตรชายทั้งสองประคองภาพถ่ายมารดาขึ้นรับรางวัลที่กรุงออสโล ท่ามกลางเสียงปรบมือให้เกียรติกึกก้อง เงินรางวัล 1.3 ล้านเหรียญ ที่ได้ เธอมอบให้เป็นกองทุนเพื่อสุขภาพและการศึกษาของประชาชนพม่า ทุกวันนี้ ซู จียังถูกควบคุมตัว ไม่ได้รับอนุญาติให้ไปร่วมพิธีศพสามีซึ่งจากไปด้วยโรคมะเร็ง แม้จะมีเสียงเรียกร้องของนานาชาติให้คืนอิสรภาพแก่ออง ซาน ซู จี แต่รัฐบาลทหารของพม่าก็ยังไม่สนใจ   
ออง ซาน ซู จี (Aung San Suu Kyi) 
 
 


 
(http://upic.me/i/jd/imagesca8jhy32small.jpg) (http://upic.me/show/36722329)
...................
(http://upic.me/i/so/imagesca938nipsmall.jpg) (http://upic.me/show/36722345)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 20 มิถุนายน 2012, 06:12:05
     วันนี้วันพุธที่ 20 มิถุนายน 2555
................
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2309 (ค.ศ. 1766) - ค่ายบางระจัน ของชาวบ้านบางระจันแตกแก่พม่า
พ.ศ. 2307 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกมาจากพม่า ซึ่งแต่เดิมแล้วมีภารกิจที่จะปราบปรามกบฎต่ออาณาจักรพม่าเท่านั้น แต่เนื่องจากความอ่อนแอของอาณาจักรอยุธยา เนเมียวสีหบดีจึงตั้งเป้าหมายที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาไปด้วย

ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2308 กองทัพของเนเมียวสีหบดีรุกเข้าสู่อาณาจักรอยุธยาจากทางเหนือ ได้มาหยุดอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และจัดให้ทหารพม่ากองหนึ่งเที่ยวกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนทางเมืองวิเศษชัยชาญ ราษฎรต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารพม่า จึงแอบคบคิดกันต่อสู้ ในเดือน 3 พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรคบุรี และชาวบ้านใกล้เคียงพากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงทหารพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการต่อไป ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ซึ่งได้หลอกลวงทหารพม่านำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการ ทหารพม่าหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติและพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันพม่าตายประมาณ 20 คน แล้วจึงพากันหนีไปยังบางระจัน

ในเวลานั้นชาวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เข้ามาหลบอาศัยอยู่ที่บางระจันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ข้าศึกตามเข้าไปได้ยาก ชาวบ้านทั้งหลายจึงพาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่น ๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ 400 คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นล้อมรอบบ้านบางระจัน 2 ค่าย เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาและเพื่อจัดหากำลังและศัตราวุธในแถบตำบลนั้น นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก 7 คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ นายดอก และนายทองแก้ว รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม 11 คน ตั้งซ่องสู้กับกองทัพพม่า

[แก้] การเข้าตีค่ายบางระจันการรบครั้งที่ 1
ทหารพม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญยกพลมาประมาณ 100 เศษ มาตามจับพันเรืองเมื่อถึงบ้านบางระจัน ก็หยุดอยู่ ณ ฝั่งลำธารบางระจัน นายแท่นจัดคนให้รักษาค่ายแล้วนำคน 200 ข้ามแม่น้ำไปรบกับพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวยิงปืนได้เพียงนัดเดียวชาวไทยซึ่งมีอาวุธสั้นทั้งนั้นก็กรูเข้าไล่ฟันแทงพม่าถึงขั้นตะลุมบอน พลทหารพม่าล้มตายหมดเหลือแต่ตัวนายสองคนขึ้นม้าหนีไปได้ ไปแจ้งความให้นายทัพพม่าที่ค่ายแขวงเมืองวิเศษชัยชาญทราบ และส่งข่าวให้แม่ทัพใหญ่คือเนเมียวสีหบดี ซึ่งตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากน้ำพระประสบทราบด้วย
การรบครั้งที่ 2
เนเมียวสีหบดีจึงแต่งให้งาจุนหวุ่น คุมพล 500 มาตีค่ายบางระจัน นายแท่นก็ยกพลออกรบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก แม่ทัพพม่าได้เกณฑ์ทหารเพิ่มเป็น 700 คน ให้เยกินหวุ่นคุมพลยกมาตีค่ายบางระจัน ทัพพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายอีกเป็นครั้งที่ 2
การรบครั้งที่ 3
เมื่อกองทัพพม่าต้องแตกพ่ายหลายครั้ง เนเมียวสีหบดีเห็นว่าจะประมาทกำลังของชาวบ้านบางระจันต่อไปอีกไม่ได้ จึงเกณฑ์พลเพิ่มเป็น 900 คน ให้ติงจาโบ เป็นผู้คุมทัพครั้งนี้ชาวบ้านบางระจันมีชัยชนะพม่าอีกเช่นครั้งก่อนๆ
การรบครั้งที่ 4
การที่พม่าแพ้ไทยหลายครั้งเช่นนี้ ทำให้พม่าขยาดฝีมือคนไทย จึงหยุดพักรบประมาณ 2-3 วัน แล้วเกณฑ์ทัพใหญ่เพื่อมาตีค่ายบางระจัน มีกำลังพลประมาณ1,000 คน ทหารม้า 60 สุรินจอข่องเป็นนายทัพ พม่ายกทัพมาตั้งที่บ้านห้วยไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายค่ายบางระจันได้จัดเตรียมกันเป็นกระบวนทัพสู้พม่าคือ นายแท่นเป็นนายทัพคุมพล 200 พันเรืองเป็นปีกซ้ายคุมพล 200 ชาวไทยเหล่านี้มีปืนคาบศิลาบ้าง ปืนของพม่าและกระสุนดินดำของพม่า ซึ่งเก็บได้จากการรบครั้งก่อนๆ บ้าง นอกจากนั้นก็เป็นอาวุธตามแต่จะหาได้ ทัพไทยทั้งสามยกไปตั้งที่คลองสะตือสี่ต้น อยู่คนละฟากคลองกับพม่า ต่างฝ่ายต่างยิงตอบโต้กันฝ่ายไทยชำนาญภูมิประเทศกว่า ได้ขนไม้และหญ้ามาถมคลอง แล้วพากันรุกข้ามรบไล่พม่าถึงขั้นใช้อาวุธสั้น พม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวสุรินทรจอข้องนายทัพพม่า ขี่ม้ากั้นร่มระย้าเร่งให้ตีกองรบอยู่กลางพล ถูกพลทหารไทยวิ่งเข้าไปฟันตาย ณ ที่นั้น ส่วนนายแท่นแม่ทัพไทยก็ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บสาหัสต้องหามออกมาจากที่รบ ทัพไทยกับพม่ารบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ต่างฝ่ายต่างอิดโรย จึงถอยทัพจากกันอยู่คนละฟากคลอง พวกชาวบ้านบางระจันในค่ายก็นำอาหารออกมาเลี้ยงดูพวกทหาร ขณะพม่าต้องหุงหาอาหารและมัวจัดการศพแม่ทัพไม่ทันระวังตัว กองสอดแนมของไทยมาแจ้งข่าว พวกทหารไทยกินอาหารเสร็จแล้วก็ยกข้ามคลองเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทันที ทหารพม่าแตกพ่ายไม่เป็นกระบวน ที่ถูกอาวุธล้มตายประมาณสามส่วน และเสียเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก ไทยไล่ติดตามจนใกล้ค่ำจึงยกกลับมายังค่าย กิตติศัพท์ความเก่งกล้าของชาวบ้านบางระจันแพร่หลายออกไปมีชาวบ้านอื่นๆ อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายบางระจันเพื่อขึ้นอีกเป็นลำดับ
การรบครั้งที่ 5
พม่าเว้นระยะไม่ยกมาตีค่ายบางระจันอยู่ประมาณ 10-11 วัน ด้วยเกรงฝีมือชาวไทย หลังจากนั้นจึงแต่งทัพยกมาอีกครั้งหนึ่ง มีแยจออากาเป็นนายทัพ คุมทหารซึ่งเกณฑ์แบ่งมาจากทุกค่ายเป็นคนประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยม้าและอาวุธต่างๆแต่กองทัพพม่านี้ก็ปราชัยชาวบ้านบางระจันแตกพ่ายไป
การรบครั้งที่ 6
นายทัพพม่าครั้งที่ 6 นี้คือ จิกแก ปลัดเมืองทวาย คุมพล 100 เศษ ฝ่ายไทยมีชัยชนะอีกเช่นเคย
การรบครั้งที่ 7
เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล 1,000 เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ บ้านขุนโลก ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่นปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเชี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล 1,000 เศษออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้ ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตายเป็นส่วนน้อย แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน
การรบครั้งที่ 8
การที่พม่าส่งกองทัพมาปราบค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง แต่ต้องแตกพ่ายยับเยินทุกครั้งนั้น ทำให้แม่ทัพใหญ่ของพม่าวิตกมาก เนื่องจากชาวบ้านบางระจันมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกที และทหารพม่าก็พากันเกรงกลัวฝีมือไทย ไม่มีใครอาสาเป็นนายทัพ ขณะนั้นมีชาวรามัญผู้หนึ่งเคยอยู่เมืองไทยมานาน รู้จักนิสัยคนไทยและภูมิประเทศดี ได้เข้าฝากตัวทำราชการอยู่กับพม่าจนได้รับตำแหน่งสุกี้ หรือพระนายกอง สุกี้เข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบางระจัน เนเมียวสีหบดีจึงแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพคุมพล 2,000 พร้อมทั้งม้าและสรรพาวุธทั้งปวง สุกี้ดำเนินการศึกอย่างชาญฉลาด เมื่อเวลาเดินทัพไม่ตั้งทัพกลางแปลงอย่างทัพอื่น ให้ตั้งค่ายรายไปตามทาง 3 ค่าย และรื้อค่ายหลังผ่อนไปสร้างข้างหน้าเป็นลำดับ ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนจึงใกล้ค่ายบางระจัน สุกี้ใข้วิธีตั้งมั่นรบอยู่ในค่าย ด้วยรู้ว่าคนไทยเชี่ยวชาญการรบกลางแปลง พวกหัวหน้าค่ายบางระจันนำกำลังเข้าตีค่ายพม่าหลายครั้งไม่สำเร็จกลับทำให้ไทยเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งนายทองเหม็นดื่มสุราแล้วขี่กระบือนำพลส่วนหนึ่งเข้าตีค่ายพม่า สุกี้นำพลออกรบนอกค่าย นายทองเหม็นถลำเข้าอยู่ท่ามกลางข้าศึกแต่ผู้เดียว แม้ว่าจะมีฝีมือสามารถฆ่าฟันทหารพม่ารามัญล้มตายหลายคน แต่ในที่สุดก็ถูกทหารพม่ารุมล้อมจนสิ้นกำลังและถูกทุบตีตายในที่รบ (เล่าขานกันมาว่านายทองเหม็นเป็นผู้รู้ในวิชาคงกระพันชาตรี และมีของขลังป้องกันภยันตราย ฟันแทงไม่เข้า หากจะทำร้ายคนมีวิชาเช่นนี้จะต้องตีด้วยของแข็ง) ทัพชาวบ้านบางระจันเมื่อเสียนายทัพก็แตกพ่าย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในการรบกับพม่า ทัพพม่ายกติดตามมาจนถึงบ้านขุนโลกใกล้ค่ายบางระจัน แล้วตั้งค่ายมั่นอยู่ ทัพบางระจันพยายามตีค่ายพม่าอีกหลายครั้งไม่สำเร็จก็ท้อถอย สุกี้จึงให้ทหารขุดอุโมงค์เข้าใกล้ค่ายน้อยบางระจัน ปลูกหอรบขึ้นสูงนำปืนใหญ่ขึ้นยิงเข้าไปในค่ายถูกผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ค่ายน้อยบางระจันก็แตกพ่ายลงนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านบางระจันเสียกำลังใจลงอีกคือ นายแท่นหัวหน้าค่ายที่ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บครั้งที่สุรินทรจอข่องเป็นแม่ทัพยกมาเมื่อการรบครั้งที่ 4 นั้นได้ถึงแก่กรรมลง ในเดือน 6 ปีจอ พ.ศ. 2309 หัวหน้าชาวบ้านบางระจันคนอื่น ได้พยายามจะนำทัพไทยออกรบกับพม่าอีกหลายครั้ง วันหนึ่งทัพพม่าสามารถตีโอบหลังกระหนาบทัพไทยได้ ขุนสรรค์และนายจันหนวดเขี้ยวได้ทำการรบจนกระทั่งตัวตายในที่รบ ยังเหลือแต่พันเรืองและนายทองแสงใหญ่เป็นหัวหน้าสำคัญ ชาวค่ายบางระจันเห็นว่าตนเสียเปรียบ ผู้คนล้มตายลงไปมาก เหลือกำลังที่จะต่อสู้กับพม่าแล้ว จึงมีใบบอกเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอปืนใหญ่ 2 กระบอก พร้อมด้วยกระสุนดินดำเพื่อจะนำมายิงค่ายพม่า ทางพระนครปรึกษากันแล้วเห็นพร้อมกันว่าไม่ควรให้เนื่องจากกลัวว่าพม่าจะแย่งชิงกลางทางบ้าง หรือหากพม่าตีค่ายบางระจันแตก พม่าก็จะได้ปืนใหญ่นั้นมาเป็นกำลังรบพระนคร พระยารัตนาธิเบศร์ไม่เห็นด้วยในข้อปรึกษา จึงออกไป ณ ค่ายบางระจัน เรี่ยไรเครื่องภาชนะทองเหลืองทองขาวจากพวกชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ขึ้นมาสองกระบอก แต่ปืนทั้งสองนั้นร้าวใช้ไม่ได้ พระยารัตนาธิเบศร์เห็นว่าการศึกจะไม่เป็นผลสำเร็จจึงกลับพระนคร เมื่อขาดที่พึ่งชาวบ้านบางระจันก็เสียกำลังใจมากขึ้น ฝีมือการสู้รบกับพม่าก็พลอยอ่อนลง บางพวกก็พาครอบครัวหลบหนีออกจากค่าย ผู้คนในค่ายก็เบาบางลง ในที่สุดพม่าก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 (วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2309) รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 เดือน พม่าได้กวาดต้อนชาวไทยในค่ายบรรดาที่รอดตายทั้งหลายกลับไปยังค่ายพม่า ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้กำลังใจให้ชาวบ้านบางระจันสู้รบกับพม่าอย่างห้าวหาญนั้น ไม่ปรากฏว่าท่านมรณภาพอยู่ในค่าย ถูกกวาดต้อน หรือหลบหนีไปได้
[แก้] อนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจัน
ตราประจำจังหวัดสิงห์บุรีในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 แสดงภาพอนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจันกองหัตถศิลป กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการหล่ออนุสาวรีย์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2509 จนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะนำไปติดตั้งได้ใน พ.ศ. 2512[8] โดยกรมศิลปากรสร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงกันข้ามวัดโพธิ์เก้าต้น อยู่ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี หมายเลข 3032 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาในวโรกาสเปิดอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519[9] ทรงมีพระราชดำรัสไว้ว่า "วีรกรรมในครั้งนั้นเป็นของผู้ที่รักแผ่นดินไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งมวล ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีกำลังใจและเตือนสติให้มีความสามัคคีและรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อรักษาประเทศไทยให้ตนเองและเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน....."[ต้องการอ้างอิง]

ฐานของอนุสาวรีย์มีคำจารึกไว้ว่า "สิงห์บุรีนี่นี้ นามใด สิงห์แห่งต้นตระกูลไทย แน่แท้ ต้นตระกูล ณ กาลไหน วานบอก หน่อยเพื่อน ครั้งพม่ามาล้อมแล้ ทั่วท้องบางระจัน"

จารึกอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน:

"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
ณ วันที่... เดือน... พุทธศักราช ๒๕๑๙

เมื่อเดือนสาม ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘
นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว
นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่ นายแท่น นายเมือง
พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน
ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งค่ายต่อสู้พม่าที่บ้านบางระจัน
มีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญ

ตั้งแต่เดือนสี่ ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘ จนถึงเดือนเจ็ด ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๐๙
วีรชนค่ายบางระจันได้ต่อสู้พม่าด้วยความกล้าหาญและด้วยกำลังใจอันเด็ดเดี่ยว
ยอมสละแม้เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดินไทย
รบชนะพม่าถึงเจ็ดครั้ง จนพม่าครั่นคร้ามฝีมือ

รัฐบาลและประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้น
เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 21 มิถุนายน 2012, 07:01:36
     วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2555
..............
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากก่อรัฐประหารรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
....ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ... เป็นสุภาษิตที่เหมาะแก่การทหาร ข้าพเจ้าจึงเลือกไว้เป็นบทประจำดวงตรา พหลโยธิน (พจน์ พหลโยธิน
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 : 21 มิถุนายน 2476 -16 ธันวาคม 2476

สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 : 16 ธันวาคม 2476 - 22 กันยายน 2477

สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 : 22 กันยายน 2477 - 28 กรกฎาคม 2480

สมัยที่ 4 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 : 9 สิงหาคม 2480 - 21 ธันวาคม 2480

สมัยที่ 5 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 8 : 21 ธันวาคม 2480 - 11 กันยายน 2481







[แก้ไข] ประวัติ
        พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ชื่อเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (ถิ่น พหลโยธิน) กับคุณหญิงจับ สมรสกับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา


        เริ่มการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาเมื่ออายุ 16 ปี ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกในเมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศเยอรมันนี ศึกษาอยู่ 3 ปีต่อจากนั้นได้เข้าประจำอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ในปี พ.ศ. 2455 ได้เดินทางไปศึกษาต่อวิชาช่างแสงที่ประเทศเดนมาร์กเรียนได้ปีเดียวก็ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ


        พระยาพหลพลพยุหเสนาเข้ารับราชการครั้งแรกประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี อีกสามปีต่อมาได้เข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร และในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา ในชีวิตราชการนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระตามลำดับในราชทินนามเดียวกันว่า "สรายุทธสรสิทธิ์" และได้เลื่อนยศทางทหารมาตามลำดับ กระทั่งได้เป็น พันเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2471


        เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2471มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา มีราชทินนามเดียวกับบิดา


        เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด


        พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2476 โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ตลอดระยะเวลาที่บริหารประเทศ ต้องเผชิญปัญหานานัปการ จนต้องลาออกจากตำแหน่งหลายครั้ง และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ ในที่สุดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2481 พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ตัดสินใจยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ถึงแม้พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ และได้รับยศ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

อนุสรณ์แห่งความดี
ถนนพหลโยธิน หรือทางหลาวแผ่นดินหมายเลข ๑ เป็นถนนเชื่อมภาคเหนือ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดทุมธานี อยุธยา สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง เชียงราย ระยะทางยาวประมาณ ๑.๐๐๕ กม.


โรงงานน้ำตาลไทยลำปางเป็นโรงงานน้ำตาลสมัยใหม่ โรงงานแรงของประเทศไทย ได้ริเริ่มจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สมัยรัฐบาลคณะ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๙๕ พระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อค่ายของ ศูนย์การทหารปืนใหญ่นี้ว่า ค่ายพหลโยธิน เพื่อเป็นเกียรติแก่ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อดีตนายทหารปืนใหญ่ อดีตนายกรัฐมนตรี
ท่านได้ริเริ่มจัดตั้งโรงงานกระดาษไทยขึ้นในจังหวัดกาญจนบุรี นับว่าเป็นโรงงานกระดาษแห่งแรกในประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ท่านในชุดเดินป่าไว้หน้าโรงงาน
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ พล.ต. สาธร กาญจนรักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่ และทหารปืนใหญ่ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นสมควรที่จะมีสิ่งอนุสรณ์ คือ อนุสาวรีย์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ขึ้นไว้ในสถานที่อันสมควรในบริเวณค่ายพหลโยธิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทอดทูนเกียรติประวัติอันดีงามของท่านเพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีของท่านที่มีต่อประเทศชาติและจังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่ท่านถือเสมือนภูมิลำเนาท่าน กระทรวงมหาดไทย โดยมติคณะรัฐมนตรีจึ่งสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเรี่ยไรเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๔๙๓ เพื่อจัดสร้างโรงพยาบาล และอนุสาวรีย์ของ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ไว้เป็นอนุสรณ์ขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
        พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490 รวมอายุ ได้ 60 ปี

(http://upic.me/i/iv/1_1_1small.jpg) (http://upic.me/show/36764619)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 22 มิถุนายน 2012, 04:08:38
(http://upic.me/i/fw/imagescalsw4llsmall.jpg) (http://upic.me/show/36788487)
.............................
(http://upic.me/i/gx/imagesca35q5xasmall.jpg) (http://upic.me/show/36788495)
............................................
(http://upic.me/i/1r/imagescaiuuuoasmall.jpg) (http://upic.me/show/36788500)
...................................................................
     วันนี้วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555
................
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) -เป็นวันมรณะภาพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) (เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2331)
      22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) พระเกจิอาจารย์รูปสำคัญแห่งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มรณภาพ ท่านสมภพเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2331 ที่ จ.พิจิตร บวชเป็นสามเณรที่วัดเกศไชโย จ.พิจิตรเมื่ออายุ 13 ปี ภายหลังได้ย้ายไปศึกษาธรรมะกับ พระอรัญญิก เถระ (ด้วง) ที่ วัดบางขุนพรหมนอก (วัดอินทรวิหาร) จากนั้นได้ย้ายไปศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่ วัดระฆังโฆษิตาราม ท่านเป็นเณรนักเทศน์ที่หาตัวจับยาก แสดงธรรมได้ลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจชาวบ้าน ในปี 2352 กลับไปอุปสมบทที่ วัดตะไกร อ.เมืองพิจิตร โดยมีท่าน เจ้าคุณพระธรรมาจารย์ วัดท่าหลวง เป็นประธานที่พระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้น พระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง ได้นิมนต์พระภิกษุโตกลับบางกอก เพื่อเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดระฆังฯ ต่อไป พระภิกษุโตมีความรู้แตกฉานลึกซึ้งในพระไตรปิฎก เป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชนทั่วไปรวมถึงเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และพระเจ้าแผ่นดิน ในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อฝึกจิตนานถึง 15 ปี เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงนิมนต์ท่านกลับบางกอกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม หลังจากที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศฯ ถึงแก่มรณภาพ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ 5 ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในวัย 76 พรรษา ท่านเป็นผู้ค้นพบคัมภีร์โบราณที่วัดเก่าแห่งหนึ่งต่อมาเรียกว่า คาถาชิญบัญชร ท่านเป็นภิกษุขึ้นชื่อในเรื่องการเทศนาธรรม โดยจะเลือกเทศให้เหมาะกับบุคคล กาละและเทศะเสมอ บางครั้งก็เทศเป็นปริศนาธรรม สามารถเทศให้คนฟังถึงกับหัวเราะ ร้องให้ หรือให้เข้าใจธรรมะ
..........
เครดิตประวัติโดยละเอียดของท่าน....
http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B9%82%E0%B8%95-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-4575.html


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 23 มิถุนายน 2012, 01:22:35
     วันนี้วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2555
.......................
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2403 สหรัฐฯ สถาปนาหน่วยสืบราชการลับขึ้นและพัฒนาจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกในนาม หน่วยซีไอเอ
ประวัติสหรัฐ ดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมข่าวกรองต่างประเทศตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรก ต่อมาเริ่มมีการประสานงานบนพื้นฐานระดับรัฐบาลอย่างกว้างขวางตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการพัฒนาโครงการที่โดดเด่นสามโครงการเพื่อการประสานงานข่าวกรองพื้นฐานคือ

การศึกษาข่าวกรองร่วมกองทัพบกและกองทัพเรือ
การสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ
หนังสือความจริงของโลก
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ข่าวกรองพื้นฐานจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา มีความซ้ำซ้อนและมีความขัดแย้งของข่าวสาร การโจมตีของญี่ปุ่นต่อเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ผู้นำในรัฐสภาและผู้บริหารสาขาต่าง ๆ ต้องการที่จะสรุปการรายงานต่าง ๆ ให้แก่ผู้กำหนดนโยบายของชาติ รายละเอียดและการประสานงานข่าวสาร มีความต้องการไม่ได้เพียงแต่ประเทศที่มีมหาอำนาจเช่น เยอรมนี หรือญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงดินแดนต่าง ๆ ที่มีผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย เช่น ในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพเรือและนาวิกโยธินได้ปฏิบัติการยกพลขึ้นบกต่อเกาะจำนวนมากที่ซึ่งข่าวสารไม่ได้รับการยืนยันหรือไม่มีมาก่อน ผู้มีอำนาจการข่าวกรองได้แก้ปัญหาเช่นนั้นก็เพื่อไม่ต้องการให้สหรัฐถูกกระทำแบบที่ไม่มีการเตรียมตัวมาก่อนเกิดขึ้นอีก

ปี พ.ศ. 2486 นายพล จอร์จ สตรอง และนายพลเรือ เทรน (สำนักงานข่าวกรองกองทัพเรือ) และ นายพล วิลเลี่ยม โดโนแวน (ผู้อำนวยการสำนักงานบริการยุทธศาสตร์) มึความตกลงร่วมกันที่จะสถาปนาหน่วยงานความพยายามร่วม คณะกรรมาธิการได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2486 โดยได้เสนอแนะการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาและเผยแพร่ข่าวกรองร่วม เพื่อก่อตัว แก้ไข ประสานงาน และตีพิมพ์ การศึกษาข่าวกรองร่วมกองทัพบกและกองทัพเรือ (JANIS : เจนิส) เจนิส จึงเป็นโครงการข่าวกรองพื้นฐานระหว่างกระทรวงหน่วยแรกที่ตอบสนองความต้องการของรัฐบาลสหรัฐ สำหรับการประเมินการประสานงานและการแบ่งมอบอำนาจของข่าวกรองยุทธศาสตร์พื้นฐาน ในระหว่างเดือนเมษายน ค.ศ. 1943 – กรกฎาคม ค.ศ. 1947 คณะกรรมการได้ตีพิมพ์ การศึกษาของเจนิสจำนวน 34 ฉบับ เจนิสได้ปฏิบัติงานได้ดีระหว่างสงคราม และความต้องการข่าวกรองพื้นฐานที่ละเอียดซับซ้อนมีสูงขึ้นหลังสงครามโลก

 
ทางเข้าสำนักงานซีไอเอซีไอเอได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 และเริ่มปฏิบัติการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2490 ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลางเริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 โดยรับมอบความรับผิดชอบงานต่อจาก เจนิส เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2491 สภาความมั่นคงแห่งชาติได้ออกคำสั่ง กำหนดการปฏิบัติการข่าวกรอง หมายเลข 3 ที่มอบอำนาจให้ โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติทำหน้าที่ระหว่างช่วงสันติแทนช่วงสงครามของโครงการเจนิส ก่อนแผนกประเทศ ของ โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ จะผลิตข่าวกรองได้อย่างเพียงพอ หน่วยงานของรัฐบาลจะต้องพัฒนาอักขรานุกรมภูมิศาสตร์และแผนที่ที่ดีขึ้น คณะกรรมการสหรัฐเรื่องชื่อภูมิศาสตร์รวบรวมรายชื่อ กระทรวงมหาดไทยผลิตอักขรานุกรมภูมิศาสตร์และ หน่วยข่าวกรองกลางผลิตแผนที่

คณะกรรมการฮูเวร์ของคณะกรรมมาธิการคล้าก ถูกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2497 เพื่อศึกษาโครงสร้างและระบบการบริหารของหน่วยข่าวกรองกลาง และได้รายงานต่อรัฐสภาในปี พ.ศ. 2498 ว่า “โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ เป็นสิ่งตีพิมพ์ที่หาค่ามิได้ซึ่งให้ข้อมูลข่าวกรองพื้นฐานที่จำเป็นของทุกพื้นที่ทั่วโลก ดังนั้นจึงมีความต้องการดังกล่าวยังคงมีอยู่ต่อไปเพื่อรักษาให้การสำรวจข้อมูลมีความทันสมัยตลอดไป” หนังสือความจริงของโลก ได้จัดทำขึ้นเป็นสรุปรายงานประจำปีและปรับปรุงให้เป็นสารานุกรมของการศึกษาโครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติ หนังสือความจริงของโลกฉบับมีชั้นความลับเล่มแรกจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2505 และฉบับไม่จำกัดชั้นความลับพิมพ์ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2514 โครงการสำรวจข่าวกรองแห่งชาติได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2516 ยกเว้นส่วนของ หนังสือความจริงของโลก แผนที่ และอักรานุกรมภูมิศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1975 หนังสือความจริงแห่งโลกได้รับการจัดจำหน่ายเป็นครั้งแรกต่อสาธารณาชนโดยผ่านสำนักพิมพ์รัฐบาล ในปี พ.ศ. 2547 เป็นปีที่ 57 ของการจัดตั้งหน่วยข่าวกรองกลาง และปีที่ 61 ของความต่อเนื่องข่าวกรองพื้นฐานที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลสหรัฐโดยการจัดทำ หนังสือความจริงของโลก


(http://upic.me/i/l9/220px-cia_svgsmall.png) (http://upic.me/show/36812622)
............................
(http://upic.me/i/pn/220px-cia_new_hq_entrancesmall.jpg) (http://upic.me/show/36812633)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Yim sri ที่ วันที่ 23 มิถุนายน 2012, 01:30:57
ขยันจริงๆเลยนะคะ ท่านอาจารย์ศิรา ไม่ยอมหลับ ยอมนอน ;D ;D


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 24 มิถุนายน 2012, 09:19:24
     วันนี้วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2555
..............
*** วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - พิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่บริเวณต้นทางหลวงประชาธิปัตย์ กรุงเทพมหานคร (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนพหลโยธิน)

     ในปีพ.ศ. 2485 ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่บริเวณต้นทางหลวงประชาธิปัตย์ กรุงเทพมหานคร (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนพหลโยธิน) อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (Victory Monument) โดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5.0 ถนนพหลโยธิน โดยที่ กม. 0 ของถนนพหลโยธินอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยซึ่งอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ชัย สมรภูมิเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจและพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสีย ชีวิต 59 นาย พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล

ก่อนที่จะมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธิน นี้มีชื่อเรียกว่า "สี่แยกสนามเป้า" การออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจห้าประการ คือ

๐ ปฏิบัติการของกองทัพทั้ง 4
๐ ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ
๐ อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ
๐ เหตุการณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ
๐ ความสนใจของประชาชน

นอกจากเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญและเป็นที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิต ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (สงครามอินโดจีน) สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลีแล้ว ยังเป็นต้นทางของถนนพหลโยธิน




(http://upic.me/i/u3/1275790022small.jpg) (http://upic.me/show/36843722)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2012, 06:43:52
     วันนี้วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555
............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - ไมเคิล แจ็กสัน นักร้องชาวอเมริกันเสียชีวิต (เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ. 2501)
          สำนักข่าวบีบีซีรายงาน เมื่อเวลา 03.00 น. วันนี้ (26 มิถุนายน)  ว่า "ไมเคิล แจ็คสัน" ราชาเพลงป็อปชื่อดัง ถูกนำส่งโรงพยาบาลยูซีแอลเอ ในนครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐฯ หลังหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ก่อนที่แพทย์ในโรงพยาบาลลอสแองเจลิส จะแถลงยืนยันว่า ไมเคิล แจ็คสัน ได้เสียชีวิตลงเมื่อเวลา 14.26 น. ตามเวลาในท้องถิ่น หรือตรงกับเวลาในประเทศไทย 02.26 น. ของเช้าวันศุกร์ ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน พร้อมยืนยันว่า ก่อนที่ราชาเพลงป็อปจะมาถึงโรงพยาบาลนั้น หัวใจได้หยุดเต้นไปแล้ว และแพทย์ได้พยายามยื้อชีวิตอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่สำเร็จ

          ด้าน ไบรอัน อ็อกแมน ทนายประจำครอบครัวของไมเคิล แจ็คสัน เปิดเผยว่า ครอบครัวของไมเคิลยังไม่ได้เปิดเผยว่า จะจัดการอย่างไรต่อไป เพราะทุกคนกำลังเสียใจอย่างมากกับการจากไปอย่างกะทันหันของไมเคิล แจ็คสัน ขณะที่แฟนเพลงจำนวนมากของไมเคิล แจ็คสัน เมื่อทราบข่าวต่างหลั่งไหลและทยอยมารวมตัวกันที่หน้าโรงพยาบาล เพื่อส่งกำลังใจให้เป็นครั้งสุดท้าย ท่ามกลางบรรยากาศที่โศกเศร้า

          นอกจากนี้ ไบรอัน ยังเปิดเผยว่า ก่อนที่ไมเคิล แจ็คสัน จะเสียชีวิต ได้รับประทานยา เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกซ้อม ก่อนเปิดคอนเสิร์ตที่กรุงลอนดอนของอังกฤษในเดือนหน้า โดยไบรอัน ระบุว่า เขาเป็นห่วงมานานแล้วที่ไมเคิล แจ็คสัน รับประทานยาหลายขนาน
          ส่วน ไมเคิล เลอวีน อดีตโฆษกส่วนตัวของไมเคิล แจ็คสัน บอกว่า เขาไม่รู้สึกแปลกใจกับข่าวการเสียชีวิตของแจ็คสัน เพราะแจ็คสันได้ใช้ชีวิตที่ทำร้ายตัวเองมาตลอดหลายปี ความสามารถของเขาเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสงสัย แต่เขาก็อึดอัดมากกับการอยู่ในสายตาของคนทั่วโลก และคนธรรมดาคนหนึ่งไม่อาจทนรับความเครียดอย่างยาวนานได้

          ด้าน มาดอนน่า ราชินีเพลงป็อป เมื่อได้ทราบข่าวการจากไปของไมเคิล แจ็คสัน ถึงกับร่ำไห้เสียใจ และบอกว่าชื่นชมแจ็คสันมาโดยตลอด แม้โลกสูญเสียบุคคลที่ยิ่งใหญ่ แต่เสียงเพลงของเขาจะคงอยู่ไปตลอดกาล และขอส่งกำลังใจให้ลูกๆ ทั้ง 3 คน และครอบครัวแจ็คสันด้วย

          ขณะที่พี่ชายเจอร์เมน แจ็คสัน เปิดเผยว่า คณะแพทย์พยายามช่วยชีวิตไมเคิล นานกว่า 1 ชั่วโมง แต่ก็ไม่สำเร็จ โดยน้องชายหมดสติตั้งแต่ถูกนำส่งโรงพยาบาลแล้ว ทั้งนี้ ทางครอบครัวอยากขอร้องสื่อ กรุณาให้ความเป็นส่วนตัวระหว่างช่วงเวลานี้ด้วย พร้อมทั้งขอให้พระอัลเลาะห์คุ้มครองไมเคิล

          ส่วนเพื่อนสนิทของซุปเปอร์สตาร์ ยูริ เกิลล่าร์ กล่าวว่า เขารู้สึกเสียใจมากๆ เมื่อรู้ข่าว โดยเขารู้จักกับไมเคิล แจ็คสันมากว่า 35 ปี เมื่อใดที่ไมเคิลมีปัญหาเขาจะโทรมา และยังหวังว่า ประวัติศาสตร์จะจดจำและจารึกมากกว่าการเป็นข่าวแล้วเงียบหายไป

          ล่าสุดตำรวจแอลเอพีดี เข้าไปสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิตของราชาเพลงป็อป โดยระบุว่าจะสอบสวนให้เสร็จสิ้นภายในวันนี้ (ตามเวลาท้องถิ่น)
         ทั้งนี้ ไมเคิล แจ็คสัน อยู่ในระหว่างการเตรียมตัวกลับคืนเวทีคอนเสิร์ตอีกครั้ง ในรอบ 12 ปี ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 13 กรกฎาคม และมีโปรแกรมทัวร์คอนเสิร์ตไปต่อเนื่องจนถึงเดือนมีนาคม ปี 2010 โดยตั๋วคอนเสิร์ตของไมเคิล ที่กรุงลอนดอนนั้น ได้เปิดขายเมื่อเดือนมีนาคม และจำหน่ายหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยมีกำหนดจะแสดงถึง 50 รอบ

          สำหรับไมเคิล แจ็คสัน (Michael Jackson) นั้น มีชื่อเต็มว่า ไมเคิล โจเซฟ แจ็คสัน (Michael Joseph Jackson)หรือเรียกย่อๆ ว่า เอ็มเจ (MJ) หรือ แจ็คโก้ (Jacko) เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2501 โดยเป็นนักร้องชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ด้วยท่าเต้น "มูน วอล์ค" และ "ลูบเป้า" อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนได้รับฉายาว่า ราชาเพลงป็อป หรือ King of Pop

          ไมเคิล แจ็คสัน แต่งงานกับ "ลิซ่า มารี เพรสลีย์" ลูกสาวของราชาเพลงร็อค "เอลวิส เพรสลีย์" ก่อนจะเลิกรากันไปในปี พ.ศ.2539 โดยไม่มีบุตรด้วยกัน แต่ภายหลังไมเคิล มีบุตร 2 คน จากการผสมเทียมกับ "เด็บบี โรวว์" พยาบาลสาวใหญ่ และมีเพิ่มอีก 1 คน จากสาวผู้ไม่เปิดเผยนาม ด้วยการผสมเทียมเช่นเดียวกัน
          ทั้งนี้ ไมเคิล แจ็คสัน ได้เคยมาเปิดการแสดงคอนเสิร์ตที่เมืองไทย 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ.2536 ซึ่งถือเป็นคอนเสิร์ตของนักร้องต่างประเทศครั้งแรกในเมืองไทย และได้รับความนิยมอย่างมาก แต่กระนั้นก็ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา ถึงความไม่เหมาะสมของท่าเต้น "ลูบเป้า"

          นอกจากนี้ไมเคิล ยังมีข่าวคราวอื้อฉาวปรากฎอยู่บ่อยๆ ตามสื่อ ทั้งข่าวที่เขาชอบทำตัวแปลกๆ ใช้ชีวิตอย่างแปลกๆ รวมถึงข่าวการล่วงละเมิดทางเพศเด็กผู้ชาย ที่มีออกมาให้เห็นอยู่เป็นประจำ โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2548 ไมเคิลต้องขึ้นศาลฟังคำพิพากษาในคดีข่มขืนเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งศาลก็พิพากษาให้รอดพ้นคดีนั้นไป

(http://upic.me/i/pq/michael_jackson_1small.jpg) (http://upic.me/show/36872891)

(http://upic.me/i/4u/michael_jackson_2small.jpg) (http://upic.me/show/36872893)
(http://upic.me/i/p6/michael_jackson_4small.jpg) (http://upic.me/show/36872897)
(http://upic.me/i/k4/t_2small.jpg) (http://upic.me/show/36872899)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 26 มิถุนายน 2012, 06:15:55
     วันนี้วันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2555
.............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น และกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็น วันสุนทรภู่
พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย[1] เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลายๆเรื่อง

ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่นๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป
ประวัติต้นตระกูลบันทึกส่วนใหญ่มักระบุถึงต้นตระกูลของสุนทรภู่เพียงว่า บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น ทั้งนี้เนื่องจากเชื่อถือตามพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ต่อมาในภายหลัง เมื่อมีการค้นพบข้อมูลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ก็มีแนวคิดเกี่ยวกับต้นตระกูลของสุนทรภู่แตกต่างกันออกไป นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ฝ่ายบิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง จริง เนื่องจากมีปรากฏเนื้อความอยู่ใน นิราศเมืองแกลง ถึงวงศ์วานว่านเครือของสุนทรภู่ แต่ความเห็นเกี่ยวกับตระกูลฝ่ายมารดานี้แตกออกเป็นหลายส่วน ส่วนหนึ่งว่าไม่ทราบที่มาแน่ชัด ส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวฉะเชิงเทรา และส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวเมืองเพชร ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขียนไว้ในหนังสือ สยามประเภท ว่า บิดาของสุนทรภู่เป็นข้าราชการแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ชื่อขุนศรีสังหาร (พลับ) [2] ข้อมูลนี้สอดคล้องกับบทกวีไม่ทราบชื่อผู้แต่งซึ่ง ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ พบที่อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จ.ระยอง ว่าบิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย[3] ทว่าแนวคิดที่ได้รับการยอมรับกันค่อนข้างกว้างขวางคือ ตระกูลฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร สืบเนื่องจากเนื้อความใน นิราศเมืองเพชร ฉบับค้นพบเพิ่มเติมโดย อ.ล้อม เพ็งแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2529[4]

วัยเยาว์สุนทรภู่ มีชื่อเดิมว่า ภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้ เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม

เชื่อกันว่า ในวัยเด็กสุนทรภู่ได้ร่ำเรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ตามเนื้อความส่วนหนึ่งที่ปรากฏใน นิราศสุพรรณ[5] ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน[6] แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม จากสำนวนกลอนของสุนทรภู่ เชื่อว่าผลงานที่มีการประพันธ์ขึ้นก่อนสุนทรภู่อายุได้ 20 ปี (คือก่อนนิราศเมืองแกลง) เห็นจะได้แก่กลอนนิทานเรื่อง โคบุตร[7]

สุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ชะรอยว่าหล่อนจะเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุกก็เดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง การเดินทางครั้งนี้สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศเมืองแกลง พรรณนาสภาพการเดินทางต่างๆ เอาไว้โดยละเอียด และลงท้ายเรื่องว่า แต่งมาให้แก่แม่จัน "เป็นขันหมากมิ่งมิตรพิสมัย"[8] ในนิราศได้บันทึกสมณศักดิ์ของบิดาของสุนทรภู่ไว้ด้วยว่า เป็น "พระครูธรรมรังษี" เจ้าอาวาสวัดป่ากร่ำ กลับจากเมืองแกลงคราวนี้ สุนทรภู่จึงได้แม่จันเป็นภรรยา

แต่กลับจากเมืองแกลงเพียงไม่นาน สุนทรภู่ต้องติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศพระบาท พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย

สุนทรภู่กับแม่จันมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อหนูพัด ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนหนุ่มสาวทั้งสองมีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป

หลังจาก นิราศพระบาท ที่สุนทรภู่แต่งในปี พ.ศ. 2350 ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลยจนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359

กวีราชสำนักสุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 มูลเหตุในการได้เข้ารับราชการนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจแต่งโคลงกลอนได้เป็นที่พอพระทัย ทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงทรงเรียกเข้ารับราชการ แนวคิดหนึ่งว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่งกลอนในบัตรสนเท่ห์ ซึ่งปรากฏชุกชุมอยู่ในเวลานั้น[9] อีกแนวคิดหนึ่งสืบเนื่องจาก "ช่วงเวลาที่หายไป" ของสุนทรภู่ ซึ่งน่าจะใช้วิชากลอนทำมาหากินเป็นที่รู้จักเลื่องชื่ออยู่ ชะรอยจะเป็นเหตุให้ถูกเรียกเข้ารับราชการก็ได้[3]

เมื่อแรกสุนทรภู่รับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถว มีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษรเพื่อคอยรับใช้ แต่มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร การต่อกลอนของสุนทรภู่คราวนี้เป็นที่รู้จักทั่วไป เนื่องจากปรากฏรายละเอียดอยู่ในพระนิพนธ์ ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้แต่งในคราวนั้นคือ ตอนนางสีดาผูกคอตาย และตอนศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกัณฐ์[9] สุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น หลวงสุนทรโวหาร ในเวลาต่อมา[10] ได้รับพระราชทานบ้านหลวงอยู่ที่ท่าช้าง ใกล้กับวังท่าพระ และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าเป็นประจำ คอยถวายความเห็นเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่างๆ รวมถึงได้ร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นหนึ่งในคณะร่วมแต่ง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นใหม่

ระหว่างรับราชการ สุนทรภู่ต้องโทษจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่ แต่จำคุกได้ไม่นานก็โปรดพระราชทานอภัยโทษ เล่ากันว่าเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย[11] ภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง สวัสดิรักษา ในระหว่างเวลานี้

ในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อพ่อตาบ

ออกบวช (ช่วงตกยาก)
กุฏิวัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฏิของท่านสุนทรภู่รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวช แต่จะได้ลาออกจากราชการก่อนออกบวชหรือไม่ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แม้จะไม่ปรากฏโดยตรงว่าสุนทรภู่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากราชสำนักใหม่ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็ได้รับพระอุปถัมภ์จากพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นอยู่เสมอ เช่น ปี พ.ศ. 2372 สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ปรากฏความอยู่ใน เพลงยาวถวายโอวาท นอกจากนั้นยังได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ และกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งปรากฏเนื้อความในงานเขียนของสุนทรภู่บางเรื่องว่า สุนทรภู่แต่งเรื่อง พระอภัยมณี และ สิงหไตรภพ ถวาย

สุนทรภู่บวชอยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง เท่าที่พบระบุในงานเขียนของท่านได้แก่ วัดเลียบ วัดแจ้ง วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม งานเขียนบางชิ้นสื่อให้ทราบว่า ในบางปี ภิกษุภู่เคยต้องเร่ร่อนไม่มีที่จำพรรษาบ้างเหมือนกัน ผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย และเชื่อว่าน่าจะยังมีนิราศที่ค้นไม่พบอีกเป็นจำนวนมาก

งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385

ช่วงปลายของชีวิตปี พ.ศ. 2385 ภิกษุภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม คืนหนึ่งหลับฝันเห็นเทพยดาจะมารับตัวไป เมื่อตื่นขึ้นคิดว่าตนถึงฆาตจะต้องตายแล้ว จึงประพันธ์เรื่อง รำพันพิลาป พรรณนาถึงความฝันและเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบทเพื่อเตรียมตัวจะตาย ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุได้ 56 ปี

หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร

สุนทรภู่พำนักอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) มีห้องส่วนตัวเป็นห้องพักกั้นเฟี้ยมที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" เชื่อว่าสุนทรภู่พำนักอยู่ที่นี่ตราบจนสิ้นชีวิต[12] เมื่อปี พ.ศ. 2398 สิริรวมอายุได้ 69 ปี

ทายาทสุนทรภู่มีบุตรชายสามคน คือพ่อพัด เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน พ่อตาบ เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และพ่อนิล เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อพ่อกลั่น และพ่อชุบ

พ่อพัดนี้เป็นลูกรัก ได้ติดสอยห้อยตามสุนทรภู่อยู่เสมอ เมื่อครั้งสุนทรภู่ออกบวช พ่อพัดก็ออกบวชด้วย[13] เมื่อสุนทรภู่ได้มารับราชการกับเจ้าฟ้าน้อย พ่อพัดก็มาพำนักอยู่ด้วยเช่นกัน[12] ส่วนพ่อตาบนั้นปรากฏว่าได้เป็นกวีมีชื่ออยู่พอสมควร[9] เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า ภู่เรือหงส์ เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่นี้ ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขียนไว้ในหนังสือสยามประเภท อ้างถึงผู้ถือนามสกุล ภู่เรือหงส์ ที่ได้รับบำเหน็จจากหมอสมิทเป็นค่าพิมพ์หนังสือเรื่อง พระอภัยมณี[3][14] แต่หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ไม่เป็นที่ยอมรับของราชสำนัก ด้วยปรากฏอยู่บ่อยครั้งว่ามักเขียนเรื่องกุ เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่จึงพลอยไม่ได้รับการเชื่อถือไปด้วย จนกระทั่ง ศจ.ผะอบ โปษะกฤษณะ ยืนยันความข้อนี้เนื่องจากเคยได้พบกับหลานปู่ของพ่อพัดมาด้วยตนเอง[14]

อุปนิสัยและทัศนคติอุปนิสัยตำราโหราศาสตร์ผูกดวงชะตาวันเกิดของสุนทรภู่ไว้เป็นดวงประเทียบ พร้อมคำอธิบายข้างใต้ดวงชะตาว่า "สุนทรภู่ อาลักษณ์ขี้เมา"[9] เหตุนี้จึงเป็นที่กล่าวขานกันเสมอมาว่า สุนทรภู่นี้ขี้เหล้านัก ในงานเขียนของสุนทรภู่เองก็ปรากฏบรรยายถึงความมึนเมาอยู่หลายครั้ง แม้จะดูเหมือนว่า สุนทรภู่เองก็รู้ว่าการมึนเมาสุราเป็นสิ่งไม่ดี ได้เขียนตักเตือนผู้อ่านอยู่ในงานเขียนเสมอ[15] การดื่มสุราของสุนทรภู่อาจเป็นการดื่มเพื่อสังสรรค์และเพื่อสร้างอารมณ์ศิลปิน ด้วยปรากฏว่าเรือนสุนทรภู่มักเป็นที่ครึกครื้นรื่นเริงกับหมู่เพื่อนฝูงอยู่เสมอ[3] นอกจากนี้ยังเล่ากันว่า เวลาที่สุนทรภู่กรึ่มๆ แล้วอาจสามารถบอกกลอนให้เสมียนถึงสองคนจดตามแทบไม่ทัน[9] เมื่อออกบวช สุนทรภู่เห็นจะต้องพยายามเอาชนะใจตัวเองให้ได้ ซึ่งในท้ายที่สุดก็สามารถทำได้

สุนทรภู่มักเปรียบการเมาเหล้ากับการเมารัก ชีวิตรักของสุนทรภู่ดูจะไม่สมหวังเท่าที่ควร หลังจากแยกทางกับแม่จัน สุนทรภู่ได้ภรรยาคนที่สองชื่อแม่นิ่ม นอกจากนี้แล้วยังปรากฏชื่อหญิงสาวมากหน้าหลายตาที่สุนทรภู่พรรณนาถึง เมื่อเดินทางไปถึงหย่อมย่านมีชื่อเสียงคล้องจองกับหญิงสาวเหล่านั้น นักวิจารณ์หลายคนจึงบรรยายลักษณะนิสัยของสุนทรภู่ว่าเป็นคนเจ้าชู้ และบ้างยังว่าความเจ้าชู้นี้เองที่ทำให้ต้องหย่าร้างกับแม่จัน ความข้อนี้เป็นจริงเพียงไรไม่ปรากฏ ขุนวิจิตรมาตราเคยค้นชื่อสตรีที่เข้ามาเกี่ยวพันกับสุนทรภู่ในงานประพันธ์ต่างๆ ของท่าน ได้ชื่อออกมากว่า 12 ชื่อ คือ จัน พลับ แช่ม แก้ว นิ่ม ม่วง น้อย นกน้อย กลิ่น งิ้ว สุข ลูกจันทน์ และอื่นๆ อีก[2] ทว่าสุนทรภู่เองเคยปรารภถึงการพรรณนาถึงหญิงสาวในบทประพันธ์ของตนว่า เป็นไปเพื่อให้ได้อรรถรสในงานประพันธ์เท่านั้น จะถือเป็นจริงเป็นจังมิได้[16] อย่างไรก็ดี การบรรยายความโศกเศร้าและอาภัพในความรักของสุนทรภู่ปรากฏอยู่ในงานเขียนนิราศของท่านแทบทุกเรื่อง สตรีในดวงใจที่ท่านรำพันถึงอยู่เสมอก็คือแม่จัน ซึ่งเป็นรักครั้งแรกที่คงไม่อาจลืมเลือนได้ แต่น่าจะมีความรักใคร่กับหญิงอื่นอยู่บ้างประปราย และคงไม่มีจุดจบที่ดีนัก ใน นิราศพระประธม ซึ่งท่านประพันธ์ไว้เมื่อมีอายุกว่า 60 ปีแล้ว สุนทรภู่ได้อธิษฐานไม่ขอพบกับหญิงทิ้งสัตย์อีกต่อไป[17]

อุปนิสัยสำคัญอีกประการหนึ่งของสุนทรภู่คือ มีความอหังการ์และมั่นใจในความสามารถของตนเป็นอย่างสูง ลักษณะนิสัยข้อนี้ทำให้นักวิจารณ์ใช้ในการพิจารณางานประพันธ์ซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงอยู่ว่า เป็นผลงานของสุนทรภู่หรือไม่ ความอหังการ์ของสุนทรภู่แสดงออกมาอย่างชัดเจนอยู่ในงานเขียนหลายชุด และถือเป็นวรรคทองของสุนทรภู่ด้วย เช่น

อย่างหม่อมฉันอันที่ดีและชั่ว ถึงลับตัวแต่ก็ชื่อเขาลือฉาว
เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว    เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร[18]  

หรืออีกบทหนึ่งคือ

หนึ่งขอฝากปากคำทำหนังสือ ให้สืบชื่อชั่วฟ้าสุธาสถาน
สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรพาฬ      พระทรงสารศรีเศวตเกศกุญชร[19]  

เรื่องความอหังการ์ของสุนทรภู่นี้ เล่ากันว่าในบางคราวสุนทรภู่ขอแก้บทพระนิพนธ์ของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ต่อหน้าพระที่นั่งโดยไม่มีการไว้หน้า ด้วยถือว่าตนเป็นกวีที่ปรึกษา กล้าแม้กระทั่งต่อกลอนหยอกล้อกับพระบาทสมเด็จพระพุทธ

(http://upic.me/i/7z/200px-poo-2small.jpg) (http://upic.me/show/36901269)
(http://upic.me/i/w1/sunthornpoo_01small.jpg) (http://upic.me/show/36901303)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 27 มิถุนายน 2012, 07:11:48
     วันนี้วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2555
.........
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - การปฏิวัติสยาม: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

1.ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

การที่คณะนายทหารหนุ่มภายใต้การนำของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์) ได้วางแผนยึดอำนาจการปกครอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบที่จำกัด พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในฐานะประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อพ.ศ.2454 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะถูกจับกุมก่อนลงมือปฏิบัติงาน แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของระบอบนี้อย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ที่ไม่ดุลกับรายรับ ทำให้มีการกล่าวโจมตีรัฐบาลว่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินไป ครั้งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ถูกโจมตีว่าทรงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง และบรรดาพระราชวงศ์ก็มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองมากเกินไป ควรจะให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองด้วย ปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อระบอบการปกครองที่มีพระ มหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งนับวันจะมีปฏิกิริยาต่อต้านมากขึ้น

2.การได้รับการศึกษาตามแนวความคิดตะวันตกของบรรดาชนชั้นนำในสังคมไทย

อิทธิพลจากการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งที่ไปศึกษายังประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่ และนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทย ทำให้คนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศรับอิทธิพลแนวความคิดดัง กล่าวด้วย อิทธิพลของปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแลปงการ ปกครองมากขึ้น นับตั้งแต่คณะเจ้านายและข้าราชการเสนอคำกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการ ปกครองใน พ.ศ.2427

นักหนังสือพิมพ์อย่าง เทียนวรรณ (ต.ว.ส.วัณณาโภ) ก.ศ.ร. กุหลาบ (ตรุษ ตฤษณานนท์) ได้เรียกร้องให้ปกครองบ้านเมืองในระบบรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และยังได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์สังคม กระทบกระเทียบชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ ซึ่งตัวเทียนวรรณเองก็ได้กราบบังคมทูลถวายโครงร่างระบบการปกครองที่เป็น ประชาธิปไตยแด่รัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชกาลที่ 6 กลุ่มกบฏ ร.ศ.130 ที่วางแผนยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็เป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกแต่ไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศ

แต่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 เป็นคณะบุคคลที่ส่วนใหญ่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตกแทบทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงอัทธิพลของความคิดในโลกตะวันตกที่มีต่อชนชั้นผู้นำของไทยเป็น อย่างยิ่ง เมื่องคนเลห่านี้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข การเปลี่ยนแปลงกรปกครองจึงเกิดขึ้น

3.ความเคลื่อนไหวของบรรดาสื่อมวลชน

สื่อมวลชนมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปกครองแบบใหม่และ ปฏิเธระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น

น.ส.พ.ตุลวิภาคพจนกิจ (พ.ศ.2443-2449)

น.ส.พ.ศิริพจนภาค (พ.ศ.2451)

น.ส.พ.จีนโนสยามวารศัพท์ (พ.ศ.2446-2450)

น.ส.พ.บางกอกการเมือง (พ.ศ.2464)

น.ส.พ.สยามรีวิว (พ.ศ.2430)

น.ส.พ.ไทยใหม่ (พ.ศ.2474)

ต่างก็เรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการ ปกครองประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงความดีงามของระบอบประชาธิปไตยที่จะเป็นแรงผลักดันให้ประชา ชาติมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ ดังเช่นที่ปรากฎเป็นตัวอย่างในหลายๆประเทศที่มีการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ การะแสเรียกร้องของสื่อมวลชนในสมัยนั้นได้มีส่วนต่อการสนับสนุนให้การดำเนิน ของคณะผู้ก่อการในอันที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองบรรลุผลสำเร็จได้เหมือนกัน

4.ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

รัชกาลที่ 7 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ และทรงเต็มพระทัยที่จะสละพระราชอำนาจมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อถึงเวลาที่ เหมาะสม

แต่เมื่อพระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อประกาศใช้ พระองค์ได้ทรงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาอภิรัฐมนตรีสภา แต่อภิรัฐมนตรีสภากลับไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าประชาชนยังขาดความพร้อมและเกรงจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

ทั้งๆที่รัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออภิรัฐมนตรีสภาคัด ค้าน พระองค์จึงมีน้ำพระทัยเป็นประชาธิปไตยโดยทรงฟังเสียงทัดทานจากอภิรัฐมนตรี สภาส่วนใหญ่

ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงยังไม่มีโอกาสได้รับการประกาศใช้ เป็นผลให้คณะผู้ก่อการชิงลงมือทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ในที่สุด

5.สถานะการคลังของประเทศและการแก้ปัญหา

การคลังของประเทศเริ่มประสบปัญหามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะการผลิตข้าวประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งติดต่อกันใน พ.ศ. 2460 และ พ.ศ.2462

ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการผลิตข้าวอย่างรุนแรง ภายในประเทศก็ขาดแคลนข้าวที่จะใช้ในการบริโภค และไม่สามารถส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศได้

ทำให้รัฐขาดรายได้เป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องจัดสรรเงินงบประมาณช่วยเหลือชาวนา ข้าราชการ และผู้ประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น มีทั้งรายจ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้นจนเกินงบประมาณรายได้

ซึ่งใน พ.ศ. 2466 งบประมาณขาดดุลถึง 18 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลได้นำเอาเงินคงคลังที่เก็บสะสมไว้ออกมาใข้จ่ายจนหมดสิ้น ในขณะที่งบประมาณรายได้ต่ำ

รัชกาลที่ 6 ทรงแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อให้มีเงินเพียงพอกับงบประมาณรายจ่าย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างไม่ประหยัด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังคับขัน

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลลดจำนวนข้าราชการในกระทรวงต่างๆให้น้อยลง และทรงยินยอมตัดทอนงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ให้น้อยลง

เมื่อ พ.ศ.2469 ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 3 ล้านบาท แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกเริ่มตกต่ำมาเป็นลำดับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นอันมาก จัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารของข้าราชการ รวมทั้งการประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ


พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะการเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ แต่มาตรการดังกล่าวมก็ไม่สามารถจะกอบกู้สถานะการคลังของประเทศได้กระเตื้องขึ้นได้

จากปัญหาเศรษฐกิจการคลังที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขให้มีสภาพเป็นปกติได้ ทำให้คณะผู้ก่อการใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีประสิทธิภาพการบริหารงานของ รัฐบาล จนเป็นเงื่อนไขให้คณะผู้ก่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จ

การเตรียมการเปลี่ยนแปลง

กลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้ริเริ่มความคิดที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งแรกหรือที่เรียกว่า “คณะผู้ก่อการ นั้นมี 7 คน ที่สำคัญคือ

นายปรีดี พนมยงค์
ร.ท.แปลก ขีตตะวังคะ
ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เป็นต้น
คณะบุคคลทั้ง 7 คนได้เริ่มเปิดประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 ที่พักแห่งหนึ่งในถนน รู เดอ ซอมเมอรารด์ ณ กรุงปารีส

การประชุมครั้งนั้นดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นประธานที่ประชุม และที่ประชุมตกลงดำเนินการจัดตั้งคณะผู้ก่อการขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์รวมในการดำเนินงานต่อไป

โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการต่อไป ที่ประชุมได้ตกลงในหลักการที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้กฎหมายหรือที่เรียกกันว่า ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ คณะผู้ก่อการได้กำหนดหลักการในการปกครองประเทศไว้ 6 ประการ
1) รักษาความเป็นเอกราชของชาติในทุกๆด้าน เช่น เอกราชทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางการศาล ฯลฯ ให้มีความมั่นคง

2) รักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้มีการประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลง

3) บำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทำทุกคน โดยจะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติและไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4) ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคทัดเทียมกัน

5) ให้ราษฎรมีเสรีภาพที่ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการข้างต้น

6) ให้การศึกษาแก่ราษฎรทุกคนอย่างเต็มที่

ภายหลังจากเสร็จการประชุมในครั้งนั้นแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมายแล้ว ได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย ทางสมาชิกที่อยุ่ในกรุงปารีสจึงได้เลือกเฟ้นผู้ที่สมควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อไป และได้สมาชิกเพิ่มในคณะผู้ก่อการอีก 8 คน ที่สำคัญ คือ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน เป็นต้น

ภายหลังเมื่อบรรดาสมาชิกของคณะผู้ก่อการที่กรุงปารีสกลับคืนสู่ประเทศไทยแล้ว ก็ได้มีการชักชวนบุคคลที่มีความเห็นร่วมกันเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะผู้ก่อการอีกเป็นจำนวนมาก

จนกระทั่งปลายปี พ.ศ.2474 จึงได้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ ดังนั้นสมาชิกคณะผู้ก่อการฝ่ายทหารที่สำคัญ ได้แก่ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม น.ต.หลวงสินธุ์สงครามชัย ฯลฯ สำหรับสมาชิกคณะผู้ก่อการหัวหน้าฝ่ายพลเรือนที่สำคัญคือ นายปรีดี พนมยงค์ นายทวี บุญยเกตุ นายควง อภัยวงค์ เป็นต้น

คณะผู้ก่อการได้วางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองดำเนินไปอย่างละมุนละม่อมและหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อให้มากที่สุด โดยมีแผนจับกุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเอาไว้ก่อน ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน นอกจากนี้ยังมีแผนการจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์องค์อื่นๆ รวมทั้งเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ และผู้บังคับบัญชาทหารที่สำคัญๆ อีกหลายคนด้วยกัน เพื่อเป็นข้อต่อรองให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทย

ขั้นตอนการยึดอำนาจ

คณะผู้ก่อการได้เริ่มลงมือปฏิบัติงานในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการนำคณะนายทหารพร้อมด้วยกำลังหน่วยทหารที่เตรียมการเอาไว้ เข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นฐานบัญชาการ และได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดวังบางขุนพรหม พร้อมทั้งได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสด็จมาประทับยัง พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นผลสำเร็จ จากการที่คณะผู้ก่อการได้พยายามดำเนินการอย่างละมุนละม่อมดังกล่าว ทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีซึ่งมีผลต่อชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวม

สำหรับทางฝ่ายพลเรือนนั้น สมาชิกคณะผู้ก่อการกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (นายควง อภัยวงศ์) ได้ออกตระเวนตัดสายโทรศัพท์และโทรเลขทั้งในพระนครและธนบุรี เพื่อป้องกันมิให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตและผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในกรุงเทพฯ ขณะนั้น โทรศัพท์และโทรเลขติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ได้จัดทำใบปลิว คำแถลงการณ์ของคณะผู้ก่อการออกแจกจ่ายประชาชน

คณะผู้ก่อการสามารถยึดอำนาจและจับกุมบุคคลสำคัญฝ่ายรัฐบาลไว้ได้โดยเรียบร้อย และได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะราษฎร ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร เพื่อชี้แจงที่ต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองให้ประชาชนเข้าใจ นอกจากนี้คณะราษฎรได้แต่งตั้งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารขึ้น 3 นาย ได้แก่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ โดยให้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ

หลังจากนั้น คณะราษฎรได้มีหนังสือกราบบังคับทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัวเสด็จกลับคืนสู่พระนคร เพื่อดำรงฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรต่อไป ด้วยความที่พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยที่เป็นประชาธิปไตย และทรงพร้อมที่จะเสียสละเพื่อประชาชนและประเทศชาติ พระองค์ทรงตอบรับคำกราบบังคับทูลอัญเชิญของคณะราษฎร โดยพระองค์ทรงยินยอมที่จะสละพระราชอำนาจของพระองค์ด้วยการพระราชทานรัฐ ธรรมนูญตามที่คณะราษฎรได้มีเป้าหมายเอาไว้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนครเพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวง ชนชาวไทย

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของไทย แต่ถ้าพิจารณาถึงผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแล้ว ผลกระทบทางการเมืองจะมีมากกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เป็นเพราะความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคนร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจเพื่อนำเสนอนั้น มิได้รับการยอมรับจากคณะราษฎรส่วนใหญ่ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังคงเป็นแบบทุนนิยมเช่นเดิม และโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงเน้นที่การเกษตรกรรมมากว่าอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจากประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้พัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว

ผลกระทบทางด้านสังคม

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมไทยได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงพอสมควร คือ ประชาชนเริ่มได้รับเสรีภาพและมีสิทธิต่างๆ ตลอดจนความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ในขณะที่บรรดาเจ้าขุนมูลนาย ขุนนาง ซึ่งมีอำนาจภายใต้ระบอบการปกครองดั้งเดิมได้สูญเสียอำนาจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เคยมีมาก่อน โดยที่คณะราษฎรได้เข้าไปมีบทบาทแทนบรรดาเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าเหล่านั้น

เนื่องจากที่คณะราษฎรมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาของราษฎรอย่างเต็มที่ ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรข้อที่ 6 ดังนั้น รัฐบาลจึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นให้เทศบาลเหล่านั้นรับไปจัดการศึกษาเอง เท่าที่เทศบาลเหล่านั้นจะสามารถรับโอนไปจากกระทรวงธรรมการได้ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงการศึกษาของบุตรหลานของตนเอง นอกจากนั้นรัฐบาลได้กระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีสภาเทศบาลคอยควบคุมกิจการบริหารของเทศบาลเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ โดยมีเทศมนตรีเป็นผู้บริหารตามหน้าที่

พ.ศ.2479 รัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479 โดยกำหนดแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภท คือ สายสามัญศึกษาและสายอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นการเน้นความสำคัญของอาชีวศึกษาอย่างแท้จริง โดยได้กำหนดความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เรียนจบการศึกษาในสายสามัญแตะละประโยคแต่ละระดับการศึกษา ได้เรียนวิชาอาชีพเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากเรียนวิชาสามัญ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการที่จะออกไปประกอบอาชีพต่อไป

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 จึงได้นำไปสู่การปรับปรุงให้ราษฎรได้รับการศึกษา และสามารถใช้วิชาการความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ประกอบอาชีพต่อไปอย่างมั่นคงและมีความสุข

การเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้ชนชั้นเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าถูกลิดรอนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น พระมหากษัตริย์จะได้รับเงินจากงบประมาณเพียงปีละ 1-2 ล้านบาท จากเดิมเคยได้ประมาณปีละ 2-10 ล้านบาท เงินปีของพระบรมวงศานุวงศ์ถูกลดลงตามส่วน ขุนนางเดิมถูกปลดออกจากราชการโดยรับเพียงบำนาญ และเจ้านายบางพระองค์ถูกเรียกทรัพย์สินสมบัติคืนเป็นของแผ่นดิน


(http://upic.me/i/b9/newspic_view_phpsmall.jpg) (http://upic.me/show/36928902)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 28 มิถุนายน 2012, 07:08:17
     วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2555
................
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ มาร์ชราชนาวิกโยธิน เป็นเพลงประจำหน่วยทหารนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินจึงถือเอาวันนี้ของทุกปีเป็น วันทหารนาวิกโยธิน
“มาร์ชราชนาวิกโยธิน”
ประวัติเพลงมาร์ชราชนาวิกโยธิน เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 29 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2502 แล้วพระราชทานแก่กรมนาวิกโยธินตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานจาก พลเรือตรี สนอง นิสาลักษณ์ ผู้บังคับบัญชากรมนาวิกโยธินขณะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรีประจำกองเรือที่ ๗ ของสหรัฐอเมริกานำออกบรรเลงครั้งแรก ณ สนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ในงานแสดงของราชนาวีไทย-นาวิกโยธินอเมริกัน เพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิ “มหิดล” ในโอกาสที่นาวิกโยธินอเมริกันประจำกองเรือที่ 7 ของสหรัฐอเมริกาเดินทางมาเยือนประเทศไทย สำหรับคำร้องภาษาไทย พลเรือโท จตุรงค์ พันธุ์คงชื่น และพลเรือโท สุม
 
มาร์ชราชนาวิกโยธิน
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้องโดย พลเรือโทจตุรงค์ พันธุ์คงชื่น และ พลเรือโทสุมิตร ชื่นมนุษย์

รุกรันฟันฝ่าในธาราสีคราม
สมเป็นดังนามราชนาวีไทย
รบรันฟัดฟาดไม่ขลาดหวั่นไหว
มีศึกมาใกล้ไม่หวั่นครั่นคร้ามริปู

เราราชนาวิกโยธินของไทย
เราร่วมกายใจกันไว้เชิดชู
เป็นแนวปราการรุกรานรบผลาญต่อต้านพร้อมพรู
เข้าฟาดฟันรบรันศัตรูขอสู้ขาดใจ

เมื่อเราเข้าประจัญ
จะผลาญให้สิ้นไป
ยอมพลีชีพเพื่อชาติไทย
รีบรุกบุกเข้าตี
ไม่หนีสู้เพื่อชัย
กายใจชีวิตมอบเป็นราชพลี

เราราชนาวิกโยธินของไทย
ชีวิตมลายคงไว้ศักดิ์ศรี
วิญญาณยืนยงคู่ธงนาวี
ดำรงเสรีศัตรูหลีกลี้หนีไป

แม้ชีวาเราจำต้องสิ้นสูญลง
แหลมทองยังคงเป็นขวัญคู่ไทย
นย.เกรียงไกรไว้ลายแม้ตายชื่อไม่สูญไป
ปกป้องไทยทั้งกายและใจขอไทยอยู่คง.



(http://upic.me/i/wt/300small.jpg) (http://upic.me/show/36951107)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 29 มิถุนายน 2012, 07:01:18
     วันนี้วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2555
...............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - เกิดกบฏแมนฮัตตัน นำโดยทหารเรือจำนวนหนึ่ง ขณะมีพิธีส่งมอบเรือขุดแมนฮัตตันจากสหรัฐอเมริกา กบฏจับตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นตัวประกันไปไว้ที่เรือหลวงศรีอยุธยา ฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุนโดยทหารและตำรวจ ปราบปรามอย่างรุนแรงนาน 3 วัน 2 คืน
29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เกิดเหตุการณ์ "กบฎแมนฮัตตัน" นำโดย นาวาโทมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ได้บุกจี้ตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ขณะกำลังทำพิธีรับมอบ "เรือขุดแมนฮัตตัน" ซึ่งสหรัฐอเมริกามอบให้แก่ประเทศไทย ที่ท่าราชวรดิฐ (จึงเป็นที่มาของ "กบฎแมนฮัตตัน") จากนั้นได้เชิญตัวจอมพล ป. ไปขังไว้ที่เรือหลวงศรีอยุธยา ซึ่งจอดอยู่ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ หัวหน้าผู้ก่อการคือ นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา ได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เกิดการสู้รบกันหลายแห่งในพระนคร ระหว่างฝ่ายทหารเรือกับฝ่ายรัฐบาลคือทหารอากาศ ทหารบกและตำรวจ จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงสามารถหลบหนีออกมาได้ ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนสำเร็จ
 (http://upic.me/i/bu/154322jan02wince.jpg) (http://upic.me/show/36973564)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 30 มิถุนายน 2012, 06:16:03
     วันนี้วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2555
.............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - ขบวนการพูโลลอบวางระเบิด 6 จุดในย่านชุมชนของกรุงเทพฯ และมีจดหมายขู่จะระเบิดให้ครบ 400 จุด

ย้อนรอยบึ้มกรุงปี 2523 ขบวนการพูโลบุกป่วน6จุด///มติชนฯ/
อันที่จริงเหตุการณ์ระเบิดทั่วกรุงไม่ต่ำกว่า 5 จุด เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม คืนส่งท้ายปีเก่า ไม่ใช่เหตุการณ์รุนแรงครั้งแรกในกรุงเทพมหานคร (กทม.)

ก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุการณ์ที่สร้างความอกสั่นขวัญแขวนให้กับคนเมืองกรุงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนมาแล้ว เมื่อขบวนการโจรพูโลบุกขึ้นมาก่อความไม่สงบในกรุงเทพฯหลายแห่ง ลอบวางระเบิดกันถึง 6 จุดใหญ่ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2523 แต่ระเบิดทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ 1.โรงภาพยนตร์ฮาวาย ย่านวงเวียนใหญ่ มีผู้บาดเจ็บ 1 คน 2.สถานีรถไฟบางกอกน้อย มีบาดเจ็บ 1 คน 3.บริษัทไทยเดินรถ บางกอกน้อย มีผู้บาดเจ็บ 36 คน และ 4.บนรถเมล์สาย 58 มีผู้บาดเจ็บ 8 คน

ต่อจากนั้นมา กรุงเทพฯตกอยู่ภายใต้ข่าวลือถึงสถานที่ต่างๆ จะมีระเบิด เนื่องจากมีจดหมายข่มขู่จะระเบิดให้ครบ 400 จุด ทำให้ตำรวจต้องทำงานอย่างหนักวิ่งวุ่นกันไปทั้งเมือง


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 01 กรกฎาคม 2012, 07:21:53
     วันนี้วันพฤหัสบดีที่ ๑ กรกฏาคม 2555
..............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย โดยทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ประเภทของลูกเสือลูกเสือ คือ เยาวชนชายและหญิงอายุระหว่าง 8 – 25 ปี ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาลูกเสือ โดยยึดมั่นในหลักการ (Principle) วิธีการ (Method) และวัตถุประสงค์ (Purpose) ของการลูกเสือ (Scouting) อย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 และข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้กำหนดประเภทและเหล่าลูกเสือว่า ลูกเสือมี 4 ประเภท คือ สำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ และอาจจัดให้มีลูกเสือเหล่าสมุทร และลูกเสือเหล่าอากาศได้ สำหรับลูกเสือที่เป็นหญิง อาจใช้ชื่อเรียกว่า เนตรนารี หรือชื่ออื่นซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติให้หมายถึง ลูกเสือที่เป็นหญิงด้วย

1. ลูกเสือสำรอง (Cub Scout) อายุ 8 – 11 ปี คติพจน์: ทำดีที่สุด (Do Our Best)

2. ลูกเสือสามัญ (Scout) อายุ 11 – 16 ปี คติพจน์: จงเตรียมพร้อม (Be Prepared)

3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) อายุ 14 – 18 ปี คติพจน์: มองไกล (Look Wide)

4. ลูกเสือวิสามัญ (Rover) อายุ 16 - 25 ปี คติพจน์: บริการ (Service)

[แก้] การลูกเสือในประเทศไทย
ลูกเสือสำรอง
ลูกเสือสามัญ
ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ดูบทความหลักที่ คณะลูกเสือแห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ”

กิจการลูกเสือในประเทศไทยยังคงได้รับการสืบสานให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับนับจนปัจจุบัน โดยมี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ

[แก้] คำปฏิญาณของลูกเสือไทยคำปฏิญาณของลูกเสือสำรอง
"ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า"
ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ 2 ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน

คำปฏิญาณของลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่และวิสามัญ
“ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า”
ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

[แก้] กฎของลูกเสือไทยกฎของลูกเสือสำรอง

ข้อ 1 ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่
ข้อ 2 ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง

กฎของลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่และวิสามัญ

ข้อ 1 ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
ข้อ 2 ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ข้อ 3 ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 4 ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสือทั่วโลก
ข้อ 5 ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
ข้อ 6 ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ 7 ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
ข้อ 8 ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก
ข้อ 9 ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
ข้อ 10 ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 02 กรกฎาคม 2012, 06:40:42
     วันนี้วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555
..........
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
.................
พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
............
โดย นางสาวสมลักษณ์  วงศ์งามขำ
 
             พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของไทย พระราชพิธีจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๑ เนื่องในโอกาสที่ทรงดำรงอยู่ในสิริราชสมบัตินานถึง ๔๐ ปี เสมอด้วยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา และเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ นับเป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติเสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมอัยกาธิราชเป็นเวลานานถึง ๔๒ ปี ๒๒ วัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการพระราชพิธีขึ้นเป็นเวลา ๓ วัน  คือวันที่ วันที่ ๒  วันที่ ๓ และวันที่ ๕ กรกฎาคม ดังนี้

             วันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และทรงถวายเครื่องราชสักการะพระพุทธรูปประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ ในอดีตที่หอพระราชกรมานุสรและหอพระราชพงศานุสร ในพระบรมมหาราชวัง

             วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ พระราชพิธีสมโภชสิริราชสมบัติรัชมังคลาภิเษก ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ทุกรัชกาลประดิษฐานที่พระแท่นมุก และเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระแสงราชศัตราวุธ พระกรัณฑ์ทองคำลงยาบรรจุดวงพระราชสมภพ พระสุพรรณบัฏพระปรมาภิไธย ประดิษฐานที่พระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร และอัญเชิญพระสยามเทวาธิราชออกประดิษฐานที่มุขเด็จ ตั้งเครื่องบวงสรวงสังเวย แล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้คณะพราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชสิริราชสมบัติรัชมังคลาภิเษก

             วันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ เสด็จฯ โดยรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟจิตรลดาไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกอบการพระราชพิธีบวงสรวงสังเวยพระมหากษัตริย์ในอดีต ณ พลับพลาตรีมุข พระราชวังโบราณ โดยอนุโลมตามแบบเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: @เชียงแสน ที่ วันที่ 02 กรกฎาคม 2012, 19:40:54
 :)ขอบคุณบทความดีดีครับ :)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 03 กรกฎาคม 2012, 15:47:05
     วันนี้วันอังคารที่ 3 กรกฏาคม 2555
...........
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จถึงรัสเซีย และเสด็จเยือนพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ถือเป็นวันแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย อย่างเป็นทางการ
จันทร์เจ้าขา:


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย
ณ พระราชวังฤดูร้อน (Peterhof) เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศรัสเซีย
วันที่ ๓ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๔๐

จันทร์เจ้าขา:
วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทย (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อเจริญพระราชไมตรีกับสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ นิโคลัสที่ 2 แห่งราชสำนักรัสเซีย พระมหากษัตริย์ของไทยได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติและอบอุ่นจากสมเด็จพระจักรพรรดิ พระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์โรมานอฟและจากประชาชนชาวรัสเซีย อันเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศรัสเซีย

และจากจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่เกิดขึ้นนั้น ยังมีสิ่งที่สื่อให้เห็นถึงสายสัมพันธ์และมิตรภาพที่กระชับยิ่งขึ้นดุจญาติพี่น้องระหว่างกษัตริย์สองพระองค์นี้ และยังเป็นรากฐานการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในเวลาต่อมา นั่นคือ หลังจากการเสด็จเยือนประเทศรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น พระองค์ทรงส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ เสด็จไปเรียนวิชาทหาร ณ ประเทศรัสเซีย

เหล่านี้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ได้จากการจัดนิทรรศการจดหมายเหตุ “สายสัมพันธ์รัสเซีย-ไทย : มิตรภาพที่ยั่งยืน” ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมของไทยได้นำไปจัดที่ประเทศรัสเซียแล้วถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกในการเข้าร่วมงานเฉลิมฉลอง 300 ปี ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อวันที่ 26-30 สิงหาคม 2546 และครั้งที่ 2 ในงาน “วันวัฒนธรรมไทยในรัสเซีย ณ กรุงมอสโก” เมื่อวันที่ 9-15 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าชาวรัสเซียที่ได้มีโอกาสเข้าชมนิทรรศการต่างให้ความสนใจเส้นทางแห่งสายสัมพันธ์ที่สืบต่อมายาวนานเป็นอย่างมาก

กรพินธุ์ ทวีตา หัวหน้ากลุ่มบริการและประสานส่งเสริมกิจการจดหมายเหตุ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ค้นคว้าและดูแลการจัดนิทรรศการจดหมายเหตุ ณ ประเทศรัสเซีย ทั้ง 2 ครั้ง เล่าให้ฟังว่า เท่าที่ค้นเอกสารจดหมายเหตุในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเป็นการประมวลจากเอกสารที่พบ ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระองค์ท่านเสด็จเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งเอกสารที่พบจะเป็นภาพถ่ายและเอกสารลายลักษณ์ที่เป็นตัวเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชสาส์น โต้ตอบระหว่าง 2 ราชวงศ์ คือ หลังจากที่ท่านกลับจากเสด็จประพาสยุโรปและได้ส่งพระราชโอรสไปเรียนวิชาทหาร ก็จะมีเอกสารโต้ตอบโดยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ นิโคลัสที่ 2 หรือที่เราเรียกกันว่า พระเจ้าซาร์ ได้มีพระราชสาส์นมาเล่าถึงการเรียน การพระราชทานตำแหน่งทางการทหารให้แก่พระราชโอรสเป็นทหารม้าฮุสซาร์ ขณะเดียวกันก็มีรายงานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนของพระราชโอรสจากทูตไทยที่ดูแลภาคพื้นนั้นมาด้วย

อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสยุโรปนั้น เมืองไทยเคยมีโอกาสต้อนรับพระเจ้าซาร์ในขณะดำรงพระยศแกรนด์ดุกซารวิตซ์ มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซียมาก่อนแล้ว ครั้งที่เสด็จเยือนกรุงสยาม โดยทรงประทับที่วังสราญรมย์ และพระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา โดยมีภาพถ่ายพิธีการรับเสด็จและกิจกรรมมากมาย แต่ก็ยังไม่นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป จากนั้นจึงได้มีกิจกรรมที่สานต่อความสัมพันธ์ ต่าง ๆ มากมายอย่างต่อเนื่อง ทั้งการส่งพระราชสาส์นสอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง การส่งพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายร่วมแสดงความยินดีซึ่งกันและกันในโอกาสต่าง ๆ เรื่อยมา

ที่เล่ามานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ประมวลได้จากเอกสารในหอจดหมายเหตุเท่านั้น เชื่อว่ายังมีเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศนี้อีกมากมายที่อาจจะมีเก็บรักษาเอกสารอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ หรืออยู่ที่ประเทศรัสเซียก็ได้

อย่างไรก็ตาม จากวันนั้นถึงวันนี้เวลาได้ล่วงเลยไปนับร้อยปี แต่มิตรภาพและความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างสองประเทศยังคงยั่งยืนสืบมาจนถึงปัจจุบัน พระราชวงศ์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จเยือนรัสเซียเพื่อสานต่อสัมพันธภาพระหว่างประเทศทั้งสอง อาทิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ รวมถึงผู้นำประเทศไทยหลายยุคหลายสมัยที่ได้เดินทางไปเยือนเพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือทั้งด้านการค้า และวัฒนธรรม อันนำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่กระชับแน่น

หลายคนอาจจะมองว่ารัสเซียเพิ่งเปิดประเทศไม่นานความเป็นเมืองปิดมาก่อนอาจทำให้ความสัมพันธ์ที่กล่าวมาแล้วดูจืดจาง แต่จากประสบการณ์ที่ได้ไปพบมาอยากบอกว่าไม่จริงเสมอไป เพราะคราแรกที่ได้พบกับคนรัสเซียความรู้สึกที่ว่าอาจเกิดขึ้นจริงเพราะความที่เขาต้องถูกบังคับให้อยู่ในกรอบและความยากจนมาก่อน เราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นใบหน้าที่ยิ้มแย้มและเป็นมิตรกับทุกคนเช่นที่คนไทยเป็น แต่เมื่อเราบอกว่าเราเป็นคนไทยไปจากเมืองไทยปฏิกิริยาที่ได้รับจะเปลี่ยนไปในทันที มิตรภาพและรอยยิ้มเกิดขึ้นได้ “ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ” สายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพระหว่างสองประเทศยังคงอยู่และเชื่อว่าน่าจะสืบทอดยาวต่อไป หากไม่มีเหตุการณ์ใดมาตัดให้ขาดไปเสียก่อน.

โดย อรนุช วานิชทวีวัฒน์ [พี่สาวของแมว ชัยสิทธิ์ วานิชทวีวัฒน์ OSK110]

จันทร์เจ้าขา:



ความสัมพันธ์ ดุจเครือญาติระหว่างสองราชวงศ์ มิตรภาพที่นำไปสู่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างสยาม-รัสเซีย ได้กลายเป็นที่มาของนิทรรศการ “A Passage to Russia : จากเพนียดคล้องช้าง ถึงรัสเซีย” ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 21-29 ตุลาคม 2548 นี้ ณ อาคารเซ็นทรัล เวิล์ด ชั้น 1 โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)

ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหพันธรัฐรัสเซีย เริ่มต้นจากความสัมพันธ์ฉันมิตรอันแนบแน่นระหว่างพระมหากษัตริยาธิราชของทั้งสองประเทศ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และซาร์นิโคลัสที่ 2 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิรัสเซีย

โดยผ่านเรื่องเล่าของดินแดนอันลี้ลับจากบันทึกนักเดินทางสยามกับรัสเซียรู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการ ในมุมมองของนักเดินทางและนักผจญภัยนิรนามที่เคยย่างกรายเข้ามา ก่อนที่ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับรัสเซียในเวลาต่อมากระชับแนบแน่นมากยิ่งขึ้น เมื่อทางรัสเซียได้ส่งคณะนายทหารเรือเข้ามากระชับสัมพันธ์ไมตรีกับสยามต่อมาอีก 2 วาระ คือครั้งแรกเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2416 และครั้งต่อมาในปี พ.ศ.2425 ซึ่งฝ่ายไทยได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการมาเยือนครั้งที่ 2 ผู้แทนจากรัสเซีย คือ พลเรือตรี อัสลันเบกอฟ ได้มีโอกาสเข้าร่วมในงานเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ ครบ 100 ปี และได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบปะสนทนากับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีอำนาจในขณะนั้น และแม้ว่าความพยายามที่จะก่อให้เกิดการเซ็นสัญญาทางการค้าระหว่างไทยกับรัสเซียยังไม่บรรลุผล เพราะนโยบายทางเศรษฐกิจของรัสเซียมุ่งความสนใจไปยังคาบสมุทรบอลข่าน และไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องสถาปนาความสัมพันธ์ทางการค้าใดๆ กับประเทศในภูมิภาคแถบนี้ แต่การเริ่มต้นที่ดีและผลพวงของความสัมพันธ์ที่กล่าวกันว่า “มีแต่ความชื่นใจ ไมตรีจิตต่อกันเป็นการปูพื้นฐานที่ดีงาม เพื่อขยายสายสัมพันธ์ครั้งหน้าของประเทศทั้งสอง” ก็ได้แนวทางที่นำไปสู่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างจริงจังในเวลาต่อมา

อีกครั้งหนึ่งกับการเสด็จเยือนสยามของเซอร์เรวิช แกรนด์ ดุ๊ก นิโคลัส ระหว่างวันที่ 20-24 มีนาคม 2434 กับ 5 วันแห่งความทรงจำในดินแดนนิยายทางตะวันออก ด้วยการต้อนรับอย่างมโหฬารที่สุดเท่าที่เคยมีมา นับตั้งแต่วันที่เรือพระที่นั่งผ่านสันดอนปากน้ำเข้ามายังท่าเทียบเรือที่ประดับประดาอย่างงดงาม ด้วยข้อความแสดงการต้อนรับเป็นภาษารัสเซีย ทหารกองเกียรติยศสยามที่บรรเลงเพลงชาติรัสเซียรับเสด็จ จนกระทั่งถึงวันส่งเสด็จกลับ จนถึงกับเกิดคำพูดกล่าวเปรียบเปรยกันติดปาก สัพยอกใครต่อใครที่ทำอะไรใหญ่โตหรูหราว่า “ยังกับรับซาร์จากรัสเซีย”

3 วันในพระนคร ถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งมิตรภาพอันยืนยง ในพระราชวังสราญรมย์ได้รับการตกแต่งอย่างดีที่สุด เพื่อให้มิตรจากต่างแดนสุขสบายราวบ้านตน พิธีพระราชทาน “สายสะพายจักรี” สีเหลืองสด ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ ชั้นสูงสุดของไทยที่สงวนไว้เฉพาะผู้มีกำเนิดเป็นเจ้านายชั้นสูง แด่ แกรนด์ ดุ๊ก ซาร์เรวิช ถือเป็นการประกาศเชิงสัญลักษณ์ถึงความยินยอมพร้อมใจ ที่จะรับอาคันตุกะจากอีกซีกโลกเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวจักรี

รวมถึงการ “ปิกนิก” ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และการคล้องช้างครั้งสุดท้ายของแผ่นดินสยาม 2 วันสุดท้าย ซาร์เรวิชและคณะเสด็จไปพระราชวังบางปะอิน โดยพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชทานการรับรองในลักษณะของการปิกนิกแบบไทย ที่ไปกันเป็นคณะใหญ่จำนวน 3,000-4,000 กว่าคน และมีเรือเข้าร่วมขบวนเสด็จจำนวนนับร้อย สิ่งสำคัญที่สุดของการต้อนรับครั้งนี้ คือจัดให้มีพระราชพิธีคล้องช้างเกิดขึ้นที่เพนียด เป็นพระราชพิธีคล้องช้างที่สมบูรณ์แบบที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด และถือเป็นครั้งสุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์เพราะการคล้องช้างป่าต้องอาศัยความชำนาญเป็นอย่างมาก และยังถือเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ไม่ได้จัดขึ้นอย่างง่ายๆ

การถวายการต้อนรับอย่างอบอุ่นของรัฐบาลไทยครั้งนั้นได้ผูกพระทัยซาร์เรวิชกับชาวสยามเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการโคจรมาพบกันของเจ้าชายรัชทายาท จากดินแดนอันหนาวเย็นและองค์พระประมุขของประเทศที่พระอาทิตย์ทอแสงตลอดปี ก่อให้เกิดมิตรภาพที่ลงตัวในความแตกต่าง แม้จะมีพระชนมายุที่ห่างกันถึง 15 พรรษา และมีบุคลิกที่ต่างกันไปคนละขั้ว

จนเมื่อถึงคราที่การเสด็จประพาสรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสรัสเซีย เมื่อ พ.ศ.2440 ซึ่งอยู่ในแผนการเสด็จประพาสยุโรปเพื่อใช้ “กลยุทธ์ทางการทูต” ผูกสัมพันธ์ไมตรีและสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศมหาอำนาจต่างๆ

ซึ่งการเยี่ยมเยียน “คนคุ้นเคย” ที่ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชย์ เป็นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แล้ว ด้วยหมายกำหนดการเสด็จประพาสยุโรปที่กินระยะเวลากว่า 9 เดือน โดยในวันพระฤกษ์ 7 เมษายน 2440 เรือพระที่นั่งมหาจักรีก็ออกเดินทางจากปากน้ำสมุทรปราการ ผ่านมหาสมุทรอินเดีย ก่อนเข้ายุโรป โดยเสด็จขึ้นบกที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี เป็นแห่งแรกราวกลางเดือนพฤษภาคม และเสด็จพระราชดำเนินเข้าเขตประเทศรัสเซียในวันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกันก็ไม่ได้ทำให้พระองค์ผิดหวังแม้แต่น้อย

ทั้งนี้เป็นเพราะตั้งแต่วันแรกที่ทรงประทับอยู่ที่กรุงวอร์ซอ ซึ่งในเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย ทั้งเจ้าชายอาโนเลนสกี และนายพลเรืออาร์เซนเมียฟ แห่งรัสเซีย ต่างคอยถวายการต้อนรับตามพระราชบัญชาอย่างสมพระเกียรติ ทุกหนแห่งล้วนแสดงออกถึงความชื่นชมยินดี สถานีที่ขบวนรถไฟพระที่นั่งผ่านต่างก็ “ตกแต่งด้วยใบ (ไม้) ดอกไม้” ถวายเป็นพระเกียรติยศ

ส่วนการเดินทางสู่ราชสำนักรัสเซีย ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบอร์กก็แสนสะดวกสบาย “รถพระที่นั่งใช้จักร” ที่ซาร์นิโคลัสจัดถวายนั้น ตกแต่งในรถนอกรถอย่างประณีต จนผู้มาในรถไฟ รู้สึกราวกับว่าอยู่ในวังอันงาม มีความผาสุขเป็นอย่างมาก

ซึ่งในการพบกันอีกครั้งที่ต่างพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเสมอกันในฐานะพระประมุขเป็นครั้งแรกนี้ ต่างก็ถวายพระเกียรติสูงสุดแก่กัน และแสดงให้เห็นถึงความสนิทสนมระหว่าง 2 ราชวงศ์ที่มีต่อกันมาก่อนหน้าการเสด็จประพาสครั้งนี้แล้ว พระเจ้าอยู่หัวสยาม ทรงเครื่องเต็มยศอย่างจอมพล ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เซนต์แอนดรูว์ ส่วนพระประมุขรัสเซียก็ทรงเครื่องเต็มยศประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์

ด้วยระยะเวลา 11 วันในดินแดนปิยมิตร แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียจะเริ่มต้นมานานแล้ว แต่ถือเอาวันที่ 3 กรกฎาคม 2440 เป็นวันแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย-รัสเซียอย่างเป็นทางการ เพราะเป็นวันที่พระเจ้าแผ่นดินสยามได้เหยียบย่างเข่าสู่แผ่นดินรัสเซียอย่างแท้จริง และได้สานมิตรภาพหลังการเสด็จเยือนรัสเซีย ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยามและพระประมุขรัสเซียที่เป็นไปอย่างอบอุ่นดุจญาติพี่น้อง ยิ่งเป็นรากฐานสำคัญที่นำไปสู่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในเวลาต่อมา

หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนครในเดือนเมษายน 2441 ในปีต่อมาพระองค์ได้ส่ง “ ทูลกระหม่อมเล็ก “ หรือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ไปศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศรัสเซียพร้อม “นายพุ่ม” นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงคนแรกจากสวนกุหลาบฯอีกคนหนึ่ง (ต่อมานายพุ่มกลายเป็นทหารในกองทัพรัสเซีย และใช้ชื่อว่า "พุ่มสกี้") การเสด็จไปศึกษาต่อนี้เป็นไปตามคำทูลขอของพระเจ้าซาร์ที่ขอให้รัขกาลที่ 5 ทรงส่งพระราชโอรสพระองค์หนึ่งไปเรียนต่อที่รัสเซีย โดยพระองศ์จะทรงชุบเลี้ยงและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทูลกระหม่อมเล็กอยู่ในพระราชอุปการะ และเป็นที่รักใคร่ในสมเด็จพระจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 และสมเด็จพระจักรพรรดินีเป็นอย่างยิ่ง เป็น “สายสัมพันธ์ที่มีชีวิต” ซึ่งเชื่อมโยงราชสำนักทั้ง 2 ให้สนิทสนมแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

อีกทั้งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเริ่มต้นเมื่อซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงแต่งตั้งอเล็กซานเดอร์ โคลารอฟสกี มาดำรงตำแหน่งอุปทูตรัสเซียประจำสยามเป็นคนแรกในปี 2441 และทางสยามก็ได้แต่งตั้งพระยาสุริยานุวัตรราชทูตไทย ณ กรุงปารีส มีอำนาจรับผิดชอบครอบคลุมถึงรัสเซีย และต่อมาได้แต่งตั้งพระยามหิบาลบริรักษ์ ( สวัสดิ์ ภูมิรัตน์ ) เป็นอัครทูตคนแรก ณ กรุงเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อพุทธศักราช 2442

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองภายในของรัสเซียที่เกิดขึ้นอีก 6 ปีต่อมา ใน พ.ศ. 2460 จะทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยมีหยุดลงชั่วคราว เมื่อรัสเซียเปลี่ยแปลงการปกครองเป็นแบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของพรรคบอลเชวิก แต่เหตุการณ์ทางการเมืองนี้หาได้ลบเลือนความทรงจำอันงดงามที่เคยเกิดขึ้นในสายธารแห่งประวัติศาสตร์ไม่ ร่องรอยแห่งเกียรติภูมิและความผูกพันที่แน่นแฟ้นระดับราชวงศ์ยังคงเปล่งเสียผ่านรายทางของสถานที่ต่างๆ ของทั้ง 2 ราชอาณาจักรอยู่ไม่เสื่อมคลาย




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 04 กรกฎาคม 2012, 06:07:11
     วันนี้วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2555
..........
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) - บางกอกรีคอเดอ (Bangkok Recorder) หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยออกวางจำหน่าย
บางกอกรีคอเดอ (The Bangkok Recorder ทับศัพท์แบบปัจจุบัน บางกอกรีคอร์เดอร์) หรือชื่อไทย หนังสือจดหมายเหตุ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยเล่มแรก ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2387-2388 และอีกครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2407-2411 เขียนและพิมพ์โดยหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ในระยะแรกเริ่มออกฉบับรายเดือน ต่อมาเปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือรายครึ่งเดือน

[แก้] ประวัติหมอบรัดเลย์ได้กราบทูลขอพระบรมราชานุญาตกับรัชกาลที่ 3 เมื่อบรรดาอำมาตย์มุขมนตรีให้การสนับสนุนแล้ว จึงได้ออกหนังสือพิมพ์ขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ ยังไม่มีใครรู้จัก จนบางคนคิดว่า มันเป็นเพียงจดหมายเหตุธรรมดา ถึงกับมีคนเรียกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น[1] แต่ออกพิมพ์ได้ปีเดียวก็เลิกไป เพราะรัฐบาลไม่สนับสนุน อันเนื่องมาจากการทำหนังสือพิมพ์แบบอเมริกัน ที่มีรูปแบบวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่เนื่องจากผู้อ่านหนังสือพิมพ์ก็คือรัฐบาลนั่นเอง และเมื่อประสบปัญหาจากรัฐบาล ประกอบกับหมอมีปัญหาส่วนตัวเกี่ยวกับการจัดระบบเผยแพร่คริสต์ศาสนาในเมืองไทยและปัญหาครอบครัว จึงเลิกออกหนังสือพิมพ์ไประยะหนึ่ง

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเปิดกว้างต่อการไหลบ่าของอารยธรรมตะวันตกมากขึ้น ทั้งยังทรงเคยเป็นสมาชิก บางกอกรีคอเดอ มาก่อน และเมื่อหมอบรัดเลย์ออกหนังสือพิมพ์อีก ก็ทรงบอกรับเป็นสมาชิกอีก ครั้นได้พบว่าหมอบรัดเลย์เขียนบทความโจมตีพุทธศาสนาก็ทรงเขียนบทความตอบโต้ โดยมิทรงลงพระมหาปรมาภิไธย แต่คนทั่วไปก็ทราบดีกว่าบทความเหล่านั้นคือใคร[2] แต่เนื่องจากหมอบรัดเลย์ยกศาสนาของตนและประเทศของตนข่มคนไทย[ต้องการอ้างอิง] จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจกับคนไทยอย่างกว้างขวาง จึงทำให้การบอกรับสมาชิกไม่เพิ่มขึ้นทั้งสมาชิกเดิมก็ไม่จ่ายเงิน จึงยากที่จะยืนหยัดในสถานการณ์เช่นนี้

[แก้] รูปแบบหนังสือพิมพ์มีจัดพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ออกปักษ์ละ 2 ใบ มี 4 หน้า โดยฉบับภาษาไทยขนาด 6"x9" ฉบับภาษาอังกฤษจะมีขนาดใหญ่กว่าคือขนาด 12"x18" รูปแบบการจัดหน้าแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ มีภาพประกอบคือภาพวาดขายปลีกใบละสลึงเฟื้อง ถ้าซื้อแบบพิมพ์เป็นเล่มรวมเมื่อปลายปีขายเล่มละ 5 บาท เล่มหนึ่งมี 26 ใบ[3]

เนื้อหามีลักษณะเป็น
.ตำรา ข่าวทั้งต่างประเทศและในประเทศ ราคาสินค้า และเรื่องที่น่าสนใจอื่น ๆ[4] และมีการนำเสนอ เป็นการรายงานข่าวและการเขียนบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่[5] จุดประสงค์ของหนังสือพิมพ์เล่มแรกฉบับนี้ หมอบรัดเลย์พยายามเน้นให้คนเห็นว่า "หนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร หมอพยายามชี้ให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์นั้นมีคุณต่อบ้านเมืองเป็นอันมาก เป็นแสงสว่างของบ้านเมือง คนชั่วเท่านั้นที่กลัวหนังสือพิมพ์ เพราะกลัวว่าหนังสือพิมพ์จะประจานความชั่วของตน"[6]

............................

หลังจากได้สร้างประวัติศาสตร์การผ่าตัดไว้ให้ไทยแล้ว นพ.แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีอเมริกัน ก็ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ที่บ้านพักหลังป้อมวิชัยประสิทธิ์ โดยซื้อแท่นพิมพ์ต่อจาก ร.ท.โลว์ นายทหารอังกฤษ ผู้เข้ามาศึกษาภาษาไทยอยู่หลายปี และประดิษฐ์แม่พิมพ์ตัวอักษรไทยขึ้น  พิมพ์เป็นตำราเรียนภาษาไทยที่สิงคโปร์ เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการและพ่อค้าชาวอังกฤษที่จะมาติดต่อกับเมืองไทย
 
บางกอกรีคอร์เดอร์ฉบับแรก
 
     เมื่อตั้งโรงพิมพ์ขึ้นแล้ว หมอบรัดเลย์ก็พิมพ์หนังสือสำหรับเผยแพร่ศาสนา และรับงานพิมพ์ทั่วไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3  ก็ทรงให้พิมพ์ใบปลิวห้ามการสูบฝิ่น จำนวน ๙,ooo ฉบับ แจกจ่ายราษฎรนับเป็นเอกสารทางการฉบับแรกที่ใช้การพิมพ์ และ ยังพิมพ์ปฏิทินไทยเป็นครั้งแรก กับพิมพ์ตำราปืนใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

ต่อมาหมอบรัดเลย์เห็นว่า ชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยจำนวนมาก อยากจะรู้ข่าวสารบ้านเมืองบ้าง จึงได้ปรึกษาคณะมิชชันนารี ออกเป็นหนังสือข่าวขึ้น ให้ชื่อว่า The Bangkok Recorder มีทั้งฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการได้อ่านด้วย โดยออกฉบับปฐมฤกษ์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นรายปักษ์  ทำให้ไทยมีหนังสือพิมพ์ก่อนประเทศญี่ ปุ่นถึง ๑๗ ปี  หมอบรัดเลย์เรียกหนังสือพิมพ์ของเขาว่า “จดหมายเหตุ” บ้าง “นิวสะเปเปอ” บ้าง และ  “หนังสือพิมพ์” บ้าง  ต่อมาคำว่า  “หนังสือพิมพ์” ได้รับการยอมรับจนใช้มาถึงวันนี้

เนื้อหามีการนำเสนอเป็นรายงานข่าวและบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น  จุดประสงค์ก็เพื่อเน้นให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และพยายามชี้ให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์มีคุณค่าต่อประชาชน เป็นแสงสว่างของบ้านเมือง  คนชั่วเท่านั้นที่กลัวหนังสือพิมพ์ เพราะหนังสือพิมพ์จะประจานความชั่วของเขา

“บางกอกรีคอร์เดอร์” ออกไปถึงปีก็หยุดกิจการ เพราะสังคมชั้นสูงไทยรับไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์  ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุน แต่บางครั้งเอาไปรวมกับฉบับภาษาอังกฤษจนในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ “บางกอกรีคอร์เดอร์” ก็ออกใหม่อีกครั้งเสนอทั้งข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ครั้งนี้ออกอยู่ได้ ๒ ปีก็เกิดเรื้องอีก

สาเหตุมาจากการปักปันเขตแดนสยามกับอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน ฝรั่งเศสซึ่งเล่นบทหมาป่ากับลูกแกะพยายามเอาเปรียบทุกทาง แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหม ไม่ยอมอ่อนข้อให้ ม.กาเบรียล ออบาเรต์ กงสุลฝรั่งเศสขุ่นเคือง จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ให้ปลดเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ออกจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน แต่ รัชกาลที่ ๔ ไม่โปรดตามคำทูล ม.ออบาเรต์ จึงทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรไปยื่นดักรออยู่หน้าวัง ยื่นถวายพร้อมกับคำขู่ว่า ถ้าไม่ทำตามประสงค์ของเขา สัมพันธไมตรีระหว่างไทย กับฝรั่งเศสจะต้องขาดสะบั้น เกิดสงครามขึ้นเป็นแน่ พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ตรัสตอบแต่อย่างใด เสด็จเข้าวังไป

หมอบรัดเลย์เอาเรื่องนี้มาตีแผ่ใน “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทั้งยังออกความเห็นด้วยว่า การกระทำของทูตฝรั่งเศสนี้ผิดวิธีการทูต และดักคอว่าการไม่ยอมปลดสมุหกลาโหม กงสุลฝรั่งเศสอาจพยายามแปลความเป็นว่า ในหลวงได้ทรงหยามเกียรติพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียน และอ้า งเอาเป็นเหตุทำสงครามกับสยามก็เป็นได้

การตีแผ่ของ “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทำให้สงสุลฝรั่งเศสไม่กล้าแสดงอำนาจบาตรใหญ่กับคณะกรรมการปักปันเขตแดนต่อไป แต่หันไปฟ้องหมอบรัดเลย์ต่อศาลกงสุลในข้อหาหมิ่นประมาท

คดีนี้ทั้งคนไทยและฝรั่งในบางกอกต่างก็สนับสนุนหมอบรัดเลย์ กงสุลอังกฤษเสนอเป็นทนายให้ กงสุลอเมริกันเป็นผู้พิพากษา  แต่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าฯ   มีพระราชประสงค์ที่จะไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กงสุลฝรั่งเศสอีก   จึงห้ามข้าราชการไทยที่รู้เห็นเหตุการณ์ไปเป็นพยานในศาล ผลจึงปรากฎว่าหมอบรัดเลย์แพ้คคี ถูกปรับเป็นเงิน ๔๐๐ เหรียญอเมริกัน   และให้ประกาศขอขมากงสุลฝรั่งเศสในบางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งคนไทย และชาวต่างประเทศได้เรี่ยไรกันออกค่าปรับให้ ส่วนเรื่องขอขมานั้น หมอบรัดเลย์ได้ตอบโต้ ม.ออบาเรต์อย่างสะใจโดยหยุดออกบางกอกรีคอร์เดอร์ เลยไม่รู้จะเอาหนังสือพิมพ์ที่ไหนขอขมา

เมื่อเรื่องราวสงบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้พระราชทานเงินให้หมอบรัดเลย์ ๒,๐๐๐ เหรียญ เป็นค่ารักษาข้าราชสำนักฝ่ายใน  “ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นค่าปลอบใจเรื่องนี้นั่นเอง.



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 05 กรกฎาคม 2012, 05:53:07
     วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฏาคม 2555
..............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) - ตั้งเมืองสมิงบุรี เมืองลุ่มสุ่ม เมืองท่าตะกั่ว เมืองไทรโยค เมืองท่าขนุน เมืองทองผาภูมิ เมืองท่ากระดาน ขึ้นกับกาญจนบุรี
สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 แต่งตั้งผู้นาชาวมอญที่อยู่ชายแดนเมือง กาญจนบุรี เป็นเจ้าเมือง 7 เมืองดังนี้
(1)เมืองทองผาภูมิ พระทองผาภูมิ เป็นพระเสละภูมาธิการ
(2)เมืองท่าขนุน พระท่าขนุน เป็นพระบัณณศดิฐบดี
(3)เมืองไทรโยค พระไทรโยค เป็นพระนิโคธาพิโยค
(4)เมืองท่าตะกั่ว พระท่าตะกั่ว เป็นพระชินดิษฐบดี
(5)เมืองลุ่มสุ่ม พระลุ่มสุ่ม เป็นพระนิลนะภูมิบดี
(6)เมืองสมิงสิงหบุรี พระสมิงสิงห์บุรี เป็นพระสมิงสิงหบุรินทร์
(7)เมืองท่ากระดาน พระท่ากระดาน เป็น พระกติธนดี
เมืองรามัญของชาวมอญทั้ง 6 แห่งแรกอยู่ริมแม่น้าแควน้อย ส่วนเมืองท่ากระดานอยู่ริมแม่น้าแควใหญ่ แต่ละเมืองมีกรมการเมือง ล้วนเป็นชาวมอญ คนมอญในเมืองทั้งเจ็ดมีฐานะเป็นไพร่หลวง ทาหน้าที่ร่อนทองที่คลองปีลอก คลองห้วยมูล เขตเมืองทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ในฤดูแล้งราวเดือนธันวาคมถึงมกราคม ไพร่ชาวมอญจึงถูกเรียกว่า “ไพร่ส่วยทอง” บางปีมีการเกณฑ์อิฐจากมอญมณฑลราชบุรี เพื่อสร้างพระราชวังที่เพชรบุรี นอกจากนั้นทาหน้าที่สืบข่าวคราวชายแดน ลาดตะเวณรักษาชายแดน ฯลฯ
เจ้าเมืองรามัญทั้ง 7 มีการสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัดหลายวัด เช่นพระท่าขนุนได้ปฏิสังขรณ์วัดคงคาราม ซึ่งเรียกวัดคงคารามเป็นภาษามอญว่า “เภี่ยโต้” แปลว่า วัดกลาง เป็นวัดศูนย์กลางของวัดมอญสองฝั่งน้าแม่กลอง ตั้งแต่บ้านโป่งถึงโพธาราม วัดนี้ต่อมเจ้าอาวาสมีสมณศักดิ์เป็น พระครูรามัญญาธิบดี
ต่อมา ในพศ.2438 รัชกาลที่ 5 ปฏิรูปการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล โปรดฯให้ยุบเลิกเมืองรามัญทั้งเจ็ดเป็นอาเภอ กิ่งอาเภอ ตาบล หมู่บ้าน ตามแบบแผนใหม่ เมืองรามัญทั้งเจ็ดจึงถูกเปลี่ยนเป็นดังนี้
(1)เมืองทองผาภูมิ ของพระเสละภูมาธิการ ยุบเป็นหมู่บ้านในกิ่งอาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ทายาทได้สืบสายตระกูลเสลานนท์ เสลาคุณ
(2)เมืองท่าขนุน ของ พระบัณณศดิฐบดี ยุบเป็นกิ่งอาเภอสังขละบุรี ขึ้นกับอาเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี ทายาทได้สืบสายตระกูลหลักคงคา
(3)เมืองไทรโยค ของพระนิโคธาพิโยค ยุบเป็นกิ่งอาเภอไทรโยค อาเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรีทายาทได้สืบสายตระกูล นิโชยโยค นิโครธา นิไทรโยค พระไทรโยค มะมม
9
(4)เมืองท่าตะกั่ว ของพระชินดิษฐบดี ยุบเป็นหมู่บ้านในกิ่งอาเภอไทรโยค อาเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี ทายาทได้สืบสายตระกูลชินอักษร ชินบดี ชินหงษา มัญญหงษ์ ท่ากั่ว
(5)เมืองลุ่มสุ่ม ของพระนิลนะภูมิบดี ยุบเป็นหมู่บ้านในกิ่งอาเภอไทรโยค อาเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี ทายาทได้สืบสายตระกูลนินบดี นิลบดี นินทบดี จ่าเมือง หลวงบรรเทา หลวงพันเทา พระบรรเทา
(6)เมืองสมิงสิงหบุรี ของพระสมิงสิงหบุรินทร์ ยุบเป็นหมู่บ้านในเขตอาเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรีทายาทได้สืบสายตระกูล สิงคิบุรินทร์ ธารงโชติ
(7)เมืองท่ากระดาน ของพระกติธนดี ยุบเป็นหมู่บ้านในกิ่งอาเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรีทายาทได้สืบสายตระกูล พลบดี ตุลานนท์ (ดู สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์ ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ “เครือญาติ”มอญ ลุ่มน้าแม่กลอง 2547 หน้า 171-181)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 06 กรกฎาคม 2012, 06:09:08
     วันนี้วันศุกร์ที่ 6 กรกฏาคม 2555
............
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
- พระเจนดุริยางค์ ได้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติขึ้นใหม่ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะราษฎร

ทำนองเพลงชาตินี้ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
.
เพลงชาติไทย เป็นชื่อเพลงชาติของประเทศไทย ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คำร้องฉบับแรกสุดโดยขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังในปีเดียวกัน ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้งและได้เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2482

ฉบับปัจจุบัน
เพลงชาติไทย

ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามกองทัพบก

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 07 กรกฎาคม 2012, 06:19:34
     วันนี้วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2555
...............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงส้มตำ ไปขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
 
 เนื้อเพลงส้มตำ ลายพระหัตถ์  

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์เพลงที่ผู้คนรู้จักกกันดีก็คือ "ส้มตำ" จากการขับร้องของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ แต่หลายคนคงไม่รู้ว่า ผู้ขับร้องเพลงนี้คนแรกก็คือ บุปผา สายชล

เพลงพระราชนิพนธ์ ส้มตำ บรรเลงครั้งแรกโดยวง อ.ส.วันศุกร์ โดยทรงขับร้องด้วยพระองค์เอง ต่อมามีผู้ขอพระราชทานนำเพลงนี้ไปประกอบภาพยนตร์เรื่อง ส้มตำ (พ.ศ. 2516) โดยมีบุปผา สายชลเป็นผู้ขับร้อง ส้มตำเป็นภาพยนตร์แนวบู๊ ที่ได้สมบัติ เมทะนี มาแสดงนำ และจึงมีการนำเพลงส้มตำ มาใส่ทำนองเพลงมาร์ช และให้มีการขับร้องหมู่ ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ร่วมขับร้อง ก็รวมถึง สมบัติ เมทะนี ด้วย ต่อมา พุ่มพวง ดวงจันทร์ นำมาร้องในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
...............................

IuyZafTuLU4



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 08 กรกฎาคม 2012, 08:39:23
     วันนี้วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฏาคม 2555
...............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี มรณภาพด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก ด้วยวัย 87 ปี
         พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลารามเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในงานเขียน โดยท่านตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นพุทธะศาสนาอย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ได้แก่เรื่อง พุทธพาณิชย์, ไสยศาสตร์ และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ์ ฯลฯ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน
        ท่านพุทธทาสภิกขุ หรือฉายาก่อนหน้านี้ว่า อินทปัญโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ ก่อนบวชท่านมีชื่อว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม 2449 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรชายคนโตของนายเซี้ยง และนางเคลื่อน มีน้องสองคน ผู้ชายชื่อ ยี่เก้ย ผู้หญิงชื่อ กิมซ้อย

        บิดาของท่านประกอบอาชีพค้าขายเฉกเช่นที่ชาวไทยเชื้อสายจีนทั่วไปนิยมทำกัน ส่วนอิทธิพลที่ได้รับมานั่นก็คือ ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ ซึ่งเป็นงานอดิเรกของบิดา ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือความสนใจในการศึกษาธรรมะ ส่วนทางด้านการเล่าเรียนนั้นท่านต้องออกจากโรงเรียนตอน ม.3 เพื่อมาช่วยมารดาค้าขาย หลังจากที่บิดาของท่านถึงแก่กรรม
        พออายุได้ 20 ปี ก็ได้บวชเป็นพระตามคตินิยมของชายไทย ที่[[วัดโพธาราม[[ โดยได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” เดิมท่านตั้งใจจะบวชเพียง 3 เดือน แต่ด้วยความชอบที่จะศึกษาและเทศน์แสดงธรรมทำให้ท่านไม่อยากสึก เล่ากันว่าครั้งหนึ่งท่านเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านว่า มีความเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านตอบว่า “ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์ ให้มากที่สุด” และยังกล่าวต่อไปอีกว่า “แต่ถ้ายี่เก้ยจะบวช ผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย” ท่านเจ้าคณะอำเภอจึงไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่าควรให้ท่านบวชเป็นพระต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือเป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่ก็เรียบง่าย ตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลา ยี่เก้ยก็เลยไม่ได้บวชให้พี่ชายบวชแทนมาตลอด ซึ่งต่อมายี่เก้ยก็คือ “ท่านธรรมทาส” ฆราวาสผู้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทานในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสวนโมกขพลาราม

        หลังจากนั้นท่านได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อที่กรุงเทพฯ จนสอบได้นักธรรมเอก ด้วยความที่ท่านเป็นคนรักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และยังค้นคว้าออกไปจากตำราถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่ พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป รวมถึงความหย่อนยานในพระวินัยของสงฆ์ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ พุทธศาสนิกชนในขณะนั้น ซึ่งท่านมีความเชื่อว่าพระพุทธศาสนาที่สอน ที่ปฏิบัติกันในเวลานั้นคลาดเคลื่อนไปจากที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะ ท่านจึงตัดสินใจหันหลังให้กับการศึกษาของสงฆ์ เดินทางกลับไชยาเพื่อศึกษาและทดลองปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านเชื่อ โดยร่วมกับยี่เก้ยซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นธรรมทาส และยังมีคณะธรรมทานในการช่วยจัดตั้งสถานปฏิบัติธรรม “สวนโมกขพลาราม” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ต่อมาก็ได้ประกาศใช้ชื่อนาม “พุทธทาส” เพื่อแสดงถึงอุดมคติสูงสุดในชีวิตของท่าน

        ท่านได้รับสมณศักดิ์สูงสุดเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมโกศาจารย์ เมื่อปี 2520 ส่วนในระดับนานาชาตินั้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยที่มีแผนกสอนวิชาศาสนาสากล ในหลายประเทศล้วนศึกษางานของท่าน มีหนังสือได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน อินโดนีเซีย กว่า 20 เล่ม จากต้นฉบับภาษาไทยทั้งหมด 140 เล่ม

        ท่านพุทธทาสได้ละสังขารกลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2536 สิริรวมอายุได้ 87 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่าน ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนา

[แก้ไข] "ยูเนสโก" ยกย่อง "ท่านพุทธทาส" 1 ใน 63 บุคคลสำคัญของโลก
        การประชุมสมัยสามัญองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 พิจารณาการยกย่องเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญ หรือผู้มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประจำปี 2549-2550 รวม 63 คน/สถาบัน รวมถึงท่านพุทธทาสภิกขุ ถือได้ว่าท่านเป็นคนไทยคนที่ 18 ที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก
        โดยท่านมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนก็คือ เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมด และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือต้องการให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ ท่านจึงได้ตั้งปณิธานในชีวิตไว้ 3 ข้อ คือ

ให้พุทธศาสนิกชนหรือศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม เข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน
ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม
        ซึ่งก็มีบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับท่าน หาว่าท่านจาบจ้วงพระพุทธศาสนาหรือรับจ้างคนคริสต์มาทำลายล้างพระพุทธศาสนา แต่ผลจากการอุทิศชีวิตถวายแด่พระศาสนาของท่าน ทำให้ท่านได้รับการนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยท่านพุทธทาสภิกขุมรณภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุได้ 87 ปี และเป็นพระทั้งหมด 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่แทนตัวท่านให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาปณิธานของท่านต่อไป



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 08 กรกฎาคม 2012, 20:31:13
    วันนี้วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2555
...............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงส้มตำ ไปขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
 
 เนื้อเพลงส้มตำ ลายพระหัตถ์  

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์เพลงที่ผู้คนรู้จักกกันดีก็คือ "ส้มตำ" จากการขับร้องของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ แต่หลายคนคงไม่รู้ว่า ผู้ขับร้องเพลงนี้คนแรกก็คือ บุปผา สายชล

เพลงพระราชนิพนธ์ ส้มตำ บรรเลงครั้งแรกโดยวง อ.ส.วันศุกร์ โดยทรงขับร้องด้วยพระองค์เอง ต่อมามีผู้ขอพระราชทานนำเพลงนี้ไปประกอบภาพยนตร์เรื่อง ส้มตำ (พ.ศ. 2516) โดยมีบุปผา สายชลเป็นผู้ขับร้อง ส้มตำเป็นภาพยนตร์แนวบู๊ ที่ได้สมบัติ เมทะนี มาแสดงนำ และจึงมีการนำเพลงส้มตำ มาใส่ทำนองเพลงมาร์ช และให้มีการขับร้องหมู่ ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ร่วมขับร้อง ก็รวมถึง สมบัติ เมทะนี ด้วย ต่อมา พุ่มพวง ดวงจันทร์ นำมาร้องในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
...............................

IuyZafTuLU4


ขอบคุณสำหรับเรื่องราวของคุณ พุ่มพวงครับ
ถาพความทรงจำในวันนั้นหวนกลับมาอีกครั้งครับ ชอบเสียงและความสามารถของคุณพุ่มพวงครับ(จะมีกี่คนที่รู้ว่า คุณพุ่มพวงเป็น นักร้องที่อ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้) ;D ;D


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2012, 06:34:19
     วันนี้วันจันทร์ที่ 9 กรกฏาคม 2555
.................
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) - สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร พระราชทานพระบรมราชานุญาต สถาปนาเครือรัฐออสเตรเลีย รวมอาณานิคมบนทวีปออสเตรเลียให้อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน
เหตุการณ์
พ.ศ. 2359 (ค.ศ. 1816) - อาร์เจนตินาประกาศเอกราชจากสเปน
พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) - สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร พระราชทานพระบรมราชานุญาต สถาปนาเครือรัฐออสเตรเลีย รวมอาณานิคมบนทวีปออสเตรเลียให้อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน
พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) - จอห์นนี ไวส์มัลเลอร์ ทำลายสถิติโลกการแข่งขันว่ายน้ำฟรีสไตล์ 100 เมตร ด้วยเวลา 58.6 วินาที ซึ่งเป็นเวลาต่ำกว่าหนึ่งนาทีเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) - สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพแห่งสหราชอาณาจักรและแคนาดาเข้ายึดครองเมืองก็องของประเทศฝรั่งเศสในยุทธภูมินอร์มังดี
พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ประกาศคำประกาศรัสเซลล์-ไอน์สไตน์
พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - จัดตั้งอุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจาและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เกิดระเบิดขึ้นสองครั้งที่นครเมกกะทำให้ผู้แสวงบุญรายหนึ่งเสียชีวิตและบาดเจ็บอีก 16 ราย
พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - จัดตั้ง รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ไมค์ ไทสัน ถูกปรับ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และถูกแบนไม่ให้ขึ้นชก หลังจากกัดใบหูของอีแวนเดอร์ โฮลิฟิลด์ เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ที่ลาสเวกัส
พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - สหภาพแอฟริกา ก่อตั้ง ณ แอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย
พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - ทีมชาติอิตาลี คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2006 ที่ประเทศเยอรมนี โดยดวลจุดโทษชนะฝรั่งเศส 5-3 หลังจากที่เสมอกันในเวลา 1-1 ประตู
พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ คว้าแชมป์เทนนิสวิมเบิลดันเป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกัน และเป็นแกรนด์สแลมรายการที่ 8 ด้วยการเอาชนะราฟาเอล นาดาล 3-1 เซต
พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - เครื่องบินสายการบินซีเบียร์ของรัสเซีย ไถลออกนอกรันเวย์ พุ่งชนทะลุที่กั้นคอนกรีตสูง 2 เมตร ระเบิดสนั่นสนามบินเมืองอีร์คูตส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน บาดเจ็บอีกหลายสิบคน
วันเกิด
พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1847) - หวง เฟยหง ปรมาจารย์กังฟูและแพทย์ชาวจีน (เสียชีวิต พ.ศ. 2467)
พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - โดนัลด์ รัมสเฟลด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - โอ.เจ. ซิมป์สัน นักฟุตบอลและนักแสดงชาวอเมริกัน
พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - ทอม แฮงส์ นักแสดงชาวอเมริกัน
พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - เฉาเก๋อ นักร้อง/นักแต่งเพลงชาวมาเลเซีย
พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - วสันต์ กันทะอู นักแสดงชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) - สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในรัชกาลที่ 5 (ประสูติ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2404)
พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - วินิเชียส เดอ มอเรียน นักเขียน กวี และนักแต่งเพลงชาวบราซิล (เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2456)
พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ปราจีน ทรงเผ่า นักดนตรีชาวไทย (เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2489)
วันสำคัญ
วันเอกราชในอาร์เจนตินา
วันรัฐธรรมนูญในปาเลา
วันรัฐธรรมนูญในปาเลา
...................................
dsFgiEki5wY


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2012, 07:07:27
     วันนี้วันอังคารที่ 10 กรกฏาคม 2555
................
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2364 (ค.ศ. 1821) - สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองดินแดนฟลอริดาที่ซื้อมาจากประเทศสเปน
พ.ศ. 2364 (ค.ศ. 1821) - สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองดินแดนฟลอริดาที่ซื้อมาจากประเทศสเปน
รัฐฟลอริดา (Florida) เป็นรัฐที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เป็นที่รู้จักกันในนาม ซันไชน์สเตต (Sunshine State) มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหลมตั้งอยู่ระหว่าง อ่าวเม็กซิโก, มหาสมุทรแอตแลนติก และช่องแคบฟลอริดา คำว่า "ฟลอริดา" เป็นภาษาสเปนซึ่งหมายถึง "ที่ซึ่งอุดมไปด้วยดอกไม้" ชื่อของแหลมฟลอริดาตั้งชื่อโดยควน ปอนเซ เด เลออง (Juan Ponce de León) ซึ่งมาเทียบที่ชายฝั่งเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2056 (ค.ศ. 1513) ในช่วงเทศกาล "ปัสกวาโฟลรีดา" (Pascua Florida) หรือช่วงเทศกาลอีสเตอร์ของชาวสเปน วันปัสกวาโฟลรีดาจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายนของทุกปี และยังเป็นวันหยุดราชการด้วย[3]
ฟลอริดาเป็นหนึ่งในเก้ารัฐที่ไม่เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สถานที่สำคัญ
แหลมคานาเวอรัล (Cape Canaveral) เป็นแหลมที่อยู่ในมลรัฐฟลอริดา
ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นที่ตั้งของศูนย์อวกาศเคนเนดี
และยานอวกาศส่วนใหญ่ของสหรัฐถูกส่งขึ้นจากฐานส่งจรวดที่นี่
ดิสนีย์เวิลด์
ยูนิเวอร์เซิลออร์แลนโด
สถานีอากาศเคนเนดี
..........................
     วันนี้วันเกิดของ ทมยันตี
ชื่อ  นางวิมล  ศิริไพบูลย์
เจ้าของนามปากกา  ทมยันตี,  ลักษณวดี,  กนกเรขา,  โรสลาเรน   
เกิด  วันที่ 10  กรกฎาคม  พ.ศ.2480  ที่บ้านตรอกวัดสะพานสูง  บางซื่อ  กรุงเทพฯ 
การศึกษา  เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์และศึกษาต่อที่คณะนิติศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนไปเรียนที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  จนได้วุฒิอนุปริญญา

ประวัติชีวิตและผลงาน  วิมล  ศิริไพบูลย์  "ทมยันตี"
ประวัติการทำงาน
   ในขณะที่เรียนชั้นปีที่ 3  ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ไปสมัครเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
และเมื่อโรงเรียนรับสมัครเข้าเป็นอาจารย์  จึงลาออกจากการศึกษาเพื่อไปประกอบอาชีพครู และขณะเดียวกันนั้นก็ทำงานเขียน
หนังสือไปพร้อมๆกันด้วย  ซึ่งก่อนที่จะมาเป็นนักเขียนที่มีชื่อในปัจจุบันทมยันตีได้ผ่านการฝึกหัดการเขียนมาตั้งแต่วัยเด็กโดยไม่
รู้ตัว  เมื่อครั้งเป็นเด็ก  มารดาให้อ่านหนังสือทุกวันหลังจากที่อ่านหนังสือจบก็ต้องทำการย่อความมาส่งซึ่งการฝึกหัดเช่นนี้ทำให้
กลายมาเป็นคนรักการอ่าน  และในขณะเดียวกันก็ทำให้มีความสามารถในการเขียนอีกด้วยเมื่อขณะอายุได้  14 ปี ซึ่งตอนนั้นเป็น
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ได้เขียนเรื่องสั้นเป็นครั้งแรก  ชื่อเรื่อง  "ตุ๊กตายอดรัก" จากนั้นเพื่อนๆเห็นว่าแต่งได้ดีจึงช่วยกันส่ง
ไปลงนิตยสาร  "ศรีสัปดาห์"  นับจากนั้นก็เขียนเรื่องสั้นเรื่อยมาและได้ลงตีพิมพ์ทุกครั้ง  เป็นระยะเวลากว่า 11 ปี จนกระทั่งเมื่อ
อายุได้ประมาณ  19 ปี  ได้เขียนนวนิยายเรื่องแรก  คือ  เรื่อง "ในฝัน"  โดยใช้นามปากกาว่า"โรสลาเรน"ซึ่งได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร
"ศรีสัปดาห์"ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางและนับตั้งแต่นั้นมาจึงได้หันมาเขียนนวนิยายอย่างจริงจังและได้ลา
ออกจากการสอนหนังสือ  และมาเป็นนักประพันธ์อาชีพในที่สุดโดยนามปากกาที่ใช้มีทั้งหมด  4  นามปากกา  คือ  ทมยันตี,
 ลักษณวดี,  กนกเรขา  และโรสลาเรน  ซึ่งจะมีการใช้นามปากกาแตกต่างกันออกไป  คือ "โรสลาเรน" ใช้สำหรับ
เรื่องรักพาฝัน  เรื่องจินตนิยาย  เช่นเรื่อง  ในฝัน,  โสมส่องแสง,  รอยอินทร์,ตราบแผ่นดินกลบหน้า  ล่าสุดคือ  เมฆขาว
"ลักษณวดี" ใช้สำหรับนิยายรัก ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาของเหล่าเจ้าหญิงเจ้าชายที่เจ้าของนามปากกาเรียกว่า  "ลิเกฝรั่ง"
 อย่างเช่น  ดั่งดวงหฤทัย,  มหารานี,  เลือดขัตติยา,  ธุวตารา  และล่าสุด เจ้าแห่งรัตติกาล"กนกเรขา" ใช้สำหรับแต่งเรื่อง
 ที่ตลก เบาสมอง  เพื่อผ่อนคลายความเครียดของตัวเอง  เช่น เรื่องอุบัติเหตุ,  แรงรัก,  พ่อปลาไหล  ฯลฯและที่สร้างชื่อเสียงมาก
ที่สุด  คือ  นามปากกา  "ทมยันตี" ซึ่งใช้แต่งเรื่องราวที่สะท้อน ชีวิต  และสังคม  โดยเริ่มจากเรื่อง รอยมลทิน เป็นเรื่องแรก
และมีผลงานที่โด่งดังตามมาอีกมาก  เช่น  คู่กรรม  คำมั่นสัญญา  พิศวาส  ทวิภพ  รวมทั้งเรื่องแนวจิตวิญญาณ  อย่าง  ฌาน  จิตา
มายา  และแนวประวัติศาสตร์  อาทิ  ร่มฉัตร,  สุริยวรรมัน,  อธิราชา,  กษัตริยา
   นวนิยายจากทุกนามปากกาของ  วิมล  ศิริไพบูลย์  นั้น  มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์  และละครโทรทัศน์ และหลายเรื่องถูก
นำสร้างซ้ำกันหลายครั้งในหลายยุคหลายสมัย  เช่นเรื่อง  ในฝัน  ค่าของคน  ทวิภพ  คู่กรรม  พ่อปลาไหล  คำมั่นสัญญา  ฯลฯ
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ปรากฏว่ามีผลงานเรื่องใดของคุณวิมล  ศิริไพบูลย์  ที่ได้รับรางวัลใดๆเลยซึ่งก็เป็นเพราะผู้ประพันธ์ไม่
ประสงค์ที่จะให้ใครนำผลงานของเธอไปประกวดหรือแข่งขัน  เหตุอีกประการที่เธอปฏิเสธการรับรางวัลทั้งปวงนั้น เราได้รับ
การยืนยันจากปากของทมยันตีเองว่า  "ฉันเคยได้รับรางวัลจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  มาแล้ว นั่นคือรางวัล
สูงสุดในชีวิต  จากนั้นไม่เคยอยากได้รางวัลใดๆอีก"
   นอกจากจะมีความสามารถในการเขียนแล้ว  ทมยันตียังมีชื่อเสียงโด่งดัง  เป็นที่นิยมอย่างสูงในฐานะนักพูดแนวการพูดของ
ทมยันตีคือแนวโน้มให้ประชาชนรักชาติเสียสละเพื่อชาติ และมีความยึดมั่นในชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ ชื่อเสียงของทมยันตี
จึงแพร่สะพัดยิ่งขึ้นจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง  ไม่เฉพาะในการเขียนนวนิยายภายหลังปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่  6
ตุลาคม  2519  "ทมยันตี"  หรือ  วิมล  ศิริไพบูลย์  จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม  แต่งตั้ง  ให้เป็น
"สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน"  นับเป็นเกียรติอย่างสูงที่วงการนักเขียนได้รับเกียรติยศนี้ ล่าสุดกับตำแหน่งทางการเมือง
เธอได้รับการไว้วางใจให้เป็นผู้อำนวยการขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(ขสกม.)ซึ่งเป็นสตรีคนแรกและเป็นคนเดียวที่ดำรงตำ
แหน่งนี้เครื่องราชอิสริยภรณ์ที่ได้รับคือ  ตริตาภรณ์มงกุฎไทย  ตริตาภรณ์ช้างเผือก  และทุติยาภรณ์มงกุฎไทย



10 กรกฎาคม พ.ศ. 2480
วันเกิด วิมล ศิริไพบูลย์ เจ้าของนามปากกา "ทมยันตี” ผู้เขียนนิยายชื่อดัง “คู่กรรม” เกิดที่บางซื่อ กรุงเทพฯ จบคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทมยันตีได้รับการฝึกฝนเรื่องการอ่านการเขียนมาตั้งแต่เริ่มรู้ความ
 เริ่มเขียนเรื่องสั้นครั้งแรกตอนอายุ 14 ปี คือ "ตุ๊กตายอดรัก” เพื่อนอ่านแล้วชอบใจ เลยส่งไปลงที่นิตยสาร “ศรีสัปดาห์” เมื่อเห็นผลงานตัวเองได้ตีพิมพ์ลงหนังสือ ก็เขียนเรื่องสั้นมาเรื่อย อีก 5 ปีต่อมาก็เขียนนิยายเรื่องแรกคือ "ในฝัน” โดยใช้นามปากกา "โรสลาเรน” นอกจากนี้ยังมีนามปากกาอื่น ๆ อีก
คือ "กนกเรขา” และ "ลักษณาวดี” หลังจากเรียนจบก็เริ่มทำงานเป็นครูและเขียนหนังสือไปพร้อมกัน หลังจากนิยายเรื่องแรกได้รับการตีพิมพ์ก็เขียนนิยายเรื่องอื่นต่อมา คือ ค่าของคน, คู่กรรม, เงา, สายใจ, รอยมลทิน ฯลฯ หลังจากนั้นทมยันตีก็เริ่มมีเชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อย ๆ
ทมยันตีเป็นนักเขียนที่ตั้งใจทำงาน และมีความประณีตในงานเขียนมาก ก่อนจะเขียนแต่ละเรื่อง จะต้องค้นคว้าให้รู้จริงเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเสียก่อน สามารถเขียนนิยายได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนิยายรัก นิยายอิงประวัติศาสตร์ นิยายเสียดสีสังคม นิยายแนววิทยาศาสตร์
 หรือนิยายเบาสมอง ทมยันตีเป็นนักเขียนสตรีคนหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุด และสามารถยึดถืองานเขียนเป็นอาชีพได้ แม้จะไม่เคยได้รับรางวัลใด แต่ผลงานของทมยันตีก็ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไปอย่างมาก ในการเขียนทมยันตีนิยมการใช้สำนวนตามแบบ
หลวงวิจิตรวาทการ และนักเขียนสตรีรุ่นเก่า คือ ร. จันทพิมพะ ปัจจุบันทมยันตียังคงทำงานเขียน และนิยายหลายเรื่องยังคงได้รับความนิยมตีพิมพ์ซ้ำอยู่เสมอ และเมื่อต้นปี 2548 ทมยันตีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในระดับชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า ใช้คำนำหน้าว่า "คุณหญิง"




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2012, 07:13:53
     หลายข้อความที่ขาดหาย
...................
วันนี้วันเกิดของนักเขียนชื่อดัง ทมยันตี
........
ชื่อ  นางวิมล  ศิริไพบูลย์
เจ้าของนามปากกา  ทมยันตี,  ลักษณวดี,  กนกเรขา,  โรสลาเรน   
เกิด  วันที่ 10  กรกฎาคม  พ.ศ.2480  ที่บ้านตรอกวัดสะพานสูง  บางซื่อ  กรุงเทพฯ 
การศึกษา  เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์และศึกษาต่อที่คณะนิติศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนไปเรียนที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  จนได้วุฒิอนุปริญญา

ประวัติชีวิตและผลงาน  วิมล  ศิริไพบูลย์  "ทมยันตี"
ประวัติการทำงาน
   ในขณะที่เรียนชั้นปีที่ 3  ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ไปสมัครเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
และเมื่อโรงเรียนรับสมัครเข้าเป็นอาจารย์  จึงลาออกจากการศึกษาเพื่อไปประกอบอาชีพครู และขณะเดียวกันนั้นก็ทำงานเขียน
หนังสือไปพร้อมๆกันด้วย  ซึ่งก่อนที่จะมาเป็นนักเขียนที่มีชื่อในปัจจุบันทมยันตีได้ผ่านการฝึกหัดการเขียนมาตั้งแต่วัยเด็กโดยไม่
รู้ตัว  เมื่อครั้งเป็นเด็ก  มารดาให้อ่านหนังสือทุกวันหลังจากที่อ่านหนังสือจบก็ต้องทำการย่อความมาส่งซึ่งการฝึกหัดเช่นนี้ทำให้
กลายมาเป็นคนรักการอ่าน  และในขณะเดียวกันก็ทำให้มีความสามารถในการเขียนอีกด้วยเมื่อขณะอายุได้  14 ปี ซึ่งตอนนั้นเป็น
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ได้เขียนเรื่องสั้นเป็นครั้งแรก  ชื่อเรื่อง  "ตุ๊กตายอดรัก" จากนั้นเพื่อนๆเห็นว่าแต่งได้ดีจึงช่วยกันส่ง
ไปลงนิตยสาร  "ศรีสัปดาห์"  นับจากนั้นก็เขียนเรื่องสั้นเรื่อยมาและได้ลงตีพิมพ์ทุกครั้ง  เป็นระยะเวลากว่า 11 ปี จนกระทั่งเมื่อ
อายุได้ประมาณ  19 ปี  ได้เขียนนวนิยายเรื่องแรก  คือ  เรื่อง "ในฝัน"  โดยใช้นามปากกาว่า"โรสลาเรน"ซึ่งได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร
"ศรีสัปดาห์"ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางและนับตั้งแต่นั้นมาจึงได้หันมาเขียนนวนิยายอย่างจริงจังและได้ลา
ออกจากการสอนหนังสือ  และมาเป็นนักประพันธ์อาชีพในที่สุดโดยนามปากกาที่ใช้มีทั้งหมด  4  นามปากกา  คือ  ทมยันตี,
 ลักษณวดี,  กนกเรขา  และโรสลาเรน  ซึ่งจะมีการใช้นามปากกาแตกต่างกันออกไป  คือ "โรสลาเรน" ใช้สำหรับ
เรื่องรักพาฝัน  เรื่องจินตนิยาย  เช่นเรื่อง  ในฝัน,  โสมส่องแสง,  รอยอินทร์,ตราบแผ่นดินกลบหน้า  ล่าสุดคือ  เมฆขาว
"ลักษณวดี" ใช้สำหรับนิยายรัก ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาของเหล่าเจ้าหญิงเจ้าชายที่เจ้าของนามปากกาเรียกว่า  "ลิเกฝรั่ง"
 อย่างเช่น  ดั่งดวงหฤทัย,  มหารานี,  เลือดขัตติยา,  ธุวตารา  และล่าสุด เจ้าแห่งรัตติกาล"กนกเรขา" ใช้สำหรับแต่งเรื่อง
 ที่ตลก เบาสมอง  เพื่อผ่อนคลายความเครียดของตัวเอง  เช่น เรื่องอุบัติเหตุ,  แรงรัก,  พ่อปลาไหล  ฯลฯและที่สร้างชื่อเสียงมาก
ที่สุด  คือ  นามปากกา  "ทมยันตี" ซึ่งใช้แต่งเรื่องราวที่สะท้อน ชีวิต  และสังคม  โดยเริ่มจากเรื่อง รอยมลทิน เป็นเรื่องแรก
และมีผลงานที่โด่งดังตามมาอีกมาก  เช่น  คู่กรรม  คำมั่นสัญญา  พิศวาส  ทวิภพ  รวมทั้งเรื่องแนวจิตวิญญาณ  อย่าง  ฌาน  จิตา
มายา  และแนวประวัติศาสตร์  อาทิ  ร่มฉัตร,  สุริยวรรมัน,  อธิราชา,  กษัตริยา
   นวนิยายจากทุกนามปากกาของ  วิมล  ศิริไพบูลย์  นั้น  มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์  และละครโทรทัศน์ และหลายเรื่องถูก
นำสร้างซ้ำกันหลายครั้งในหลายยุคหลายสมัย  เช่นเรื่อง  ในฝัน  ค่าของคน  ทวิภพ  คู่กรรม  พ่อปลาไหล  คำมั่นสัญญา  ฯลฯ
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ปรากฏว่ามีผลงานเรื่องใดของคุณวิมล  ศิริไพบูลย์  ที่ได้รับรางวัลใดๆเลยซึ่งก็เป็นเพราะผู้ประพันธ์ไม่
ประสงค์ที่จะให้ใครนำผลงานของเธอไปประกวดหรือแข่งขัน  เหตุอีกประการที่เธอปฏิเสธการรับรางวัลทั้งปวงนั้น เราได้รับ
การยืนยันจากปากของทมยันตีเองว่า  "ฉันเคยได้รับรางวัลจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  มาแล้ว นั่นคือรางวัล
สูงสุดในชีวิต  จากนั้นไม่เคยอยากได้รางวัลใดๆอีก"
   นอกจากจะมีความสามารถในการเขียนแล้ว  ทมยันตียังมีชื่อเสียงโด่งดัง  เป็นที่นิยมอย่างสูงในฐานะนักพูดแนวการพูดของ
ทมยันตีคือแนวโน้มให้ประชาชนรักชาติเสียสละเพื่อชาติ และมีความยึดมั่นในชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ ชื่อเสียงของทมยันตี
จึงแพร่สะพัดยิ่งขึ้นจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง  ไม่เฉพาะในการเขียนนวนิยายภายหลังปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่  6
ตุลาคม  2519  "ทมยันตี"  หรือ  วิมล  ศิริไพบูลย์  จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม  แต่งตั้ง  ให้เป็น
"สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน"  นับเป็นเกียรติอย่างสูงที่วงการนักเขียนได้รับเกียรติยศนี้ ล่าสุดกับตำแหน่งทางการเมือง
เธอได้รับการไว้วางใจให้เป็นผู้อำนวยการขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(ขสกม.)ซึ่งเป็นสตรีคนแรกและเป็นคนเดียวที่ดำรงตำ
แหน่งนี้เครื่องราชอิสริยภรณ์ที่ได้รับคือ  ตริตาภรณ์มงกุฎไทย  ตริตาภรณ์ช้างเผือก  และทุติยาภรณ์มงกุฎไทย



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 11 กรกฎาคม 2012, 06:17:38
     วันนี้วันพุธที่ 11 กรกฏาคม 2555
............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1892) – ผู้ประกอบการและนักคิดค้นชาวญี่ปุ่น โคกิชิ มิกิโมโตะ เป็นบุคคลแรกที่สามารถสร้างไข่มุกเลี้ยงครึ่งซีกได้สำเร็จ
การพัฒนาของไข่มุกไข่มุกเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดชั้นนอกได้รับความเสียหายจากปรสิต ซึ่งเกิดจากการกัดกินของปลาหรือเหตุการณ์อื่นซึ่งสร้างความเสียหายแก่บริเวณขอบที่อ่อนแอของเปลือกสัตว์พวกหอยชั้น Bivalvia หรือแกสโทรโพดา เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดชั้นนอกจึงตอบสนองโดยการหลั่งน้ำมุกเข้าไปเคลือบสิ่งแปลกปลอมนั้น ในทางเคมี สารที่หลั่งออกมานี้เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตและเส้นใยโปรตีนที่เรียกว่า คอนชิโอลิน เมื่อน้ำมุกถูกสร้างขึ้นในชั้นของอะราโกไนต์บาง ๆ แล้ว มันจะสะสมถุงไข่มุกจนกระทั่งเติบโตขึ้นเป็นไข่มุก โดยมีการเล่ากันว่าเม็ดทรายสามารถก่อให้เกิดไข่มุกได้ อย่างไรก็ตาม น้ำมุกจะไม่หลักออกมาเคลือบสิ่งไม่มีชีวิตแต่อย่างใด

ไข่มุกตามธรรมชาติหมายถึงไข่มุกซึ่งเกิดขึ้นเองในธรรมชาติ ซึ่งมีโอกาสไม่มากก็น้อย ตรงกันข้ามกับไข่มุกเลี้ยง ซึ่งเป็นการเกิดไข่มุกโดยอาศัยการช่วยเหลือของมนุษย์ คือ การใส่เนื้อเยื่อของหอย จากนั้นถุงมุกจะก่อตัวขึ้น และแคลเซียมคาร์บอเนตจะตกตะกอนในรูปของน้ำมุก

[แก้] อุตสาหกรรมไข่มุกไข่มุกเลี้ยงสมัยใหม่ส่วนมากมักเป็นผลมาจากการค้นพบในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น มิเซะและนิชิกาวา ถึงแม้ว่าในการเพาะเลี้ยงบางครั้งจะยาวนานจนสามารถกระตุ้นให้สัตว์พวกหอยสามารถผลิตไข่มุกได้โดยมนุษย์ แต่ไข่มุกประเภทนี้มักบวมพองมากกว่าจะกลม วิธีการที่มิเซะและนิชิกากวาค้นพบนั้นเป็นเทคนิกเฉพาะในการชักนำให้เกิดการผลิตไข่มุกกลมภายในอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์จำพวกหอย ซึ่งเทคนิคนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรโดยโคกิชิ มิกิโมโตไม่นานหลังจากนั้น และผลผลิตรอบแรกผลิตเสร็จในปี ค.ศ. 1916

ทุกวันนี้ไข่มุกมากกว่า 99% ที่ขายกันอยู่ทั่วโลกเป็นไข่มุกเลี้ยง

ไข่มุกเลี้ยงสามารถแยกแยะจากไข่มุกธรรมชาติได้โดยการใช้รังสีเอกซ์ โดยการมองนิวเคลียสภายในไข่มุก




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 13 กรกฎาคม 2012, 01:38:17
     วันนี้วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555
รายละเอียดเพิ่มเติมที่...
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/275107
...........
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 : เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ รุกเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดการยิงต่อสู้กัน และนำไปสู่การสูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
วิกฤตการณ์ปากน้ำ เป็นการรบระหว่างวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2436 ในขณะที่แล่นเรือผ่านเข้าไปในปากแม่น้ำเจ้าพระยา เรือรบฝรั่งเศส 3 ลำถูกโจมตีโดยป้อมปืนของสยามและเรือปืน ผลการรบ ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะและดำเนินการปิดล้อมกรุงเทพซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของเหตุการณ์
ภูมิหลังความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อเรือการข่าว "แองกงสตัง" (Inconstant) และเรือปืน "โกแมต" (Comète)2 ของกองทัพเรือฝรั่งเศสเดินทางมาถึงปากแม่น้ำและขออนุญาตแล่นเรือผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไปสมทบกับเรือ "ลูแตง" (Le Lutin)[1] เพื่อเจรจาต่อรอง เมื่อสยามปฏิเสธ ผู้บังคับบัญชาฝ่ายฝรั่งเศส พลเรือตรี แอดการ์ อูว์มัน (Edgar Humann) เมินเฉยต่อความต้องการของสยามและคำสั่งจากรัฐบาลฝร่งเศส ซึ่งก่อนการต่อสู้ พลเรือตรี อูว์มัน ได้รับคำสั่งห้ามเข้าสู่ปากแม่น้ำเพราะสยามได้เตรียมการอย่างดีสำหรับการรบ กองกำลังฝ่ายสยามประกอบด้วยป้อมพระจุลจอมเกล้าที่พึ่งสร้างเสร็จ มีปืนเสือหมอบขนาด 6 นิ้ว 7 กระบอก3 สยามยังได้จมเรือสำเภาและเรือบรรทุกหินในแม่น้ำเพื่อเป็นแนวป้องกัน บีบให้เส้นทางเดินเรือกลายเป็นทางผ่านแคบๆ เพียงทางเดียว

เรือปืน 5 ลำจอดทอดสมออยู่ด้านหลังแนวสิ่งกีดขวาง ประกอบไปด้วย เรือมกุฎราชกุมาร, เรือทูลกระหม่อม, เรือหาญหักศัตรู, เรือนฤเบนทร์บุตรี และ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์4 มีเรือ 2 ลำเป็นเรือรบทันสมัย คือ เรือมกุฎราชกุมาร และเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์[2] ขณะที่เรือที่เหลือเป็นเรือปืนเก่าหรือเรือกลไฟแม่น้ำที่ดัดแปลงมา มีการวางข่ายทุ่นระเบิด 16 ลูก ผู้บังคับบัญชาป้อมเป็นนายพลเรือชาวดัตช์ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวยุโรปหลายคนที่เข้ารับราชการในกองทัพไทย พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ) เป็นผู้บังคับบัญชาเรือปืน

[แก้] ยุทธนาวีฝรั่งเศสเลือกที่จะเข้าปากแม่น้ำหลังพระอาทิตย์ตกดินในวันที่ 13 กรกฎาคม โดยมีวัตถุประสงค์คือแล่นผ่านการป้องกันของสยามให้ได้ถ้ามีการเปิดฉากยิงกันขึ้น สภาพอากาศครึ้มฝน ขณะนั้นสยามได้ประจำสถานีรบและเตรียมพร้อมขั้นสูงสุด เรือรบฝรั่งเศสได้แล่นตามเรือกลไฟนำร่องฌองบัปติสต์เซย์ (Jean Baptiste Say) เข้าสู่ปากแม่น้ำ เมื่อเวลา 18.15 น. ฝนหยุดตก ทหารในป้อมสังเกตเห็นเรือรบฝรั่งเศสแล่นผ่านกระโจมไฟ สองสามนาทีหลังจากนั้นเรือฝรั่งเศสแล่นผ่านทุ่นดำเข้ามาในระยะยิงของป้อม ทหารประจำป้อมได้รับคำสั่งให้ยิงเตือน 3 นัด แต่ถ้าฝรั่งเศสเพิกเฉยเรือปืนจะเปิดฉากยิง

เวลา 18.30 น. ป้อมปืนเปิดฉากยิงเตือนด้วยกระสุนเปล่า 2 นัด แต่เรือรบฝรั่งเศสยังคงแล่นต่อไป ในนัดที่สามสยามได้ใช้กระสุนจริงยิงเตือน กระสุนตกลงในน้ำหน้าเรือฌองบัปติสต์เซย์ เมื่อเห็นฝรั่งเศสเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือน นัดที่สี่จากเรือปืน มกุฎราชกุมาร และ มูรธาวสิตสวัสดิ์ ก็เปิดฉากยิงเมื่อเวลา 18.50 น. เรือแองกองสตองได้ยิงตอบโต้กับป้อมในขณะที่โกแมตยิงสู้กับเรือปืนสยาม มีเรือขนาดเล็กที่บรรจุระเบิดถูกส่งมาพุ่งชนเรือฝรั่งเศสแต่พลาดเป้า การต่อสู้กินเวลาประมาณ 25 นาที

ใน
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/275107


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 14 กรกฎาคม 2012, 06:15:17
     วันนี้วันเสาร์ที่ 14 กรกฏาคม 2555
..............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - ทหารอาสาของไทย ร่วมสวนสนามฉลองชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผ่านประตูชัยที่ปารีส
๑๔ กรกฎาคม๒๔๑๓
           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้า ฯ  เจ้าอินทรวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สืบต่อมา
๑๔ กรกฎาคม๒๔๓๔
           เรือปืนรัสเซีย เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ  กัปตันเรืออัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของรัสเซียชื่อเซนต์ แอนดรูว์  จากพระเจ้านิโคลัสที่ ๑ แห่งรัสเซีย เข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๔ กรกฎาคม๒๔๖๘
           อังกฤษกับไทยทำสัญญาค้าขาย ๕ ข้อ ทำให้ไทยเก็บภาษีสูงกว่าเดิม การได้อำนาจศาล แต่ยังยอมให้ฝรั่งเปิดสถานศึกษาและการศาสนาได้อย่างคนพื้นเมือง นอกจากนั้นยังกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ  ด้วยการกำหนดข้อปลีกย่อยต่าง ๆ สัญญานี้เป็นการเลิกภาษี  ร้อยชักสาม ซึ่งทำมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๓๙๘  ทั้งนี้เนื่องจากการส่งทหารไทยไปรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑  ซึ่งเป็นการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร
๑๔ กรกฎาคม๒๔๙๕
           มีการทดลองออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่กรมประชาสัมพันธ์




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 15 กรกฎาคม 2012, 08:19:56
     วันนี้วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฏาคม  2555
..............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้า เป็นที่มาของการก่อสร้างสะพานพระราม 8
SibWb5GNw94


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 16 กรกฎาคม 2012, 06:21:52
     วันนี้วันจันทร์ที่ 16 กรกฏาคม 2555
..............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - จอห์น เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์ ภรรยา และน้องเขย เสียชีวิตทั้งหมดในเหตุการณ์เครื่องบินตก โดยที่เคนเนดี จูเนียร์เป็นผู้ขับเครื่องบินด้วยตนเอง
ภายหลังการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของวุฒิสมาชิกเอ็ดเวิร์ด เคนเนดี้ ในวันนี้ หลายคนคงหวนไปคิดถึงชีวิตของสมาชิกในครอบครัวเคนเนดี้จำนวนหนึ่งที่มักประสบกับเหตุโศกนาฏกรรมอยู่บ่อยครั้ง ต่อไปนี้คือลำดับเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่บังเกิดขึ้นกับตระกูลที่ถูกถือให้เป็นราชวงศ์ทางการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาตระกูลนี้

ค.ศ.1941 (พ.ศ.2484) "โรสแมรี่ เคนเนดี้" ลูกสาวคนโตของโจเซฟและโรส เคนเนดี้ ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ต้องถูกนำตัวไปพักรักษาในโรงพยาบาลตลอดชีวิต หลังจากที่การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการป่วยทางสุขภาพจิตได้ส่งผลให้เธอกลายเป็นบุคคลที่ไร้สมรรถภาพ โรสแมรี่เพิ่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) ที่ผ่านมา

ค.ศ.1944 (พ.ศ.2487) "โจเซฟ เคนเนดี้ จูเนียร์" ลูกคนโตของครอบครัว เสียชีวิตด้วยวัย 29 ปี ในอุบัติเหตุเครื่องบินตกเหนือช่องแคบอังกฤษ ระหว่างปฏิบัติภารกิจขับเครื่องบินรบของกองทัพสหรัฐฯในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) "แคธลีน เคนเนดี้ คาเวนดิช" ลูกคนที่สี่ของครอบครัว เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในประเทศฝรั่งเศส ขณะมีอายุได้ 28 ปี

ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) "ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้" ถูกลอบสังหารในวันที่ 22 พฤศจิกายน ณ เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ขณะมีอายุได้ 46 ปี

ค.ศ.1964 (พ.ศ.2507) "วุฒิสมาชิกเอ็ดเวิร์ด เคนเนดี้" ลูกคนเล็กของครอบครัว รอดชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก

ค.ศ.1968 (พ.ศ.2511) "วุฒิสมาชิกโรเบิร์ต เคนเนดี้" ถูกลอบสังหารในวันที่ 5 มิถุนายน ขณะมีอายุได้ 42 ปี ภายหลังจากที่เขาเพิ่งได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคเดโมแครตในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้เป็นตัวแทนพรรคลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ

ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) "วุฒิสมาชิกเอ็ดเวิร์ด เคนเนดี้" รอดชีวิตจากอุบัติเหตุขับรถยนต์ตกสะพานในมลรัฐแมสซาชูเซตส์

ค.ศ.1984 (พ.ศ.2527) "เดวิด เคนเนดี้" ลูกชายของโรเบิร์ต เคนเนดี้ เสียชีวิตจากการใช้ยาเกินขนาดในวัย 28 ปี

ค.ศ.1997 (พ.ศ.2540) "ไมเคิล เคนเนดี้" ลูกชายอีกคนหนึ่งของโรเบิร์ต เคนเนดี้ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุขณะเล่นสกีที่มลรัฐโคโลราโด ขณะมีอายุ 39 ปี

ค.ศ.1999 (พ.ศ.2542) "จอห์น เคนเนดี้ จูเนียร์" บุตรชายของอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ รวมทั้งภรรยาและพี่สะใภ้ ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินส่วนตัวตกที่มลรัฐแมสซาชูเซตส์


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 17 กรกฎาคม 2012, 06:05:18
     วันนี้วันอังคารที่ 17 กรกฏาคม 2555
.............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - บอลเชวิคสั่งให้ปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์และผู้รับใช้ที่เมืองเอคาเตลินเบิร์ก ประเทศรัสเซีย
พงศาวดารรัสเซียถูกปลุกขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อครอบครัวของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ แห่งราชวงศ์โรมานอฟ ลุกขึ้นมาร้องขอความเป็นธรรมเรื่องบรรพชนของตน และยืนยันด้วยเหตุผลทางนิติวิทยาศาสตร์ว่า มกุฎราชกุมารองค์สุดท้ายของรัสเซีย มิได้สิ้นพระชนม์เพราะการสังหารหมู่ในปี ค.ศ. ๑๙๑๘ แต่เพิ่งจะเสียชีวิตเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง

ราชวงศ์โรมานอฟที่ยิ่งใหญ่ล้นฟ้าของจักรวรรดิรัสเซีย พบจุดจบอย่างกะทันหันในเช้ามืดวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๑๘ เมื่อสมาชิกในพระราชวงศ์ถูกสังหารหมู่โดยตำรวจลับเชกา (Cheka) มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ (บางแห่งเรียกอเล็กซิส แต่ในที่นี้จะเรียกตามหนังสือที่ใช้อ้างอิงว่า Tsarevich Alexei-ผู้เขียน) โอรสวัยรุ่น พระชันษาเพียง ๑๔ ปีของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ และพระนาง (ซารีนา) อเล็กซานดรา ฟีโอโดรอฟนา ผู้เป็นรัชทายาทของราชบัลลังก์รัสเซีย ทรงรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิดชนิดเฉียดตาย

ก่อนหน้านี้ ดวงพระชาตาของเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ ส่งเสริมให้พระองค์ได้เสวยราชย์ แต่ก็เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น แล้วดวงพระชาตาก็พลิกผันให้ต้องประสบเคราะห์กรรมโดยถูกปลงพระชนม์พร้อมกับพระราชบิดา แต่เพราะดวงยังไม่ถึงฆาต องค์มกุฎราชกุมารจึงยังไม่สิ้นใจในทันที ทว่า ระหว่างการขนย้ายพระศพทั้งหมดไปทำลายทิ้ง ร่างของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์กลับสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย พร้อมๆ กับการสิ้นสุดของราชวงศ์โรมานอฟที่สืบทอดติดต่อกันมานาน ๓๐๐ ปี

องค์รัชทายาททรงเติบโตขึ้นภายใต้ชื่อใหม่ว่าวาสิลี ฟิลาตอฟ (Vasily Filatov) และใช้ชีวิตแบบคนธรรมดาต่อมาในบทช่างทำรองเท้าและครูสอนภูมิศาสตร์ในที่สุด ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวเหลือเชื่อของมกุฎราชกุมารองค์นั้นที่พงศาวดารรัสเซียไม่อยากรับรู้ โปรดอ่านต่อไป
................
เครดิต..
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=705c6df29041688e
.................
เรื่องราวของรัสเซียที่น่าติดตาม..เครดิต..
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 18 กรกฎาคม 2012, 05:45:33
     วันนี้วันพุธที่ 18 กรกฏาคม 2555
...............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต พระชนมายุ 94 พรรษา (พระราชสมภพ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443)
ส่งข้อความหมดไม่ได้..ติดตามที่..
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5

พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง พลตำรวจเอกหญิง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือพระนามที่นิยมเรียกกันว่า สมเด็จย่า (พระราชสมภพ วันอาทิตย์ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 จังหวัดนนทบุรี - สวรรคตวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พระชนมายุ 94 พรรษา กรุงเทพมหานคร) พระองค์เป็นพระราชชนนีใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
ขณะทรงพระเยาว์
ขณะทรงพระเยาว์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ (ไม่มีนามสกุล เนื่องจากพระราชบัญญัติขนานนามสกุลเริ่มมีในปี พ.ศ. 2456) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ทรงเป็นบุตรคนที่ 3 ในพระชนกชูและพระชนนีคำ ทรงมีพระภคินี และพระเชษฐา 2 คนซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย คงเหลือแต่พระอนุชาอ่อนกว่าพระองค์ 2 ปี คือ คุณถมยา

พระชนกชู มีอาชีพเป็นช่างทอง เป็นบุตรชายของคหบดี ชื่อ ชุ่ม มีเชื้อสายสืบมาจากผู้ดีเก่าแถวตึกขาว มีนิวาสสถานอยู่ใกล้ๆวัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี พระชนกชูได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่สมเด็จย่ามีพระชนมายุ 3 พรรษา และพระชนนีคำถึงแก่กรรมเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ เพียง 9 พรรษา หลังจากนั้น พระองค์ทรงอยู่ในความอุปการะของป้าซ้วย พี่สาวของพระชนนีคำ ซึ่งมีอาชีพรับจ้างม้วนบุหรี่ และทำขนมขาย

พระชนนีคำ มีมารดาชื่อผา พระชนนีคำเป็นสตรีที่รู้หนังสือซึ่งหาได้ยากในสมัยนั้น จึงได้นำความรู้นี้มาสอนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยพระอุปนิสัยที่ชอบการเรียนรู้ และการอ่านหนังสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์จึงทรงเป็นผู้ที่มีไหวพริบ และเฉลียวฉลาด

และเชื่อว่าเหล่าเครือญาติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีเชื้อสายชาวเวียงจันทน์ เนื่องจากทางครอบครัวนิยมรับประทานข้าวเหนียว[1] ซึ่งสอดคล้องกับพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับถิ่นฐานเดิมของครอบครัว คือ บ้านช่างทอง ซึ่งตรงกับชุมชนชาวลาวด้านใต้ของธนบุรี อันเป็นชุมชนชาวลาวที่มีชื่อเสียงด้านฝีมือช่าง แต่ปัจจุบันชุมชนลาวดังกล่าวได้ย้ายไปยัง บ้านตีทอง รอบวัดสุทัศนเทพวรารามในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเครือญาติที่นิพนธ์นั้นอาจสืบเชื้อสายมาจากชาวลาวที่เคยในชุมชนบ้านช่างทองก็เป็นได้[2]

วันหนึ่ง ญาติของครอบครัวพระชนกชู มาแนะนำพระชนนีคำ ให้นำสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ไปฝากคุณจันทร์ แสงชูโต ซึ่งเป็นญาติและพระพี่เลี้ยงใน สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร พระเชษฐภคินีในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อถวายตัวเป็นข้าหลวง ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 7-8 พรรษา

[แก้] ขณะยังทรงศึกษาท่านศึกษาที่ โรงเรียนศึกษานารี ได้ไม่นาน พระองค์ก็ได้ถูกส่งไปศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยา โดยประทับอยู่บ้านคุณหวน หงสกุล วัดมหรรณพาราม โรงเรียนเพื่อประชาชนสามัญแห่งแรก พระองค์ทรงถูกเข็มเย็บผ้าตำฝ่าพระหัตถ์ ต้องเข้ารับผ่าตัดกับพระยาดำรงแพทยาคุณ (ฮวด วีระไวทยะ)

เมื่อปี พ.ศ. 2456 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช ตามคำชักชวนจากพระยาดำรงแพทยกุล หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงได้รับการคัดเลือกให้ไปทรงศึกษาวิชาพยาบาลต่อที่ โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมกับนางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์

เมื่อไปเรียนต่างประเทศจำเป็นที่จะมีนามสกุลในหนังสือเดินทาง เมื่อขณะนั้นยังไม่มีนามสกุล จึงจำเป็นต้องมีการหานามสกุลให้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้ใช้นามสกุลของข้าราชบริพารที่มีนามสกุลคนหนึ่งคือ ขุนสงขลานครินทร์ (หลี ตะละภัฎ) เจ้ากรมของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ (เจ้านายที่ทรงกรมคือ เป็นกรมขุน หลวง ฯลฯ จะทรงมี "เจ้ากรม" ซึ่งทำหน้าที่เป็นราชเลขา หรือ ผู้จัดการส่วนพระองค์ ซึ่งจะมีบรรดาศักดิ์ตามเจ้านายของตน เมื่อหลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ได้เป็นกรมหลวงสงขลานครินทร์ ขุนสงขลานครินทร์ (หลี ตะละภัฏ) ก็เลื่อนเป็นหลวงสงขลานครินทร์ ) สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงมีพระนามในหนังสือเดินทางว่า นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำนามสตรี พ.ศ. 2460) ต่อมา คุณถมยา พระอนุชาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปขอจดทะเบียนที่อำเภอใช้นามสกุล "ชูกระมล" ถึงแม้ว่าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีไม่เคยใช้นามสกุลชูกมล ก็อยากจะถือว่าทรงเกิดมาในสกุลนี้

ขณะที่กำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ 1 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงพบและพอพระทัยกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยมีพระศิริโฉมงดงาม พระอุปนิสัย และพระคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์จึงทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชมารดา ขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้นกับ นางสาวสังวาลย์

และเมื่อถึงวันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ได้มีพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม และหลังจากได้อภิเษกสมรสแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้ตามเสด็จด้วยกันไปประพาสเมืองต่างๆ ในทวีปยุโรป และ สหรัฐอเมริกา เพื่อทรงไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเอ็มไอที เมืองบอสตัน ส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลที่วิทยาลัยซิมมอนส์ เมืองบอสตัน

[แก้] ประสูติพระราชธิดาและพระราชโอรส
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระราชโอรส พระราชธิดาหลังจากทั้ง 2 พระองค์ทรงจบการศึกษาแล้วจึงเสด็จไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรก เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล ซึ่งภายหลังทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2466 ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จกลับเมืองไทยพร้อมด้วยพระราชธิดา เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมราชชนกทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ประทับอยู่ได้ประมาณ 20 เดือน ก็ทรงประชวร แพทย์จึงถวายคำแนะนำให้ประทับในที่อากาศเย็น ที่เมือง ไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี สมเด็จพระบรมราชชนนีและพระราชธิดาจึงได้ตามเสด็จไปประทับด้วย

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์แรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมราชชนกทรงเสด็จกลับกรุงเทพฯ เพียงพระองค์เดียวเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ และประทับอยู่จนถึงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2469

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีประสูติพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช

ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีสุดท้ายอยู่ที่เมืองบอสตัน ทรงประชวรโรคพระวักกะกำเริบ และพระโรคหวัด แต่ก็ยังทรงสามารถสอบได้ปริญญาแพทยศาสตร์ขั้นเกียรตินิยม แต่หลังจากสอบเสร็จ และประชวรพระโรคไส้ติ่งอักเสบ ทั้งสองพระองค์ได้พาพระราชโอรสธิดาเดินทางกลับประเทศไทย โดยประทับที่พระตำหนักใหม่สร้างขึ้นในวังสระปทุม ถนนพญาไท

เมื่อเดือน เมษายนพ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับเชิญเป็นแพทย์ประจำบ้านจากโรงพยาบาลแมคคอร์มิก จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนต่อมาก็เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นก็ทรงพระประชวรอยู่เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือนก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 ที่พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม

[แก้] สมเด็จพระบรมราชชนนี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงมีพระชนมายุเพียง 29 พรรษา ทรงต้องรับหน้าที่อบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสธิดาทั้งสามพระองค์ตามลำพัง

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงทรงแนะให้สมเด็จพระบรมราชชนนีพาพระราชนัดดาทั้ง 3 พระองค์ เสด็จไปศึกษาต่อที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาลให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป พระองค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา

ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติแต่งตั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทน ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงต้องทรงย้ายไปประทับที่บ้านเช่าขนาดใหญ่ที่เมืองปุยยี ใกล้กับเมืองโลซาน เพื่อให้สมพระเกียรติของพระราชโอรส ทรงตั้งชื่อให้พระตำหนักใหม่ว่า วิลล่าวัฒนา

ในปี พ.ศ. 2481 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา ได้เสด็จนิวัติกลับประเทศไทย เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรเป็นครั้งแรกโดยประทับอยู่ในพระนครเป็นเวลากว่า 2 เดือน

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์[3] นอกจากนั้นพระองค์ยังพระราชทานเงินส่วนพระองค์สร้างโรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี สร้างสุขศาลา จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2481

ในปี พ.ศ. 2485 สมเด็จพระบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสมเด็จพระพี่นางเธอฯ ทรงเข้าศึกษาวิชาเคมี ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2486 และอีกสองปีต่อมาในปี พ.ศ. 2488 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ก็เสด็จเข้าศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน




[แก้] สวรรคต
พระเมรุมาศของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงมีพระอาการทางพระหทัยกำเริบและทรงเหนื่อยอ่อน คณะแพทย์ถวายการรักษาเบื้องต้นที่วังสระปทุม จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538 จึงเชิญเสด็จพระราชดำเนินเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างการประทับรักษาที่โรงพยาบาล คณะแพทย์พบว่าเกิดการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จึงได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะเพิ่ม ต่อมา มีพระอาการแทรกซ้อน มีการอักเสบที่พระอันตะพระอันตคุณ (ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก) และที่พระปับผาสะ (ปอด) ข้างขวา คณะแพทย์ได้พยายามถวายการรักษาจนพระอาการทั่วไปดีขึ้นบ้าง

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงมีพระอาการทรุดลง เนื่องด้วยมีพระอาการแทรกซ้อนทางพระยกนะ (ตับ) และพระวักกะ (ไต) ไม่ทำงาน พระหทัย (หัวใจ) ทำงานไม่ปกติ ความดันพระโลหิตต่ำทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในพระโลหิต คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ รวมทั้งการฟอกพระโลหิตด้วยเครื่องไตเทียมและกรองสารพิษซึ่งเกิดจากภาวะผิดปกติของพระยกนะ แต่พระอาการตั้งแต่เช้าจนเที่ยงของวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 คงอยู่ในภาวะวิกฤต จนกระทั่ง เวลา 21:17 น. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต รวมพระชนมายุ 94 พรรษา[4]

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคมพ.ศ. 2539 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง


เครดิตที่...
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 19 กรกฎาคม 2012, 05:34:09
     วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฏาคม 2555
..............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) - วันฉลองพระราชพิธีทวีธาภิเศก ในรัชกาลที่ 5 เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และถือเป็นวันสถาปนาโรงเรียนทวีธาภิเศก
เนื่องด้วยปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ.117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชในรัชกาลที่ 31 เป็นเวลายาวนาน 2 เท่า ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดจัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ทวีธาภิเษก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ถวายบรมอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิฉัย และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท [1]
เหรียญที่ระลึกในงานพระราชพิธีทวีธาภิเศกดังกล่าว พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้า ให้ทำเหรียญที่ระลึก รัชกาลที่ 5 เสมอด้วยรัชกาลที่ 2 ทวีคูณ ร.ศ. 117 เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการภายใน และข้าราชบริพารผู้ประกอบคุณงามความดี เหรียญที่ระลึกนี้มีเนื้อเงินกาไหล่ทองและเนื้อเงิน

ลักษณะรูปทรงเหรียญแบบดาวห้าแฉกยกขอเส้นลวดสองชั้นหูเชื่อม แบบขวางภายใน มีลักษณะดังนี้

ด้านหน้า
1.พระอุนาโลม ภายใต้พระอุณหิศ มีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ พระอุณหิศก็คือพระมงกุฎ
2.พระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) มีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมรพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
3.ครุฑยึดนาค มีความหมายถึงพระบรมราชสัญลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ผู้เป็นพระบรมราชอัยกา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
4.พระแสงขรรค์ไชยศรีและธารพระกรไขว้ มีความหมายถึง เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เนื่องในวโกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติราชาภิเศก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 การเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งสองนี้ เพื่อแสดงว่าเป็นของสำหรับพระราชาธิบดี
5.สายสร้อย เป็นรูปดอกประจำยามอยู่เบื้องใต้โล่ คือสังวาลย์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับพระมหากษัตริย์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลอันสำคัญอย่างยิ่ง
ด้านหลัง
จารึกว่า

 ที่รฤก รัชกาลที่ ๕

เสมอด้วยรัชกาล ที่ ๒

ทวีคูณ รัตนโกสินทร ๓๑

ศก ๑๑๗
 



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 20 กรกฎาคม 2012, 14:12:43
     วันนี้วันศุกร์ที่ 20 กรกฏาคม 2555
...............
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) - ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้สยามชดใช้ค่าเสียหายภายใน 48 ชั่วโมง
ณ เพลานี้ ทั่วทั้งกรุงสยามต่างเงียบงัน จะมีก็แต่เสียงร้องไห้ที่ดังระงมอยู่ในหัวใจของชาวสยามทุกคน....


20 ก.ค. 2436 ฝรั่งเศสยื่นคำขาดดังนี้ :-


1.ให้เคารพสิทธิของญวนและเขมรเหนือดินแดนบนฝั่งซ้ายลำน้ำโขงและเกาะต่างๆในลำน้ำนี้
2.ให้ถอนทหารไทยที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงให้เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่เกินหนึ่งเดือน
3.ให้เสียค่าปรับไหมแก่ฝรั่งเศสในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทุ่งเชียงคำ และที่คำม่วน และทั้งในการที่ได้ทำอันตราย และความเสียหายแก่เรือและทหารประจำเรือฝรั่งเศสที่ปากน้ำเจ้าพระยา
4.ให้ลงโทษผู้กระทำผิดและเสียเงินค่าทำขวัญแก่ครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิต
5.ให้เสียเงิน 2,000,000 ฟรังค์ เป็นค่าปรับไหมในความเสียหายต่างๆที่เกิดแก่ชนชาติฝรั่งเศส
6.ให้จ่ายเงิน 3,000,000 ฟรังค์ ชำระเป็นเงินเหรียญโดยทันที เป็นมัดจำการจะชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ และเงินค่าทำขวัญ หรือถ้าไม่สามารถก็ต้องยอมให้รัฐบาลฝรั่งเศสมีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองพระตะบองและเสียมราฐ
                  โดยให้รัฐบาลไทยตอบให้ทราบภายใน 48 ชั่วโมง ว่าจะรับปฏิบัติตามนี้ได้หรือไม่


อ่านดูแล้วเกิดความรู้สึกกันอย่างไรบ้างครับ .... ใช่แล้ว สัญญาอัปยศอดสูเยี่ยงนี้ ไหนเลยที่สยามจะยอมได้ ทว่าอย่างไรก็ตามคำกล่าวที่ว่า “บางทีเราก็ต้องจำยอมสละแขนขา ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาชีวิตเอาไว้” ก็เป็นสัจธรรมที่สยามมิอาจปฏิเสธได้ ... ในขั้นแรก สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงยินยอมทำตามข้อเรียกร้องบางประการ ทว่าก็ยังไม่เป็นที่พอใจของฝรั่งเศส ดังนั้นฝรั่งเศสจึงดำเนินการปิดสถานทูต ถอนเรือรบกลับไปรวมกับกองเรือใหญ่ ยึดปากน้ำเจ้าพระยาและเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน ตลอดจนทำการปิดอ่าวไทย ทั้งนี้จนกว่ากองทหารไทยที่ตั้งมั่นอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจะถอนไปสิ้นและเกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นแล้ว นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการห้ามรัฐบาลไทยคงกำลังทหารไว้ที่เมืองพระตะบองและเสียมราฐ รวมทั้งเขตที่ตั้งอยู่ในระยะรัศมี 25 กิโลเมตร บนฝั่งขวาแม่น้ำโขงนับแต่ดินแดนเขมรขึ้นไป ให้มีกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองไว้ได้เท่าที่จำเป็น กับห้ามไม่ให้รัฐบาลไทยใช้หรือให้เรือหรือพาหนะทางเรือใดๆที่ติดอาวุธเดินไปมาในทะเลสาบเขมรและในลำน้ำโขง ...ถ้าสยามทำตามที่สั่ง รัฐบาลฝรั่งเศสจะเลิกปิดอ่าวทันที


ทว่าสันดานโจร ก็ย่อมเป็นโจร ไหนเลยที่สยามจะหาสัจจะกับโจรได้... เมื่อเวลาผ่านพ้นไปได้ 9 ปี เศษฝรั่งก็ยังไม่มีทีท่าที่จะถอนทหารออกไปจากจันทบุรี ในการนี้สยามจึงจำยอมยกดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง คือ แคว้น หลวงพระบาง มโนไพร และจำปาศักดิ์ รวมถึงข้อตกลงที่เสียเปรียบยิบย่อยอีกหลายประการ ...ครับ คราวนี้โดนไปอีก 62,500 ตร.กม.  ....ยังครับ มหากาพย์ชั่วยังไม่จบ จากจันทบุรี มันก็ย้ายก้นของมันไปยึดที่ตราดและเกาะต่างๆเอาไว้ ครั้งนี้มันยื่นข้อเรียกร้องให้สยามยอมยกดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ทั้งนี้เพื่อแลกคืนกับเมืองด่านซ้าย (อยู่ในเขตจังหวัดเลย) เมืองตราด และเกาะทั้งหลายที่อยู่ใต้แหลมลิง ลงไปจนถึงเกาะกูดให้แก่ไทย  ....ท้ายที่สุด เพื่อการคงไว้ซึ่งเอกราชแห่งราชอาณาจักรสยาม สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงยอมยกดินแดนครั้งสุดท้าย อีก 51,000 ตร.กม. เพื่อให้แผ่นดินสยามและชาวสยามได้กลับมารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง ตราบจนปัจจุบัน



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 21 กรกฎาคม 2012, 04:56:48

(http://upic.me/i/fi/cr3wince.jpg) (http://upic.me/show/37533612)
     วันนี้วันเสาร์ที่ 21 กรกฏาคม 2555
........................
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) - วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 : หลังจากฝรั่งเศสละเมิดอธิปไตยของไทยเมื่อวันที่ 13 ก.ค. จนมีการปะทะกันที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ออกุสต์ ปาวี อัครราชทูตฝรั่งเศส ยื่นคำขาดให้ไทยยกฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ต่อสู้กับทหารฝรั่งเศส และชดใช้ค่าเสียหาย
.............
               ⊙  ปิยมหาจุลจอมเกล้า         ราชา  ปิ่นนเรศ

                  พระครองเขตสยามแดน      ถิ่นแคว้น

                 มหากรุณายิ่งมอบให้           ไพร่ฟ้า เป็นไท

                 ทำนุชาติพระศาสน์ไว้          นำไทย รุ่งเรือง

                 ⊙ สองมือประณมน้อม           กราบพื้น ธรณี               

                  แทนพระบาทพระจักรี         ถิ่นฟ้า

                 ปฎิญาณถวายแด่องค์          พระผู้  สถิตสวรรค์

                 ขอสืบพระปณิธานมั่น           ปักษ์ไทย  ยิ่งชีพ
....................

อยากให้ท่านลูกหลานไทยได้ระลึกถึงเหตุการณ์นี้
แต่เนื่องจากไม่สามารถนำข้อความมาลงได้หมดเพราะขีดจำกัดของเว็ปฯ
จึงนำเครดิตมาวางไว้เพื่อให้ท่านได้ศึกษา ดังนี้...
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=140457                 



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 22 กรกฎาคม 2012, 05:35:31
     วันนี้วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฏาคม 2555
.................
* * * วันนี้ในอดีต พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - เติ้งเสี่ยวผิง ก้าวขึ้นสู่อำนาจในสภาของประเทศจีนอีกครั้ง
เติ้ง เสี่ยวผิง (จีนตัวเต็ม: 鄧小平; จีนตัวย่อ: 邓小平; พินอิน: Dèng Xiǎopíng; เวด-ไจลส์: Teng Hsiao-p'ing) (22 สิงหาคม พ.ศ. 2447 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540) เป็นผู้เปลี่ยนแปลงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงต้นทศวรรษ 2520 ถึง พ.ศ. 2540 นับเป็นชนชั้นผู้นำรุ่นที่สองของพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิง ประเทศจีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นชาติที่พัฒนาด้านเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก

เติ้งจบการศึกษาในประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าเรียนโครงการสำหรับนักเรียนจีน ซึ่งมีนักปกครอง - นักปฏิวัติหลายคนของเอเชียเคยเรียน เช่น โฮจิมินห์ และโจวเอินไหล

เติ้งเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของเหมาเจ๋อตุง และได้รับตำแหน่งสำคัญของพรรคหลายตำแหน่ง แต่ในภายหลังด้วยนโยบายที่ขัดแย้งกัน เติ้งเสี่ยวผิงจึงถูกขับจากตำแหน่ง และไปเป็นกรรมกรอยู่ที่โรงงานใน มณฑลเสฉวน เมื่อนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลขึ้นครองอำนาจและพบว่าตัวเองป่วยด้วยโรคมะเร็ง โจวเอินไหลได้เรียกเติ้งกลับมาอีกครั้งเพื่อเป็นทายาททางการเมืองของเขา



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 23 กรกฎาคม 2012, 05:29:25
     วันนี้วันจันทร์ที่ 23 กรกฏาคม 2555
..............
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ.2528 เปิดการจราจร สะพานพระนั่งเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยเชื่อมการเดินทางระหว่างพื้นที่ ตำบลไทรม้ากับตำบลบางกระสอเข้าด้วยกันตามแนวถนนรัตนาธิเบศร์***
 โครงการก่อสร้างทางหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวถนนรัตนาธิเบศร์ – งามวงศ์วาน – เกษตรฯ-นวมินทร์

          นายธงไชย วีระสมัย หัวหน้าช่างโครงการ ได้เปิดเผยว่า "กรมทางหลวงดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 302 สายบางใหญ่ – แคราย ส่วนที่ 2 (สะพานพระนั่งเกล้าใหม่ส่วนของสะพานกลางน้ำ) นั้นมีขึ้นสืบเนื่องมาจากในปัจจุบันสะพานพระนั่งเกล้าเดิมที่เปิดการจราจรมาตั้งแต่วันที่
21 กรกฎาคม 2551 โดยความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการ ในขณะนั้น ซึ่งสะพานมีความยาวรวม 545.10 ม. มีขนาด 4 ช่องจราจร ไม่สามารถรองรับปริมาณจราจรที่มีเพิ่มมากขึ้นในถนนรัตนาธิเบศร์ระหว่าง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาได้ กรมทางหลวงจึงได้วางแผนปรับปรุงถนนรัตนธิเบศร์ตลอดเส้นทาง ให้เป็นส่วนหนึ่งของแนวถนน East – West Corridor ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างจุดตัดถนนวงแหวนตะวันตก – ถนนวิภาวดีรังสิต – จุดตัดถนนวงแหวนตะวันออก โดยได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จไปในส่วนของสะพานกลับรถ 4 แห่ง และกำลังดำเนินการก่อสร้างสะพานลอยข้ามแยกไทรม้าและบางพลู รวมทั้งการขยายช่องจราจรเดิม 4 ช่องจราจร ให้เป็น 10 ช่องจราจร ตลอดระยะทางประมาณ 12 กม.





หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2012, 06:06:05
     วันนี้วันอังคารที่ 24 กรกฏาคม 2555
..............
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ.2508 อาภัสรา หงสกุล ได้รับเลือกเป็นนางงามจักรวาล ในการประกวดที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา***
_UlPJB1MAXk

ปุ๊ก อาภัสรา หงสกุล นางงามจักรวาลคนแรกของไทย ปัจจุบันเธอยังคงอยู่ในแวดวงความงามโดยได้เปิดอาภัสรา บิวตี้ สลิมมิ่ง สปา ลาดพร้าวซอย 23 และทำธุรกิจส่วนตัว ขายนาฬิกาและเครื่องสำอาง ....

ประวัติครอบครัว
ชื่อ นางอาภัสรา หงสกุล
ชื่อเล่น : ปุ๊ก
วันเกิด : 16 มกราคม 2490
บิดา : นาวาอากาศเอก (พิเศษ) เพิ่ม หงสกุล (เสียชีวิต)
มารดา : นางเกยูร (กาญจนาคม) หงสกุล (เสียชีวิต)
ถิ่นกำเนิด : ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ของ น.อ.(พิเศษ) เพิ่ม และแม่ชีเกยูร หงสกุล (เสียชีวิตทั้งคู่)
ชื่อพี่-น้อง
1. นางดนยา หงสกุล (แป๋ว) มีบุตรชาย ชื่อนายนนทิวัฒน์ ประภานนท์ สมรสกับ ณัฐวดี มีบุตรชาย 2 คน
2. นางอาภัสรา หงสกุล (ปุ๊ก) สมรสกับ ม.ร.ว.กิตติคุณ กิติยากร (หย่า)
มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร (โจ้)
สมรสใหม่กับ นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ (หย่า)
มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ นายภัสสกรณ์ จิราธิวัฒน์ (ป๊อก)
3. นางธนัดดา หงสกุล (ปิ้ง)
4. นางปวีณา หงสกุล (ปิ๊ก) สมรสกับนายประมวล หุตะสิงห์ (หย่า) มีบุตรชาย ชื่อนายษุภมน หุตะสิงห์ (ต้าร์)
5. นายฉมาดล หงสกุล (โป๊ป)

การศึกษา และดูงาน
- เริ่มเรียนที่บ้านครูพวงมาลัย (แถวบ้าน)
- อนุบาลประถมวัย
- อนุบาลฤทธิยะ (ใกล้บ้านดอนเมือง)
- ประถมศึกษา โรงเรียนศึกษาวิทยา
- มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศึกษาวิทยา
- ศึกษาต่อที่ประเทศปีนัง
- พฤศจิกายน 2546 ปริญญาบัตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญาโท (ไทยรัฐ คัทลียา 7 ก.พ.2548 (24)

การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่
2507 นางสาวไทย
2508 นางงามจักรวาล ที่ไมอามี่ สหรัฐอเมริกา
- เจ้าหน้าที่ของสถานเสริมความงามย่านราชดำเนิน
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายต้อนรับขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย ที่งานเอ๊กซโป โอซาก้า
ประเทศญี่ปุ่น
- ก่อตั้งบริษัท อารยะพร็อพเพอตี้ จำกัด ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รับออกแบบและสร้างบ้านรวมทั้งรับ
จัดหาที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร
- ทำธุรกิจส่วนตัว ขายนาฬิกาและเครื่องสำอาง
- เจ้าของ อาภัสรา บิวตี้ สลิมมิ่ง สปา ลาดพร้าวซอย 23 และ สาขา 2 ชั้น 3 เซ็นทรัลเวิลด์
เปิดเดือนสิงหาคม 2552
- อาสาสมัครช่วยขายสินค้ามูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพที่พระที่นั่งอภิเศกดุสิต


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 25 กรกฎาคม 2012, 06:12:42
     วันนี้วันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2555
..................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ.2521 วันเกิดหลุยส์ บราวน์ เด็กหลอดแก้วคนแรกของโลก เกิดที่ประเทศอังกฤษ ***
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 หลุยส์ บราวน์ (Louise Joy Brown) เด็กหลอดแก้ว (Test-Tube Baby) คนแรกของโลกถือกำเนิดขึ้น ที่โรงพยาบาล Royal Oldham Hospital โดยฝีมือของแพทย์สองคนได้แก่ โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ (Robert Edwards) และ แพทริค สเต็ปโท (Patrick Steptoe) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันบราวน์ทำงานที่ที่ทำการไปรษณีย์แห่งเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ เธอแต่งงานในปี 2547 และให้กำเนิดบุตรชายคนแรกในอีกสองปีต่อมา ทั้งนี้เด็กหลอดแก้วคือเทคนิคการของการปฏิสนธิสังเคราะห์ที่เรียกว่า “In vitro fertilization” หรือ "IVF” โดยการนำอสุจิของพ่อและไข่ของแม่มาทำการปฏิสนธิในหลอดทดลอง จากนั้นจึงค่อยนำตัวอ่อนไปฝังในมดลูกเพื่อให้เติบโตตามธรรมชาติต่อไป ตั้งแต่นั้นมา วิทยาการทางด้านการเจริญพันธุ์ก็เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว การทดลองประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีการประท้วงการทดลองเด็กหลอดแก้วกันอย่างกว้างขวาง ศาสนจักรบางแห่งถึงกับออกมาประณามนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็น “ซาตาน” ที่บังอาจทำตัวไปเทียบเคียง “พระเจ้า” ในการให้กำเนิดมนุษย์ อย่างไรก็ตามเทคนิคการทำเด็กหลอดแก้วก็ได้พิสูจน์ยืนยันว่าปลอดภัย นำความหวังมาให้พ่อแม่ที่มีปัญหามีบุตรยาก ทุกวันนี้การผสมเทียมในหลอดแก้วกลายเป็นเรื่องธรรมดาของคู่สมรสทั่วโลกที่ไม่สามารถมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ ส่วนในประเทศไทย เด็กหลอดแก้วรายแรกเกิดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากบราวน์ 9 ปี โดยฝีมือของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประมวล วีรุตมเสน


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 27 กรกฎาคม 2012, 09:57:29
     วันนี้วันศุกร์ที่ 27 กรกฏาคม 2555
...............
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ.2554 เป็นวันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี***
พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในอีกหนึ่งวันต่อมา

พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่และยังโปรดให้ใช้คำนำหน้าพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ออกคำนำหน้าพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ และคำนำหน้าพระนามนี้ยังใช้จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน

หลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่เป็นนิจ จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลปัจจุบันทรงเจริญพระวัยและทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ กอปรกับพระองค์มีพระชนมายุสูงขึ้นจึงเสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารน้อยลง นอกจากนี้ พระองค์ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งในส่วนที่สืบสานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และโดยส่วนพระองค์เองไว้ในพระอุปถัมภ์มากกว่า 30 แห่ง

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา[1] ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชันษา 85 พรรษา[2]


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: samurai_ฅนเมือง ที่ วันที่ 27 กรกฎาคม 2012, 13:28:50
แจ่มมากเลยคับ


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 28 กรกฎาคม 2012, 06:20:36
(http://upic.me/i/ab/260px-ac_vajiralongkornwince.jpg) (http://upic.me/show/37725112)
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
 
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
 
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
    วันนี้วันเสาร์ที่ 28 กรกฏาคม 2555
................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ.2495 เป็นวันประสูติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร***
พระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร"[2] เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17 นาฬิกา 45 นาที ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[3]

[แก้] สมโภชเดือนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน พ.ศ. 2495[4] โดยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2495[ต้องการอ้างอิง]

เช้าวันรุ่งขึ้น (15 กันยายน) จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เริ่มด้วยพอถึงพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจรดพระกรรบิดกริบพระเกศา ทรงเจิม ทรงผูกด้ายพระขวัญ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ประกอบพิธีลอยกุ้ง ปลาทอง มะพร้าวเงิน มะพร้าวทองลงในพระขันสาคร แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระมหาราชครูเชิญเสด็จขึ้นพระอู่และเห่กล่อมเปิดศิวาลัยไกรลาศตามประเพณีพิธีของพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณีแล้ว พระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ฯ ขึ้นพระอู่แล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียนครบรอบตามประเพณี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ[4][5][6]

[แก้] สมเด็จพระยุพราชเมื่อมีพระชนมายุครบ 20 ชันษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร" [7][8]

[แก้] การศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นต้นในระดับอนุบาล รุ่นที่ 2 จากโรงเรียนจิตรลดา แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซทประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เสร็จแล้ว ทรงการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอัษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย

เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหารและศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อ พ.ศ. 2520 แล้วทรงผนวช เมื่อ พ.ศ. 2521

ครั้นแล้ว ทรงศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุ่นที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2525 และสำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2533 [9]




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 29 กรกฎาคม 2012, 05:57:45
(http://upic.me/i/6x/240px-phutthamonthon_001wince.jpg) (http://upic.me/show/37751541)

     วันนี้วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฏาคม 2555
...........
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล ณ บริเวณใต้ฐานองค์พระประธานพระศรีศากยะทศพลญาณ ก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีพ.ศ.2500***
"พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" เป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ ประดิษฐานเป็นองค์พระประธาน ณ พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
การก่อสร้างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล ณ บริเวณใต้ฐานองค์พระประธานเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 และได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2500

แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2525 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฯ เสด็จประกอบพิธีสมโภช เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม

[แก้] พุทธลักษณะ"พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" เป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน หล่อด้วยทองสำริดหนัก 17,543 กิโลกรัม โดยแบ่งหล่อเป็นชิ้นต่างๆ ขององค์พระ รวม 137 ชิ้น แล้วจึงนำไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐานพระพุทธรูป เพื่อเชื่อมรอยต่อ และปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปสูง 15.875 เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปลีลา หล่อด้วยทองสำริดที่มีลักษณะงดงาม และมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ [1]

โดยประยุกต์พุทธลักษณะ มาจากพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาลี เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งในตอนแรกที่ออกแบบไว้นั้น พระพุทธรูปมีความสูงเพียง 2.14 เมตร แต่เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสที่พระพุทธศาสนาอายุครบ 2,500 ปี จึงได้มีการขยายขนาดเพื่อให้ได้เป็น 2,500 กระเบียด (1 กระเบียดเท่ากับ 1/4 นิ้ว) ดังนั้นพระศรีศากยะทศพลญาณฯ ในปัจจุบัน จึงมีความสูงถึง 15.875 เมตร ใหญ่กว่าขนาดต้นแบบ 7.5 เท่า[2]

ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางนี้มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ไม้ปาริฉัตตกะ ณ ดาวดึงส์เทวปโลก เมื่อออกพรรษามหาปวารณาแล้ว จึงเสด็จลงจากเทวโลก ในการเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า "เทโวโรหณสมาคม"[3



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 30 กรกฎาคม 2012, 05:28:31
     วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๓๐ กรกฏาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๑๒  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
......................................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2470 "โชคสองชั้น" ภาพยนตร์ฝีมือของคนไทยเรื่องแรก ออกฉายสู่สาธารณชนที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร กรุงเทพฯ ปรากฎว่าได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก นับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีมหาชนไปดูกันมากที่สุด ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังเงียบ ถ่ายทำด้วยฟิล์มขาว-ดำขนาด 35 มม.***
     30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 "โชคสองชั้น" ภาพยนตร์ฝีมือของคนไทยเรื่องแรก ออกฉายสู่สาธารณชนที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร กรุงเทพฯ ปรากฎว่าได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก นับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีมหาชนไปดูกันมากที่สุด ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังเงียบ ถ่ายทำด้วยฟิล์มขาว-ดำขนาด 35 มม. ผลิตโดยกลุ่ม "กรุงเทพฯ ภาพยนตร์บริษัท” ของพี่น้องตระกูล "วสุวัต" อำนวยการสร้างโดย นายมานิต วสุวัต บทภาพยนตร์โดย หลวงบุณยมานพพานิช ถ่ายภาพโดย หลวงกลการเจนจิต ตัดต่อโดย นายกระเศียร กำกับโดย หลวงอนุรักษ์รัถการ นอกจากนี้ยังได้จ้างทีมงานบางส่วน และอุปกรณ์การถ่ายทำ จากกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการ ผลิตภาพยนตร์ที่มีศักยภาพที่สุด ในขณะนั้นมาช่วยถ่ายทำด้วย เรื่องราวของ ’โชคสองชั้น’ เป็นเรื่องราวของ กมล นายอำเภอหนุ่มที่ได้รับมอบหมายให้มาจับโจรร้ายที่หลบหนีมาซ่อนตัวในกรุงเทพฯ ในระหว่างนี้ กมลได้พบรักกับ วลี นางเอกที่มีหนุ่มหมายปองอยู่แล้ว คือ วิง ซึ่งเป็นคนร้ายที่พระเอกตามหาอยู่ ในที่สุดพระเอกก็ตามจับคนร้ายได้ จึงเป็นที่มาของชื่อเรื่อง ’โชคสองชั้น’ คือได้ทั้งจับคนร้ายและได้พบรักกับนางเอก หอสมุดแห่งชาติได้ค้นพบฟิล์มและพิมพ์สำเนาใหม่เอาไว้ได้เพียง 42 ฟุต คิดเป็นภาพนิ่งทั้งหมด 1,319 ภาพ รวมความยาวประมาณ 1 นาที แต่ก็นับว่าเป็นนาทีที่มีคุณค่า เพราะเป็นประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยในยุคเริ่มต้น


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 31 กรกฎาคม 2012, 04:41:07
  วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๓๑ กรกฏาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๑๓  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
......................................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2466 รถแท็กซี่ (Taxi) เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เพื่อช่วยทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่ 1 ให้มีอาชีพหลังจากปลดจากราชการ โดยนำเอารถเก๋งออสติน (Austin)ขนาดเล็กออกวิ่งรับจ้าง โดยติดป้ายรับจ้างไว้ข้างหน้า-หลังของตัวรถ คิดค่าโดยสารเป็นไมล์ โดยตกไมล์ละ 15 สตางค์ ซึ่งนับว่าแพงมากเมื่อเทียบราคากับค่าโดยสารในปัจจุบัน ในสมัยนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า "รถไมล์" เพราะเก็บค่าโดยสารตามเลขไมล์ระยะทางที่วิ่ง ในสมัยบุกเบิกใหม่ ๆ นั้นมีรถแท็กซี่อยู่เพียง 14 คัน แต่ก็ประสบปัญหาขาดทุนจนต้องเลิกกิจการในที่สุด เนื่องจากค่าโดยสารแพง***
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2466  : เริ่มมีรถแท็กซี่ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
     31 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 รถแท็กซี่ (Taxi) เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย โดย พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อช่วยทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่ 1 ให้มีอาชีพหลังจากปลดจากราชการ โดยนำเอารถเก๋งออสติน (Austin) ขนาดเล็กออกวิ่งรับจ้าง โดยติดป้ายรับจ้างไว้ข้างหน้า-หลังของตัวรถ คิดค่าโดยสารเป็นไมล์ โดยตกไมล์ละ 15 สตางค์ ซึ่งนับว่าแพงมากเมื่อเทียบราคากับค่าโดยสารในปัจจุบัน ในสมัยนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า "รถไมล์" เพราะเก็บค่าโดยสารตามเลขไมล์ระยะทางที่วิ่ง ในสมัยบุกเบิกใหม่ ๆ นั้นมีรถแท็กซี่อยู่เพียง 14 คัน แต่ก็ประสบปัญหาขาดทุนจนต้องเลิกกิจการในที่สุด เนื่องจากค่าโดยสารแพง ผู้ใช้บริการยังไม่คุ้นเคยจึงไม่ยอมนั่ง ประกอบกับเมืองกรุงเทพฯ ยังมีขนาดเล็ก และมีรถรับจ้างอื่น ๆ อยู่มากและราคาถูกกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2490 ก็มีผู้นำรถยนต์นั่งมาให้บริการในลักษณะรถแท็กซี่อีกครั้ง รถที่นำมาบริการในช่วงนั้นเป็นรถยี่ห้อ เรโนลต์ (Renault) สมัยนั้นจึงเรียกแท็กซี่ว่า "เรโนลต์" ได้รับความนิยมจากคนทั่วไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากสะดวกรวดเร็วกว่ารถจักรยานสามล้อถีบ ซึ่งมีชุกชุมในยุคนั้น ด้วยเหตุนี้ทำให้อาชีพขับรถแท็กซี่เป็นที่ฮือฮา มีผู้นำรถเก๋งไปทำเป็นรถแท็กซี่กันมากขึ้น จนระบาดไปต่างจังหวัด จนต้องมีการควบคุมกำหนดจำนวนรถมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันแท็กซี่ในเมืองไทยเป็นรถปรับอากาศ ติดมิเตอร์คิดอัตราค่าโดยสารตามระยะทางและเวลา โดยเริ่มต้นที่ 35 บาท พร้อมทั้งมีมีวิทยุสื่อสาร บางคันอาจมีทีวีให้ดูในระหว่างการเดินทางด้วย


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 01 สิงหาคม 2012, 13:20:32
     วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๑๔  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
......................................
1สิงหาคมในอดีต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) คุมกองทัพจากกรุงเทพฯ สมทบด้วยกำลังจากมณฑลพิษณุโลกแลพมณฑลพายัพ ไปปราบปรามกบฏโจรเงี้ยวที่จังหวัดแพร่ ได้เป็นผลสำเร็จ

๒๔๖๐

วันสถาปนา กรมจเรทหารเรือ โดยที่จอมพลเรือ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ได้ตราข้อบังคับกระทรวงทหารเรือให้จัดตั้ง กรมจเรทหารเรือ ขึ้น โดยมีจเรทหารเรือเป็นประธาน ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ

๒๔๗๔

วันเกิด พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 03 สิงหาคม 2012, 07:17:03
    วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
....................................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2500 การประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทอง จัดขึ้นเป็นครั้งแรก***

การประกวดภาพยนตร์ ชิงรางวัลตุ๊กตาทอง และสำเภาทอง ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2500 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี จัดโดยหอการค้ากรุงเทพ โดยมีนายสงบ สวนสิริ เป็นประธานกรรมการ

เนื่องจากการประกวดครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีแรก ทางผู้จัดงานจึงไม่ได้จำกัดปีของภาพยนตร์ ทำให้มีภาพยนตร์ไทยทั้งเก่าและใหม่เข้าประกวดปะปนกัน ทั้งสิ้น 52 เรื่อง มีภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในระบบ 35 มม.เข้าประกวด 4 เรื่อง คือ ชั่วฟ้าดินสลาย (2498) (หนุมานภาพยนตร์) จอมไพร (2500) (วิจิตรเกษมภาพยนตร์) ถ่านไฟเก่า (2500) และ สองพี่น้อง (2501) (อัศวินภาพยนตร์) และภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในระบบ 16 มม. จำนวน 48 เรื่อง

ผลการประกวดภาพยนตร์มีการประกาศอย่างเป็นทางการในงานบอลรูม ณ สวนลุมพินีสถาน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2500 มีการชุมนุมดาราภาพยนตร์ นักแสดงและผู้ประกอบอุตสาหกรรมภาพยนตร์ มีการลีลาศชิงรางวัล แต่ปรากฏว่าผลการประกวดภาพยนตร์ไทยในครั้งนี้ กลับมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ และนิตยสารก่อนวันงาน

ประวัติการประกวดภาพยนตร์ชิงรางวัลตุ๊กตาทอง มีแนวคิดเริ่มแรกมาจากบทความของนายสงบ สวนศิริ ในนิตยสารตุ๊กตาทอง เมื่อ พ.ศ. 2496 [1] ที่จะจัดการประกวดภาพยนตร์ในปีนั้น แต่แล้วก็ไม่ได้จัด

การประกวดภาพยนตร์ เกิดขึ้นได้ในที่สุด ในปี พ.ศ. 2500 โดยการสนับสนุนของ หอการค้ากรุงเทพ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ "งานสัปดาห์แห่งการแสดงอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม" ของหอการค้ากรุงเทพฯ ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2500 มีการแต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินงาน มีนายสงบ สวนสิริ เป็นประธาน และคณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์ ประกอบด้วย นักประพันธ์ นักวิจารณ์ นักเซ็นเซอร์ นักหนังสือพิมพ์ และผู้ที่ดูภาพยนตร์เป็นประจำ ประกอบด้วย พ.ท.จง แปลกบรรจง, พ.ต.ต.ปรีชา จงเจริญ, พ.ต.ต.ประสัตถ์ ปันยารชุน, แก้ว อัจฉริยกุล, ศักดิ์เกษม หุตาคม, ระบิล บุนนาค, ลมูล อติพยัคฆ์, กาญจนา ศยามานนท์, และเถาวัลย์ มงคล [2]



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 04 สิงหาคม 2012, 09:37:21
     วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๒  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
....................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์และเปิดทำการไปรษณีย์อย่างเป็นทางการ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า ไปรษณียาคาร***
ยุคเริ่มก่อตั้งระบบไปรษณีย์ของประเทศไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจการไปรษณีย์ในสมัยแรกคือ กรมไปรษณีย์ เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไปรษณียาคาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองโอ่งอ่าง ปัจจุบันรื้อทิ้งเพื่อสร้างสะพานพระปกเกล้า (แต่มีการสร้างใหม่ที่ตำแหน่งใกล้เคียงเพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในอนาคต)

ในระยะแรกที่ให้บริการ ครอบคลุมเฉพาะกรุงเทพเท่านั้น เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 จึงเริ่มขยายไปต่างจังหวัดโดยเปิดที่ทำการไปรษณีย์ที่สมุทรปราการและนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง ในปัจจุบัน) และขยายต่อจนถึงเชียงใหม่ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ส่วนบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ เริ่มเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 หลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์

ในปี พ.ศ. 2441 กรมไปรษณีย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข หลังจากมีการควบรวมเอา กรมไปรษณีย์ และ กรมโทรเลข ซึ่งดูแลงานด้านโทรเลข เข้าด้วยกัน เมื่อ พ.ศ. 2483 ได้มีการเปิด ที่ทำการไปรษณีย์กลาง ขึ้นบนถนนเจริญกรุง เขตบางรัก และใช้เป็นที่ทำการของกรมไปรษณีย์โทรเลข

[แก้] ยุครัฐวิสาหกิจเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้เปลี่ยนสถานะจากหน่วยงานราชการมาเป็นรัฐวิสาหกิจใช้ชื่อว่า การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)[1]

และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546[2] มีการปรับโครงสร้างอีกครั้งตามนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยแยกการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นผู้ดูแล บริการด้านไปรษณีย์ทั้งหมด มีสำนักงานใหญ่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 06 สิงหาคม 2012, 05:43:30
วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๔  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
...............................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ (ลิตเติลบอย) ถล่มนครฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 80,000 คน สิ้นปีมีผู้เสียชีวิตอีก 60,000 คน จากการได้รับกัมมันตภาพรังสี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตรวมจากเหตุการณ์นี้ราว 200,000 คน ***
...................

dRQrfavpqz0

...................

qdoGFRkMnsU

..................



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: @เชียงแสน ที่ วันที่ 06 สิงหาคม 2012, 21:05:04
 :)...อีกหนึ่งกระทู้ความรู้ดีดี ที่ผมเข้ามาอ่านเสมอ ๆ ครับ...  :)


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 07 สิงหาคม 2012, 05:37:17
วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๕  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
...............................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) วันเสียงปืนแตก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ใช้กำลังอาวุธโจมตีกองกำลังของรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กองกำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอก ประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ตำบลเรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ***
“วันเสียงปืนแตก”


การดำเนินงานของขบวนการคอมมิวนิสต์ เพื่อจะเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย ให้เป็นรัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั้น


ได้ดำเนินมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้จัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) ขึ้นในปลายปี พ.ศ.2485


เป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎ หมาย แต่ได้ดำเนินการอันเป็นปฏิปักษ์กับการปกครองของไทยเรื่อยมา


ครั้นในปี พ.ศ.2492 เมื่อถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามจับกุม จึงเคลื่อนไหวออกจากเมืองเข้าสู่ป่า จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ และดำ เนินการต่อต้านอำนาจรัฐรุนแรงขึ้น


จนกระทั่งรัฐบาลต้องประกาศใช้ พ.ร.บ.การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ.2495 และเมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2501 ได้ทำการปราบปรามขั้นเด็ดขาด ได้ประหารชีวิตบุคคลซึ่งเป็นแกนนำของฝ่าย พคท.เช่น นายครอง จันดาวงศ์ และนายรวม วงศพันธ์ เป็นต้น

พคท.จึงปรับยุทธศาสตร์การต่อสู้ โดยใช้แนวคิดของ เหมา เจ๋อ ตุง คือยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” ปลุกระดมมวลชนชาวไร่ชาวนาในชนบทให้เข้าร่วมขบวนการเป็นแนวร่วม


จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ สถานปนาฐานที่มั่น และขยายเขตงาน จนกระทั่งสถานการณ์เอื้ออำนวย คืองานการเมืองสุกงอม ประชาชนแนวร่วมและกองกำลัง พร้อมที่จะจับอาวุธต่อสู้กับอำนาจรัฐแล้ว สงครามกองโจรจึงระเบิดขึ้นเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2508 อันเป็นที่มาของ “วันเสียงปืนแตก”

เครดิตโดย...
http://www.baanmaha.com/community/thread36253.html


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 07 สิงหาคม 2012, 05:39:50
:)...อีกหนึ่งกระทู้ความรู้ดีดี ที่ผมเข้ามาอ่านเสมอ ๆ ครับ...  :)
ขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ;D


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 08 สิงหาคม 2012, 05:34:12
วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๖  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
...............................
ติดตามต่อได้ที่.....
http://www.bothong.ac.th/S32102/chapter4_50.html

***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) สงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันเริ่มยุทธการแห่งบริเตน โดยส่งฝูงบินไปทิ้งระเบิดเกาะอังกฤษ***
สงครามโลกครั้งที่สอง (อังกฤษ: World War II หรือ Second World War[note 1]; มักย่อว่า WWII หรือ WW2) เป็นความขัดแย้งทางทหารในระดับโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1939 ถึง 1945 ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด ประเทศผู้ร่วมสงครามรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางทหารสองฝ่ายคู่สงคราม คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ระหว่างสงคราม
มีการระดมทหารมากกว่า 100 ล้านนาย ด้วยลักษณะของ "สงครามเบ็ดเสร็จ" ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักได้ทุ่มเทขีดความสามารถ
ทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อความพยายามของสงครามทั้งหมด โดยไม่เลือกว่าทรัพยากรนั้นจะเป็นของพลเรือน
หรือทหาร ประมาณกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[3][4] ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็น
สงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด[5] และนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ[6] ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 40 ถึงมากกว่า 70 ล้านคน
เครดิตติดตามต่อที่...
http://www.bothong.ac.th/S32102/chapter4_50.html




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 10 สิงหาคม 2012, 08:59:32
วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๘  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
...............................
     เนื่องจากมีปัญหาในการนำเสนอ..
โปรดติดตามได้ในเครดิตนี้...
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D_%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งแรก มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก ผลการเลือกตั้ง นายธรรมนูญ เทียนเงิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งไป ***
นายธรรมนูญ เทียนเงิน เป็นชาวจังหวัดชลบุรี[1] ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2513 ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2518 นับเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 5 ต่อจาก นายใหญ่ ศวิตชาติ ระหว่างนี้เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยช่วงสั้น ๆ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ถึง 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 35 ของไทย) พ้นตำแหน่งพร้อมกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะเนื่องจากการแถลงนโยบายของรัฐบาลไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จากพรรคกิจสังคม ได้รับการสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยโดยพรรคกิจสังคมที่มีเพียง 18 เสียงเป็นแกนนำ

นายธรรมนูญ เทียนเงิน ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ถึง 29 เมษายน พ.ศ. 2520 โดยได้รับเลือกตั้งตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก การเลือกตั้งมีขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 นายธรรมนูญ เทียนเงิน ลงเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยคะแนนเสียง 99,247 คะแนน โดยในครั้งนั้นมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง เพียงร้อยละ 13.86

ซึงในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สมัครที่น่าสนใจคือ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ หัวหน้ากองวิชาการจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ที่เพิ่งลาออกมาเข้าสู่วงการเมืองเป็นครั้งแรกในนาม พรรคพลังใหม่ และในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้รับคะแนนเสียงในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในเป็นจำนวนมาก แต่พ่ายแพ้คะแนนในเขตชั้นนอก เช่น หนองแขม มีนบุรี ซึ่งมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์โดยรวมสูงถึงร้อยละ 80 ทำให้ นายธรรมนูญ เทียนเงิน ชนะการเลือกตั้ง หลังดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่นาน นายธรรมนูญ ได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ โดยมี นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ ได้รับเลือกตั้งจากพรรคให้ดำรงตำแหน่งแทน



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 12 สิงหาคม 2012, 13:33:42

rjEEzt1KLjU&feature=related
....................
ทรงพระเจริญ
...................
วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑๐  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
...............................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) วันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ***
โปรดติดตามในลิ้งค์นี้...
http://queen.kapook.com/history.php


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 13 สิงหาคม 2012, 05:46:56
วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑๑  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
.....................
เครดิตที่...
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2e3a564f1f249ef6

***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเยอรมนีตะวันออก เริ่มก่อสร้างกำแพงเบอร์ลิน***
ผลจากการย้ายออกของชาวเยอรมันตะวันออก ที่มีมากเกินการควบคุม รัฐบาลเยอรมันตะวันออกในขณะนั้น จึงได้สร้างกำแพงกั้นระหว่างประเทศเยอรมันตะวันออก และเยอรมันตะวันตก ว่ากันว่า แนวกำแพงที่กั้นระหว่างสองประเทศนี้ยาวเป็นอันดับสองรองจากกำแพงเมืองจีนทีเดียว

ในส่วนของกรุงเบอร์ลิน นครหลวงของประเทศทั้งสอง มีที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศเยอรมันตะวันออก ดังนั้น นครเบอร์ลินฝั่งตะวันตก จึงถูกปิดล้อมด้วยเยอรมันตะวันออกรอบด้าน ในระยะแรก การเดินทางเข้าออกระหว่างเบอร์ลินตะวันออก และเบอร์ลินตะวันตก เป็นไปโดยเสรี กระทั่งเมื่อมีการอพยพของชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมาก เป็นเหตุให้รัฐบาลเยอรมันตะวันออกเร่งสร้างกำแพงเพื่อปิดกั้นการย้ายถิ่นของชาวเยอรมัน ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นวันแรกที่มีการสร้างกำแพงเพื่อปิดล้อมกรุงเบอร์ลินตะวันตก และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นในยุคนั้น

กำแพงเบอร์ลิน ถูกใช้งานเป็นเวลา 28 ปี ในช่วงเวลานี้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบของกำแพงถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งจะเพิ่มความแข็งแรง และความสูงของกำแพงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการหลบหนีของชาวเยอรมันตะวันออก เนื่องจากกำแพงกันระหว่างเยอรมันตะวันออก และเยอรมันตะวันตก มีจุดเปราะบางที่สุดที่กรุงเบอร์ลินนี่เอง กำแพงเบอร์ลินทั้ง 4 รุ่นมีพัฒนาการดังนี้

กำแพงรุ่นที่ 1 เริ่มสร้างเมื่อวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นแนวรั้วลวดหนาม เป็นการสร้างชั่วคราวเพื่อป้องกันการอพยพของประชาชน เป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่มีอายุใช้งานสั้นที่สุด
กำแพงรุ่นที่ 2 เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ถูกสร้างขึ้นแทนกำแพงรั้วลวดหนามทันทีที่กำแพงรั้วลวดหนามเสร็จสมบูรณ์ แต่กำแพงก่ออิฐถือปูนนี้ก็ไม่แข็งแรงพอที่ปิดกั้นความปรารถนาในการแสวงหาเสรีภาพของประชาชน มีความพยายามในการหลบหนีด้วยการทำลายกำแพงเกิดขึ้นหลายครั้ง
กำแพงรุ่นที่ 3 เป็นรั้วคอนกรีตสำเร็จรูป ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และความสูงเพิ่มขึ้น
กำแพงรุ่นที่ 4 ถูกสร้างในปี ค.ศ. 1975 เป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปขนาดกว้าง 1.2 เมตร สูง 3.6 เมตร จำนวนกว่า 45,000 แผ่นถูกต่อเป็นแนวรอบกรุงเบอร์ลินตะวันตกเชื่อมต่อด้วยท่อคอนกรีตที่ด้านบนกำแพง กำแพงรุ่นนี้ถูกใช้งานจนกระทั่งถึงการล่มสลายในปี ค.ศ. 1989 และเป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ในการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ 4 ใช้งบประมาณสูงถึงกว่า 1,650 ล้านมาร์ก ณ ขณะนั้นทีเดียวสำหรับประชาชนเยอรมันทั้งตะวันตก และตะวันออก และประชาคมโลกในระบบประชาธิปไตย กำแพงเบอร์ลิน เปรียบเสมือนการปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน ว่ากันว่า กำแพงเบอร์ลิน เป็นกำแพงแห่งเดียวในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปิดกั้นประชาชนในประเทศของตนจากโลกภายนอก ในขณะที่กำแพงเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกนั้นมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้ามารุกรานเสรีภาพของชาวเมือง ในทางกลับกัน สหภาพโซเวียต ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างกำแพงเบอร์ลิน กลับมองว่า กำแพงเบอร์ลิน คือนวัตกรรมของชนชาติ


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 15 สิงหาคม 2012, 08:41:04
วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑๓  ค่ำ  เดือน ๘/๘ (เดือนสิบ / สิบ เหนือ) ปีมะโรง
.....................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) มีการประกาศตัดถนนหลวงสายใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า ราชดำเนิน ***
ถนนราชดำเนิน (อังกฤษ: Ratchadamnoen Road, Ratchadamnoen Avenue, Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก่

ถนนราชดำเนินใน (Thanon Ratchadamnoen Nai) อยู่ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร มีระยะทางตั้งแต่ถนนหน้าพระลาน เลียบสนามหลวงด้านทิศตะวันออก ขึ้นไปทางทิศเหนือจนถึงสะพานผ่านพิภพลีลา
ถนนราชดำเนินกลาง (Thanon Ratchadamnoen Klang) อยู่ในท้องที่แขวงตลาดยอดและแขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร มีระยะทางตั้งแต่สะพานผ่านพิภพลีลา ไปทางทิศตะวันออก ผ่านสี่แยกคอกวัว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และป้อมมหากาฬ สิ้นสุดที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ถนนราชดำเนินนอก (Thanon Ratchadamnoen Nok) มีระยะทางตั้งแต่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในท้องที่แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร ตัดกับถนนวิสุทธิกษัตริย์ (สี่แยก จ.ป.ร.) เข้าสู่ท้องที่แขวงบางขุนพรหม ตัดกับถนนกรุงเกษม (สี่แยกมัฆวานรังสรรค์) เข้าสู่ท้องที่แขวงดุสิต เขตดุสิต จากนั้นตัดกับถนนพิษณุโลก (สี่แยกสวนมิสกวัน) และมุ่งไปทางทิศเดิมจนถึงถนนศรีอยุธยา (สี่แยกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า)
ประวัติถนนราชดำเนินเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2442 เพื่อเป็นที่เสด็จพระราชดำเนินระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังดุสิต เพื่อความสง่างามของบ้านเมืองและเพื่อให้ประชาชนได้เดินเที่ยวพักผ่อน จึงมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนราชดำเนินให้กว้างที่สุด และให้สองฟากถนนเป็นที่ตั้งวังและสถานที่ราชการใหญ่ ๆ มิให้สร้างตึกแถวหรือร้านเล็ก ๆ ซึ่งจะทำให้กลายเป็นย่านการค้า โดยในชั้นแรกนั้นมีพระราชดำริว่า เมื่อสร้างถนนที่ตำบลบ้านพานถมจะต้องรื้อป้อมหักกำลังดัสกร น่าจะรักษาชื่อป้อมไว้ใช้เป็นชื่อถนน แต่จะเรียกว่าถนนหักกำลังดัสกร "ก็ดูแปลไม่ได้ความกันกับถนน แต่พักเอาไว้ตรองทีหนึ่ง ควรจะต้องตั้งชื่อให้ทันก่อนตัดถนน"

สาเหตุของการตัดถนนเนื่องจากมีพระราชดำริว่า ท้องที่ตำบลบ้านพานถมถึงท้องที่ตำบลป้อมหักกำลังดัสกรเป็นที่เรือกสวนเปลี่ยวอยู่ระหว่างถนนพฤฒิบาศ (ปัจจุบันคือถนนนครสวรรค์) กับถนนสามเสน ยังไม่เป็นที่สมบูรณ์ทันเสมอท้องที่ตำบลอื่น เพราะยังไม่มีถนนหลวงที่จะทำให้ประชาชนทำการค้าขายสะดวกขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นโดยตัดตั้งแต่ปลายถนนพระสุเมรุ ข้ามคลองรอบกรุงที่ตำบลบ้านพานถม ตรงไปยังป้อมหักกำลังดัสกร ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมบรรจบกับถนนเบญจมาศ (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของถนนราชดำเนินนอก) พระราชทานนามว่า "ถนนราชดำเนิน" เช่นเดียวกับถนนควีนส์วอล์ก (Queen’s walk) ในกรีนปาร์ก (Green Park) ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการและอธิบดีกรมสุขาภิบาล เป็นพนักงานจัดสร้างถนนราชดำเนิน ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายถนนราชดำเนินไปตัดทางในตำบลบ้านหล่อ เพื่อให้ถนนตรงได้แนวตลอดถนนเบญจมาศด้วย และโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเทวียุรยาตร (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปไตย) ผ่านตำบลบ้านพานถมขึ้นแทน ถนนราชดำเนินนอกเริ่มตั้งแต่ถนนพฤฒิบาศ ผ่านตำบลบ้านหล่อไปออกตำบลป้อมหักกำลังดัสกร ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปบรรจบกับถนนเบญจมาศ ถือเป็นถนนสายแรกที่ใช้วิธีการใช้ค่าที่ดินในการเวนคืนเพื่อตัดถนน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดถนนราชดำเนินนอก สะพานมัฆวานรังสรรค์ และถนนเบญจมาศ เนื่องในอภิลักขิตสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษา ใน พ.ศ. 2444 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนราชดำเนินกลาง ตั้งแต่สะพานเสี้ยว ตรงไปข้างคลองบางลำพูต่อกับถนนราชดำเนินนอก จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกถนนราชดำเนินช่วงแรกว่าถนนราชดำเนินนอก ต่อมามีการก่อสร้างถนนราชดำเนินในมาจดถนนหน้าพระลาน โดยสร้างขยายแนวถนนจักรวรรดิวังหน้าเดิม เริ่มจากมุมถนนหน้าพระลานและถนนสนามไชย มาบรรจบกับย่านริมสนามหลวงด้านตะวันออก ไปบรรจบถนนราชดำเนินกลางที่สะพานผ่านพิภพลีลา แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2446

ถนนราชดำเนินเป็นถนนที่สวยงามและเป็นศรีสง่าของบ้านเมือง ตั้งแต่แรกสร้างมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย โดยจะถูกใช้เป็นสถานที่ชุมทางการเมืองในช่วงวิกฤตการณ์ของประเทศหลายต่อหลายครั้ง [1] [2]



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 20 สิงหาคม 2012, 12:07:18
วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๓  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
.....................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) - มีการประหารชีวิตนักโทษด้วยการตัดศีรษะเป็นครั้งสุดท้ายในประเทศไทย ***
การประหารชีวิต อดีต - ปัจจุบัน

      การลงโทษประหารชีวิต เป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุดที่พึงใช้ต่อผู้กระทำความผิด ถือได้ว่าเป็น การลง
โทษที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายของการประหารชีวิตคือ การกำจัดผู้กระทำ
ผิดให้พ้นไปจากสังคมด้วยวิธีการฆ่า ในสมัยโบราณการลงโทษประหาร เรียกว่า "กุดหัว" โดยใช้ดาบฟันคอ
นักโทษเด็ดขาด ดาบที่ใช้ในการประหารมีรูปร่างต่างๆ กัน ครูเพชฌฆาตเป็น ผู้จัดทำดาบขึ้น มีดาบปลาย
แหลม ดาบปลายตัด และดาบหัวปลาไหล การประหารชีวิตครั้งใดจะใช้ดาบชนิดใด ให้อยู่ในดุลพินิจของครู
เพชฌฆาต

      เพชฌฆาตผู้ทำหน้าที่ประหารชีวิตมี 3 คน คือ ดาบที่หนึ่ง และตัวสำรองอีก 2 คน เรียกว่า ดาบสอง และ
ดาบสาม ถ้าดาบหนึ่งฟันคอไม่ขาด ดาบสองจะต้องซ้ำ ถ้ายังไม่ขาดดาบสามก็ต้องเชือดให้ขาด
      พิธีการประหารชีวิตด้วยดาบ มีวัตถุเครื่องมือใช้และพิธีทางไสยศาตร์หลายอย่าง เช่นมีสายมงคลล้อม
รอบบริเวณประหาร กันผีตายโหงจะเฮี้ยน การตัดสายมงคลต้องใช้มีดโดยเฉพาะ จะใช้ของอื่นไม่ได้ เป็นต้น
      ในสมัยรัชกาลที่ 5 การประหารชีวิตนักโทษด้วยดาบมักทำพิธีกันที่วัด โดยคุมตัวผู้ต้องโทษประหาร
เดินทางโดยทางเรือออกจากคุกในลักษณะจองจำครบ 5 ประการ ดังจะสรุปขั้นตอนของการประหารชีวิตด้วย
ดาบ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ดังนี้คือ

       1. เมื่อลูกขุน ณ ศาลาลูกขุน ณ ศาลหลวง วางโทษประหารชีวิต ก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประหารชีวิต
            2. ก่อนจะนำตัวไปประหารชีวิต จะต้องถูกเฆี่ยน 3 ยกๆละ 30 ที รวม 90 ที
            3. จัดอาหารคาวหวานมื้อสุดท้ายให้นักโทษกินก่อนประหาร และนิมนต์พระมาเทศน์ให้ฟัง
            4. นักโทษประหารถูกจับนั่งมัดกับหลักไม้กางเขนแบบกาจับหลัก
            5. เพชฌฆาตเอาดินเหนียวอุดหู อุดปาก และแปะไว้ที่ต้นคอนักโทษ เพื่อกำหนดตรงที่จะฟันจาก
นั้นเพชฌฆาตดาบสองจะร่ายรำไปมา เพื่อรอจังหวะให้จิตนักโทษสงบ พร้อมกับเพชฌฆาตดาบหนึ่งลงดาบ
ฟันคอทันที
            6. เมื่อประหารแล้ว เจ้าหน้าที่จะตัดส้นเท้า เพื่อถอดตรวนออกแล้วสับร่างกายหรือแล่เนื้อให้ทาน
แก่แร้งกา
            7. เอาหัวเสียบประจาน

            ปัจจุบันการลงโทษประหารชีวิตผู้กระทำผิดได้เปลี่ยนจากการประหารชีวิตด้วยดาบมาเป็นการ
ประหารชีวิตด้วยปืน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 เป็นต้นมา เรียกว่า การยิงเป้า วิธีการประหารชีวิตจะเริ่มขึ้นโดยเจ้า
หน้าที่อ่านคำสั่งศาลและฎีกาทูลเกล้าซึ่งพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานฯ คืนมาให้ผู้ต้องโทษฟังและลงชื่อรับ
ทราบ ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนประวัติให้ถูกต้องและอนุญาตให้
ผู้ต้องโทษจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการจำเป็นอื่นใดเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วจึงให้ผู้ต้องโทษฟัง
เทศน์จากพระภิกษุสงฆ์หรือนักพรตในนิกายศาสนาที่ผู้ต้องโทษเลื่อมใสแล้วให้รับประทานอาหารเป็นมื้อ
สุดท้าย จากนั้นนำผู้ต้องโทษเข้าสู่หลักประหารซึ่งเป็นลักษณะเป็นไม้กางเขนมีความสูงขนาดไหล่ โดยผู้ต้อง
โทษจะถูกมัดด้วยด้ายดิบ ให้ยืนหันหน้าเข้าหลักประหารซึ่งมีไม้นั่งคร่อม ป้องกันมิให้ผู้ต้องโทษยืนตัวงอ
หรือเข่าอ่อน ข้อมือทั้งสองผูกมัดติดกับหลักประหารในลักษณะประนมมือ กำดอกไม้ธูปเทียนไว้ เจ้าหน้าที่
นำฉากประหารซึ่งมีเป้าวงกลมติดอยู่กับฉาก ตั้งเล็งให้เป้าอยู่ตรงจุดกลางหัวใจของผู้ต้องโทษ ห่างจากด้าน
หลังผู้ต้องโทษประมาณ 1 ฟุต เพื่อกำบังมิให้เจ้าหน้าที่ผู้ลั่นไกปืนเห็นตัวผู้ต้องโทษ แท่นปืนประหารตั้งอยู่
ห่างจากฉากประหารประมาณ 4 เมตร เมื่อพร้อมแล้วเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณ โดยโบกธงสีแดง ผู้ทำหน้าที่ลั่น
ไกปืน คณะกรรมการประหารชีวิตร่วมกันตรวจสอบจนแน่ใจว่านักโทษถึงแก่ความตายอย่างแท้จริง จากนั้น
เจ้าหน้าที่จะจัดพิมพ์ลายนิ้วนักโทษประหารเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อยืนยันว่าไม่ประหารชีวิตผิดตัว

 



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: -_-@บ่าวเจียงฮาย@ ที่ วันที่ 20 สิงหาคม 2012, 14:18:33
ขอบคุณครับตี้เอาเรื่องดีๆ มาหื้ออ่าน บางเรื่องก็เกิดตัน บางเรื่องก็เกิดบ่ตัน บางเรื่องฮู้จากหนังสือประวัติศาสตร์ บางเรื่องกำลังฮู้ก่มีครับ


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 23 สิงหาคม 2012, 13:40:14
วันนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๖  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
.....................

***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) โอลิมปิกฤดูร้อน 2008ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน สมจิตร จงจอหอ นักมวยทีมชาติไทย คว้าเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก โดยชนะคู่ชกชาวคิวบา มนัส บุญจำนงค์ นักมวยทีมชาติไทย คว้าเหรียญเงินกีฬาโอลิมปิก*** เ ร้อยเอก ดร.สมจิตร จงจอหอ (สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย) เป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นชาวไทย เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2 สมัย เหรียญทองซีเกมส์ 3 สมัย และได้รับเกียรติให้เป็นผู้เชิญธงชาติไทย นำคณะนักกีฬาทีมชาติไทย ในพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ประวัติสมจิตร จงจอหอ มีชื่อเล่นว่า "น้อย" เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2518 ที่ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของ นายเช้า และนางฝ้าย จงจอหอ สมรสกับ นางศศิธร (นามสกุลเดิม: เนาว์ประเสริฐ) หลังจากนั้นย้ายภูมิลำเนาตามบิดา มารดาไปอยู่และเติบโตที่ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันย้ายกลับมาอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ เด็กชายอภิภู จงจอหอ (ชื่อเล่น: กำปั้น)
สมจิตร จบการศึกษาจากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันมวยรายการต่างๆ มากมาย อาทิ เวิลด์แชมเปียนชิพ, มวยทหารโลก, เอเชียนเกมส์[1] โดยก่อนชกมวยสากลสมัครเล่น สมจิตรเคยเป็นนักมวยไทยมาก่อน ใช้ชื่อว่า "ศิลาชัย ว.ปรีชา" นอกจากนี้แล้วได้ยังรับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย

สมจิตร ได้รับการคาดหมายให้เป็นตัวเต็งในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และเอเชียนเกมส์ 2006 แต่ไม่สามารถคว้าเหรียญรางวัลได้ตามคาด ทำให้สมจิตรเกิดความท้อแท้ใจ จนเกิดความคิดจะแขวนนวมถึง 2 ครั้ง แต่ท้ายที่สุดก็กลับมาตั้งต้นพยายามใหม่[2]

หลังจากนั้น ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 สามารถคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันในรุ่น 51 กิโลกรัม ได้สำเร็จ โดยชนะอันดริส ลาฟฟิตา นักมวยชาวคิวบา ที่สมจิตรเคยแพ้ เมื่อครั้งแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิพ เมื่อปี พ.ศ. 2548[3]

สมจิตรเคยรับหน้าที่เป็นพิธีกรในรายการ เช้านี้...ที่หมอชิต และรับงานบันเทิงเป็นครั้งคราว

[แก้] ผลงาน[แก้] โอลิมปิกเอเธนส์ 2004

ชนะ คิม กี-ซุก (เกาหลีใต้) 22-12
แพ้ ยูริออคิส แกมบัว (คิวบา) 21-26
ปักกิ่ง 2008

ชนะ เอ็ดดี วาเลนซูเอลา (กัวเตมาลา) 6-1
ชนะ ซาเมียร์ แมมมาดอฟ (อาร์เซอร์ไบจัน) 10-2
ชนะ อันวาร์ ยูนูซอฟ (ทาจิกิสถาน) 8-1
ชนะ วินเซนโซ พิคาดี (อิตาลี) 7-1
ชนะ อันดริส ลาฟฟิตา (คิวบา) 8-2
[แก้] กีฬาเหรียญทอง กรีนฮิลคัพ พ.ศ. 2541 ประเทศปากีสถาน
เหรียญทอง ซีเกมส์ พ.ศ. 2542 ประเทศบรูไน
เหรียญทอง ซีเกมส์ พ.ศ. 2544 ประเทศมาเลเซีย
เหรียญทอง ชิงแชมป์เอเซีย พ.ศ. 2545 ประเทศมาเลเซีย
เหรียญทองเอเซียนเกมส์ พ.ศ. 2545 ประเทศเกาหลี [4]
เหรียญทองแดง โกลเด้นเบลท์ พ.ศ. 2546 ประเทศโรมาเนีย
เหรียญทองเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ พ.ศ. 2546 ประเทศไทย
เหรียญทอง ซีเกมส์ พ.ศ. 2547 ประเทศเวียดนาม
เหรียญทองแดงชิงแชมป์เอเซีย พ.ศ. 2547 ประเทศฟิลิปปินส์
เหรียญเงินเอเซียนเกมส์ พ.ศ. 2549 ประเทศกาตาร์ [4]
เหรียญทอง มวยทหารโลก พ.ศ. 2550 ประเทศแอฟริกาใต้
เหรียญทอง ซีเกมส์ พ.ศ. 2550 ประเทศไทย
เหรียญเงินเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ พ.ศ. 2550 ประเทศสหรัฐอเมริกา
เหรียญทองโอลิมปิกฤดูร้อน พ.ศ. 2551 ประเทศจีน
[แก้] บันเทิงพิธีกรรายการ เช้านี้...ที่หมอชิต ช่วง กีฬาไทย กีฬาโลก ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 06.00 -07.30 น. (1 มิถุนายน 2552 - ปัจจุบัน, ไม่ได้จัดประจำ)
พิธีกรรายการ Healthy Trip ออกอากาศทุกวันจันทร์ 19.30-20.00 น. ทาง T Sports Channel ช่อง True Visions 68, KU BAND 12657 MHz และทางช่องเคเบิล TV ท้องถิ่น
เป็นนักปั้นฝันในรายการ The Trainer ปั้นฝันสนั่นเวที ปี 3
ผลงานเพลงชุด "นักรักสมัครเล่น"
[แก้] ละครโทรทัศน์เทวดา... สาธุ(รับเชิญตอน เธอผู้ไม่แพ้) ออกอากาศวันที่ 12 ตุลาคม 2551 ทางช่อง 3
ละครเทิดพระเกียรติ เรื่อง ปิดทองหลังพระ ทางช่อง 9
เหนือเมฆ (พ.ศ. 2553) ทางช่อง 3
นักสู้พันธุ์ข้าวเหนียว (พ.ศ. 2553) ทางช่อง 7
ตะวันเดือด (พ.ศ. 2554) ทางช่อง 3
รับเชิญ ซิทคอม ระเบิดเถิดเถิง (พ.ศ. 2554) ทางช่อง 5
รักออกอากาศ (พ.ศ. 2555) ทางช่อง 3
[แก้] ภาพยนตร์บุญชู จะอยู่ในใจเสมอ (พ.ศ. 2553)
รายการ ดาราการ์ตูน (พ.ศ. 2554)
[แก้] รางวัลที่ได้รับรางวัลลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ (ลูกดีเด่น) ประเภทข้าราชการ ทหาร ตำรวจ งานวันแม่แห่งชาติ พ.ศ. 2552 จัดโดยสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์พ.ศ. 2548-  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นตติยดิเรกคุณาภรณ์ครดิตจาก...


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 11:23:05
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๘  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
.....................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2151 (ค.ศ. 1609) กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อก้องโลก ได้บุกเบิกการสำรวจท้องฟ้าด้วย กล้องโทรทรรศน์***
วันนี้เป็นวันสำคัญของวงการดาราศาสตร์อีกวันหนึ่ง เนื่องจากเมื่อ 400 ปีก่อน ในราวปี ค.ศ. 1609 กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อก้องโลก ได้บุกเบิกการสำรวจท้องฟ้าด้วย กล้องโทรทรรศน์ กำลังขยาย 30 เท่า เป็นกล้องดูดาวแบบหักเหแสงที่เขาประดิษฐ์เองอย่างง่ายๆ ส่องสำรวจจักรวาลเป็นครั้งแรก โดยเขาสำรวจดวงจันทร์, ดาวพฤหัส และค้นพบดาวบริวารทั้งสี่ของดาวพฤหัส และเสนอทฤษฎีที่ว่า โลกกลม ...นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มสำรวจจักรวาลโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ และนำมาซึ่งการค้นพบสำคัญๆ อีกมากมาย

ทั้งนี้ กล้องโทรทรรศน์ ดังกล่าว ถูกเรียกเพื่อเป็นเกียรติแก่ กาลิเลโอ ว่า "กล้องดูดาวแบบกาลิเลโอ" (Galileo's Telescope) สำหรับกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงของกาลิเลโอนั้น เลนส์วัตถุจะเป็นเลนส์นูน และเลนส์ตาจะเป็นจากเลนส์เว้า ข้อดีของการใช้ระบบเลนส์แบบนี้คือ ภาพที่ได้จะเป็นภาพหัวตั้งโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นมาช่วย แต่ข้อเสียของการใช้เลนส์เว้าเป็นเลนส์ตาคือ ระบบกล้องจะมีมุมมองภาพที่แคบมาก


ค.ศ. 1610


มีการตีพิมพ์หนังสือ Sidereus Nuncius ของ Galileo Galilei ถือว่าเป็นตำราทางดาราศาสตร์เล่มแรกที่บันทึกการสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ทำด้วยตัวเอง



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 27 สิงหาคม 2012, 05:49:32
วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๑๐  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
.....................
เดรดิตจาก...
http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84
......................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) รัฐบาลชุด จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุญาตให้คนไทยเปิดการพูดไฮปาร์ค ตามแบบอังกฤษได้เป็นครั้งแรก ที่ท้องสนามหลวง***
ไฮด์ปาร์ค นโยบายประชาธิปไตยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม
ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2498 – 2500 เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับการเมืองไทยสมัยใหม่ เนื่องจากเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดความขัดแย้งแบ่งฝ่ายภายในรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ มีอำนาจบารมีทางการเมืองเพิ่มมากขึ้นและมีความตึงเครียดแข่งขันอำนาจระหว่างกันโดยมีจอมพล ป. พิบูลสงครามอยู่ระหว่างค่ายกำลังทั้ง 2 ค่าย นั่นคือ กลุ่มสี่เสาว์เทเวศร์ (สฤษดิ์) และกลุ่มซอยราชครู (เผ่า) จนทำให้นักวิชาการหลายคนเรียกการเมืองในยุคนี้ว่า “การเมืองสามเส้า” เพื่อถ่วงดุลอำนาจของ 2 ค่ายอำนาจ และเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้ตนเอง จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้ปล่อยให้มี “บรรยากาศเปิด” ทางการเมือง โดยการเสนอให้มีการฟื้นฟูประชาธิปไตย

ในปี 2498 จอมพล ป. พิบูลสงครามได้เดินทางรอบโลกภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา และไปอยู่ที่อเมริกาถึง 3 สัปดาห์ เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยจอมพล ป. พิบูลสงครามก็เริ่มรณรงค์ “ประชาธิปไตย” ทันที โดยสัญญาว่าจะให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกุมภาพันธุ์ 2500 เริ่มใช้คำขวัญประชาธิปไตยของอเมริกาว่าเป็นการปกครอง “ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” ทหารไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง การค้า การรัฐประหารเป็นเรื่องล้าสมัยแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงครามเปิดให้มี “เพรสคอนเฟอร์เรนซ์” พบปะกับนักหนังสือพิมพ์ ปรากฏตัวท่ามกลางมหาชน และในเดือนกันยายน 2498 ก็อนุญาตให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองได้อีกครั้ง หลังจากมีการห้ามมาเป็นเวลา 3 ปี และในกระบวนการสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยของจอมพล ป. พิบูลสงครามดังกล่าว ก็ทำให้เกิดศัพท์การเมืองใหม่ขึ้นมาใช้สำหรับเรียกการปราศัยหาเสียง นั่นคือ “ไฮด์ปาร์ค” ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงครามอ้างว่า เพื่อให้เหมือนกับในประเทศอังกฤษที่เป็นแม่แบบของประชาธิปไตย[1]

แม้ว่านโยบายฟื้นฟูประชาธิปไตยจะได้รับการสนับสนุนจากจอมพลผิน ชุณหะวัณ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ และนายวรการ บัญชา แต่ฝ่ายคณะทหารสายกองทัพบกซึ่งนำโดย พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไม่เห็นด้วยนัก ในการประชุมคณะรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2498 คณะรัฐประหารสายทหารก็ได้วิจารณ์รัฐบาลที่ยอมให้มีการไฮด์ปาร์คเพราะเห็นว่าเป็นการก่อกวนให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง แต่จอมพล ป. พิบูลสงครามก็ยังคงยืนยันนโยบายประชาธิปไตยต่อไป

อย่างไรก็ตาม การไฮด์ปาร์คก็ได้พัฒนาไปสู่การเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยมากขึ้น มีการเรียกร้องให้เลิก ส.ส. ประเภทที่ 2 เพราะการที่สมาชิกสภามาจากการแต่งตั้งโดยรัฐบาลเสียครึ่งสภาได้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุงประเทศสู่ประชาธิปไตย การไฮด์ปาร์คที่สนามหลวงในวันที่ 22 ตุลาคม 2498 ส.ส.เพทาย โชตินุชิต แห่งธนบุรี ได้กรีดเลือดประท้วงเรียกร้องให้มีการยกเลิก ส.ส. ประเภทที่ 2 ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2498 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 8 ปีของการรัฐประหาร กลุ่มไฮด์ปาร์คได้เดินขบวนไปวางพวงหรีดที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเรียกร้องให้มีการยุบคณะรัฐประหารและยกเลิก ส.ส.ประเภทที่ 2

เมื่อเห็นว่าการไฮด์ปาร์คก้าวไปไกลเกินกว่าที่รัฐบาลจะยอมรับและควบคุมได้ จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงเริ่มหันกลับมาใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น ในวันที่ 10 ธันวาคม 2498 ขณะที่กลุ่มไฮด์ปาร์คได้นำประชาชนนับหมื่นคนเดินขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกบทเฉพาะกาล ยกเลิก ส.ส.ประเภทที่ 2 และคัดค้านกฎหมายประกันสังคม รัฐบาลก็สั่งการให้ตำรวจทหารม้าเข้าสะกัดกั้น มีการใช้กระบองและแส้ทำร้ายประชาชนจนทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ เหตุการณ์ครั้งนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม อ้างเหตุผลว่า การชุมนุมและเดินขบวนนั้นเป็นไปเกินขอบเขต และผิดพระราชบัญญัติจราจร

การห้ามของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามทำให้กลุ่มไฮด์ปาร์คงดการเดินขบวน แต่ก็ยังคงเปิดอภิปรายที่สนามหลวงต่อไป ในวันที่ 7 มกราคม 2499 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ได้ไปปรากฏตัวบนเวทีไฮด์ปาร์ค กิตติศักดิ์ ศรีอำไพ ซึ่งเป็นโฆษกไฮด์ปาร์คในเวลานั้นได้นำเอาพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์มาสาบานตัวต่อหน้าพระแก้วมรกตกลางเวทีสนามหลวง ท่ามกลางประชาชนนับหมื่นคนว่า จะซื่อสัตย์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ตนเองไม่รู้ไม่เห็นกับการขังทิ้ง การยิงทิ้งอดีตรัฐมนตรี รวมทั้งการร่ำรวยผิดปกติของตน ขอให้ตนตายด้วยคมหอกคมดาบหากรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำเหล่านั้น

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2499 ทองอยู่ พุฒพัฒน์ ดาวไฮด์ปาร์คคนสำคัญได้เริ่มการรณรงค์ประชาธิปไตยตามแบบของตนด้วยการนำการอดข้าวประท้วงรัฐบาลจนกว่าจะมีการยกเลิก ส.ส. ประเภทที่ 2 ปรากฏว่ามีประชาชนมาร่วมอดข้าวประท้วงกับเขาหลายคน ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2499 จอมพล ป. พิบูลสงครามพยายามแก้ปัญหาโดยการสั่งอาหารมาตั้งโต๊ะเลี้ยงผู้ประท้วงอดข้าว แต่พีร์ บุนนาคหนึ่งในผู้ประท้วงแกล้งเอาอาหารไปเทให้สุนัขกินจนหมด ผลก็คือ ตำรวจได้เข้าจับกุมดาวไฮด์ปาร์ค 10 คนขณะที่กำลังอดข้าวประท้วงในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2499 และตั้งข้อหาดาวไฮด์ปาร์คทั้ง 10 คนว่าเป็น “กบฏภายในราชอาณาจักร” และยังขู่ด้วยว่ากบฏเหล่านี้มีโทษรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต เหตุการณ์นี้ต่อมาถูกเรียกว่า “กบฏอดข้าว”

ผลจากเหตุการณ์ครั้งนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกแถลงการณ์ห้ามไม่ให้มีการไฮด์ปาร์คเกิดขึ้นอีก โดยให้เหตุผลว่า ผู้อภิปรายได้ “พูดเกินขอบเขตเป็นอันมาก” และกรมตำรวจก็ได้กล่าวหากรณีกบฏอดข้าวว่าเป็น “การแทรกแซงของคอมมิวนิสต์” จึงต้องจัดการเสียก่อน และต่อมาก็ได้ชี้แจงว่า นายทองอยู่เป็นสมาชิกองค์การคอมมิวนิสต์ แต่ไม่นานหลังจากนั้น พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ก็ได้ชี้แจงว่าจะไม่ห้ามการไฮด์ปาร์ค เพียงแต่จะไม่ให้ใช้เครื่องขยายเสียงเพราะเป็นการรบกวน ผลก็คือ กบฏอดข้าวยังคงอดข้าวประท้วงต่อในที่คุมขัง จนกระทั่งวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2499 ผู้อดข้าวส่วนใหญ่ก็เลิกล้ม แต่นายทองอยู่ที่ยังอดข้าวประท้วงต่อไปอีก 24 วันจนกระทั่งถูกนำส่งโรงพยาบาลในวันที่ 10 มีนาคม 2499 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ตำรวจได้ปล่อยตัวผู้ประท้วงอดข้าวทั้งหมด


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 29 สิงหาคม 2012, 09:35:55
วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๑๒  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
.....................
เครดิตจาก...

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=235635

***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จีนพ่ายประเทศอังกฤษในสงครามฝิ่น นำมาสู่สนธิสัญญานานกิง ส่งมอบอธิปไตยเหนือเกาะฮ่องกงสู่อังกฤษ***
สงครามฝิ่น (จีนตัวเต็ม: 鴉片戰爭; จีนตัวย่อ: 鸦片战争; พินอิน: Yāpiàn Zhànzhēng ยาเพี่ยนจ้านเจิง; อังกฤษ: Opium Wars) ฝิ่นเป็นยาเสพย์ติดที่ชาวจีนติดกันอย่างงอมแงมและติดกันมานาน ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้น (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光) ปีที่ 19 พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวี เป็นผู้ตรวจราชการสองมณฑล ขึ้นเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน

[แก้] เริ่มกระบวนการปราบปรามฝิ่นหลินเจ๋อสวีเริ่มงานด้วยการห้ามค้าฝิ่นในมณฑลกวางตุ้ง และจับพ่อค้าฝิ่นชาวจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดไปคุมตัวในเรือนจำ ใครที่มีหลักฐานว่าค้าฝิ่นจะต้องถูกประหาร และตัดศีรษะเสียบประจาน เพื่อข่มขู่ชาวจีนอื่น ๆ ให้เกรงกลัวจะได้ไม่กล้าค้าฝิ่นอีก นอกจากปราบปรามการค้าฝิ่นในหมู่ชาวจีน หลินเจ๋อสวี ยังได้พยายามฟื้นฟูสุขภาพชาวจีนที่ติดฝิ่น โดยจัดโครงการรณรงค์การอดฝิ่น มีชาวจีนหลายคนที่อดฝิ่นได้สำเร็จ ทางการก็จะประกาศเกียรติคุณ เพื่อให้คนอื่น ๆ เอาเป็นแบบอย่างอันดีที่จะพยายามเลิกฝิ่นให้ได้ จากนั้นหลินเจ๋อสวีก็สั่งห้ามเรือพ่อค้าต่างชาติที่บรรทุกฝิ่นเข้ามาในอาณาจักรจีน โดยห้ามเรือล่องเข้าแม่น้ำจูเจียงมาเป็นเด็ดขาด และประกาศให้พ่อค้าต่างชาติที่มีฝิ่นในครอบครอง ต้องนำฝิ่นมาส่งมอบให้ทางการจีน แต่พ่อค้าชาวต่างชาติไม่สนใจคำสั่งของหลินเจ๋อสวี ยังคงค้าฝิ่นต่อไป หลินเจ๋อสวีจึงสั่งปิดล้อมย่านการค้าของคนต่างชาติใน และบีบให้พ่อค้าต่างชาติส่งฝิ่นให้ทางการจีน หลังจากปิดล้อมอยู่สองวัน พวกพ่อค้าต่างชาติก็ยอมมอบฝิ่นออกมาในที่สุด ฝิ่นที่ยึดได้ครั้งนี้ หลินสั่งให้เอาฝิ่นทั้งหมดไปละลายกับกรดน้ำส้มกับเกลือและน้ำ เพื่อฆ่าฤทธิ์ของฝิ่น แล้วก็โยนทิ้งทะเลไปจนหมดสิ้น ผลจากการปราบปรามฝิ่นอย่างจริงจังของหลินเจ๋อสวี ทำให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อค้าอังกฤษที่มีผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นมหาศาลไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะฝิ่นที่หลินเจ๋อสวีทำลายไปมีจำนวนมหาศาลถึง 20,000 ลัง คิดเป็นน้ำหนักสองล้านปอนด์ครึ่ง และเนื่องจากฝิ่นเป็นสินค้าที่มีค่าสูง จึงยังมีพ่อค้าต่างชาติทั้งชาวอังกฤษและโปรตุเกส ยังคงลอบค้าฝิ่น แต่เปลี่ยนฐานการค้าจากตัวแผ่นดินใหญ่ในมณฑลกวางตุ้ง ไปอยู่ที่มาเก๊า และเกาะฮ่องกง ซึ่งมีทำเลดีกว่าแทน

[แก้] สงครามปะทุการกระทบกระทั่งระหว่างจีนกับอังกฤษยังคงมีต่อมา เมื่อชาวจีนถูกกลาสีเรือชาวอังกฤษฆ่าตายที่เกาลูน หลินเจ๋อสวีให้ทางอังกฤษส่งตัวกลาสีที่ก่อเหตุมารับโทษตามกฎหมายจีน แต่กัปตันเอลเลียตของอังกฤษปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ผลจากการกระทบกระทั่งกันครั้งนี้ ทำให้หลินเจ๋อสวีขับไล่ชาวอังกฤษทั้งหมดออกจากมาเก๊า แต่พ่อค้าเหล่านี้ก็ไปตั้งหลักที่ฮ่องกงแทน กัปตันเอลเลียต ขอความช่วยเหลือไปทางรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษในยุคของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นยุคสมัยของการล่าอาณานิคม ถือเป็นเหตุในการทำสงครามกับจีน โดยเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยสั่งให้บริษัทอีสต์อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลอังกฤษ ส่งกองเรือไปช่วยที่ฮ่องกง เมื่อกองเรือรบกองแรกมาถึงซึ่งประกอบไปด้วยเรือปืนจำนวน 28 ลำ หลินเจ๋อสวีไม่เคยมีประสบการณ์กับการรบกับอาวุธที่ทันสมัยเช่นนี้ จึงถูกโจมตีจนกองเรือจีนพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว หนำซ้ำพวกขุนพลของจีนที่สู้แพ้อังกฤษ ยังไม่กล้ารายงานสถานการณ์ตามความเป็นจริง ทำให้หลินเจ๋อสวีเข้าใจผิดว่ากองเรือของจีนเอาชนะกองเรืออังกฤษได้ จึงถวายรายงานกับพระจักรพรรดิเต้ากวงว่า จีนได้รับชัยชนะ และยิ่งแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อพวกอังกฤษยิ่งขึ้น ในที่สุด ในปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ฝ่ายกองเรือรบอังกฤษก็บุกเข้าปากแม่น้ำจูเจียง และยึดเมืองกวางซูเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งเคลื่อนกองเรือรุกเข้ามาในแผ่นดินจีนขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังส่งกองเรือจำนวนหนึ่งไปยึดเมืองท่าริมทะเลเอาไว้ด้วย ความทราบถึงพระจักรพรรดิเต้ากวง จึงทรงตำหนิหลินเจ๋อสวีอย่างรุนแรง และปลดหลินเจ๋อสวีจากตำแหน่งทั้งหมด เนรเทศไปยังซินเจียง และส่งแม่ทัพฉีซานมาแทน ฉีซานไม่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของอังกฤษได้

[แก้] ผลลัพธ์ในปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) กองทัพอังกฤษบุกเข้ายึดเมืองนานกิงได้ จนกระทั่งในที่สุดจำเป็นต้องเจรจาสงบศึกกับอังกฤษ ที่เมืองนานกิงนั่นเอง และยอมเซ็นสนธิสัญญาที่ชาวจีนถือว่าอัปยศที่สุด ที่เรียกว่าสนธิสัญญานานกิงในปีเดียวกันนั้น เนื้อหาในสนธิสัญญาฉบับนี้ อังกฤษบังคับให้จีนเปิดเมืองท่าตามชายทะเลเพื่อค้าขายกับอังกฤษ รวมทั้งขอสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนจีน คนที่ถือสัญชาติอังกฤษ จะไม่ต้องขึ้นศาลจีน รวมทั้งสิทธิใด ๆ ที่อังกฤษได้ ต่างชาติอื่น ๆ ก็ต้องได้ด้วย แม้ว่าเนื้อหาของสนธิสัญญานี้ จีนต้องเสียเปรียบอังกฤษเป็นอย่างมาก แต่จีนก็จำต้องเซ็นสัญญาเพื่อยุติสงครามที่จีนเสียเปรียบอย่างเทียบไม่ติด ต่อมาจีนก็สูญเสียเอกราชบนเกาะเกาลูนไปอีก ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ตามสนธิสัญญาปักกิ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง (咸丰) ปีที่ 10 และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) ตรงกับรัชกาลจักรพรรดิกวังซวี่ (光緒帝) ปีที่ 24 สูญเสียพื้นที่เขตดินแดนใหม่ (New Territories) ให้กับสหราชอาณาจักรในสัญญาเช่า 99 ปี นับแต่นั้น เซินเจิ้นและฮ่องกงก็ถูกแบ่งแยกการปกครองออกจากกัน และภายใน พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) คนจีนกว่า 13 ล้านคน ยังคงติดฝิ่นอยู่ เศรษฐกิจของจีนถูกทำลายลงอย่างย่อยยับจากการที่จีนต้องนำเข้าฝิ่นเป็นจำนวนมากมายมหาศาลและราชวงศ์ชิงก็ตกอยู่ในภาวะแห่งการล่มสลาย


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 30 สิงหาคม 2012, 06:17:04
วันนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๑๓  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
.....................
เครดิตจาก...
http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/space/Msun.html
ขออภัยมีปัญหาเรื่องระบบภาพ..
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) ดาวเทียมโยโกะ ดาวเทียมศึกษาดวงอาทิตย์ในความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศ***
เป้าหมายโครงการ
โยโกะ เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ลำแสงอาทิตย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โซลาร์ - เอ ( Solar-A ) เป็นดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ โคจรเป็นวงค่อนข้างกลมรอบโลก ตัวยานอวกาศสร้าง ในประเทศญี่ปุ่น ส่วนเครื่องมือสังเกตการณ์ภายในยานสร้างจากประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศอังกฤษ ส่งออกจากฐานจรวดคาโกชิมา ( Kagoshima ) ประเทศญี่ปุน

ยานอวกาศศึกษาการแผ่รังสีเอกซ์และรังสีแกมมาพลังสูงจากการระเบิดลุกจ้าบนดวงอาทิตย์
(Solar flares) ศึกษาสภาวะก่อนเกิดการระเบิดลุกจ้า และปรากฏการณ์บนโลกที่เกิดจากการ แผ่รังสีจากดวงอาทิตย์
การค้นพบใหม่จากยานโยโกะ
นักดาราศาสตร์สังเกตพบสัญญาณคล้าย อักษร S เกิดขึ้นทางซีกใต้ของดวงอาทิตย์ และ รูปกลับ กันคล้ายเลข 2 ทางซีกเหนือ เรียกว่า ซิกมอด ( Sigmoid ) เกิดขึ้นบนผิวดวงอาทิตย์ 2 - 3 วัน ก่อนการระเบิดแผ่พลังงานรุนแรงออกมา จึงคล้ายเป็นสัญญาณเตือนภัยจากดวงอาทิตย์ และเป็น ประโยชน์ต่อมนุษย์ในการเตรียมการป้องกันภัยพิบัติล่วงหน้า ก่อนที่พายุสุริยะจะเคลื่อนมาถึงโลก




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 07:43:33
วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๑๔  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
.....................
เครดิตที่...
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2_%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B9%8C
(ขออภัย..ข้อความไม่มา ภาพไม่มา ค่าอินเตอร์เน็ตมาตรงเวลาทุกเดือน)
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) เจ้าหญิงไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ถึงแก่กรรมในอุบัติเหตุรถยนต์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส***
ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (อังกฤษ: Diana, Princess of Wales) หรือพระนามเต็มคือ ไดอานา ฟรานเซส[2] - สกุลเดิม สเปนเซอร์ (Diana Frances, née The Lady Diana Spencer) (ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ที่เมืองแซนดริงแฮม ประเทศอังกฤษ — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส) เป็นพระชายาพระองค์แรกของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ แห่งเวลส์ จากการอภิเษกสมรสเมื่อปี พ.ศ. 2524 และได้ทรงหย่าขาดเมื่อปี พ.ศ. 2539 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นพระองค์ที่ 9 ของอังกฤษ สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปนิยมขนานพระนามว่า "เจ้าหญิงไดอานา" ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วพระนามนี้ถือว่าผิดในทางทฤษฎี[ต้องการอ้างอิง]
 
ไดอานาได้เป็นสมาชิกราชวงศ์อังกฤษจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ เมื่อ 29 กรกฎาคม 2524 พระราชพิธีอภิเษกสมรสมีขึ้นที่มหาวิหารเซนต์พอล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีผู้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีในครั้งนี้มากถึง 750 ล้านคนทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาไดอานาได้ให้กำเนิดพระโอรสทั้งสองพระองค์คือ เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี รัชทายาทลำดับที่สองและสามแห่งการสืบสันติวงศ์แห่งราชบัลลังก์อังกฤษและ 16 เครือจักรภพ นับตั้งแต่ทรงหมั้นกับเจ้าชายแห่งเวลส์ในปี พ.ศ. 2524 จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุรถยนต์ที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2540 ไดอานาเป็นผู้หญิงสำคัญคนหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะความสนพระทัย การฉลองพระองค์ รวมถึงพระกรณียกิจของพระองค์ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลก พระองค์ทรงเป็นผู้นำแฟชั่น เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความหวังของผู้ป่วยโรคเอดส์ แต่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือพระองค์ทรงเป็นพระราชินีในดวงใจของประชาชนอีกด้วย ตลอดทั้งพระชนม์ชีพพระองค์เป็นผู้ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดคนหนึ่งในโลกราวกับนักแสดงที่มีชื่อเสียง[ต้องการอ้างอิง]
 
ไดอานาเป็นที่จดจำภาพลักษณ์การแต่งกาย แฟชั่น งานด้านการกุศลและเป็นบุคคลสาธารณะในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 จากการเป็นพระชายาองค์แรกของเจ้าชายแห่งเวลส์ ไดอานาเคยรณรงค์ต่อต้านการใช้กับระเบิดทั่วโลก และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของโรงพยาบาลเด็ก เกรท ออร์มันด์ สตรีทตั้งแต่ปี 2532 จนถึง 2538
ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (อังกฤษ: Diana, Princess of Wales) หรือพระนามเต็มคือ ไดอานา ฟรานเซส[2] - สกุลเดิม สเปนเซอร์ (Diana Frances, née The Lady Diana Spencer) (ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ที่เมืองแซนดริงแฮม ประเทศอังกฤษ — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส) เป็นพระชายาพระองค์แรกของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ แห่งเวลส์ จากการอภิเษกสมรสเมื่อปี พ.ศ. 2524 และได้ทรงหย่าขาดเมื่อปี พ.ศ. 2539 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นพระองค์ที่ 9 ของอังกฤษ สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปนิยมขนานพระนามว่า "เจ้าหญิงไดอานา" ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วพระนามนี้ถือว่าผิดในทางทฤษฎี[ต้องการอ้างอิง]
 
ไดอานาได้เป็นสมาชิกราชวงศ์อังกฤษจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ เมื่อ 29 กรกฎาคม 2524 พระราชพิธีอภิเษกสมรสมีขึ้นที่มหาวิหารเซนต์พอล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีผู้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีในครั้งนี้มากถึง 750 ล้านคนทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาไดอานาได้ให้กำเนิดพระโอรสทั้งสองพระองค์คือ เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี รัชทายาทลำดับที่สองและสามแห่งการสืบสันติวงศ์แห่งราชบัลลังก์อังกฤษและ 16 เครือจักรภพ นับตั้งแต่ทรงหมั้นกับเจ้าชายแห่งเวลส์ในปี พ.ศ. 2524 จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุรถยนต์ที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2540 ไดอานาเป็นผู้หญิงสำคัญคนหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะความสนพระทัย การฉลองพระองค์ รวมถึงพระกรณียกิจของพระองค์ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลก พระองค์ทรงเป็นผู้นำแฟชั่น เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความหวังของผู้ป่วยโรคเอดส์ แต่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือพระองค์ทรงเป็นพระราชินีในดวงใจของประชาชนอีกด้วย ตลอดทั้งพระชนม์ชีพพระองค์เป็นผู้ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดคนหนึ่งในโลกราวกับนักแสดงที่มีชื่อเสียง[ต้องการอ้างอิง]
 
ไดอานาเป็นที่จดจำภาพลักษณ์การแต่งกาย แฟชั่น งานด้านการกุศลและเป็นบุคคลสาธารณะในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 จากการเป็นพระชายาองค์แรกของเจ้าชายแห่งเวลส์ ไดอานาเคยรณรงค์ต่อต้านการใช้กับระเบิดทั่วโลก และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของโรงพยาบาลเด็ก เกรท ออร์มันด์ สตรีทตั้งแต่ปี 2532 จนถึง 2538



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 03 กันยายน 2012, 05:21:18
วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๒  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
.....................................
เครดิตจาก...
http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=spaceboard&No=5843

***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) ยานไวกิ้ง 2 ลงจอดบนดาวอังคารและถ่ายภาพสีของพื้นผิวดาวเคราะห์ดวงนี้ในระยะใกล้เป็นภาพแรก***
ปี 2006 เป็นปีสำคัญปีหนึ่งในวงการดารา ศาสตร์เพราะเป็นปีที่ครบรอบ 30 ปีของปฏิบัติการสำรวจดาวอังคารของยานไวกิ้งสองลำ(Viking spacecraft) คือยานไวกิ้ง 1 และยาน ไวกิ้ง 2 ขององค์การนาซา

ปฏิบัติการของยานไวกิ้งเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในการสำรวจดาวเคราะห์ขององค์การนาซาเพราะเป็นยานอวกาศที่สามารถร่อนลงบนพื้นผิวดาวเคราะห์ในระบบสุริยะได้สำเร็จเป็นครั้งแรกหลังจากนาซาเคยประสบความสำเร็จในการนำยานลงบนดวงจันทร์มาก่อนหน้านี้

ทศวรรษที่ 1970 นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับดาวอังคารมากนัก ดังนั้นเป้าหมายการสำรวจของยานไวกิ้ง คือการสำรวจทุกซอกทุกมุม เป้าหมายแรก คือถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารอย่างละเอียดทั้งดวง เป้าหมายที่สอง คือศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของบรรยากาศและพื้นผิว และเป้าหมายที่สามคือค้นหาสิ่งมีชีวิตซึ่งนักวิทยาศาสตร์อยากรู้มากที่สุด


ยานภาคพื้นดิน ไวกิ้ง 2 บริเวณยูโทเปีย พลานิเทีย 
ยานไวกิ้งทั้งสองลำประกอบด้วยยานโคจร (Orbiter) และยานภาคพื้นดิน (Lander) ยานแฝดพี่ไวกิ้ง 1 ออกเดินทางเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ปี ค.ศ.1975 และถึงดาวอังคารเมื่อวันที่ 19 มิถุนา ยน ค.ศ.1976 แต่ก็ต้องเจอกับอุปสรรคเมื่อพบว่าพื้นที่เป้าหมายบริเวณ ไครส์ พลานิเทีย (Chryse Planitia) หรือ ที่ราบทองคำ (22.48 องศาเหนือ, 49.97 องศาตะวันตก) ที่จะปล่อยยานภาคพื้นดินลงจอดไม่ปลอดภัยเพราะขรุขระเกินไป ยานโคจรจึงต้องใช้เวลาถ่ายภาพหาตำแหน่งที่เหมาะสมในบริเวณไครส์ พลานิเทีย นานถึงสามสัปดาห์ ในที่สุดวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1976 ยานภาคพื้นดินก็ร่อนลงบนพื้นผิวดาวอังคารในบริเวณไครส์ พลานิเทีย อย่างปลอดภัย



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 04 กันยายน 2012, 05:54:51
วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๓  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
.........................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) จอร์จ อีสต์แมน จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "โกดัก" ***
04 กันยายน พ.ศ. 2431  : จอร์จ อีสต์แมน จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โกดัก

     4 กันยายน พ.ศ. 2431 จอร์จ อีสต์แมน (George Eastman) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "โกดัก" (Kodak) และในปีเดียวกันนี้เขาได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปตัวแรก ก่อนหน้านั้นเมื่อปี 2427 เขาได้ประดิษฐ์ฟิล์มม้วน สิ่งประดิษฐ์ของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อวงการถ่ายภาพ จากที่เคยเป็นเพียงงานอดิเรกราคาแพงของคนชั้นสูง ได้กลายมาเป็นงานอดิเรกที่เป็นที่นิยมของคนทั่วไป ต่อมาปี 2435 เขาได้ก่อตั้งบริษัทอีสต์แมน โกดัก (Eastman Kodak Company) ขึ้นที่นิวยอร์ก เพื่อผลิตฟิล์มถ่ายภาพและอุปกรณ์ถ่ายภาพ ทุกวันนี้โกดักกำลังลดการผลิตฟิล์มลง หันไปพัฒนากล้องถ่ายภาพระบบดิจิทัลเช่นเดียวกับบริษัทฟิล์มยี่ห้ออื่น ๆ 


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 05 กันยายน 2012, 05:43:59
วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๔  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
.........................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) วันสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช***
แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเปิด เป็นความพยายามที่รัฐบาลจะขยายโอกาส เพื่อการศึกษาระดับอุดมศึกษา แก่ประชาชนให้มากที่สุด แนวคิดนี้ได้เคยนำมาใช้แล้ว ในประเทศไทยโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ได้จัดการศึกษาระบบ "ตลาดวิชา" รับนักศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือก ไม่บังคับให้เข้าฟังบรรยาย แต่ยังคงใช้วิธีการจัดการศึกษา ในลักษณะเดียวกับมหาวิทยาลัยทั่วไป คือใช้ชั้นเรียนเป็นหลัก นักศึกษาอาจศึกษาได้ด้วยตนเอง หรืออาจเข้าฟังบรรยาย หรือไปพบอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยได้ ต่อมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ เปลี่ยนมาเป็นระบบจำกัดการรับนักศึกษาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ

ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเปิดหลักสูตรการศึกษามากกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระยะที่เปิดสอนในระบบตลาดวิชา และสามารถรับนักศึกษาได้เป็นจำนวนมาก แต่ยังคงจัดการศึกษาโดยอาศัยชั้นเรียนเป็นหลัก เช่นเดียวกันทำให้มากวิทยาลัย รามคำแหงประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอาคารสถานที่เรียน ไม่สามารถขยายให้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี
....................
ติดตามรายละเอียดต่อได้ที่...
http://www.stou.ac.th/aboutSTOU/background.htm



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 07 กันยายน 2012, 05:17:37
วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๖  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
............................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2352 (ค.ศ. 1809) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต ด้วยพระโรคชรา สิริพระชนมายุได้ 73 พรรษา ครองราชย์ได้นานถึง 27 ปี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี พระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขณะมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา***
ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 1 ( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ) ( พ.ศ. 2325 - 2352 )
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เกิดเมื่อ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง จุลศักราช 1098 ตรงกับวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของหลวงพินิจอักษร ( ทองดี ) กับ นางดาวเรือง ( หยก ) มีพี่น้องดังนี้
คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ สา ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี
คนที่ 2 เป็นชายชื่อ ขุนรามณรงค์ ถึงแก่กรรมก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ แก้ว ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์
คนที่ 4 เป็นชายชื่อ ทองด้วง ( รัชกาลที่ 1 )
คนที่ 5 เป็นชายชื่อ บุญมา ( กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท )
เมื่อเจริญวัยได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิจ ( ขุนหลวงดอกมะเดื่อ )
พ.ศ. 2300 อายุ 21 ปีได้บวช ณ วัดมหาทลาย เมื่อลาสิกขาบทแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง
พ.ศ. 2303 อายุ 24 ปี ได้สมรสกับนางสาวนาก ธิดาของคหบดีตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม
พ.ศ. 2304 อายุ 25 ปีในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี
พ.ศ. 2311 ในสมัยพระเจ้าตากสิน ได้รับราชการมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ ( กรมพระตำรวจหลวง )
เมื่อเสร็จศึกในการปราบชุมนุมพิมาย ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์
พ.ศ. 2313 เมื่อครั้งปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง มีความชอบได้เป็นพระยายมราช และทำหน้าที่สมุหนายกอีกด้วย
พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาจักรี คุมทัพไปรบกับพม่าเสร็จศึกพม่าแล้ว ได้ยกทัพไปตีเขมรมาเป็นเมืองขึ้น พ.ศ. 2319 เป็นแม่ทัพไปตีเขมรป่าดง ( สุรินทร์ ขุขันธ์ สังขะ ) แคว้นลาวทางใต้ ได้เมืองจำปาศักดิ์ สีทันดร อัตตะปือ เสร็จศึกได้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศรราช สุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก
พ.ศ. 2324 ยกทัพไปปราบจลาจลในเขมรแต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดกบฏในกรุงธนบุรีต้องยกทัพกลับ
พ.ศ. 2325 อาณาประชาราษฏร์ กราบทูลเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ 6 เมษายน 2325 อยู่ในราชสมบัติ 27 ปี เสด็จสวรรคต 7 กันยายน 2352 รวมพระชนมายุ 73 พรรษา ครองราชย์ นาน 28 ปี มีโอรสธิดารวม 42 พระองค์


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 08 กันยายน 2012, 09:27:28
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๗  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
............................
เครดิตที่...
http://teradat-teradat045.blogspot.com/
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) เฮอร์ริเคนแกลวิสตัน พัดขึ้นฝั่ง ณ แกวเวสตัน รัฐเทกซัส เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 8,000 คน***
พายุหมุนที่สร้างความเสียหายมาก
 เส้นทางของเฮอร์ริเคนแกลวิสตันเมื่อ พ.ศ. 2443
พายุหมุนเขตร้อนแกลวิสตัน หรือ "เฮอร์ริเคนแกลวิสตัน" นับเป็นพายุหมุนเขตร้อนหรือพายุเฮอร์ริเคนที่สร้างความเสียหายหนักมากพายุหนึ่งที่ได้รับการบันทึกไว้ พายุหมุนเขตร้อนแกลวิสตันขึ้นฝั่งในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2443 พายุนี้เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกและขึ้นฝั่งที่เมืองแกลวิสตัน รัฐเทกซัส มีความเร็วลม 215 กิโลเมตร/ชั่วโมง จัดอยู่ในพายุเฮอร์ริเคนประเภท 4 ตามมาตรวัดพายุซิมป์สัน ทำให้เมืองแกลวิสตันเสียหายอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตมากถึง 8,000 คน และหากนับการเสียชีวิตที่อื่นด้วยประมาณว่าอาจรวมได้ถึง 12,000 คน จัดเป็นพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติกที่สร้างความเสียหายร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกหลัง "มหาพายุเฮอร์ริเคนแห่งปี พ.ศ. 2323" และ "เฮอร์ริเคนมิทช์" เมื่อ พ.ศ. 2541 แต่นับเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายและคร่าชีวิตผู้คนอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 11 กันยายน 2012, 12:07:45
วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑๐  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
............................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544: ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินโดยสาร 3 ลำ เพื่อโจมตีเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ อาคารแฝดในนครนิวยอร์ก และอาคารเพนทากอน ที่ตั้งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในวอชิงตัน ดี.ซี. เครื่องบินลำที่ 4 ตกในรัฐเพนซิลเวเนีย ***
เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 เป็นชุดการโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐอเมริกา ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงอัลกออิดะฮ์ จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ[1][2] โจรจี้เครื่องบินนั้นนำเครื่องบินทั้งสองพุ่งชนกับตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนจะถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าว[3][4][5] และไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำ

มีการพุ่งเป้าสงสัยไปที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์อย่างรวดเร็ว อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ผู้นำกลุ่ม ซึ่งได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องในตอนแรก สุดท้ายได้อ้างความรับผิดชอบเหตุวินาศกรรมดังกล่าวใน พ.ศ. 2547[6] อัลกออิดดะห์และบิน ลาดิน อ้างเหตุผลจูงใจในการก่อเหตุ ว่า การสนับสนุนอิสราเอลของสหรัฐอเมริกา การคงทหารสหรัฐประจำการไว้ในซาอุดิอาระเบีย และการลงโทษต่ออิรัก สหรัฐอเมริกาดำเนินมาตรการตอบโต้เหตุวินาศกรรมโดยการเริ่มสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror), การรุกรานอัฟกานิสถานเพื่อขับรัฐบาลตอลิบัน ซึ่งให้ที่พักพิงแก่สมาชิกอัลกออิดะฮ์ หลายประเทศเพิ่มกฎหมายต่ตอ้านการก่อการร้ายและขยายอำนาจการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 หลังลอยนวลมาได้นานหลายปี บิน ลาเดนถูกพบและถูกสังหาร

เหตุวินาศกรรมทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อเศรษฐกิจของแมนฮัตตันล่าง[7] การทำความสะอาดเขตเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์ 11 กันยายนแห่งชาติมีกำหนดเปิดในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ติดกับอนุสรณ์ วันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งมีความสูง 541 เมตร ประเมินไว้ว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2556[8] เพนตากอนซ่อมแซมภายในเวลาหนึ่งปี และมีการเปิดอนุสรณ์เพนตากอน ติดกับตัวอาคาร ใน พ.ศ. 2551 มีการจัดตั้งอนุสรณ์แห่งชาติเที่ยวบินที่ 93 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และอนุสรณ์ดังกล่าวก่อสร้างเสร็จอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554[9][10].





หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 14 กันยายน 2012, 07:24:24
วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑๐  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
...........................................................................
สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่...
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=1d3d9ff5996fc4bc
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - วันสิ้นพระชนม์ของพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระราชโอรสองค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับสมญานามว่า พระบิดาแห่งรถไฟไทย***
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน หรือ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาวาด ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2424 ขณะทรงพระเยาว์เริ่มศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

พ.ศ. 2437 เสด็จไปทรงศึกษาต่อด้านโยธาธิการที่ โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ และทรงศึกษาต่อวิชาวิศวกรรมที่ ตรินีตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และวิชาทหารช่างที่ แชทแฮม จากนั้นเสด็จศึกษาเพิ่มเติมในประเทศฝรั่งเศส ทรงศึกษาการทำทำนบและขุดคลอง ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และเสด็จกลับมาทรงงานและศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนได้เป็นสมาชิก M.I.C.E. (Member of the Institution of Civil Engineer) (เทียบเท่า วิศวกรรมสถาน)

ทรงเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2447 ทรงรับราชการทหาร เหล่าทหารช่าง กรมยุทธนาธิการทหารบก ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่างพระองค์แรก เมื่อ พ.ศ. 2451 และทรงดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลา 17 ปี ทรงนำความรู้ในวิชาการทหารแผนใหม่ตามแบบอย่างประเทศตะวันตกมาปรับปรุง กิจการทหารช่าง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่ และกองทัพ
 




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 15 กันยายน 2012, 05:36:26
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑๔  ค่ำ  เดือน ๙ (เดือนสิบเอ็ดเหนือ) ปีมะโรง
...........................................................................
ที่มา

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=410
...................................
http://guru.sanook.com/history/topic/2769/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B9%8C_%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA/
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) – ชาลส์ ดาร์วิน เดินทางด้วย เรือบีเกิล ถึงหมู่เกาะกาลาปาโกส อันเป็นสถานที่ที่เขาเริ่มสร้างทฤษฎีวิวัฒนาการ***
 15 กันยายน 2378 ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เดินทางด้วยเรือบีเกิล (HMS Beagle) ถึงหมู่เกาะกาลาปาโกส สถานที่ที่เขาเริ่มเก็บข้อมูลโดยใช้เวลาเพียง 5 สัปดาห์ แต่ได้ช่วยย้ำ "ทฤษฎีวิวัฒนาการ" โดยเขาได้เขียนอธิบายทฤษฎีนี้ไว้ในหนังสือสุดคลาสสิคชื่อ "the Origin of Sprcies" (พ.ศ. 2402) ว่าด้วยการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ โดยการเลือกสรรของธรรมชาติ ไม่ใช่เกิดจากการสร้างสรรค์ของพระเจ้าอย่างที่คนส่วนใหญ่ในยุคนั้นเชื่อมั่น ซึ่งถือเป็นการท้าทายคริสตจักรเป็นอย่างมาก


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 18 กันยายน 2012, 06:08:28
วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๓  ค่ำ  เดือน ๑๐ (เดือนสิบสองเหนือ) ปีมะโรง
...........................................................................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนากรมป่าไม้ โดยให้อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย***
วันคล้ายวันสถาปนากรมป่าไม้
 
วันที่ 18 กันยายน ของทุกปี
 

ความเป็นมา
 
        ในสมัยก่อนป่าไม้ของประเทศมีความอุดมสมบูรณ์ประชากรก็มีไม่มากการทำไม้ส่วนใหญ่จะทำกันในป่าภาคเหนือคือถ้าผู้ใดประสงค์จะทำไม้ก็ขออนุญาตจากเจ้าของป่าซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครองนครนั้นๆแล้วเข้าทำการตัดฟันไม้ต้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ได้ทั้งสิ้นโดยจ่ายเพียงเงินตามจำนวนต้นที่ตัดฟันลงเรียกว่า "ค่าตอ" ไม่มีการบำรุงป่าและการควบคุมทางด้านวิชาการป่าไม้แต่อย่างใดเมื่อมีผู้ทำกิจการป่าไม้มากขึ้นเป็นโอกาสให้เจ้าของป่าขึ้นอัตราค่าตอใหม่รวมทั้งเรียกเงินพิเศษเป็น "ค่าเปิดป่า" ผู้ใดประมูลค่าเปิดป่าสูงผู้นั้นก็จะมีสิทธิ์เข้าทำไม้ในป่านั้นๆซึ่งทำให้เกิดกรณีพิพาทกันอยู่เสมอดังนั้นในปีพ.ศ.2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับป่าไม้ 2 ฉบับคือพระราชบัญญัติรักษาเมืองและพระราชโองการว่าด้วยภาษีไม้ขอนสักและไม้กระยาเลยต่อมารัฐบาลได้ขอความช่วยเหลือไปยังรัฐบาลอินเดียของอังกฤษเพื่อขอยืมตัวผู้เชี่ยวชาญด้านป่าไม้ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีโดยเมื่อปีพ.ศ. 2438 ได้ส่งมร.เอชเสลดผู้เคยปฏิบัติงานอยู่ในกรมป่าไม้ของประเทศพม่าเดินทางไปสำรวจกิจกรรมป่าไม้สักของไทยในภาคเหนือแล้วเดินทางกลับกรุงเทพฯเพื่อเสนอรายงานผลการสำรวจป่าไม้ต่อกระทรวงมหาดไทยพร้อมกับได้ชี้ข้อบกพร่องต่างๆในกิจการป่าไม้ของประเทศไทยเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้รับรายงานและได้พิจารณาเห็นชอบได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิฉัยซึ่งได้ทรงพระราชดำริเห็นชอบและพระราชทานพระราชหัตถเลขาที่ 62/385 ลงวันที่ 18 กันยายนร.ศ.115 (พ.ศ.2439) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งมร. เอชเสลดเป็นเจ้ากรมป่าไม้คนแรกนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาทางราชการก็ได้ถือเอาวันที่ 18 กันยายนของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมป่าไม้ตลอดมา
 
กิจกรรมในวันคล้ายวันสถาปนากรมป่าไม้
 
        กรมป่าไม้จัดให้มีพิธีสงฆ์และพิธีถวายเครื่องราชสักการะพานพุ่มดอกไม้และธูปเทียนแพพระบรมรูปรัชการที่ 5 ณพระบรมราชานุสาวรีย์และวางพวงมาลาณอนุสาวรีย์


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 22 กันยายน 2012, 08:30:14
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๗  ค่ำ  เดือน ๑๐ (เดือนสิบสองเหนือ) ปีมะโรง
............................

พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898)  พระนางซูสีไทเฮากระทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง
จากสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่ภายในพระราชวังต้องห้าม
สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวชิงเสี่ยน (จีน: 孝欽顯; พินอิน: Xiào Qing Xiǎn) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี่ พระพันปีหลวง (จีน: 慈禧太后; พินอิน: Cíxǐ Tàihòu; เวด-ไจลส์: Tz'u-Hsi T'ai-hou, ฉือสี่ไท่โฮ่ว; อังกฤษ: Empress Dowager Cixi) หรือที่รู้จักกันในประเทศไทยว่า "พระพันปีหลวงฉือสี่" หรือ"ฉือสี่ไท่โฮ่ว" หรือตามสำเนียงฮกเกี้ยนว่า "ซูสีไทเฮา" (ประสูติ: 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835; ทิวงคต: 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908) ทรงเป็นราชนิกุลชาวแมนจูในประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ชิง โดยเป็นพระราชวงศ์ผู้ปกครองประเทศจีนโดยพฤตินัยถึงสี่สิบเจ็ดปี กับอีกสี่วัน พระพันปีหลวงฉือสี่ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ทรงได้รับเลือกเป็นพระสนมใน สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง และทรงไต่ชั้นอันดับต่าง ๆ ท่ามกลางเหล่าบาทบริจาริกาจำนวนมหาศาล ก่อนจะมีพระประสูติกาลพระราชโอรส ผู้ซึ่งต่อมาเสวยราชย์เป็น สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื่อ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิงเสด็จนฤพาน พระนางทรงก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิงทรงตั้งไว้ และพร้อมด้วย พระพันปีหลวงฉืออันทั้งสองพระองค์ก็ทรงเถลิงพระราชอำนาจเป็นผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื่อ ก่อนพระพันปีหลวงฉือสี่จะทรงรวบอำนาจการปกครองไว้ที่พระนางเอง และสถาปนาความครอบงำเหนือราชวงศ์ชนิดเกือบเบ็ดเสร็จ ครั้นเมื่อพระราชโอรสสิ้นพระชนม์ลง พระนางก็ทรงตั้งพระราชนัดดาไว้บนพระราชบัลลังก์ เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่ รัชกาลถัดมา ขณะที่พระนางยังทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่ต่อไป ด้วยพระราชหฤทัยอนุรักษนิยม พระพันปีหลวงฉือสี่ทรงปฏิเสธแนวคิดการปฏิรูปบ้านเมืองตามสมัยที่สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่ทรงนำเสนอ และมีพระราชเสาวนีย์ให้ขังสมเด็จพระจักรพรรดิผู้ทรงพระเยาว์ไว้ยังพระที่นั่งกลางสระน้ำ อย่างไรก็ดี ในระยะหลัง พระพันปีหลวงฉือสี่ทรงเล็งเห็นความจำเป็นในการปรับปรุงประเทศเป็นขนานใหญ่ พระนางมีพระราชบัญชาเปลี่ยนแปลงสถาบันการปกครองนานัปการ และส่งเสริมแนวคิดปฏิรูปมากหลาย ทว่า การเปลี่ยนแปลงพระราชหฤทัยครั้งนี้นับว่าช้าไป เนื่องจากเมื่อพระพันปีหลวงฉือสี่เสด็จทิวงคตแล้วไม่นาน ราชวงศ์แมนจูและระบอบราชาธิปไตยในจีนก็ถึงกาลสิ้นสุดลง นักประวัติศาสตร์จากฝ่ายกั๋วหมินตั่งและฝ่ายคอมมิวนิสต์ในจีนซึ่งได้เถลิงอำนาจในประเทศจีนสมัยต่อมานั้น โจมตีพระพันปีหลวงฉือสี่ว่าทรงเป็นทรราชินีและผู้กดขี่ประชาชนที่ต้องรับผิดชอบต่อการล่มสลายของราชวงศ์ชิง ทว่า ในยุคปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ต่างเห็นว่า พระนางทรงเป็นแพะรับบาปในเรื่องที่เกิดนอกเหนือความควบคุมของพระนาง เนื่องจากการจบบทบาทของราชวงศ์ชิงนั้นเกิดขึ้นหลังการสวรรคตแล้ว กับทั้งพระนางทรงเป็นนักปกครองที่หาได้อำมหิตอย่างที่กล่าวขานกันไม่ และยังทรงเป็นนักปฏิรูปที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าการปฏิรูปของพระนางจะสายเกินไปก็ตาม เมื่อเทียบกันแล้ว พระพันปีหลวงฉือสี่ดำรงพระชนม์ชีพตั้งแต่ช่วงกลางรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฏาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของไทย

 
 

 
 


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 23 กันยายน 2012, 07:17:13
วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๘  ค่ำ  เดือน ๑๐ (เดือนสิบสองเหนือ) ปีมะโรง
............................
พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) อเล็กซานเดอร์ คาร์ตไรต์
จัดตั้งทีมเบสบอลทีมแรกในชื่อ New York Knickerbockers
เล็กซานเดอร์ คาร์ตไรต์ (Alexander Joy Cartwright, 17 เมษายน พ.ศ. 2363 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2435) วิศวกรชาวอเมริกันผู้คิดค้นกีฬาเบสบอล สมาชิกทีมกีฬา "นิวยอร์กนิกเกอร์บ็อกเกอร์" ซึ่งเป็นกีฬาที่ใช้ไม้ตีลูกบอล เดิมเรียก "ทาวน์เกม" ในปี พ.ศ. 2388 คาร์ตไรต์และกรรมการในสโมสรนิวยอร์กนิกเกอร์บ็อกเกอร์ได้ร่างกฏการเล่นขึ้นใหม่ แปลงการเล่นกีฬาในสนามกลางแจ้งนี้ให้ละเอียดอ่อนและให้น่าสนใจสำหรับผู้ใหญ่มากขึ้น ทีมสโมสรนิวยอร์กนิกเกอร์บ็อกเกอร์ได้ทำการแข่งขันโดยใช้กฎใหม่ที่ร่างขึ้นนี้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2389 ผลคือทีมสโมสรนิวยอร์กนิกเกอร์บ็อกเกอร์แพ้ 23-1 ในปี พ.ศ. 2392 คาร์ตไรต์ได้ย้ายจากนิวยอร์กไปทำเหมืองทองคำในแคลิฟอร์เนีย หลังการล้มป่วย คาร์ตไรต์ได้อพยพไปอยู่ฮาวายกลายเป็นพลเมืองฮาวายในเวลาต่อมาและประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ที่โฮโนลูลูนี้เองที่คาร์ตไรต์ได้ตั้งสโมสรเบสบอลขึ้นเป็นครั้งแรกโดยรวมทีมเบสบอลต่างๆ ที่เขาสร้างขึ้นทั่วฮาวายเข้าร่วมแข่งขัน สโมสรฮาวายของคาร์ตไรต์กลายเป็นแบบอย่างของสโมสรเบสบอลสมัยใหม่ต่างๆ ที่แพร่หลายเป็นกีฬาเป็นที่นิยมกันมากที่สุดชนิดของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน อเล็กซานเดอร์ คาร์ตไรต์ ได้รับการบรรจุชื่อไว้ใน "หอเกียรติยศเบสบอล" เมื่อปี พ.ศ. 2481
.........................

พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1846) นักดาราศาสตร์ประกอบด้วย อูแบง เลอเวรีเย
 
โยฮันน์ กอทท์ฟรีด กัลเลอ และ จอห์น คูช แอดัมส์

มีส่วนร่วมในการค้นพบดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ดวงที่ 8
ดาวเนปจูน (อังกฤษ: Neptune) หรือชื่อไทยว่า ดาวสมุทร หรือ ดาวเกตุ คือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับที่ 8 หรือลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับการโคจรของดาวพลูโต ซึ่งบางครั้งจะเข้ามาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า) ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมัน (กรีก : โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆) ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมากๆ เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เสียอีก ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัส) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan) ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 13 ดวง และดวงใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน ในปี พ.ศ. 2389 Urbain Le Verrier.jpg ( Urbain Le Verrier ) คำนวณว่า ต้องมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งรบกวนการโคจรของดาวยูเรนัส จนเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2389 โจฮันน์ จี. กาลเล (Johann G. Galle ) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันแห่งหอดูดาวเบอร์ลิน ได้ค้นพบดาวเนปจูน ในตำแหน่งใกล้เคียงกับผลการคำนวณดังกล่าว
...........................

 พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) สะพานพระราม 7 เปิดการจราจร
สะพานพระราม 7 (อังกฤษ: Rama VII Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร สะพานพระราม 7 เป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 29.10 เมตร และมีความยาว 934 เมตร สร้างเสร็จและเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 โดยเปิดใช้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแทนสะพานพระราม 6 ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท


 



 



 
 


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 24 กันยายน 2012, 12:48:53
วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๙  ค่ำ  เดือน ๑๐ (เดือนสิบสองเหนือ) ปีมะโรง
............................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - วันมหิดล (วันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)***
เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2494 ได้มีประกาศอย่างเป็นทางการ ให้วันที่ 24 กันยายน เป็น "วันมหิดล" อันเป็น วันคล้ายวันทิวงคต ของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า"พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์

     ตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้น ทรงอุทิศพระองค์ในแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างล้นเหลือ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆอันได้แก่ ทรงพระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์ "ทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพทย์" เพื่อให้บุคคลไปศึกษาวิชาต่างประเทศ  อีกทั้งยังทรงพระราชทานทุนเพื่อค้นคว้า และการสอนในโรงพยาบาลศิราราช อันเป็นทุนแรกของทุนประเภทนี้ในประเทศไทย และเพื่อปรับปรุงการศึกษาแพทย์และพยาบาลให้ได้มาตรฐานสากล จึงทรงเป็นผู้แทนของรัฐบาลทำการติดต่อมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ให้ทำการช่วยเหลือการแพทย์และพยาบาลของไทย ซึ่งทางมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ก็ได้ให้ความช่วยเหลือโดยการส่งอาจารย์แพทย์ มามาถึง 6 ท่านรวมทั้งทรงพระราชทานทุนทรัพย์รวมทั้งที่ดินและอาคารส่วนพระองค์ เพื่อขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียน หอผู้ป่วย และหอพักนักศึกษาแพทย์และพยาบาล รวมทั้งทรงปรับปรุงวชิรพยาบาลเมื่อทรงเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการวชิรพยาบาล ทรงริเริ่มโครงการเพื่อปรับปรุงโรงพยาบาลแห่งนี้ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังทรงพระราชทานเงินให้กับโรงพยาบาลแมคคอมิค สำหรับจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ รพ.แมคคอร์มิค และรพ.สงขลา




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Kontae_ki ที่ วันที่ 24 กันยายน 2012, 16:41:27


ข้อมูลแน่นปึ๊ก


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 07 ตุลาคม 2012, 09:28:19
วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๗  ค่ำ  เดือน ๑๐ (เดือนสิบสองเหนือ) ปีมะโรง
...........................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากรมสารบาญชี (เปลี่ยนชื่อเป็นกรมบัญชีกลางเมื่อ พ.ศ. 2458)***
ประวัติกรมบัญชีกลาง

          ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ (จ.ศ.๑๒๓๕) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตราพระราชบัญญัติ สำหรับหอรัษฎากรพิพัฒนกำหนดให้มีเจ้าพนักงานบาญชีกลาง เพื่อทำหน้าที่จัดบัญชีอากรทั้งปวงบรรดาที่ขึ้นอยู่ ในหอรัษฎากรพิพัฒนให้เป็นหลักฐาน จะได้ทราบฐานะการเงินของแผ่นดินได้แน่นอน โดยตั้งอยู่ในหอรัษฎาพิพัฒนในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ (จ.ศ.๑๒๓๗) ได้ทรงตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน เหตุผลในการตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมีว่า การภาษีอากรซึ่งเป็นเงินขึ้นสำหรับแผ่นดินได้จับจ่ายราชการ ทนุบำรุงบ้านเมือง และใช้จ่ายเป็นเบี้ยหวัดเงินเดือนข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนนั้น พระคลังมหาสมบัติยังไม่มีอย่างธรรมเนียมรับธรรมเนียมจ่ายเงินให้เรียบร้อย เงินจึงได้ติดค้างเจ้าภาษีนายอากรเป็นอันมาก ไม่พอจับจ่ายใช้ราชการทนุบำรุงบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขยิ่งขึ้นได้ จึงทรงพระราชดำริปรึกษาพร้อมด้วยท่านเสนาบดีและเคาน์ซิลลอร์ออฟสเตดตั้งเป็นพระราชบัญญัตินี้ขึ้น หลักการของพระราชบัญญัตินี้คือ การจัดระเบียบราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติให้มีอธิบดีเป็นประธาน และรองอธิบดีช่วยราชการท่านผู้เป็นอธิบดี มีเจ้าพนักงานใหญ่ ๕ นาย คือ ปลัดอธิบดี-นาย ๑ เจ้าพนักงานบาญชีกลางนาย ๑ เจ้าพนักงานบาญชีรับเงินนาย ๑ เจ้าพนักงานบาญชีจ่ายนาย ๑ เจ้าพนักงานเก็บเงินนาย ๑ กับให้มีเจ้าพนักงานเป็นรองเจ้าพนักงานใหญ่อีกนานยละ ๑ คน พร้อมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของบรรดาเจ้าพนักงานขึ้นไว้โดยชัดแจ้ง นอกจากนั้นยังกำหนดให้มีออดิตอเยเนอราล เป็นเจ้าพนักงานสำหรับตรวจบาญชีและสิ่งของซึ่งเป็นรายขึ้นในแผ่นดินทุก ๆ ราย และจัดวางระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อใช้ในกรมพระคลังมหาสมบัติ (กรมพระคลังมหาสมบัติ คือ กระทรวงการคลังในปัจจุบัน)

          อย่างไรก็ดี การดำเนินงานของกรมพระคลังมหาสมบัติที่ตั้งขึ้นใหม่ ยังมีอุปสรรคและยังไม่เหมาะสม เนื่องจากกิจการบ้านเมืองเจริญก้าวหน้ามากขึ้นและกรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงแล้ว ดังนั้นในปี ๒๔๓๓ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้นเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) กำหนดให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีหน้าที่สำหรับรับ สำหรับจ่ายและรักษาเงินแผ่นดินทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวงกับถือบาญชีพระราชทรัพย์สำหรับในกระทรวงสิทธิขาด นับเป็นกรมเจ้ากระทรวงและกรมขึ้น รวมเป็นกรมใหญ่ ๑๓ กรม ดังนี้

         กรมเจ้ากระทรวง ๕ กรม คือ

๑. กรมพระคลังกลาง สำหรับประมาณการรับจ่ายเงินแผ่นดินว่าภาษีอากร และบังคับบัญชาราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทั้งสิ้น
๒. กรมสารบาญชี สำหรับจ่ายเงินแผ่นดิน และถือสารบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น
๓. กรมตรวจ สำหรับตรวจบาญชี ตรวจราคา ตรวจรายงานการรับจ่ายเงินแผ่นดิน และสรรพราชสมบัติการภาษีอากรทั้งสิ้น
๔. กรมเก็บ สำหรับรักษาพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น
๕. กรมพระคลังข้างที่ สำหรับจัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น ๘ กรม แบ่งเป็น ๒ แผนก คือ

แผนกหนึ่ง กรมทำการแผ่นดิน มี ๓ กรม คือ
๑. กรมกระสาปนสิทธิการ สำหรับทำเงินตรา
๒. กรมงานพิมพ์บัตร สำหรับทำเงินกระดาษและตั๋วตรา
๓. กรมราชพัสดุ สำหรับจัดการซื้อจ่ายของห้องหลวงและรับจ่ายของส่วย

อีกแผนกหนึ่ง กรมเจ้าจำนวน เก็บเงินภาษีอากร มี ๕ กรม คือ
๑. กรมส่วย สำหรับเร่งเงินค่าราชการตัวเลขและค่าธรรมเนียม
๒. กรมสรรพากร สำหรับเก็บเงินอากรต่าง ๆ
๓. กรมสรรพภาษี สำหรับเก็บเงินภาษีต่าง ๆ
๔. กรมอากรที่ดิน สำหรับเก็บเงินอากรค่าที่ต่าง ๆ
๕. กรมศุลกากร สำหรับเก็บเงินภาษีขาเข้าขาออก

      ซึ่งโดยผลแห่งพระราชบัญญัติพระธรรมนูญฉบับดังกล่าว กรมสารบาญชี หรือกรมบัญชีกลางในปัจจุบัน จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) โดยมีสถานที่ทำการ ณ ตึกหอ-รัษฏากรพิพัฒน ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดอำนาจหน้ที่กรมต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทั้ง ๑๓ กรม ไว้โดยละเอียด สำหรับกรมสารบาญชีนั้น พระราช-บัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และแบ่งส่วนราชการ ดังนี้

      "กรมสารบาญชี มีหน้าที่รับจ่ายเงินตามรายประมาณ และทำบาญชีรักษาพระราชทรัพย์แลสารบาญชีหน้าหลวงใบนำเบิกทั้งสิ้น มีอธิบดีรับผิดชอบในกรมสารบาญชีทั่วไป ๑ รองอธิบดีสำหรับช่วยการในอธิบดี ๑ มีนายเวร ๔ คือ
๑. เวรรับ สำหรับรับเงิน ฤาราชสมบัติทั้งปวง และทำบาญชีรายรับ
๒. เวรจ่าย สำหรับจ่ายเงิน ฤาราชสมบัติทั้งปวง และทำบาญชีรายจ่าย
๓. เวรแบงค์ สำหรับทำบาญชีเงินรับจ่ายในนานาประเทศ แลเป็นธุระการแลกเปลี่ยน หรือเงินฝากแบงค์
๔. เวรบาญชี สำหรับรักษาบาญชีพระราชทรัพย์ บาญชีรายงบประมาณบาญชีหนี้หลวง แลใบเบิก ใบนำใบเสร็จ ตั้งเร่งหนี้หลวง มีเจ้าพนักงานผู้ช่วย เสมียนเอก เสมียนโท เสมียนสามัญ พรอสมควรแก่ราชการ"

      และได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระยานรนารถภักดีศรีรัษฏากร (เอม ณ มหาชัย) เป็นอธิบดีกรมสารบาญชีคนแรก และโปรดเกล้าฯ ให้ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช เป็นรองอธิบดี กับทรงแต่งตั้งให้มิสเตอร์ แอล.เอ็ม.เอ็ม.ครอส (Mr.L.M.M.Cross) เป็นผู้ช่วยอธิบดีที่ปรึกษากับการบัญชีทั้งปวง และในปี พ.ศ.๒๔๓๓ นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติกรมสารบาญขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) กำหนดหน้าที่ และแบ่งส่วนราชการกรมสารบาญชีออกเป็น ๓ กอง คือ กองบาญชีกลาง กองรับและกองจ่ายกับนายเวร ๔ คือ เวรรับ เวรจ่าย เวรเกณฑ์ (เดิมเรียกว่า เวรแบงค์) และเวรบาญชี

      ครั้นมาในปี พ.ศ.๒๔๕๘ ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกี่ยวกับกรมสารบาญชี ดังนี้คือ ในเวลานั้นเงินรายได้รายจ่ายของแผ่นดินมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จำเป็นจะต้องตรวจตราการรับจ่ายและเงินรักษาเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่เฉพาะสำหรับปฏิบัติการไม่ก้าวก่ายกันดังที่เป็นอยู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดินขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับทำหน้าที่ตรวจหน่วยราชการที่รับหรือเบิกจ่าย หรือรักษาเงินแผ่นดิน และเงินอื่น ๆ ที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ และเพื่อมิให้หน้าที่ของกรมที่ตั้งขึ้นใหม่ปะปนกับหน้าที่ของกรมเดิม จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมตรวจกับกรมสารบาญชี ตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมบาญชีกลาง" เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๕๘ อันถือเป็นวันที่ได้มีการสถาปนากรมบัญชีกลางขึ้นเป็นครั้งแรก



 



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 12 ตุลาคม 2012, 08:05:51
วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑๒  ค่ำ  เดือน ๑๐ (เดือนสิบสองเหนือ) ปีมะโรง
..................................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) - วันเปิดเรียนของ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ถนนบำรุงเมือง กรุงเทพฯ ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ***
 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 วันเปิดทำการสอนของโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตึกสายสวลีสัณฐาคาร วัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้กุลบุตรกุลธิดา ได้รับความรู้มีการศึกษา โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้พัฒนาโดยลำดับ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครูพระนคร ในวันที่ 6 มีนาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้วิทยาลัยครูพระนครใหม่ว่า สถาบันราชภัฏ ในปี 2535 เป็นวาระครบรอบ 100 ปี ของการจัดตั้งสถาบัน


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 13 ตุลาคม 2012, 06:02:42
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑๓  ค่ำ  เดือน ๑๐ (เดือนสิบสองเหนือ) ปีมะโรง
..................................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกในไทย เปิดดำเนินกิจการ ที่ถนนพระราม 4 ***
ซูเปอร์มาร์เก็ต (อังกฤษ: Supermarket) หรือ ร้านสรรพาหาร (มาจาก สรรพ + อาหาร) ในภาษาไทย คือร้านค้าแบบบริการตนเองอันเป็นรูปแบบหนึ่งของร้านขายของชำ ซึ่งเสนอขายสินค้าอาหารและของใช้ในครัวเรือนหลายประเภทโดยจัดจำแนกไว้ตามแผนก ซูเปอร์มาร์เก็ตมีขนาดใหญ่กว่าและมีสินค้าให้เลือกซื้อหลากหลายมากกว่าร้านขายของชำแบบดั้งเดิม และยังจำหน่ายสินค้าที่พบได้ปกติในร้านสะดวกซื้อ แต่ก็ยังเล็กกว่าและมีสินค้าจำกัดประเภทกว่าไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือซูเปอร์สโตร์
 
ซูเปอร์มาร์เก็ตโดยทั่วไปประกอบด้วยแผนกเนื้อสัตว์ พืชผักผลไม้ ผลิตภัณฑ์นม และขนมปัง พร้อมกับพื้นที่บนชั้นซึ่งสงวนไว้สำหรับสินค้าบรรจุกระป๋องและสินค้าหีบห่อ เช่นเดียวกับรายการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร เช่นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เภสัชกรรม และสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนอื่น ๆ ที่มีการบริโภคอย่างสม่ำเสมอ เช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ที่ได้รับอนุญาต) อุปกรณ์การแพทย์ และเสื้อผ้า และบางร้านก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารโดยกว้างขวางมากกว่าอาหาร
 
ซูเปอร์มาร์เก็ตในแถบชานเมืองแบบเดิมตั้งอยู่บนพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ซึ่งโดยปกติจะมีชั้นเดียว มักตั้งอยู่ใกล้เขตที่อยู่อาศัยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ความดึงดูดใจพื้นฐานของซูเปอร์มาร์เก็ตคือ ความพร้อมของสินค้าอย่างกว้าง ๆ ที่มีให้เลือกซื้อภายใต้หลังคาเดียวในราคาที่ค่อนข้างต่ำ ข้อได้เปรียบอื่น ๆ อาทิความสะดวกในการจอดรถ และความสะดวกในเรื่องเวลาของการจับจ่ายใช้สอย ที่บ่อยครั้งขยายเวลาไปจนค่ำหรือแม้แต่ยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อวัน ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่มักมีการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อการโฆษณา ซึ่งโดยทั่วไปผ่านหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ก็ยังมีการนำเสนออธิบายรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตมักจะเป็นส่วนหนึ่งของร้านค้าสาขาในบรรษัทที่เป็นของตนเอง หรือควบคุมซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง (บางครั้งโดยแฟรนไชส์) หรือแม้แต่ควบคุมข้ามประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการประหยัดต่อขนาด
 
การจัดหาสินค้าเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตมักจัดการโดยศูนย์กระจายสินค้าของบรรษัทแม่ เช่นบริษัทลอบลอว์ในประเทศแคนาดาซึ่งดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตหลายพันแห่งทั่วประเทศ ลอบลอว์ดำเนินงานศูนย์กระจายสินค้าในทุกจังหวัด โดยปกติในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด[1]
 
สำหรับซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย แห่งแรกที่มีการเปิดกิจการ ชื่อ เจนี สโตร์ เปิดกิจการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่ถนนพระราม 4 ตรงข้ามวังสระปทุม โดยนายเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง นักธุรกิจชาวไทย [2]
 


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 14 ตุลาคม 2012, 06:10:42
วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑๔  ค่ำ  เดือน ๑๐ (เดือนสิบสองเหนือ) ปีมะโรง
..................................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - ชัก เยเกอร์ นักบินทดสอบชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่บินด้วยความเร็วเหนือเสียงผ่านกำแพงเสียง ***
  เพียง 2 วันก่อนขึ้นบินทดลองฝ่ากำแพงเสียง  ร้อยเอก ชัค เยเกอร์  แห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ ก็ประสบอุบัติเหตุจากการขี่ม้าจนกระดูกซี่โครงหัก 2 ซี่  และถูกกระแทกจนเกือบหมดสติ   ตอนเช้าวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1947  ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ประสบอุบัติเหตุ  หมอใช้เทปพันรอบตัวเขาเพื่อดามซี่โครงที่หักนั้นไว้ชั่วคราว  แขนขวาของเขาก็ยังปวดจนใช้การไม่ได้  แต่หากเขาปล่อยให้เจ้าหน้าที่กองทัพอากาศรู้เรื่องนี้เข้า  การบินทดลองซึ่งเป็นความลับสุดยอดครั้งนี้จะต้องเลื่อนออกไปทันที


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 15 ตุลาคม 2012, 11:38:25
วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ แรม ๑๕  ค่ำ  เดือน ๑๐ (เดือนสิบสองเหนือ) ปีมะโรง
...........................

***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่จัดประชุมนี้โดยเฉพาะ***
ดูภาพได้ที่...
 http://www.thai-architecture.com/th_pavilion/_queen_th.html



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 18 ตุลาคม 2012, 06:09:03
วันนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๓  ค่ำ  เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) ปีมะโรง
...........................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - บริษัท เทกซัสอินสตรูเมนต์ ในสหรัฐอเมริกา เปิดตัววิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องแรก***
ประวัติศาสตร์ของโซนี่ถูกเขียนขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง…
 
            มาซารุ อิบูกะ เดินทางกลับสู่กรุงโตเกียว ในห้วงเวลาที่ญี่ปุ่นกำลังโศกสลดกับบาดแผลของสงคราม เขาเปิดร้านเล็กๆขึ้นมาเพื่อรับซ่อมวิทยุให้ผู้คนที่กระหายข่าวสาร ต่อมาได้พบกับอากิโอะ โมริตะ สหายผู้ร่วมก่อตั้งโซนี่
 
            หลังการลองผิดลองถูกอยู่นาน เวลาล่วงถึงปี 2493 โซนี่ก็ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเทปแถบแม่เหล็กเครื่องแรกของญี่ปุ่น ในนาม G โมเดล เวลาในการบันทึกเสียงคือ 1 ชั่วโมง น้ำหนัก 45 กิโลกรัม
 
            ต่อมาในปี 2498 โซนี่เปิดตัววิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องแรกของญี่ปุ่น ตามด้วยวิทยุทรานซิสเตอร์ขนาดพกพาเครื่องแรกของโลกในปี 2500 และพอผู้บริหารตัดสินใจจัดตั้งบริษัทโซนี่ คอร์ปอเรชั่น ออฟ อเมริกา ในปี 2503 ปีนั้นเองโซนี่ก็ประดิษฐ์โทรทัศน์ ทรานซิสเตอร์เครื่องแรกของโลก
 
            อิฐก้อนแรกๆที่ก่อรากฐานให้โซนี่เติบใหญ่มาถึงปัจจุบัน จึงมาจากสินค้าหมวดภาพและเสียง
 
            ไม่เพียงเป็นผู้บุกเบิกคิดค้นเทคโนโลยี เวลาล่วงผ่านเลยไป แบรนด์โซนี่ยังได้ขยายธุรกิจและแผ่ไพศาลไปทั่วโลก รวมถึงแผ่นดินสยาม…
 
            ในแผ่นดินสยาม ห้วงเวลาปัจจุบัน โซนี่ครองอันดับหนึ่งของหมวดสินค้า AV (Audio Visual-ภาพ/เสียง) ด้วยมาร์เก็ตแชร์ประมาณ 28-29%




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 19 ตุลาคม 2012, 05:39:17
วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๔  ค่ำ  เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) ปีมะโรง
...........................
วันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันที่ 292 ของปี (วันที่ 293 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน  เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 73 วันในปีนั้น
........................................
เหตุการณ์
   พ.ศ. 2324(ค.ศ. 1781) - กองกำลังอังกฤษนำโดยนายพล ชาลส์ คอร์นวอลลิสยอมจำนนต่อกองกำลังฝรั่งเศส-อเมริกา นำโดยนายพล จอร์จ วอชิงตันในการโอบล้อมที่ยอร์กทาวน์เวอร์จิเนีย เหตุการณ์นี้ปูทางไปสู่การสิ้นสุดสงครามปฏิวัติอเมริกา
   พ.ศ. 2515(ค.ศ. 1972) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงควบคุมบัญชาการทดลองปฏิบัติการฝนหลวงสาธิตให้ผู้แทนรัฐบาลสิงคโปร์ชม ณ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน รัฐบาลไทยมีมติเทิดพระเกียรติพระองค์ในฐานะ "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปีเป็น "วันเทคโนโลยีของไทย" เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544
   พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ร่วงลง 22% ภายในวันเดียว นับว่าลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
   พ.ศ. 2538(ค.ศ. 1995) - นายบรรหาร ศิลปอาชานายกรัฐมนตรี และคณะ เดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกา อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 19-28 ตุลาคม 2538 เพื่อร่วมงานฉลองครบรอบ 50 ปีสหประชาชาติ
   พ.ศ. 2546(ค.ศ. 2003) - อุบัติเหตุ เครื่องเล่นหนวดปลาหมึกยักษ์ของสวนสนุกดรีมเวิลด์
   พ.ศ. 2546(ค.ศ. 2003) - 19-21 ตุลาคม - ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก
ประจำปี ค.ศ. 2003
   พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - เรือนจำกลางบางขวางจังหวัดนนทบุรี  มีพิธียุติการประหารชีวิตด้วยวิธียิงเป้าอย่างเป็นทางการ โดยเปลี่ยนไปใช้การฉีดยาหรือสารพิษเข้าสู่ร่างกายแทน
   พ.ศ. 2547(ค.ศ. 2004) - พล.อ.หม่อง เอ  ผู้บัญชาการทหารบก กองทัพพม่า ยึดอำนาจ พล.อ.ขิ่น ยุ้นต์ นายกรัฐมนตรี
..............................................
วันเกิด
   พ.ศ. 2405(ค.ศ. 1862) - ออกุสต์ ลูมิแยร์ นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส (ถึงแก่กรรม 10 เมษายน  พ.ศ. 2497)
   พ.ศ. 2453(ค.ศ. 1910) - สุบรามันยัน จันทรเสขรรนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชาวอินเดีย-อเมริกัน (ถึงแก่กรรม 21 สิงหาคม พ.ศ. 2538
)
   พ.ศ. 2497(ค.ศ. 1954) - บวรศักดิ์ อุวรรณโณ  นักกฎหมาย
   พ.ศ. 2509(ค.ศ. 1966) - เมลริด เทเลอร์  นักมวยชาวอเมริกัน
   พ.ศ. 2518(ค.ศ. 1977) - เอกรัตน์ วงษ์ฉลาด  (แด๊กซ์) นักร้องนำ วง BIG ASS
   พ.ศ. 2519(ค.ศ. 1978) - พัชรศรี เบญจมาศ (กาละแมร์) พิธีกร ผู้ประกาศ
   พ.ศ. 2532(ค.ศ. 1989) - มาร์ค ริคเค็นสทอร์ฟ (เจ) นักแสดง /พิธีกร / นายแบบ / นักบาสเก็ตบอลทีมชาติ / ทูตสันติภาพแห่งประเทศเยอรมณี / นักดนตรี / แชมป์สภามวยปล้ำโลกรุ่นซูปเปอร์เวต / มือขวาคุณสนธิ
   พ.ศ. 2535(ค.ศ. 1992) - ชลธร ปรัชญารุ่งโรจน์ (แจม) นักร้อง/นักแสดง/พิธีกร
   พ.ศ. 2534(ค.ศ. 1991) - ศุภาพิชญ์ สุดสาย (ใบหม่อน) นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มอดินแดง) นางแบบ(สนามหลวง)
........................................
วันถึงแก่กรรม
   พ.ศ. 2480(ค.ศ. 1937) - เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด นักฟิสิกส์นิวเคลียร์ชาวนิวซีแลนด์ (เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2414)
.........................................................
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
   วันเทคโนโลยีของไทย
   วันรัฐธรรมนูญ ในนีอูเอ  (พ.ศ. 2517)




หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 20 ตุลาคม 2012, 06:13:29
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๕  ค่ำ  เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) ปีมะโรง
...........................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ที่ประชุมองค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส มีมติยกย่องท่านพุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสำคัญของโลก ***
ติดตามต่อที่...
http://watprayoon.org/index.php?topgroupid=1&subgroupid=223&groupid=43
พุทธทาส ภิกขุ บุคคลสำคัญของโลก
ศ.พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
        การที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องท่านอาจารย์พุทธทาสว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลกย้ำเตือนถึงความจริงของบทกลอนของท่านพุทธทาสที่ว่า “พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย” ผลงานของท่านนอกจากจะไม่ตายไปจากความทรงจำของชาวพุทธแล้ว ยูเนสโกยังประกาศยกย่องท่านพุทธทาสไปทั่วโลก
เราอาจตั้งคำถามว่า ทำไมท่านพุทธทาสจึงได้รับยกย่องจากยูเนสโก เขามองท่านพุทธทาสอย่างไร ใครที่อยากจะได้รับการยกย่องในเวลาร้อยปีชาตกาลของตนแบบท่านพุทธทาสก็อาจจะจับประเด็นได้และทำผลงานให้ตรงจุด บางคนอาจได้คิดว่า เมื่อยูเนสโกยังยกย่องท่านพุทธทาส ทำไมเราจึงไม่ศึกษางานของท่านบ้าง เรากลายเป็นพวกใกล้เกลือกินด่างหรือเปล่า เพราะฉะนั้นในช่วงนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะหันมาศึกษางานของท่านพุทธทาส ให้มากขึ้น อาตมาเคยพูดถึงท่านพุทธทาสเมื่อประมาณ ๒๕ ปีมาแล้วในปี ๒๔๒๕ เมื่อพูดแล้วได้พิมพ์เป็นหนังสือเรื่องเปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับฌอง-ปอล ชาร์ต นักเขียนรางวัลโนเบลของฝรั่งเศส เป็นนักปรัชญาเอกซิสเตนเชียลิสม์ พิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรกในปี ๒๕๒๖ อะไรที่เคยพูดไว้ในหนังสือนั้นเป็นอีกมุมมองหนึ่งซึ่งจะไม่พูดถึงในวันนี้

 



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 21 ตุลาคม 2012, 08:25:41
วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๖  ค่ำ  เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) ปีมะโรง
...........................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย (ประสูติ)***
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์" เป็น พระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประสูติแก่เจ้าจอมมารดาตลับ ณ วันพุธ ขึ้น 11 ค่ำเดือน 11 ปีจอ ฉศก จุลศักราช 1236 ซึ่งตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417
พระองค์ได้เข้าพิธีพระราชโสกันต์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2427 พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 5 อีก 3 พระองค์ และทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌายะ หลังจากเสร็จพระราชพิธีสมโภชแล้วจึงทรงเสด็จ มาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร รวมเวลาที่พระองค์ได้ทรงผนวชทั้งสิ้น 22 วัน
เนื่องจากช่วงเวลานั้น ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการแผ่อำนาจแสวงหาอาณานิคมของชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่าจะโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธออีก 3 พระองค์ ไปศึกษาต่อยังทวีปยุโรปและ ประเทศอังกฤษ เพื่อนำวิชาความรู้มาพัฒนาบ้านเมืองให้เทียมทันอารยประเทศ
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมในประเทศอังกฤษแล้ว พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมาย เนื่องจากขณะนั้นนานาประเทศที่ทำสนธิสัญญากับประเทศไทยไม่ยอมรับกฎหมายไทยว่าเสมอด้วยกฎหมายของ อารยประเทศ ทำให้มีปัญหาต่อการปกครองและมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนอยู่เนืองนิจ พระองค์ทรงสอบไล่ได้ ตามหลักสูตรปริญญา B.A.(oxon) ชั้นเกียรตินิยมภายในเวลาเพียง 3 ปี พระชันษาได้ 20 พรรษา
เมื่อพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เสด็จกลับสยามประเทศแล้วก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการใน กรมราชเลขานุการ ทรงสามารถทำงานในกรมนั้นได้ทุกตำแหน่ง ประกอบกับทรงร่างพระราชหัตถเลขา ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรีในปีเดียวกันนั้น
         
แต่ในเวลานั้น เอกราชทางการศาลของประเทศสยามได้รับความกระทบกระเทือนเป็นอย่างมาก กล่าวคือ สยามต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (Extraterritorial rights) ให้แก่ชาวต่างชาติ ที่มาพำนักในสยามประเทศหลายครั้ง ด้วยเหตุที่กฎหมายยังมีความล้าสมัยอยู่มาก พระองค์จึงทรง ตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะเข้ารับราชการตุลาการ ทรงเข้าศึกษากฎหมายไทยโดยการค้นคว้าจากราชเลขานุการ ฝ่ายกฤษฎีกา โดยมีขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) และเจ้าพระยามหิธรเป็นผู้ถวายความสะดวก
ในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งข้าหลวง พิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อจัดการศาลหัวเมืองในมณฑลอยุธยาเป็นแห่งแรก โดยให้เสด็จในกรมฯ เป็น สภานายกพิเศษ ทรงตัดสินคดีทั้งปวงด้วยพระองค์เอง โดยความรวดเร็วและยุติธรรมเป็นที่ปรากฏใน พระปรีชาสามารถแก่หมู่ชนในมณฑลนั้น
เนื่องด้วยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมได้ประชวร จึงกราบ บังคมลาออกจากตำแหน่งในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมี พระบรมราชโองการแต่งตั้งเสด็จในกรมฯ ขึ้นเป็นเสนาบดีสืบแทน นับเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ลำดับ 3 ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง 22 พรรษา เสด็จในกรมฯ ทรงสนพระทัยและหาหนทางในการ ปรับปรุงแก้ไข จัดระเบียบศาลและการยุติธรรมทั่วประเทศไทยให้เรียบร้อย ทรงมีพระราชดำริใน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ว่า มี 2 แนวทางคือ การทำให้บ้านเมืองมีกฎหมายดี และการทำศาลให้มี ผู้พิพากษาที่ดี และมีคุณธรรม
หลังจากที่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ได้เข้ารับราชการและบำเพ็ญคุณความดีเป็น ประโยชน์แก่บ้านเมืองเป็นอันมากแล้ว จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้นเป็น พระองค์เจ้า ต่างกรม มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ นาคนาม" ในปี พ.ศ. 2442
นับเวลาที่เสด็จในกรมฯ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีเป็นระยะเวลา 4 ปี ระหว่างนั้นได้ทรงตรากฎและคำสั่ง เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการฝ่ายการศาลยุติธรรมไว้หลายฉบับ ตั้งแต่ปี ร.ศ. 115 ถึง ร.ศ. 120 ทั้งหมด รวม 28 ฉบับ ต่อมาใน ร.ศ. 121 ได้ทรงดำรัสให้ยกเลิกกฎเสนาบดีชุดก่อนเสียทั้งหมด และทรงตรากฎ และคำสั่งออกใช้ใหม่ถึง 67 ฉบับ ซึ่งบรรดากฎและคำสั่งเหล่านี้นับเป็นที่มาของกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระธรรมนูญศาลยุติธรรมบางมาตราในปัจจุบัน
ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พ.ศ. 2454 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จในกรมฯ ดำรง ตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงดำรงตำแหน่งเพียงปีเดียวก็ได้รับพระบรมราชโองการ เลื่อนขึ้นเป็นกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวง ราชบุรีดิเรกฤทธิ์คชนาม" จนกระทั่ง พ.ศ. 2462 เสด็จในกรมฯ ทรงประชวรด้วยพระวัณโรคที่พระวักกะ จึงทรงกราบบังคมทูลลาออกและได้เสด็จไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส แต่พระอาการไม่ทุเลาลง จนกระทั่งในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เวลา 21.00 น. พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็เสด็จสิ้นพระชน ณ กรุงปารีส นับพระชนมายุเรียงปีได้ 47 พรรษา บรรดาศิษย์และบุคคลที่คุ้นเคย ได้พร้อมใจอัญเชิญพระอัฐิของพระองค์เข้ามาบำเพ็ญกุศลในกรุงเทพฯ และในปี พ.ศ. 2497 เนติบัณฑิตสภาได้เริ่มต้นเรียกวันที่ 7 สิงหาคม ว่า "วันรพี" พร้อมทั้งจัดงาน บำเพ็ญกุศลทักษิณานุสรณ์เป็นต้นมาประจำทุกปี
 



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 23 ตุลาคม 2012, 06:01:44
วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๘  ค่ำ  เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) ปีมะโรง
...........................
23 ตุลาคม: วันชาติในฮังการี (พ.ศ. 2499); วันปิยมหาราชในไทย
 
พ.ศ. 501 (42 ปีก่อนคริสตกาล) – สงครามกลางเมืองสาธารณรัฐโรมัน: กองทัพของบรูตัสพ่ายแพ้ต่อกองกำลังผสมของมาร์ค แอนโทนีและออคเตเวียน ในยุทธการฟิลิปปี
 พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) – ยุทธการเอ็ดจ์ฮิลล์ระหว่างฝ่ายนิยมกษัตริย์และฝ่ายรัฐสภาในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงโดยไม่มีฝ่ายใดแพ้ชนะ ใกล้กับเอ็ดจ์ฮิลล์
 พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในภาพ) เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี
 พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีขึ้นครั้งแรกในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
 พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) – กลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวเชเชนบุกยึดโรงละครแห่งหนึ่งในมอสโก จับผู้เข้าชมการแสดงและนักแสดงราว 700 คนเป็นตัวประกันระหว่างวิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโก


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: >:l!ne-po!nt:< ที่ วันที่ 23 ตุลาคม 2012, 17:31:31
23 ตุลาฯ ใช่แค่วันปิยะฯ ครับ

http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?PHPSESSID=c9c34dd3301c551eb267fc8383329eb9&topic=320265.0


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 24 ตุลาคม 2012, 05:38:55
วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๙  ค่ำ  เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) ปีมะโรง
...........................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - เครื่องบินคองคอร์ด ให้บริการเชิงพาณิชย์เป็นครั้งสุดท้าย ***
เมื่อราว 40 ปีก่อน เครื่องบินคองคอร์ด เป็นเครื่องบินสุดไฮโซที่เศรษฐีมีเงินต่างก็อยากใช้บริการ เพราะสามารถเดินทางข้ามทวีปจากยุโรปไปอเมริกาได้เร็วกว่าเครื่องบินธรรมดาหลายเท่า เพราะสามารถบินได้สูงสุดที่ความเร็ว 2,349 กม./ชม. หรือเป็น 2.2 เท่าของความเร็วเสียง ที่เพดานบิน 15,000 เมตร
 
คองคอร์ดเป็นเครื่องบินโดยสารเหนือเสียง ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของอังกฤษและฝรั่งเศส คองคอร์ดเที่ยวแรกออกเดินทางในปี 1969 แต่เมื่อเปิดบริการไปได้สักระยะก็เริ่มมีปัญหา และประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกบ่อยครั้ง ในที่สุดคองคอร์ดก็เลยต้องปิดกิจการ โดยเที่ยวบินสุดท้ายออกเดินทางจากนิวยอร์กไปลอนดอนเมื่อ 24 ตุลาคม 2003 รวมเวลาที่เปิดบริการ ทั้งสิ้น 34 ปี


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 26 ตุลาคม 2012, 05:43:22
วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๑๑  ค่ำ  เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) ปีมะโรง
...........................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) – วันก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นหน่วยงานปกครองกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก***
26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 วันก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งอังกฤษ (The Football Association--The FA) ณ กรุงลอนดอน ก่อตั้งขึ้นเพื่อวางกฏเกณฑ์ กติกาของการเล่นฟุตบอล โดยจะดูแลสโมสรฟุตบอลอาชีพทั้งหมดในอังกฤษ สมาคมฯ จะรับผิดชอบในการจัดเตรียมนักกีฬาฟุตบอลทั้งทีมชาย-หญิงสำหรับแข่งขันฟุตบอล โลก และเป็นผู้จัดการแข่งขันชิงถ้วยของสมาคมฯ (FA Cup) รวมไปถึงจัดการแข่งขันฟุตบอลลีก (FA Premier League) สมาคมฟุตบอลอังกฤษจึงเป็นหน่วยงานปกครองกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก การแข่งขัน FA Cup ก็เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก (เริ่มในปี 2415) และการแข่งขันพรีเมียร์ลีกก็เป็นลีกฟุตบอลที่ยาวนานที่สุดในโลกด้วย (เริ่มตั้งแต่ปี 2431)



หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 27 ตุลาคม 2012, 04:14:44
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๑๒  ค่ำ  เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) ปีมะโรง
...........................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) – ประเทศไทยยกเลิกการใช้เงินพดด้วง และใช้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์แทนเงิน ***
          เงินพดด้วงของไทย เป็นเงินตราที่เป็น เอกลักษณ์ของไทย โดยเฉพาะไม่ซ้ำแบบของชาติใด มีค่าในตัวเอง เพราะทำด้วย โลหะมีราคา โดยมีน้ำหนักเป็นมาตรฐานวัดมูลค่า รูปทรงกระทัดรัด ทนทาน ผลิตด้วยมือ ทำจากแท่งเงินบริสุทธิ์ ทุบปลายทั้งสองข้าง ให้โค้งงอเข้าหากัน ทำให้มีรูปร่างกลมคล้าย ลูกปืนโบราณ ชาวต่างประเทศจึงเรียกว่า Bullet Coin ในสมัยอยุธยา ได้มีการ ประทับตราแผ่นดิน และตราประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ แต่ละพระองค์ รวมเป็น 2 ตราใบ เงินพดด้วงแต่ละอัน
ติดตามได้จาก...
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%87


หัวข้อ: Re: >>>..วันนี้ในอดีต..เก็บเรื่องเก่ามาเล่าขาน อำลาจอ .. <<<
เริ่มหัวข้อโดย: Siranoi ที่ วันที่ 29 ตุลาคม 2012, 08:17:25
วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕
ตรงกับ ขึ้น ๑๔  ค่ำ  เดือน ๑๑ (เดือนเกี๋ยงเหนือ) ปีมะโรง
...........................
***วันนี้ในอดีต เมื่อพ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) – การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดทดลองใช้ทางด่วนสายดินแดง-ท่าเรือ ซึ่งเป็นเส้นแรกของระบบทางด่วนขั้นที่ 1***