เว็บบอร์ด เชียงรายโฟกัสดอทคอม สังคมออนไลน์ของคนเชียงราย

ศูนย์กลางข้อมูลเชียงราย => เรื่องล้านนา ภาษากำเมือง => ข้อความที่เริ่มโดย: crloan ที่ วันที่ 05 พฤศจิกายน 2018, 23:48:53



หัวข้อ: จ๋างปากจ๋างคอ....ภาษาไทยคือคำว่าอะไรครับ?
เริ่มหัวข้อโดย: crloan ที่ วันที่ 05 พฤศจิกายน 2018, 23:48:53
.
.
.
ตามหัวกระทู้เลยครับ

เวลาป่วย หรือ เหนื่อย เพลีย

เราจะมีอาการ จ๋างปากจ๋างคอ ซึ่งโดยอาการคือ กินอะไรรสชาติจะอ่อนลง

ทีนี้ มันมีคำเรียกเป็นภาษากลางมั้ยครับ

คุยกะเพื่อน เพื่อนบอกว่า ลิ้นไม่ค่อยรู้รส หรือไม่ก็ เบื่ออาหาร

แต่ผมว่าสองคำนี้มันยังไม่ใช่อะครับ

น่าจะมีคำอื่น

.
.
.



หัวข้อ: Re: จ๋างปากจ๋างคอ....ภาษาไทยคือคำว่าอะไรครับ?
เริ่มหัวข้อโดย: apiwattano ที่ วันที่ 07 พฤศจิกายน 2018, 10:02:14
พจนานุกรมล้านนามีคำว่า "จ๋างปาก"
ความหมายตามภาพ
ส่วนคำว่า "จ๋างคอ"  ...จ๋างปากจ๋างคอ..
น่าจาเป็น “ถ้อยคำสำนวน“ น่ะ
(ทำให้ภาษาสละสลวยขึ้น เช่น จ๋างพิกจ๋างเกื๋อ)....ความหมายตามภาพ

เปรียบเทียบสำนวนไทย...

สำนวนภาษา หมายถึง กลุ่มคำที่ใช้ในความหมายหลายทาง
ถ้าเป็นการกล่าวเพื่อให้ถ้อยคำไพเราะสละสลวย ก็เรียกว่า ถ้อยคำสำนวน
ถ้ากล่าวในเชิงเปรียบเทียบ โดยการแปลความหมาย หรือ ตีความหมายให้เข้ากับเนื้อเรื่อง ก็เรียกว่า คำพังเพย
ถ้ากล่าวในเชิงสั่งสอนให้ปฏิบัติตาม และเป็นสิ่งที่ดี เรียกว่า สุภาษิต

ตัวอย่างสำนวนภาษา ( ลักษณะคล้ายคำซ้อน )
- เจ็บไข้ได้ป่วย
- ถ้วยโถโอชาม
- ทำมาหากิน
- ทำไร่ไถนา
- ต้นไม้ต้นหญ้า
- ตัวเปล่าเล่าเปลือย
- รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
- บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น
- ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด
- ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
- น้ำขุ่นอยู่ใน น้ำใสอยู่นอก
- เข้าด้ายเข้าเข็ม
- ชิงสุกก่อนห่าม

สรุป: ไม่น่ามีคำในภาษาไทย
แต่เรา(คนล้านนา)อธิบายความหมายเชิงเปรียบเทียบได้น่ะครับ


หัวข้อ: Re: จ๋างปากจ๋างคอ....ภาษาไทยคือคำว่าอะไรครับ?
เริ่มหัวข้อโดย: crloan ที่ วันที่ 08 พฤศจิกายน 2018, 21:16:13
ขอบคุณคร้าบ


หัวข้อ: Re: จ๋างปากจ๋างคอ....ภาษาไทยคือคำว่าอะไรครับ?
เริ่มหัวข้อโดย: >:l!ne-po!nt:< ที่ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2018, 09:37:13
พจนานุกรมล้านนามีคำว่า "จ๋างปาก"
ความหมายตามภาพ
ส่วนคำว่า "จ๋างคอ"  ...จ๋างปากจ๋างคอ..
น่าจาเป็น “ถ้อยคำสำนวน“ น่ะ
(ทำให้ภาษาสละสลวยขึ้น เช่น จ๋างพิกจ๋างเกื๋อ)....ความหมายตามภาพ

เปรียบเทียบสำนวนไทย...

สำนวนภาษา หมายถึง กลุ่มคำที่ใช้ในความหมายหลายทาง
ถ้าเป็นการกล่าวเพื่อให้ถ้อยคำไพเราะสละสลวย ก็เรียกว่า ถ้อยคำสำนวน
ถ้ากล่าวในเชิงเปรียบเทียบ โดยการแปลความหมาย หรือ ตีความหมายให้เข้ากับเนื้อเรื่อง ก็เรียกว่า คำพังเพย
ถ้ากล่าวในเชิงสั่งสอนให้ปฏิบัติตาม และเป็นสิ่งที่ดี เรียกว่า สุภาษิต

ตัวอย่างสำนวนภาษา ( ลักษณะคล้ายคำซ้อน )
- เจ็บไข้ได้ป่วย
- ถ้วยโถโอชาม
- ทำมาหากิน
- ทำไร่ไถนา
- ต้นไม้ต้นหญ้า
- ตัวเปล่าเล่าเปลือย
- รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
- บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น
- ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด
- ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
- น้ำขุ่นอยู่ใน น้ำใสอยู่นอก
- เข้าด้ายเข้าเข็ม
- ชิงสุกก่อนห่าม

สรุป: ไม่น่ามีคำในภาษาไทย
แต่เรา(คนล้านนา)อธิบายความหมายเชิงเปรียบเทียบได้น่ะครับ


ผมไขเฮียนตั๋วเมียงต้องเริ่มจะไดครับ


หัวข้อ: Re: จ๋างปากจ๋างคอ....ภาษาไทยคือคำว่าอะไรครับ?
เริ่มหัวข้อโดย: apiwattano ที่ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2018, 14:16:39
ขอบคุณจริงจังที่ท่านรักภาษาล้านนา
ผมขอเวลาหาข้อมูลที่กลางๆก่อนน่ะครับ
(ไม่ขัดแย้งกับหลายๆ จังหวัดที่มีคนไตยวน )
และที่ใช้ภาษาล้านนาทั้งเขียน พิมพ์ แปล ฯลฯ ครับ
พอดีช่วงนี้ผมป่วยด้วย...ยิ่งแก่ก็หลายโรคล่ะครับ

สอบถามเพื่อนหลายๆ จว. มีวิธีเรียนหลากหลาย
.... เอาแบบผมเรียนก่อนน่ะครับ
 ๑. อ่าน..คัดลอก (ปั๊บธรรม- หนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวเมืองแบบเรียงพิมพ์)
แล้วแปลเป็นไทย.....(ให้ได้)
ถามผู้รู้ส่วนใหญ่จ่ะเป็นพระสงฆ์ น้อยหนาน(ทิด)
ย้ำ..ภาษาล้านนามีส่วนคล้ายภาษาไทย(กลาง)
ต่างกันที่ตัวสะกดของภาษาล้านนาเท่านั้นที่ใช้หางพยัญชนะสะกดคำและเขียนสะกดไว้ด้านล่างคำ.....ฯลฯ

 ๒. เฉพาะพยัญชนะหรืออักขระจะเรียนตามบาลี

ก๋ะ  ข๋ะ  ก๊ะ  ฆะ  งะ
จ๋ะ  ฉ๋ะ  จ๊ะ  ฌะ ญะ..... 5 วรรค 25 ตัว

[ มันเกี่ยวกับพยัญชนะสังโยคในภาษาบาลีด้วย
(ตัวซ้อนตัวข่ม)...ไม่ได้เรียนท่องพยัญชนะ 44 ตัว
แบบภาษาไทย
คือว่ากันเป็นวรรคๆ  เศษวรรค  พยัญชนะพิเศษ ฯลฯ ]

+ เศษวรรคหรือ อวรรค
ยะ ระ ละ วะ ส๋ะ....อีก 8 ตัวรวมเป๋น 33 ตัว

 ๓. แล้วมาเข้าเรื่องสระเดี่ยวสระผสม
รวมๆกันไปเลยเอาเท่าที่เคยเห็นเคยใช้บ่อยๆ
แล้วผสมคำ แปล...อ่านมากๆ เขียนมากๆ
(พักหลังผมจาพิมพ์จากคอมฯเอาเพราะเขียนมักเพี้ยน..ไม่ค่อยจาเหมือนกัน)

 ๔. อ่านวรรณกรรมล้านนามากๆ คร่าว โกลง ฯลฯ
ยกตัวอย่าง “คร่าวสี่บท“ หรือ ค่าวฮ่ำนางจม
ของพระยาพรหมโวหาร
แปลผิดไม่ได้แม้สักตัวเดียว....คร่าวชั้นครูนี้
(โดนจวกแน่นอน)
ผมกำลังพิสูจน์อักษรในการแปลยุครับ
วันหลังจานำมาเผยแพร่...ไม่รุว่าจ่ะมีชีวิตยืนยาวถึงไหม

ตัวอย่างผมทำไว้เป็นไฟล์ .docx และ .pdf
มี ๔ บท ๓๕๘ คำประพันธ์ ไม่รู้ว่าจะสื่อได้หรือเปล่า
รบกวนเจ้าของกระทู้วันหลังจาขอเอาตั้งเป็นกระทู้ใหม่เอาคร่าวนี้โดยเฉพาะ
ต้องขออนุญาตแอดมินก่อนครับ

 ๕. ศึกษาจากเวปประกอบ...เยอะแยะ
ของเราก็มีน่ะครับ ผมยังเข้าไปศึกษาเลย

http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=5488.20

ท้ายสุด...ดีที่สุดคือเราคอมเม้นท์ไปไม่มีเสียงคัดค้านมา
ก็ เค ล่ะครับเรื่องภาษาล้านนาเรา

ขอให้เก่งภาษาล้านนาไวๆ
เพื่อถ่ายทอดให้ลูกหลานชาวล้านนาต่อๆไปครับ

...อภิวัฑฺฒโน...
  ๒๑/๑๑/๖๑