เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย

ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย => เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง => ข้อความที่เริ่มโดย: Be fish aqua shop ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:07:13



หัวข้อ: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Be fish aqua shop ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:07:13
ตามนั้น เลย  สงสัยมานานแล้ว ทำไมหรอค่ะ ??
มันเป็นทั้งภาคเหนือเลยป่าวว


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Be fish aqua shop ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:10:09
ท่านใดรู้ช่วยชี้แนะด้วยย สงสัยตั้งแต่มาอยู่เชียงรายใหม่ๆๆแล้ว


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมร$
เริ่มหัวข้อโดย: Go Mi Nyu ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:13:58
ที่ภาคเหนือส่วนใหญ่เค้ามีสุสาน ป่าช้า ต่างหาก  ส่วนใหญ่อยู่ห่างจากหมู่บ้านออกไปเล็กน้อย
แต่งานศพไว้ที่วัดก็มีอยู่เฉพาะบางบ้านที่เค้าไม่มีบริเวณบ้าน ก็ไปไว้ที่วัด
แต่ก็ต้องนำศพไปสุสาน อืม เป็นวัฒนธรรมมีมาช้านานแล้วนะ เหตุผลจริงๆก็ไม่ทราบ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Be fish aqua shop ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:17:12
ที่ภาคเหนือส่วนใหญ่เค้ามีสุสาน ป่าช้า ต่างหาก  ส่วนใหญ่อยู่ห่างจากหมู่บ้านออกไปเล็กน้อย
แต่งานศพไว้ที่วัดก็มีอยู่เฉพาะบางบ้านที่เค้าไม่มีบริเวณบ้าน ก็ไปไว้ที่วัด

ปกติแล้ว คนเหนือนิยมตั้งศพไว้ที่บ้านหรอค่ะ งั้นก้แสดงว่าไม่ค่อยเก็บ เดือนนึง หรือ ร้อยวันประมาณนี้ใช่มั้ยค่ะ

แล้วเวลาผ่านบ้านที่มีงานศพ  ทำไมต้องทำปราสาท ที่เหมือนโก้งเต๊ก ของจีนด้วยอ่ะค่ะ สงสัยๆ







หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: >:l!ne-po!nt:< ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:28:23
ย้ายไปห้อง อู้กำเมือง เรื่องเล่าล้านนา ไหมครับรับร้องได้คำตอบดีๆแน่นอน เพราะจะมีกูรูมาตอบให้  ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Be fish aqua shop ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:31:59
ย้ายไปห้อง อู้กำเมือง เรื่องเล่าล้านนา ไหมครับรับร้องได้คำตอบดีๆแน่นอน เพราะจะมีกูรูมาตอบให้  ;D ;D ;D

ย้ายให้หน่อยได้ไหมค่ะ อิอิ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: updoon ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:34:10
ภาคเหนือมีป่าช้าแยกต่างหาก สถานที่ ก็แล้วแต่หมู่บ้าน ชุมชนจะอำนวย
บางที่ก็มี วัดกับป่าช้าติดกัน แต่ก็มีกำแพงวัดกั้น เช่น สุสานหนองเป็ด (หน้าพาคลับ)

การเก็บศพ 1 เืดือน-100 วัน นิยมเฉพาะเชื้อจ้าว หรือผู้มีสกุลดังๆ หรือผู้มีญาติอยู่ต่างประเทศ
เพื่อรอให้ญาติิมาทำบุญครบหน้าครบตา
คนธรรมดามักไม่นิยมทำ แต่จะเก็บเป็นเถ้ากระดูกมาบรรจุใส่เจดีย์(กู่)แทน

การทำปราสาท เป็นการสมมติและให้เกียรติผู้เสียชีวิต
ประมาณว่า ส่งผู้ตายให้ขึ้นสวรรค์ ให้ไปอยู่บนปราสาทเงิน ปราสาททอง
เป็นการทำดีครั้งสุดท้ายให้ผู้ตาย

ส่วนพิธีที่นิยมเอาศพมาไว้ที่บ้าน คงไม่อยากรบกวนวัด
เพราะมีการนอนเฝ้าศพทั้งคืน
(ตามด้วย การพนัน เลี้ยงสุราแก่คนมานอน )


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: >:l!ne-po!nt:< ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:36:01
ถ้าอยากรู้เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับล้านนา มาโพสถามห้องนี้ได้เลยครับ  ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Be fish aqua shop ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:38:01
เฮือนน้อย หรือว่า เฮือนตาน    มันคืออะไรหรอค่ะ
แล้วที่เค้าบอกกันว่า ตอนเคลื่อนย้ายศพ จะมีพิธีผ่าจ้าน รึอะไรสักอย่างนี่แหละ จำไม่ได้
คืออะไรหรออ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: >:l!ne-po!nt:< ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:41:08
ผ่าจ้าน มีสมาชิกเคยโพสไว้ละครับลองอ่านดู

http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=25050.0


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: GEN-Z ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:43:22
มีนะครับ มีเป็นบางวัดครับ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: CAMEO1995 ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:47:04
ประเพณีศพของภาคเหนือสมัยก่อน คนตายตามปกติ เช่้น หมดอายุขัย เจ็บป่วย จะนิยมจัดงานศพที่บ้าน แต่ถ้าตายโหง เช่นรถชนตาย ถูกยิงตาย จะจัดงานศพที่วัด ภาคเหนือจะมีสุสาน ของหมู่บ้านจะห่างจากชุมชน พอสมควร ดังนั้นภาคเหนือจึงไม่มีเมรุในวัด และความเชื่อ ศพของคนเฒ่าคนแก่ จะนิยมมีปราสาทและจะเผาไปพร้อมกับศพบนเชิงตะกอนซึ่งจะเผาในเมรุไม่ได้ วัดที่มีเมรุในเขตเทศบาลไม่มีเลยที่ทราบ จะมีแต่อยู่ใกล้วัด เช่น สุสานดงหนองเป็ดดูแลโดยเทศบาลนครเชียงราย และวัดฮ่องลี่ ของวัดฮ่องลี่ ก็ไม่ได้อยู่ในบริเวณวัดเมื่อภาคกลาง


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Be fish aqua shop ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 16:52:20
อ่อหรอค่ะ  แล้วมีพิธีเก็บกระดูก  พอเก็บเสร็จก็พาญาติ(คนที่ตาย) กลับบ้านไหมค่ะ
ที่เอากระดูไปเก็บไว้ที่บ้านอ่าค่ะ

แล้วที่เค้า ผ่าจ้าน คนที่ตายไป  นี่คือ กลัวคนที่ตายจะมาเอาชีวิตของคนที่ตนรักหรอค่ะ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมร$
เริ่มหัวข้อโดย: soonerorlater ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 18:13:04
ยินดีนัก ที่จขกท มีความสนใจในการเรียนรู้วัตนธรรมล้านนา มาอยู่แล้วสังเกตุ ตั้งคําถาม แปลว่าเป็นคนชอบใฝ่หาความรู้เข้าตัว อยากให้มีคนต่างถิ่นโดยเฉพาะคนที่มาจากภาคอื่นตั้งคําถามเยอะๆ
การที่มีป่าช้านอกหมู่บ้านเพราะเป็นสถานที่เผ่าศพ ไม่เป็นมงคลด้วย จะให้อยู่ในตัวหมูบ้านและชุมชนก็ยังไงอยู่  :D


เคยมีคนถามมาแล้ว คุณลองเข้าไปอ่านดูในลิงค์พวกนี้ดูนะ
http://board.dserver.org/L/LannaBoard/00000137.html
ทุกๆคําถามที่ จขกท มีอยู่ในลิงค์นี้หมดเลย อ่านดูเจ้า

http://www.lannacorner.net/lanna2011/article/article.php?type=A&ID=509
ความเป็นมา

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E8672843/E8672843.html
รูปภาพงานศพพระสงฆ์ชั้นสูง

http://www.chiangmai-thailand.net/prasart/prasart.htm
ปราสาทศพล้านนา

สำหรับรูปแบบของปราสาทที่ใช้ใส่พระศพของพระมหากษัตริย์,เชื้อพระวงศ์
และพระสงฆ์ หรือแม้แต่ ชาวบ้านธรรมดามีการกำหนดรูปแบบ    ที่ชัดเจนว่าชนชั้นใดสมควรจะใส่ปราสาทแบบใดซึ่งมีการกำหนดกันไว้ดังนี้
๑. พระมหากษัตริย์พระราชวงศ์ชั้นสูงและพระสงฆ์ สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ปราสาทที่มีลักษณะเป็นเรือนยอดหรือที่เรียกกันว่า ปราสาทหลังกูบและวางบนหลังสัตว์หิมพานต์ อีกทั้งอาจจะมียอดเกินกว่า ๑ ยอด

๒. เจ้านายชั้นรองลงมาพระสงฆ์-สามเณรโดยทั่ว ๆ ไป,ขุนนางและคหบดีสันนิษฐานว่าน่าจะใช้ ปราสาทหลังก๋าย,หลังเปียง,มุจรินทร์และกาโจง

๓. สำหรับชาวบ้านธรรมดาสามัญโดยทั่ว ๆ ไปในอดีตก็มักจะเป็นแมวครอบศพเฉย ๆ ปัจจุบันเป็นแบบปราสาทมียอดแต่ไม่ใหญ่โตเท่าพระสงฆ์

๑.ปราสาทหลังกูบ,หลังโก่ง เป็นปราสาทเรือนยอดขนาดใหญ่ปราสาทในลักษณะเช่นนี้จะใช้กับพระมหากษัตริย์ พระ ราชวงศ์ชั้นสูงหรือกับพระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์และเป็นที่นับถือของคนทั่วไป สำหรับปราสาทหลังกูบนั้นมีทั้งที่วางไว้บนหลังของสัตว์หิมพานต์เช่น ช้าง,นกหัสดีลิงค์ หรือจะเป็นแต่ปราสาทล้วน ๆ ก็ได้ ส่วนคำว่าที่หลังกูบนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากลักษณะส่วนของหลังคาปราสาท ที่มีลักษณะเป็นมณฑปดังที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในล้านนาเช่น เจดีย์วัดโลกโมลี เจดีย์ที่บรรจุพระอัฏฐิของพระเจ้าติโลกราชที่วัดเจ็ดยอด หรือมณฑปที่บรรจุธาตุจอมทอง วัดพระธาตุจอมทองหรือทรงหลังคาธรรมาสน์เทศนาธรรมของพระสงฆ์
ที่มีอยู่ในล้าน นาแต่โบราณ ซึ่งแต่เดิมอาจจะเป็นเพียงหลังคาธรรมดาต่อมาอาจมีการต่อเติมส่วนยอดขึ้นไป โดยมีการใส่องค์ประกอบต่าง ๆ เข้าไปเช่น บันแถลง (โขงปิ๋ว),นาคปัก หรือบางแห่งอาจทำเป็นชุ้มหลังคาเล็ก ๆ ซึ่งเป็นการวางอยู่ลอย ๆ ต่อมาก็พัฒนามาเป็นหลังคาที่ยืนต่อออกมาจากหลังคาใหญ่แล้วก็ต่อยอดให้สูง ขึ้นไปเลยเรียกกันว่า ปราสาทหลังกูบหรือบางแห่งอาจจะเรียกว่า ปราสาทหลังโก่งหรือกาโจง ตามลักษณะที่เห็นสันนิษฐานกันว่า ปราสาทรูปแบบเช่นนี้อาจเป็นต้นแบบของปราสาทศพในสมัยโบราณแล้วก็เป็นปราสาท ที่เป็นแบบเฉพาะของล้านนาเอง ปัจจุบันจะพบเห็นปราสาทลักษณะเช่นนี้ตามวัดโบราณต่าง ๆ ที่อยู่ในล้านนาในรูปแบบของธรรมาสน์เทศนาธรรมของพระสงฆ์ ซึ่งสมมติกันว่าเป็นปราสาทที่มีลักษณะของวิมานของเทวดาบนสวรรค์ ปราสาทในลักษณะเช่นนี้ปัจจุบันหาดูได้ยากยิ่ง

๒.ปราสาทหลังก๋าย,หลังเปียง,ปากบาน,กาโจง และ มุจรินทร์ เป็นปราสาทที่มีขนาดไม่ใหญ่โตเท่าปราสาทหลังกูบ รูปร่างลักษณะเป็นปราสาทที่กล่าวมามีลักษณะที่แตกต่างพอแบ่งแยกกันได้ดังที่ หนังสือประเพณีชีวิตคนเมืองได้อธิบายไว้ดังนี้...”กาโจงมีแต่หลังคาไม่มี จั่ว มีเสา ๖ ต้น หรือเป็นไม้แบบ “มุจลิน”หรือ“หลังกลาย” มีจั่ว ๔ จั่ว แต่ละจั่วมีชั้นเดียว มีเสาอย่างมากไม่เกิน ๘ ต้น อีกแบบหนึ่งคือแบบ “อาสนา” มีเสา ๖ ต้น ข้างบนเป็นปากกระบาน ไม่มีหลังคา ไม่มียอด… ปราสาทที่กล่าวมานี้ใช้กับศพบุคคลที่เป็นขุนนาง,พระสงฆ์ธรรมดารวมไปถึงคหบดี ดังปรากฏในหนังสือขึดข้อห้ามในล้านนาว่า...ภิกขุและสามเณรก็ดี หากไปเสี้ยงอายุสังขารเสียยังบ้านยังเฮือนป้อแม่สันนั้น อันว่าก๊อง ก๋องก็บ่กวรหื้อเข้าไปตี๋ในบ้านตี้นั้นแล เครื่องครัวอันแต่งส่งสะก๋ารนั้นกวรแต่งต๋ามฮีตภิกขุและสามเณรนั้นจุ๊ประก๋า ร ยามเมื่อเวียกสร้างนั้นก๊องก๋องก็บ่กวรตี๋แล ส่วนว่าภิกขุสามเณรนั้นเต้ากวรทรงห่มยังคือว่า ปราสาทหลังเปียงนั้นแล ส่วนว่าก๊องก๋องนั้นกวรหื้ออยู่หนตางก่อนหน้าแล้วตี๋ไปแล บ่กวรตี๊ยังตี้ออกไปแล

๓.แมว
คือสิ่งที่ใช้ปกปิดสิ่งที่อยู่ภายใน โดยเอาโครงไม้สานครอบศพ คล้ายๆ มุ้งประทุนครอบเด็ก หรือคล้าย ๆ เต้นท์พักแรมในปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อปกปิดศพไม่ให้ดูอุดจาดตา แต่ว่าสมัยโบราณนั้นแมวนั้นถูกสร้างขึ้นด้วยโครงไม้ไผ่แล้วนำกระดาษมาติดโดย รอบเพื่อให้ดูสวยงาม บางครั้งก็ทำด้วยไม้เนื้อแข็งแล้วมีการแกะสลักหรือลงรักปิดทองประดับกระจก แมวที่มีลักษณะเช่นนี้สำหรับเอาไว้ครอบศพพระมหากษัตริย์พระราชวงศ์ พระสงฆ์และขุนนางที่เก็บไว้นาน ๆ ได้รับคำอธิบายจากครูบอยว่า..แมวนั้นเป็นสิ่งที่น่าจะมีมาก่อนโลงศพเพราะว่า คนตายสมัยก่อนนั้นมิได้ใส่โลงเป็นแต่เพียงนำเอาเสื่อมาพัดแล้วก็หามไปเผา หรือฝังตามแต่ประเพณี ต่อมาเริ่มมีการพัฒนาเป็นโลงศพขึ้นมาแต่แมวก็ยังมีบทบาทอยู่โดยปรับปรุงให้
เหมาะซึ่งสมัยต่อๆมาแมวควบศพจากที่มีแต่เพียงหลังคาก็พัฒนาขึ้นโดยการ
เพิ่มเสาเพิ่มฐานเข้าไป เรียกกันใหม่ว่าแมวมีเสาซึ่งเสานั้นโดยมากจะมี ๔,๖ เสา แมวนั้นสามารถใช้กับคนทุกระดับชั้นเพราะเป็นสิ่งเบื้องต้นที่ศพทุกศพจำเป็น ต้องใช้ก่อนที่จะนำศพไปใส่ปราสาทหรือนำไปเผาหรือฝัง สำหรับแมวที่ใส่ศพของบุคคลระดับต่างๆ ความวิจิตรประณีตย่อมแตกต่างกันตามฐานะ ดังปรากฏในหนังสือประเพณีชีวิตคนเมือง ของศรีเลา เกษรพรหมว่า...

บทบัญญัติเรื่อง “จารีตเมืองเชียงใหม่” ที่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ของเวียงเชียงใหม่และเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่คือ เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ได้ร่วมกันบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐/A.D.1857 กล่าวถึงเรื่องการทำไม้ศพว่า “อนึ่งไพร่ผู้น้อยยังมีสมศักดิ์นามศักดิ์จักกระทำส่งสการแปลงมุจลินทร์ก็หื้อ เป็นมุจลินทร์แท้ แปลงหลังกลายก็หื้อแปลงหลังกลายแท้ จักแปลงปราสาทก็หื้อแปลงปราสาทแท้ อย่าได้แหม่ใหม่ใส่แถมอีกแอมแกมใส่เป็นอย่างใหม่หลายประการ อย่าผิดโบราณจารีต...ไม่เพียงแต่การระบุถึงปราสาทเท่านั้นแม้แต่รายละเอียด ของการใช้ฟืนเผาศพก็มีการบอกไว้อย่างชัดเจนว่าชนชั้นใดต้องใช้ไม้เช่นใดใน การเผาซึ่งปรากฏในหนังสือขึด ข้อห้ามในล้านนากล่าวไว้ว่า...หลัวส่งสะก๋ารฝูงไพร่น้อยมี ไม้สัก ไม้ขาม ไม้ตึง ไม้ข่อย ไม้งิ้ว ไม้เส้า ไม้รัง ไม้ภิมานขาว ไม้ซะเคียน ไม้หลับมืนหลวง ไม้ขระตัน ไม้เหมือด ไม้มูก ไม้เสี้ยว ตังหลายฝูงนี้อันกวรแต่ต๊าวพญามหากษัตราตังหลายนั้นคือ ไม้สารภี ไม้สัก ไม้จั๋นทน์แดง ไม้จ้อง ตังหลายฝูงนี้กวรส่งสะก๋ารผู้ใหญ่แล อันบ่กวรส่งสะก๋านนั้นคือ ไม้กว๋าว ไม้ขี้แป๊ะ ไม้ส้อน ไม้เกลื๋อ ไม้หมาก ไม้ริด ไม้สะเลียม ไม้นามขาวหลวง ไม้มูกมัน ไม้เดื่อ ไม้ตังหลายฝูงนี้บ่กวรเอาเป็นหลัว (มูลโลกหลวง วัดศรีโพธาราม น.๒๘)..

อีกประการหนึ่งนั้นศพทุกศพที่เป็นคนธรรมดาสามัญหามมิให้ลากเป็นอันขาดและ ห้ามมีการบรรเลงดนตรี ดังปรากฏในหนังสือประเพณีชีวิตคนเมืองว่า...ศพคนสามัญนี้ต้องใช้หามไปจะลาก ชักไปไม่ได้ถือว่าขึด การหามใช้คนจำนวนตั้งแต่ ๘ คนขึ้น จะมีเครื่องดนตรีแห่แหนไม่ได้..หรือหากว่าจะแห่ต้องเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น และห้ามนำเอาเครื่องดนตรีไปแห่ในบ้านอย่างเช่นกรณีพระภิกษุไปมรณภาพในบ้านจะ แห่ในบ้านไม่ได้เด็ดขาดต้องอยู่นอกรั้วบ้านแห่เท่านั้น

สำหรับศพของชาวบ้านธรรมดาสามัญทั่วไปจะต้องเป็นไปตามจารีตที่ได้กำหนดไว้และ ทุกคนต้องปฏิบัติตามนั้นโดยที่ทุกคนเข้าใจว่าหากฝ่าฝืนก็อาจจะเกิดโทษเกิด ภัยแก่บุคคลในครอบครัวรวมไปถึงบรรดาญาติมิตรหรือแม้แต่หมู่บ้านชุมชนตลอดถึง บ้านเมืองซึ่งเรียกกันจนติดปากว่า “ขึด”

“ นกหัสดีลิงค์ พาหนะสู่สวรรค์ ” ประเพณีลากปราสาท ล้านนา

จากพงศาวดารโยนก ตอนหนึ่ง จุลศักราช ๙๔๐ ปีขาล สัมฤทธิศก เดือนอ้าย
ขึ้น ๑๒ ค่ำ ...นางพญาวิสุทธิเทวี ... ต๋นนั่งเมืองนครพิงค์ ... ถึงสวรรคต พญาแสนหลวงจึงแต่งการพระศพ ... ทำเป๋นวิมานบุษบกตั้งอยู่บนหลัง ... นกหัสดินทร์ตั๋วใหญ่ ... แล้วฉุดลากไปด้วยแฮงจ๊างคชสาร ...จาวบ้าน จาวเมืองเดินตวยก้น ... เจาะก่ำแปงเมืองออกไปตางต่งวัดโลกโมฬี ... และทำก๋ารถวายพระเพลิง ณ ตี้นั้น ... เผาตึงฮูปนก หัสดีลิงค์ และผาสาทแก้ววิมานคำนั้นตวย...

การลากศพนั้น ... นิยมแก่เจ้านายในแผ่นดินล้านนา เจ้าผู้ครองนคร ... เจ้านายบุตรหลาน ... พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ แก่พรรษาที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ และ ทุกผู้ทุกนามในล้านนาที่ถึงแก่วางวาย

ในที่นี้จะเสนอเรื่องราวการส่งสการพระสงฆ์ในล้านนา ที่ถึงแก่มรณภาพ

เมื่อพระสงฆ์ถึงแก่มรณภาพ จะจัดศพอย่างสมเกียรติ คือทำ ปราสาท ใสโลงศพ วางบนบุษบก ทำเป็นเรือนยอดและตั้งบนหลังนกหัสดีลิงค์ ทำแม่เรือวางปราสาทสำหรับลากไปสู่สุสาน ในวันทำศพคนจะมากันมากมาย เพราะถือว่าเป็นบุญกุศลอย่างสำคัญ

นกหัสดีลิงค์ เป็นนกใหญ่ตัวโตเท่าช้าง เรียก ชื่อตามเจ้าของภาษาว่า หัตถิลิงคะสะกุโณ เรียกตามภาษาของเราว่า นกหัสดีลิงค์ ตามประวัติศาสตร์ล้านนาที่เล่าขานต่อกันมาว่า นกหัสดีลิงค์เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ที่มีความพิเศษคือมีเพศเพียงดั่งช้าง เป็นนกที่มีหัวเป็นช้าง มีหางเป็นหงส์ มีพละกำลังดั่งช้างเอราวัณ ๓-๕ เชือกรวมกัน ซึ่งเป็นสัตว์คู่บารมีของกษัตรา เจ้าเมืองผู้มีอำนาจบารมีสูง

โดยความเชื่อของชาวล้านนามาแต่อดีตกาล นิยมสร้างปราสาทนกหัสดีลิงค์เพื่อบรรจุศพของกษัตริย์เจ้านายฝ่ายเหนือ รวมถึงพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่มรณภาพลง เพื่อให้พิธีศพมีความสง่างาม สมฐานะบารมี และเป็นการส่งดวงวิญญาณไปสู่ชาติสรวงสวรรค์ชั้นพรหมโลก เทวโลก แต่ในปัจจุบันปราสาทนกหัสดีลิงค์นิยมใช้ในพิธีศพของพระเถระชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น

โดยรูปลักษณะของตัวนกหัสดีลิงค์นั้น มีรูปร่างโครงสร้างส่วนหัวและลำตัวทำจากโครงไม้ ตัดแต่งกระดาษเป็นลวดลายทำเป็นเกล็ด ส่วนหัวช้าง มีความพิเศษของการเคลื่อนไหวไปมาได้ โดยชิ้นส่วนคอและหัวต้องเคลื่อนไหวหมุนไปมาได้ ใบหู สามารถพับกระพือได้ ส่วนงวงทำจากผ้าเย็บเป็นทรงกระบอก เลียนแบบงวงช้าง มีเชื้อกร้อยอยู่ด้านในสำหรับดึง เคลื่อนไหวได้ ดวงตา ต้องมีลักษณะกลมมน ขนตายาวสวย กะพริบได้ เหมือนมีชีวิตจริงๆ

ส่วนหางทำจากเสื่อไม้ไผ่ ตัดเป็นรูปหางหงส์ มีลวดลายสวยงาม โดยส่วนนี้จะติดตั้งคนละส่วนกับลำตัว มีกลไกใช้เชือกชักให้เคลื่อนไหวได้

ด้านหน้ามีขันเล็กๆ บรรจุข้าวตอกไว้ เพื่อโปรย ลักษณะเหมือนช้างใช้งวงโปรยข้าวตอกเพื่อเป็นสิริมงคล

การลากต้องใช้เชือกเส้นโต ๆ หลายเส้นขนานกันไป ถ้าศพเจ้าเมืองหรือพระเถระผู้ใหญ่จะมีคนมาลาก เป็นหมื่น ๆ ทีเดียว ชักลากไปยังป่าช้า

ภูมิปัญญาล้านนา ด้านล่างของปราสาท ไม่มีล้อและกลไกขับเคลื่อน ใช้วิธีแบบโบราณล้านนา คือการ ใช้ต้นมะพร้าวสองต้น เป็นส่วนฐาน ลาก แทนล้อรถในการขับเคลื่อน

การบังคับการเลี้ยว ทำได้โดยใช้แรงคน และไม้พลองในการงัด ต้นมะพร้าว ให้ไปตามทิศทางเลี้ยวซ้ายและขวาซึ่งทำได้ลำบากมาก เป็นการแสดงความร่วมมือร่วมใชของ วิถีชาวบ้านอย่างแท้จริง

บริเวณส่วนยอดของปราสาท จะมียอดปราสาท ฉัตร ๙ ชั้น ซึ่งถือเป็นเครื่องประดับ ตามสมณศักดิ์ของพระเถระที่มรณภาพรูปนั้นๆ โดยเป็นไปตามความเชื่อโบราณของชาวล้านนา

โดย ๓ ชั้นแรก หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นที่ ๕ หมายถึง พระเจ้า ๕ พระองค์ ได้แก่ พระกะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโม อริยเมตเตยโย

ส่วนชั้นที่ ๗ หมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ สังวิทา ปุกะยะปะ และ ชั้นที่ ๙ หมายถึง พระนวโลกุตรธรรม เจ้าเก้าประการ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ และ นิพพาน ๑

ทั้งนี้รอบปราสาททั้ง ๔ ทิศ จะมีเพดานที่ทำจากเสาไม้ไผ่สูง และขึงด้วยผ้าสังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) ของครูบาผัด เปรียบแทนศีลของพระสงฆ์ ที่เรียกว่า "จตุปริสุทธศีล"

โดยเสาทั้ง ๔ ต้น เปรียบเป็นศีล ๔ ข้อ ได้แก่
๑.ปาติโมกข์สังวร ๒.อินทรียสังวร ๓.อาชีวะปริสุทธศีล และ ๔.ปัจจัยสัจนิจศีล

สำหรับฟืนที่จะใช้ในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพนั้น เลือกไม้มงคล ๗ ชนิด มาประกอบพิธี ตามหลักอภิธรรม ได้แก่ ๑.ไม้ดอกแก้ว ๒.ไม้ขนุน ๓.ไม้จำปา ๔.ไม้จำปี ๕.ไม้ตุ้มคำ (ไม้มงคลท้องถิ่น) ๖.ไม้จันทน์ และ ๗.ไม้กฤษณา

ถ้ายอดปราสาทมี ๕ ชั้น คือ ฉัตรเบญจา ๕ ชั้น เป็Ũ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Be fish aqua shop ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 20:37:53
กระจ่างมากค่ะ ขอบคุณมากๆ
แล้วเวลาเคลื่อนย้ายศพ ที่ ทำเป็นงานใหญ่เลยหรอค่ะ
แบบค่ะ   ต้องขอตำรวจปิดถนน อะไรแบบนี้ จากที่เคยเห็นมา

ซึ่งแตกต่างกับภาคกลาง คือ จะเอาศพใส่โลง และขึ้นรถกะบะไป


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมร$
เริ่มหัวข้อโดย: soonerorlater ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 21:07:51
กระจ่างมากค่ะ ขอบคุณมากๆ
แล้วเวลาเคลื่อนย้ายศพ ที่ ทำเป็นงานใหญ่เลยหรอค่ะ
แบบค่ะ   ต้องขอตำรวจปิดถนน อะไรแบบนี้ จากที่เคยเห็นมา

ซึ่งแตกต่างกับภาคกลาง คือ จะเอาศพใส่โลง และขึ้นรถกะบะไป

งานศพงานใหญ่มาก ผู้คนต้องมาช่วยกัน ถ้าสังเกตุจะเห็นว่ามีการจ่ายสังคมหมู่บ้านไรเรี่ยทุกๆครั้งที่มีงานศพ เงินนี้จะเป็นกองทุนให้ญาติจัดงานเจ้า ชาวบ้านก็จะมาช่วยกันด้วย เป็นงานสังคมจริงๆ ไม่ทราบว่าภาคอื่นจะเป็นเหมือนกันไหม
ขนโลงปราสาทก็แล้วแต่เจ้าภาพจะเลือก บางเจ้าก็ใช้รถสิบล้อ(ขนาดเล็ก) บางเจ้าก็กระบะที่ตกแต่ง บางเจ้าก็ใช้วัสดุแท่นเหล็กลาก ใช้กําลังญาติพี่น้องลากอีกที

การเคลื่อนปราสาท ถ้าเป็นแบบพระสงฆ์ในการลากปราสาทนกหัสดิลิงค์ คงต้องมีการปิดถนน
แต่ไม่เคยไปรวมงานศพแบบนี้ ส่วนมากที่เคยไปตามหมู่บ้านก็จะมักไม่ปิดเพราะถ้าไม่ใช้ถนนเส้นใหญ่ ก็ไม่มีปัญหาในการโยกย้ายขบวนงานศพไปป่าช้า

จะจุงลากกันไปเป็นขบวนเลย
ศพชาวบ้านธรรมดาก็หน้าตาแบบในคลิปนี้
http://www.youtube.com/watch?v=b6pZpmJOG0Q&feature=related

ในตัวเมืองก็จะมีคนยืนกั้นตามแยก อาจไม่ต้องถึงกับให้ตํารวจมาปิดถนนนะ
ดูในนี้จะเห็นชัดเจน
http://www.youtube.com/watch?v=GXeqL-u7dks&feature=related

แบบยาวๆและระเอียดทุกๆขั้นตอนต้องชมที่คลิปนี้
http://www.youtube.com/watch?v=RHQl7S0-hhM&feature=related



หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมร$
เริ่มหัวข้อโดย: soonerorlater ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 21:31:09
ส่วนมากจะใช้แรงมนุยษ์ อาจจะเพราะว่าการลากโลงคือการใด้บุญด้วย
ตัวอย่างงานศพของพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ :)
นําศพขึ้นปราสาท แนนําให้ดูเพราะงานแบบนี้มีให้เห็นไม่บ่อย
http://www.youtube.com/watch?v=_dJnZmP5KnY&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=jlNipS3UxHY&feature=related

ชอบตอนที่เขาโยนเหรียญที่ห่อกระดาษสีมากเลย ตอนเป็นเด็กรู้ึสึกว่างานแบบนี้ไม่ใช่แค่เศร้าอย่างเดียว
แต่เป็นงานที่คนมารวมกัน สืบวัตนธรรมรวมกัน รู้สึกว่าดี  ;D

อย่าลืมเปิดเยี่ยมชมเวบนี้ ซึงมีข้อมูลมากมายและรูปต่างๆน่าสนใจ
http://www.songsakarn.com/


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 22:56:37
ฮีตคนล้านนาเปิ้นบ่ฮื้อเผาศพในวัดกาว่าในกำแปงเมืองเน้อครับ
เปิ้นจะแป๋งป่าเหี้ยวต่างหากในทิศกาลกิณีเมือง
บ่ใจ่ก้าเจียงฮาย เมืองอื่นๆบนแผ่นดินล้านนาก็เป๋นจาอี้ครับ

ของเจียงฮาย หามศพออกปะตู๋เมืองจื่อ "ปะตู๋ผี" ไปป่าเหี้ยวเด่นห้า
เจียงใหม่ ออกประตู๋สวนปรุง ผ่านปะตู๋หายยา ไปป่าเหี้ยวหายยา
เมืองหละปูน ออกปะตู๋ลี้
ลำปางออกปะตู๋ม้า ไปป่าเหี้ยวไตรรัตน์
แป้ ออกปะตู๋มาร


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: ⒷⒼ* ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 22:59:24
ฮีตคนล้านนาเปิ้นบ่ฮื้อเผาศพในวัดกาว่าในกำแปงเมืองเน้อครับ
เปิ้นจะแป๋งป่าเหี้ยวต่างหากในทิศกาลกิณีเมือง
บ่ใจ่ก้าเจียงฮาย เมืองอื่นๆบนแผ่นดินล้านนาก็เป๋นจาอี้ครับ

ของเจียงฮาย หาศพออกปะตู๋เมืองจื่อ "ปะตู๋ผี" ไปป่าเหี้ยวเด่นห้า
เจียงใหม่ ออกประตู๋สวนปรุง ผ่านปะตู๋หายยา ไปป่าเหี้ยวหายยา
เมืองหละปูน ออกปะตู๋ลี้
ลำปางออกปะตู๋ม้า ไปป่าเหี้ยวไตรรัตน์
แป้ ออกปะตู๋มาร

สุดยอดความรู้จริงๆ อย่างนี้บ้านผมก็ใกล้ประตูผีกะ :o


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: เชียงรายพันธุ์แท้ ที่ วันที่ 09 กรกฎาคม 2011, 23:24:43
ฮีตคนล้านนาเปิ้นบ่ฮื้อเผาศพในวัดกาว่าในกำแปงเมืองเน้อครับ
เปิ้นจะแป๋งป่าเหี้ยวต่างหากในทิศกาลกิณีเมือง
บ่ใจ่ก้าเจียงฮาย เมืองอื่นๆบนแผ่นดินล้านนาก็เป๋นจาอี้ครับ

ของเจียงฮาย หามศพออกปะตู๋เมืองจื่อ "ปะตู๋ผี" ไปป่าเหี้ยวเด่นห้า
เจียงใหม่ ออกประตู๋สวนปรุง ผ่านปะตู๋หายยา ไปป่าเหี้ยวหายยา
เมืองหละปูน ออกปะตู๋ลี้
ลำปางออกปะตู๋ม้า ไปป่าเหี้ยวไตรรัตน์
แป้ ออกปะตู๋มาร

สุดยอดความรู้จริงๆ อย่างนี้บ้านผมก็ใกล้ประตูผีกะ :o

มีบ่กี่เตื้อตี้คนล้านนาจะเผาศพในวัดในเวียง
เซิ่งจะเป๋นก๋านเผาแบบชั่วคราว คือ เป๋นคนๆไป (มักเป๋นคนสำคัญ)
จะบ่มีก๋านก่อเมรุ

ส่วนเรื่องปะตู๋เมือง
ขัวปะตู๋เจียงใหม่ เป๋นปะตู๋เมืองจื่อ "ปะตู๋เจียงใหม่"
ส่วนประตู๋ผีอยู่ตี้ "คอนโด..." หั้นน่อ ข้างๆคอนโดยังหันคันดิน แนวกำแปงเมืองอยู่
เถิงปะตู๋เจียงใหม่กับประตู๋ผี จะไปป่าเหี้ยวเด่นห้าได้เหมือนกั๋น
แต่คนบ่าเก่าตะก่อนปู้นเปิ้นจะลากศพออกตาง "ปะตู๋ผี" ตางเดียวครับ
ส่วนไผจะไปเจียงใหม่ใจ้ได้ตึง 2 ปะตู๋น่อ

อ้อ เพิ่มเติมครับ
เมืองน่านหามศพออก "ปะตู๋ท่าลี่"


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: >:l!ne-po!nt:< ที่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2011, 00:05:20
แน่นปึ๊ก บางอย่งผมกะลังฮู้เนี่ยะครับ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Ck 401 ที่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2011, 07:05:27
ขอบคุณ จขกท ที่เปิดประเด็น และทุกข้อมูลจากเพื่อนสมาชิกครับ ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมร$
เริ่มหัวข้อโดย: CAMEO1995 ที่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2011, 12:59:15
ยินดีนัก ที่จขกท มีความสนใจในการเรียนรู้วัตนธรรมล้านนา มาอยู่แล้วสังเกตุ ตั้งคําถาม แปลว่าเป็นคนชอบใฝ่หาความรู้เข้าตัว อยากให้มีคนต่างถิ่นโดยเฉพาะคนที่มาจากภาคอื่นตั้งคําถามเยอะๆ
การที่มีป่าช้านอกหมู่บ้านเพราะเป็นสถานที่เผ่าศพ ไม่เป็นมงคลด้วย จะให้อยู่ในตัวหมูบ้านและชุมชนก็ยังไงอยู่  :D


เคยมีคนถามมาแล้ว คุณลองเข้าไปอ่านดูในลิงค์พวกนี้ดูนะ
http://board.dserver.org/L/LannaBoard/00000137.html
ทุกๆคําถามที่ จขกท มีอยู่ในลิงค์นี้หมดเลย อ่านดูเจ้า

http://www.lannacorner.net/lanna2011/article/article.php?type=A&ID=509
ความเป็นมา

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E8672843/E8672843.html
รูปภาพงานศพพระสงฆ์ชั้นสูง

ปราสาทศพล้านนา

สำหรับรูปแบบของปราสาทที่ใช้ใส่พระศพของพระมหากษัตริย์,เชื้อพระวงศ์
และพระสงฆ์ หรือแม้แต่ ชาวบ้านธรรมดามีการกำหนดรูปแบบ    ที่ชัดเจนว่าชนชั้นใดสมควรจะใส่ปราสาทแบบใดซึ่งมีการกำหนดกันไว้ดังนี้
๑. พระมหากษัตริย์พระราชวงศ์ชั้นสูงและพระสงฆ์ สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ปราสาทที่มีลักษณะเป็นเรือนยอดหรือที่เรียกกันว่า ปราสาทหลังกูบและวางบนหลังสัตว์หิมพานต์ อีกทั้งอาจจะมียอดเกินกว่า ๑ ยอด

๒. เจ้านายชั้นรองลงมาพระสงฆ์-สามเณรโดยทั่ว ๆ ไป,ขุนนางและคหบดีสันนิษฐานว่าน่าจะใช้ ปราสาทหลังก๋าย,หลังเปียง,มุจรินทร์และกาโจง

๓. สำหรับชาวบ้านธรรมดาสามัญโดยทั่ว ๆ ไปในอดีตก็มักจะเป็นแมวครอบศพเฉย ๆ ปัจจุบันเป็นแบบปราสาทมียอดแต่ไม่ใหญ่โตเท่าพระสงฆ์



๑.ปราสาทหลังกูบ,หลังโก่ง เป็นปราสาทเรือนยอดขนาดใหญ่ปราสาทในลักษณะเช่นนี้จะใช้กับพระมหากษัตริย์ พระ ราชวงศ์ชั้นสูงหรือกับพระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์และเป็นที่นับถือของคนทั่วไป สำหรับปราสาทหลังกูบนั้นมีทั้งที่วางไว้บนหลังของสัตว์หิมพานต์เช่น ช้าง,นกหัสดีลิงค์ หรือจะเป็นแต่ปราสาทล้วน ๆ ก็ได้ ส่วนคำว่าที่หลังกูบนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากลักษณะส่วนของหลังคาปราสาท ที่มีลักษณะเป็นมณฑปดังที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในล้านนาเช่น เจดีย์วัดโลกโมลี เจดีย์ที่บรรจุพระอัฏฐิของพระเจ้าติโลกราชที่วัดเจ็ดยอด หรือมณฑปที่บรรจุธาตุจอมทอง วัดพระธาตุจอมทองหรือทรงหลังคาธรรมาสน์เทศนาธรรมของพระสงฆ์
ที่มีอยู่ในล้าน นาแต่โบราณ ซึ่งแต่เดิมอาจจะเป็นเพียงหลังคาธรรมดาต่อมาอาจมีการต่อเติมส่วนยอดขึ้นไป โดยมีการใส่องค์ประกอบต่าง ๆ เข้าไปเช่น บันแถลง (โขงปิ๋ว),นาคปัก หรือบางแห่งอาจทำเป็นชุ้มหลังคาเล็ก ๆ ซึ่งเป็นการวางอยู่ลอย ๆ ต่อมาก็พัฒนามาเป็นหลังคาที่ยืนต่อออกมาจากหลังคาใหญ่แล้วก็ต่อยอดให้สูง ขึ้นไปเลยเรียกกันว่า ปราสาทหลังกูบหรือบางแห่งอาจจะเรียกว่า ปราสาทหลังโก่งหรือกาโจง ตามลักษณะที่เห็นสันนิษฐานกันว่า ปราสาทรูปแบบเช่นนี้อาจเป็นต้นแบบของปราสาทศพในสมัยโบราณแล้วก็เป็นปราสาท ที่เป็นแบบเฉพาะของล้านนาเอง ปัจจุบันจะพบเห็นปราสาทลักษณะเช่นนี้ตามวัดโบราณต่าง ๆ ที่อยู่ในล้านนาในรูปแบบของธรรมาสน์เทศนาธรรมของพระสงฆ์ ซึ่งสมมติกันว่าเป็นปราสาทที่มีลักษณะของวิมานของเทวดาบนสวรรค์ ปราสาทในลักษณะเช่นนี้ปัจจุบันหาดูได้ยากยิ่ง

๒.ปราสาทหลังก๋าย,หลังเปียง,ปากบาน,กาโจง และ มุจรินทร์ เป็นปราสาทที่มีขนาดไม่ใหญ่โตเท่าปราสาทหลังกูบ รูปร่างลักษณะเป็นปราสาทที่กล่าวมามีลักษณะที่แตกต่างพอแบ่งแยกกันได้ดังที่ หนังสือประเพณีชีวิตคนเมืองได้อธิบายไว้ดังนี้...”กาโจงมีแต่หลังคาไม่มี จั่ว มีเสา ๖ ต้น หรือเป็นไม้แบบ “มุจลิน”หรือ“หลังกลาย” มีจั่ว ๔ จั่ว แต่ละจั่วมีชั้นเดียว มีเสาอย่างมากไม่เกิน ๘ ต้น อีกแบบหนึ่งคือแบบ “อาสนา” มีเสา ๖ ต้น ข้างบนเป็นปากกระบาน ไม่มีหลังคา ไม่มียอด… ปราสาทที่กล่าวมานี้ใช้กับศพบุคคลที่เป็นขุนนาง,พระสงฆ์ธรรมดารวมไปถึงคหบดี ดังปรากฏในหนังสือขึดข้อห้ามในล้านนาว่า...ภิกขุและสามเณรก็ดี หากไปเสี้ยงอายุสังขารเสียยังบ้านยังเฮือนป้อแม่สันนั้น อันว่าก๊อง ก๋องก็บ่กวรหื้อเข้าไปตี๋ในบ้านตี้นั้นแล เครื่องครัวอันแต่งส่งสะก๋ารนั้นกวรแต่งต๋ามฮีตภิกขุและสามเณรนั้นจุ๊ประก๋า ร ยามเมื่อเวียกสร้างนั้นก๊องก๋องก็บ่กวรตี๋แล ส่วนว่าภิกขุสามเณรนั้นเต้ากวรทรงห่มยังคือว่า ปราสาทหลังเปียงนั้นแล ส่วนว่าก๊องก๋องนั้นกวรหื้ออยู่หนตางก่อนหน้าแล้วตี๋ไปแล บ่กวรตี๊ยังตี้ออกไปแล

๓.แมว
คือสิ่งที่ใช้ปกปิดสิ่งที่อยู่ภายใน โดยเอาโครงไม้สานครอบศพ คล้ายๆ มุ้งประทุนครอบเด็ก หรือคล้าย ๆ เต้นท์พักแรมในปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อปกปิดศพไม่ให้ดูอุดจาดตา แต่ว่าสมัยโบราณนั้นแมวนั้นถูกสร้างขึ้นด้วยโครงไม้ไผ่แล้วนำกระดาษมาติดโดย รอบเพื่อให้ดูสวยงาม บางครั้งก็ทำด้วยไม้เนื้อแข็งแล้วมีการแกะสลักหรือลงรักปิดทองประดับกระจก แมวที่มีลักษณะเช่นนี้สำหรับเอาไว้ครอบศพพระมหากษัตริย์พระราชวงศ์ พระสงฆ์และขุนนางที่เก็บไว้นาน ๆ ได้รับคำอธิบายจากครูบอยว่า..แมวนั้นเป็นสิ่งที่น่าจะมีมาก่อนโลงศพเพราะว่า คนตายสมัยก่อนนั้นมิได้ใส่โลงเป็นแต่เพียงนำเอาเสื่อมาพัดแล้วก็หามไปเผา หรือฝังตามแต่ประเพณี ต่อมาเริ่มมีการพัฒนาเป็นโลงศพขึ้นมาแต่แมวก็ยังมีบทบาทอยู่โดยปรับปรุงให้
เหมาะซึ่งสมัยต่อๆมาแมวควบศพจากที่มีแต่เพียงหลังคาก็พัฒนาขึ้นโดยการ
เพิ่มเสาเพิ่มฐานเข้าไป เรียกกันใหม่ว่าแมวมีเสาซึ่งเสานั้นโดยมากจะมี ๔,๖ เสา แมวนั้นสามารถใช้กับคนทุกระดับชั้นเพราะเป็นสิ่งเบื้องต้นที่ศพทุกศพจำเป็น ต้องใช้ก่อนที่จะนำศพไปใส่ปราสาทหรือนำไปเผาหรือฝัง สำหรับแมวที่ใส่ศพของบุคคลระดับต่างๆ ความวิจิตรประณีตย่อมแตกต่างกันตามฐานะ ดังปรากฏในหนังสือประเพณีชีวิตคนเมือง ของศรีเลา เกษรพรหมว่า...

บทบัญญัติเรื่อง “จารีตเมืองเชียงใหม่” ที่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ของเวียงเชียงใหม่และเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่คือ เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ได้ร่วมกันบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐/A.D.1857 กล่าวถึงเรื่องการทำไม้ศพว่า “อนึ่งไพร่ผู้น้อยยังมีสมศักดิ์นามศักดิ์จักกระทำส่งสการแปลงมุจลินทร์ก็หื้อ เป็นมุจลินทร์แท้ แปลงหลังกลายก็หื้อแปลงหลังกลายแท้ จักแปลงปราสาทก็หื้อแปลงปราสาทแท้ อย่าได้แหม่ใหม่ใส่แถมอีกแอมแกมใส่เป็นอย่างใหม่หลายประการ อย่าผิดโบราณจารีต...ไม่เพียงแต่การระบุถึงปราสาทเท่านั้นแม้แต่รายละเอียด ของการใช้ฟืนเผาศพก็มีการบอกไว้อย่างชัดเจนว่าชนชั้นใดต้องใช้ไม้เช่นใดใน การเผาซึ่งปรากฏในหนังสือขึด ข้อห้ามในล้านนากล่าวไว้ว่า...หลัวส่งสะก๋ารฝูงไพร่น้อยมี ไม้สัก ไม้ขาม ไม้ตึง ไม้ข่อย ไม้งิ้ว ไม้เส้า ไม้รัง ไม้ภิมานขาว ไม้ซะเคียน ไม้หลับมืนหลวง ไม้ขระตัน ไม้เหมือด ไม้มูก ไม้เสี้ยว ตังหลายฝูงนี้อันกวรแต่ต๊าวพญามหากษัตราตังหลายนั้นคือ ไม้สารภี ไม้สัก ไม้จั๋นทน์แดง ไม้จ้อง ตังหลายฝูงนี้กวรส่งสะก๋ารผู้ใหญ่แล อันบ่กวรส่งสะก๋านนั้นคือ ไม้กว๋าว ไม้ขี้แป๊ะ ไม้ส้อน ไม้เกลื๋อ ไม้หมาก ไม้ริด ไม้สะเลียม ไม้นามขาวหลวง ไม้มูกมัน ไม้เดื่อ ไม้ตังหลายฝูงนี้บ่กวรเอาเป็นหลัว (มูลโลกหลวง วัดศรีโพธาราม น.๒๘)..

อีกประการหนึ่งนั้นศพทุกศพที่เป็นคนธรรมดาสามัญหามมิให้ลากเป็นอันขาดและ ห้ามมีการบรรเลงดนตรี ดังปรากฏในหนังสือประเพณีชีวิตคนเมืองว่า...ศพคนสามัญนี้ต้องใช้หามไปจะลาก ชักไปไม่ได้ถือว่าขึด การหามใช้คนจำนวนตั้งแต่ ๘ คนขึ้น จะมีเครื่องดนตรีแห่แหนไม่ได้..หรือหากว่าจะแห่ต้องเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น และห้ามนำเอาเครื่องดนตรีไปแห่ในบ้านอย่างเช่นกรณีพระภิกษุไปมรณภาพในบ้านจะ แห่ในบ้านไม่ได้เด็ดขาดต้องอยู่นอกรั้วบ้านแห่เท่านั้น

สำหรับศพของชาวบ้านธรรมดาสามัญทั่วไปจะต้องเป็นไปตามจารีตที่ได้กำหนดไว้และ ทุกคนต้องปฏิบัติตามนั้นโดยที่ทุกคนเข้าใจว่าหากฝ่าฝืนก็อาจจะเกิดโทษเกิด ภัยแก่บุคคลในครอบครัวรวมไปถึงบรรดาญาติมิตรหรือแม้แต่หมู่บ้านชุมชนตลอดถึง บ้านเมืองซึ่งเรียกกันจนติดปากว่า “ขึด”



“ นกหัสดีลิงค์ พาหนะสู่สวรรค์ ” ประเพณีลากปราสาท ล้านนา

จากพงศาวดารโยนก ตอนหนึ่ง จุลศักราช ๙๔๐ ปีขาล สัมฤทธิศก เดือนอ้าย
ขึ้น ๑๒ ค่ำ ...นางพญาวิสุทธิเทวี ... ต๋นนั่งเมืองนครพิงค์ ... ถึงสวรรคต พญาแสนหลวงจึงแต่งการพระศพ ... ทำเป๋นวิมานบุษบกตั้งอยู่บนหลัง ... นกหัสดินทร์ตั๋วใหญ่ ... แล้วฉุดลากไปด้วยแฮงจ๊างคชสาร ...จาวบ้าน จาวเมืองเดินตวยก้น ... เจาะก่ำแปงเมืองออกไปตางต่งวัดโลกโมฬี ... และทำก๋ารถวายพระเพลิง ณ ตี้นั้น ... เผาตึงฮูปนก หัสดีลิงค์ และผาสาทแก้ววิมานคำนั้นตวย...

การลากศพนั้น ... นิยมแก่เจ้านายในแผ่นดินล้านนา เจ้าผู้ครองนคร ... เจ้านายบุตรหลาน ... พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ แก่พรรษาที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ และ ทุกผู้ทุกนามในล้านนาที่ถึงแก่วางวาย

ในที่นี้จะเสนอเรื่องราวการส่งสการพระสงฆ์ในล้านนา ที่ถึงแก่มรณภาพ

เมื่อพระสงฆ์ถึงแก่มรณภาพ จะจัดศพอย่างสมเกียรติ คือทำ ปราสาท ใสโลงศพ วางบนบุษบก ทำเป็นเรือนยอดและตั้งบนหลังนกหัสดีลิงค์ ทำแม่เรือวางปราสาทสำหรับลากไปสู่สุสาน ในวันทำศพคนจะมากันมากมาย เพราะถือว่าเป็นบุญกุศลอย่างสำคัญ

นกหัสดีลิงค์ เป็นนกใหญ่ตัวโตเท่าช้าง เรียก ชื่อตามเจ้าของภาษาว่า หัตถิลิงคะสะกุโณ เรียกตามภาษาของเราว่า นกหัสดีลิงค์ ตามประวัติศาสตร์ล้านนาที่เล่าขานต่อกันมาว่า นกหัสดีลิงค์เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ที่มีความพิเศษคือมีเพศเพียงดั่งช้าง เป็นนกที่มีหัวเป็นช้าง มีหางเป็นหงส์ มีพละกำลังดั่งช้างเอราวัณ ๓-๕ เชือกรวมกัน ซึ่งเป็นสัตว์คู่บารมีของกษัตรา เจ้าเมืองผู้มีอำนาจบารมีสูง

โดยความเชื่อของชาวล้านนามาแต่อดีตกาล นิยมสร้างปราสาทนกหัสดีลิงค์เพื่อบรรจุศพของกษัตริย์เจ้านายฝ่ายเหนือ รวมถึงพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่มรณภาพลง เพื่อให้พิธีศพมีความสง่างาม สมฐานะบารมี และเป็นการส่งดวงวิญญาณไปสู่ชาติสรวงสวรรค์ชั้นพรหมโลก เทวโลก แต่ในปัจจุบันปราสาทนกหัสดีลิงค์นิยมใช้ในพิธีศพของพระเถระชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น

โดยรูปลักษณะของตัวนกหัสดีลิงค์นั้น มีรูปร่างโครงสร้างส่วนหัวและลำตัวทำจากโครงไม้ ตัดแต่งกระดาษเป็นลวดลายทำเป็นเกล็ด ส่วนหัวช้าง มีความพิเศษของการเคลื่อนไหวไปมาได้ โดยชิ้นส่วนคอและหัวต้องเคลื่อนไหวหมุนไปมาได้ ใบหู สามารถพับกระพือได้ ส่วนงวงทำจากผ้าเย็บเป็นทรงกระบอก เลียนแบบงวงช้าง มีเชื้อกร้อยอยู่ด้านในสำหรับดึง เคลื่อนไหวได้ ดวงตา ต้องมีลักษณะกลมมน ขนตายาวสวย กะพริบได้ เหมือนมีชีวิตจริงๆ

ส่วนหางทำจากเสื่อไม้ไผ่ ตัดเป็นรูปหางหงส์ มีลวดลายสวยงาม โดยส่วนนี้จะติดตั้งคนละส่วนกับลำตัว มีกลไกใช้เชือกชักให้เคลื่อนไหวได้

ด้านหน้ามีขันเล็กๆ บรรจุข้าวตอกไว้ เพื่อโปรย ลักษณะเหมือนช้างใช้งวงโปรยข้าวตอกเพื่อเป็นสิริมงคล

การลากต้องใช้เชือกเส้นโต ๆ หลายเส้นขนานกันไป ถ้าศพเจ้าเมืองหรือพระเถระผู้ใหญ่จะมีคนมาลาก เป็นหมื่น ๆ ทีเดียว ชักลากไปยังป่าช้า

ภูมิปัญญาล้านนา ด้านล่างของปราสาท ไม่มีล้อและกลไกขับเคลื่อน ใช้วิธีแบบโบราณล้านนา คือการ ใช้ต้นมะพร้าวสองต้น เป็นส่วนฐาน ลาก แทนล้อรถในการขับเคลื่อน

การบังคับการเลี้ยว ทำได้โดยใช้แรงคน และไม้พลองในการงัด ต้นมะพร้าว ให้ไปตามทิศทางเลี้ยวซ้ายและขวาซึ่งทำได้ลำบากมาก เป็นการแสดงความร่วมมือร่วมใชของ วิถีชาวบ้านอย่างแท้จริง

บริเวณส่วนยอดของปราสาท จะมียอดปราสาท ฉัตร ๙ ชั้น ซึ่งถือเป็นเครื่องประดับ ตามสมณศักดิ์ของพระเถระที่มรณภาพรูปนั้นๆ โดยเป็นไปตามความเชื่อโบราณของชาวล้านนา

โดย ๓ ชั้นแรก หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นที่ ๕ หมายถึง พระเจ้า ๕ พระองค์ ได้แก่ พระกะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโม อริยเมตเตยโย

ส่วนชั้นที่ ๗ หมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ สังวิทา ปุกะยะปะ และ ชั้นที่ ๙ หมายถึง พระนวโลกุตรธรรม เจ้าเก้าประการ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ และ นิพพาน ๑

ทั้งนี้รอบปราสาททั้ง ๔ ทิศ จะมีเพดานที่ทำจากเสาไม้ไผ่สูง และขึงด้วยผ้าสังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) ของครูบาผัด เปรียบแทนศีลของพระสงฆ์ ที่เรียกว่า "จตุปริสุทธศีล"

โดยเสาทั้ง ๔ ต้น เปรียบเป็นศีล ๔ ข้อ ได้แก่
๑.ปาติโมกข์สังวร ๒.อินทรียสังวร ๓.อาชีวะปริสุทธศีล และ ๔.ปัจจัยสัจนิจศีล

สำหรับฟืนที่จะใช้ในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพนั้น เลือกไม้มงคล ๗ ชนิด มาประกอบพิธี ตามหลักอภิธรรม ได้แก่ ๑.ไม้ดอกแก้ว ๒.ไม้ขนุน ๓.ไม้จำปา ๔.ไม้จำปี ๕.ไม้ตุ้มคำ (ไม้มงคลท้องถิ่น) ๖.ไม้จันทน์ และ ๗.ไม้กฤษณา

ถ้ายอดปราสาทมี ๕ ชั้น คือ ฉัตรเบญจา ๕ ชั้น เป็Ũ
ได้ความรู้กับความเห็นนี้มากครับ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Be fish aqua shop ที่ วันที่ 11 กรกฎาคม 2011, 14:05:28
หนูอ่านภาษาเหนือ ไม่เข้าใจอ่ แงแง  :'( :'(

แล้วคนภาคเหนือ มักเก็บกระดูกไว้บ้าน  หรือวัด  หรือลอยอังคาร อ่าค่ะ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: >:l!ne-po!nt:< ที่ วันที่ 11 กรกฎาคม 2011, 20:53:40
หนูอ่านภาษาเหนือ ไม่เข้าใจอ่ แงแง  :'( :'(

แล้วคนภาคเหนือ มักเก็บกระดูกไว้บ้าน  หรือวัด  หรือลอยอังคาร อ่าค่ะ

ลอยวันอื่นได้ไหมครับ ทำไมต้องอังคาร  ;D ;D ;D (พูดเล่นนะครับ ยิ้มๆๆ)

ตี้บ้านผมเปิ้นเอาไว่ป่าเห่ว ตี้บ้านพ่องกะมี ป๊าด ๆ ๆ ลืมไปเปิ้นอ่านเมียงบ๋อไขหู้เรื่อง แปลให้นะครับ
ที่บ้านผมเห็นเอาไว้ที่ป่าช้าครับ ที่บ้านบ้างก็มี เคน้อครับเข้าใจ๋ละน้อ นั่นปั๋ดเมียงแห๋มเมาะ  ;D


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Be fish aqua shop ที่ วันที่ 11 กรกฎาคม 2011, 23:22:43
หนูอ่านภาษาเหนือ ไม่เข้าใจอ่ แงแง  :'( :'(

แล้วคนภาคเหนือ มักเก็บกระดูกไว้บ้าน  หรือวัด  หรือลอยอังคาร อ่าค่ะ

ลอยวันอื่นได้ไหมครับ ทำไมต้องอังคาร  ;D ;D ;D (พูดเล่นนะครับ ยิ้มๆๆ)

ตี้บ้านผมเปิ้นเอาไว่ป่าเห่ว ตี้บ้านพ่องกะมี ป๊าด ๆ ๆ ลืมไปเปิ้นอ่านเมียงบ๋อไขหู้เรื่อง แปลให้นะครับ
ที่บ้านผมเห็นเอาไว้ที่ป่าช้าครับ ที่บ้านบ้างก็มี เคน้อครับเข้าใจ๋ละน้อ นั่นปั๋ดเมียงแห๋มเมาะ  ;D

เข้าใจแล้วค่า ฮ่าๆๆ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: Singhakara ที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2011, 06:42:30
มันเหม็นนะก่ะ..


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: muangphan1 ที่ วันที่ 24 กันยายน 2011, 21:36:14
ในวัดเป๋นข่วงแก้วตังสามเปิ้นบ่าเอางานอวมงคลมาจัดครับ


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: chate ที่ วันที่ 08 ธันวาคม 2011, 17:29:36
อยู่วัดบ่มีไผจ่วยล้างถ้วย-จ้อน ไผเปิ๋นไผบ่ฮู้มากิ๋นๆๆอิ่มแล้วหายแซ้บ...อิอิ...


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: WH_Y ที่ วันที่ 08 ธันวาคม 2011, 18:54:03

..ยินดีเจ้าสำหรับทุกคำตอบ บางอย่างก็กำลังมาฮู้ในกระทู้เหมือนกันเจ้า.. :)


หัวข้อ: Re: อยากรู้ว่า ทำไมวัดในเชียงราย ไม่มีเมรุเผาศพ ??
เริ่มหัวข้อโดย: คำอ้ายบ้านดู่ ที่ วันที่ 09 ธันวาคม 2011, 09:34:35
ก็อาจจะเป็นกุศโลบายของคนโบราณ เรื่องสุขลักษณะ ตามหลัก GMP ของฝรั่ง ในวัดในวามีตุ๊เจ้าพระนายจำพรรษาอยู่ การแยกชัดเจนก็เป็นการดี  ;D  ;D