เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย

ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย => การศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: boondham ที่ วันที่ 10 เมษายน 2012, 17:26:35



หัวข้อ: รวมข่าวเกี่ยวกับ ด้านสาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 10 เมษายน 2012, 17:26:35
 มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   10 เมษายน 2555

เชียงราย - มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จับมือ 7 รพ.ชุมชนเชียงรายเปิดห้องสินแพทย์แนวใหม่ ป้อนบุคลากรทางการแพทย์กลับชุมชนแก้ปัญหาขาดแคลนหมอ ปีแรก (ปีการศึกษา 2556) รับ 32 คน คาดอีก 10 ปีผลิตแพทย์ส่งเข้าชุมชนได้ 240 คน
(http://pics.manager.co.th/Images/555000004742501.JPEG)


      
       วันนี้ (10 เม.ย.) ที่ห้องเชียงแสน อาคารอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย นายสัตวแพทย์ ดร.เทอด เทศประทีป ที่ปรึกษาอธิการบดี ในฐานะตัวแทน รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี มฟล.ได้เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือในการผลิตแพทย์ระหว่างสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มฟล.กับโรงพยาบาลชุมชนของ จ.เชียงราย
      
       โดยมีนายแพทย์ชำนาญ หาญสุทธิเวชกุล, นายแพทย์สาธารณสุข จ.เชียงราย และผู้อำนวยการโรงพยาบาล 7 แห่ง คือ โรงพยาบาลแม่สาย, โรงพยาบาลแม่จัน, โรงพยาบาลแม่สรวย,
       โรงพยาบาลเชียงแสน, โรงพยาบาลพาน, โรงพยาบาลพญาเม็งราย, โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัด และสื่อมวลชนเข้าร่วม
      
       นายสัตวแพทย์ ดร.เทอดกล่าวว่า มฟล.ได้ผลักดันให้มีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานพระราชปณิธานในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ด้อยโอกาสที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล
      
       มฟล.มีความพร้อมและศักยภาพในการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว มีสำนักวิชาที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีอยู่เดิม คือ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มีอาคารและครุภัณฑ์ประกอบอาคารปรีคลินิก ที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเตรียมแพทย์และชั้นปรีคลินิกได้ โดยมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่เน้นการแพทย์ทางเลือก และโครงการจัดตั้งโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์รองรับอยู่แล้ว ดังนั้น จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงกับโรงพยาบาลต่างๆ ในครั้งนี้



       นายสัตวแพทย์ ดร.เทอดกล่าวอีกว่า การจัดตั้งสำนักแพทยศาสตร์เพื่อผลิตแพทย์และมุ่งเน้นผลการรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยอาศัยชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ ควบรวมการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชนทั้งชาวเชียงรายและภาคเหนือ เพื่อให้ได้แพทย์แนวคิดใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนที่มีจิตใจรักชุมชน สามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเกิดของตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป
      
       นายแพทย์ชำนาญกล่าวเสริมว่า ไทยมีปัญหาขาดแคลนแพทย์ในชนบทมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายแพทย์สู่ชนบทยังเป็นปัญหาสำคัญมาโดยตลอด แม้จะมีความพยายามแก้ไขด้วยมาตรการต่างๆ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ แพทย์ที่จบใหม่ยังคงต้องการมาศึกษาต่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลแพทย์ในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ และไม่ต้องการกลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบทอยู่ดี
      
       ดังนั้น การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แนวใหม่ที่มุ่งผลิตแพทย์ที่มีแนวคิดใหม่ตรงความต้องการของชุมชน มีจิตใจรักผูกพัน และต้องการปฏิบัติงานอยู่ในชุมชน จึงเป็นทางออกสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้
      
       ด้าน พล.ท.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นพดล วรอุไร คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มฟล.กล่าวว่า การดำเนินงานของสำนักฯ มุ่งจัดการศึกษาเพื่อผลิตแพทย์ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นสำคัญ เน้นการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวแบบองค์รวม ผสมผสานเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ากับพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ควบรวมกับการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย โดยอาศัยชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ผ่านการสร้างเครือข่ายกับโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ
      
       มฟล.จะรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2556 จำนวน 32 คน จากนั้นคาดว่าในอีก 10 ปีจะมีบัณฑิตแพทย์ตามโครงการดังกล่าวสำเร็จการศึกษาจำนวน 240 คน
      
       ทั้งนี้ มฟล.มีการจัดทำโครงการผลิตแพทย์และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี 2556-2560 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แล้ว โดยอยู่ระหว่างการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ กระนั้น ทาง มฟล.ก็ได้มีการจัดทำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว โดยได้ผ่านความเห็นชอบจากสภา มฟล. สกอ.และแพทยสภาแล้ว รวมทั้งยังได้มีโรงพยาบาลสุโขทัย และโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จ.สุโขทัย เป็นโรงพยาบาลสมทบอีกด้วย

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000045035


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: FanClub ที่ วันที่ 10 เมษายน 2012, 18:18:52
ก้่าวหน้า จริง ๆ .. 

ม.ราชภัฏ ดั๊กหวิด ดั๊กวอย


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: AIT ที่ วันที่ 10 เมษายน 2012, 20:17:40
เสียตรงที่ค่าเทอมน่าจะดุเดือดขนาดหนักเนียะซิครับ


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: Omize ที่ วันที่ 10 เมษายน 2012, 22:04:20
ในที่สุดก็สำเร็จจนได้^^ ตอนนี้"อาคารพรีคลีนิค"สำหรับนักศึกษาแพทย์สร้างเสร็จแล้วครับ (ลิฟท์เป็นแบบลิฟท์กระจกด้วย อิอิ) ส่วนที่กำลังสร้างอีกก็คือ "อาคารศูนย์ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ" สำหรับที่ฝึกปฏิบัติสำหรับนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งหมด (สาธารณสุข แพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด แพทยศาสตร์) 



หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: Omize ที่ วันที่ 10 เมษายน 2012, 22:06:52
เสียตรงที่ค่าเทอมน่าจะดุเดือดขนาดหนักเนียะซิครับ

B1 คิดเหมือนB2 เลย อิอิ ขนาดสาขาวิชาอื่นนี่แบบ...เอิ่มมม.......แพงจัง^^ สำหรับแพทย์เรามาลุ้นอีกทีว่าจะทุบสถิตสาขาวิชาพยาบาลรึปล่าวที่ตอนนี้ 30,000 บาทต่อเทอม 0_0""


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: @เชียงแสน ที่ วันที่ 10 เมษายน 2012, 22:48:01
เรียนจบมา ขอ ให้เยาวชนรุ่นใหม่ นำพาประเทศชาติให้เจริญยิ่งขึ้นไปนะครับ

แต่เห็นบางที่ บางคน ไม่ไหวเลยครับ อย่างกับส่งลูกไปหาแฟนอ่ะ  ;D


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: Temujin ที่ วันที่ 11 เมษายน 2012, 11:13:33
  ดีครับโครงการนี้ อยากให้จบออกมาแล้วก็อยู่ที่ชุมชน  ส่วนทุนการศึกษาผมว่าน่าจะประสานไปยัง อปท.พื้นที่ จบออกมาก็ทำงานใช้ทุนคืนน่าจะดี

ผมว่าคงไปได้ ดีกว่าแพทย์ขาด คนต่างพื้นที่มาไม่กี่ปีก็ย้าย หรือไปเรียนเฉพาะทางจบออกมาก็เข้าเอกชน หรือไม่ พ่อ-แม่ไม่ให้มาอยู่ในพื้นที่ ฯลฯ

ค่าเทอมแพงนั้น ผมว่าหลักสูตรนักบินพาณิชย์ชั้นตรี ที่ มหาวิศมาลัยนครพนมนี่แพงสุดอันดับต้นๆ ของประเทศแล้ว...Mayday Mayday Mayday (วันแรงงาน ๆ ๆ)  :D ;D

http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20081217194741AAtm3Ac


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: mewlordose ที่ วันที่ 11 เมษายน 2012, 22:41:39
พี่สาวผม เรียนมช.  ปี4เค้าให้กลับมาเรียนต่อที่เชียงรายกับโรงบาลไทย

มันนับเป็นวิธีหนึ่งสำหรับกระจายแพทย์สู่ชนบทไหมนะ


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: princessph ที่ วันที่ 11 เมษายน 2012, 23:51:48
พี่สาวผม เรียนมช.  ปี4เค้าให้กลับมาเรียนต่อที่เชียงรายกับโรงบาลไทย

มันนับเป็นวิธีหนึ่งสำหรับกระจายแพทย์สู่ชนบทไหมนะ

ใช่ค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้บุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลนมากถึงมากที่สุด
ดังนั้นมหาวิทยาลัยที่พอจะมีศักยภาพในการผลิตจึงมุ่งเน้นการกระจายแพทย์สู่ชนบท
ถ้าจำไม่ผิดที่ มช. มีโครงการแพทย์ชนบทที่จะรองรับแนวความคิดนี้ค่ะ

ปล. ดีใจที่มหาวิทยาลัยทำสำเร็จสักทีนะคะ รอมานานที่จะเหล่ นศ.แพทย์ ดันมาเปิดตอนเราจบแล้วซะงั้น
    ฝากน้อง มฟล. รักและดูแลมหาวิทยาลัยให้มากๆ นะคะ ที่นี่สอนให้เรามีคุณภาพไม่แพ้ใครเลยจริงๆ พี่กล้าพูดว่าคำว่ามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นที่ต้องการจริงๆ แค่เราตั้งใจที่จะทำ ก็จะไม่มีใครมาดูถูกเราได้ อย่าเสียให้ชื่อ "ลูกแม่ฟ้า" พี่รักที่นี่มากจริงๆ


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: Omize ที่ วันที่ 12 เมษายน 2012, 13:36:18
พี่สาวผม เรียนมช.  ปี4เค้าให้กลับมาเรียนต่อที่เชียงรายกับโรงบาลไทย

มันนับเป็นวิธีหนึ่งสำหรับกระจายแพทย์สู่ชนบทไหมนะ

ใช่ค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้บุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลนมากถึงมากที่สุด
ดังนั้นมหาวิทยาลัยที่พอจะมีศักยภาพในการผลิตจึงมุ่งเน้นการกระจายแพทย์สู่ชนบท
ถ้าจำไม่ผิดที่ มช. มีโครงการแพทย์ชนบทที่จะรองรับแนวความคิดนี้ค่ะ

ปล. ดีใจที่มหาวิทยาลัยทำสำเร็จสักทีนะคะ รอมานานที่จะเหล่ นศ.แพทย์ ดันมาเปิดตอนเราจบแล้วซะงั้น
    ฝากน้อง มฟล. รักและดูแลมหาวิทยาลัยให้มากๆ นะคะ ที่นี่สอนให้เรามีคุณภาพไม่แพ้ใครเลยจริงๆ พี่กล้าพูดว่าคำว่ามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นที่ต้องการจริงๆ แค่เราตั้งใจที่จะทำ ก็จะไม่มีใครมาดูถูกเราได้ อย่าเสียให้ชื่อ "ลูกแม่ฟ้า" พี่รักที่นี่มากจริงๆ


พี่จบไปแล้วเดี๋ยวผมจะเหล่ นศ.แพทย์แทนให้ก็ได้ครับ หุหุ ผมพึ่งขึ้นปีสองหวังว่าคงจะได้ใช้อาคารเรียนพรีคลินิคเดียวกับ นศ แพทย์ คึคึ^^ ;D ;D

ปล.ลูกแม่ฟ้า MFU Freshman 13#


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 17 เมษายน 2012, 11:09:56
วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7810 ข่าวสดรายวัน


มฟล.พร้อมรับรุ่นแรกแพทยศาสตร์ปี"56 ร่วม7โรงพยาบาลชุมชนเชียงรายสร้างหมอให้สังคม



รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เปิดเผยว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ได้จัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสำนักวิชา โดยได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา และแต่งตั้งคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์อย่างเป็นทางการแล้ว คือ พล.ท.ศ.เกียรติคุณ น.พ. นพดล วรอุไร พร้อมทั้งได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเห็นชอบในหลักการให้โรงพยาบาลสุโขทัย และโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จำนวน 2 แห่ง เป็นโรงพยาบาลสมทบ และโรงพยา บาลแม่จัน โรงพยาบาลพญาเม็งราย โรงพยาบาลพาน โรงพยาบาลแม่สรวย โรงพยาบาลเชียงแสน โรงพยาบาลแม่สาย โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จำนวน 7 แห่ง ของจังหวัดเชียงรายเป็นโรงพยาบาลชุมชน มหาวิทยาลัย โดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์เตรียมรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2556 จำนวน 32 คน และคาดว่าภายใน 10 ปี จะสามารถผลิตแพทย์เพื่อรับใช้สังคมได้จำนวน 240 คน



อธิการบดีมฟล. กล่าวว่า การจัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์เกิดจากความตั้งใจในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเพื่อเป็นแหล่งสืบสานพระราชปณิธานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้อยโอกาสที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมหาวิทยาลัยมีความพร้อมและศักยภาพในการรองรับการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โดยมีสำนักวิชาที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีอยู่เดิม คือสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มีอาคารและครุภัณฑ์ประกอบอาคารปรีคลินิกที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเตรียมแพทย์และชั้นปรีคลินิก มีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่เน้นการแพทย์ทางเลือก ตลอดจนมีโครงการที่จะจัดตั้งโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนชั้นคลินิก



ด้าน น.พ.ชำนาญ หาญสุทธิเวชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แนวใหม่ที่มุ่งผลิตแพทย์ที่มีแนวคิดตรงความต้องการของชุมชน มีจิตใจรักผูกพันและต้องการปฏิบัติงานอยู่ในชุมชนกับชุมชน เป็นทางออกสำคัญทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ในชนบทได้ จึงขอให้การสนับสนุนการดำเนินการร่วมมือในการผลิตแพทย์ระหว่างสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มฟล. กับโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดเชียงราย ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

หน้า 23


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 17 เมษายน 2012, 11:12:43
ชมรมแพทย์แผนไทย เล็งเพิ่มการผลิตแพทย์แผนไทย รองรับการเข้าสู่อาเซียน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   17 เมษายน 2555


       “กรมแพทย์แผนไทย” เล็งขยายกำลังการผลิตแพทย์แผนไทย เพิ่ม เชื่อไทยมีศักยภาพแข่งขันระดับอาเซียน
       
       นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า หลังจากที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมอาเซียน นั้น เชื่อว่า ความต้องการแพทย์แผนไทยมีมากขึ้น กรมฯ จึงได้จัดทำเรื่องการเพิ่มกำลังการผลิตแพทย์แผนไทยระยะ 10 ปี เพื่อรองรับสังคมอาเซียน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ที่ต้องการกำลังแพทย์ด้านดังกล่าวตามจริง ขณะที่จำนวนแพทย์แผนไทยทั่วประเทศในปัจจุบันมีเพียง 500 คนเท่านั้น โดยจะประจำอยู่ที่ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั่วประเทศ ซึ่งแพทย์จำนวนดังกล่าวนั้นได้รับการสนับสนุนงบประมาณการผลิตทั้งส่วนของ กรมฯ เงินบำรุงโรงพยาบาล และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แต่ในจำนวนนี้ก็ยังไม่พอ เนื่องจาก รพ.สต.มีอยู่มากถึง 9,700 แห่ง กรมฯ จึงจำเป็นต้องเร่งสำรวจความเหมาะสมของอัตรากำลัง เพื่อจะได้ประสานงานกับสถาบันการศึกษาให้เปิดเป็นคณะ หรือศาสตร์สาขาวิชา ให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียน อย่างไรก็ตาม สธ.ไม่ได้คาดหวังว่า จะต้องกระจายกำลังด้านแพทย์แผนไทยให้ประจำอยู่ทุกตำบล แต่อาจจะสร้างเครือข่ายเข้ามาเพิ่ม เช่น รพ.สต.3-4 แห่ง อาจมีแพทย์แผนไทยประจำแค่คนเดียวก็เป็นได้
       
       “นอกจากเรื่องการสำรวจความพร้อมของพื้นที่แล้ว ยังจำเป็นต้องเดินหน้า เรื่องการส่งเสริมแนวคิดแก่นักศึกษารุ่นใหม่ด้วย ว่า แพทย์ไทยไม่ใช่หมอนวด อย่างเดียว แต่หมายถึงแพทย์ที่สามารถวินิจฉัยโรค และรักษาอาการของโรคได้ด้วยนวัตกรรมยาไทย ยาแผนโบราณ ตลอดจนประยุกต์ศาสตร์อื่นๆ เพื่อการรักษาได้ เช่น การนวดแบบฤๅษีดัดตน การนวดแก้ปวดหลัง เพื่อให้อาการอักเสบหายไป ปวดกระดูกหายไป เป็นต้น โดยหากเรียนจบระดับปริญญา กรมฯก็จะออกใบประกาศวิชาชีพให้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงนำร่องระบบ โดยมี รพ.แพทย์แผนไทยประมาณ 9 แห่ง และมีสถานพยาบาลที่บริการฯ จากมหาวิทยาลัยเข้าร่วม อีก 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สกลนคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาราชภัฏเชียงราย ขณะที่การเรียนการสอนเกี่ยวกับศาสตร์ดังกล่าวในสถาบันอุดมศึกษานั้นมีกว่า 20 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยกรมก็จะประเมินศักยภาพหลักสูตรดังกล่าวเพื่อต่อยอดโครงการการผลิต โดยมีการรายงานความสำเร็จในการเรียนการสอนแก่ รมว.สธ.ทราบเป็นระยะๆ” นพ.สุพรรณ กล่าว

   

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา
       อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย กล่าวด้วยว่า กรมฯ ได้ส่งทีมนักวิชาการเพื่อเรียนรู้เทคนิคการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยด้านการแพทย์ในต่างประเทศ เพื่อศึกษาจุดอ่อนจุดแข็ง ซึ่งในภาพรวมนั้นประเทศไทยยังติดปัญหาเรื่องขอบรรจุตำแหน่งเป็นเป็นข้าราชการ ซึ่งทราบกันดี ว่า บุคลากร สธ.หลายคนอยู่ในฐานะลูกจ้างชั่วคราว ส่วนนี้ทำให้หลายคนไม่มันใจที่จะเข้าศึกษา เพรากังวลเรื่องความมั่นคงของหน้าที่การงาน ทั้งนี้ หาก สธ.สามารถเสนอระเบียบการจ้างงานให้อยู่ในรูปแบบลูกจ้าง สธ.แทนลูกจ้างชั่วคราวได้ เชื่อว่า อาจขยายการผลิตได้ง่ายขึ้น
       
       นพ.สุพรรณ กล่าวด้วยว่า สำหรับศาสตร์ที่จำเป็นต้องผลักดัน และเชื่อว่า จะแข่งขันในประเทศอาเซียนได้นั้น เป็นศาสตร์การนวดรักษา ซึ่งต่างจากการนวดเชิงส่งเสริมสุขภาพ หรือนวดเพื่อผ่อนคลาย ซึ่งหากพัฒนาด้านกำลังคนได้ก็ต้องได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะหากจะเร่งพัฒนาศักยภาพด้านสมุนไพร หรือยาไทยด้านเดียว ก็อาจล่าช้า ไม่ทันต่อการแข่งขันระดับนานาชาติ เพราะขณะนี้ประเทศเพื่อนบ้าน อาที เวียดนาม มีการเรียนการสอนแพทย์พื้นบ้านมานาน อีกทั้งมีการก่อตั้งกรมพัฒนาแพทย์พื้นบ้าน(Traditional Medicine) มานานกว่า 50 ปี ขณะที่ไทยก่อตั้งกรมพัฒนาแพทย์แผนไทยฯ แค่ 10 ปี เท่านั้น


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: เทพ_ผางาม(รักในหลวง) ที่ วันที่ 17 เมษายน 2012, 11:18:51
จบมามีเงินเดือน กับที่ทำงาน ให้มันพออยู่ พอกิน... รับรองไม่มีการรั่วไหลของ นศพ.หลอก


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2013, 08:31:32
รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี ม.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เป็นประธานในพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่และพิธีบวงสรวงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี “สมเด็จย่า” ณ บริเวณที่ดินที่จะจัดสร้างโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ของ ม.แม่ฟ้าเหลวง มีผู้บริหาร คณาจารย์ พนักงาน ตัวแทนนักศึกษา รวมทั้งชาวบ้านข้างเคียงมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก มีมัคคนายกอ่านโองการขึ้นท้าวทั้งสี่ และอ่านโองการบวงสรวง พระบรมฉายาลักษณ์ “สมเด็จย่า” ตามประเพณีดั้งเดิมของชาวล้านนา พร้อมถวายเครื่องบวงสรวง


รศ.ดร.วันชัย กล่าวว่า ขณะนี้ ม.แม่ฟ้าหลวง มีโรงพยาบาลให้บริการด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพแก่นักศึกษา และประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีสำนักทันตแพทย์ และพยาบาลศาสตร์ จึงมีความดำริที่จะตั้งศูนย์การแพทย์แบบครบวงจร มีการผลิตแพทย์มารับใช้ประเทศชาติด้วย ได้จัดซื้อที่ดินจำนวน 112 ไร่ จากชาวบ้านมาในราคาแพงมาก มีโครงการจะจัดตั้งเป็นโรงเรียนแพทย์ ตั้งเป็นสำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ แล้วย้ายสำนักวิชาทันตศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ มาไว้ในที่เดียวกันนี้ ทั้งยังจะสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 400 เตียง เพื่อให้นักศึกษาแพทย์และพยาบาลใช้ฝึกหัดงานก่อนจบออกไปทำงาน จะสร้างเป็นศูนย์การแพทย์ที่เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพทั้งบุคลากร เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างแท้จริง ที่ผ่านมา การซื้อที่ดินแปลงนี้เป็นไปด้วยอุปสรรคและปัญหามาก มีนายทุนออกมากว้านซื้อที่ดินจากชาวบ้านดักหน้า เพื่อเก็งกำไรที่ดิน จึงอยากวิงวอนให้ชาวบ้านที่มีที่ดินรอบข้าง นำมาขายให้กับมหาวิทยาลัยในราคาที่ยุติธรรม เพื่อก่อตั้งเป็นศูนย์การแพทย์ฯที่ยิ่งใหญ่ มาผลิตแพทย์พยาบาล เพื่อมาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้ประชาชน ขอให้คนในพื้นที่ ชุมชนในท้องถิ่น ให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยฯ เพื่อนำความเจริญสู่ประเทศชาติที่แท้จริงต่อไป.
ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2556 เปิดรับ น.ศเเพทย์จำนวน 32 คน ส่วนในปีการศึกษา 2557 จะเปิดสำนักวิชา ทันตเเพทย์ศาตร์ ต่อไปตามเเผนการดำเนินงาน มฟล.

ปล.งบสร้างศูนย์การแพทย์ระดับ Exclusive มูลค่า 6,000 ล้านบาท เป็นศูนย์การแพทย์ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และ ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ^^

:D


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: Sanchez ที่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2013, 09:07:26
สำหรับคนมีตัง และมีความตั้งใจที่จะเรียนแพทย์เท่านั้น

สำหรับ มรรช. เป็นมหาวิทยาลัยสำหรับคนรากหญ้า อย่างผม  ;D


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: Pokemon_Devil ที่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2013, 09:31:19
เสียตรงที่ค่าเทอมน่าจะดุเดือดขนาดหนักเนียะซิครับ

ผมไม่เข้าใจว่าค่าเทอมมันเเพงมากเหรอครับ ถ้าเทียบกับการเรียนการสอนที่เป้นภาษาอังกฤษ คุณลองไปดูมออื่นๆดิ ที่สอนเป้นภาษาอังกฤษ เเล้วคุณจะรู้ว่า มฟล ค่าเทอมถูกที่สุดละครับ  ??? ??? ???


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: mu-oun ที่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2013, 11:58:49
สำหรับคนมีตัง และมีความตั้งใจที่จะเรียนแพทย์เท่านั้น

สำหรับ มรรช. เป็นมหาวิทยาลัยสำหรับคนรากหญ้า อย่างผม  ;D
อ๋อ อ้อย  เป๋นต๋าดีดูเอ็น(เอ็นดู)แต๊บ่าหล้า บ่ดีน้อยใจ๋ จบตี้ไหน สาขาอะหยัง ถ้าใจ๋ฮัก ตั้งใจ๋ จบออกมารับรองบ่าอดต๋าย  แต่บ่าดีเอาไปเปรียบกับคนรวยหรือเศรษฐีก่ะ เปิ้นมีโลกของเปิ้นอยู  กึ๊ดแล้วเฮาจะเครียด  เฮาอยู่กับรากหญ้าเฮาก้อใช้ชีวิตอยู่แหมโลกหนึ่งเฮามีสังคมตี้ใหญ่กว่าเปิ้นอีก บ่าดีน้อยใจ๋ ขะไจ๋เฮียนหื้อจบเวย ๆ ก่ะ เอ็นดูอี่ป้ออี่แม่เต๊อะ เป๋นก่ำลังใจ๋หื้อเน้อ  :D


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: เมฆพัตร ที่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2013, 12:09:49
เห็นหลายกระทู้ก็ comment แต่เรื่องค่าเทอม

ความคิดเห็นส่วนตัว...ผมคิดว่ากับหลักสูตรการเรียนการสอน

ตามที่อ่านจากสื่อก็สมเหตุสมผลแล้ว ส่วนหนึ่งเพราะ มฟล ก็ออกนอกระบบ

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จะให้ค่าเทอมเท่ากับ มหาวิทยาลัยอื่นคงทำได้ยาก

แต่ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปคุ้มกับการเรียนการสอน อุปกรณ์ บุคลากร ฯลฯ

ผมก็พอใจแล้ว   อยากให้เราสนใจในเรื่องคุณภาพที่ได้รับ มากกว่าครับ...

ปล.ภูมิใจกับ มฟล. และดีใจที่บ้านเรามีคณะแพทย์ครับ


หัวข้อ: Re: มฟล.ทำเอ็มโอยู 7 รพ.เชียงรายเปิดสอนแพทย์แนวใหม่ป้อนกลับชุมชน
เริ่มหัวข้อโดย: aaa123 ที่ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2013, 00:00:12
ยินดีกับมฟล.และคนเชียงรายที่จะมีคณะแพท์จากใจจริง เพราะเด็กที่สามารถเรียนแพทย์จะได้ไม่ต้องไกลบ้านสู้ๆค่ะมฟล.


หัวข้อ: Re: รวมข่าวเกี่ยวกับ ด้านสาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2013, 15:03:35
บางกอก เชน ฮอสปิทอล ทุ่ม120ล.ผุดรพ.ชายแดนแม่สาย
วันจันทร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556, 06.00 น.
tags : บางกอก เชน ฮอสปิทอล, คลินิกศรีบุรินทร์, ชายแดน, แม่สาย, เชียงแสน, เชียงของ,
 

บางกอก เชน ฮอสปิทอล

ทุ่ม120ล.ผุดรพ.ชายแดนแม่สาย

พร้อมลุยต่อเชียงแสน-เชียงของ

นายแพทย์เฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทบางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารคลินิก ศรี บุรินทร์ สาขาเกษมราษฎร์ อ.แม่สาย ม.3 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยคลินิกดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ เป็นอาคาร 3 ชั้น เพื่อรองรับจำนวนผู้ไปใช้บริการด้านชายแดนไทย-พม่า ทางด้าน อ.แม่สาย ที่มีเพิ่มมากขึ้นจนอย่างต่อเนื่อง จนคลินิกแห่งเดิมซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันไม่สามารถรองรับได้อย่างเพียงพอ ทั้งนี้อาคารดังกล่าวก่อสร้างโดย หจก.นครเชียงรายทวีศักดิ์ วัสดุ-คอนกรีต

นายแพทย์เฉลิม กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยไปใช้บริการที่คลินิกแห่งเดิมของโรงพยาบาลตั้งอยู่เลขที่ 521 ม.3 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย วันละกว่า 200-300 คน โดยเป็นชาวพม่ากว่าครึ่งหนึ่ง ทำให้สถานที่แห่ง เดิมคับแคบและไม่มีที่จอดรถ ขณะที่แนวโน้มเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ก็จะเกิดการถ่ายเทของประชากรในประเทศต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นบริษัทจึงจำเป็นต้องขยายการก่อสร้างอาคารคลินิก ดังกล่าวโดยใช้งบประมาณ 120 ล้านบาท มีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในเดือน มิ.ย.2556  เชื่อว่าสามารถจะรองรับปริมาณผู้ป่วยที่ชายแดนแม่สายได้อย่างเต็มที่ต่อไป ทั้งนี้การรักษาจะเชื่อมโยงกับ โรง พยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ ที่ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง  รองรับกรณีชาวพม่า หรืออื่นๆ สามารถทำหนังสือผ่านแดนชั่วคราว เข้ามายังประเทศไทยในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตร จึงทำให้ไม่สามารถเดินทางไปรับการ รักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ได้ ขณะที่โรงพยาบาลในฝั่งไทยเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้บริการจากประเทศต่างๆ ว่าได้มาตรฐานที่ดีกว่า

นายแพทย์เฉลิม กล่าวอีกว่า หลังจากเปิดอาคารคลินิคที่ อ.แม่สาย ครั้งนี้แล้วบริษัทได้เล็งเป้าไปยังชายแดนไทย-สปป.ลาว ด้าน อ.เชียงของ เป็นหลักเพราะกำลังจะมีการเชื่อมถนนอาร์สามเอไทย-สปป.ลาว-จีน  ได้อย่างสมบูรณ์ในเดือน มิ.ย.นี้ โดยสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 จะก่อสร้างแล้วเสร็จ ทำให้เชื่อว่าจะทำให้ชุมชนชายแดนย่านดังกล่าวขยายตัวมากขึ้นและประชากรในฝั่งประเทศเพื่อนบ้านที่เชื่อมั่นในการ รักษาพยาบาลฝั่งไทยก็คงจะทะลักเข้ามารักษาเพิ่มเติมอีกเพราะเส้นทางคมนาคมสะดวกขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันกำลังเสาะหาที่ดินที่เหมาะสมอยู่แต่เชื่อว่าใช้เวลาไม่นานก็คงจะไปเปิดคลินิกหรือโรงพยาบาล ขนาดเล็กในสาขาของบริษัทที่ อ.เชียงของ ได้ต่อไป ขณะเดียวกันในพื้นที่ อ.เชียงแสน ก็ได้หาซื้อที่ดินเอาไว้แล้วจำนวนประมาณ 11 ไร่ แต่กำลังรอช่วงจังหวะที่เหมาะสมอยู่โดยคาดว่าจะก่อสร้างที่ชายแดนด้าน อ.เชียงของ ก่อน

 http://www.naewna.com/local/42710


หัวข้อ: Re: รวมข่าวเกี่ยวกับ ด้านสาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013, 07:34:48
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8125 ข่าวสดรายวัน


มรช.อวดงานชิ้นเอกวิจัยพัฒนาท้องถิ่น ผ่านวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและทางเลือก



ผศ.ดร.ยิ่งยง เทาประเสริฐ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (มรช.) กล่าวในการบรรยายหัวข้อ "วิจัยเพื่อท้องถิ่น : กรณีวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย" ว่า หลังจากได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รวบรวมแพทย์พื้นบ้านและชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาด้านการแพทย์พื้นบ้าน เพื่อสังคายนาองค์ความรู้หมอเมืองใน 750 ปีประวัติศาสตร์ล้านนา และถอดบทเรียนผ่านกระบวนการวิจัยในชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการแพทย์พื้นบ้านล้านนาและการแพทย์ชนเผ่าภาคเหนือ ทำให้มีพลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและยาวนานพอที่จะก่อให้เกิดผลกระทบตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับองค์กร ตลอดจนสถาบันภาครัฐและภาคธุรกิจจนถึงระดับชาติ



คณบดีวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้าน มรช. กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปสู่การบรรจบกับแนวโน้มและกระแสโลก นั่นคือ การหวนกลับไปฟื้นฟูการแพทย์ดั้งเดิมเพื่อเป็นทางเลือกขององค์การอนามัยโลก และการตื่นตัวในการอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นของยูเนสโก อันเป็นการเชื่อมโยงจากระดับรากหญ้าสู่ระดับประเทศและสากลโลก



"ตัวอย่างการขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในระดับต่างๆ ได้แก่ การทำงานเชื่อมโยงระดับนโยบายร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และก่อตั้งวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้าน ใน มรช. โดยเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก รวมถึงการร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นเปิดให้บริการแก่สาธารณะในการบำบัดรักษา ทั้งยังมีการเชื่อมโยงหมอพื้นบ้านสู่โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยแห่งแรกในภาคเหนือ และเชื่อมโยงองค์ความรู้กับเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง ได้แก่ จีน ลาว พม่า อีกทั้งองค์การยูเนสโกได้นำไปใช้เป็นโมเดลยกระดับความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านสู่การแพทย์ระดับประเทศ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพรในเครือข่ายองค์การอนามัยโลกเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" คณบดีวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้าน มรช. กล่าว

หน้า 23


หัวข้อ: Re: รวมข่าวเกี่ยวกับ ด้านสาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 21 มีนาคม 2013, 12:42:51
บีซีเอช วาดแผนลงทุน 3 ปี ก่อนเปิดเออีซี  รุกตลาดรักษาพยาบาลครบทุกเซ็กเมนต์  หลังครองผู้นำกลุ่มระดับกลาง  เตรียมขยายโปรเจ็กต์จับตลาดบน "World medical center"  แห่งที่ 2 ที่พัทยา

(http://www.thanonline.com/images/stories/article2013/2828/102.jpg)

พร้อมซุ่มสร้างแบรนด์โรงพยาบาลจับตลาดล่างและผู้ป่วยประกันสังคม  ชูโมเดลธุรกิจ Sun and Satellite Model ขยายเครือข่ายโรงพยาบาล ปูทางสร้างรายได้หมื่นล้าน
    น.พ.เฉลิม  หาญพาณิชย์  ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท  บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน)  หรือ BCH  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"  ถึงแผนการขยายธุรกิจและการเตรียมตัวรองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 ว่าเป้าหมายของกลุ่มบีซีเอชภายในระยะเวลา 3 ปี ให้ความสำคัญใน  3 เรื่องคือ 1. การขยายการรักษาให้ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย  ทั้งตลาดระดับบน ระดับกลาง และระดับล่าง
    2. การขยายธุรกิจสินค้าที่เกี่ยวข้องวงการแพทย์  หรือ Medical Device เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าสินค้าอุปกรณ์ทางการแพทย์  รวมถึงยาเข้ามาจากต่างประเทศ 100% ทั้งที่ประเทศไทยมีวัตถุดิบจำนวนมาก จึงมีโอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาและผลิตสินค้าในกลุ่มนี้สำหรับใช้ในประเทศและยังสามารถส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในอาเซียนได้ด้วย   และ 3.การดูแลกลุ่มผู้สูงอายุทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    "กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์จะขยายตลาดการให้บริการกับลูกค้าครบทุกเซ็กเมนต์  จากเดิมที่จับเฉพาะตลาดในกลุ่มระดับกลางเป็นหลัก   โรงพยาบาลในเซ็กเมนต์นี้  ได้แก่  โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ทั้ง 6 สาขา  คือ สาขาบางแค, สุขาภิบาล 3, สระบุรี,รัตนาธิเบศร์, ประชาชื่น และศรีบุรินทร์ จ.เชียงราย "
    ด้านแผนการลงทุนในปีนี้บริษัทเตรียมงบประมาณ 3.1 พันล้านบาท  เพิ่มจำนวนเตียงขึ้นอีก  600 เตียง  จากปัจจุบันที่มีจำนวนกว่า 2 พันเตียง  แบ่งเป็นการ World medical center  แห่งที่ 2  จำนวนประมาณ 250 เตียง  บนเนื้อที่ 14 ไร่  ที่พัทยา จ.ชลบุรี ด้วยงบลงทุนประมาณ 1.5 พันล้านบาท เริ่มก่อสร้างปลายปี 2557 กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2559  เพื่อรองรับกับตลาดระดับบนหรือ กลุ่มเอ
    ขณะที่ก่อนหน้านี้ได้ลงทุน 2.2 พันล้านบาท  ในโครงการ World medical center  บนถนนแจ้งวัฒนะ  ซึ่งจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 มีนาคมนี้  และล่าสุดได้มีการซื้อที่ดินบริเวณด้านข้างเพิ่มอีกมูลค่า 675 ล้านบาท  เพื่อใช้ขยายโครงการต่อเนื่องในอนาคตด้วย
    ในขณะที่ตลาดระดับกลาง หรือ กลุ่มบี  เตรียมขยายโรงพยาบาลเกษมราษฎร์  ศรีบุรินทร์  จ.เชียงรายเพิ่มเติมอีก 100 เตียง ด้วยงบลงทุน 600 ล้านบาท  เริ่มก่อสร้างช่วงต้นปี 2557 และจะแล้วเสร็จในปี 2558 นอกจากนี้ยังลงทุนก่อสร้างโรงพยาบาล บนถนนรามคำแหงเพิ่มอีก 1 แห่ง จำนวน 250 เตียง ใช้งบประมาณ 1 พันล้านบาท เริ่มก่อสร้างในปี 2557 และจะแล้วเสร็จในปี 2558  ส่วนกลุ่มตลาดระดับล่าง หรือ กลุ่มซี  บริษัทมีแผนจะลงทุนขยายโรงพยาบาลเพื่อรองรับกลุ่มผู้ป่วยประกันสังคมโดยเฉพาะ   ซึ่งอยู่ระหว่างการวางแผนว่าจะใช้แบรนด์อะไรและการลงทุนก่อสร้าง
    "การขยายธุรกิจของกลุ่มบีซีเอช  ได้นำโมเดลที่เรียกว่า " Sun and Satellite  Model "  อย่างกรณีที่ขยายโรงพยาบาลเกษมราษฎร์  ศรีบุรินทร์ จ.เชียงราย  ในขณะเดียวกันยังมีการตั้ง Poly Medicine ในอำเภอรอบๆ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ใกล้เคียง  เมื่อมีความต้องการเพิ่มก็จะขยายเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กต่อไป  ไม่จำเป็นต้องขยายโรงพยาบาลจำนวนมาก  แต่โพลีเมดิซีนดังกล่าวจะมีหมอในสาขาหลักให้บริการในแต่ละสาขาครบ  ในลักษณะโรงพยาบาลขนาดเล็ก  ต่างจากโพลีคลินิกที่มีหมอคนเดียวรักษาทุกโรค  โดยที่อำเภอแม่สายได้ใช้โมเดลดังกล่าวในการขยายธุรกิจแล้ว  และในอนาคตจะขยายเพิ่มที่อำเภอฝาง  เชียงแสน และเชียงของต่อไป" น.พ. เฉลิม กล่าวและว่า
    แผนการดำเนินและขยายธุรกิจของกลุ่มบีซีเอชดังกล่าว   คาดว่าภายในปี 2558  บริษัทจะมีรายได้ประมาณ  1 หมื่นล้านบาท   เนื่องจากมีปริมาณของโรงพยาบาลในเครือเพิ่มมากขึ้น  อีกทั้งการขยายตลาดระดับบน จะผลักดันทำให้บริษัทมีผลประกอบการที่เติบโตเพิ่ม  จากปัจจุบันโรงพยาบาลทั้ง 6 สาขาเดิมมีการเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่าปีละ 10%
    ส่วนโรงพยาบาลใหม่ที่ช่วงแรกอาจจะเติบโตไม่สูง  แต่ระยะหนึ่งจะโตแบบก้าวกระโดดได้เช่นกัน  ซึ่งเฉพาะปีนี้บริษัทคาดจะมีรายได้เติบโตในอัตรา 20-25% หรือมูลค่ารวมประมาณ  5 พันล้านบาท  จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้เติบโตเพียง  13%
    "โรงพยาบาลทั้ง 6 แห่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน   บริษัทมีการลงทุนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้โรงพยาบาลมีความทันสมัย   ส่งผลให้ผลการดำเนินงานในแต่ละปีเติบโตอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10%  ส่วนโครงการ World medical center จะเริ่มรับรู้รายได้ในปีนี้เป็นปีแรก  ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มบีซีเอชก็มีอัตรากำไรที่เติบโตด้วยดี  โดยปี 2554 มีกำไร 672 ล้านบาท ปีที่ผ่านมามีกำไร 910 ล้านบาท  ซึ่งแนวคิดในการขยายธุรกิจโรงพยาบาลกลุ่มบีซีเอชจะพิจารณาจากกลุ่มตลาดที่เราต้องการจะเข้าไปทำ  พิจารณาจากความต้องการของตลาด  กำลังซื้อ  และทำเลที่ตั้ง  ต้องสะดวกต่อการเดินทาง  พื้นที่ต้องติดถนน" น.พ. เฉลิม กล่าว และว่า
    ขณะที่ภาพรวมการแข่งขันของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน  ทุกกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนต่างก็มุ่งการขยายตลาดเพื่อจับกลุ่มเป้าหมายครบทุกเซ็กเมนต์  แต่จะแตกต่างกันในเรื่องของการรักษาพยาบาล  เทคโนโลยีทางการแพทย์  และค่ารักษาพยาบาลที่อาจจะแตกต่างกัน   ซึ่งเชื่อว่าการแข่งขันยังคงรุนแรงต่อไป  แต่การรุกธุรกิจพยาบาลในลักษณะการซื้อกิจการ หรือการควบรวมกิจการระหว่างกลุ่มโรงพยาบาล  เชื่อว่านับจากนี้จะไม่เห็นในลักษณะการร่วมทุนใหญ่ๆ อย่างเช่นที่ผ่านมาแล้ว  ต่อไปจะเป็นลักษณะการเข้าซื้อกิจการโรงพยาบาลขนาดเล็ก   ที่มีอยู่ในต่างจังหวัดเพื่อนำมาพัฒนาเป็นโรงพยาบาลในเครือต่อไป

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,828  วันที่  21- 23  มีนาคม พ.ศ. 2556


หัวข้อ: Re: รวมข่าวเกี่ยวกับ ด้านสาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2013, 07:55:46

มฟล.เปิดแพทย์ฯรุ่นแรก ชูสร้างหมอคุณภาพที่พึ่งชุมชน


วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8203 ข่าวสดรายวัน

พล.ท.นพ.นภดล วรอุไร คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) กล่าวภายหลังการจัดสอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพสำหรับผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มฟล. ปีการศึกษา 2556 ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งนับเป็นนักศึกษาแพทยศาสตร์รุ่นแรกของมฟล. โดยคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มฟล. ว่า เนื่องจากปัญหาขาดแคลนแพทย์ จึงทำให้ รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี มฟล. และคณะผู้บริหารมีความมุ่งมั่นอย่างมากที่จะตั้งสถาบันผลิตแพทย์ขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาความขาดแคลนนั้น ซึ่งขณะนี้หลักสูตรแพทยศาสตร์ มฟล. ได้รับอนุมัติจากแพทยสภา และเริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกสำหรับ ปีการศึกษา 2556 โดยตั้งเป้ารับนักศึกษาปีละ 32 คน ในปีแรกๆ ก่อนจะเพิ่มจำนวนรับในระยะต่อไป ประมาณ 100 คน เนื่องจากต้องการเป็นโรงเรียนแพทย์ขนาดกลาง



"จะมุ่งผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพและมีคุณธรรม จริยธรรม และที่สำคัญคือมีความรักในชุมชน สามารถเป็นที่พึ่งแก่ชุมชน อยู่ร่วมกับชุมชนและช่วยแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้หลักสูตรแพทย์ มฟล. ยังให้ความสำคัญเรื่องภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อรับประชาคมอาเซียน เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดี และสามารถสื่อสารด้วยภาษาจีนได้เป็นเบื้องต้น" พล.ท.นพ.นภดล กล่าว



คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มฟล. กล่าวว่า สำหรับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร 6 ปีนั้น ในชั้นปีที่ 1-3 ศึกษาวิชาเตรียมและปรีคลินิก ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย สำหรับชั้นปีที่ 4-6 ศึกษารายวิชาคลินิก ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพฯ และโรงพยาบาลกลาง กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ มีประสบการณ์ร่วมผลิตแพทย์มากว่า 15 ปี โดยสอนทั้งนักเรียนแพทย์ เภสัชและทันตแพทย์ ทั้งในระดับปริญญาตรีและหลังปริญญาตรี และมีโรงเรียนแพทย์เก่าแก่ที่ให้ความไว้วางใจส่งแพทย์มาฝึกด้วยเช่นกัน



นอกจากนี้หลักสูตรแพทย์ มฟล. ยังมีโรงพยาบาลร่วมผลิตสมทบอีก 2 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชนอีก 7 แห่งในจ.เชียงราย ที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับเวชศาสตร์ชุมชน ครอบครัวเป็นอย่างดี โดยมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นฐานของสำนักวิชาแพทย์ มฟล. ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เพื่อรองรับการเรียนการสอนในหลักสูตรแพทย์ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

หน้า 23


หัวข้อ: Re: รวมข่าวเกี่ยวกับ ด้านสาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 05 มิถุนายน 2013, 23:18:43
(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/482604_546890398681024_620369029_n.jpg)


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=185637:2013-06-04-06-10-50&catid=106:-marketing&Itemid=456


หัวข้อ: Re: รวมข่าวเกี่ยวกับ ด้านสาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 05 กรกฎาคม 2013, 22:25:53
อ้างจาก: WiiCHY;104952651
อาคารศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง งบประมาณ 950 ล้าน เริ่มก่อสร้างปี 2557-2560.

อาคารปฏิบัติการพื้นฐานด้านสาธารณสุข. งประมาณ 700 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างปี 2557-2559

พื้นที่ 131 ไร่ เครดิต Thawatchai Panyaluang

(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/q71/485402_644556505571877_82687233_n.jpg)


(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/q71/s720x720/1017146_644556128905248_1292240918_n.jpg)

(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/q71/1001661_644555945571933_1346585352_n.jpg)

(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/q71/945056_644555458905315_915928570_n.jpg)


หัวข้อ: Re: รวมข่าวเกี่ยวกับ ด้านสาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 25 กันยายน 2013, 19:24:56
เชียงราย - มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ฉลองครบรอบ 15 ปี น้อมนำประราชปณิธานสมเด็จย่า-พระบรมราโชวาท เป็นแนวทางพัฒนาต่อเนื่อง พร้อมเตรียมเปิดสอนทัตแพทยศาสตร์ สำนักวิชาแพทย์แผนจีน ปีการศึกษา 2557
       
       วันนี้ (25 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.เชียงราย ว่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) อ.เมือง ได้ทำพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 15 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย ด้วยการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 160 รูป พร้อมพิธีกรรมทางศาสนาที่หอประชุมสมเด็จย่า โดยมีนายกสภามหาวิทยาลัย คณะทูตานุทูต และผู้แทนจากประเทศอินโดนีเซีย ลาว ภูฏาน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเช็ก และฝรั่งเศสเข้าร่วม
       
       รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี มฟล. กล่าวว่า มฟล.ได้นำพระราชปณิธานในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า และพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวการพัฒนามาโดยตลอด โดยหวังพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น และพร้อมก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยต้นแบบของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการตั้งมั่นต่อการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งโอกาสแก่ผู้ยากไร้ ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรอบรู้ในวิชาที่ศึกษา มีทักษะทางภาษาต่างประเทศที่ใช้ได้ในระดับสากล มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนความรู้ และเทคโนโลยีสู่การปฏิบัติ และมีน้ำใจ
       
       “มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ และภาษาจีนมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เพื่อให้ผู้เข้าเรียนพร้อมก้าวไปทำงานในอาเซียน และสังคมโลกต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา บัณฑิต มฟล.ที่จบออกไปประมาณ 10,000 คน สามารถทำงานในแวดวงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี มีการต่อยอดการศึกษาระดับสูงขึ้นไปอีกเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้เข้าเป็นนักศึกษามากขึ้นทุกปี”
       
       รศ.ดร.วันชัย กล่าวว่า มฟล.เริ่มต้นด้วยการมีนักศึกษารุ่นแรกเพียง 62 คน จากทั้งหมด 2 หลักสูตร ปัจจุบันเติบโตเป็น 11,000 คน จาก 74 หลักสูตร มีนักศึกษาจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ 48% ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก 30% ภาคอีสาน 9% และภาคใต้ 13% นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาต่างชาติจาก 23 ประเทศ กว่า 500 คนด้วย
       
       ทั้งนี้ มฟล.ให้ความสำคัญด้านงานวิจัย โดยส่งเสริม และผลักดันให้อาจารย์ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยเชิงประยุกต์สามารถที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัสดุศาสตร์ อุสหกรรมเกษตร ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ รวมทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งผลงานหลายชิ้นได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ยังมีงานบริการวิชาการแก่ชุมชนปีละไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง มูลค่าไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท
       
       และสิ่งที่น่าภาคภูมิใจคือ โครงการด้านการพัฒนาคุณภาพครูชนบท โดยจัดตั้งมูลนิธิมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้น เพื่อการพัฒนาครูชนบท ส่งเสริมสนับสนุนการยกระดับคุณภาพครูผู้สอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาข้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทุกกลุ่มสาระใน จ.เชียงราย จาก 22 โรงเรียน และจะเพิ่มเป็น 43 โรงเรียน ในปี 2557 พัฒนาครูสอนภาษาจีนให้แก่ครูสังกัด สพฐ.ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 6 ปี และโครงการต้นแบบศูนย์ทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบทมา 4 ปี เป็นผลให้การศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาดีขึ้น
       
       ในปี 2557 มฟล.เตรียมที่จะเปิดสำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ โดยตั้งเป้าหมายจะรับนักศึกษารุ่นแรกประมาณ 30 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการรออนุมัติหลักสูตรจากทันตแพทยสภา ทั้งยังมีเป้าหมายที่จะรวมศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งแพทย์แผนไทยปัจจุบัน แพทย์แผนจีน กายภาพบำบัด สาธารณสุข พยาบาล แพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ พัฒนาให้เป็นศูนย์การแพทย์ในอีก 5 ปีข้างหน้าด้วย
       
       นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดสำนักวิชาแพทย์แผนจีน หลักสูตร 5 ปี ร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีน ของประเทศจีนด้วย


หัวข้อ: Re: รวมข่าวเกี่ยวกับ ด้านสาธารณะสุขจังหวัดเชียงราย
เริ่มหัวข้อโดย: boondham ที่ วันที่ 06 ตุลาคม 2013, 00:13:17
เยือนถิ่น มฟล. ทำความรู้จักหลักสูตรใหม่ “แพทยศาสตร์บัณฑิต”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   3 ตุลาคม 2556 13:28 น.        


       นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับน้องใหม่หลายคนที่สนใจวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือผู้ที่ชืนชอบการเรียนการสอนทางด้านด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน เมื่อ “มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง” จังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อว่า สถาบันการศึกษาที่สวยที่สุดในประเทศไทย เปิดหลักสูตรใหม่ต้อนรับปี 2556 พร้อมรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกหลังจากที่แพทยสภาพิจารณารับรองหลักสูตร “แพทยศาสตร์บัณฑิต” เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยกำหนดรับนักศึกษารุ่นแรก 32 คน มีผลให้สำนักวิชาแพทยศาสตร์ เป็นคณะแพทย์แห่งที่ 21 ของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน มฟล.เปิดการเรียนการสอน 12 สำนักวิชา 74 หลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรี 34 หลักสูตร ปริญญาโท25 หลักสูตร และปริญญาเอก 15หลักสูตร


มฟล.เปิดหลักสูตรใหม่ "แพทยศาสตร์บัณฑิต” ต้อนรับนักศึกษารุ่นแรกประจำปี 2556

       



       สำหรับการเรียนการสอนใน “หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต” ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตรเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยจะจัดการเรียนการสอนชั้นปี 1-3 ศึกษารายวิชาระดับเตรียมแพทย์และปรีคลินิก ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อ.เมือง จ.เชียงราย และสำหรับชั้นปืที่ 4-6 ศึกษารายวิชาระดับคลินิก ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ในระหว่างที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกำลังดำเนินการก่อสร้าง



       


พลโทนายแพทย์ นพดล วรอุไร คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

       ทั้งนี้ สำนักวิชาแพทยศาสตร์จะตั้งอยู่ในศูนยการแพทย์ มฟล.โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ พลโทนายแพทย์ นพดล วรอุไร คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งได้เปิดเผยถึงการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ มฟล.
       
       พลโทนายแพทย์ นลดล กล่าวว่า การตั้งคณะแพทยศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องง่าย มีขั้นตอนดำเนินงานหลายอย่าง เริ่มต้นด้านหลักสูตร เมื่อปลายปี 2554 ได้รับการติดต่อจากท่านอธิการบดี รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ แล้วจึงเริ่มร่างหลักสูตร เผอิญในช่วงนั้นน้ำท่วมใหญ่ ทำให้เสียเวลาไป 2-3 เดือน ตอนร่างหลักสูตร ได้นำหลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์ต่างๆมาดูว่าเราปรับให้เข้ากับ มฟล.อย่างไร อาศัยความร่วมมือจากคณาจารย์ ทั้งจากพระมงกุฏเกล้า จากศิริราช รวมถึงผู้บริหาร คณาจารย์ในมฟล.ด้วย


โฉมหน้านักศึกษารุ่นแรก

       "ปัจจุบันจำนวนแพทย์ไม่เพียพอต่อความต้องการ อีกทั้งการกระจายยังไม่เหมาะสม กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ส่วนชนบทหรือเมืองที่ห่างไกลนั้นขาดแคลนแพทย์อยู่มาก มฟล.จึงตั้งใจผลิตแพทย์ที่สามารถอยู่ได้ในชนบท ในเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ฉะนั้นในหลักสูตรจึงเน้นที่เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน แล้วยังจัดให้นักศึกษาได้เข้าพื้นที่ชุมชนชนบทหรือเมืองที่ห่างไกลให้มาก โดยเรี่มตั้งแต่ ปีแรกเลย
       
       เราปรึกษาหารือกันที่จะส่งนักศึกษาไปตามอำเภอต่างๆได้ประสานกับโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 9 แห่ง ให้ได้สัมผัสกับผู้คน หมู่บ้าน โรงเรียน วัด เพื่อให้นักศึกษาได้คุ้นเคยเป้นส่วนหนึ่งของชุมชน จากนั้นปีต่อไป ก็จะให้หมุนเวียนกันสัมผัสกับโรงพยาบาลชุมชนทุกปี ในหลักสูตรของเรามีจำนวนเครดิตในวิชาเกี่ยวกับเวชศาสตร์ชุมชน -ครอบครัวมากกว่าที่อื่น โดยทั่วไปแล้วนักศึกษาแพทย์จะเริ่มลงชุมชนกันตอนปี 4 แต่ที่ มฟล.จะให้เข้าไปตั้งแต่ปี 1
       
       พื้นที่ของเราอยู่ในตำแหน่งอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ใกล้ จีน พม่า ลาว กัมพูชา ทำให้มีประชาชนในกลุ่มนี้ข้ามชายแดนมาบ้าง มาอาศัย มาทำงาน ขณะเดียวกันก็มาเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชนตามชายแดน ซึ่งเป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว เราก็ใช้โอกาสนี้ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เนื่องจากต้องทำงานในโรงพยาบาลชุมชนดังกล่าวทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้โรคต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นโรคที่บางชนิดที่หายไปจากประเทศไทยแล้ว แต่ประเทศเพื่อนบ้านเรายังเป็นอยู่ ก็จะได้เรียนรู้ ได้มีประสบการณ์ที่นักศึกษาในภาคอื่นๆหรือมหาวิทยาลัยอื่นๆอาจจะไม่มีโอกาส”



       นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองที่บางช่วงเวลามีปัญหาเรื่องหมอกควัน ประชาชนในพื้นที่ก็จะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ในแนวที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น ทำให้นักศึกษาแพทย์ มฟล. มีโอกาสได้เรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นและคิดหาแนวทางการรับมือหรือแก้ไข สามารถดูแลชุมชนได้ ขณะเดียวกันก็ต้องหาแนวทางการทำงานวิจัยเพื่อหาทางป้องกันปัญหา อีกทั้งจังหวัดเชียงรายยังเป็นเมืองท่องเที่ยวก็จะมีโรคที่นักท่องเที่ยวพามาหรือโรคที่นักท่องเที่ยวมาติดที่นี่ นักศึกษาก็ยังมีโอกาสได้เรียนรู้ที่สมัยนี้เรียกว่า Travel medicine ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้เป็นอย่างดี
       
       คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ กล่าวว่า มฟล.ขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามแล้ว หลักสูตรของเรา การเรียนการสอนของเรามีความทันสมัย เพราะเราได้นำสิ่งใหม่ๆ ของโรงเรียนแพทย์ต่างๆ มาปรับเข้าด้วยกันแล้วยังเสริมเรื่องของความรู้ในท้องถิ่นและภูมิภาคเข้าไปด้วย



       


(ว่าที่) คุณหมอคนเก่ง

       "มฟล.ยังเน้นเรื่องภาษาอังกฤษและภาษาจีนให้ผู้ที่มาเรียนคณะแพทยศาสตร์ ที่ มฟล. จะได้รับการพัฒนาทักษะด้านภาษอังกฤษให้ดีขึ้น แลัวยังได้พัฒนาความรู้ด้านภาษาจีนให้เพียงพอต่อการติดต่อสือสารได้พอสมควร มีโอกาสสัมผัสกับนักศึกษาและอาจารย์ที่เป็นชาวต่างชาติ มีความเป็นนานาชาติมีโอกาสได้ใช้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน ส่วนความรู้ทางวิชาชีพ เรามีครูอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนนักศึกษาแพทย์มาเป็นอย่างดี
       
       ก็เชื่อได้ว่า นักศึกษาที่เรียนจบจะเป็นบัณฑิตแพทย์ที่ดีมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ สามารถที่จะสอบใบประกอบโรคศิลป์ของแพทยสภา และสามารถประกอบวิชาชีพ ไปจนถึงมีการศึกษาตต่อเนื่องในอนาคต และสามารถเป็นแพทย์ที่ดีไปตลอดชีวิตได้"
       
       สำหรับผู้สำเร็จการศึกษา "หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต" สามารถปฏิบัติหน้าที่แพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐ เอกชน และสถาบัน สำนัก หน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบอาชีพอิสระทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ศึกษาต่อระดับปริญญาโท เอก สาขาการแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง