เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย

ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย => คนเชียงราย สังคมเชียงราย => ข้อความที่เริ่มโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 22 พฤษภาคม 2012, 21:22:35



หัวข้อ: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 22 พฤษภาคม 2012, 21:22:35
ขอความเห็นพื่อนสมาชิกห้องนี้ครับ ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2012, 17:57:44
ตกไปไกลเลย อิอิ ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: inta ที่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2012, 20:17:39
ไม่ต้องห่วง    คนไทยใจเย็นอยู่แล้ว   


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: tonkla ที่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2012, 20:24:25
พร้อมซะที่ไหน ส่วนใหญ่พูดได้แค่ภาษาเดียว  และยังแบ่งพรรคแบ่งพวกกันมากมาย

จนถึงเดี่ยวนี้ คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลย ว่าเราจะได้อะไร จากประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 และไอ้ประชาคมนี้มันคือหยัง


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: inta ที่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2012, 20:29:01
มีคนที่รู้จักกัน   เขาเล่าให้ฟังว่าที่เมืองยอน  เมืองตูม   เมืองสาด     เขาเปิดสอนภาษาอังกฤษ   และภาษาจีน    เพิ่มขึ้นมาอีก   


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: tonkla ที่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2012, 20:34:13
ที่แขวงบ่อแก้ว เด็ก ๆ พูดภาษาอังกฤษ จีน ไทย ลาว ฝรั่งเศส


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: tonkla ที่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2012, 20:35:20
ที่มาเลเซีย เด็กพูดภาษาอังกฤษ จีน ยาวี อาหรับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: jazzcr ที่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2012, 23:47:48
ที่แขวงบ่อแก้ว เด็ก ๆ พูดภาษาอังกฤษ จีน ไทย ลาว ฝรั่งเศส

ละอ่อนบ้านเฮา จบ ป.ตรี ยังอู้ภาษาอังกฤษบ่ได้เลยครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: จหมื่นไวยวรนารถ ที่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2012, 23:57:12
สมมาเต๊อะครับ บ่จำเป็นต้องอู้ได้หลายภาษาครับ แต่ต้องพัฒนาด้านฝีมือดีๆครับ บ่อั่นเรื่องฝีมือแรงงานจะเข้าทดแทนกันได้
เดี๋ยวจะได ผมจะเอาเรื่องราวมาฝากหื้อหมู่เฮาเจ้าเหนือนะครับ ขอว่างๆก่อนเน้อ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: louis ที่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2012, 00:02:29
พร้อมซะที่ไหน ส่วนใหญ่พูดได้แค่ภาษาเดียว  และยังแบ่งพรรคแบ่งพวกกันมากมาย

จนถึงเดี่ยวนี้ คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลย ว่าเราจะได้อะไร จากประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 และไอ้ประชาคมนี้มันคือหยัง

ขาดการสื่อสารให้เข้าจากหน่วยงานรัฐ
เสียงตามสายหมู่บ้านผมได้ยินแต่ ธนาคารชุมชน กับเงินผู้สูงอายุ รายนามผู้บริจาค
เเล้วก็ เพลง ไม่ได้โทษคนประกาศนะครับ โทษหน่วยงานรัฐไม่ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: louis ที่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2012, 00:04:21
ที่แขวงบ่อแก้ว เด็ก ๆ พูดภาษาอังกฤษ จีน ไทย ลาว ฝรั่งเศส

ละอ่อนบ้านเฮา จบ ป.ตรี ยังอู้ภาษาอังกฤษบ่ได้เลยครับ

บ้านเรามันมีแต่หลักสูตร
ขาดบุคลากรที่มีความรุ้จริงๆ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: 9D ที่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2012, 09:53:59
ที่แขวงบ่อแก้ว เด็ก ๆ พูดภาษาอังกฤษ จีน ไทย ลาว ฝรั่งเศส

ผมเด็กที่ลาวก็คงไม่แตกต่างจากเด็กไทยเท่าไรหลอกครับ.  น่าจะดำน้ำปูๆปลาๆเหมือนกัน.  เด็กลาวน่าจะได้เปรียบกว่าเด็กไทยก็ตรงที่ว่า.  เมืองบ่อแก้วเป็นเมืองผ่าน. ทำให้ฝรั่งมังค่าชาวต่างชาติมาที่นี่เยอะ.


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: @เชียงแสน ที่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2012, 09:56:46
ส่วนตัวผมก็ดีใจถ้ามันจะทำให้เรามีชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น แต่ไม่เห็นด้วย ถ้าจะมันจะทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำลง

พัฒนาที่ชาติตัวเองก่อนดีที่สุดครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: ใต้ฟ้า..เจียงฮาย ที่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2012, 10:09:15
ประชาชนทั่วไปหาเช้ากินค่ำ...ชาวไร่..ชาวนาเกษตรกร...ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนมันเป็นยังไง...แต่ก็เห็นมีตื่นตัวบ้างโดยเฉพาะครู...เพราะมีครูบางคนมาถามให้ติดต่อฝรั่งมาสอนภาษาอังกฤษให้ครู..
ผมก็ยังไม่เห็นประโยชน์จากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนอยู่ดี...ใครเห็นประโยชน์ที่ประชาชนทั่วไป----->นักเรียน------->นักศึกษา------>นักธุรกิจ-------->นักการเมือง--------->ประเทศไทย.....จะได้รับจากการเป็นสมาชิก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน..บ้าง..แนะนำผมหน่อยผมจะได้เอาไปอู้หื้อ...พ่อแม่พี่น้องลุงป้าน้าอา ฟังพ่องครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Bullet for my Brother ~ ที่ วันที่ 29 พฤษภาคม 2012, 10:35:47
ประชาชนทั่วไปหาเช้ากินค่ำ...ชาวไร่..ชาวนาเกษตรกร...ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนมันเป็นยังไง...แต่ก็เห็นมีตื่นตัวบ้างโดยเฉพาะครู...เพราะมีครูบางคนมาถามให้ติดต่อฝรั่งมาสอนภาษาอังกฤษให้ครู..
ผมก็ยังไม่เห็นประโยชน์จากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนอยู่ดี...ใครเห็นประโยชน์ที่ประชาชนทั่วไป----->นักเรียน------->นักศึกษา------>นักธุรกิจ-------->นักการเมือง--------->ประเทศไทย.....จะได้รับจากการเป็นสมาชิก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน..บ้าง..แนะนำผมหน่อยผมจะได้เอาไปอู้หื้อ...พ่อแม่พี่น้องลุงป้าน้าอา ฟังพ่องครับ


มารอฟังเหมือนกัน คนอื่นถามว่ามันดีกับชาวบ้านยังไง ผมเงิบเลย  ??? ??? ??? ???


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: chate ที่ วันที่ 29 พฤษภาคม 2012, 11:21:43
ไม่ต้องห่วง    คนไทยใจเย็นอยู่แล้ว   
+1 ครับ ยังไม่ว่าง ทะเลาะกันอยู่ >:( >:(


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Temujin ที่ วันที่ 29 พฤษภาคม 2012, 11:24:18
ที่แขวงบ่อแก้ว เด็ก ๆ พูดภาษาอังกฤษ จีน ไทย ลาว ฝรั่งเศส

ที่มาเลเซีย เด็กพูดภาษาอังกฤษ จีน ยาวี อาหรับ

ที่เวียดนามก็มิแพ้กัน   :D ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: SuperBoy Asia ที่ วันที่ 29 พฤษภาคม 2012, 11:30:24
เรื่องภาษาผมว่าไม่น่ามีปัญหาเท่าไหร่สำหรับชาวเชียงราย เพราะประเทศเพื่อนบ้านเราแถบนี้เค้าต่างหากที่ต้องพูดภาษาเรา ที่สำคัญก็คือความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงผลดีผลเสียครับ ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐต้องประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจและทั่วถึง


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: tfgc2007 ที่ วันที่ 29 พฤษภาคม 2012, 13:03:28
สำหรับเจียงฮายเฮาเป็น AEC มาเมินแล้ว บ่าเจื้อลองผ่อปี 58 ก็ เหมือนเดิม ( สำหรับจาวบ้านแบบ เฮาๆท่านๆ ครับ )


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 29 พฤษภาคม 2012, 17:12:38
เห็นว่าทางลาวจะมีโอกาสเปลี่ยนการเดินรถ
จากชิดขวามาเป็นชิดซ้ายเหมือนประเทศอื่น ในอาเซี่ยนครับ (เพื่อนที่รับราชการพูดให้ฟัง)


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: SuperBoy Asia ที่ วันที่ 29 พฤษภาคม 2012, 17:48:14
เห็นว่าทางลาวจะมีโอกาสเปลี่ยนการเดินรถ
จากชิดขวามาเป็นชิดซ้ายเหมือนประเทศอื่น ในอาเซี่ยนครับ (เพื่อนที่รับราชการพูดให้ฟัง)
ผมว่าลาวเค้าไม่เปลี่ยนหรอกครับเพราะประเทศรอบเขาก็ขับเลนขวากันหมดมีแต่ไทยประเทศเดียวเอง(ประเทศที่ติดลาวนะครับ)ที่ขับรถเลนซ้าย......


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 30 พฤษภาคม 2012, 21:28:10
เห็นว่าทางลาวจะมีโอกาสเปลี่ยนการเดินรถ
จากชิดขวามาเป็นชิดซ้ายเหมือนประเทศอื่น ในอาเซี่ยนครับ (เพื่อนที่รับราชการพูดให้ฟัง)
ผมว่าลาวเค้าไม่เปลี่ยนหรอกครับเพราะประเทศรอบเขาก็ขับเลนขวากันหมดมีแต่ไทยประเทศเดียวเอง(ประเทศที่ติดลาวนะครับ)ที่ขับรถเลนซ้าย......
ขอบคุณครับ ฟังเขามาอีกที
หามาให้เรียนรู้กันครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว
         AEC คือ (Asean Economics Community)
คือ การรวมตัวของชาติ Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน เพื่อที่จะมีผลประโญชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆกลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์ อำนาจต่อรองต่างๆกับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้าส่งออกของชาติอาเซี่ยนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่บางประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)


เครดิต กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: jessica1234 ที่ วันที่ 30 พฤษภาคม 2012, 22:52:59
ครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 01 มิถุนายน 2012, 20:09:23
การเตรียมตัวเบื้องต้นคงจะเป็นในเรื่อง
1.ความรู้ในวัฒนธรรมและชีวิตของประเทศสมาชิก
2.พัฒนาเรื่องภาษา

เพราะเรากำลังจะร่วมมือกับหลายประเทศที่การเมืองอ่อนใหวและ อีกทั้งหลายประเทศมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจที่ห่างกันกับเรามากบางประเทศก็มีความคิดทางการเมืองที่แตกต่างคนล่ะขั้วกับเรา...เช่นพม่าและกัมพูชา-ลาว หรือเวียตนาม..เป็นต้นผมจึงคิดว่าสองข้อที่เอ่ยในเบื้องต้นจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมตัวกันไว้ก่อน

ส่วนอย่างอื่นที่จะตามมาเนื่องจากของที่ขายกันไปมาจะปลอดภาษีเป็นส่วนมากจะถูกกว่าเราก็ไม่ว่าเป็นเรื่องรองลงมา(อันนี้พูดง่ายๆยกระดับมาตรฐานการผลิตมากั้นใว้คงได้ในระดับหนึ่ง)
อย่างอื่นอีกมากที่เอ่ยไม่ถึงเพราะส่วนตัวไม่ได้รู้จริง เพียงแต่มาคุยสนุกๆเท่านั้นเอง ครับ

ส่วนตัวแล้วสนใจตั้งแต่ CA FTA  JAFTA KAFTA หรืออาเซียน+3 จนกระทั่งก้าวหน้ามาเป็น  อาเซียน+6 และสุดท้ายคืออาเซียน+8(ว่ากันว่ากว่าจะได้+8ก็ทะเลาะกันอยู่นาน).....

พูดแบบชาวบ้านได้ความว่า...

ด้วยความที่ จีน+อินเดีย+เกาหลี มีความเจริญทางด้านต่างๆแบบก้าวกระโดดได้เข้ามาร่วมมีบทบาทใน AEC
ทำให้ตั่วเฮียทั้งสอง (สหรัฐ+โซเวียต)พยายามเข้ามาร่วมมีบทบาทในกลุ่มAEC
ด้วย(กลัวจะกลายเป็นผีข้างบ่อน) เพราะไอ้กันเองเศรษฐกิจในบ้านก็แย่ คนว่างงานก็มากขึ้นทุกวัน จะอาศัยยูโรโซนก็ไม่ได้ แต่ทางเอเซียเรากลับมีทิศทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสวนทางกันด้วยเหตุผลเหล่านี้ไอ้กันจึงอยากเข้ามาร่วมด้วย
และอาเซียนทั้ง10ประเทศก็อยากจะให้ ตั่วเฮียทั้งสอง เข้ามาร่วมด้วยเพื่อที่จะลดบทบาทพี่ใหญ่ย่านเอเซียตะวันออกและนายห้าง.(เพราะจีน+เกาหลี+ญี่ปุ่นเขาก็มีการร่วมมือกันทางการค้าอย่างแน่นแฟ้น ถ้าไม่ทำอะไรเผิ่อไว้เด๋วจะกลายเป็นลูกไล่เขา)
และอาเซียนก็วาดแผนใว้อย่างสวยหรูว่าให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางกรอบการเจรจาในระดับภูมิภาค

สงสารแต่ไต้หวันอยากเข้าร่วมจนใจจะขาด อาเซียนทั้ง10ก็อยากให้เข้ามา แต่ด้วยเหตุผลหลายอย่าง จนใจจริงๆรับไม่ได้ เป็นเหตุให้ ไต้หวันจำใจต้องไปเซ็นสัญญาความร่วมมือการค้ากับจีนแดงECFAแทนเพื่อจะได้ผลประโยชน์กับอาเซียนทางอ้อม.......
..

จบข่าวผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วยครับ
ขอบคุณที่มาร่วมแจมครับ ;D
เพิ่มเติมครับ
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน 1มกราคม ปี 2558ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก(อย่างที่คิดไม่ถึงทีเดียว)
blue print (แบบพิมม์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
1.การเป็นการตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3.การเป็นภูมิภาคที่พัฒนาทางเศรษฐกิจทัดเทียมกัน
4.เป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกโดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้
พม่า สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย สาขาผลิตถัณฑ์ยาง และสิ่งทอ
อินโดนีเซีย สาขาภาพยนต์และ ผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินน์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสาระสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน(ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง Asean) ;D ;D



(เครดิตกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: jaroen ที่ วันที่ 01 มิถุนายน 2012, 20:23:09
เหนื่อยเน้อคนบ้านเฮา โดยเฉพาะชาวบ้าน ลองไปถามชาวบ้านเขาดูซิครับ ไม่มีไดรรู้ว่ามันคืออะไร มีผลกระทบต่อเขาอย่างไร แล้วเราก็จะเห็นคนลาว พม่า เวียดนาม เข้ามาเป็นแรงงาน ทั้งภาคเกษตร ห้างสรรสินค้า ลูกจ้างในกาดหลวง งานที่คนเมืองบ้านเราเมิน พรึ๊บ แล้วชาวบ้าน หรือลูกหลานคนเมืองบ้านเราจะทำยังไง อันนี้เป็นมุมมองปัจจุบันครับ  :'(


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: inta ที่ วันที่ 01 มิถุนายน 2012, 20:57:28
มีคนเล่าให้ฟัง   โรงแรมดังๆตอนแรกให้คนไทยอยู่รับแขกด้านหน้า    พม่าล้างจานด้านหลัง    คนไทยพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยรู้เรื่องเลยเรียกพม่ามาพูดแทน   เดี๋ยวนี้เขาเลยให้คนไทยไปล้างจานแทนพม่า   


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 04 มิถุนายน 2012, 20:57:36
มีคนเล่าให้ฟัง   โรงแรมดังๆตอนแรกให้คนไทยอยู่รับแขกด้านหน้า    พม่าล้างจานด้านหลัง    คนไทยพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยรู้เรื่องเลยเรียกพม่ามาพูดแทน   เดี๋ยวนี้เขาเลยให้คนไทยไปล้างจานแทนพม่า   
;D ;D ;D ;D
การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น มองกันง่ายๆคือ
-การลงทุนจะเสรีมากๆ ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ประเทศที่มีการศึกษาระบบดีๆอาจมาเปิดโรงเรียนในบ้นเรา อาจทำให้โรงเรียนแพงๆแต่คุณภาพไม่ดีลำบาก
-ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอยู่กลาง Asean ไทยอาจจะเด่นในเรื่อง การจัดการประชุมต่างๆ การแสดงนิทรรศการ ศูนย์กลางการกระจายสินค้า และยังเด่นเรื่องคมนาคมอีกด้วย เนื่องจากจะอยู่ตรงกลาง Asean และการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพจะเติบโตอย่างมากเช่นกัน เพราะจะผสมผสานกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว(ค่าบริการทางการแพทย์ต่างชาติจะสูงมาก)

(เครดิตกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 07 มิถุนายน 2012, 21:22:46
-การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25 % ในส่วนของอุตสาหกรรมบางอย่างเช่น รถยนต์ การท่องเที่ยว การคมนาคม แต่อุัตสาหกรรมที่น่าห่วงของไทยคือ ที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เช่นภาคเกษตร ก่อสร้าง อุตสาหกรรมสิ่งทอ จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้ เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้ลงทุนอาจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่าเนื่องจากบางธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะมากนัก ค่าแรงจึงถูก ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: IU_mylove ที่ วันที่ 07 มิถุนายน 2012, 21:38:23
แต่เด็ก มฟล คนนี้ก็พร้อมกับ ASEAN แล้วครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: pinai ที่ วันที่ 07 มิถุนายน 2012, 23:55:41
 ;Dดันก่อนเดวพรุ่งนี้มาอ่านต่อ ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: RAYICE ที่ วันที่ 07 มิถุนายน 2012, 23:57:55
น่าติดตาม ว่าเราจะเข้าไปมีเอี่ยวกับเขาอย่างไร และมีอะไรบ้าง


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: 7 ที่ วันที่ 08 มิถุนายน 2012, 02:54:01
ที่แขวงบ่อแก้ว เด็ก ๆ พูดภาษาอังกฤษ จีน ไทย ลาว ฝรั่งเศส

ผมเด็กที่ลาวก็คงไม่แตกต่างจากเด็กไทยเท่าไรหลอกครับ.  น่าจะดำน้ำปูๆปลาๆเหมือนกัน.  เด็กลาวน่าจะได้เปรียบกว่าเด็กไทยก็ตรงที่ว่า.  เมืองบ่อแก้วเป็นเมืองผ่าน. ทำให้ฝรั่งมังค่าชาวต่างชาติมาที่นี่เยอะ.

เท่าที่รู้จักมา ถ้าเทียบเป็นสัดส่วนแล้วเด็กลาวมี %มากกว่าที่จะพูดได้ดีกว่าเด็กไทยครับ
เหตุผลส่วนตัวคือผมคิดว่าไม่ค่อยมีสิ่งมอมเมา และความลำบากทำให้เขาตั้งใจเรียนกว่าเด็กไทยครับ
ผมดูจากบรรพบุรุษผมแต่ละคนตั้งใจเรียนมากเพราะยากจน แต่รุ่นหลังๆไม่ค่อยตั้งใจเพราะมีเงินใช้ตลอด ไม่ค่อยมีความกดดันในชีวิต
เรียนๆ เที่ยวๆ กินเหล้า ชอปปิ้ง เล่นเกม แชท คุยโทรศัพท์
ผมเองก็อยู่กึ่งๆลำบากกับสบาย ก็เลยเชื่อว่าความลำบากทำให้ผมขยันหาความรู้ครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: paszaa ที่ วันที่ 08 มิถุนายน 2012, 12:33:35
กรอบในการลงทุนยังไม่ชัดเจนนะครับ  แรงงานอีกหละ จะเข้ามาทำงานในไทย หรือไทยจะออกไปทำงานบ้านเขาได้ไหม 
แต่ที่แน่ๆวัตถุดิบจากประเทศสมาชิกจะไปมาง่ายขึ้น ซีพีไปลงทุนเช่าที่ปลูกพืชต่างๆในลาวก้จะเอาเข้ามาประเทศไทยโดยไม่เสียภาษี  บ.ใหญ่ๆเช่นน้ำตาลมิตรผลก็เช่นเดียวกัน  ที่เมืองไทยแพงนัก แรงงานด้วยก็จะไหลไปลาวเพราะพูดกันรู้เรื่องมากกว่าประเทศอื่นๆ

ผลิตเสร็จก็ขนเข้ามาขาย หรือเอามาในรูปวัตถุดิบ 

คนที่ได้รับประโยชน์ก็จะเป็นกิจการใหญ่ๆทั้งนั้น  กิจการเล็กๆแบบร้านโชวห่วย หรือร้านอาหารเล็กๆก็จะถูกกลืนไปโดยทุนใหญ่ ทั้งของไทยและต่างชาติ  ที่อยู่ได้ก็ต้องขายถูกจริงๆนั่นแหละ

ดูง่ายๆแค่ไก่ย่างห้าดาว   ขายได้ยังไงตัวละ109  ซื้อแมคโครมาก็เกินแล้ว


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: ❀●•♪.FairytaleDH﹎.εїз︷✿ ที่ วันที่ 08 มิถุนายน 2012, 12:51:27
 :D ถ้าใครมี fb   ติดตาม การแนะนํา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกได้ตามนี้ค่ะ :
   
           http://www.facebook.com/ASEANCommunity?ref=tn_tnmn


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 08 มิถุนายน 2012, 19:02:56
:D ถ้าใครมี fb   ติดตาม การแนะนํา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกได้ตามนี้ค่ะ :
   
           http://www.facebook.com/ASEANCommunity?ref=tn_tnmn
ขอบคุณที่มาแชร์ข้อมูลกันครับ
ผมว่ามันมีประโยชน์สำหรับคนที่คิดจะเรียนต่อในระดับปริญญาตรี
น่าจะเป็นการที่จะช่วยกำหนดทิศทางวางอนาคตของตนเองว่าจะมุ่งไปทิศทางไหน
...ต่อครับ
-เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมากๆ-มากกกกกกกก เนื่องจากจะมีคนอาเซียน เข้ามาอยู่ในไทยมากมายไปหมด แต่เขาจะพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่จะใช้ภาษาอังกฤษ(AEC แจ้งว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นเป็นภาษากลางใน AEC ) บางทีเรานึกว่าเป๋นคนไทยไปพูดด้วย แต่เขาพูดภาษาอังกฤษกลับมา เราอาจเสียความมั่นใจได้ ส่วนสิ่งแวดล้อมนั้น ป้ายต่างๆ หนังสือพิมม์สื่อต่างๆจะมี๓ษษาอังกฤษมากขึ้น(ให้ดูป้ายที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นตัวอย่าง) และจะมีโรงเรียนสอนภาษามากมาย หลากหลายหลักสูตร

เครดิตกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)

;Dดันก่อนเดวพรุ่งนี้มาอ่านต่อ ;D

ขอบคุณครับ ;D ;D



หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 09 มิถุนายน 2012, 18:40:22
ดินหน้าสานฝันคลอดม้าเหล็กเชียงราย

การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมจัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ที่จังหวัดพะเยา นายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา จากนั้นกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะจัดให้มีการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ รวมทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และบรรเทาผลกระทบ ตลอดจนเพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นผลการศึกษาของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบในการปรับปรุงการศึกษาของโครงการ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้กำหนดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) โครงการเพื่อศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมฯ ของโครงการ ก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2555 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมพุดตาน โรงแรมพะเยาเกทเวย์ อำเมือง จังหวัดพะเยา จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการศึกษาในทุกขั้นตอน

เชียงใหม่นิวส์


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 09 มิถุนายน 2012, 22:25:29
ดินหน้าสานฝันคลอดม้าเหล็กเชียงราย

การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมจัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ที่จังหวัดพะเยา นายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา จากนั้นกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะจัดให้มีการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ รวมทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และบรรเทาผลกระทบ ตลอดจนเพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นผลการศึกษาของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบในการปรับปรุงการศึกษาของโครงการ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้กำหนดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) โครงการเพื่อศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมฯ ของโครงการ ก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2555 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมพุดตาน โรงแรมพะเยาเกทเวย์ อำเมือง จังหวัดพะเยา จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการศึกษาในทุกขั้นตอน

เชียงใหม่นิวส์
ขอบคุณครับ โก ที่มาแจมกัน ;D ;D ;D
ต่อครับ ;D ;D
-การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมายเนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทลดน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมามากมาย
-เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้สกิลอีกต่อไป เพราะแรงงานจะเคลื่อนย้ายเสรี จะมีชาวพม่า ลาว กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่คนเหล่านี้ก็จะมาแย่งงานคนไทยบางส่วนด้วยเช่นกัน และจะยังมีปัญหาสังคม อาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้รัฐบาลควรร
ะวัง
(เครดิตกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 10 มิถุนายน 2012, 13:44:22
ต่อครับ
 ;D ;D ;D
-คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรรมซอร์ฟแวร์(ที่จะให้สิงคโปร์ดูแล) เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้คี่าแรงถูกมาก อันนี้สมองจะไหลไปสิงคโปร์เยอะมาก แต่พวกชาวต่างชาติก็จะมาทพงานในไทยมากขึ้นเช่นกัน อาจมีชาวพม่า กัมพูชาเก่งๆมาทำงานกับเราก็ได้ โดยจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง บริษํท software ในไทยอาจต้องปรับค่าจ้างให้สู้กับพวกเมืองนอก ไม่งั้นสมองไหลหมด
-อุตสาหกรรมโรงแรม การท่องเที่ยว ร้านอาหารรถเช่าบริเวณชายแดนจะคึกคักมากขึ้น เนื่องจากจะมีการสัญจรมากขึ้น และเมืองตามชายแดนจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นจุดขนส่ง

(เครดิตกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 10 มิถุนายน 2012, 20:49:23
เข้ามาอัพเดต เรื่อยๆ เรื่องนี้ต้องกระตุ้น...และส่งเสริม

ผมกำลังเรียนวิชาอาเซียน ยังไงจะมาแลกเปลี่ยนเรื่อย..

และติดตามสัมมนา ที่ กทม.เรื่องนี้จะมาทยอย มาสรุปให้ฟังแต่ละเวทีครับ..


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 11 มิถุนายน 2012, 21:56:24
เพิ่มครับ ;D ;D ;D
-สาธารณูปโภคในไทย หากเตรียมพร้อมไม่ดีอาจขาดแคลนได้ เช่น ชาวพม่า มาคลอดลูกในไทยต้องใช้โรงพยาบาลในไทยเป็นต้น

-กรุงเทพฯจะแออัดอย่างหนัก เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นตรงกลางของอาเซี่ยนและเป็นเมืองหลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจมีสำนักงานของต่างชาติมาตั้งมากขึ้น ก็เป็นได้ รถอาจติดมากขึ้น สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัดมากขึ้น(ดีที่อาจขยายสร้างเพิ่มได้)

-ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหาร เพราะ knowhow ในไทยมีเยอะ ประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง ประกอบกับทำเลที่ตั้งเหมาะสมอย่างมาก แม้จะให้พม่าเน้นการเกษตร แต่ประเทศไทยเองไปลงทุนในพม่าเรื่องการเกษตรแล้วส่งออก ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่คนไทยชำนาณอยู่แล้ว

(เครดิต กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)



หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: corolado4 ที่ วันที่ 12 มิถุนายน 2012, 08:48:02
ห้วงนี้ก็มีงานสำคัญด้วยนะครับ สังเกตุตามท้องถนนจะมีตุง โคมติดเรียงรายไปทั่วเมือง
11-15 มิ.ย.55   MTF 2012  การประชุม  Mekong Tourism Forum 2012   
ประชุมโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
มีประเทศสมาชิกมาร่วมหกประเทศมาร่วม  (กัมพูชา  จีนยุนนาน ลาว เมียนมาร์ เวียตนาม)
ภาครัฐของแต่ล่ะประเทศก็มีผู้แทนมาร่วม ยอดประมาณ 450 คน
12 ผู้เข้าร่วมประชุม เดินทางเข้าพื้นที่ เข้าพัก ดุสิตไอร์แลนด์ฯ  เลี้ยงต้อนรับที่ ไร่แม่ฟ้าหลวง
13 พิธีเปิด ผวจ ชร กล่าวต้อนรับ  , ปาฐกถาพิเศษ โดย มรว ดิศนัดดา ฯ ,ชมนิทรรศการฯ
    บรรยาย Protecting the Jewels of the Mekong , Comunity Base Tourism by Inter
    nationale Reserch for Development Centre (CBT-IRDC)
    บรรยาย Mekong Tourism, Then and  Now  , แนวโน้มการท่องเที่ยวจากตะวันตก
14 การเสวนา Positioning the Mekong in the Global Travel Market , Mapping the
    Future of Mekong Tourism , Team rotation and cross discussions  ,
    New Directions  in Responsible Tourism Development in Myanmar , Voice of the
    Future - Where  Do  We  Go from Here?  ,  สรุปผลการประชุม
15  นำแขกต่างชาติเที่ยวทัวร์เชียงราย
...แจ้งมาให้ทุกท่านทราบ เพื่อการต้อนรับที่ดี ให้ภาพเชียงราย(ที่ดีที่สุด) ให้เขานำไปชักพา
คนของเขามาเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ...ละเว้นสิ่งไม่ดีไว้หน่อยนึง...อดเอา...


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 13 มิถุนายน 2012, 22:30:56
ห้วงนี้ก็มีงานสำคัญด้วยนะครับ สังเกตุตามท้องถนนจะมีตุง โคมติดเรียงรายไปทั่วเมือง
11-15 มิ.ย.55   MTF 2012  การประชุม  Mekong Tourism Forum 2012  
ประชุมโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
มีประเทศสมาชิกมาร่วมหกประเทศมาร่วม  (กัมพูชา  จีนยุนนาน ลาว เมียนมาร์ เวียตนาม)
ภาครัฐของแต่ล่ะประเทศก็มีผู้แทนมาร่วม ยอดประมาณ 450 คน
12 ผู้เข้าร่วมประชุม เดินทางเข้าพื้นที่ เข้าพัก ดุสิตไอร์แลนด์ฯ  เลี้ยงต้อนรับที่ ไร่แม่ฟ้าหลวง
13 พิธีเปิด ผวจ ชร กล่าวต้อนรับ  , ปาฐกถาพิเศษ โดย มรว ดิศนัดดา ฯ ,ชมนิทรรศการฯ
    บรรยาย Protecting the Jewels of the Mekong , Comunity Base Tourism by Inter
    nationale Reserch for Development Centre (CBT-IRDC)
    บรรยาย Mekong Tourism, Then and  Now  , แนวโน้มการท่องเที่ยวจากตะวันตก
14 การเสวนา Positioning the Mekong in the Global Travel Market , Mapping the
    Future of Mekong Tourism , Team rotation and cross discussions  ,
    New Directions  in Responsible Tourism Development in Myanmar , Voice of the
    Future - Where  Do  We  Go from Here?  ,  สรุปผลการประชุม
15  นำแขกต่างชาติเที่ยวทัวร์เชียงราย
...แจ้งมาให้ทุกท่านทราบ เพื่อการต้อนรับที่ดี ให้ภาพเชียงราย(ที่ดีที่สุด) ให้เขานำไปชักพา
คนของเขามาเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ...ละเว้นสิ่งไม่ดีไว้หน่อยนึง...อดเอา...
ขอบคุณครับลุงโด้ ที่มาแจมกัน ;D
เพิ่มอีก ;D ;D ;D
-ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดีเนื่องจาก จะมีขยะจำนวนมากขึ้น ปัญหาการแบ่งชนชั้นถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างชาติที่ด้อยกว่า อาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้ อาจมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น เช่น อาจมี พม่าทาวน์ ลาวทาวน์ กัมพูชาทาวน์ ปัญหาอาชญากรรมจะรุนแรง สถิติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นมาก จากชนชั้นที่มีปัญหา คึนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย

(เครดิต กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 14 มิถุนายน 2012, 21:46:43
ต่ออีกหน่อย อิอิ ;D ;D ;D
การขนส่งที่เปลี่ยนแปลง  East West Economic Corridor(ZEWEC )
 -จะมีการขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม. อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียดนาม 84 กม.
 เส้นทางเริ่มที่เมืองท่า ดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านเมืองเว้ เมืองลาวบาว ผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในประเทศลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัด มุกดาหาร ผ่านจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุดเขตที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นเข้าไปยังประเทศพม่าไปเรื่อยๆถึงอ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำใยหรือ มะละแหม่ง เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่อินเดีย
 มันจะมีผลดีคือ การขนส่ง logistic ในAECจะพัฒนาอีกมาก และจากการที่ไทยอยู่ตรงกลาง จะทำให้เราขายของได้มากขึ้น เพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางซ้ายก็ได้ทางขวาก็ได้ ที่ดินบริเวณดังกล่าวในไทยเตรียมขึ้นราคาได้้เลย
 และพม่ายังมี mega project ทวาย (ศูนย์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ท่าเรือขนาดใหญ่)ที่เส้นทางสอดคล้องกับ East Economic Corridor โดยทะวายจะกลายเป็น 1 ทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญต่ออาเซี่ยน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้อง
ใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปร์เจกต์ทวายนี้ ยังเป็นต้นทางรับสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรป และตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าช ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรฯเคมี ในพื้นที่ โปรเจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยไปยังประเทศอินโดจีน เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา  และไปสิ้นสุดปลายทางที่ท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเซ๊ยตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน ;D ;D


เครดิต กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 15 มิถุนายน 2012, 20:43:42
ตกอีกแระ ;D ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: corolado4 ที่ วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 11:37:06
http://www.chiangraifocus.com/news/details.php?id=2166
  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดจะจัดสัมมนา
“เตรียมความพร้อมท่องเที่ยวไทย ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community: AEC)
เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีความรู้
และความเข้าใจในยุทธศาสตร์การส่งเสริมการตลาด การลงทุน การพัฒนาสินค้าและบริการ แ
ละมาตรการต่างๆ สำหรับเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และเตรียมความพร้อมรองรับ
การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ ห้องดอยตุง
โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์รีสอร์ท เชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย
การจัดสัมมนาในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจาก ๘ จังหวัดในภาคเหนือด้วยกัน
ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน ตาก และจังหวัดน่าน
ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมประมาณ ๒๕๐ คน

...กำหนดการอยู่ในลิงค์...เข้าไปมีส่วนร่วมกันเยอะๆนะครับ...
..ดันไว้จนกว่าจะถึงปี ๒๕๕๘...


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 19:13:26
วันนี้ไปฟังเสวนา เรื่องเปิดมิติ เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่พม่า : ที่มา ที่ไป และที่เป็น ของสถาบันเอเซียศึกษา จุฬาฯ
โดยมี พลเอกนิพนธ์ ทองเล็ก ผู้อำนวยการสำนำนักนโยบายและแผนกกลาโหม กระทรวงกลาโหม.. ซึ่งพลเอกนิพนธ์ท่านสนิทสนมกับท่านนายพลตานฉวย กว่า 13 ปี ท่านมองว่า เหตุผลที่สำคัญที่พม่าย้ายเมืองหลวง ทำให้ลูกหลาน ถ้าสหรัฐ มีวอชิงตันดีซี มาเลเซียมีเมืองหลวงใหม่ พม่าก็มีศูนย์ราชการใหม่เป็นศูนย์กลางราชการได้เหมือนกัน ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีความคิดย้ายเมืองหลวงไปที่เพชรบูรณ์เหมือนกันสมัย จอมพล ป. เพื่อความมั่นคงภายใน ป้องกันจอมตีจากภัยคุกคาม

(https://fbcdn-sphotos-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/206197_413734145329984_2086538433_n.jpg)

พลเอกนินธ์ ท่านเล่าพร้อมกับฉายภาพ เมืองหลวงใหม่ของพม่าสถานที่ต่างๆ พร้อมกับบรรยายความยิ่งใหญ่ของเมืองหลวงใหม่แห่งนี้...

เมืองหลวงใหม่ของพม่า สิ่งที่ขาดไม่ได้คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง คือ เจดีย์เลียนแบบมหาเจดีชเวดากอง แต่เจดีย์นี้มีความสูงน้อยกว่า 1 ฟุต ชื่อเจดีย์..อุปสันติ

่ท่านเล่าว่า วันหนึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้าเมืองเนปิดอว์ เพื่อมาแวะเวียนชมไม่ต่ำกว่า 3000 คน ซึ่งบ้านเมืองแห่งนี้ศูนย์ราชการ ถนนหนทางโอ่อ่า สวยงามและมีอัตลักษณ์ศิลปะพม่า...โดยสถานที่ที่คนส่วนใหญ่ไปเยี่ยมชมพร้อมกัยท่านฉายภาพให้ดู..ในงานเสวนา คือ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ทำเนียบประธานาธิบดี ลานสวนสนาม (วันที่4 ม.ค.วันชาติพม่า) สนามบินแห่งใหม่...ทางด่านจากย่างกุ้ง ซึ่งนานๆครั้งกว่าจะมีรถผ่าน (ท่านเล่าติดตลก)

ส่วนนโยบายท่าที ของนโยบายของพม่า ต่อโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ การประชุม
Shangri La dialogue ที่สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพประชุม..
็Hha min กล่าวว่า ท่าทีบนเวที สังคมโลกตะวันตกสัมพันธ์กับพม่า-เกาหลีเหนือ การที่พม่าลดระดับความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ โดยมีประเด็นเรื่องความเกี่ยวพันธ์กับนิวเคลียร์ โดยพม่ายอมรับว่าที่ผ่านมามีการเริ่มเจริง ในสมัยก่อน แต่มันเป็นไปเพื่อการพัฒนาความรู้ ...
การปาฐกถา ครั้งนี้เป็นการเปิดเผยตัวตนของพม่า เพื่อเปิดประเทศ อย่างแท้จริง...

ผมขอทานข้าวก่อน แล้วจะมาเขียนต่อ จากนักวิชาการที่ผมนั่งฟัง 3 ท่านที่เชี่ยวชาญเรื่องพม่า
รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ท่านเล่าถึงสาเหตุของการย้ายเมืองหลวงแต่ละสมัย..(อ.สุเนตรท่านเป็นผอ.สถาบันเอเซียศึกษาและเชียวชาญเรื่องพม่า และเขียนหนังสือตำนานสมเด็จพระนเรศวร ที่เราดูๆกัน)
คนที่สอง คุณเกียรติชัย พงษ์พาณิชณ์ เป็นสื่ออิสระ..ท่านพูดเกี่ยวกับเนปิดอว์ถึงประชาคมอาเซียน..
คนที่สามเจ้าของหนังสือเล่มนี้..ซึ่งท่านจะมาเล่าเรื่องเนปิดอว์แบบเจาะลึก ทฤษฎีทางภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิยุทธศาสตร์ เรื่องราวการเมืองแรงกดดัน สาเหตุแห่งการย้ายเมืองหลวง

ผมไปทานข้าว และอ่าน สังเคราะห์เนื้อหา ผมได้มาวันนี้วันแรกผมอ่านใกล้จบแล้ว..สนุก มีเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย..^^



หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 19:18:26
เชียงราย - ชำแหละศักยภาพ “ไทย” ใน AEC พบน่าห่วงสุด เทียบเม็ดต่อเม็ดแล้วมีดีแค่ “ความสะดวกในการลงทุน” ที่ล่าสุดเปิดให้ทุน ตปท.ถือหุ้นในกิจการขนส่งได้ถึง 70% หรือเป็นเจ้าของได้แล้ว ส่วนเรื่องภาษา-ทรัพยากรธรรมชาติ-โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ตกสำรวจหมด แถมนโยบายค่าแรง 300 บาทต่อวันกระหน่ำซ้ำ ทำ SMEs แบกเพิ่ม 2.7 หมื่นล้าน
       
       วันนี้ (19 มิ.ย.) กรมส่งเสริมการส่งออกและศูนย์เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการสัมมนาแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและย่อม หรือ SMEs ภายใต้ชื่อ “เปิดโลกการค้ายุคใหม่สู่ AEC ฉบับ SMEs” ที่ห้องเรือนตุง โรงแรมอิมพิเรียล ริเวอร์เฮ้าส์ อ.เมืองเชียงราย
       
       โดยมีนายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิด และมีวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิร่วมขึ้นเวทีหลายคน ได้แก่ นายกรกฎ ผดุงจิตต์ รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, Mr.Craig Anczelowitz นักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับสากล, ดร.ชลฤทธิ์ เหลืองจินดา ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบมหาวิทยาลัยศิลปากร, ดร.สุเทพ นิ่มสาย ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
       
       นายกรกฎกล่าวว่า ไทยกำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) 10 ประเทศในปี 2558 เป็นต้นไป ซึ่งต่อไปการมองภาคเศรษฐกิจต้องมองเป็นองค์รวมไม่ใช่แค่ประเทศที่มีประชากร 64 ล้านคนอีกต่อไป แต่คือกลุ่มประเทศที่มีประชากรรวมกันกว่า 580 ล้านคน
       
       นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมอีก 6 ประเทศ คือ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจะทำให้มีประชากรรวมกันกว่า 3,300 ล้านคน หรือเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรโลกทีเดียว
       
       กรณีของอีก 6 ประเทศก็สำคัญเช่นกัน เพราะทันทีที่กลุ่ม AEC ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2558 ไทยก็จะลดภาษีกับออสเตรเลียเหลือ 0% ในสินค้าถึง 98% ของสินค้าทั้งหมด และค่อยๆ ทำกับประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย ในปี 2561 เป็นต้น
       
       นายกรกฎกล่าวอีกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วภาคเอกชนต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ขณะที่ภาครัฐจะเป็นฝ่ายสนับสนุน โดยเฉพาะด้านการออกกฎหมายรองรับภายในประเทศและเจรจากับต่างประเทศ เช่น ข้อตกลงอาเซียน-จีน ที่ให้รถบรรทุกเข้าออกผ่าน อ.เชียงของ จ.เชียงราย ไปจีนตอนใต้ ซึ่งมีการค้าขายกันเป็นประจำได้ 500 คัน ซึ่งก็มีเพียงข้อตกลงกัน แต่สิ่งอำนวยความสะดวกและกฎระเบียบอื่นๆ ยังต้องดำเนินการต่อไป ทั้งเรื่องการประกันภัยและอื่นๆ เป็นต้น
       
       รวมทั้งยังต้องดูเรื่องภาษีระหว่างประเทศ เพราะการลดภาษีเป็น 0% หรือ FTA (Free Trade Area) แท้ที่จริงเป็นเสรีหลอกตา เพราะยังมีเงื่อนไขอีกมากก่อนที่จะเอื้อให้สามารถทำการค้าการลงทุนให้สะดวก โดยเฉพาะแต่ละประเทศยังมีสินค้าอ่อนไหวสูง เช่น อินโดนีเซียกำหนดให้ข้าวเป็นสินค้าอ่อนไหวสูง จึงให้ลดภาษีจากเดิม 30% เป็น 20% มาเลเซียลดจาก 40% เป็น 20% ส่วนฟิลิปปินส์ อยู่ระหว่างเจรจากับไทย หลังจากเดิมกำหนดจัดเก็บ 40% และกำหนดโควตานำเข้า 350,000 ตัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสินค้าอ่อนไหวของแต่ละประเทศอีกเป็นจำนวนมากด้วย
       
       นายกรกฎกล่าวต่อว่า ด้านมาตรฐานสินค้าก็สำคัญ เช่น ปัจจุบันพบว่าผลิตภัณฑ์ตำรับยาพื้นบ้านของอินโดนีเซียจดทะเบียนสินค้ามากกว่าของไทยเสียอีก และถ้าเปิดตลาดกันก็จะมีสินค้าในทะเบียนของอินโดนีเซียอยู่เต็ม จึงจำเป็นที่ภาครัฐของไทยจะต้องเร่งดำเนินการ ไม่เช่นนั้นจะแย่หนัก
       
       ด้านลอจิสติกส์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมประเทศไทยเปิดให้คนไทยถือหุ้นในธุรกิจลอจิสติกส์ได้ 51% และต่างชาติ 49% แต่ปัจจุบันจะเปลี่ยนให้ต่างชาติถือหุ้นได้กว่า 70% ซึ่งตามหลักก็คือ เป็นเจ้าของธุรกิจที่ทำธุรกรรมต่างๆ ได้นั่นเอง ดังนั้น ลอจิสติกส์จึงเป็นธุรกิจของอาเซียนลำดับแรกๆ ไปแล้ว
       
       “ส่วนอาชีพที่เกรงกันว่าจะเปิดเสรีกันหมดทั้ง AEC นั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะแท้ที่จริงเปิดเสรีแค่ 7 อาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ และนักบัญชี ซึ่งการจะทำงานข้ามประเทศก็ต้องมีการสอบกันด้วย โดยเฉพาะเรื่องภาษา และกรณีของไทยก็อาจจะยากขึ้นมาหน่อยเพราะต้องสอบได้ภาษาไทยด้วย" นายกรกฎ กล่าว
       
       เขายังระบุถึงศักยภาพของแต่ละประเทศใน AEC ว่า ประเทศไทยถือว่าน่าเป็นห่วงและต้องปรับตัวยกใหญ่ เพราะเมื่อเทียบหลายๆ เรื่องถือว่าด้อยกว่าทุกประเทศ เช่น ภาษาที่ใช้สื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ พบว่า สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน มีศักยภาพมากที่สุด, ทรัพยากรพบว่า พม่ามีมากที่สุด, เทคโนโลยี สิงคโปร์มีมากที่สุด โครงสร้างพื้นฐาน สิงคโปร์ มาเลเซีย มีศักยภาพมากที่สุด, อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา มีมากที่สุด, ขนาดตลาดในประเทศ พบว่าฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มีมากที่สุด, ต้นทุนการส่งออก พบว่าสิงคโปร์ และมาเลเซียมีมากที่สุด
       
       ขณะที่ไทย มีเพียงความสะดวกในการตั้งธุรกิจเท่านั้นที่มีมาก แต่ก็อยู่ในระดับเดียวกับสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนความสะดวกในสินเชื่อและ SMEs ก็ยังสู้ประเทศอื่นๆ ไม่ได้เช่นกัน
       รองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวด้วยว่า ยังมีอีกหลายเรื่องที่จะต้องศึกษาใน AEC ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายอาจจะยังไม่รู้ เช่น ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในอาเซียนคือภาษาบาซา โดยใช้มากที่สุดในอินโดนีเซียที่มีประชากร 280 ล้านคน มาเลเซีย 40 ล้านคน และยังใช้ในสิงคโปร์ บรูไน และภาคใต้ของไทย ปัจจุบันประเทศเวียดนามเริ่มให้เรียนภาษานี้กันแล้ว
       
       ส่วนการค้าการลงทุนก็พบว่าเริ่มเห็นผลบ้างแล้ว โดยพบว่ากลุ่มทุนของมาเลเซียเข้าไปลงทุนผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอในประเทศกัมพูชา โดยนำเข้าวัตถุดิบจากไทย หรือจีน และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออก เพราะที่กัมพูชามีต้นทุนค่าแรงต่ำแค่วันละ 2 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 80 บาท ส่วนไทยกลับเพิ่มค่าแรงเป็นวันละ 300 บาทเสียอีก ซึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากนโยบายนี้คือกลุ่ม SMEs เพราะค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 36,000 ล้านบาท กลุ่ม SMEs ต้องจ่ายถึง 27,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นของกลุ่มทุนใหญ่

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000075001


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ~KT 2 U~ ที่ วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 19:39:08
อยากเป็นนักธุรกิจ ต้องกล้าได้ กล้าเสี่ยง กล้าเสีย แต่ถ้ากล้ามากไป ก็จะเสียเอาง่ายๆ ก็ขอให้ผู้ใหญ่ศึกษาและตรองเกี่ยวกับระบบ สัญญาอะไรต่างๆ ให้ดีก่อนแล้วกันค่ะ

คงไม่ยากเกินไปถ้าไทยจะอัพเกรด ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Temujin ที่ วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 19:54:14
  เรื่องค่าแรง   สำหรับผมไม่ถือว่าเป็นปัญหาสำหรับ  AEC กลับเป็นผลดีเสียอีกที่กระดุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ไม่ต้องพึ่งการส่งออกอย่างเดียว

จะธุรกิจ SMEs หรือธุรกิจอะไร ก็ต้องปรับตัวให้อยู่ได้   ดูอย่าง พี่สิงห์  พี่เสือ เราซิ  ค่าแรงมากกว่าเราตั้งหลายเท่ายังอยู่ได้เลย

และพร้อมสำหรับการแข่งขันนี้  ไม่เห็นเขาออกมาบ่นเลย  มันเป็นข้อแก้ตัวสำหรับคนที่เสียประโยชน์ มักง่าย และไม่รับผิดชอบมากกว่า


ปล. ไปเปิดดูผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนไตรมาศแรกดู  ว่ากำไรเท่าไหร่  จะกดกันไปถึงไหน...? รวมทั้งรัฐก็ลดภาษีให้แล้ว ..


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 19 มิถุนายน 2012, 21:38:11
ขอบคุณทุกท่าน ลุงโด้ น้องโก น้องแต ท่านเตมูจิน ที่เข้ามาแจมกันครับ ;D ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 21 มิถุนายน 2012, 19:12:42
ชียงราย - พาณิชย์โหมเปิดเวทีปลุกคนไทยเตรียมพร้อมรับ AEC และ FTA เผยวันนี้ยังมีเพียงทุนใหญ่ได้ประโยชน์ ขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยยังไม่สนใจเท่าที่ควร รับคนไทยน่าห่วงเรื่องภาษามากที่สุด
       
       วันนี้ (21 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมโรงแรมโพธิ์วดล รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.เชียงราย นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ผอ.สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “ส่งออกสดใสภายใต้ FTA : อาเซียน จีน และเปรู” และมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมการค้าต่างประเทศร่วมให้ข้อมูล โดยมีภาคธุรกิจ นักศึกษา และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
       
       นายพิทักษ์ระบุว่า ปัจจุบันไทยยังมีการส่งออกสินค้าปีละกว่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 60-70% ของรายได้ประชาชาติ ตลาดใหญ่ที่สุดคือ กลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งมีประชากรกว่า 580 ล้านคน ขณะที่กลุ่มอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC (ASEAN Economic Community) ตั้งแต่ปี 2558 หรืออีกเพียง 3 ปีนับจากนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก รวมทั้งอาเซียนยังจัดทำเขตการค้ากับกลุ่มประเทศอื่นๆ 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ด้วย
       
       โดยเฉพาะกับจีนมีข้อตกลงที่มีผลไปแล้วตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลทำให้มีการลดภาษีเป็น 0% มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 55 ที่ผ่านมาสินค้าที่ส่งออกจากประเทศสมาชิกอาเซียนกว่า 200 รายการ เช่น ยานยนต์และอุปกรณ์ เครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ฯลฯ มีการยกเว้นภาษีเป็น 0% แล้ว
       
       นอกจากอาเซียนบวก 6 ดังกล่าวแล้ว อาเซียนยังทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศเปรูในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2554 ทำให้สินค้าไทยได้ลดภาษีเป็น 0% ทันที 3,400 รายการ ซึ่งสามารถใช้เปรูเป็นประตูสู่กลุ่มประเทศอื่นๆ ในทวีปดังกล่าวอีกด้วย
       
       อย่างไรก็ตาม ประโยชน์จากข้อตกลงต่างๆ จะได้รับมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ และขั้นตอนการใช้สิทธิทางการค้า ดังนั้น กรมการค้าต่างประเทศจึงเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสัมมนาในครั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลแก่ภาคเอกชนและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยจะทำหน้าที่เป็นโค้ชหรือผู้ให้การช่วยเหลือภาคเอกชนที่จะส่งออกสินค้า เพราะเมื่อเอกชนผลิตสินค้าออกมาแล้วก็อาจจะมองไม่ออกว่าสินค้าใดเหมาะสมกับประเทศในกลุ่มข้อตกลง และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไรภายใต้ 3 หน่วยงานที่ทำงานร่วมกันของกระทรวงพาณิชย์ คือ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก และกรมการค้าต่างประเทศดังกล่าว
       
       นายพิทักษ์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีการส่งเสริมกลุ่มประชาชนไปแล้วหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มสับปะรดนางแล ซึ่งสามารถส่งเสริมสินค้าที่ได้คุณภาพและส่งออกไปถึงประเทศญี่ปุ่น กลุ่มลิ้นจี่ จ.พะเยา เป็นต้น
       
       ด้านนางสุภาวดี ไชยานุกุลกิตติ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญพิเศษ สำนักงานสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ข้อตกลงที่ใกล้ตัวคนไทยมากที่สุดในปัจจุบันคือ AEC เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านของไทย แต่จากข้อมูลจากหลายฝ่ายรวมทั้งสื่อมวลชนทำให้ทราบว่าผู้ที่มีความเข้าใจยังคงเป็นบรรษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆ แต่ประชาชนหรือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไปยังต้องปรับตัวยกใหญ่ จึงไม่น่าแปลกใจที่ในช่วงนี้จะมีหน่วยงานองค์กรต่างๆ จัดการประชุมสัมมนาเรื่อง AEC กันอย่างต่อเนื่อง
       
       “ที่สำคัญข้อมูลจากหลายฝ่ายที่พบและน่าเป็นห่วงยังคงเป็นเรื่องภาษา”
       
       นางสุภาวดีบอกอีกว่า หลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีการลงนามข้อตกลงกันไปแล้วว่าให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ปรากฏว่าคนไทยมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นอันดับท้ายๆ ของอาเซียน น้อยกว่าสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และ สปป.ลาว ผลการศึกษายังพบว่า นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านเมื่อเรียนจบแล้วอยากจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยด้วย ทำให้มีการเรียนภาษาไทยกันยกใหญ่ รวมทั้งได้ติดตามสื่อโทรทัศน์ของไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนกลุ่มนี้ได้ 3 ภาษา คือ ภาษาถิ่นของตัวเอง ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ดังนั้นประเทศไทยเราจึงต้องปรับตัวให้มากขึ้น
       
       นางสุภาวดีกล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องการค้าการลงทุนแล้วหน่วยงานต่างๆ ถือว่ามีความพร้อมในการให้บริการภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องความรู้และข้อมูลต่างๆ เช่น กรณีภาษี 0% ใน AEC ยังยกเว้นสินค้าอ่อนไหวมาก เช่น ข้าว น้ำตาล ฯลฯ แต่จะใช้การเจรจาระหว่างสองประเทศที่เป็นคู่ค้ากัน โดยไทยจะเสียเปรียบมากที่สุดเพราะเคยส่งออกสินค้าหลายอย่างไปประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะน้ำตาลไปอินโดนีเซีย แต่อินโดนีเซียกำหนดเป็นสินค้าอ่อนไหวมาก จึงตกลงให้นำเข้าได้ปีละ 5.5 แสนตัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสินค้าอ่อนไหวแต่ก็ถือว่าลดภาษีลงมากจนไม่เกิน 5% แล้ว
       
       รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การสัมมนายังจัดให้มีการให้ความรู้เรื่อง FTA อาเซียน-จีน : โอกาสการค้าในตลาดจีน, เพิ่มโอกาสของสินค้าไทยในตลาดเปรูด้วยสิทธิ FTA, อภิปรายสารพันปัญหาที่พบบ่อย และกองทุน FTA ก่อนจะมีการจัดคลินิกไขข้อข้องใจการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000076129


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2012, 19:14:32
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ตั้งเป้านักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเชียงราย 4 ล้านคน ก่อนเปิดเออีซี ปี 2558

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ระบุ ตั้งเป้าผลักดันนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเชียงราย 4 ล้านคน ก่อนเปิดเออีซีปี 2558
นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จุดแข็งของจังหวัดเชียงรายในการเปิด เออีซี ปี 58 ที่มีความแตงต่างจากจังหวัดอื่นคือ การเป็นประตูเชื่อมต่อของ 3 ประเทศ คือ พม่า ลาวและจีนตอนใต้(ยูนาน) ซึ่งถือเป็นยุทธ์ศาสตร์สำคัญที่จะเชื่อมต่อเดินทางไปยังประเทศต่างๆในอาเซียน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเขมรตอนใต้ (ญวน) ซึ่งนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางต้องผ่านเชียงราย โดยใช้ถนน R3A และ R3B ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการดึงคนและสินค้าบริการเข้าประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเชียงรายเฉลี่ยปีละ 2 ล้านคน สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่ปีละ 50,000 ล้านบาท ส่วนรายได้รองมาจากการเกษตร และการค้าชายแดน อย่างไรก็ตาม จะกระตุ้นนักท่องท่องเที่ยวให้เกิดการเดินทางเพิ่มเป็น 4 ล้านคน ช่วงก่อนเปิด เออีซี ซึ่งจะทำให้เพิ่มเม็ดเงินทางการท่องเที่ยวเป็น 2 เท่า ขณะที่สัดส่วนนักท่องเที่ยวคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางมาเชียงรายแบ่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 นายธานินทร์ กล่าวอีกว่า การเปิด AEC ปี 2558 หากมีการเชื่อมต่อเส้นทางกับตอนใต้ของมณฑลจีนยูนาน ซึ่งมีประชากรกว่า 200 ล้านคน จะสามารถผลักดันให้เกิดการเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวจีน เตรียมประสานงานกงศุลใหญ่ของจีนเข้ามาเปิดสำนักงานทำวีซ่าที่จังหวัดเชียงรายด้วย
    
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : สุภาภรณ์ สุขันทอง / สวท.   Rewriter : คณิต จินดาวรรณ / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th


 วันที่ข่าว : 25 มิถุนายน 2555


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2012, 19:47:45
ทางจังหวัดติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน แถวอิสาน
เขาตื่นตัวเรื่องนี้กันมาก พูดกันจะแทบทุกวงการเลยครับ ;D ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: คนหัวง้ม... ที่ วันที่ 25 มิถุนายน 2012, 22:08:17
ดูเล่นๆ ;D ;D
http://jorkawteun.spokedark.tv/20120622/61-s-got-talent-18/


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 26 มิถุนายน 2012, 20:36:02
ดูเล่นๆ ;D ;D
http://jorkawteun.spokedark.tv/20120622/61-s-got-talent-18/
;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 29 มิถุนายน 2012, 22:29:54
ตลาด CLMV : โอกาสส่งออกไทยใน AEC … คาดปี 2555 เติบโตโดดเด่นถึง 20%


วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2012 เวลา 16:18 น.    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย    ข่าวรายวัน    - ข่าวใน
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "ตลาด CLMV : โอกาสส่งออกไทยใน AEC … คาดปี 2555 เติบโตโดดเด่นถึง 20%"ระบุว่า  ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโรโซน ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรปแล้วนั้น ภูมิภาคอาเซียนจึงเป็นความหวังสำคัญของธุรกิจไทยในการขยายฐานตลาดสินค้า ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในระยะสั้นจากการพึ่งพาตลาดหลักเดิมอย่างกลุ่มประเทศ G-3 อันประกอบไปด้วย สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่นเท่านั้น แต่การวางแผนการตลาดสำหรับภูมิภาคอาเซียนยังนับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่หลายธุรกิจกำลังเตรียมการเพื่อรองรับโอกาสจากการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจ (Business Landscape) ของไทย ที่จะสลายเส้นแบ่งพรมแดนการตลาดในขอบเขตของประเทศ มาเป็นการมองตลาดในระดับภูมิภาคอาเซียนในฐานะตลาดร่วมตลาดเดียว (Single Market)
 
จุดสนใจของธุรกิจไทย ณ เวลานี้กำลังพุ่งเป้าหมายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ที่มีผืนแผ่นดินเชื่อมต่อกับไทย หรือที่เรียกกันว่ากลุ่ม CLMV ได้แก่ กัมพูชา (Cambodia)
สปป.ลาว (Laos) พม่า (Myanmar) และเวียดนาม (Vietnam) ซึ่งจากข้อมูลตามฐานศุลกากรในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 นี้ การส่งออกของไทยไป CLMV มีการเติบโตโดดเด่นถึงร้อยละ 16.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การส่งออกโดยรวมหดตัวร้อยละ 1.5 และการส่งออกไปยังยูโรโซนหดตัวถึงร้อยละ 11.8 นอกจากนี้ การเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องของตลาด CLMV ยังหนุนให้สัดส่วนตลาด CLMV ขึ้นแซงยูโรโซนมาอยู่ที่ร้อยละ 7.8 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 (จากร้อยละ 6.8 ในปี 2554) ในขณะที่สัดส่วนของตลาดยูโรโซนลดต่ำลงมาเป็นร้อยละ 6.8 (จากร้อยละ 7.3 ในปี 2554) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าช่วยชดเชยผลกระทบจากความอ่อนแอลงของตลาดยูโรโซนไว้ได้ระดับหนึ่ง
 
ตลาดประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มนี้มีความน่าสนใจเนื่องจากผู้บริโภคมีความนิยมต่อสินค้าไทย โดยมองว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และผู้บริโภคมีการรับรู้ต่อตราสินค้าของไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะใน 3 ประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยโดยตรง หรือ CLM คือ กัมพูชา สปป.ลาว และพม่า 
ความต้องการสินค้าไทยมีหลากหลาย ตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ รวมไปจนถึงสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกลการเกษตรและเครื่องจักรอุตสาหกรรม
 
ถ้าพิจารณาเป็นรายประเทศ ตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555) คือเวียดนาม ตามมาด้วยกัมพูชา สปป.ลาว และพม่า แต่หากมองถึงอัตราการขยายตัว ตลาดที่เติบโตสูงที่สุดในปีนี้ได้แก่
• กัมพูชา ขยายตัวร้อยละ 51.8 แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปและทองคำ (ที่ยังไม่ขึ้นรูป) ออกไปเป็นมูลค่าสูงมาก อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังกัมพูชาที่ไม่รวมน้ำมันสำเร็จรูปและทองคำก็ยังขยายตัวสูงร้อยละ 44.8
• สปป.ลาว ขยายตัวร้อยละ 45.0 แม้ สปป.ลาว มีประชากรน้อยที่สุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน หรือเพียงประมาณ 6.4 ล้านคน แต่ สปป.ลาว มีความต้องการสินค้าจากไทยสูงเนื่องจากสินค้าหลายชนิดไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศ
• พม่า ขยายตัวร้อยละ 15.6 แม้ปัจจุบันยังมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่น แต่การเปิดประเทศของพม่าเป็นก้าวย่างที่น่าจะก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับธุรกิจไทยที่สนใจขยายตลาดไปยังพม่า ซึ่งมีประชากรกว่า 60 ล้านคน ที่จะมีกำลังซื้อสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่เห็นการลงทุนจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าไปยังพม่าอีกจำนวนมาก
• สำหรับการส่งออกไปยังเวียดนามหดตัวลงร้อยละ 8.4 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากอุทกภัยในไทย ซึ่งอุตสาหกรรมในเวียดนามส่วนหนึ่งพึ่งพาวัตถุดิบและชิ้นส่วนจากไทย อีกทั้งมีผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจเวียดนามเอง จากทั้งปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ และผลกระทบจากเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเวียดนามเป็นประเทศที่พึ่งพาตลาดส่งออกในยูโรโซนสูงประมาณร้อยละ 13 ของการส่งออกรวม
 ทั้งนี้ หากไม่นับรวมเวียดนาม ซึ่งการส่งออกหดตัวในช่วง 5 เดือนแรกนั้น การส่งออกไปยังเพื่อนบ้าน 3 ประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย หรือ CLM ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 37.2
 

การส่งออกของไทยไปยัง CLMV รายประเทศ


การส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกทางชายแดนเป็นหลัก ยกเว้นเวียดนามที่ไม่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ช่องทางการส่งออกหลักจึงเป็นการส่งออกทางทะเล สำหรับการส่งออกไปยังแต่ละประเทศ CLMV มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

พม่า

การส่งออกของไทยไปยังพม่าส่วนใหญ่เป็นการส่งออกผ่านชายแดนเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 75 ของการส่งออกรวมจากไทยไปพม่า โดยช่องทางการส่งออกที่สำคัญคือ การส่งออกทางชายแดนจังหวัดตาก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของการส่งออกชายแดนไทย-พม่า  ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของไทยไปพม่าที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค รวมถึงสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ  ก็มีการขยายตัวโดดเด่น (ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 การส่งออกเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของไทยไปพม่ามีอัตราขยายตัวถึงกว่า 3 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันในปีก่อน)  ทั้งนี้เป็นอานิสงส์จากการเร่งพัฒนาโครงสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐานในประเทศพม่า โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ที่พม่าจะเป็นเจ้าภาพในปี 2556 ณ นครเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า ผนวกกับการเปิดประเทศและพัฒนาการทางการเมืองของพม่าที่มีทิศทางดีขึ้นเป็นลำดับ ยังเป็นแม่เหล็กดึงดูดความสนใจเข้ามาลงทุนและเดินทางมาท่องเที่ยวในพม่ามากขึ้น ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนให้กิจกรรมเศรษฐกิจในพม่าคึกคัก และเป็นโอกาสขยายการส่งออกสินค้าไทยรองรับความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
 

สปป.ลาว
 การส่งออกสินค้าของไทยไป สปป.ลาว เป็นการส่งออกผ่านชายแดนเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 98 ของการส่งออกไป สปป.ลาว โดยรวม  นับเป็นสัดส่วนสูงสุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะด่านชายแดนระหว่างไทยกับ สปป.ลาว มีความเชื่อมโยงและเข้าถึงพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของ สปป.ลาว โดยตรง ทำให้สินค้าไทยค่อนข้างเข้าถึงตลาดผู้บริโภคใน สปป.ลาว ได้ง่าย  สำหรับช่องทางการส่งออกสำคัญคือ จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นช่องทางส่งออกสำคัญราวร้อยละ 57 ของการส่งออกทางชายแดนไทย-สปป.ลาว รองลงมาคือ มุกดาหาร อุบลราชธานี และเชียงราย โดยสินค้าสำคัญที่ไทยส่งไป สปป.ลาว ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่อง และสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างที่เติบโตรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน สปป.ลาว  ทั้งนี้ แม้ประชากร สปป.ลาว ส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อไม่สูงนัก แต่มีพฤติกรรมการบริโภคที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับคนไทยทำให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักคุ้นเคยและได้รับการยอมรับในตลาด สปป.ลาว เป็นอย่างดี  ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รับการถ่ายทอดพฤติกรรมการบริโภคของไทยผ่านสื่อโทรทัศน์ด้วยและการเดินทางผ่านชายแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว เป็นไปโดยสะดวกและคล่องตัว


กัมพูชา
 การส่งออกของไทยไปกัมพูชามีสัดส่วนการส่งออกผ่านชายแดนราวร้อยละ 57 ของการส่งออกไปกัมพูชาโดยรวม อย่างไรก็ดี แนวโน้มการส่งออกของไทยโดยรวมของไปกัมพูชามีทิศทางเติบโตดี โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 การส่งออกโดยรวมของไทยไปกัมพูชาขยายตัวถึงร้อยละ 51.8 (YoY) ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวสูงสุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ทั้งนี้ การเชื่อมโยงช่องทางการส่งออกทางชายแดนที่สำคัญของไทยไปกัมพูชา คือ จังหวัดสระแก้ว ราวร้อยละ 60 ของการส่งออกทางชายแดนไทยไปกัมพูชา เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีชายแดนเป็นแนวยาวถึง 165 กิโลเมตร ช่วยให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าถึงตลาดกัมพูชาผ่านจังหวัดบันเตียเมียนเจย ซึ่งเป็นจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกัมพูชา รองลงมาคือจังหวัดตราดและจันทบุรีที่มีพรมแดนติดกับจังหวัดพระตะบองและจังหวัดเกาะกงซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการขยายตัวของกัมพูชาเช่นกัน


เวียดนาม
 การส่งออกของไทยไปเวียดนามค่อนข้างต่างจากการส่งออกไปประเทศ  CLM  ทั้งในแง่ช่องทางการส่งออกที่เป็นการส่งออกทางทะเลเป็นหลัก มีการส่งออกผ่านแดนค่อนข้างน้อย  รวมทั้งความแตกต่างในแง่กลุ่มสินค้าซึ่งสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ค่อนข้างกระจุกตัวในกลุ่มสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางเพื่อใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรม  ส่วนหนึ่งเนื่องจากเวียดนามค่อนข้างมีการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและรองรับความต้องการในประเทศที่เข้มข้นกว่าประเทศ CLM  ทั้งนี้ ตลาดเวียดนามนับเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการขยายการส่งออกสินค้าไทย  เนื่องจากชาวเวียดนามเริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้น  มีความเป็นเมืองที่กระจายตัวมากขึ้น  จึงนับเป็นโอกาสสำหรับสินค้าไทยซึ่งค่อนข้างเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพและตราสินค้า อย่างไรก็ดี พฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนามค่อนข้างหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละโซนพื้นที่ ผู้ส่งออกไทยจึงควรศึกษาและวางกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดอย่างเหมาะสม


โดยสรุป ตลาด CLMV เป็นตลาดที่มีอนาคตค่อนข้างสดใสสำหรับธุรกิจไทยในการรุกเปิดตลาดและขยายช่องทางกระจายสินค้าให้กว้างขวางขึ้น โดยอาศัยปัจจัยสนับสนุนหลานด้าน อาทิ
 ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีพรมแดนเชื่อมต่อกันทางบก ผ่านเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจภูมิภาค (Economic Corridors) ที่ปัจจุบันมีความสะดวกยิ่งขึ้น และน่าจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปิดประตูการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต 
 การเปิดเสรีมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดย CLMV มีกำหนดที่จะลดภาษีศุลกากรลงเป็น 0% ในปี 2558 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเริ่มต้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยนอกจากการเปิดตลาดเสรีในด้านสินค้าแล้ว อาเซียน 10 ประเทศมีเป้าหมายที่จะลดมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีลง (Non-Tariff Barriers) รวมทั้งเปิดเสรีมากขึ้นในสาขาการบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะ และการเคลื่อนย้ายเงินทุน
 รายได้ประชากรในประเทศเพื่อนบ้านขยายตัวสูง ขณะที่การเติบโตของธุรกิจบริการในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การท่องเที่ยว จะทำให้ความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น
 จากโอกาสทางการตลาดดังกล่าว ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกไปยัง CLMV อาจขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20 ในปี 2555 มีมูลค่าประมาณ 18,700 ล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 570,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ช่วยให้การส่งออกของไทยโดยรวมในปีนี้อาจขยายตัวในระดับประมาณร้อยละ 10 (กรอบคาดการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 7-15) ท่ามกลางความยืดเยื้อของวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
 

ทั้งนี้ ภายใต้กรอบประมาณการปัจจุบัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนน่าจะประสบภาวะถดถอย (โดยอัตราการขยายตัวอยู่ในช่วงหดตัวร้อยละ 0.8 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.2) อย่างไรก็ดี หากปัญหาในยูโรโซนลุกลามถึงขั้นนำไปสู่วิกฤตการณ์เศรษฐกิจและการเงินอย่างรุนแรง จนฉุดให้ภาพรวมการส่งออกของไทยอาจถลำลงสู่แดนติดลบได้นั้น (ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้น) สำหรับตลาดส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน พม่า สปป.ลาว และกัมพูชา (CLM) คาดว่าจะยังสามารถรักษาการขยายตัวเป็นบวกได้ แม้จะเป็นอัตราที่ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระบุไว้ข้างต้น เนื่องจากความต้องการสินค้าจากไทยของประเทศกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่นำไปใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ และตอบสนองโครงการลงทุนระยะยาว


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 04 กรกฎาคม 2012, 07:35:00
มรช.ร่วมมหาวิทยาลัยภูมิภาคลุ่มน้ำโขงรับอาเซียน

วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผศ.ดร.มาณพ ภาษิตวิไลธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (มรช.) นอกจากจะมีบทบาทในการผลิตบัณฑิต และบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นแล้ว ยังมีการประสานงานติดต่อกับมหา วิทยาลัยในต่างประเทศ โดยเฉพาะในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา เปิดสอนหลักสูตรภาษาไทย-ภาษาจีน แลกเปลี่ยนอาจารย์ การทำศึกษาวิจัย การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี โท และเอกร่วมกัน เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน



อธิการบดี มรช. กล่าวว่า สำหรับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่มรช. ร่วมมือในการผลิตบัณฑิตสาขาต่างๆ ได้แก่ สถาบันการศึกษาในมณฑลยูนนาน จีน 9 แห่ง ประกอบด้วย สถาบันอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีสิบสองปันนา, วิทยาลัยอาชีวศึกษาซือเหมา, มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ซือเหมา, มหาวิทยาลัยครุศาสตร์วี่ซี, มหาวิทยาลัยต้าลี่, มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ฉู่ฉง, วิทยาลัยทรัพยากรที่ดินแห่งมณฑลยูนนาน, มหาวิทยาลัยชนชาติแห่งมณฑลยูนนาน และมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งมณฑลยูนนาน นอกจากนี้ ยังมีสถาบันการศึกษาในมณฑลกว่างซี 5 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยชนชาติแห่งมณฑลปกครองตนเองกว่างซีจ้วง, วิทยาลัยแห่งเมืองหนานหนิง, วิทยาลัยพลศึกษาแห่งมณฑลกว่างซี, วิทยาลัยศิลปะแห่งมณฑลกว่างซี และมหาวิทยาลัยเหอฉือ สถาบันการศึกษาในมณฑลเสฉวน 1 แห่ง คือมหาวิทยาลัยคมนาคมแห่งภาคตะวันตกเฉียงใต้ สถาบันการศึกษาในมณฑลเหอเป่ย 1 แห่ง คือมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ถางชาน และสถาบันการศึกษาในกรุงปักกิ่ง 1 แห่ง คือมหาวิทยาลัยประชาชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนสถาบันการศึกษาในลาว จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยครูหลวงพระบาง, วิทยาลัยครูหลวงน้ำทา และวิทยาลัยประชาบัณฑิต

หน้า 23

http://www.khaosod.co.th


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 04 กรกฎาคม 2012, 19:01:18
ตกอีกแระ ;D ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 05 กรกฎาคม 2012, 21:35:20
ที่ดินริมโขงบูม ทุนท้องถิ่นตื่นผุดพลาซา-โรงแรมตรึม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   5 กรกฎาคม 2555 10:46 น.   

(http://pics.manager.co.th/Images/555000008663802.JPEG)
   


       เชียงราย - ที่ดินชายแดนเชียงแสนเริ่มบูม โดยเฉพาะพื้นที่ริมน้ำโขง นักลงทุนแห่ผุดโครงการตรึม รอรับผลจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทั้งในประเทศ และเพื่อนบ้าน
       
       รายงานข่าวจาก จ.เชียงรายแจ้งว่า ขณะนี้มีกลุ่มทุนต่างๆ ทยอยเข้าปักหลักลงทุนพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงชายแดนไทย-สปป.ลาวมากขึ้น รองรับผลการพัฒนาระบบคมนาคมต่างๆ ทั้งกรณีที่กระทรวงคมนาคมได้ก่อสร้างถนนโครงข่ายไปสู่ท่าเรือแม่น้ำโขงเชียงแสน แห่งที่ 2 และสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ รวมทั้งถนนสี่ช่องจราจรเชียงแสน-แม่จัน และเชียงราย-เชียงของ นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ เช่น กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง หรือจีเอ็มเอส ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ฯลฯ



       ขณะที่กลุ่มทุนจีนยังคงเดินหน้าลงทุนในฝั่ง สปป.ลาว โดยกลุ่มดอกงิ้วคำได้ดำเนินโครงการ Kings Romans of Laos Asian & Tourism Development Zone โดยสร้างโรงแรม บ่อนกาสิโน เขตการค้า ท่าเรือ เขตพาณิชยกรรม อุตสาหกรรมแปรรูป พื้นที่การเกษตร ฯลฯ ที่เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว บริเวณสามเหลี่ยมทองคำซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
       
       นายชยกฤษณ์ นิสสัยสุข นายกเทศมนตรี ต.เวียงเชียงแสน กล่าวว่า แต่เดิมพื้นที่ชายแดนด้าน อ.เชียงแสน แม้จะเป็นจุดการค้าชายแดนที่สำคัญ แต่ก็เป็นเพียงธุรกิจค้าชายแดน หรือมีโรงแรมที่เน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวเกรดสูงเข้าไปพัก ยังไม่มีกิจการที่บ่งชี้ถึงความเจริญทางเศรษฐกิจและการค้าในท้องถิ่นมากนัก แต่ขณะนี้มีปัจจัยหลายอย่างเอื้อให้เกิดการลงทุน
       
       ดังนั้น ในช่วง 1-2 ปีมานี้จึงเริ่มเห็นการลงทุนมากขึ้น เช่น โรงแรมสยามไทรแองเกิล ฯลฯ นอกจากนี้มีโรงแรม ห้องพัก อาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก ฯลฯ เริ่มเกิดขึ้นทั้งในตัวเมืองเชียงแสน และพื้นที่ติดถนนสายแม่สาย-เชียงแสน, แม่สาย-แม่จัน, เชียงแสน-เชียงของ คาดว่าในอนาคตก็จะมีมากขึ้นตามการพัฒนาของบ้านเมือง



       นอกจากนี้ ในปัจจุบันได้มีโครงการโขงวิว พลาซ่า ของเอกชนไปตั้งเป็นพลาซาขนาดใหญ่อยู่บริเวณสามแยกบายพาสในเขต ต.เวียง ติดกับเทศบาล ต.เวียงเชียงแสนด้วย ซึ่งถือเป็นโครงการพลาซาขนาดใหญ่แห่งแรกของ อ.เชียงแสน และคาดว่าจะเป็นสัญญาณว่ากลุ่มทุนต่างๆ เริ่มขยายธุรกิจจากเดิมเกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนและการบริการนักท่องเที่ยว ไปสู่ศูนย์การค้าซึ่งเชื่อมโยงกับการค้าและการท่องเที่ยวได้ด้วย โดยเฉพาะพลาซาดังกล่าวสามารถเชื่อมการพัฒนาเทศบาล ต.เวียงเชียงแสน กับเทศบาล ต.เวียง อ.เชียงแสน ได้เป็นอย่างดี
       
       ขณะเดียวกันท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 ที่เทศบาลเข้าไปดูแลเป็นท่าเรือท่องเที่ยว ก็มีเอกชนเข้าไปพัฒนาเป็นร้านค้าปลอดภาษี หรือดิวตี้ฟรีอีกด้วย
       
       ด้านนายวชิระ รัศมีจันทร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เคที พร็อพเพอร์ตี้ วัน จำกัด ตั้งอยู่ อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งดำเนินโครงการโขงวิว พลาซ่า เปิดเผยว่า บริษัทจะลงทุนพัฒนาพื้นที่ 8 ไร่ 22 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 18329 ริมติดสายแยกบายพาสเชียงแสน ม.8 ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ติดแม่น้ำโขง ทำให้สามารถเห็นทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงได้อย่างสวยงาม โดยสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และให้แล้วเสร็จภายใน มิ.ย. 2556 เพื่อรองรับความเจริญทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในอีก 2-3 ปีข้างหน้า



       “โขงวิวพลาซ่า” แบ่งออกเป็น 3 ส่วน พื้นที่ส่วนในสุดติดแม่น้ำโขง เป็นอาคารพาณิชย์สูง 3 ชั้น ภายในประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องพักผ่อน ที่จอดรถ ทิวทัศน์แม่น้ำโขง ฯลฯ ด้านหน้าอาคารกว้าง 4 เมตร และลึกเข้าไปด้านหลังอีกถึง 12 เมตร เหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยหรือปรับปรุงเป็นธุรกิจได้ มีทั้งหมด 32 คูหา
       
       โครงการส่วนที่ 2 เป็นอาคารพาณิชย์ อยู่ถัดออกไปจากส่วนแรกเหมาะต่อการพาณิชยกรรม หรือค้าขาย มีขนาด 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ และห้องโถงใหญ่เพื่อธุรกิจด้วย โดยอาคารแต่ละหลังจะสร้าง 9 คูหา และแยกออกจากกันตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ ด้านหน้าจะมีถนนกั้นไว้กว้างขวาง
       
       ส่วนที่ 3 เรียกว่า บูทให้เช่า จะอยู่ถัดจากถนนสายดังกล่าวขนานไปกับอาคารพาณิชย์ โดยจัดให้มีบูทขายสินค้ารองรับกว่า 110 บูท แต่ละบูทมีพื้นที่ขาย 3 ตารางเมตร โดยมีแนวทางจะเปิดให้จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง สินค้าต่างประเทศ ของที่ระลึก ฯลฯ บริเวณโดยรอบจะมีลานจอดรถส่วนบุคคลได้กว่า 100 คัน รถบัสอีกกว่า 10 คัน
       
       นายวชิระบอกว่า ทางโครงการได้เปิดให้จองโดยกำหนดราคาอาคารพาณิชย์ส่วนที่ 1 และ 2 ซึ่งมีขนาดที่ดิน 19 ตารางวา และพื้นที่ใช้สอย 144 ตารางเมตร ในราคาขาย 3.5 ล้านบาท จอง 50,000 บาท ทำสัญญา 150,000 บาท และผ่อนดาวน์เดือนละ 200,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน รวมเงินดาวน์ 1,200,000 บาท ก็สามารถอยู่อาศัยหรือทำธุรกิจในทำเลทองติดกับแม่น้ำโขงได้ทันที ที่เหลือ 2,300,000 บาทสามารถใช้เงินกู้จากธนาคาร

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000082315


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 05 กรกฎาคม 2012, 21:50:59
กสิกรไทยคาดมูลค่าจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ขยายตัวร้อยละ 6.3-8.0 ในปี 2555


วันพฤหัสบดีที่ 05 กรกฏาคม 2012

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "ธุรกิจโลจิสติกส์ครึ่งหลังปี 2555: ปัจจัยบวกจากการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค…รองรับ AEC" ตั้งแต่ต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ธุรกิจโลจิสติกส์กลับมามีความคึกคักมากขึ้น เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

ที่ได้กลับมาเร่งผลิตและเร่งกระจายสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าขาดแคลน นอกจากนี้ การเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ยังได้รับปัจจัยหนุนเฉพาะของธุรกิจที่มาจากการพัฒนาระบบเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางที่สำคัญ สำหรับเส้นทางที่มีกิจกรรมการขนส่งที่คึกคักนั้น จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เส้นทาง R3A ที่เชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน เส้นทาง R8 R9 และ R12 ที่เชื่อมโยงไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน เป็นต้น เห็นได้จากสถิติการค้าชายแดน และจำนวนรถยนต์ที่ผ่านชายแดนตามเส้นทางดังกล่าวเติบโตเพิ่มสูงขึ้น

 

ทั้งนี้ ภาครัฐมีแผนการขยายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะการคมนาคมทั่วประเทศ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็วและรองรับปริมาณขนส่งระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านที่น่าจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจากการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 ซึ่งการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะช่วยเสริมโอกาสในการขยายตลาดของธุรกิจไทย รวมทั้งกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ที่มีเส้นทางคมนาคมตัดผ่าน นอกจากนี้ จะเป็นการลดปัญหาคอขวดที่มีอยู่ เช่น ศักยภาพในการให้บริการของท่าเรือและสนามบิน อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการแข่งขันของธุรกิจไทยในด้านต่างๆได้อย่างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ โอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ที่จะได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาเครือข่ายระบบขนส่งสาธารณะ ดังนี้

โครงข่ายคมนาคมส่งเสริมศักยภาพธุรกิจโลจิสติกส์...เร่งพัฒนาสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน

การพัฒนาเส้นทางคมนาคมในประเทศได้นำพาความเจริญและส่งเสริมเศรษฐกิจในภาคต่างๆของไทย อีกทั้งประเทศไทยต้องการผลักดันบทบาทในการเป็นศูนย์กลาง (Hub) ด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน จากจุดแข็งในด้านทำเลที่ตั้งซึ่งที่เป็นเส้นทางผ่านที่เชื่อมไปถึงเกือบทุกประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน

ด้วยความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์นี้ ส่งผลให้ไทยมีบทบาทสูงในด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย รวมทั้งสามารถส่งต่อไปยังประเทศข้างเคียง เช่น เวียดนามและมณฑลตอนใต้ของประเทศจีน ผ่านด่านชายแดนสำคัญที่กระจายตัวอยู่ตามขอบชายแดนในภาคต่างๆ ของไทย เห็นได้จากรายงานของด่านศุลกากรในหลายๆ จังหวัด พบว่า สถิติการค้าชายแดนของไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดที่มีโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคจะมีอัตราการขยายตัวที่โดดเด่น



แนวโน้มการค้าชายแดนยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดที่มีสะพานข้ามแม่น้ำ อาทิ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร และหนองคาย อีกทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อ. เชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้า ซึ่งจังหวัดเหล่านี้เป็นประตูตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น เส้นทาง R3A ที่เชื่อมการคมนาคมระหว่างประเทศ ไทย ลาว และจีน และเส้นทาง R1 R9 R12 ที่จะมีความสำคัญมากขึ้นในการขนส่งระหว่างประเทศอาเซียนตามแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านตะวันออกและตะวันตก และเป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่าในอนาคต

นอกจากโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพแล้ว การผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการคมนาคมขนส่งข้ามพรมแดน ภายใต้กรอบ AEC ก็จะยิ่งเอื้ออำนวยให้การไหลเวียนของโลจิสติกส์ในภูมิภาคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาธุรกิจขนส่งทางถนนเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีปริมาณการขนส่งระหว่างประเทศเติบโตเกือบสองเท่าในช่วงเวลาเพียง 2 ปี (จาก 11.2 ล้านตัน ในปี 2550 เป็น 21.3 ล้านตัน ในปี 2552) ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการค้าชายแดนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามชายแดน

สำหรับโอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ของไทย จะได้รับผลดีจากความต้องการใช้บริการโลจิสติกส์ผ่านเส้นทางทางบกที่เพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของการค้าและการลงทุนภายใต้ AEC แต่ขณะเดียวกัน ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยก็จำเป็นต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากหลายๆด้าน โดยเฉพาะแรงกดดันจากการแข่งขันที่จะสูงขึ้น เมื่อต้องเผชิญคู่แข่งที่เป็นธุรกิจต่างชาติที่มีเงินทุนและเทคโนโลยีที่เพรียบพร้อม ซึ่งกลยุทธ์ในการปรับตัวอาจมีหลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับเป้าหมายทางธุรกิจและทรัพยากรของผู้ประกอบการแต่ละราย โดยแนวทางที่เป็นไปได้ เช่น การหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อที่จะเติมเต็มช่องว่างในการบริการให้สามารถให้บริการธุรกิจได้อย่างครบวงจรในระดับเดียวกับบริษัทต่างชาติ หรืออาจวางตำแหน่งการตลาดสร้างความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการการบริการเฉพาะด้าน เช่น การขนส่งและจัดเก็บเคมีภัณฑ์ หรือสินค้ามีมูลค่าสูง รวมไปถึงการรับช่วงให้บริการกับบริษัทโลจิสติกส์รายใหญ่หรือบริษัทต่างชาติ

แนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์ในครึ่งหลัง ปี 2555

 
ธุรกิจโลจิสติกส์ในครึ่งปีหลังน่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนจากความต้องการใช้บริการขนส่งในภาคการเกษตร ก่อสร้าง และค้าปลีก ขณะเดียวกัน แม้ว่าอุปสงค์ในต่างประเทศมีแนวโน้มอ่อนแรงลง แต่ในแง่อัตราการขยายตัวก็อาจยังอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งธุรกิจประสบปัญหาอุทกภัยรุนแรง นอกจากนี้ ธุรกิจโลจิสติสก์ยังได้รับปัจจัยเสริมจากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง แต่อย่างไรก็ดีธุรกิจโลจิสติกส์ก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 40 และการบริหารจัดการคนขับรถ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ ณ ราคาปีปัจจุบัน จะมีแนวโน้มเติบโตได้ดีขึ้น โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.3-8.0 ในปี 2555 (สูงขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปี 2554) และจากการที่ภาครัฐที่มีนโยบายการลงทุนในระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาคต่างๆ อาทิ การจัดตั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างประเทศตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำโขง เป็นต้น ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดใช้การได้ตามแผนการที่ภาครัฐวางไว้จะสามารถช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการได้มากขึ้น

จากแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ ด้านการพัฒนาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในปี 2555-2559 ได้เน้นลงทุนในด้านสาขาการขนส่งกว่าร้อยละ 70 และส่วนใหญ่จะเป็นในด้านการขนส่งทางบก ซึ่งจะส่งเสริมการขนส่งทางบก ที่มีอัตราส่วนกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณการขนส่งสินค้าในประเทศทั้งหมด ประกอบกับโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ในไทยที่เป็น SMEs เป็นสัดส่วนสูงถึง 99.9 (และเป็นขนาดเล็กถึง 99.5 ของผู้ประกอบการทั้งหมด) ซึ่งอยู่ในธุรกิจขนส่งทางรถยนต์กว่าร้อยละ 80 โดยการขนส่งผู้โดยสารทางถนนมีสัดส่วนรวมร้อยละ 59.4 และการขนส่งสินค้าทางถนนมีสัดส่วนร้อยละ 20.5 ของผู้ประกอบการในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ทั้งหมด

หากแผนพัฒนาด้านลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นไปตามนโยบายจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการขนส่ง จากการใช้วิธีการขนส่งรูปแบบเดียว เช่น ใช้รถยนต์ขนส่งไปยังท่าเรือเพื่อส่งออก เปลี่ยนมาเป็นการใช้หลายรูปแบบในการขนส่ง (Intermodal Transportation) เช่น การขนส่งโดยใช้รถยนต์แล้วเปลี่ยนเป็นทางรถไฟ ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไปยังท่าเรือ ซึ่งในปัจจุบันการส่งด้วยวิธีทางรถไฟยังไม่มีประสิทธิภาพพอ แต่หากได้มีการปรับปรุงและก่อสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง อาจทำให้คนหันมาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำลงกว่าเดิมมาก และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความสามารถให้บริการหลายรูปแบบดังกล่าวจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อตอบสนองการลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่งของภาคธุรกิจต่างๆ

เพิ่มศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาคต่างๆมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญในการใช้เพื่อลดต้นทุนในการเก็บสินค้าและขนส่งสินค้า และยังช่วยตอบสนองต่อการขยายตัวของความต้องการในภูมิภาคต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น การขยายตัวของการค้าชายแดนจะทำให้ความต้องการสินค้าที่สูงขึ้น ซึ่งถ้ามีศูนย์กระจายสินค้าย่อยในการกระจายสินค้าในภาคต่างๆ จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและความต้องการจากประเทศเพื่อนบ้านได้ แม้ว่าธุรกิจคลังสินค้าในบริเวณที่ประสบอุทกภัยชะลอตัวลง แต่โดยรวมธุรกิจให้บริการคลังสินค้ามีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากอุทกภัย อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

ธุรกิจโลจิสติกส์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยสนับสนุนทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศ ได้รับผลบวกจากการลงทุนจากต่างประเทศ การขยายฐานการผลิตและศูนย์กระจายสินค้าสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งการขยายตัวของความเป็นเมือง และการท่องเที่ยวที่มีความคึกคักมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่มีแผนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ จะช่วยเสริมให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศมากยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งภาครัฐวางแผนที่จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงให้เหลือร้อยละ 13 ภายในปี 2560 จากร้อยละ 15.2 ในปี 2553
 
สำหรับปัจจัยภายนอกประเทศ คาดว่ามีแรงสนับสนุนมาจากผลของการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความร่วมมือในกรอบ ASEAN Plus กับประเทศพันธมิตรนอกอาเซียน เช่น ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งจะส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ตลอดจนความร่วมมือในด้านอื่นๆ ระหว่างกันภายในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าชายแดนที่จะเติบโตขึ้นอย่างมาก
 
ทั้งนี้ แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2555 นี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากอุปสงค์ในตลาดโลกอ่อนแรงลง จากปัญหาวิกฤตหนี้ในยูโรโซน ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและอินเดีย แต่จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมทั้งปัจจัยบวกที่มีต่อธุรกิจโลจิสติกส์ดังที่กล่าวมาข้างต้น อาจช่วยผลักดันธุรกิจโลจิสติกส์ให้เติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในปี 2555 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า มูลค่าจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นเป็น 569,774-578,732 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 6.3-8.0 จาก 536,059 ล้านบาท ในปี 2554

นอกจากนี้ ในปี 2556 จะมีการเปิดเสรีสาขาบริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาบริการที่มีการเร่งรัดเปิดเสรีภายในกรอบ AEC จากการที่จะมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางอาเซียน ดังนั้น นอกเหนือการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังจะมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคโดยใช้เส้นทางผ่านไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนมีแนวโน้มขยายตัวสูงนับจากนี้และหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาคที่จะพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน จะไม่เพียงแต่สนับสนุนการเชื่อมโยงภายในภูมิภาคในด้านการค้าเท่านั้น แต่ยังจะสนับสนุนการเชื่อมโยงของแหล่งอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการลงทุนในอนาคต

 
ที่มา : http://www.thanonline.com


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 06 กรกฎาคม 2012, 20:10:32
 :)มาดูภาคเกษตรบ้างครับ  ;D

มาตรการเชิงรุกและรับ ป้องกันผลกระทบหลังเปิดAEC
   นายธีระวงค์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์เปิดเผยหลังจากเป็นประธานเปิดการสัมนาเรื่อง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับภาคการเกษตรไทย ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ว่าในการเตรียมการรองรับการเกิด เออีซี ที่จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบในปี พ.ศ.2558 กระทรวงเกษตรได้พิจจารณาเห็นว่าควรมีทั้งมาตรการทั้งเชิงรับและเชิงรุก โดยมาตรการเชิงรับ ได้แก่ การตั้งเงื่อนไขการนำเข้า การกำหนดมาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (SPS) รวมทั้งเข้มงวดการลักลอบนำเข้า ทั้งนี้ต้องระวังไม่ให้ขัดกับข้อตกลงด้วย และกรณีที่มีการลักลอบนำเข้าก็จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายอย่างจริงจัง หรือทางออกสุดท้ายคือ ถ้าคิดว่าสินค้าไดที่เราสู้ไม่ได้แน่นอน ก็จะแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรไปทำอย่างอื่นทดแทน โดยภาครัฐจะให้การสนับสนุนด้วย
   ส่วนมาตรการเชิงรุก เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพสินค้า และการสร้างภาพลักษณ์สินค้า เพื่อเพิ่มควาสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งการย้ายฐานการผลิตไปลงทุนยังประเทศอาซี่ยนที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
   ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนหรือ AEC นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ของภาครัฐหรือเอกชน เพราะเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซี่ยน 10 ประเทศถายใต้กฎบัตรอาเซี่ยน มาตั้งแต่ปี 2550 ที่จะก่อให้เกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนที่สมบูรณ์แบบ ในปี 2558 เช่นเดียวกับการก่อตั้งสหภาพยุโรป หรือ EU แต่สำหรับบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะเกษตรกรไทย ยังมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก จึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่กระทรวงเกษตรฯ จะต้องเร่งสร้างองค์ความรู้ในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้เกษตรกรโดยเร็ว เพื่อปรับตัวและป้องกันผลกระทบแก่ตัวเกษตรกรเองในอนาคต นายธีระกล่าว


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2012, 00:15:36
รองอธิบดีกรมการปกครอง ชื่นชม อ.เชียงแสน - อ.เชียงของ จ.เชียงราย ที่เตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มที่

รองอธิบดีกรมการปกครอง ชื่นชมอำเภอเชียงแสน - อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่เตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มที่ ขณะที่โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงตามแนวเศรษฐกิจเหนือ- ใต้ ขณะนี้มีความคืบหน้าไปเกือบร้อยละ 50
นายอภิชาติ เทียวพานิช รองอธิบดีกรมการปกครอง กล่าวภายหลังนำคณะสื่อมวลชนเดินทางมาศึกษาดูงานบทบาทภารกิจของฝ่ายปกครองในการส่งเสริมการค้า ชายแดน และการเตรียมความพร้อมในการรองรับประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ในพื้นที่อำเภอเชียงแสน - อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 6-8 กรกฎาคมนี้ โดยกล่าวชื่นชมทั้ง 2 อำเภอ ที่ได้เตรียมความพร้อมในหลายด้านเป็นอย่างดี ภายใต้ 3 เสาหลัก คือ ด้านสังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และความมั่นคง โดยได้บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ พร้อมเห็นว่าการเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งการทำความเข้าใจกับประชาชน การเตรียมความด้านภาษาให้กับเด็ก เยาวชน ผู้ประกอบการต่างๆ รวมทั้งข้าราชการ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ ผู้ประกอบการในพื้นที่ อาทิ ผู้ประกอบการโรงแรม ต่างเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคม อาเซียนกันอย่างเต็มที่ ส่วนเส้นทางคมนาคมขนส่งต่าง ๆ ได้เร่งดำเนินการกันอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงตามแนวเศรษฐกิจเหนือ- ใต้ (ห้วยทราย-เชียงของ ) หรือโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 ระหว่างห้วยทราย-เชียงของ เชื่อมต่อเชียงราย-คุณหมิง ผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีความยาวรวม 630 เมตร โดยนายสันติสุข สูตรสุวรรณ วิศวกรวัสดุประจำโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 กล่าวว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าไปเกือบร้อยละ 50 โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และไทย ซึ่งคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณวันที่ 12 ธันวาคมนี้ และจะเปิดอย่างเป็นทางการประมาณวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 หากดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยส่งเสริมการค้าขายและการคมนาคม และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างมากมาย

    
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : ขนิษฐา ลือสัตย์ / สวท.   Rewriter : รัชฎา ตรงดี / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th


 วันที่ข่าว : 08 กรกฎาคม 2555


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 08 สิงหาคม 2012, 18:40:38
ที่ดินขอนแก่นไร่ละ 80 ล้าน! ‘อุดรฯ-แม่สอด’ไร่ละ40ล้าน/ปั่นราคา‘อีสาน-เหนือ’รับเออีซี

   
    

ขอนแก่น/อุดรฯ/ตาก/เชียงราย - ราคาที่ดินขอนแก่น-อุดรธานีแพงเว่อร์ ถนนศรีจันทร์เก็งกำไรไร่ละ 80 ล้านบาท ขณะ ที่ใจกลางเมืองอุดรธานีไร่ละ 40 ล้าน “ศุภาลัย” เผย ณ วันนี้ โซนรอบมหาวิทยาลัย ขอนแก่นบูมสุดๆ รองรับเศรษฐกิจ AEC ด้านภาคเหนือ บูมไม่แพ้กัน แม่สอดนำโด่ง สนนราคาที่ดินไร่ละ 10-40 ล้านบาท เชียงรายพุ่ง 2-3 ล้านบาทต่อไร่

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการบริหาร บริษัทศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงราคาที่ดินในจังหวัดขอนแก่น ว่าโซนที่บูมที่สุดคือรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ราคาที่ดินถือว่าสูงสุดในปัจจุบันซื้อขายกันตารางวาละ 40,000-45,000 บาท หรือไร่ละ 16-18 ล้านบาท

" ณ วันนี้ แหล่งอยู่อาศัยเกิดใหม่แค่ 2-3 ปีราคาขยับเร็วมาก จากตารางวาละ 10,000-20,000 บาท ตอนนี้ซื้อขายกันตารางวาละกว่า 40,000 บาท หรือไร่ละเฉียด 20 ล้าน " นายไตรเตชะ กล่าว

แต่ที่มีราคาแพงสุด ๆ อยู่ที่ “ถนนศรีจันทร์” โดยแหล่งข่าวรายหนึ่ง เปิดเผยิสยามธูรกิจิ ว่า ราคาซื้อขายที่ดินในเส้นถนนศรีจันทร์ ณ วันนี้ไร่ละ 80 ล้านบาท แต่ก็ไม่มีที่ดินให้ซิ้อแล้ว เพราะตกอยู่ในมือของนักเก็งกำไร ซึ่งเป็นสาเหตุให้ราคาพุ่งขึ้นไปเว่อร์สูงเกินความเป็นจริง เพราะหากซื้อ-ขายกันตามราคาปกติเมื่อ 3 ปีก่อนหน้าก็จะอยู่ที่ไร่ละประมาณ 20 ล้านบาทเท่านั้น เท่ากับว่าปรับขึ้นมา 4 เท่าตัว

ขณะที่นางพรทิพย์ ธนศรีวนิชชัย ประธานบริษัท พร็อตเพอร์ตี้ จำกัด และ ในฐานะประธานชมรมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดอุดรธานี เปิดเผยถึง การขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดอุดร,ขอนแก่น และโคราช เป็นการขยายตัวตามแนวเส้นทางเศรฐกิจคนนาคมขนส่ง ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายพัฒนาโครงการพื้นฐานรับการเปิดประชาคมเศรฐกิจอาเซียน AEC ในปี 2558 จากเดิมที่มีเพียงผู้ประกอบการท้องถิ่นแข่งขันพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร และอาคารพานิชย์เท่านั้น แต่ในช่วง 2 ปีมานี้ผู้ประกอบการรายใหญ่จากส่วนกลาง(กทม.)เข้ามาผุดโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม ซึ่ง ณ วันนี้มีไม่ต่ำกว่า 6ราย อาทิ แลนด์ แอน เฮ้าส์,พฤกษา,ศุภาลัย เป็นต้น

ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่เหล่านี้ ขยับสูงขึ้น จากบ้านเดี่ยวราคา 1 ล้านต้น ๆ ขยับขึ้นเป็น 2 ล้านบาท ราคา 2 ล้านบาท ขึ้นเป็น 2.5 -3 ล้านบาท และมีจำนวนที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี

ส่งผลต่อเนื่องถึงราคาที่ดินที่สูงขึ้น จากเดิมราคาอยู่ที่ ไร่ละ 3-4 ล้านบาท แต่ ณ วันนี้ขึ้นไปถึงไร่ละ 8-10 ล้านบาท และส่วนใหญ่ อยู่ในมือของเศรษฐีที่ดินท้องถิ่น เมื่อขายต่อจึงมีราคาสูง

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ดินแนวราบใน จ.อุดรธานี มีความยากมากขึ้น เพราะราคาที่ดินปรับตัวสูงมาก โดยที่ดินใจกลางเมืองบางแปลงตั้งราคาขายสูงถึง 1 แสนบาทต่อตารางวา หรือ 40 ล้านบาทต่อไร่ส่วนบริเวณถนนวงแหวนรอยต่อใจกลางเมือง ราคาก็ขยับขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทต่อตารางวาหรือ 3-4 ล้านบาทต่อไร่แล้ว ประธานชมรมอสังริมทรัพย์ จังหวัดอุดรธานี กล่าว

ด้านนายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า อำเภอแม่สอดกำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนจากจีนและญี่ปุ่น เนื่องจากทุกฝ่ายมองถึงศักยภาพของแม่สอดที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญแห่งหนึ่งของ AEC บนระเบียงเศรษฐกิจอีสต์เวตส์อีโคโนมิกคอร์ริดอร์ (EWEC) ประกอบกับรัฐบาลมีแนวคิดผลักดันจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดขึ้น

นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด จ.ตาก กล่าวว่า ขณะนี้ที่ดินในพื้นที่มีราคาพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยราคาไร่ละ 3-7 ล้านบาท บางจุดสูงถึงไร่ละ 10-15 ล้านบาท ตามเส้นทางถนนสายหลักและสายรอง หากเป็นในเขตเมืองสูงอาจสูงถึงงานละ 10 ล้านบาทหรือไร่ละ 40 ล้านบาท และมีแนวโน้มราคาจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องหลังรัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดตั้งเป็นพื้นที่เขตการปกครองท้องถิ่นพิเศษและเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดเพื่อรองรับ AEC นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะทำให้การค้า-การลงทุนชายแดนแม่สอดคึกคัก และนำไปสู่การพัฒนาความเจริญในทุกๆ ด้าน

ขณะที่ตัวแทนชมรมกลุ่มรักษ์เชียงแสน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน จ.เชียงราย ร้องให้สื่อมวลชนเข้าตรวจสอบกรณีมีกลุ่มผู้นำท้องถิ่น รวมตัวกับนักการเมืองส่วนท้องถิ่น เร่งจัดสรรพื้นที่งอกหลายจุด ริมฝั่งแม่น้ำโขงชายแดนไทย-ลาว บริเวณพื้นที่ ต.เวียง ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการ อ.เชียงแสน ไปทางสามเหลี่ยมทองคำ เพื่อรวบรวมนำไปเสนอขายกลุ่มนายทุน ส่งผลราคาซื้อขายที่ดินสูงถึงไร่ละ 2-3 ล้านบาท

http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413364431 (http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413364431)


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558
เริ่มหัวข้อโดย: mammon ที่ วันที่ 09 สิงหาคม 2012, 13:13:48
ที่แขวงบ่อแก้ว เด็ก ๆ พูดภาษาอังกฤษ จีน ไทย ลาว ฝรั่งเศส
ก็มีไม่มากนะครับผมอยู่แถวเขตเศรษกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำเด็กๆก็พูดภาษาลาวภาษาเหนือทั่วไปโซนคนจีนก็พูดจีนกันอย่างเดียวอังกฤษแย่กว่าไทยอีกเด็กส่วนใหญ่ก็ไมได้เรียนหนังสือพ่อแม่พามาเลี้ยงที่บ่อน คนลาวทุกคนทำงานที่นี่ก้พูดได้แค่ภาษาลาวภาษาจีนก็ได้นิดหน่อยแค่ศัพที่ได้ใช้ในงาน อังกฤษแทบไม่มีใครพูดได้ ครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: <lovelys129 ที่ วันที่ 09 สิงหาคม 2012, 13:17:02
ณู้สึกว่าภาษากลางที่ใช้เขาจะใช้ภาษาอังกฤษกันนะครับ ผมคนหนึ่งล่ะไม่เอาอ่าวเลย


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ironmaiden ที่ วันที่ 09 สิงหาคม 2012, 14:05:25
อย่างนี้ต้องมีเมียให้ครบทุกสัญชาติ...ภาษาลิ่วแน่นอน...


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: rapancell ที่ วันที่ 09 สิงหาคม 2012, 21:01:22
ขอประชาสัมพันธ์หน่อยนค่ะ
พรุ่งนี้วันที่ 10 สิงหาคม 2555 สำนักงานจังหวัดเชียงราย ส่วนงานยุทธศาสตร์จังหวัด ได้จัดให้มีการประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมภาคประชาชนสู่ประชาคมอาเซียน ที่โรงแรมโพธิวดลตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น. ในงานนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะปรับข้อมูล ข่าวสาร เตรียมตัว และส่งข่าวถึงพี่น้องในพื้นที่ให้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสที่จะมาถึงและเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ อยากให้หน่วยงานที่เป็นเครือข่ายให้ความสนใจและมาร่วมงานเยอะๆนะค่ะ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สาวนุ้ยผลัดถิ่น ที่ วันที่ 09 สิงหาคม 2012, 23:00:40
ต่อไปคงมีแต่สังคม อาเซี่ยน เดี๋ยวนี้ใครๆก็พูดแต่ อาเซี่ยน ไม่เห็นจะมีใครย้อนกลับมามอง ความเป็นวัฒนธรรมรากเง้า ของตัวเองเลย (จะว่าเชย หรือ ล้าหลังก็ไม่อายน่ะ)

ต่อไปลูกหลานเราคงไม่มี โอกาสได้เรียนภาษาไทย หรือ ประวัติศาสตร์ชาติไทยกันแล้ว
เพราะต้องเรียน ภาษาอังกฤษแข่งกะพม่า

ทำไมเราไม่มีแกนหลักยึด ชูด้านวัฒนธรรมความเป็นไทย ที่คนทั่วโลกยอมรับ

สังคมเราคงจะน่าอยู่ขึ้นเยอะ ถ้าเราร่วมมือกัน


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 10 สิงหาคม 2012, 16:07:02
ต่อไปคงมีแต่สังคม อาเซี่ยน เดี๋ยวนี้ใครๆก็พูดแต่ อาเซี่ยน ไม่เห็นจะมีใครย้อนกลับมามอง ความเป็นวัฒนธรรมรากเง้า ของตัวเองเลย (จะว่าเชย หรือ ล้าหลังก็ไม่อายน่ะ)

ต่อไปลูกหลานเราคงไม่มี โอกาสได้เรียนภาษาไทย หรือ ประวัติศาสตร์ชาติไทยกันแล้ว
เพราะต้องเรียน ภาษาอังกฤษแข่งกะพม่า

ทำไมเราไม่มีแกนหลักยึด ชูด้านวัฒนธรรมความเป็นไทย ที่คนทั่วโลกยอมรับ

สังคมเราคงจะน่าอยู่ขึ้นเยอะ ถ้าเราร่วมมือกัน

แล้วภาษา ตั๋วหนังสือ วัฒนธรรม แลประวัติศาสตร์ล้านนา ลอครับ

ผมหันโตยกับเรื่องส่งเสริมกำฮู้เกี่ยวกับอาเซียนน่อครับ
แต่ก็ต้องเก็บของเฮาไว้โตย คนเฮาฮู้หลายๆภาษา ฮู้อะหยังหลายๆอย่าง ก็ดีลอครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: superguy ที่ วันที่ 10 สิงหาคม 2012, 23:42:58
ที่ดินขอนแก่นไร่ละ 80 ล้าน! ‘อุดรฯ-แม่สอด’ไร่ละ40ล้าน/ปั่นราคา‘อีสาน-เหนือ’รับเออีซี

   
    

ขอนแก่น/อุดรฯ/ตาก/เชียงราย - ราคาที่ดินขอนแก่น-อุดรธานีแพงเว่อร์ ถนนศรีจันทร์เก็งกำไรไร่ละ 80 ล้านบาท ขณะ ที่ใจกลางเมืองอุดรธานีไร่ละ 40 ล้าน “ศุภาลัย” เผย ณ วันนี้ โซนรอบมหาวิทยาลัย ขอนแก่นบูมสุดๆ รองรับเศรษฐกิจ AEC ด้านภาคเหนือ บูมไม่แพ้กัน แม่สอดนำโด่ง สนนราคาที่ดินไร่ละ 10-40 ล้านบาท เชียงรายพุ่ง 2-3 ล้านบาทต่อไร่

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการบริหาร บริษัทศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงราคาที่ดินในจังหวัดขอนแก่น ว่าโซนที่บูมที่สุดคือรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ราคาที่ดินถือว่าสูงสุดในปัจจุบันซื้อขายกันตารางวาละ 40,000-45,000 บาท หรือไร่ละ 16-18 ล้านบาท

" ณ วันนี้ แหล่งอยู่อาศัยเกิดใหม่แค่ 2-3 ปีราคาขยับเร็วมาก จากตารางวาละ 10,000-20,000 บาท ตอนนี้ซื้อขายกันตารางวาละกว่า 40,000 บาท หรือไร่ละเฉียด 20 ล้าน " นายไตรเตชะ กล่าว

แต่ที่มีราคาแพงสุด ๆ อยู่ที่ “ถนนศรีจันทร์” โดยแหล่งข่าวรายหนึ่ง เปิดเผยิสยามธูรกิจิ ว่า ราคาซื้อขายที่ดินในเส้นถนนศรีจันทร์ ณ วันนี้ไร่ละ 80 ล้านบาท แต่ก็ไม่มีที่ดินให้ซิ้อแล้ว เพราะตกอยู่ในมือของนักเก็งกำไร ซึ่งเป็นสาเหตุให้ราคาพุ่งขึ้นไปเว่อร์สูงเกินความเป็นจริง เพราะหากซื้อ-ขายกันตามราคาปกติเมื่อ 3 ปีก่อนหน้าก็จะอยู่ที่ไร่ละประมาณ 20 ล้านบาทเท่านั้น เท่ากับว่าปรับขึ้นมา 4 เท่าตัว

ขณะที่นางพรทิพย์ ธนศรีวนิชชัย ประธานบริษัท พร็อตเพอร์ตี้ จำกัด และ ในฐานะประธานชมรมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดอุดรธานี เปิดเผยถึง การขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดอุดร,ขอนแก่น และโคราช เป็นการขยายตัวตามแนวเส้นทางเศรฐกิจคนนาคมขนส่ง ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายพัฒนาโครงการพื้นฐานรับการเปิดประชาคมเศรฐกิจอาเซียน AEC ในปี 2558 จากเดิมที่มีเพียงผู้ประกอบการท้องถิ่นแข่งขันพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร และอาคารพานิชย์เท่านั้น แต่ในช่วง 2 ปีมานี้ผู้ประกอบการรายใหญ่จากส่วนกลาง(กทม.)เข้ามาผุดโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม ซึ่ง ณ วันนี้มีไม่ต่ำกว่า 6ราย อาทิ แลนด์ แอน เฮ้าส์,พฤกษา,ศุภาลัย เป็นต้น

ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่เหล่านี้ ขยับสูงขึ้น จากบ้านเดี่ยวราคา 1 ล้านต้น ๆ ขยับขึ้นเป็น 2 ล้านบาท ราคา 2 ล้านบาท ขึ้นเป็น 2.5 -3 ล้านบาท และมีจำนวนที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี

ส่งผลต่อเนื่องถึงราคาที่ดินที่สูงขึ้น จากเดิมราคาอยู่ที่ ไร่ละ 3-4 ล้านบาท แต่ ณ วันนี้ขึ้นไปถึงไร่ละ 8-10 ล้านบาท และส่วนใหญ่ อยู่ในมือของเศรษฐีที่ดินท้องถิ่น เมื่อขายต่อจึงมีราคาสูง

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ดินแนวราบใน จ.อุดรธานี มีความยากมากขึ้น เพราะราคาที่ดินปรับตัวสูงมาก โดยที่ดินใจกลางเมืองบางแปลงตั้งราคาขายสูงถึง 1 แสนบาทต่อตารางวา หรือ 40 ล้านบาทต่อไร่ส่วนบริเวณถนนวงแหวนรอยต่อใจกลางเมือง ราคาก็ขยับขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทต่อตารางวาหรือ 3-4 ล้านบาทต่อไร่แล้ว ประธานชมรมอสังริมทรัพย์ จังหวัดอุดรธานี กล่าว

ด้านนายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า อำเภอแม่สอดกำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนจากจีนและญี่ปุ่น เนื่องจากทุกฝ่ายมองถึงศักยภาพของแม่สอดที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญแห่งหนึ่งของ AEC บนระเบียงเศรษฐกิจอีสต์เวตส์อีโคโนมิกคอร์ริดอร์ (EWEC) ประกอบกับรัฐบาลมีแนวคิดผลักดันจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดขึ้น

นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด จ.ตาก กล่าวว่า ขณะนี้ที่ดินในพื้นที่มีราคาพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยราคาไร่ละ 3-7 ล้านบาท บางจุดสูงถึงไร่ละ 10-15 ล้านบาท ตามเส้นทางถนนสายหลักและสายรอง หากเป็นในเขตเมืองสูงอาจสูงถึงงานละ 10 ล้านบาทหรือไร่ละ 40 ล้านบาท และมีแนวโน้มราคาจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องหลังรัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดตั้งเป็นพื้นที่เขตการปกครองท้องถิ่นพิเศษและเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดเพื่อรองรับ AEC นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะทำให้การค้า-การลงทุนชายแดนแม่สอดคึกคัก และนำไปสู่การพัฒนาความเจริญในทุกๆ ด้าน

ขณะที่ตัวแทนชมรมกลุ่มรักษ์เชียงแสน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน จ.เชียงราย ร้องให้สื่อมวลชนเข้าตรวจสอบกรณีมีกลุ่มผู้นำท้องถิ่น รวมตัวกับนักการเมืองส่วนท้องถิ่น เร่งจัดสรรพื้นที่งอกหลายจุด ริมฝั่งแม่น้ำโขงชายแดนไทย-ลาว บริเวณพื้นที่ ต.เวียง ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการ อ.เชียงแสน ไปทางสามเหลี่ยมทองคำ เพื่อรวบรวมนำไปเสนอขายกลุ่มนายทุน ส่งผลราคาซื้อขายที่ดินสูงถึงไร่ละ 2-3 ล้านบาท

http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413364431 (http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413364431)

ปั่นราคากันจนน่ากลัวนะครับ อีกหน่อยคนไทยแท้ ๆ คงต้องไปเช่าที่คนต่างชาติ บนแผ่นดินของเราเอง น่าเป็นห่วงรุ่นลูกรุ่นหลานครับ อาจจะเป็นพลเมืองชั้นสองในประเทศตัวเอง หากปรับตัวไม่ทัน แล้วราคาโอเว่อร์อย่างนี้ คนจบใหม่เพิ่งเริ่มทำงาน จะมีปัญญาซื้อบ้านซักหลังมั้ยเนี่ย


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 12 สิงหาคม 2012, 20:23:25
ต่อไปคงมีแต่สังคม อาเซี่ยน เดี๋ยวนี้ใครๆก็พูดแต่ อาเซี่ยน ไม่เห็นจะมีใครย้อนกลับมามอง ความเป็นวัฒนธรรมรากเง้า ของตัวเองเลย (จะว่าเชย หรือ ล้าหลังก็ไม่อายน่ะ)

ต่อไปลูกหลานเราคงไม่มี โอกาสได้เรียนภาษาไทย หรือ ประวัติศาสตร์ชาติไทยกันแล้ว
เพราะต้องเรียน ภาษาอังกฤษแข่งกะพม่า

ทำไมเราไม่มีแกนหลักยึด ชูด้านวัฒนธรรมความเป็นไทย ที่คนทั่วโลกยอมรับ

สังคมเราคงจะน่าอยู่ขึ้นเยอะ ถ้าเราร่วมมือกัน

แล้วภาษา ตั๋วหนังสือ วัฒนธรรม แลประวัติศาสตร์ล้านนา ลอครับ

ผมหันโตยกับเรื่องส่งเสริมกำฮู้เกี่ยวกับอาเซียนน่อครับ
แต่ก็ต้องเก็บของเฮาไว้โตย คนเฮาฮู้หลายๆภาษา ฮู้อะหยังหลายๆอย่าง ก็ดีลอครับ
ในฐานะ จขกท อยากให้ตระหนักครับ AEC ตอนนี้อาจเป็นเรื่องไกลตัว อนาคตอาจเป็นเรื่องปกติที่น้องๆวัยกำลังเริ่มต้นแสวงหา มองว่ามันไม่พ้นกับตัวเองเลย ;Dครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ⒷⒼ* ที่ วันที่ 12 สิงหาคม 2012, 20:26:11
อ้ายกร จะโก อินเตอร์ แล้ว ขาดคนขับรถบอกเน้อ  ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 22 สิงหาคม 2012, 22:46:20
ชียงรายโหมกระแสอาเซียน ผู้ว่าฯ สั่งสร้างหมู่บ้าน-ตำบล-อำเภอเออีซี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   22 สิงหาคม 2555




เชียงราย - เมืองพ่อขุนฯ เปิดลานหน้าศาลากลางจังหวัดฯ โหมกระแส AEC ปลุกคนเชียงรายเตรียมพร้อมรับประชาคมอาเซียน และอาเซียน+จีน ที่มีผู้บริโภคมากกว่า 2 พันล้านคน ผู้ว่าฯ สั่งทุกหน่วยเดินเครื่องสร้างอำเภอ-ตำบล-หมู่บ้านเออีซีใน 3 ปี

วันนี้ (22 ส.ค.) ที่ลานหน้าศาลากลาง จ.เชียงราย นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เป็นประธานเปิดงานเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ภายใต้ชื่องาน “เชียงรายก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2015” โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ การแต่งกายประจำชาติของชาติต่างๆ การแสดงบนเวทีที่บ่งบอกถึงความเป็นอาเซียนและเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมไทย ก่อนที่นายธานินทร์จะนำหัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ และเอกชนเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ

นายธานินทร์กล่าวว่า อาเซียนมี 3 ขาที่เกิดจากความร่วมมือกันของ 10 ประเทศ คือ ขาแห่งสังคม และความมั่นคง ขาแห่งประชาคมเศรษฐกิจหรือเออีซี และขาแห่งวัฒนธรรมประเพณี ดังนั้น ในโอกาสที่ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 2015 หรืออีกประมาณ 3 ปีข้างหน้า ชาวเชียงรายจะต้องมีความพร้อม

เพราะเชียงรายมีความแตกต่างจากจังหวัดอื่นตรงที่เราคือยุทธศาสตร์ที่เป็นประตูของประเทศไทยสู่เออีซี และยังเป็นประตูจากอาเซียนสู่ประเทศจีนอีกด้วย โดยอาเซียนมีประชากรรวมกันทั้งหมดประมาณ 600 ล้านคน และหากอาเซียนบวกหนึ่ง คือ จีน ก็จะมีประชากรรวมกันกว่า 2,000 ล้านคน โดยมีเชียงรายเป็นจุดเชื่อมสำคัญ

นายธานินทร์กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมโดยใช้เวลาอีก 3 ปี ก็จะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านเออีซีโดยถ้วนหน้ากัน โดยได้จัดให้ทุกหน่วยงาน กรม กอง ฯลฯ ในพื้นที่ได้จัดประชุมเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในส่วนของหน่วยงานตัวเองว่าจะเข้าสู่เออีซีอย่างไร และทั้งหมดจะร่วมกันกำหนดเป็นยุทธศาสตร์จังหวัดในการร่วมกันเข้าสู่เออีซีต่อไป

http://www.manager.co.th/Local/ViewN...=9550000103190


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Golilazz ที่ วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 09:05:12
มาขอความรู้ครับ ขอถามแบบชาวบ้านๆเลยนะครับ  ว่าเฮาจะได้อะหยังจากมันครับ เท่าที่ได้ยินได้ฟังในฐานะคนธรรมดาคนหนึ่งมันกว้างจนมองภาพยังบ่ออกอะครับ ว่าชาวบ้านอย่างเฮาจะได้ประโยชน์หยัง เห็นคนใหญ่คนโตได้กำชับมาว่าเร่งสร้างและพัฒนาเพื่อจะลองรับความเป็นสากล  กำนันบ้านผม ผู้ใหญ่บ้านบ้านผม เค้าก็ยังงงเลยว่า จะต้องพัฒนาอย่างไร เพื่อที่จะรองรับอะไร งงกันอยู่  รบกวนช่วยอธิบายกำเตอะครับ ขอบคุณครับ   


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: poypang ที่ วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 10:07:45
ไม่พร้อม แต่ก็เลือกไม่ได้ ค่ะ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: mn ที่ วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 22:40:38
กลัวพม่า ค่ะ
เพราะขนาดไม่เป็นอาเซียนยังเยอะขนาดนี้
แล้วถ้าเป็นล่ะบ้านเราเป็นทางผ่านด้วย


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Kontae_ki ที่ วันที่ 25 สิงหาคม 2012, 23:00:36


เข้ามารับรู้ เพราะมันเกี่ยวข้องกับเราทุกคนจริงๆ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 26 สิงหาคม 2012, 14:18:22
ทุ่มงบ 21 ลบ.สร้างสถานีเดินรถ บขส.เชียงราย เปิดให้บริการแล้ววันนี้!!


เชียงราย เปิดสถานีเดินรถ บขส. รองรับการเติบโตของการคมนาคมทางบก เชื่อมเส้นทางสาย R3A เชียงราย-ลาว-จีน ใช้งบประมาณก่อสร้าง 21 ล้านบาท
     วันที่ 26 ส.ค.2555 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก, นายสุรชัย ลิ้นทอง รอง ผวจ.เชียงราย, นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กก.ผจญ. บริษัทขนส่ง จำกัด (999) และคณะผู้บริหาร บขส. ร่วมกันทำพิธีเปิดสถานีเดินรถ บขส.เชียงราย ณ ลานสถานีขนส่งเดินรถเชียงราย ถนนพหลโยธินสายเก่า ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย

     นายสมชัย กล่าวว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งนี้จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ และเป็นการรองรับการเจริญเติบโตของการคมนาคมทางบก เชื่อมต่อการเดินทางไปยังทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และเมื่อการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ไปยังเมืองห้วยทราย ของประเทศลาว ที่จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค.2556
     สถานีเดินรถบริษัทขนส่ง จำกัด เชียงราย จะสามารถรองรับการเปิดเดินรถระหว่างประเทศไทย ถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศจีน ตามเส้นทางสาย R3A ได้ จึงถือเป็นการเตรียมพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ของบริษัทขนส่ง จำกัด ในการที่จะพัฒนาบริการคมนาคมขนส่งทางบกด้วยรถโดยสารสาธารณะให้มีความทันสมัยและเจริญก้าวหน้า


     ขณะที่ นายวุฒิชาติ กล่าวว่า สถานีเดินรถ บริษัทขนส่ง จำกัด เชียงราย เกิดขึ้นจากคณะกรรมการบริษัทฯ เห็นชอบให้ก่อสร้างสถานีเดินรถ บขส.เชียงราย ขึ้นบนเนื้อที่ของบริษัทฯ เพื่อใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารที่จะพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางขนส่งผู้โดยสารในประเทศ (HUB) และระหว่างประเทศ รองรับการเปิดเดินรถโดยสารระหว่างประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เส้นทางเชียงราย บ่อแก้ว ที่จะเปิดเดินรถขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ ได้เปิดเดินรถระหว่างประเทศ เส้นทางเชียงใหม่ เชียงราย หลวงพระบาง ไปแล้ว 1 เส้นทาง

     ทั้งนี้ รถโดยสารของบริษัทฯ ที่เข้าใช้พื้นที่ในสถานีรถ บขส.เชียงราย คือ เส้นทางกรุงเทพ เชียงราย ให้บริการวันละ 4 เที่ยววิ่งต่อวัน คือ รถมาตรฐาน 4 (ก) 1 เที่ยว เวลา 19.00 น. รถมาตรฐาน 4 (ข) 2 เที่ยววิ่ง เวลา 07.00 น. เวลา 18.00 น. และรถมาตรฐาน 4 (ค) 1 เที่ยววิ่ง เวลา 16.30 น. โดยรูปแบบอาคารเป็น 3 ชั้น มีพื้นที่ภายในอาคารสำหรับห้องจำหน่ายตั๋ว ที่พักผู้โดยสาร ศูนย์อาหาร ร้านค้าสะดวกซื้อ สุขาสำหรับผู้โดยสาร พื้นที่อำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ อาทิ ทางลาดคนพิการ ห้องสุขาคนพิการ ที่รับฝากพัสดุภัณฑ์ และที่พักพนักงาน โดยงบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 21 ล้านบาท

http://www.siamrath.co.th/web/?


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2012, 21:10:19
รัฐเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรับเออีซี1.1ล้านล้าน

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมหารือเพื่อวางแผนการจัดเส้นทางคมนาคมรองรับประชาคมอาเซียนหรือเออีซี ว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจัดทำแผนเส้นทางคมนาคมเชื่อมประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน โดยเน้นเส้นทางเชื่อมระหว่างประตูการค้าชายแดนหลัก 8 แห่ง ไปยังประตูการค้าหลักของประเทศ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เบื้องต้นคาดว่าจะต้องดำเนินโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้งถนน รถไฟ รวม 75 โครงการ วงเงินประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการปี 2556-2563 คาดแผนจะสรุปแล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.นี้

สำหรับประตูการค้าชายแดน 8 แห่ง ได้แก่ 1.ด่านอรัญประเทศ ติดชายแดนกัมพูชา 2.ด่านมุกดาหาร ติดชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) 3.ด่านแม่สอด ติดชายแดนเมียนมาร์ 4.ด่านสะเดา ติดชายแดนมาเลเซีย 5.ด่านปาดังเบซาร์ ติดชายแดนมาเลเซีย 6.ด่านหนองคาย ติดชายแดนสปป.ลาว 7.ด่านแม่สาย ติดชายแดนเมียนมาร์ และ8.ด่านเชียงของ ติดชายแดนสปป.ลาว

"การจัดเส้นทางคมนาคม เช่น เส้นทางด่านอรัญประเทศเชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าของตลาดอาเซียน โดยมีจุดเด่นที่การคมนาคมสะดวก โดยสามารถใช้ไทยเป็นศูนย์กลางเดินทางเชื่อมต่อไปยังประเทศที่ 2 และ 3 ได้ ขณะที่ประเทศไทยก็จะได้รับประโยชน์จากการเป็นฐานการผลิตและกิจกรรมการค้าต่างๆ" นายจารุพงศ์ กล่าว

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ พ.ศ.2555-2559 ด้วย ซึ่งพบว่ามีหลายโครงการที่อยู่ในขอบเขตของแผนการพัฒนาเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนและพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ดังนั้นจะมีการสรุปแผนงานอีกครั้งว่าโครงการใดจะบรรจุอยู่ในแผนใด โดยโครงการเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการอาจพิจารณาให้ใช้เงินกู้ ส่วนโครงการใดที่อยู่ในแผนราชการปกติ ก็จะใช้งบประมาณแผ่นดิน โดยยืนยันไม่มีปัญหาซ้ำซ้อน

"โครงการรถไฟทางคู่ ถือได้ว่าเป็นโปรเจ็คยาสามัญประจำบ้าน เพราะสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งการรองรับประชาคมอาเซียน และลดต้นทุนโลจิสติกส์ ซึ่งยังมีอีกหลายโครงการที่เข้าข่ายโปรเจ็คยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งโครงการเหล่านี้จะต้องเร่งดำเนินการ และจะต้องพิจารณาว่าจะใช้งบประมาณจากส่วนใด" นายจารุพงศ์ กล่าว

ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า เส้นทางที่กำหนดให้ใช้สำหรับขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดนในประเทศไทยรวม 6 เส้นทาง ระยะทาง 4,477 กม. ได้แก่ 1.เส้นทางหมายเลข 1 แม่สอด (ชายแดนเมียนมาร์)-ตาก-กรุงเทพฯ (แยกบางปะอิน)-หินกอง-นครนายก-อรัญประเทศ-คลองลึก (ชายแดนกัมพูชา) ระยะทาง 702 กม. 2.เส้นทางหมายเลข 2 แม่สาย (ชายแดนเมียนมาร์)-เชียงราย-ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ (แยกบางปะอิน)-นครปฐม-ปากท่อ-ชุมพร-สุราษฎร์ธานี-พัทลุง-หาดใหญ่-อ.สะเดา (ชายแดนมาเลเซีย) ระยะทาง 1,923 กม.

3.เส้นทางหมายเลข 3 เชียงราย-เชียงของ (ชายแดนสปป.ลาว) ระยะทาง 115 กม. เส้นทางหมายเลข 4.เส้นทางหมายเลข 12 แยกหินกอง-สระบุรี-นครราชสีมา-ขอนแก่น-หนองคาย (ชายแดนสปป.ลาว) 5.เส้นทางหลายเลข 16 ตาก-พิษณุโลก-ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-อ.สมเด็จ-มุกดาหาร (ชายแดนสปป,ลาว) และ6.เส้นทางหมายเลข 19 นครราชสีมา-กบินทร์บุรี-แหลมฉบัง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก (ทับช้าง)-บางปะอิน ระยะทาง 491 กม.

http://www.bangkokbiznews.com9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 30 สิงหาคม 2012, 21:04:56
คมนาคมสรุปแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.9 ล้านล้าน
วันพฤหัสบดี ที่ 30 ส.ค. 2555     
กรุงเทพฯ 30 ส.ค.- นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมจัดทำแผนลงทุนของกระทรวงคมนาคมว่า ได้สรุปโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคม เพื่อรองรับการพัฒนาอนาคตของประเทศในระยะยาว ภายในปี 63 รวมทั้งโครงการพัฒนาระบบคมนาคมรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 58 โดยจะใช้เงินลงทุนจาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยพบว่ามีทั้งหมด 55 โครงการ วงเงินประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท โดยภายใน 2 สัปดาห์ แต่ละหน่วยงานจะส่งรายละเอียดโครงการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รวบรวมรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนโครงการบ้าง แต่โครงการหลักๆ จะเหมือนเดิม

สำหรับแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะเป็นการลงทุนสาขาต่างๆ เช่น สาขาการขนส่งทางถนน วงเงิน 479,000 ล้านบาท เช่น ทางหลวงวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3 ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ช่วงชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ช่วงบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ช่วงบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ช่วงนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ และช่วงบางปะอิน-นครสวรรค์

สาขาการขนส่งทางราง วงเงิน 1.28 ล้านล้านบาท เช่น รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระบบรถไฟสายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต รถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน สาขาการขนส่งทางน้ำ วงเงิน 128,000 ล้านบาท เช่น เขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และสาขาการขนส่งทางอากาศ วงเงิน 83,900 ล้านบาท เช่น การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 การก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการทางเดินอากาศ

ส่วนเป้าหมายในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน คือ ในปี 63 ต้นทุนการขนส่งสินค้าเฉลี่ยตันละ 1.8669 บาทต่อ กม. หากไม่ลงทุนคาดว่าต้นทุนการขนส่งสินค้าเฉลี่ยเป็นตันละ 1.9949 บาทต่อ กม. ขณะที่ปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยโดยรวมเพิ่มขึ้น 6% ทำให้ลดค่าใช้จ่ายสูญเสียจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 80,000 ล้านบาท ประหยัดมูลค่าของเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 100,000 ล้านบาท และลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมได้ 3,600 ล้านบาท

นอกจากนั้น ยังทำให้สัดส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางราง เพิ่มขึ้นเป็น 5% จากปี 54 อยู่ที่ 2.5% สัดส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางลำน้ำ เพิ่มขึ้นเป็น 10.5% จากปี 2554 อยู่ที่ 8.5% สัดส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางชายฝั่ง เพิ่มขึ้นเป็น 7.5% จากปี 54 อยู่ที่ 6% ปริมาณผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพิ่มเป็น 64 ล้านคน จากปี 2554 อยู่ที่ 47.4 ล้านคน รวมทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าในภาพรวม เป็น 900 ล้านตันต่อปี จากเดิม 700 ล้านตันต่อปี.-สำนักข่าวไทย


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: x-men ที่ วันที่ 30 สิงหาคม 2012, 22:09:46
พร้อมตั้งนานแล้วล่ะ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: !DeePack! ที่ วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 07:39:53
ดินหน้าสานฝันคลอดม้าเหล็กเชียงราย

การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมจัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ที่จังหวัดพะเยา นายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา จากนั้นกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะจัดให้มีการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ รวมทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และบรรเทาผลกระทบ ตลอดจนเพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นผลการศึกษาของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบในการปรับปรุงการศึกษาของโครงการ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้กำหนดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) โครงการเพื่อศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมฯ ของโครงการ ก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2555 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมพุดตาน โรงแรมพะเยาเกทเวย์ อำเมือง จังหวัดพะเยา จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการศึกษาในทุกขั้นตอน

เชียงใหม่นิวส์
ขอบคุณครับ โก ที่มาแจมกัน ;D ;D ;D
ต่อครับ ;D ;D
-การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมายเนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทลดน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมามากมาย
-เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้สกิลอีกต่อไป เพราะแรงงานจะเคลื่อนย้ายเสรี จะมีชาวพม่า ลาว กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่คนเหล่านี้ก็จะมาแย่งงานคนไทยบางส่วนด้วยเช่นกัน และจะยังมีปัญหาสังคม อาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้รัฐบาลควรร
ะวัง
(เครดิตกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
ถ้าอย่างนี้ก็แสดงว่าจะไม่มีคำว่าแรงงานต่างด้าวแล้วเหรอครับ เข้ามาทำงานแบบเสรีด้วยเปล่าครับ ช่วยตอบที


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 08:10:00
ดินหน้าสานฝันคลอดม้าเหล็กเชียงราย

การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมจัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ที่จังหวัดพะเยา นายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา จากนั้นกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะจัดให้มีการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ รวมทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และบรรเทาผลกระทบ ตลอดจนเพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นผลการศึกษาของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบในการปรับปรุงการศึกษาของโครงการ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้กำหนดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) โครงการเพื่อศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมฯ ของโครงการ ก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2555 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมพุดตาน โรงแรมพะเยาเกทเวย์ อำเมือง จังหวัดพะเยา จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการศึกษาในทุกขั้นตอน

เชียงใหม่นิวส์
ขอบคุณครับ โก ที่มาแจมกัน ;D ;D ;D
ต่อครับ ;D ;D
-การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมายเนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทลดน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมามากมาย
-เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้สกิลอีกต่อไป เพราะแรงงานจะเคลื่อนย้ายเสรี จะมีชาวพม่า ลาว กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่คนเหล่านี้ก็จะมาแย่งงานคนไทยบางส่วนด้วยเช่นกัน และจะยังมีปัญหาสังคม อาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้รัฐบาลควรร
ะวัง
(เครดิตกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
ถ้าอย่างนี้ก็แสดงว่าจะไม่มีคำว่าแรงงานต่างด้าวแล้วเหรอครับ เข้ามาทำงานแบบเสรีด้วยเปล่าครับ ช่วยตอบที

ไม่เสรี ครับ มีอาชีพเสรี 7 อาชีพ ที่เปิดการค้าเสรี อาเซียน  เช่น หมอ พยาบาล วิศวะ สถาปนิก ฯลฯ  เป็นวิชาชีพ...

แรงงานต่างด้าว...ก็ยังคงมี การรวมกลุ่มอาเซียน เป็นการร่วมมือเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม

ส่วนเรื่อง การเมือง เรายังไม่รวมกลุ่มเป็นประเทศ มีกฎหมายธรรมนูญใช้ร่วมกัน..

ประวัติศาสตร์โลก แม้แต่ EU ก็ยังไม่บรรลุ นี้ เพราะทุกประเทศล้วนห่วงอธิปไตยของตนเอง..

คำว่าแรงงานต่างด้าว ในส่วนมุมมองส่วนตนยังคิดว่ามีอยู่...เพราะยังไม่ก้าวล่วงถึงตรงจุดนี้...ประเทศทุกประเทศยังมีอธิปไตยของตนเอง

ตอนนี้ ในสหภาพยุโรปเขา มีการใช้สกุลเงินเดียวกัน..วิซ่ายูโร และการเคลื่อนย้ายทุนเสรี

ส่วนอาเซียน จะเคลื่อน ย้าย ทุน การผลิต และแรงงานเสรี ใน 7 หรือ 8 วิชาชีพในเบื้องต้น...

ตอนนี้ ผมกำลังตามเก็บเวที สัมมนา ต่างๆ ใน กทม. มีจัดบ่อยๆ ไว้จะทยอยมาลงนะครับ..





หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: !DeePack! ที่ วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 08:26:06
ดินหน้าสานฝันคลอดม้าเหล็กเชียงราย

การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมจัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ที่จังหวัดพะเยา นายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา จากนั้นกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะจัดให้มีการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ รวมทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และบรรเทาผลกระทบ ตลอดจนเพื่อหารือและรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นผลการศึกษาของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบในการปรับปรุงการศึกษาของโครงการ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้กำหนดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) โครงการเพื่อศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมฯ ของโครงการ ก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2555 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมพุดตาน โรงแรมพะเยาเกทเวย์ อำเมือง จังหวัดพะเยา จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการศึกษาในทุกขั้นตอน

เชียงใหม่นิวส์
ขอบคุณครับ โก ที่มาแจมกัน ;D ;D ;D
ต่อครับ ;D ;D
-การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมายเนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทลดน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมามากมาย
-เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้สกิลอีกต่อไป เพราะแรงงานจะเคลื่อนย้ายเสรี จะมีชาวพม่า ลาว กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่คนเหล่านี้ก็จะมาแย่งงานคนไทยบางส่วนด้วยเช่นกัน และจะยังมีปัญหาสังคม อาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้รัฐบาลควรร
ะวัง
(เครดิตกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
ถ้าอย่างนี้ก็แสดงว่าจะไม่มีคำว่าแรงงานต่างด้าวแล้วเหรอครับ เข้ามาทำงานแบบเสรีด้วยเปล่าครับ ช่วยตอบที

ไม่เสรี ครับ มีอาชีพเสรี 7 อาชีพ ที่เปิดการค้าเสรี อาเซียน  เช่น หมอ พยาบาล วิศวะ สถาปนิก ฯลฯ  เป็นวิชาชีพ...

แรงงานต่างด้าว...ก็ยังคงมี การรวมกลุ่มอาเซียน เป็นการร่วมมือเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม

ส่วนเรื่อง การเมือง เรายังไม่รวมกลุ่มเป็นประเทศ มีกฎหมายธรรมนูญใช้ร่วมกัน..

ประวัติศาสตร์โลก แม้แต่ EU ก็ยังไม่บรรลุ นี้ เพราะทุกประเทศล้วนห่วงอธิปไตยของตนเอง..

คำว่าแรงงานต่างด้าว ในส่วนมุมมองส่วนตนยังคิดว่ามีอยู่...เพราะยังไม่ก้าวล่วงถึงตรงจุดนี้...ประเทศทุกประเทศยังมีอธิปไตยของตนเอง

ตอนนี้ ในสหภาพยุโรปเขา มีการใช้สกุลเงินเดียวกัน..วิซ่ายูโร และการเคลื่อนย้ายทุนเสรี

ส่วนอาเซียน จะเคลื่อน ย้าย ทุน การผลิต และแรงงานเสรี ใน 7 หรือ 8 วิชาชีพในเบื้องต้น...

ตอนนี้ ผมกำลังตามเก็บเวที สัมมนา ต่างๆ ใน กทม. มีจัดบ่อยๆ ไว้จะทยอยมาลงนะครับ..




ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 19:23:52
กต.เปิดแล้ว สำนักงานเชียงรายรับเมืองหน้าด่านเออีซี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   31 สิงหาคม 2555


เชียงราย - กระทรวงการต่างประเทศ เตรียมเปิดสำนักงานการต่างประเทศที่เชียงรายแล้ว กำหนดเริ่มตัดริบบิ้นให้บริการจันทร์หน้า (3 ก.ย.) รับเมืองหน้าด่านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
       
       รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า กระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดเปิดสำนักงานการต่างประเทศเชียงราย เพื่อให้บริการออกหนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ต เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง ในวันจันทร์ที่ 3 ก.ย. 55 นี้ โดยพิธีเปิดจะมีขึ้นในเวลา 10.45 น. ณ หอประชุมอาคารคชสาร ศูนย์บูรณาการการเรียนรู้และนันทนาการ สนามกีฬากลาง อ.เมือง จ.เชียงราย
       
       นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย เปิดเผยว่าเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน นอกจากนี้ยังเป็นจังหวัดที่มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศจำนวนมาก และมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่สมาคมอาเซียนในปี 2558 ดังนั้น อบจ.ชียงราย ร่วมกับกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จึงได้เปิดสำนักงานการต่างประเทศเชียงราย ณ อาคารนันทนาการดังกล่าว
       
       โดยในวันที่ 3 ก.ย. 55 ทางนายนาวิน บุญเสรฐ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ,นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย, นายประสิทธิพร เวชประสิทธิ์ รองอธิการบดีกรมการกงสุล และตน จะร่วมกันเปิดสำนักงานฯ อย่างเป็นทางการ จากนั้นจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปใช้บริการได้ทันที
       
       อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ยังถือเป็นการใช้อาคารชั่วคราว จากนั้นทางสำนักงานฯ จะย้ายไปประจำเป็นการถาวรเมื่อมีการเปิดใช้สำนักงาน อบจ.เชียงราย บริเวณแยกป่าแดง ต.ริมกก อ.เมือง ต่อไป
       
       รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆ ใน จ.เชียงราย ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น หอการค้า สมาคมท่องเที่ยว สภาอุตสาหกรรม ฯลฯ ต่างเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล จัดตั้งสถานกงสุลหรือสำนักงานของสถานกงสุล ที่เชียงราย เพื่อเชื่อมกับ สปป.ลาว พม่า และโดยเฉพาะจีนตอนใต้ เนื่องจากมีภูมิศาสตร์เชื่อมกับประเทศลุ่มน้ำโขง และสะพานเชื่อมถนนอาร์สามเอไทย-สปป.ลาว-จีนตอนใต้ กำลังแล้วเสร็จในปี 2556 นี้ด้วย


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000107179


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: chate ที่ วันที่ 31 สิงหาคม 2012, 19:45:08
พร้อมตั้งนานแล้วล่ะ
คนไทยใจเย็นๆ ปล่อยประเทศอื่นเขาพร้อมไปก่อน ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 07 กันยายน 2012, 21:44:10
เชียงรายจัดแสดงสินค้าภาคเหนือ-จีเอ็มเอส เตรียมรับ AEC

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   7 กันยายน 2555

เชียงราย - กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนจัดแสดงสินค้าจังหวัดภาคเหนือตอนบนเขต 2 ระบุมีผู้ร่วมแสดงสินค้ากว่า 500 บูท คาดหวังงานนี้จะมีผู้ประกอบการลุ่มน้ำโขงเข้าร่วมเพียบ
       
       นายเฉลิมพล พงษ์ฉบับนภา พาณิชย์จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า เนื่องจากในปี 2558 จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การกำหนดแผนโครงการของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน จึงได้มีโครงการจัดแสดงสินค้าจังหวัดภาคเหนือตอนบน เขต 2 ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ได้แก่ ไทย จีน ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม ขึ้น ซึ่งสำนักงานพาณิชย์จาก 17 จังหวัดภาคเหนือได้ให้ความร่วมมือกัน รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อให้งานมีความยิ่งใหญ่ โดยกำหนดจัด “งานแสดงสินค้าภาคเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 2555” ระหว่างวันที่ 18-23 ก.ย. 55 ตั้งแต่เวลา 11.00-23.00 น. ณ ลานสนามบินทหารอากาศ ฝูงบิน 416 (สนามบินเก่า) อ.เมือง จ.เชียงราย
       
       ภายในงานจะมีการจัดแสดงสินค้ากว่า 500 บูท จาก 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 6 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเข้าร่วมงาน ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 300 บูท กลุ่มของสำนักงานพาณิชย์ 17 จังหวัดภาคเหนือ 200 บูท และเพิ่มเติมกลุ่มของประเทศจากอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอีก 60 บูท และยังมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การแสดงและจำหน่ายสินค้า SME สินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน สินค้าเกษตรปลอดสรพิษ สินค้าสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ เช่น สับปะรด ชา กาแฟ และสินค้าจากประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แยกเป็นโซนแต่ละประเทศ นอกจากนั้นยังมีบูทของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศจังหวัดละ 1 บูทเข้ามาร่วมด้วย
       
       นายเฉลิมพลกล่าวอีกว่า นอกจากการแสดงและการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีกิจกรรมการประชุมสัมมนาทางวิชาการในวันที่ 18 ก.ย.เรื่องกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงด้านลอจิสติกส์ ทิศทางการเชื่อมโยงประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยจะมีการพบปะกันของผู้ประกอบการจากไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และ 17 จังหวัดภาคเหนือ และวันที่ 19 ก.ย.จะเป็นพิธีเปิดงานในช่วงเย็นโดยมีกิจกรรมภาคบันเทิงที่มีเหล่าศิลปินจากค่ายดังมาร่วมแสดง เช่น เวสป้า, วิด ไฮเปอร์, บลูเบอร์รี่, เหินฟ้า หน้าเลื่อม, ณัฐ กิติสาร และเอเซียร์ พร้อมกันนี้ยังมีการกำหนดพิธีการลงนามเพื่อจัดทำสินค้าต้นแบบภายในสิ้นเดือน ก.ย.เพื่อเป็นสินค้านำร่องไปสู่ตลาดอาเซียน และมีการจดทะเบียนสินค้าทรัพย์สินทางปัญญาให้ด้วย
       
       สำหรับลักษณะของพื้นที่การจัดงานแสดงสินค้านั้น จัดทำเป็นพาวิลเลียนติดเครื่องปรับอากาศครอบคลุมทุกพื้นที่ในการจัดงาน แต่ละคูหามีขนาด 3 X 2 เมตร ทางเดินกว้างประมาณ 2 เมตรเศษ เปิดให้เข้างานตั้งแต่เวลา 11.00-23.00 น.ของทั้ง 6 วันจัดงาน และถือว่าเป็นการจัดงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ซึ่งในอนาคตจะมีการจัดงานอย่างต่อเนื่องทุกปี เชื่อว่าผลจากการจัดงานครั้งนี้จะทำให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจและยกระดับ การพัฒนาของสินค้าโอทอปและเอสเอ็มอี และเป็นการเตรียมความพร้อมของสินค้าในภูมิภาคนี้เพื่อก้าวสู่เออีซีต่อไป
       
       ด้าน นายชวลิต สุธรรมวงศ์ ประธานหอการค้า จ.เชียงราย กล่าวว่า งานแสดงสินค้าภาคเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 2555 เป็นการเริ่มต้นการค้าในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งในงานนี้จะมีความหลากหลายในเชิงสินค้าทางวัฒนธรรม นำไปสู่การติดต่อทางการค้าเสรี หลังจากการจัดงานแสดงสินค้าในครั้งนี้ ไทยจะได้มีโอกาสศึกษาสินค้าและการค้าของประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคนี้ว่ามีทิศทางอย่างไรเพื่อการปรับตัวในอนาคต รวมไปถึงเรื่องหัตถกรรม ศิลปวัฒนธรรม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและพัฒนาสินค้าของไทยให้สามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนได้ในอนาคตต่อไป


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000110340


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 07 กันยายน 2012, 21:49:44
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับโก ;D


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: TTM ที่ วันที่ 10 กันยายน 2012, 18:46:04
ข้อมูลดีๆ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: TTM ที่ วันที่ 10 กันยายน 2012, 19:17:47
ข้อมูลดีๆ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 18 กันยายน 2012, 19:23:43
มฟล.เปิดห้องระดมคนถกแผนรับเออีซี-เล็งทำเมกะโปรเจกต์ยื่น “ปู” ปลายปี

เชียงราย - มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เปิดห้องระดมตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถกแผนพัฒนาเมืองพ่อขุน ฯรับ เออีซี ในปี 58 ย้อนประสบการณ์ในอดีต ก่อนผุดเมกะโปรเจกต์ รอเสนอ “ปู” เดือนพฤศจิกาฯ 55
       
       รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางในการนำ จ.เชียงราย เข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่ห้องประชุมเชียงแสน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยมีนายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย หัวหน้าส่วนราชการบางหน่วย ภาคเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชนเข้าร่วม โดยมีการให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียนก่อนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ในปี 2558
       
       ดร.ดร.วันชัยแจ้งต่อที่ประชุมว่า เนื่องจากเชียงรายเป็นประตูสู่อาเซียน และเชื่อมกับมณฑลหยุนหนัน ประเทศจีน ได้จึงควรมีโครงการใหญ่เพื่อรองรับความเจริญโดยเฉพาะ ซึ่งจะนำเสนอต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีกำหนดจะเดินทางไปเยือน จ.เชียงราย ราวเดือน พ.ย. 55 ด้วย
       
       รศ.ดร.วันชัยกล่าวว่า เพียงแต่น่าเสียดายที่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเสียโอกาสในการเตรียมตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนช้าไป เพราะมีปัญหาความวุ่นวายในบ้านเมือง แต่ปัจจุบันจะต้องเดินหน้าทำต่อไปให้ได้
       
       สำหรับกรณี จ.เชียงราย ถือเป็นเมืองยุทธศาสตร์ชายแดนที่สำคัญทั้งถนนอาร์สามเอไทย-สปป.ลาว-จีน ส่วนอาร์สามบี ในพม่าผ่าน อ.แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก-พม่า-จีน ก็พบว่ามีอนาคต เพราะรัฐบาลพม่า ตกลงกับกองกำลังไทใหญ่ได้กว่า 80% แล้ว ส่วนด้านแม่สอด จ.ตาก กับเมืองเมียวดีของพม่าก็ตกลงกันได้เต็มร้อยแล้ว โดยเปิดให้ทหารกะเหรี่ยงเป็นกองกำลังดูแลชายแดนแทนทหารพม่า เป็นต้น
       
       สำหรับโครงการที่จะนำเสนอต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระหว่างเดินทางมาที่เชียงรายนั้น ควรเป็นมุมมองใหม่ โดยอาศัยประสบการณ์ในอดีต ซึ่งหลายโครงการไม่น่าจะเป็นไปได้ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ ฯลฯ ซึ่งพูดคุยกันมานานนับสิบๆ ปี รวมทั้งต้องศึกษาจากพื้นที่อื่นๆ เช่น ในอดีตมีการคาดการณ์กันว่าที่เชิงสะพาน จ.หนองคาย เชื่อมกับนครเวียงจันทน์ สปป.ลาว จะเจริญรุ่งเรือง เพราะช่วงนั้นจะมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-สปป.ลาว จึงมีการเข้าไปกว๊านซื้อที่ดินกันมาก แต่ท้ายที่สุดความเจริญกลับไปอยู่ที่ จ.อุดรธานี เพราะเส้นทางคมนาคมเข้ามาสะดวก และเหมาะสม ทำให้ต้องนำเรื่อง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งมีการก่อสร้างสะพานเชื่อมไทย-สปป.ลาว เช่นเดียวกันด้วยมาพิจารณาใหม่
       
       นอกจากนี้ ที่ผ่านมาการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวใน จ.เชียงรายแทบไม่มีเลย โดยสังเกตได้จากช่วงหลายปีที่ผ่านมีสถานที่ท่องเที่ยวเกิดขึ้นใหม่ๆ น้อยมาก จะมีก็เพียงวัดร่องขุ่น บ้านดำ ที่เกิดจากศิลปินชาวเชียงราย แตกต่างจากในเขตสิบสองปันนา จีนตอนใต้ ที่มีการสร้างสถานที่ท่องเที่ยวใหม่มากมายกว่า 70% ฯลฯ
       
       รศ.ดร.วันชัยยังนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจหลายเรื่องเพื่อสรุปประเด็นว่า จ.เชียงรายอยากจะเป็นอะไรในอาเซียน โดยยกตัวอย่าง เช่น ศูนย์กลางการขนส่งสินค้า ศูนย์กลางยาและสุขภาพ เมืองแห่งการศึกษา เป้าหมายการท่องเที่ยวของคนทั่วโลก เป็นต้น
       
       จากนั้นได้เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายแสดงความเห็น ซึ่งนายวันชัย จงสุทธนามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย อ.เมือง ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ที่สะดวก เช่น รถไฟสู่เชียงราย โดยมีสถานีแห่งหนึ่งอยู่ที่ อ.เวียงชัย ใกล้กับท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ต.บ้านดู่ อ.เมือง สามารถเชื่อมไปชายแดน
       
       ขณะเดียวกัน เสนอว่าอาจจะต้องให้รัฐจัดหาที่ดินราว 5,000-10,000 ไร่ แล้วโอนเป็นของรัฐ เพื่อเข้าไปพัฒนาเป็นเมืองใหม่ที่มีผังเมืองและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ พัฒนาการศึกษาของลูกหลานเพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ของพื้นที่ในอนาคต เป็นต้น
       
       นายพินิจ หาญพาณิชย์ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย กล่าวว่า เชียงรายควรเปิดด่านชายแดนที่เดิมเปิดตั้งแต่เวลาประมาณ 06.30-18.00 น.ให้ขยายออกไปอีกจนถึงกลางคืน เพื่อขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ การขนส่งสินค้า ลดต้นทุน ดึงดูดการลงทุน ฯลฯ ส่วนการเคลื่อนย้ายแรงงานไม่น่าเป็นห่วง เพราะมีการเปิดเสรีอาชีพในเออีซีแค่ 7 สาขาอาชีพอยู่ เช่น วิศวกร แพทย์ นักบัญชี ฯลฯ ซึ่งแต่ละอย่างล้วนมีขั้นตอนที่ทำให้การโยกย้ายไปทำงานในต่างประเทศทำได้ไม่ง่ายเกินไป

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000114741


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 18 กันยายน 2012, 19:28:34
นักวิชาการจีนสอนบทเรียนบูมเชียงราย รับ “ประตูจีน-อาเซียน” ก่อนเป็นแค่ทางผ่าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   18 กันยายน 2555 18:39 น.

เชียงราย - กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ระดมกูรูขึ้นเวทีกระตุ้นการเตรียมพร้อมรับประตูเชื่อมอาเซียน-จีน พบมูลค่าการค้าเพิ่มทุกด่านฯ เฉพาะเชียงราย ยอดการค้าขยายตัว 6 เท่าในรอบ 10 ปี เชื่อหลังสะพานข้ามโขง 4-ทางรถไฟเชื่อมถึงมิติการพัฒนาใหม่เกิดแน่ ขณะที่นักวิชาการจีนเตือนบทเรียนความร่วมมือตั้งนิคมฯ เชียงราย ล้มเหลว 9 ปีก่อน อาจหลอนซ้ำทำ “เชียงราย” เป็นได้แค่ระเบียงเศรษฐกิจคุนหมิง-กรุงเทพฯ
       
       วันนี้ (18 ก.ย.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน ร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น หอการค้าจังหวัดเชียงราย สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจและความร่วมมือการค้าอาเซียน-จีน ฯลฯ ได้จัดการสัมมนาเชิงธุรกิจและการเจรจาจับคู่ธุรกิจ 2555 (Chiangrai Northern Business Forum and Business Matching 2012) ณ โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ รีสอร์ท เชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย
       
       โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งไทย จีน และ สปป.ลาว เข้าร่วมอย่างคึกคัก เช่น นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.กระทรวงการคลัง, นายกร ทัพพะรังสี อดีตนายกรัฐมนตรีและเป็นนายกสมาคมมิตรไทย-จีน, ดร.หลู่ จินซิน ผู้อำนวยการลอจิสติกส์กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ของประเทศจีน ฯลฯ
       
       นายเฉลิมพล พงศ์ฉบับนภา พาณิชย์ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นแม่งาน กล่าวว่า มูลค่าการค้าชายแดน และการค้าผ่านแดนช่องทางภาคเหนือตอนบน 2 มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งการค้าชายแดนไทย-พม่า ไทย-สปป.ลาว ไทย-จีน (ตอนใต้) ในเขตภาคเหนือตอนบน (เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ และน่าน) ในปี 2554 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 31,655.20 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 46.30% เป็นการค้าชายแดนระหว่างไทย-พม่า 12,467.54 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 22.36% การค้าชายแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว 12,536.27 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 115.44% และการค้าผ่านแดนระหว่างไทย-จีนตอนใต้ 6,651.29 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า 18.17%
       
       ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า การเพิ่มมูลค่าสินค้า การต่อยอดการค้า โดยอาศัยประโยชน์จากภูมิศาสตร์ที่มีเชียงรายเป็น Gate Way เป็นประตูหน้าด่านที่สำคัญ
       
       นายกรกล่าวว่า เชียงรายถือเป็นฐานของประเทศที่จะทำให้เราก้าวขึ้นเป็นเป็นจุดศูนย์กลางของจีเอ็มเอส จึงอยากให้ชาวเชียงรายร่วมมือกันเตรียมความพร้อม ในการรับมือปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาขึ้นหลังจากที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เชียงของ และทางรถไฟที่จะมาถึงเชียงราย ในอนาคตสร้างเสร็จ เพราะเมื่อนั้นจะเกิดมิติใหม่ของการพัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค
       
      เมื่อมีการคมนาคมที่สมบูรณ์ทั้งทางบก ทางเรือ และรถไฟ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบก็จะทำให้ชาวเชียงรายได้รับประโยชน์โดยเฉพาะเกิดเงินหมุนเวียนในพื้นที่อย่างมหาศาล แต่ก็ขอให้ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวเหนือไว้ด้วย
       
       ด้าน นายหลู่กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 55 ที่ผ่านมา ตนได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยู จำนวน 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นบันทึกความเข้าใจกันลืมว่าด้วยความร่วมมือในโครงการ Kunming Tengjun International Land port และฉบับที่ 2 เป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการศูนย์ลอจิสติกส์เชียงของ แห่งประเทศไทย ซึ่งฝ่ายที่ลงนามได้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับเครือบริษัทการลงทุนเกิงจุ้น หยุนหนัน และบริษัทการลงทุนเจี๋ยเฟิงหยุนหนัน และยังมีนายหลี่ เผย เท่อ กรรมการถาวรประจำคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ มณฑลหยุนหนัน เข้าร่วมพิธีลงนาม ในพิธีที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการปฏิรูป และการพัฒนาแห่งมณฑลหยุนหนาน จีนตอนใต้
       
       นายหลู่กล่าวว่า หลายฝ่ายคาดหวังว่าโครงการจะดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วและเกิดผล ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจะพัฒนาให้ทั้งคุนหมิงและเชียงรายเป็นเมืองท่าที่เชื่อมกันหรือ International Land port เป็นท่าระดับโลก เพราะเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ในภูมิภาค เชื่อมเศรษฐกิจคุนหมิง-กรุงเทพฯ จึงถือเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นประตูสู่อาเชียน-จีน อย่างแท้จริง โดยถือเป็น 1 ใน 5 โครงการโลจิสติกส์ใหญ่ที่เป็นจุดเชื่อมบนเส้นทางรถไฟสายเอเชีย และตั้งอยู่บนเส้นทางถนนหลักระหว่างประเทศด้วย ขณะนี้โครงการในส่วนของประเทศจีนได้สร้างเสร็จระยะที่หนึ่งแล้ว โดยมีพื้นที่ 1,528 ไร่ มูลค่าการลงทุน 9,060 ล้านหยวน คาดว่าทั้งโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2015
       
       นอกจากนี้ ตนยังได้เข้าร่วมโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของนิคมอุตสาหกรรมนิวไฮเทคโนโลยี คุนหมิง ในการจะขยายมาสร้างนิคมเศรษฐกิจภาคเหนือของไทยเมื่อหลายปีก่อน แต่ประสบความล้มเหลว แต่ในปี 2007 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมเชียงรายอีก โดยจ้างบริษัทที่ปรึกษาปัญญา จำกัด ศูนย์วิจัยลอจิสติกส์จีเอ็มเอส ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคม ที่ได้รับผิดชอบงานวิจัยในส่วนที่เป็นลอจิสติกส์ ดังนั้นจึงยังมีความหวังที่จะเกิดขึ้นได้อยู่
       
       นายหลู่กล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ค .2009 ประธานาธิบดี หู จิ่น เทา ได้เสนอยุทธศาสตร์พัฒนามณฑล เป็นด่านหน้าสู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ปีเดียวกันรัฐบาลหยุนหนัน ได้ตั้งคณะทำงานศึกษายุทธศาสตร์ด่านหน้า โดยมีนายฉิน กวาง หรง ผู้ว่าราชการมณฑล เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งตนเป็นหนึ่งในกรรมการนั้นด้วย และในปี 2011 สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำประกาศให้หยุนหนันเป็นด่านหน้าสู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้
       
      นายหลู่ยังได้นำเสนอผลงานศึกษาวิจัยของจีนว่า สำหรับ จ.เชียงราย มีประชากร 1.2 ล้าน ชนกลุ่มน้อยคิดเป็นร้อยละ 12.5 เป็นแหล่งผลิตข้าว ใบชา ผลไม้ และไม้ เป็นเมืองประตูสู่การค้าชายแดน มีเส้นทางเชื่อมโยงไปยังเมืองต่างๆ สะดวก ดังนั้นตนคิดว่า เชียงราย สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีความเข้มแข็ง อนุรักษ์ความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยว พัฒนาบริการ แปรรูปสินค้าและการเกษตรเพื่อการส่งออก การค้าชายแดน ฯลฯ รวมทั้งควรพัฒนากิจการประชุม การแสดงสินค้า การศึกษา การกุศล ฯลฯ โดยมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่สนับสนุนได้
       
       มีตัวอย่างกรณีเมื่อวันที่ 8-14 ส.ค. 2012 นายวิจิต หยาง นายกสมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าอาเซียน-จีน ได้จัดแสดงสินค้า 6 ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีพื้นที่แสดงสินค้า 18,000 ตารางเมตร มีบูท 900 กว่าบูท สินค้ามาจากโครงการหลวง สินค้าหัตถกรรม เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งพบว่าเป็นนิยมของชาวจีนจนต้องแย่งกันซื้อ ภายในงานยังมีการแสดงศิลปมวยไทยได้ดึงดูดคนหนุ่มสาวชาวจีนมาก ทำให้ตลาดบริโภคสินค้าไทยเกิดความคึกคักมากขึ้นด้วย
       
       “ภาพแบบนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นที่เชียงราย ดังนั้น จ.เชียงรายสามารถสอบถามไปยังนายวิจิต เพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่ตามที่ผมเสนอได้ นอกจากนี้ตนเสนอให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรางการคลัง ของไทยสนับสนุน จัดงานสัมมนา จัดงานแสดงสินค้า และเชิญผู้นำระดับสูงของธนาคาพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี ผู้นำรับดับสูงของประเทศ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงมาร่วมหารือ เพื่อวางแผนในการพัฒนา สร้างเวทีให้คนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และมีการประกาศเกียรติคุณ ยกย่องบุคคลที่มีคุณงามความดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเชียงราย เป็นต้น” นายหลู่กล่าว
       
       เขายังระบุในตอนท้ายว่า ปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนอนุมัติให้มี 19 นิคมอุตสาหกรรมในต่างประเทศ แต่เหตุการณ์เมื่อ 9 ปีก่อนที่ จ.เชียงราย ทำให้บริษัทหยุนหนัน ยังไม่ลืมบทเรียน จึงเป็นสิ่งที่เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรไม่ให้โครงการล้มเหลวอีก ไม่เช่นนั้นตนทำนายได้เลยว่า จ.เชียงราย จะเป็นได้แค่ระเบียงเศรษฐกิจคุนหมิง-กรุงเทพฯ โดยไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนเลย
       
       ด้าน นายสุพจน์ กลิ่นปราณีต กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานคณะอนุกรรมการความร่วมมือเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (พม่า) กล่าวว่า จ.เชียงราย มีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง เพราะเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญตามแนวเขตเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ มีด่านถาวร 4 ด่าน ใน 3 อำเภอ และจุดผ่อนปรน 10 แห่ง การค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็น 6 เท่า ในรอบ 10 ปี เหมาะสำหรับเป็นเมืองหน้าด่านประตูเศรษฐกิจของประเทศไทยกับหลากหลายกลุ่ม

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000115074 (http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000115074)


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: samurai_ฅนเมือง ที่ วันที่ 18 กันยายน 2012, 20:04:12
ตอนนี้เรียนภาษาพม่า ล่ะคับที่รอคือ รอประตูอาเซียนเปิดอย่างเดียว
ไม่รู้จะสำคัญหรือได้ประโยชน์อาไรป่าวที่เรียนภาษานี้ ;D
ไม่เป็นไรคับ ถ้าไม่ได้ใช้ประโยน์ อย่างน้อยไปเที่ยวบ้านเขาคุยกันรู้เรื่องก็พอละคับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: joejoral ที่ วันที่ 18 กันยายน 2012, 21:25:33
ยังบะพร้อมเตื่อเลยคับ บ้านเฮาตี่จะต้องเจอคือบ้านเฮาเป็นเมืองหน้าด่านและเศรษฐกิจเจียงฮายจะโตก้าวกระโดดรถลาขนส่งสินค้าจะวิ่งกั๋นเต็นเจียงฮาย สังคมวัฒธรรมจากฝั่ง พม่า ลาว ก็เริ่มเกิดขึ้นแรงงานจากประเทศชมาชิค ก่มาอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ผมอยากหื้อเจียงฮายเป็นเจียงฮายจะอี้ต่อไปก่อนคับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 18 กันยายน 2012, 22:36:38
ยังบะพร้อมเตื่อเลยคับ บ้านเฮาตี่จะต้องเจอคือบ้านเฮาเป็นเมืองหน้าด่านและเศรษฐกิจเจียงฮายจะโตก้าวกระโดดรถลาขนส่งสินค้าจะวิ่งกั๋นเต็นเจียงฮาย สังคมวัฒธรรมจากฝั่ง พม่า ลาว ก็เริ่มเกิดขึ้นแรงงานจากประเทศชมาชิค ก่มาอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ผมอยากหื้อเจียงฮายเป็นเจียงฮายจะอี้ต่อไปก่อนคับ
;D ;D
บ่าตันละครับ 1 มกราคม2558ใกล้เข้ามาทุกวันครับ


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: benzto ที่ วันที่ 21 กันยายน 2012, 11:01:48
ผมว่าหลายชาติก็คงยังไม่พร้อม....เห็นข่าวในทีวีมีสิทธิ์เลือนออกไป  ผมว่าเราลืมมองเรื่องความมั่นคงไปนะ  ไม่ได้ขว้างความเจริญใครนะครับ แต่ว่าคิดเรื่องความมั่นคงบ้างก็ดีนะครับ  "ความเจริญมาพร้อมกับความเสื่อมนะครับอย่าลืมข้อนี้ละ"


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: หนุ่มวัยทอง ที่ วันที่ 21 กันยายน 2012, 11:40:30
ที่แขวงบ่อแก้ว เด็ก ๆ พูดภาษาอังกฤษ จีน ไทย ลาว ฝรั่งเศส

ที่เชียงราย หลายโรงเรียน เด็กๆ พูดภาษาอาข่า  กะเหรี่ยง  ลาหู่  ลีซอ  ม้ง  เย้า  โอ๊ยเยอะแยะ  โรงเรียนในเมืองเชียงรายยังมีเลย  พร้อมครับ AEC


หัวข้อ: Re: คนเจียงฮายเฮาพร้อมก่อคับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน(AEC) 2558 มาแจมกันครับ
เริ่มหัวข้อโดย: put_put ที่ วันที่ 21 กันยายน 2012, 11:59:56
ขออำภัยตกข่าวไปหน่อยไม่เข้าใจว่ามีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมั๊ยครับ วันวันขายแต่ขนมปังจะเกี่ยวกับเค้ามั๊ยเนี่ย